แนะนำพระดี มีพลังมหัศจรรย์ อาถรรพ์หนุนชีวิต อิทธิฤทธิ์มหาศาล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 15 พฤษภาคม 2010.

  1. ลูกวัด

    ลูกวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,071
    ค่าพลัง:
    +5,194
    จะรอฟังครับพี่หนุ่ม สอบถามพี่หนุ่มครับ การที่พระธาตุจะเสด็จมาอยู่ที่การปฏิบัติของตัวเราเองหรือต้องเชิญพระธาตุถึงจะเสด็จมาครับ
     
  2. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    ขอบคุณมากครับ คุณwoottipon ผู้มีแต่ให้จริงๆ อย่างบริสุทธิ์ใจ
    หลายครั้งหลายอย่างที่ไม่เปิดเผยตัว แต่ได้มีน้ำใจต่อเพื่อนๆด้วยความเอื้อเฟื้อตลอดมา ขอบคุณนะครับ
     
  3. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    หากมีอยู่แล้วบ้าง เมื่อตั้งใจสวดมนตร์ไหว้พระและปฏิบัติบ้างโดยตั้งใจ แม้จะทำได้บ้างไม่ได้บ้าง หลายคนก็มีพระธาตุเสด็จมาเพิ่มเองได้อีกครับ ส่วนใหญ่จะต้องมีเชื้อเดิมก่อนบ้างแล้วจะมีตามมาเองได้แบบปาฏิหารย์ บางคนมาเพิ่มครั้งละเม็ด แต่บางคนมาเพิ่มครั้งละเป็นสิบเม็ด วาสนาบารมีคนเรามีต่างกัน แต่พระธาตุที่เสด็จมาเองแบบนี้ ลองเอาแว่นขยายส่องดูได้เลยครับ จะพบว่าเป็นผลึกซ้อนๆกันอยู่และมีเงาสว่างไม่เท่ากันทั้งองค์ หากใสสว่างเท่ากันทั้งองค์ก็น่าสงสัย และที่สำคัญท่านโตขึ้นเองได้และรวมตัวกันเองได้ในครอบแก้วของเรา ผมมีพระธาตุหลากหลายแบบ แต่แบบนี้แปลกที่สุดและมีพลังมากที่สุดในองค์พระธาตุเองโดยไม่ต้องปลุกเสกใดๆเลย
     
  4. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    ขอไปอาบน้ำ และพักผ่อนก่อนนะครับวันนี้ เจอฝนมาตลอดทาง ขอบคุณทุกคนนะครับ
     
  5. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,329
    ค่าพลัง:
    +19,459
    แห๊ม..... ถ้าอยู่ใกล้บ้านจะไปแอบอุ้มมาสัก 2-3 กระถางเลยค่ะ ชอบๆๆ ( ของฟรี หุๆๆ )
     
  6. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,329
    ค่าพลัง:
    +19,459
    พักผ่อนเยอะๆ นะคะ นอนหลับฝันดีค่ะ คุณ หนุ่ม sleeping_rb
     
  7. พุทธิวงษ์

    พุทธิวงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,200
    ค่าพลัง:
    +7,879
    อิๆๆดีนะที่เราไกลกัน.......ไม่งั้น......:cool:
     
  8. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    ค่ะพี่....ก็นั่งหลับหน้าจอแล้วค่ะ....ขอให้อนิสงค์ผลบุญ....ที่ทุกท่านร่วมบุญกุศลไม่ว่าจะมอบมวลสาร หรือร่วมบุญบริจาคปัจจัย...ในการจัดสร้างพระครั้งนี้ขอส่งผลให้ทุกท่านมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง....มีสุขภาพดี....มั่งมีทรัพย์.....กันทุกคนค่ะ....

    ขอตัวไปพักผ่อนก่อนนะคะ นอนหลับฝันดีค่ะ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.9 KB
      เปิดดู:
      71
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.9 KB
      เปิดดู:
      52
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.4 KB
      เปิดดู:
      51
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43 KB
      เปิดดู:
      50
    • 16.jpg
      16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.8 KB
      เปิดดู:
      86
    • 22.jpg
      22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.5 KB
      เปิดดู:
      58
    • 24.jpg
      24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.7 KB
      เปิดดู:
      77
    • 25.jpg
      25.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.9 KB
      เปิดดู:
      61
    • 26.jpg
      26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.2 KB
      เปิดดู:
      66
    • 28.jpg
      28.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.4 KB
      เปิดดู:
      72
    • มโนราห์2.gif
      มโนราห์2.gif
      ขนาดไฟล์:
      69.5 KB
      เปิดดู:
      41
    • มโนราห์3.gif
      มโนราห์3.gif
      ขนาดไฟล์:
      61.6 KB
      เปิดดู:
      52
    • มโนราห์.gif
      มโนราห์.gif
      ขนาดไฟล์:
      64.3 KB
      เปิดดู:
      51
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.7 KB
      เปิดดู:
      61
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.9 KB
      เปิดดู:
      105
  9. น้าต๋อย เซมเบ้

    น้าต๋อย เซมเบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    7,815
    ค่าพลัง:
    +58,748
    ไปโคราชมาเช่นกันครับ
    ฝนตกตลอดทาง มาถึงก็เข้ามาดูทันที
    แหม...เสียดาย พี่หนุ่มไปไม่ชวนเลย.....
     
  10. sakuda

    sakuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +2,214
    พรุ่งนี้ วันจันทร์อีกแล้วครับ งานรออยู่ครับ ทำไมวันหยุดมันเร็วจังหนอ

    ช่วงนี้โรคหวัดระบาดนะครับ ทานวิตามินซี และพักผ่อนมากๆนะครับ
     
  11. SpringDove

    SpringDove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,488
    ค่าพลัง:
    +4,807
    สวัสดีค่ะคุณหนุ่ม

    ดิฉันมีหนังสือ เกี่ยวกับพระธาตุ นานๆ จะหยิบมาอ่านสักที ได้แต่นึกว่า เมื่อไหร่จะมีบุญได้บูชาพระธาตุเหมือนคนอื่น

    เป็นบุญที่ดิฉันจองชุด กรรมการนี้ ไป

    ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  12. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    ยินดีมากๆครับ ^^ ขอบคุณสำหรับโอกาสในทุกๆอย่างนะครับ
     
  13. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    รายการมวลสารวันที่ 24-26 เดือน9 2010

    <TABLE style="WIDTH: 905pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=1204 x:str><COLGROUP><COL style="WIDTH: 75pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 3657" width=100><COL style="WIDTH: 130pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 6326" span=6 width=173><COL style="WIDTH: 50pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 2413" width=66><TBODY><TR style="HEIGHT: 12.75pt; mso-height-source: userset" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: #efefef; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; WIDTH: 75pt; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl29 height=17 width=100>รายชื่อสมาชิก</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: #efefef" class=xl33 width=173></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: #efefef; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl34 width=173>มวลสารเนื้อผง+มวลสารเปียก</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl35 width=173></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: #efefef" class=xl24 width=173></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: #efefef; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: #efefef" class=xl25 width=173>มวลสารประเภทเนื้อโลหะ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: #efefef; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl26 width=173></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #efefef; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; WIDTH: 50pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl31 width=66>วันที่โพส</TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt; mso-height-source: userset" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; WIDTH: 75pt; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl30 height=17 width=100></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl27 width=173>มวลสารธรรมชาติ+มวลจากสารครูบาอาจารย์</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl27 width=173>พระเครื่องชำรุดแตกหัก+เครื่องรางของขลัง และอื่นๆ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl27 width=173>พระเครื่อง+ที่สมบูรณ์</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl28 width=173>พระเครื่องเก่าชำรุด และเครื่องรางของขลังเนื้อโลหะ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl28 width=173>โลหะอาถรรพ์+โลหะอื่นๆ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; WIDTH: 130pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl28 width=173>พระเครื่องโลหะที่สมบูรณ์</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; WIDTH: 50pt; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl32 width=66></TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl36 height=17 align=left>นะจักรวาล</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl39></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl39 align=left>ลูกอม ฉลองวันเกิด หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl39 align=left>พระผงโต๊ะหมู่ดีเลิศ หลวงปู่มหาโส ขอนแก่น</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl42 align=left>สากเหล็กน้ำพี้ หลวงปู่ทองดำ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl42></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl42 align=left>เหรียญโต๊ะหมู่กะไหล่ทอง หลวงปู่ลี ผาแดง</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: #efefef; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl45 align=left>24/9/2010</TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl37 height=17></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40 align=left>สมเด็จข้าวสารหิน แตกๆ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40 align=left>พระผงรูปเหมือนชานหมากหลวงปู่ชอบ ฐานสโม</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43 align=left>รูปเหมือนหลวงปู่ดู่ จากวัดถ้ำเมืองนะ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl46 align=left>"------------"</TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl37 height=17></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40 align=left>จตุคาม วัดชัยศรีภูมิ์ รุ่นแรก จ.เชียงใหม่</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40 align=left>พระผงรูปเหมือนหลวงปู่โกวิท วัดป่าผาเจริญ</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43 align=left>รูปเหมือนหลวงพ่อทวดนวล วัดตุยง</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl46 align=left>"------------"</TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl37 height=17></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40 align=left>พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ทวด พิมพ์เปิดโลก</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43 align=left>ปรกฤษีหลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักนาม</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl46 align=left>"------------"</TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl37 height=17></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43 align=left>รูปเหมือนหลวงพ่อสมพร วัดป่าเวียงสวรรค์</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl46 align=left>"------------"</TD></TR><TR style="HEIGHT: 12.75pt" height=17><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 12.75pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl37 height=17 align=left>herun</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl40 align=left>พระ3องค์ หลวงปู่เจียม สุรินทร์</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl43></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl46 align=left>25/9/2010</TD></TR><TR style="HEIGHT: 13.5pt" height=18><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: #ffcc99; HEIGHT: 13.5pt; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl38 height=18 align=left>woottipon</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl41 align=left>ผงพุทธคุณรวม</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl41></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ffff99; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl41></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl44></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl44></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ff99cc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid" class=xl44 align=left>เหรียญทำน้ำมนต์ ไม่ทราบสำนัก</TD><TD style="BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BACKGROUND-COLOR: #ccffcc; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid" class=xl47 align=left>26/9/2010</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. SpringDove

