10 อาหารอันตราย ที่คนสมัยนี้ชอบกิน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย แสงอมตะ, 2 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. แสงอมตะ

    แสงอมตะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +486
    สัญญาณร้าย อยากให้ร่างกายขับพิษ

    โดยปกติแล้วถ้าภายในร่างกายของเรามีของเสียและสารพิษสะสมในปริมาณที่เป็น อันตรายถึงขั้นที่จะสามารถก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นได้ ร่างกายย่อมจะส่งสัญญาณเตือนออกมาให้เราได้รับทราบว่ามันกำลังต้องการความ ช่วยเหลือและความเอาใจใส่จากเราให้มากขึ้นกว่าเดิมแล้วนะจ๊ะ ซึ่งมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้

    • นอนหลับยาก หรือรู้สึกว่านอนไม่พอร่างกายอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย เซื่องซึม หดหู่ไม่กระปรี้กระเปร่า

    • ปวดศีรษะ มึนงงบ่อยๆ หรืออาจปวดถึงขั้นเป็นไมเกรนอารมณ์แปรปรวนง่าย ประสาทตึงเครียด ขี้ลืม สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดอะไรไม่ค่อยออก

    • ผิวหมองคล้ำ เกิดริ้วรอยง่าย ผิวแห้งและหยาบกร้าน ดูแก่กว่าวัย มีสิวและผดผื่นขึ้น

    • มีกลิ่นปาก หรือมีแผลในช่องปากลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

    • จุก เสียด แน่นท้อง ปวดท้องเป็นประจำ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารมีปัญหา มักเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ระบบขับถ่ายมีปัญหา ท้องผูกเป็นประจำ หรือท้องเสียง่าย เป็นริดสีดวงทวาร

    • เสื่อม สมรรถภาพทางเพศ ใครเข้าข่ายมีอาการร้ายๆ ดังข้างต้น ก็ถึงเวลาแล้วนะคะที่จะลด ละ เลิด และหันกลับมาใส่ใจ Detoxร่างกายให้กลับมาปิ๊งกันดีกว่าค่ะ



    ที่มา...chicministry.com
     
  2. สโรศิรายา

    สโรศิรายา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณสำหนับข้อมูลดีๆคะ
     
  3. SOQI

    SOQI สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +15
    ใครชอบทานของพวกนี้บ่อยๆต้องออกกำลังกายมากๆ ระบบขับถ่ายดี ถ้าหากทานแล้วท้องอืดท้องเฟ้อก็ต้องทานผักผลไม้ที่มีเอนไซม์ช่วยย่อยร่วมด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดี^^
     
  4. don mob

    don mob สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +17
    phosphoric acid คืออะไร

    กรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) เป็นกรดแร่ มีสูตรเคมี H3PO4 กรดฟอสฟอริกบริสุทธิ์จะอยู่ในรูปผลึกใส (มีจุดหลอมละลายที่ 42.35° C) แต่กรดฟอสฟอริกที่ความเข้มข้นและอุณหภูมิอื่นๆ อาจพบในรูปของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้[1]
    กรดฟอสฟอริกถูกใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในการผลิตสารพวกฟอสเฟต เช่น ผงซักฟอก สบู่ ปุ๋ย รวมถึงใช้ผสมเป็นวัสดุอุดฟัน จนถึง ถูกใช้เป็นส่วนผสมของน้ำอัดลม
    อันตรายของกรดฟอสฟอริกหากได้รับโดยตรงในปริมาณที่มากพอทั้งจากการหายใจหรือสัมผัสทางผิวหนังก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

    กรดฟอสฟอริก
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (อังกฤษ: Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่ารา

