เหรียญพระไพรีพินาศหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    88174535789423__20_1_320x200_.jpg
    พระเทพวิมลญาณ (ถาวร จิตตถาวโร)

    วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    พระเทพวิมลญาณ (ถาวร จิตตถาวโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ และอดีตรองเจ้าคณะภาค 9 (ธ.) พระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกรูปที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน อีกทั้งเป็นพระนักเทศน์นักเผยแผ่ธรรม ที่ธำรงวัตรปฏิบัติตามแบบพระสงฆ์สายคณะธรรมยุตแท้

    มีนามเดิม ถาวร วงศ์มาลัย เกิดเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2495 ที่บ้านโนนศิลาเลิง ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

    บรรพชาตั้งแต่อายุ 14 ปี และจำพรรษาอยู่ที่ จ.อุดรธานี ต่อมาย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    อายุครบ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธัมมสาโร) วัดราชผาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์

    มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก พ.ศ.2519 เปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ.2524 สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต (สันสกฤต, ฮินดี) มหาวิทยาลัยสันสกฤตสัมปุระนานันทะ พาราณสี ประเทศอินเดีย พ.ศ.2534 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และจบหลักสูตรการอบรมพระสังฆาธิการชั้นสูง ทั้งในและต่างประเทศ

    ย้อนหลังกลับไป เมื่อครั้งย้ายไปอยู่วัดปทุมวนารามใหม่ๆ ได้รับมอบหน้าที่งานด้านบริหารวัดให้รับผิดชอบ ตั้งแต่งานการปกครองพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด งานด้านการศึกษาปริยัติธรรม งานเผยแผ่ งานสาธารณูปการ และงานสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2536 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาพิศาลเถร และเปลี่ยนราชทินนามเป็นพระพิศาลพัฒนาทร ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพิพัฒนาทร

    พ.ศ.2555 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ (วิ) ที่ พระเทพวิมลญาณ

    ได้รับฝึกอบรมกัมมัฏฐาน จากพระเถรา จารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, พระราชมุนี (โฮม โสภโณ), พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) เป็นต้น ท่านจึงเป็นพระฝ่ายปฏิบัติที่มีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาต่อทุกคนที่สนใจใฝ่ธรรม ท่านจะเมตตาอบรมสั่งสอนธรรม และนำประพฤติปฏิบัติด้วยความปีติยินดี

    พุทธศาสนิกชนที่ไปฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ที่ศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ตระหนักเป็นอย่างดีว่า หลวงพ่อถาวร สั่งให้ตั้งโรงทาน แจกจ่ายอาหารให้ผู้ไปปฏิบัติธรรมได้รับประทาน มีทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง อีกทั้งยังมีอาหารมื้อเย็นแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนที่ปฏิบัติงานภายใต้อุปถัมภ์อีกด้วย

    สำหรับ "ศาลาพระราชศรัทธา" ประวัติความเป็นมาเริ่มต้นจากวันที่ 24 ต.ค.2533 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯพระราชทานผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

    จากนั้นทั้ง 2 พระองค์เสด็จฯไปถวายบังคมพระสถูปเจดีย์ที่ประดิษฐานพระสรีรังคารพระบรมราชชนก และเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปยังลานปฏิบัติธรรมลานสวนไผ่ ทรงมีพระราชปรารภถึงสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่ควรจะสร้างขึ้นอย่างถาวร ไม่ใช่เป็นหลังคาจาก หรือให้อยู่กันตามธรรมชาติอย่างที่เป็นอยู่

    จากพระราชปรารภนั้น ต่อมาจึงมีการจัดสร้างศาลาพระราชศรัทธา ขึ้นในที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระปรมาภิไธย ภปร ประดิษฐานไว้ที่หน้าบันศาลาทั้ง 2 ด้าน และที่ผ้าทิพย์องค์พระพุทธรูปพระเสริมจำลองซึ่งอัญเชิญเป็นพระประธานตลอดจนวัตถุมงคลต่างๆ ที่ได้สร้างขึ้นให้พุทธศาสนิกชนบูชา เพื่อนำรายได้สมทบทุนในการสร้างศาลาพระราชศรัทธา

    วันที่ 25 มี.ค.2536 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีเปิดศาลาพระราชศรัทธา ทรงเจิมป้ายศาลา และทรงประกอบพิธีเปิดศาลาพระราชศรัทธาเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลังจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสวนป่า ข้างศาลาพระราชศรัทธาและบริเวณโดยรอบ

    ศาลาพระราชศรัทธาอยู่ในการดูแลและบริหารงานของมูลศาลาพระราชศรัทธาและมูลนิธิถาวรจิตฺตถาวโร-วงศ์มาลัย โดย พระเทพวิมลญาณ

    ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เมื่อเวลา 01.19 น. วันที่ 18 ต.ค.2558 พระเทพวิมลญาณ มรณภาพด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ที่โรงพยาบาลตำรวจ สิริอายุ 63 ปี พรรษา 43 ข่าวสดออนไลน์

    พระสมเด็จเนื้อผงหลวงพ่อพระเสริมสร้างโดยมูลนิธิศาลาพระราชศรัทธา-มูลนิธิถาวรจิตตถาวโร-วงศ์มาลัย โดยพระอาจารย์มหาถาวรหรือพระเทพวิมลญาณ (พระตาถาวร จิตฺตถาวโร) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นผู้จัดสร้าง พิธีใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ เนื้อหามวลสารศักดิ์สิทธิ์จํานวนมาก**อีกหนึ่งพระดีพิธียิ่งใหญ่ เจตนาการจัดสร้างโปร่งใส เพื่อนํารายได้ไปสมทบทุนการก่อสร้างศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม ซึ่งพระเครื่องรุ่นนี้แกะพิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ
    เนื้อหามวลสารต่างๆ ที่นํามาจัดสร้างพระผงรุ่นนี้ มีดังนี้ พระผงธูปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดปทุมวนาราม วัดโสธรวนาราม วัดไร่ขิง วัดบ้านแหลม วัดป่าบ้านตาด วัดหินหมากเป้ง วัดหลวงพ่อโต(บางพลี) ศาลพระกาฬลพบุรี แผ่นอิฐประตูเมืองกบิลพัสด์ ด้านตะวันออก อันเป็นด้านที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จทรงผนวช ดินจากสถานพุทธประสูติลุมพินี ประเทศเนปาล ผงพระของขวัญหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ผงวัดระฆัง ผงปิโยมหาราช ผงตรีนิสิงเห และผงจากพระคณาจารย์สายพระกรรมฐานภาคอีสาน และภาคต่างๆ อีกมากมาย ฯลฯ จัดพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พ.ค พ.ศ.2535 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย และอธิษฐานจิต พระธรรมไตรโลกาจลวงปู่มั่น*** เป็นประธานดับเทียนชัย พร้อมพระคณาจารย์ทั้งสายธรรมยุตและสายมหานิกายถึง 142 รูป ซึ่งเป็นพิธีใหญ่พิธีหนึ่งที่ไม่ธรรมดา
    ท่านเจ้าพระคุณพระอาจารย์ถาวร (พระอาจารย์มหาถาวร จิตฺตถาวโร) วัดปทุมวนารามฯ กรุงเทพฯ ท่านถือเป็นกําลังหลักในสายธรรมยุติ และเป็นศิษย์องค์สําคัญในสายพระอาจารย์มั่นได้รับการอบรมกรรมฐานจากครูบาอาจารย์พระกรรมฐานหลายรูป อาทิ เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี , พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น ท่านทั้งเป็นพระนักปฏิบัติและพระนักพัฒนาที่น่าเคารพกราบไหว้มาก
    หลวงพ่อพระเสริมวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ที่เกี่ยวพันกับองค์หลวงพ่อ พระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวหนองคายมาช้านาน ตามประวัติได้กล่าวไว้ว่า จัดสร้างขึ้นพร้อม กันกับหลวงพ่อพระเสริม และหลวงพ่อพระสุก ซึ่งได้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทร์ โดยลำเลียงมาทางลำน้ำโขง แต่ในระหว่างที่ล่องมา องค์พระสุกได้จมน้ำหายไปจึงเหลือพระเพียงสององค์ เท่านั้น องค์พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ ณ วัดปทุมวนาราม กทม. ส่วนองค์พระใสนั้น ประดิษฐานอยู่ ณ วัดโพธิ์ชัย เป็นมิ่งขวัญปกป้องคุ้มครองพี่น้องชาวอีสานให้มีความสุขสงบ เรื่องความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือมาช้านาน