    SpringDove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,488
    ค่าพลัง:
    +4,807
    คุณเดชา ดิฉันขออนุญาติดาวน์โลดนะคะ

    พยายามเก็บเหมือนกันค่ะ แต่ตามไม่ค่อยทัน เพิ่งจะอ่านถึงหน้า 200 กว่าๆ
    เดี๋ยวจะเดินทางอีกแล้ว กะว่าจะพริ้นออก แล้วเอาไปอ่านด้วย

    ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  15. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549
    สวัสดีครับพี่หนุ่มและพี่ๆทุกท่าน



    ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุและอรหันตธาตุ


    ของคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต


    โดยทองทิว สุวรรณทัต


    หนังสือพระธาตุปาฏิหาริย์

    a8a8a8a8a8a8a8a8a8a
    เหรียญลอยมา !
    สำหรับตัวข้าพเจ้านี้ แต่ก่อนนั้นเป็นคนอาภัพ วาสนาน้อยจริง ๆ อย่าว่าแต่จะเคยได้เห็นได้กราบพระธาตุท่านพระอาจารย์มั่นเลยแม้แต่ชื่อของท่าน ข้าพเจ้าก็ยังไม่เคยรู้จัก
    จำได้ว่า ตอนนั้นเป็นเวลาต้นปี ๒๕๑๘ ข้าพเจ้ากำลังเริ่มมีประสบการณ์ เกี่ยวกับ เหรียญวัตถุมงคล พระปาฏิหาริย์ลอยมาปรากฏบนโต๊ะพระ พานดอกไม้บูชาพระ และแม้แต่บนโต๊ะเครื่องแป้ง ก็มีเหรียญ มีพระตกลงมา
    <TABLE id=table34 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ศจ.นพ.อวย เกตุสิงห์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กำลังงงว่าควรจะทำตนอย่างไรเวลาพระลอยมา เผอิญขณะนั้นข้าพเจ้ากำลังเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ นั่งประชุมอยู่ใกล้ ๆ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ จึงเรียนปรึกษาท่าน เพราะเคยได้ยินชื่อว่าท่านมีความรู้ทางด้านพระมาก
    คุณหมออวยถามว่า “พระลอยมานั้น ลอยน้ำมาหรือ?” ข้าพเจ้าปฏิเสธ
    ท่านก็ว่า “อยากได้แล้วมีคนนำมาให้ตรงกับที่อยากได้ใช่ไหม?”
    ข้าพเจ้าก็ปฏิเสธอีกและเมื่อเล่าให้ฟังว่า คำว่า “ลอยมา” นั้น ข้าพเจ้าหมายความเช่นไร คุณหมอก็ว่า แปลกจริง ! และพอถึงวันประชุมในอาทิตย์หน้าก็จะคอยถามว่า “วันนี้มีอะไรลอยมาอีก” ซึ่งข้าพเจ้าก็จะรายงานให้คุณหมอฟังทุกครั้ง ว่าหลังจากวันประชุมครั้งสุดท้ายนั้น ต่อมามีอะไรลอยมาอีก
    วันนั้นพอถูกถาม ข้าพเจ้าก็ตอบว่า “คราวนี้มีเหรียญใครไม่ทราบ มี ๒ หน้า เป็นพระหน้าหนึ่ง ชื่อ มั่น อีกด้านหนึ่ง ชื่อเสาร์
    คุณหมออวยฟังแล้วก็บอกว่า
    น่ากลัวจะเป็นอาจารย์ของอาจารย์ผม อาจารย์ของผม ท่านอาจารย์ขาว อาจารย์ของท่านชื่ออาจารย์มั่น และอาจารย์ของท่านอาจารย์มั่น ชื่อท่านอาจารย์เสาร์ คุณไม่รู้จักหรือ ท่านทั้งสองเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อ คนเคารพมากทางภาคอีสาน
    ข้าพเจ้าผู้โง่ ผู้เขลา และผู้หลงก็หัวเราะ บอกคุณหมออวยว่า
    โอ๊ย...คงไม่ใช่ท่านอาจารย์ที่คุณหมอว่ามีชื่อเสียงมากนั่นหรอกค่ะ ดิฉันไม่ทราบเหรียญใครดูเหมือนมีคำ “ภูริทัต...ภูริทัตติดอยู่ด้วย
    คุณหมอตกใจมาก ที่ทราบว่าข้าพเจ้าโง่เขลา ไม่รู้จักแม้กระทั่งชื่อท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถร ะ
    จากนั้นมานั่นเอง ที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เรื่องของท่าน อาจารย์ของท่าน และก็ทึกทักเอาว่าท่านทั้งสองคงนับเราเป็นศิษย์ เราจึงมีโอกาสได้เหรียญของท่านลอยมาและจากนั้นมา เมื่อได้ยินว่ามีศิษย์สายท่านอาจารย์มั่น มากรุงเทพฯ ก็ขวนขวายไปกราบให้เป็นมงคลและได้ติดตามไปกราบที่วัดของแต่ละองค์
    ได้เคารพ ได้เรียนรู้ ได้ฟังคำสั่งสอนจากท่านทุกองค์ ด้วยความเคารพรักเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมหัวใจมาจนกระทั่งทุกวันนี้
    ได้นะเจ้าคะ
    <TABLE id=table35 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วันหนึ่งจำได้ว่าในปี ๒๕๒๑ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐได้ถามข้าพเจ้าว่า
    คุณสุรีพันธุ์มีพระธาตุท่านอาจารย์มั่นหรือยัง
    เมื่อเรียนท่านว่ายังไม่มี ท่านก็ถามต่อด้วยความเมตตาว่า “ถ้าจะให้เอาไหม
    ข้าพเจ้าตอบรับด้วยความยินดี
    ท่านก็บอกว่า “แบมือซี
    ความจริงก่อนหน้านั้น ท่านพระอาจารย์จวน เคยให้พวกเราได้ชมและกราบพระธาตุท่านพระอาจารย์มั่นมาแล้ว แต่ก็เป็นเพียงเพื่อเป็นมงคล ให้เรายกขึ้นตั้งไว้บนเศียรเกล้าครั้งหนึ่ง
    อีกครั้งหนึ่งมอบให้ข้าพเจ้าเพื่อทูลเกล้าทลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงบรรจุในพระเจดีย์วัดเวฬุวนาราม ที่ท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล สร้าง ณ จังหวัดพะเยา
    ครั้งนี้ ท่านจะให้เราไว้บูชาเอง ทำไมเราจะไม่ปีติยิ่ง
    ข้าพเจ้าก็ชวนเพื่อนที่นั่งอยู่ด้วยกันอีกคนหนึ่งรีบแบมือรับ
    ท่านหยิบพระธาตุจากผอบของท่านหย่อนลงมาในมือเพื่อนและข้าพเจ้าคนละ ๑ องค์
    ความที่มีนิสัยช่างตอแย และทราบว่าท่านอาจารย์สูงด้วยความเมตตา ปากจึงอดบ่นไม่ได้ “แหมให้องค์เดียวเท่านั้นหรือเจ้าคะ ขออีกองค์สิเจ้าคะ
    ขอท่านอาจารย์มั่น” ข้าพเจ้ารีบแก้ตัว เมื่อเห็นท่านอาจารย์จวนมองเป็นเชิงตำหนิว่าจะโลภละซี
    ลูกขอท่านอาจารย์มั่น” ยืนยันด้วยใจที่ระลึกถึงพระท่านอาจารย์มั่นจริง ๆ “ได้นะเจ้าคะ
    พอสิ้นคำ “เจ้าคะ” ข้าพเจ้าเหลือบตากลับมามองพระธาตุในมือ ก็ปรากฏมีเพิ่มขึ้นอีก ๑ องค์จริง ๆ จึงร้องขึ้นว่า
    เสด็จมาแล้วเจ้าคะ ท่านอาจารย์มั่นให้แล้ว
    ท่านพระอาจารย์จวนลุกขึ้นบ่นว่า “เอ.:.ขอได้จริง ๆ อาตมาขาดทุน
    ท่านบอกว่า ท่านมีพระธาตุท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ ๖ องค์ เมื่อให้เรา ๒ คน คนละ ๑ องค์ ก็ควรเหลือ ๔ องค์ นี่คงเสด็จมาหาสุรีพันธุ์ไปอีกองค์หนึ่ง ท่านคงเหลือแค่ ๓ องค์กระมัง
    อย่างไรก็ดี เมื่อท่านเปิดผอบของท่านดูใหม่ ก็ปรากฏว่าส่วนที่เหลืออยู่ในผอบนั้น กลายเป็น ๕ องค์ไป
    สำหรับพระธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ที่ท่านพระอาจารย์จวนให้ข้าพเจ้า ๑ องค์และกลายเป็น ๒ องค์ ต่อหน้าท่านพระอาจารย์จวนนั้น เมื่อเก็บบูชาไว้ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นลำดับ จนมีเท่าปัจจุบัน ลักษณะส่วนใหญ่เป็นแก้วผลึกใสดุจเพชร