    การใช้ประโยชน์

    เราใช้ประโยชน์กำมะถันในอุตสาหกรรมได้มากมาย ผ่านทางอนุพนธ์ของมันคือ กรดซัลฟิวริก (H2SO4), กำมะถันถูกจัดให้เป็นหนึ่งในธาตุที่มีความสำคัญในการเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมมาก อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลก
    การผลิตกรดซัลฟิวริก ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ปลายทางหลักของธาตุกำมะถัน และการบริโภคกรดซัลฟิวริก ถือเป็นดรรชนีชี้วัดที่ดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ ในสหรัฐอเมริกามีการผลิตกรดซัลฟูริกมากกว่าสารเคมีอื่น ประโยชน์ของมันพอสรุปได้ดังนี้
    ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต แบตเตอรี
    ผงซักฟอก
    วัลแคไนเซชัน (vulcanization) ยาง
    ยาฆ่าเชื้อรา
    ใช้ผลิตฟอสเฟต ในอุตสาหกรรมทำปุ๋ย
    ซัลไฟต์ ใช้ในการฟอกสีกระดาษ
    เป็นสารถนอมอาหารในการผลิตไวน์
    ใช้ในการอบแห้งผลไม้
    เป็นส่วนผสมของไม้ขีดไฟ, ดินปืน, และ ดอกไม้ไฟ
    เป็นสารเคมีในงานถ่ายรูปในรูปของเกลือโซเดียมหรือแอมโมเนียม เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต
    แมกนีเซียมซัลเฟต หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกลือยิปซัม (Epsom salts) ใช้เป็นยาระบาย
    เป็นอาหารเสริมในพืช
    การบำบัดน้ำเสีย
    การทำลูกเหม็น
    การใช้ในห้องสุขาชาย
    [แก้]สารประกอบของกำมะถัน

    ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) หรือ ก๊าซไข่เน่า มีกลิ่นเหม็นมาก ตัวมันเองมีฤทธิ์เป็นกรด ทำปฏิกิริยากับโลหะได้โลหะซัลไฟด์ ถ้าเป็นซัลไฟด์ของเหล็กเรียก ไพไรต์ หรือ ทองของคนโง่ (fool's gold) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำFeS
    กลิ่นเหม็นที่ไม่พึงปรารถนาของสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น
    เอตทิล และ เมตทิล เมอร์แคปแทน ใช้ผสมในก๊าซธรรมชาติเพื่อการตรวจสอบว่ามีก๊าซรั่วหรือไม่
    กลิ่นของกระเทียม และตัวสกังก์ ก็เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่
    สารประกอบอื่นของกำมะถันที่สำคัญมีดังนี้
    สารประกอบประเภทอนินทรีย์
    ซัลไฟด์ (S2-) เป็นสารประกอบอย่างง่ายที่สุดของธาตุกำมะถันกับธาตุอื่น
    ซัลไฟต์ (SO32-), เป็นเกลือของ กรดซัลฟิวรัส, H2SO3, ได้จากการละลาย SO2 ในน้ำ, กรดซัลฟิวรัสและสารประกอบซัลไฟต์เป็นรีดิวซิ่งเอเจนต์อย่างแรง สารประกอบอื่นที่เป็นอนุพันธ์ของ SO2 ประกอบด้วย ไพโรซัลไฟต์ (pyrosulfite) หรือ เมต้าไบซัลไฟต์ ( metabisulfite) ไอออน (S2O52−).
    ซัลเฟต (SO42-), เกลือของ กรดซัลฟิวริก เมื่อกรดซัลฟูริกทำปฏิกิริยากับ SO3 ในสัดส่วนโมเลกุลที่เท่ากันจะได้ กรดไพโรซัลฟิวริก (H2S2O7)
    ไทโอซัลเฟต (บางครั้งเรียก ไทโอซัลไฟต์ หรือ ไฮโปซัลไฟต์ (thiosulfites or "hyposulfites") (S2O32−) ใช้ในงานถ่ายรูป
    โซเดียมไดไทโอไนต์, Na2S2O4 จากกรดไทโอซัลฟูรัส/ไดไทโอรัส (hyposulfurous/dithionous acid), เป็นรีดิวซิ่งเอเจนต์อย่างแรง* โซเดียมไดไทโอเนต (Na2S2O6)
    กรดพอลิไทโอนิก (H2SnO6), ตัวอักษร n สามารถมีค่าจาก 3 ถึง 80.
    กรดเปอร์ออกซิโมโนซัลฟิวริก (Peroxymonosulfuric acid-H2SO5) และ กรดเปอร์ออกซิไดซัลฟิวริก (peroxydisulfuric acid-H2S2O8), ได้จากปฏิกิริยาของ SO3 กับสารละลายเข้มข้นของ H2O2, และ H2SO4 กับสารละลายเข้มข้นของ H2O2 ตามลำดับ
    โซเดียมพอลิซัลไฟด์ (Sodium polisulfide-Na2Sx)
    ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (Sulfur hexafluoride) SF6, เป็นก๊าซโพพิแลนต์ไม่มีพิษไม่ไวต่อปฏิกิริยา
    เตตร้าซัลเฟอร์เตตร้าซัลไนไตรด์ (Tetrasulfur tetranitride) S4N4.
    ไทโอไซยาเนต (Thiocyanate) เป็นสารประกอบที่มีไทโอไซยาเนตไอออน, SCN- เกี่ยวข้องกับ ไทโอไซยาโนเจน, (thiocyanogen-SCN)2.
    สารประกอบอินทรีย์
    ไดเมตทิลซัลโฟไนโอโพรพิโอเนต (dimethylsulfoniopropionate-DMSP; (CH3 )2S+CH2CH2COO-) ซึ่งเป็นส่วนประกอบกลางของวงจรของกำมะถันอินทรีย์ในทะเล
    ไทโออีเทอร์ (thioether) เป็นโมเลกุลที่มี R-S-R, ที่ซึ่ง R และ R เป็นหมู่อินทรีย์ที่กำมะถันสมมูลกับ อีเทอร์
    ไทโอล (thiol หรือเรียกอีกอย่างว่า mercaptan) เป็นโมเลกุลที่มี หมู่ฟังก์ชัน-SH มีกำมะถันสมมูลกับ แอลกอฮอล์
    ไทโอเลตไอออน (thiolateion) มี หมู่ฟังก์ชัน -S- มีกำมะถันสมมูลกับ อัลคอกไซด์ไอออน (alkoxideions)
    ซัลฟอกไซด์ (sulfoxide) เป็นโมเลกุลที่มี R-S(=O)-R หมู่ฟังก์ชัน R และ R เป็นหมู่อินทรีย์ ตัวอย่างของซัลฟอกไซด์คือDMSO(dimethyl sulfoxide)
    ซัลโฟน (sulfone) เป็นโมเลกุลที่มี R-S(=O)-R หมู่ฟังก์ชันR and R เป็นหมู่อินทรีย์
    รีเอเจนต์ของลอวีสสัน (Lawesson's reagent) เป็นรีเอเจนต์ที่สามารถนำอะตอมของกำมะถันไปแทนออกซิเจนได้
    แนพทาเลน-1,8-ไดอิล 1,3,2,4-ไดไทอะไดฟอสฟีเทน 2,4-ไดซัลไฟด์(Napthalen-1,8-diyl 1,3,2,4-dithiadiphosphetane 2,4-disulfide)
     