    พิธีมหาพุทธาภิเษกท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา และพิธีชัยมังคลาภิเษกในวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ มณฑลพิธีศาลาพระราชศรัทธาวัดปทุมวนาราม โดยอาราธนาพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศ 142 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก อาทิเช่น
    1. หลวงปู่วิริยังค์ วัดธรรมมงคล
    2. หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลาวาศ
    3. พระอาจารย์มหาถาวร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
    4. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี
    5. หลวงปู่ดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    6. หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี
    7. หลวงพ่อจำเนียร วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
    8. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    9. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    10. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    11. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการม กาญจนบุรี
    12. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    13. หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    14. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง เลย
    15. หลวงปู่คำพอง วัดพัฒนาราม อุดรธานี
    16. หลวงปู่ท่อน วัดถ้ำอภัยคีรีวัน อุดรธานี
    17. หลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง
    18. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    19. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    20. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
    21. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ระยอง เป็นต้น
    ที่มา : หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดย คุณอลุย์นันท์ทัต กิจไชยพร และ หนังสือ สระปทุมฯ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    อย่ามองข้ามพระเสริมนะครับ ท่านเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร หลวงพ่อบอกแขวนพระเสริมกันได้สารพัด แถมยังส่งเสริมกิจการงานของเราอีกด้วย..สมกับชื่อพระเสริม
    อย่ามองข้ามพระผงรุ่นนี้นะครับ หลวงพ่อเคยบอกที่บ้านเกิดท่านว่า..พระเสริมมีความศักดิ์สิทธิ์ภูติผีเกรงกลัว
    คุณไสยมนต์ดำไม่กล้าเข้าใกล้..มีอำนาจปกป้องคุ้มภัย

    พระผงหลวงพ่อพระเสริมปี 2535 พิธีใหญ่ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่(ปิดรายการ)
    IMG_20221106_142929.jpg IMG_20221106_142948.jpg IMG_20221106_142845.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2022
  2. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,987
    ค่าพลัง:
    +6,892
    ขอจองครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    1667539771139.jpg
    29 ธันวาคม น้อมรำลึก พระครูพิมลศาสนกิจ (หลวงพ่อละม่อม ฐิตาโภ) วัดย่านขาด
    ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
    ***พระเถราจารย์เสือซ่อนเล็บ สมญานาม “มหากระดอนบ้านย่านขาด” ผู้สืบสายวิทยาคมครูบาอาจารย์
    ***สายวัดมะขามเฒ่าจากหลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย หลวงพ่อพุฒิ วัดเขาไม้แดง เมื่อครั้งอยู่ที่วัดอินทรีศรีสังวร จ.สุโขทัย
    ***สายหลวงพ่อโพธิ์วัดวังหมาเน่า(หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก) จากหลวงพ่อแจง วัดเกาะแก้ว จ.พิษณุโลก
    ***หลวงพ่อฝ้าย วัดสนามไชย จ.พิษณุโลก
    ***หลวงพ่อเถ้า วัดคลองตาล จ.พิษณุโลก
    ***หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
    ***เจ้าคุณแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
    นามเดิม นายละม่อม ปานกลิ่น (สกุลเดิม คร้ามสมอ)วิทยฐานะ ประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพ ทำนา โยมบิดา ชื่อ นายฉาบ คร้ามสมอ โยมมารดา ชื่อ นางพัด คร้ามสมอ เกิด วันพุธ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2465 แรม 2 ค่ำ เดือน 9 ปี จอ ณ บ้านดงสมอ ในตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ท่านมีพี่น้องทั้งหมด รวมท่านด้วยจำนวน 9 คน ได้แก่
    1.พระครูพิมลศาสนกิจ (หลวงพ่อละม่อม ฐิตาโภ)
    2.นางผัน คร้ามสมอ
    3.นายรวม คร้ามสมอ
    4.นายรวย คร้ามสมอ
    5.นายผิน คร้ามสมอ
    6.นายเสาร์ คร้ามสมอ
    7.นางประทุม คร้ามสมอ
    8.นางบุญธรรม คร้ามสมอ
    9.นางประทิน คร้ามสมอ
    ช่วงชีวิตในวัยหนุ่มของท่านนั้น ไม่ต่างไปจากชาวบ้านชนบททั่วไป ท่านเคยมีครอบครัวมาแล้ว โดยภรรยาของท่านทราบชื่อว่า นางชิด ท่านมีบุตรสาวจำนวน 2 คน คนโตชื่อ นางสมัย คนที่สอง ชื่อนางสมาน ยามที่ท่านยังดำรงอยู่ในสถานะหัวหน้าครอบครัว ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าครอบครัวที่ดีโดยตลอด ประกอบอาชีพ ทำนา และขึ้นตาลเพื่อปาดน้ำตาลขายหารายได้อีกทางหนึ่ง ท่านมีนิสัยประหยัดไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย อยู่มาไม่นาน นางชิด ผู้เป็นภรรยาได้ถึงแก่กรรม และต่อมา นางสมัย บุตรสาว ก็ถึงแก่กรรมอีกคน เหตุการณ์นี้ยังให้เกิดความเสียใจแก่ท่านอย่างมาก จึงตัดสินใจออกบวช โดยไปฝากตัวรับการอบรมสั่งสอนด้านบาลี และการไล่เจ็ดตำนาน จากหลวงพ่อเถ้า วัดคลองตาล หลวงพ่อท่านมีความเกรงอกเกรงใจในหลวงพ่อเถ้ารูปนี้มาก ด้วยว่าหลวงพ่อเถ้าท่านเป็นพระที่มีความเคร่งครัด ในพระธรรมวินัย ยิ่งถ้ามีใครมาฝากตัวปรนนิบัติเพื่อเตรียมตัวบวชด้วยแล้ว ถ้าไม่ได้เจ็ดตำนานไม่มีทางได้บวชแน่นอน หลวงพ่อละม่อม ท่านมีความรู้ติดตัว อ่านออกเขียนได้ ทั้งยังติดตามคลุกคลีอยู่กับสมภารวัดย่านขาดมาตลอด ในสมัยก่อน ใครอยากมีความรู้ก็นิยมเข้าวัดติดตามพระเถระสมภารวัด ก็จะได้รับการแนะนำสั่งสอนให้อ่านออกเขียนได้และรวมถึงพื้นฐานวิทยาคมอีกด้วย เมื่อศึกษาฝึกฝนจนท่านมีความชำนาญดีแล้วจึงเดินทางไปอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดใหม่อภัยยาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อมีอายุได้ 32 ปี มีพระพิษณุบุราจารย์ (เจ้าคุณแพ)วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรญาณมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนิยมศีลาจาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทำการอุปสมบท วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2496 เวลา 14.45 น. ได้รับฉายาว่า***ฐิตาโภ***สังกัดมหานิกาย และกลับมาจำพรรษาที่วัดย่านขาดบ้านเกิดของท่าน ภายหลังจึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดย่านขาด จวบจนปัจจุบัน เกี่ยวกับนามสกุลของท่านนั้น เดิมที่เดียวท่านใช้สกุล คร้ามสมอ แต่ด้วยท่านนั้นก็มีศักดิ์เป็นหลานของท่านพระพิษณุบุราจารย์ (เจ้าคุณแพ)โดยท่านเจ้าคุณแพ ท่านมีนามสกุลเดิมว่า ปานกลิ่น ในขณะที่บวชและจัดทำสูติบัตรประจำตัว ท่านเจ้าคุณแพ ก็ลงนามสกุลเป็น ปานกลิ่น จึงทำให้นามสกุลที่ปรากฏในเอกสารของท่านเป็นปานกลิ่น จนปัจจุบัน การดำรงตำแหน่งของท่านมีลำดับ ดังนี้
    ***1.วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2509 อายุ 43 ปี พรรษา 13 ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์
    ***2.วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2510 อายุ 44 ปี พรรษา 14 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูพิมลศาสนกิจ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดย่านขาด วิทยฐานะ นธ.โท
    ***3.วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2521 ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง ให้พระครูพิมลศาสนกิจ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดย่านขาด ในฐานะวัดราษฎร์ชั้น ตรี
    ***4.วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง ให้พระครูพิมลศาสนกิจ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดย่านขาด ในฐานะวัดราษฎร์ชั้น โท
    ***5.วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2537 ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง ให้พระครูพิมลศาสนกิจ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดย่านขาด ในฐานะวัดราษฎร์ชั้น เอก
    ***6.วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ สัญญาบัตร พัดยศ เป็นเจ้าอาวาส เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้น เอก
    พระครูพิมลศาสนกิจ(หลวงปู่ม่อม ฐิตาโภ) มรณภาพลง เมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 29 ธันวาคม 2560 สิริอายุ 95 ปี พรรษา 63