    พระธาตุหลวงปู่พรหม
    <TABLE id=table36 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่พรหม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้าพเจ้าไม่มีบุญได้เคยกราบ“หลวงปู่พรหม” เลย เพราะเมื่อเริ่มจะรู้จักกราบครูบาอาจารย์ ท่านก็มรณภาพไปแล้ว
    เคยได้ยินแต่เรื่องราวของว่า เมื่อท่านบังเกิดความศรัทธาใคร่ออกบวช ท่านและภรรยาซึ่งเป็นผู้มีอันจะกิน ก็ได้ให้ทานทรัพย์สินเงินทอง ทั้งวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์จนหมด ซึ่งใช้เวลาแจกสมบัติอยู่หลายวัน
    ชีวิตของท่านและคู่ชีวิตฟังดูคล้ายกับชีวิตในสมัยพุทธกาลของท่านพระมหากัสสปะเมื่อจะออกบวชอย่างยิ่ง
    ท่านเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น รุ่นอาวุโสองค์หนึ่ง
    พระธาตุ “หลวงปู่พรหม” นี่ครั้งแรก หลวงปู่บุญ ชินวังโส ได้นำมาให้ชมและกราบคารวะลักษณะกลมเล็ก เป็นสีเหลืองใสเหมือนบุษราคัม
    วันรุ่งขึ้น ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่า “เห็นพระธาตุหลวงปู่พรหมแล้วไม่อยากได้หรือ ?
    ข้าพเจ้าเรียนท่านว่า “อยากได้เหมือนกัน
    ท่านถามว่า “เหตุใดจึงไม่ขอมีแต่คนเห็น ก็บอกขอท่านทั้งนั้น
    ข้าพเจ้าตอบว่า “ไม่กล้าขอเพราะคิดว่า พระธาตุนี้ทุกคนย่อมรักและหวง ถ้าขอก็จะทำให้ผู้ถูกขอเกิดทุกข์ และผู้ขอก็คือผู้โลภ
    หลวงปู่หัวเราะอย่างถูกใจ “อาตมารออยู่ว่าจะให้คนที่สมควรรับ สุรีพันธุ์เก็บไว้เถอะ
    เมื่อข้าพเจ้าทำหน้าตื่นตกใจอย่างไม่เชื่อหู ท่านก็ว่า “ให้จริง ๆ นะ
    ข้าพเจ้าเก็บไว้บูชา อยู่ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงคร่ำจนเกือบดำเหมือนสีโกเมน
    เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพระสุหร่ายรูปหล่อเหมือนท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ณ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) เมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๖ ได้เตรียมจัดนำพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของครูบาอาจารย์รูปพรรณและสัณฐานลักษณะต่าง ๆ ถวายให้ทอดพระเนตรและทรงสักการะ
    คืนก่อนเสด็จพระราชดำเนินระหว่างกำลังจัดเตรียมการ ได้มีพระธาตุปาฏิหาริย์เสด็จมาอีกองค์หนึ่ง ลักษณะกลมเลื่อม เป็นสีมุกดา
    พระธาตุหลวงปู่บัว
    <TABLE id=table37 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เช่นเดียวกับ “หลวงปู่พรหม” เมื่อข้าพเจ้ารู้จัก “เข้าวัด” หลวงปู่บัวก็มรณภาพแล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่มีบุญได้กราบท่าน แต่มีโชคได้รับใช้วัดของท่าน วัดป่าหนองแซง ในการจัดกฐินช่วยเรื่องเจดีย์ของท่าน และ โรงเรียนสิริปุณโณนุสรณ์ ในปี ๒๕๒๑ และเกิดอัศจรรย์เมื่อคิดจะแจกพระบรมสารีริกธาตุให้ผู้ร่วมเป็นกรรมการกฐิน แต่กรรมการกฐินเกิดมีจำนวนมากกว่าที่คิด ทำให้พระบรมธาตุมีไม่เพียงพอ แต่พระธาตุก็ปาฏิหาริย์แยกองค์ให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก (ความละเอียดอ่านในตอนที่เล่าเรื่องพระบรมสารีริกธาตุปาฏิหาริย์ในภาคข้างต้น) เป็นบุญตาที่ได้เห็น ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระคุณอันหาประมาณมิได้ของพระบรมธาตุอย่างแน่นแฟ้น
    <TABLE id=table38 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่บัว สิริปุณโณ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวมานานแล้ว ว่าอัฐิของหลวงปู่กลายเป็นพระธาตุ แต่ไม่มีโอกาสเห็น กระทั่งเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๒๗ นี้ ท่านพระอาจารย์น้อย ปัญญาวุโธ แห่งวัดถ้ำกลองเพล เมตตามอบพระธาตุหลวงปู่บัว ให้จำนวน ๓ องค์
    ท่านว่า “ให้คุณสุรีพันธุ์ไว้บูชา เพื่อจะเพิ่มมากขึ้น
    จริงอย่างท่านว่า เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ พระธาตุหลวงปู่บัว สิริปุณโณ ได้เพิ่มเป็น ๔ องค์ และในปัจจุบันเพิ่มเป็น ๗ องค์
    พระธาตุหลวงปู่คำ
    <TABLE id=table39 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระธาตุของหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต ไม่ค่อยเป็นที่ได้ยินข่าวในหมู่ศิษย์ที่เคารพพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเท่าไรนัก
    สำหรับพระธาตุของท่านที่ข้าพเจ้าได้มาบูชานี้ ได้รับความกรุณาจากท่านเจ้าอาวาสในปัจจุบันมอบให้มา ลักษณะเป็นเกล็ดเล็กละเอียดดุจไข่ปลา สีขาว
    <TABLE id=table40 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่เคยเห็นของท่านดลวิทย์ ซึ่งเป็นหลานปู่ของหลวงปู่คำ มีขนาดใหญ่มาก เป็นก้อนใส สีเหลืองดุจแก้ว งามมาก
    น่าเสียดายที่มีความคิดที่จะจัดทำหนังสือพระธาตุของข้าพเจ้านี้เพิ่งเกิดขึ้นฯ ไม่กี่อาทิตย์นี่เอง เมื่อเรียนติดต่อท่านดลวิทย์ขอถ่ายภาพพระธาตุหลวงปู่องค์ที่ว่า ปรากฏว่าท่านฝากไว้ที่บ้านโยมแม่ของท่านที่สกลนคร การจัดทำหนังสือรอไม่ได้ จึงพลาดโอกาสนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
    เป็นที่น่าสังเกตว่า พระธาตุของครูบาอาจารย์แต่ละองค์ จะมีลักษณะหลายสัณฐาน และบางทีก็หลายสีด้วย
    พระธาตุหลวงปู่อ่อน
    <TABLE id=table41 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงปู่อ่อน เจริญเมตตาธรรมให้ข้าพเจ้าอย่างสูง จนข้าพเจ้าคิดว่าในชาตินี้ทำอย่างไรหนอเราจะตอบแทนพระคุณท่านได้ให้สมกับที่ท่านเมตตาเรา
    ท่านเป็นองค์เดียวที่เรียกข้าพเจ้าว่า “คุณหนู” และใช้คำแทนองค์ท่านบางครั้งว่า “ปู่
    การที่ท่านเรียกข้าพเจ้าว่าคุณหนูนี้ ดูจะเป็นที่ขบขันของผู้ได้ยินกันมาก เพราะอายุเราครึ่งศตวรรษไปแล้ว และบางคนในที่นั้นอายุอ่อนกว่าข้าพเจ้ามากเป็น “หนู” ของข้าพเจ้า แต่ท่านกลับเรียกเธอเหล่านั้นว่า “คุณนาย
    <TABLE id=table42 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    บ้านเรือนไทยที่ลาดพร้าว