  5. don mob

    don mob สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +17
    น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ มีสีสันแตกต่างกันไป มีคนนิยมดื่มมากและสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในร้านที่ขายเครื่องดื่ม นิยมบรรจุในรูปแบบกระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เป็นต้น









    ส่วนประกอบ

    น้ำอัดลมมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ น้ำ (น้ำนี้จะต้องเป็นน้ำสะอาด สามารถใช้น้ำประปา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน), น้ำตาล, สารปรุงแต่งที่เรียกว่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี, และกรดคาร์บอนิกซึ่งถูกอัดเข้าในภาชนะบรรจุ บางครั้งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้เล็กน้อย น้ำอัดลมแต่ละยี่ห้อก็มีส่วนผสมลับเฉพาะของตนเอง
    กรดคาร์บอนิกในภาชนะบรรจุเมื่อสัมผัสอากาศ จะแยกตัวเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ เป็นฟองที่เกิดขึ้นเวลาเปิดขวดหรือกระป๋อง การเขย่าก็เป็นการกระตุ้นปฏิกิริยาของกรดคาร์บอนิกให้เกิดเร็วขึ้นและมากขึ้น ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็เกิดมากขึ้นจนล้นภาชนะได้
    น้ำอัดลมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะเฉพาะของกลิ่นรสและสีของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
    น้ำอัดลมรสโคล่า – น้ำอัดลมประเภทนี้ปรุงแต่งด้วยหัวน้ำเชื้อโคล่าซึ่งมีคาเฟอีนที่สกัดจากใบของต้นโคคาอยู่ด้วย ปริมาณของคาเฟอีนในน้ำอัดลมชนิดโคล่าก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อ สำหรับสีน้ำตาลเข้มที่เป็นที่มาของสีน้ำดำนั้น มาจากสีผสมอาหารที่เป็นสีของน้ำตาลเคี่ยวไหม้
    น้ำอัดลมที่ไม่ใช่โคล่า – ได้แก่น้ำอัดลมใสไม่มีสีที่ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อเลมอน-ไลม์ และน้ำอัดลมที่ปรุงแต่งกลุ่นรสเลียนแบบน้ำผลไม้ เช่น ส้ม องุ่น มะนาว ลิ้นจี่ น้ำหวานอัดลม พวกน้ำเขียว น้ำแดง และรูทเบียร์ เป็นต้น น้ำอัดลมเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากไม่ได้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อชนิดโคล่า อย่างไรก็ตามอาจมีการเติมคาเฟอีนสกัดเล็กน้อยในส่วนผสม เพื่อให้ได้ฤทธิ์กระตุ้นของคาเฟอีน ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า