    ภาพจากเวบ www.baanruenthai.com

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านมาดูบ้านเรือนไทยที่ลาดพร้าวแล้วก็ออกปากว่า ปู่ชอบบ้านอย่างนี้มากที่สุด โปร่ง สบายดี
    ท่านเมตตาถึงกับบอกว่า “จะมาจำพรรษาให้ที่นี่นะ คุณหนูนะ
    หลวงปู่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ทราบว่านอกจากหลวงปู่เทสก์แล้ว ท่านมีพรรษาสูงที่สุด สูงกว่า แม้หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาว หรือหลวงปู่ฝั้น
    ข้าพเจ้าได้ยินท่านปรารภเช่นนั้นจึงตกใจ เพราะคิดว่า บ้านไทยเรายังไม่พร้อมที่จะมีพระมาจำพรรษา โดยเฉพาะเป็นพระเถระผู้ใหญ่อย่างท่าน
    ท่านปรารภสองครั้งสามครั้งก็ยังนิ่ง ไม่กล้านิมนต์ ได้แต่นำความไปปรึกษาท่านพระอาจารย์วันและท่านพระอาจารย์จวนว่าควรจะทำอย่างไร
    ข้อสำคัญ ข้าพเจ้าเกรงว่าตลอดเวลา ๓ เดือนที่เข้าพรรษานั้น หากเด็กรับใช้บ้านเราเกิดลากลับบ้าน ทำให้หลวงปู่ไม่ได้รับความสะดวกจะลำบาก !
    เราเคารพท่าน รักท่าน เทิดทูนท่าน ปรารถนาให้ท่านได้รับความสะดวกสบายตลอดเวลา หากมีอะไรผิดพลาดไป เราก็จะไม่สบายใจเสียใจ
    ท่านอาจารย์ทั้งสองบอกว่า “หลวงปู่ท่านเมตตาคุณ...ให้คุณมีโอกาสได้บุญ โดยการปรนนิบัติรับใช้ท่าน ฉะนั้นจงนิมนต์เถอะ
    แต่เฉพาะท่านพระอาจารย์วันเตือนว่า “แต่ระวัง อย่าให้ขาวอุดรเขาเสียน้ำใจนะ พูดกับเขาให้ดี
    ชาวอุดรมีความเคารพรักเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่อย่างมากดังนั้นเมื่อได้รับคำเตือนเช่นนี้ข้าพเจ้าจึงลองซาวเสียง พบหน้าเพื่อนชาววัดทางอุดรก็ลองคุยดู
    ได้ยินเขาว่ากันว่า “พรรษานี้หลวงปู่ว่าจะไปจำพรรษากรุงเทพฯ ใครนะจะมานิมนต์หลวงปู่ของเราไป”
    ใครนะ ใครนะ” ข้าพเจ้าตัวลีบเมื่อได้ยินเสียงซักถามกันซึ่งบางครั้งก็เป็นพระภิกษุด้วยซ้ำ
    ทำให้แม้ต่อมา หลวงปู่จะถามว่า “คุณหนูจะให้ปู่ไปจำพรรษาหรือยัง” ครั้งใด ข้าพเจ้าก็จะต้องยิ้มแหย ๆ ตอบว่า “ยังไม่พร้อมเจ้าค่ะ” ทุกครั้งไป
    เวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า จนปีสุดท้าย คิดว่าปีนี้ละ เราจะหาโอกาสรับใช้ท่านเสียที ถ้ามัวนอนใจไปดูแต่ท่านอาจารย์วัน ท่านอาจารย์จวน ท่านอาจารย์สิงห์ทองซิ ท่านหนีเราไปหมดแล้ว เราจะประมาทไม่ได้เลย
    แต่เราก็ประมาทไปจริง ๆ เพราะปีนั้นเอง เดือนพฤษภาคมปี ๒๕๒๔ หลวงปู่ก็มรณภาพ มีงานถวายเพลิงศพท่านในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
    รุ่งขึ้นวันที่ ๑ มีนาคม ข้าพเจ้ารีบตื่นแต่เช้า ยังไม่ทันสว่าง ไปที่เมรุ
    ปรากฏว่าที่เมรุมีการเก็บกวาดเรียบ ไม่เหลือแม้แต่ผงดิน ได้ความว่า เมื่อเผาจริงแล้ว ทางวัดก็เก็บอัฐิและอังคารเสร็จแตกลางดึก
    ข้าพเจ้ากลับมาเรียนถามท่านพระอาจารย์สีนวล ถึงเศษผงถ่านที่เหลือ เมื่อทางวัดจะกรุณาให้ลูกศิษย์ไปบูชาบ้าง
    <TABLE id=table43 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านตอบว่า “นอกจากอัฐิแล้วแม้แต่เศษผงถ่าน ทางวัดก็ต้องเก็บไว้หมดเหมือนกัน
    ข้าพเจ้าจึงชวนเพื่อน ๆ กลับไปที่ลานเมรุอีกครั้งหนึ่ง คุยเล่น ๆ ว่า
    ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราไปอธิษฐานขอที่เมรุก็แล้วกัน ขอเศษผงถ่านท่าน หลวงปู่คงให้เราหรอก
    ความจริงถ้าหลวงปู่ยังอยู่เราขอคำเดียว อย่าว่าแต่ผงถ่านผงดินเลย แม้อัฐิหลวงปู่ก็ต้องให้หลวงปู่เมตตาเรา
    พูดกันแล้วก็หัวเราะกันว่า พูดไปได้ว่า ถ้าหลวงปู่ยังอยู่! ก็ถ้าหลวงปู่ยังอยู่ จะมีอัฐิท่านได้อย่างไร
    พวกเราได้เศษดินเศษผงที่เมรุมาเก็บบูชาไว้ด้วยความเคารพรักอย่างสูงสุด
    ต่อมาถึงเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ได้ลองเปิดผอบขึ้นดูเห็นปรากฏรวมตัวเป็นพระธาตุจำนวน ๔ องค์
    ครั้นถึงเดือนตุลาคม เปิดดูอีกครั้ง เพิ่มเป็น ๗ องค์
    เช่นเดียวกับ พระธาตุ หลวงปู่พรหม เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาภูทอก เมื่อ ๓๐ มีนาคม๒๕๒๖ ระหว่างเตรียมจัดพระธาตุถวายให้ทอดพระเนตร และทรงสักการะ พระธาตุได้ปาฏิหาริย์มาในตลับพระธาตุหลวงปู่อีก๑ องค์ ลักษณะกลมเป็นแก้วใสประดุจเพชร