    กรดคาร์บอนิก - วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Carbonic acid) เป็นกรดชนิดหนึ่งที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ มีสูตรโมเลกุล H2CO3 กรดคาร์บอนิกยังใช้เป็นคำเรียกสารละลายของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ ซึ่งมี H2CO3 อยู่เล็กน้อย เราเรียกเกลือของกรดคาร์บอนิกว่า ไบคาร์บอเนต (หรือ ไฮโดรเจนคาร์บอเนต) และ คาร์บอเนต
    คาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายน้ำเกิดสมดุลเคมีกับกรดคาร์บอนิก ดังสมการต่อนี้
    CO2 + H2O → H2CO3
    ค่าคงที่สมดุลที่ 25 °C เท่ากับ 1.70×10−3: ดังนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนเป็นกรดคาร์บอนิกและยังคงอยู่เป็นโมเลกุล CO2 ถ้าหากไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา สมดุลข้างต้นจะเกิดขึ้นช้า โดยมีอัตราการเกิดปฏิกิริยา (rate constant) เท่ากับ 0.039 s−1 สำหรับขาไป
    (CO2 + H2O → H2CO3)
    และ 23 s−1 สำหรับปฏิกิริยาย้อนกลับ
    (H2CO3 → CO2 + H2O).
    สมดุลระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์และกรดคาร์บอนิก มีความสำคัญมากสำหรับการควบคุมความเป็นกรดของของเหลวในร่างกาย สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดมีเอนไซม์ชื่อคาร์บอนิกแอนไฮเดรส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบสองตัวนี้ โดยสามารถเร่งปฏิกิริยาให้เร็วขึ้นถึง 109 เท่า
    [แก้]อ้างอิง
     
  6. don mob

    don mob สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +17
    สารปรังแต่งรส
    สารปรุงแต่งรส หมายถึง สารหรือวัตถุที่ใช้ในการปรับปรุงคุณลักษณะรสของอาหารให้ดีขึ้น เช่น ผงชูรส
    น้ำปลา น้ำตาล น้ำส้มสายชู


    ผงชูรสผงชูรส เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งมีชื่อว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต
    ( Monosodiumglutamat e )MSG มีลักษณะเป็น
    ผลึกสีขาวแท่งยาว คอดตรงกลาง หัวท้ายเรียบคล้ายกระดูก ไม่มีความมัน ไม่มีสีรส
    คล้ายเนื้อต้ม มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
    1.ผงชูรสแท้ คือ ผงชูรสที่มีโมโนโซเดียมกลูตาเมต โมโนไฮเดรต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของน้ำหนัก
    2.ผงชูรสผสม คือ ผงชูรสที่มีโมโนโซเดียนกลูตาเมต โมโนไฮเดรต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนัก
    อันตรายจากผงชูรส
    ตามปกติโมโนโซเดียมกลูตาเมต เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี มรฤทธิ์เป็นกลาง เมื่อรับประทานเข้าไปจะไป
    กระตุ้นประสาทในปากและลำคอทำ ให้รู้สึกว่ามีรสอร่อยขึ้น อันตรายที่ได้จากผงชูรสมีสาเหตุใหญ่ 2 ประการ คือ
    1. จากการรับประทานที่เกินขนาด ตามมติขององค์การอนามัยโลก ( WHO ) ได้กำหนดปริมาณในกรใช้
    ผงชูรสไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน และห้ามใช้ในอาหารเด็กหรือหญิงมีครรภ์เพราะจะมีผลต่อการ
    เจริญเติบโต โดยทำให้เกิดอาการทางประสาท และอันตรายต่อระบบเยื่อหุ้มสมองของทารกในครรภ์ได้
    2. จากการปนเปื้อนของวัตถุมีพิษในผงชูรส ซึ่งความเป็นพิษจะเป็นไปตามสารพิษที่เจือปนอยู่ สารพิษ
    โซเดียมเมตาฟอสเฟต ไดเบสิก โซเดียมฟอสเฟต เป็นต้น


    น้ำประสานทอง
    หรือ บอแรกซ
    ์ ( Borax )