    พระธาตุหลวงปู่ขาว

    <TABLE id=table48 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่ขาว อนาลโย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงปู่ขาว เป็นศิษย์ผู้ใหญ่อีกองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    เมตตาธรรมของท่าน ซึ่งแผ่ให้แก่บรรดาบุคคลที่ไปกราบคารวะท่านนั้นใหญ่หลวงนัก ข้าพเจ้าได้เคยบันทึกเหตุการณ์บางช่วงบางตอนที่บังเอิญมีโอกาสได้ยินได้ฟัง ได้ประสบพบเห็นไว้แล้วในข้อความเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งชื่อ อนาลโยคุโณ ในหนังสืออนาลโยปูชา ซึ่งพิมพ์แจกในงานกฐินวัดถ้ำกลองเพล เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๗ ที่ผ่านมา ในที่นี้จึงขอกล่าวเฉพาะเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องอัฐิธาตุของหลวงปู่เท่านั้น
    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีนั้น ปรากฏว่า วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่กลับแคบเล็กไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทกทิศานุทิศได้หลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีร่างของท่านผู้ทรงศีลวิสุทธิ์เป็นคำรบสุดท้าย นับจำนวนหลายแสนคนเป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศ
    โดยที่ข้าพเจ้าทราบว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เก็บรักษาอัฐิของหลวงปู่รวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อจัดสร้างเจดีย์สำหรับเป็นที่สักการะของประชาชนไว้ ณ บริเวณหลังถ้ำกลองเพล
    รุ่งขึ้นจากวันถวายเพลิงข้าพเจ้าจึงไปกราบที่เมรุเป็นครั้งสุดท้ายอย่างไม่รีบร้อนอะไร เพราะคิดว่าทางราชการและทางวัดคงจัดเก็บอัฐิและอังคารผงถ่านไปหมดแตกลางดึกแล้ว
    หน้าที่ของข้าพเจ้าขณะนั้นมีเพียงไปดูความเรียบร้อยของการขนย้ายเต็นท์และเก้าอี้ ส่วนที่พวกเรานำไปจัดตั้งไว้แต่เมื่อวันวานต่างหาก
    อย่างไรก็ดี เมื่อไปถึงเมรุได้เห็นเศษผงถ่านยังมีเหลือบ้างและเห็นเศษอิฐเล็กกระเด็นตกอยู่ข้างนอก
    จากประสบการณ์ที่ศึกษาเรื่องอัฐิธาตุท่านพระอาจารย์จวน ทำให้ข้าพเจ้าเกือบจะรู้จัก “อัฐิ” หรือ “เศษปูน” สำหรับโบกเมรุเป็นอย่างดี
    ตอนสายระหว่าทางกลับมาเต็นท์ที่เราไปตั้งโรงอาหารเลี้ยงผู้ไปในงาน พบเพื่อนคนหนึ่งเดินอยู่จึงรับขึ้นมาบนรถ (ทางยาวเป็นกิโล ๆ) เธอก็กรุณาแบ่งอัฐิที่เธอไปแย่งเก็บมาได้ในตอนเช้า ให้ข้าพเจ้าอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งต่อมาข้าพเจ้าก็นำเก็บไว้บูชา
    ต่อมาเมื่อมีภาระต้องเร่งจัดทำหนังสือ “อนาลโยปูชา” ดังนี้กล่าวข้างต้น โดยที่เพิ่งเริ่มคิดจะทำหนังสือเพียงประมาณหนึ่งอาทิตย์ก่อนวันงานกฐิน เพราะบังเอิญไปพบภาพปาฏิหาริย์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาวเข้า (ความละเอียดในหนังสืออนาลโยปูชา)
    การจัดทำหนังสือจำนวน ๑๒,๐๐๐ เล่ม พร้อมภาพ ๔ สีอีก๑ ยกเศษ ให้เสร็จ พร้อมไปแจกที่วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานีในเวลา ๗ วัน แม้จะได้รับความร่วมมือจากโรงพิมพ์เพียงไร ก็ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างที่สุด
    โดยเฉพาะส่วนที่จะเป็น “อนาลโยคุโณ” นั้น เมื่อโรงพิมพ์เร่งทวงว่า ต้นฉบับอยู่ที่ไหน? ข้าพเจ้าก็ต้องตอบว่า อยู่ที่นี่ แล้วก็เอามือชี้ที่ศีรษะตนเอง
    ทั้งเลือกต้นฉบับเทศน์หลวงปู่ ตรวจปรู๊ฟ เลือกภาพประวัติ ส่งไปแยกสี เขียนคำบรรยายภาพ ตรวจความเรียบร้อย สารพัดงานที่จะต้องทำ รวมการนั่งลงเขียนอนาลโยคุโณด้วย !
    ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเลย ที่ทุกคืนพวกเราแทบจะไม่ได้นอนเลยตลอดอาทิตย์ และจะพูดกันอย่างขัน ๆ ว่า
    อาทิตย์นี้ (เวลา ๗ วัน) เราได้นอนตั้ง ๖ ชั่วโมง ๗ ชั่วโมงบ้าง ?
    โดยเฉพาะข้าพเจ้าซึ่งต้องตระเวนส่งเพื่อนรุ่นน้องที่กรุณาช่วยทำหนังสือ กลับมาถึงบ้านเป็นคนสุดท้าย.!
    คืนสุดท้ายที่หนังสือจะเสร็จนำส่งไปอุดร ข้าพเจ้าจะล้มตัวลงนอนแล้ว ได้นึกรำพึงว่า
    เราเหนื่อยแทบจะขาดใจที่ทำหนังสือถวายบูชาพระคุณหลวงปู่เล่มนี้ หลวงปู่จะรู้ไหมหนอว่าลูกเหนื่อย เหนื่อยจริง ๆ ไม่มีใครใช้ ไม่มีใครสั่ง แต่เราก็อยากทำให้ได้ที่สุด ให้พระบารมีและพระคุณานุคุณของหลวงปู่เจิดจ้ากระจ่างแก่ปวงชนชาวไทย หลวงปู่จะรู้ไหมหนอ ว่าลูกเหนื่อยแทบขาดใจทีเดียว
    คืนนั้น คิดอย่างไรไม่ทราบแทนที่ข้าพเจ้าจะล้มตัวลงนอนตามความรู้สึกที่แสนเหนื่อยและเพลีย กลับยกถาดที่ใส่อัฐิหลวงปู่ขึ้นมาตั้งและกราบ
    เมื่อเงยหน้าขึ้น ตามองไปที่จานแล้วที่ปกติใส่ดอกมะลิบูชาอัฐิหลวงปู่ ดอกมะลินั้นแห้งแล้ว บางส่วนกรอบจนเป็นผงป่นสีน้ำตาลแก่ เห็นแสงระยิบระยับสีขาวปลาบปนอยู่กับดอกมะลิที่แห้งกรอบนั้น ดูไหวตัวจนคิดว่าเป็นแมลงหรือหนอนแทรกอยู่ จึงเขี่ยดู...
    ปรากฏเป็นพระธาตุ ลักษณะงามมาก หลากสี หลากสัณฐานจึงซ้อนขึ้นมาใส่มือนับได้ ๙ องค์
    ระหว่างที่นึกชื่นชมด้วยความปีติเพราะพระธาตุของทุกองค์เป็นเงาเลื่อมงามจริง ๆ มีทั้งสีขาวสีมุกดา สีทองอุไร
    มองไปที่จานแล้วใส่ดอกไม้อีก เห็นพระธาตุเพิ่มใหม่อีก ๓ องค์ ก็ช้อนมาใส่อุ้งมือ นับรวมกับของเก่าในมือได้ ๑๒ องค์ นึกว่าท่านช่างงามจริง
    แต่เมื่อมองกลับไปที่จานแก้ว อ้าว! ท่านขึ้นมาอีก ๓ องค์ จึงตักขึ้นมาใส่มืออีก นับทวนเป็นทั้งหมด ๑๕ องค์ ลักษณะงามทุกองค์
    จึงคิดว่า ขอให้ท่านเสด็จผุดขึ้นมาให้เห็นกับตาอีกครั้งจึงจะเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่หลวงปู่รับรู้ว่าลูกเหนื่อยจริง ๆ
    พระธาตุก็ปรากฏขึ้นใหม่ในจานแก้ว เห็นผุดขึ้นกับตา ๑ องค์ สีทองอุไร จึงคิดว่าพอแล้ว ๑๖ องค์พอแล้ว เป็นโสฬสแล้ว
    <TABLE id=table49 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้าพเจ้ากราบหลวงปู่ด้วยความรู้สึกปีติ ชื่นใจ หายเหนื่อยความง่วง ความเพลียที่เคยรู้สึกมาทั้งอาทิตย์ ดูจะหายเป็นปลิดทิ้งกลับรู้สึกแช่มชื่น มีกำลังวังชาไม่ง่วงเลย
    รุ่งขึ้นนำไปให้เพื่อน ๆ ที่ทำงานชื่นชมกันว่า พระธาตุเสด็จ หลวงปู่ส่งมาปลอบเราให้หายเหนื่อย (ขอโทษ เราบังอาจพูดกันเช่นนั้นจริง ๆ)
    แต่วิสัยคนขี้สงสัยก็บ่นกันอีก
    จริงอยู่ เป็นพระธาตุนั้นแน่แล้ว แต่เป็นพระธาตุของใคร?”
    ลักษณะเหมือนพระบรมสารีริกธาตุ แต่จะว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เหตุใดมาปรากฏในจานดอกมะลิบูชาหลวงปู่ และถ้าจะว่าเป็นพระธาตุหลวงปู่ เหตุใดลักษณะจึงคล้ายเมล็ดพันธุ์ผักกาด ซึ่งเป็นลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ”
    (เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระธาตุลักษณะเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งหมดเป็นพระบรมสารีริกธาตุ)
    ระหว่างเราเถียงกันอยู่อย่างตกลงกันไม่ได้ ก็มีเส้นเกศาเส้นหนึ่งสีขาว.ปรากฏขึ้นทันทีในตลับใส่พระธาตุ ซึ่งปิดฝาแน่นอยู่จึงร้องขึ้นว่า เส้นเกศาหลวงปู่เสด็จแล้ว คงเป็นพระธาตุของหลวงปู่แน่