    - เป็นก้อนขนาดเล็กทึบขุ่น
    - คลื่นไส้ อาเจียน มีจ้ำเลือด
    ผิวหนัง แห้ง กระเพาะและไตอักเสบ
    ถ้ารับ ประทานบอแรกซ์ 2- 5 กรัม ทำให้ตายได้

    กรดบอริก
    ( Boric Acid) - เป็นก้อนขนาดเล็ก ทึบขุ่น
    - คลื่นไส้ อาเจียน มีจ้ำเลือด ผิวหนัง-
    แห้ง กระเพาะและไตอักเสบ ถ้ารับ
    ประทานกรดบอริก 2 – 5 กรัมทำ
    ให้ ตายได้

    โซเดียมเมตาฟอสเฟต
    ( Sodium Meta
    phosphate ) - รูปร่างเป็นแท่งยาวเรียบเสมอกัน
    ไม่มีสี มีรสเฝื่อน มองดูใสแวววาว
    คล้ายกระจก - ท้องร่วงอย่างแรง
    ไดเบสิก โซเดียม
    ฟอสเฟต ( Dibasic
    Sodium phosphate) -แทนน้ำประสานทองในการเชื่อม
    โลหะเป็นวัตถุกันไฟและเคลือบผิว
    เซรามิคให้มีความมันวาว เป็นยาถ่ายอย่างแรง


    -การตรวจสอบ ผงชูรส
    เนื่องจากผงชูรสเป็นวัตถุที่สังเคราะห์ขึ้นมา การตรวจสอบผงชูรสอาจทำได้โดยการสังเกตลักษณะ
    ภายนอก แต่ในบางครั้งก็เป็นการยากในการสังเกต วิธีที่ดีที่สุดต้องตรวจสอบโดยวิธีทางเคมีซึ่งมีวิธีการดังนี้
    1.การเผา โดยการนำผงชูรส ประมาณ 1 ช้อนชา ใส่ลงช้อนโลหะเผาบนเปลวไฟให้ไหม้แล้วสังเกต
    ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไหม้เป็นสีดำ แต่ถ้าเป็นผงชูรสที่มีสารอื่นเจือปนจะเป็นสีขาว
    2.ตรวจสอบด้วยกระดาษขมิ้น ซึ่งเตรียมโดยการเอาผงขมิ้นประมาณ 1 ช้อนชา ละลายใน
    แอลกอฮอล์์หรือน้ำ 10 ช้อนชา จะได้สารสีเหลือง จากนั้นจุ่มกระดาษสีขาวหรือผ้าขาวลงในสารสาร
    สีเหลือง นำไปผึ่งให้แห้งจะได้กระดาษขมิ้นหรือผ้าขมิ้น การตรวจสอบทำได้โดยการละลายผงชูรสใน
    น้ำสะอาด จากนั้นจุ่มกระดาษขมิ้นหรือผ้าขมิ้นลงไปพอเปียก สังเกตการณ์เปลี่ยนสี ถ้าเป็นผงชูรสที่มีสาร
    อื่นเจือปน จะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง แต่ถ้าไม่เปลี่ยนสีเป็นผงชูรสแท้
    3.ตรวจด้วยน้ำยาปูนขาวผสมน้ำส้มสายชู การเตรียมน้ำยาปูนขาว ทำได้โดยเอาปูนขาวครึ่งช้อนชา
    ละลาย ในน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา คนให้ละลายตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน จะได้ส่วนที่เป็นน้ำใส คือน้ำยาปูนขาว
    การตรวจสอบทำได้โดยการเอาผงชูรสมาประมาณ 1 ช้อนชา ละลายในน้ำ เทน้ำยาปูนขาวลงไป 1 ช้อนชา
    สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไม่มีตะกอนสีขาว แต่ถ้าเป็นผงชูรสที่มีสารอื่นเจือปน
    จะมีตะกอนสีขาว
     
  7. vorakan666

    vorakan666 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +64
    งดของอร่อยทุกประเภทเลย ^^
     
  8. True Insight

    True Insight Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +79
    งดได้หลายอย่างละ แต่น้ำอัดลมอดได้ยากจริงๆ
     
  9. jpbeauty

    jpbeauty สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +2
    ผมว่ากินแล้วเรา ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง น่าจะทดแทนกันได้บ้างนะครับ
     
  10. natt_bow

    natt_bow เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2011
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +369
    สิ่งที่ชอบกินไม่มีในนี้ครับ ชอบกิน"ขี้"ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...