    วันรุ่งขึ้นหนังสือเสร็จ นำไปวัดถ้ำกลองเพลในคืนวันฉลองกฐิน และได้ถวายหนังสืออนาลโยปูชา
    เมื่อนำพระธาตุและเส้นพระเกศา ให้พระเณรวัดถ้ำกลองเพลชม ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง และ ท่านพระอาจารย์จันทาพิจารณาพักใหญ่จึงรับว่าเป็นพระธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโยจริง !
    พระธาตุท่านอาจารย์วัน
    <TABLE id=table50 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์วัน อุตตโม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถรหรือที่พวกเราเหล่าศิษย์คุ้นกับท่านมากกว่าในนามของ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม และต่อไปก็จะขอประทานใช้ชื่อสั้น ๆ เพียงท่านอาจารย์วัน นี้ ปกติท่านมักจะมีกิจนิมนต์มากที่สุดองค์หนึ่ง
    ข้าพเจ้าจำได้ว่าคราวหนึ่งเราต้องส่งรถไปรับท่านมางานฉลองโบสถ์ที่เขื่อนน้ำพอง ได้ทราบว่า ท่านฉันเช้าแล้วรับนิมนต์ไปเจิมร้านที่สกลนคร ต่อมาสวดมนต์เย็นที่อุดร จากนั้นวิ่งรถมาขอนแก่น
    เข้าไปถึงวัดพระบาทภูพานคำบนยอดเขาใกล้เขื่อนอุบลรัตน์ ตีหนึ่ง และท่านก็ตรงไปที่มณฑลพิธี สวดมนต์ให้ต่อไปจนสว่าง
    ถ้าท่านไม่มากไปด้วยความเมตตาต่อบรรดาศิษย์ ท่านก็คงไม่ยอมทรมานสังขารร่างกายของท่านปานนั้น
    ท่านคงจะทราบว่า เวลาที่จะอยู่โปรดพวกเรานั้นสั้นนัก
    การจะกราบท่านอาจารย์
    <TABLE id=table51 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุพระอาจารย์วัน อุตตโม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เพียงแต่รอฟังข่าวว่าท่านจะไปวัดใด ฉันบ้านใคร ในวันใด แล้วเตรียมไปรอ หากไม่ไปรอล่วงหน้าด้วยคิดว่าตอนเย็นท่านคงอยู่ หลังฉันเช้าสักหน่อยเราค่อยไปก็ทัน มักจะพลาดหวัง ต้องวิ่งตามไปจุดใหม่เรื่อย ๆ เรื่องเช่นนี้เป็นประสบการณ์ของข้าพเจ้าเมื่อได้กราบท่านเป็นครั้งแรก
    จำได้ว่า เป็นเวลาปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เราตามหาท่านจากวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมไปตามวัดต่าง ๆ ที่เขาว่า “ท่านอาจารย์ใหญ่จะไป” และ “ท่านอาจารย์ใหญ่ก็เพิ่งกลับไป” กระทั่งได้กราบท่านสมใจ ที่วัดป่าหนองดินดำ
    ประหลาดที่ในวันนั้นเพิ่งพบศิษย์ใหม่เป็นครั้งแรก ท่านก็เมตตาให้พระธาตุแก่ศิษย์ผู้แสนจะไม่ประสีประสาเรื่องพระธาตุเลย ๑ องค์ และลูกสาวศิษย์คนนั้นอีก ๑ องค์ (ซึ่งปัจจุบันนี้ พระธาตุ ๒ องค์มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก
    พระหลายองค์พอทราบยังวิจารณ์ว่า “ก่อนหน้านี้ ไม่เคยได้ยินว่า ท่านให้พระธาตุใครมาก่อน คุณโชคดีมาก
    ปี ๒๕๑๘ พระธาตุยังไม่ปรากฏมากและเสด็จมาให้เราได้กราบบูชามากเช่นระยะหลังนี้
    เรายังไม่ลืมว่า ดูเหมือนจะเป็นปี ๒๕๑๙ หรือ ๒๕๒๐ แล้วที่ท่านอาจารย์วันจะมอบพระบรมธาตุไปบรรจุที่พระประธานวัดหนึ่ง จำนวนเพียงร้อยกว่าองค์ถึงกับมีขบวนแห่ฟ้อนรับกันอย่างมโหฬาร การได้รับพระธาตุจากท่านในวันนั้น จึงเป็นมงคลอย่างยิ่ง
    วันนั้นได้มีเรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับท่าน และวันต่อมาก็มีอีก
    อันที่จริงเรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับท่านอาจารย์ที่ข้าพเจ้าบังเอิญได้เกี่ยวข้อง ได้ยินได้ฟัง ได้พบเห็นกับตาตัวเองนั้น มีมากจนประมาณว่า หากจะบันทึกไว้ก็คงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งได้ วันนี้จึงเสนอบันทึกเรื่องราวเฉพาะเรื่องพระธาตุของท่านเท่านั้น
    หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานเพลิงศพท่านอาจารย์ ณ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๔ แล้ว ไม่กี่เดือนต่อมาได้ข่าวว่าอัฐิของท่านเริ่มแปรเป็นพระธาตุ โดยเฉพาะถ้าใช้แว่นขยายส่องจะเห็นส่วนที่เริ่มเป็นหินปูนหรือแก้ว
    ข้าพเจ้าได้มีโอกาสกราบอัฐิของท่านที่วัดหลายครั้ง...ครั้งหลัง จำได้ว่าวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๕ ข้าพเจ้ากราบเรียนท่านอาจารย์ทองสุข สุกกธัมโมว่า จะขออนุญาตไปที่เมรุ เพื่อจะได้ผงถ่านไปบูชา
    ท่านหัวเราะแล้วว่า เวลาผ่านไปเก้าเดือนแล้ว จะมีอะไรเหลือแต่ก็ลองดูซิ...แล้วท่านก็กรุณานำข้าพเจ้าไปที่เมรุ
    จริงของท่าน !. เรียบ โล่งไปหมด ชาวบ้านเก็บกวาดไปเขาแทบจะไม่ให้เหลือแม้ธุลี !
    ท่านอาจารย์บอกให้ลองอธิษฐานดู ข้าพเจ้าจึงว่า “ถ้าหากขอพระธาตุ (ซึ่งระยะนั้นพระธาตุยังไม่มีสภาพอันสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะดูคล้ายกรวดเล็ก ๆ ธรรมดาเท่านั้น) ก็จะมีความสงสัยว่าใช่พระธาตุหรือไม่ สู้ลองขออัฐิท่านให้มากลายเป็นพระธาตุให้เราเห็นดูจะดีกว่า”
    ท่านอาจารย์ทองสุกหัวเราะแล้วว่า “ตามใจ คุณลองดูซี”
    ข้าพเจ้าไปยืนพิศดูพักหนึ่งจึงมองเห็นระหว่างซอกอิฐก่อเป็นผนังเมรุ มีอะไรขาวชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งแทรกอยู่ พิจารณาดูคล้ายอัฐิ ลองหาไม้แหลมมาเขี่ย แทนที่จะออกมากลับตกลึกลงไปในซอกมากเข้าทุกที
    ท่านอาจารย์ทองสุกบอกให้ลองอธิษฐานเชิญออกมา ข้าพเจ้าจึงทำตาม และแบมือรออยู่ข้างหน้า
    พยายามใช้ไม้ซึ่งมีปลายแหลมเล็กเขี่ยเป็นครั้งสุดท้ายนึกว่าถ้าท่านตกลงไปอีกครั้งก็ต้องไปติดอยู่ในซอกอิฐ ไม่มีทางจะได้แน่นอน
    อย่างไรก็ดี สิ่งที่เหมือนอัฐิชิ้นนั้น ก็หลุดออกมาจนได้ เห็นเป็นสีขาวลอยข้ามศีรษะข้าพเจ้าไปตกข้างหลัง
    ข้าพเจ้ารีบเอี้ยวตัวหันไปมองหา แต่ก็ผิดหวัง ในลานเมรุตรงนั้นว่างเปล่า ไม่มีเลย
    กำลังถอนใจว่าหมดหวัง แต่เมื่อเหลือบตาที่ในมือซ้ายที่ยังแบอยู่ ก็ต้องอุทานว่า
    เอ๊ะ ท่านกลับมาอยู่ในมือเราได้อย่างไรเจ้าคะ?
    เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ อัฐินั้นกลายเป็น ๒ องค์เก็บไว้บูชาต่อมาได้แปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุหลายองค์
    และเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปภูทอก เมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๖ ระหว่างจัดเตรียมพระธาตุถวายให้ทอดพระเนตร ในตลับพระธาตุท่านอาจารย์วัน ปรากฏมีเส้นเกศาขึ้น ๑ เส้น และขณะที่กำลังตื่นเต้นชี้ให้ดูเส้นเกศานั้น ก็มีเส้นเกศาปรากฏใหม่ขึ้นให้เห็นกับตาอีก ๑ เส้น รวมเป็น ๒ เส้น
    อัฐิธาตุอาจารย์สิงห์ทอง
    <TABLE id=table52 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร แห่งวัดป่าแก้วบ้านชุมพล เป็นเสมือนน้องเล็กของท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม และ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ซึ่งต่างเป็นศิษย์รุ่นเล็กของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระด้วยกัน
    ท่านสนิทสนมคุ้นเคยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน โดยเฉพาะคณะกฐินของเราจะนิมนต์ท่านทั้งสามองค์นั่งรถไปกับขบวนกฐิน แยกเป็นประธานอยู่แต่ละคัน สามคันก็สามองค์
    <TABLE id=table53 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านอาจารย์จวนเคยปรารภกับเราว่า “อาตมาคงจะตายใกล้ ๆ กับท่านอาจารย์วัน
    และท่านอาจารย์สิงห์ทองก็บอกข้าพเจ้าว่า “อาตมาจะตายพร้อมกับหลวงตาโน่น” ท่านว่าแล้วก็บุ้ยใบ้ชี้ไปทางท่านอาจารย์จวน พลางหัวเราะ
    เป็นที่ทราบกันในหมู่ศิษย์ว่า ท่านสนิทสนมใกล้ชิดล้อเลียนกับท่านอาจารย์จวนมากที่สุดเมื่อได้ยินท่านพูดกันเช่นนั้นก็คิดว่าท่านได้พูดเล่น
    และท่านก็มรณภาพไปพร้อมกันจริง ๆ ทั้งสามองค์เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๓
    สำหรับท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ได้มีการพระราชทานเพลิงศพก่อนเพื่อน ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ ข้าพเจ้าได้รับอัฐิแจกจากวัด ก็นำเก็บไว้บูชาปรากฏอัฐิมีลักษณะขาวขึ้น บางส่วนแปรสภาพตกผลึกเป็นหินนั้น บางชิ้นงอกออกจากเดิมมาก ตามที่ปรากฏในภาพ
    เอ๊ะ ! เมื่อกี้ไม่มีนี่
    <TABLE id=table54 border=0 align=left><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วันหนึ่งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสีฝากรูปล็อกเกตมาให้บอกว่า ให้เป็นรางวัล
    ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินว่า หลวงปู่เทสก์ก็จัดทำเหรียญหรือรูปล็อกเกต เมื่อได้รับจึงดีใจมาก
    ขณะนั้นข้าพเจ้ายังนั่งอยู่ที่ที่ทำงาน เป็นเวลาเย็นเลิกงานแล้วท่านผู้นำล็อกเกตมาให้กลับไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงมีเวลาชื่นชมรูปท่านอาจารย์ได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวจะเสียงาน
    ดูละเอียดกระทั่งกล่องที่ใส่ล็อกเกตมา เพราะมีเลขลำดับกำกับบนกล่องเลขเดียวกับล็อกเกตอีกด้วย...ดูอยู่พักใหญ่ก็ปิดกล่องนั่งทำงานต่อไป
    ครู่หนึ่งต่อมา ลูกกวาดลูกสาวข้าพเจ้า เปิดประตูห้องทำงานเข้ามา ด้วยรถไปรับกลับมาจากโรงเรียนแล้ว จะรอมากลับบ้านพร้อมแม่ ข้าพเจ้าจึงอวดลูกว่า ท่านอาจารย์เมตตาฝากล็อกเกตมาให้
    ดูไหมลูก ?” ข้าพเจ้าชวน แล้วเปิดกล่องล็อกเกตออกให้ลูกดูปรากฏว่ามีพระธาตุมาอยู่ในกล่องข้างรูปล็อกเกตอย่างน่าอัศจรรย์
    ได้นำความไปเล่าถวายท่านพระอาจารย์หลวงปู่เทสก์ และกราบเรียนถามท่านว่า ใครเป็นผู้ส่งพระธาตุมา
    ท่านอาจารย์ใช่ไหมเจ้าคะ? หรือพระธาตุท่านอาจารย์เจ้าคะ?
    คงเป็นเพราะคำถามกำกวม คำถามหลังนี้เอง ท่านพระอาจารย์ เทสก์จึงบ่นว่าคนพิสดาร!!
    แปลกไหม ! ไฟไม่ไหม้
    <TABLE id=table26 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    อัฐิกำลังแปรเป็นพระธาตุและพระธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลังพระราชทานเพลิงศพ (๑๘ เมษายน ๒๕๒๔) ประมาณปีเศษ ทางวัดรื้อกระสอบผงถ่านและอังคารที่นำขึ้นไปเก็บบนยอดเขา นอกจากได้พบอัฐิกำลังแปรเป็นพระธาตุและพระธาตุจำนวนมากมายแล้ว ยังได้พบ สำลีจีวร และด้ายตราสัง ปนอยู่กับผงถ่านจำนวนหนึ่ง ซึ่งจีวรส่วนใหญ่ยังไม่ไหม้ คงเป็นสีเหลือง
    ขณะนั้นไม่มีใครทันคิด ได้ปล่อยให้ลมพัดจีวรและสำลีปลิวไปหมด
    <TABLE id=table27 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สำลีจีวร และด้ายตราสังที่ไม่ไหม้ไฟ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อพบจีวรและสำลีมากเข้าข้าพเจ้าจึงเสนอความคิดจะเก็บเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่น่าเสียดายที่เหลือเพียงเล็กน้อยและที่เป็นสีดำเท่านั้น
    น่าคิดว่าสำลี จีวร และด้ายถูกไฟไหม้เผาตลอดคืน แต่ไม่ไหม้!
    เมื่อครั้งจะถ่ายภาพ...
    ในการจัดทำหนังสือ “มาตาบูชา” นี้ ข้าพเจ้าได้จัดพระธาตุเป็นหมวดหมู่เตรียมไว้เพื่อง่ายต่อการบันทึกภาพ
    กำหนดเชิญช่างภาพมาถ่ายวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ก็ต้องจัดเตรียมให้เสร็จตั้งแตกลางคืนวันที่ ๒๔
    ถึงเวลาถ่ายภาพ ปรากฏมีพระธาตุเพิ่มขึ้นจากที่จัดไว้เมื่อคืนวันที่ ๒๔ บ้าง ปรากฏให้เห็นกับตาบ้าง บางครั้งยังเห็นองค์พระธาตุเคลื่อนตัวขึ้นลงอยู่ด้วยซ้ำ
    การปรากฏองค์ของพระธาตุถ้าไม่ใช่การตกลงมาต่อหน้า ก็จะทำให้เราเห็นได้ชัด เช่นในกลุ่มพระธาตุสีขาวองค์เล็ก จะเกิดพระธาตุสีดำ...หรือในกลุ่มพระธาตุสีดำ จะเกิดพระธาตุแก้วใสองค์เล็ก
    เช่นเมื่อกำลังถ่ายภาพ ดังวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๘ ปรากฏพระธาตุแก้วใส ๓ องค์ขึ้นทีเดียว ท่ามกลางกลุ่มพระธาตุสีดำ และในที่ว่างห่างออกจากตรงที่เรากำลังเตรียมถ่ายภาพ จะมีพระธาตุผุดขึ้นครั้งละ ๑-๒ องค์
    ต่อมาเมื่อล้างฟิล์มสไลด์ภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคมมาดู ยังขาดภาพพระธาตุบางตอนอีก จึงถ่ายภาพเพิ่มในวันที่ ๔ มิถุนายน อีกครั้งหนึ่ง
    ปรากฏว่า กลุ่มพระธาตุที่มีปาฏิหาริย์พระธาตุแก้วใส ๓ องค์ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม นั้น ถึงวันที่ ๔ มิถุนายน กลับกลายเป็นมีพระธาตุแก้วใส ๔ องค์ คงเพิ่ม๑ องค์
    ส่วนที่แยกเก็บไว้ว่า พระธาตุปาฏิหาริย์ทีละ ๑-๒ องค์ รวมเป็น๗ องค์ ในวันที่ ๒๘ พฤษภาคมนั้น ครั้นถึงวันที่ ๔ มิถุนายน เพิ่มอีก ๑ องค์ กลายเป็น ๘ องค์
    รัศมีสว่างวาบ !
    ในวันถ่ายภาพเพิ่มเติม วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๒๘ ข้าพเจ้าได้ตักพระธาตุออกแจกให้น้อง ๆ ที่ทำงาน ซึ่งร่วมเหนื่อยในการถ่ายภาพ
    ครั้งแรกได้ให้พระธาตุชนิดแก้วมุกดาคนละ ๓ องค์ ต่อมาว่าจะให้พระธาตุเป็นแก้วใสดุจเพชรอีกคนละ ๒ องค์
    เฉพาะเมื่อจะส่งพระธาตุแบบแก้วใสให้คุณไสว ศรีสังข์ ยังไม่ทันถึงมือเธอก็มีแสงรัศมีสว่างวาบจากช้อนตักพระธาตุ เจิดจ้าราวกับแสงฟ้าแลบ พุ่งเข้าตาทั้งผู้ให้และผู้รับ จนต้องร้องออกมาดัง ๆ และเห็นพระธาตุแก้วใสองค์ที่สามเสด็จมาประดิษฐานในช้อนเล็กคุณไสวปีติจนขนลุกน้ำตาคลอ
    หลายสี หลายแบบ
    เท่าที่สังเกตได้ในขณะนี้พระธาตุท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีสีสันวรรณะแตกต่างกัน พอจะแยกออกตามประเภทต่างดังนี้
    ๑. สีขาว
    ๒. สีพิกุลแห้ง
    ๓. ลักษณะเป็นมันเยิ้ม และค่อยแปรเป็นแก้วสีขาว
    ๔. ลักษณะเป็นผลึกแก้ว ครึ่งขุ่นครึ่งใส-สีขาว
    ๕. ใสประดุจเพชร (ส่วนใหญ่ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด)
    ๖. สีดำปนเทา เป็นมันเยิ้ม
    ๗. สีเขียวไข่นกการเวก
    ๘. สีดำสนิท มัน ลักษณะเป็นเหลี่ยม รี กลม
    ๙. สีชมพูใส
    ขั้นตอนก่อนจะแปร
    เป็นที่น่าสังเกตว่า พระธาตุที่ลักษณะดูเป็นมันเยิ้มนั้น ต่อไปมักจะแปรเป็นแก้วผลึก
    ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากผงอังคาร
    ลำดับ ๑ ผงอังคาร (ถ่าน)
    ลำดับ ๒ มีจุดเล็กเหมือนไข่ปลา สีขาวเทาเกิดขึ้น
    ลำดับ ๓ ไข่ปลานั้นเริ่มโต มีขนาดโตขึ้น สีเทาดำ
    ลำดับ ๔ สีเทาดำ เริ่มขาวขึ้น-ขนาดพระธาตุก็ใหญ่ขึ้น
    ลำดับ ๕ ลักษณะพระธาตุสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งมักจะเข้าลักษณะเมล็ดข้าวโพด
    ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
    ลำดับ ๑ กระดูกตามธรรมชาติ
    ลำดับ ๒ กระดูกเริ่มแปรสภาพเป็นพระธาตุ แยกเป็น ๒ ลักษณะ
    ๒.๑ กระดูกที่มีลักษณะฟองกระดูกเป็นรูพรุน ฟองกระดูกจะเริ่มหดตัว รวมตัวเข้าเป็นผลึกฟองกระดูกบางส่วนจะยังคงสภาพอยู่
    ๒.๒ กระดูกที่เป็นชิ้นยาวแนวเยื่อกระดูกที่เห็นเป็นเส้นบาง ๆ ต่อไปจะแปรเป็นพระธาตุตามแนวเส้น จะเกิดผลึกขยายขึ้นจนเต็มองค์ ลักษณะสัณฐาน มักจะมีขนาดใหญ่เล็ก และรูปลักษณะตามชิ้นกระดูก ไม่เปลี่ยนไป
    ลำดับ ๓ สภาพใกล้จะเป็นพระธาตุมากขึ้น
    ๓.๑ พระธาตุลักษณะนี้แปรสภาพจาก ๒.๑ ส่วนที่เป็นผลึกหินนั้นจะมากขึ้น ส่วนที่เห็นเป็นฟองกระดูกจะน้อยลง ลักษณะเริ่มมนมีสัณฐานกลม รี เมล็ดข้าวโพด เห็นส่วนฟองกระดูกติดเพียงเล็กน้อย
    ๓.๒ พระธาตุลักษณะนี้มักจะคงรูปกระดูกเดิมไว้ โดยแปรจาก ๒.๒ เยื่อกระดูกที่เกาะเป็นผลึกหินปูนจะขยายตื้นขึ้นจนเกือบเต็มรูพรุนกระดูก ประมาณเห็นส่วนกระดูกเหลือเพียง ๑๐-๒๐%
    ลำดับ ๔ เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
    มีรูปสัณฐานต่างกันหลายแบบ เช่น เหลี่ยมบ้าง กลมบ้างรีบ้าง เหมือนเมล็ดข้าวโพดบ้างขนาดต่าง ๆ กัน คือ ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดข้าวโพด หรือใหญ่เล็กตามรูปกระดูก
    ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากเส้นเกศา
    ลำดับ ๑ เส้นเกศาตามธรรมชาติ
    ลำดับ ๒ เส้นเกศาจะหย่งตัวขึ้นและมารวมตัวกันเข้า ติดกันเป็นแพเล็ก ๆ
    ลำดับ ๓ แพเหล่านั้นจะรวมเป็น ก้อน
    ลำดับ ๔ เริ่มลักษณะเป็นพระธาตุ สีน้ำตาลอ่อนคล้ายสีพิกุล
    ลำดับ ๕ เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ สีพิกุลแห้ง หรือนวล
    ทั้ง ๓ ข้อ ขอขี้แจง
    โดยที่มีผู้สนใจเรื่องอัฐิกลายเป็นพระธาตุมาก ทั้งด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธา ทั้งด้วยความใคร่รู้ตามวิสัยปุถุชน เราบ่นกันว่า ส่วนใหญ่เรามักจะได้กราบพระธาตุกันก็เมื่อท่านเป็นพระธาตุแล้ว อัฐิและอังคารท่านค่อยๆ เปลี่ยนทีละน้อย หรือเปลี่ยนทันที ใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ ? อัฐิท่านเปลี่ยนเป็นพระธาตุได้เพราะอะไร?
    ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ และไม่มีความรู้ความสามารถที่จะอธิบายได้ แต่จากประสบการณ์ที่ได้กราบอัฐิธาตุครูบาอาจารย์มา สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเป็นระยะ ๆ (ตามช่วงเวลาที่บังเอิญเปิดทำความสะอาด จัดที่บูชา หรือมีผู้ขอชม) จึงขอเรียนถึงความคิดเห็นความเข้าใจของตน ซึ่งคงจะพอตอบข้อซักถามต่าง ๆ เหล่านั้นได้ บ้าง คือ
    ๑. อัฐิหรืออังคารของท่านค่อย ๆ เปลี่ยนแปรสภาพแน่นอน แต่มีที่เปลี่ยนทันทีบ้างนั้นจะเป็นการปาฏิหาริย์
    เช่นในกรณีท่านพระอาจารย์จวนมีผงถ่าน (บางกรณีก็เป็นผงถ่านปาฏิหาริย์ คือ เกิดผงถ่านขึ้นเดี๋ยวนั้นที่หน้าเมรุของท่าน) ใส่โถแก้วไว้ เปิดบางครั้งจะมีอัฐิลอยอยู่บนหน้า แรก ๆ เป็นขนาดเล็ก ๆ ระยะหลังครั้งหนึ่งเปิดโถแก้วพบอัฐิชิ้นใหญ่ ๆ วางอยู่เต็มหน้าโถแก้วนั้น ข้าพเจ้าขนลุกซู่ถึงก้มลงกราบ พระคุณของท่านนั้นหาประมาณมิได้ เกินรู้ เกินคิดของเราจริง ๆ
    ๒. ใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์?
    ข้อนี้ต้องขอเรียนว่าเท่าที่พบเห็นมานั้น ไม่อาจกล่าวตายตัวไปได้ บางครั้งก็เร็วมาก วันนี้เป็นผงถ่าน พรุ่งนี้เป็นพระธาตุเลย (ซึ่งเข้าลักษณะปาฏิหาริย์) แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเวลาแรมเดือน แรมปีและอัฐิก็ไม่ได้เป็นพระธาตุหมด หรือพร้อมกัน
    หรืออย่างในกรณีพระอรหันต์นิรนาม ซึ่งบันทึกไว้ต่างหากแล้วมีผู้นำผงอัฐิธาตุท่านมาให้ และครั้งแรกข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าเป็นอัฐิธาตุพระอรหันต์ เพราะมีลักษณะคล้ายผงเปลือกหอยแตก เก็บไว้๓-๔ ปี จึงเห็นเป็นพระธาตุและก็มิได้เป็นหมด ยังคงเหลือผงอัฐิอีกมาก
    ผงอัฐินั้น ผู้ให้เล่าว่าบิดาของท่านได้จากคุณปู่และคุณปู่ได้จากเจดีย์ร้าง
    เวลา ๓ ชั่วคน นานเท่าไรและเวลาที่บรรจุในเจดีย์จนเจดีย์ร้างอีกเท่าไร แต่อัฐิธาตุของท่านก็ยังแปรเป็นพระธาตุไม่หมด
    ๓. อัฐิของท่านแปรเป็นพระธาตุได้เพราะอะไร? เป็นเรื่องเกินรู้ เกินคิดของผู้เต็มไปด้วยกิเลสหนา ปัญญาหยาบอย่างข้าพเจ้า จึงได้ขออัญเชิญข้อเขียนของพระคุณเจ้า ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน มาลงพิมพ์ไว้ในตอนที่กล่าวถึง พระธาตุท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ที่ผ่านมาแล้ว โปรดกรุณาพลิกกลับไปอ่านได้
    กินพุทโธ
    มีเรื่องน่าขันควรบันทึกไว้คือ มีบางคนมาตั้งคำถามกับข้าพเจ้าว่า “คุณทราบไหม ท่านอาจารย์มั่นท่านสอนให้ลูกศิษย์ของท่านกินอะไร?
    ข้าพเจ้าไม่เข้าใจคำถามนั้นจึงย้อนถามกลับไป ท่านผู้นั้นก็บอกต่อไป
    ต้องมีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษแน่นอนครับ ไม่งั้นกระดูกของพวกท่านจะกลายเป็นพระธาตุกันมากมายอย่างไร ท่านต้องกินอะไรพิเศษแน่ ทำให้กระดูกมีลักษณะพิเศษ เผาแล้วก็เป็นพระธาตุได้ ท่านคงค้นพบแล้วก็สอนให้ลูกศิษย์กิน คุณเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดท่านหลายองค์ คงมีใครแพร่งพรายบอกคุณบ้างหรอกน่า...
    แล้วเพื่อนของท่านผู้นั้นก็เสริมว่า “นั่นซี...ถามจริง ๆ เถอะท่านกินอะไร”
    ข้าพเจ้าเกือบกลั้นหัวเราะไม่อยู่ แต่ก็ตอบกลับไปว่า
    ท่านกินพุทโธ !!

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  16. ภูวดิท

    ภูวดิท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,050
    ค่าพลัง:
    +8,086
    สวัสดียามเช้าชมรมคนรักษ์หนุ่มเมืองแกลง ทุกๆท่านครับ
     
  17. เส้นขอบฟ้า

    เส้นขอบฟ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +174
    ขอจองลูกอมรุ่น 3 จำนวน 4 ลูก ครับ
     
  18. ekarad

    ekarad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +6,264
    สวัสดียามเช้าทุกๆท่านครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. ekarad

    ekarad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +6,264
    โอนเงินให้แล้วครับ

    คุณ siwarit ครับ ผมโอนเงิน กรรมการ 2 จำนวณ 2 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท ให้แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • img082.jpg
      img082.jpg
      ขนาดไฟล์:
      115.7 KB
      เปิดดู:
      47
  20. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    สวัสดียามเช้าทุกท่านค่ะ วันนี้งานยุ่ง......แต่จะเข้ามาตามอ่านเรื่องเล่าเช่นเดิมค่ะ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...