    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    สมเด็จปรกโพธิ์หลวงพ่อขาววัดย่านขาดหลวงปู่ม่อมอธิษฐานจิตให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบแฟลชหรือ j&t หรือเคอรี่
    img_20221104_123244-jpg.jpg img_20221104_123257-jpg.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    “หลวงปู่บู่ วัดหนองคันจาม” จังหวัดนครนายก เป็นอีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า ที่มีผู้คนให้ความเคารพศรัทธาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากไปด้วยพุทธาคม ปลุกเสกวัตถุมงคลได้อย่างเข้มขลัง วัตถุมงคลหลวงปู่บู่จึงสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บูชามานักต่อนัก ทั้งเรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย จนทำให้มีสานุศิษย์จำนวนมาก
    สำหรับเหรียญที่สร้างประสบการณ์และเป็นที่นิยมบูชา เช่น เหรียญหลวงปู่บู่ ที่ระลึกฉลองสมณศักดิ์ ทำบุญครบรอบ ๗๕ ปี ปี 18 วัดหนองคันจาม ตัวเหรียญมีการออกแบบได้อย่างสวยงามเรียบง่ายเดิมๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังเป็นเหรียญที่หายากในปัจจุบันอีกด้วย เพราะสร้างมานานแล้ว อีกทั้งยังมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน คนในพื้นที่ต่างรู้กันเป็นอย่างดี อีกทั้งหลวงปู่บู่ ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมถะเรียบง่าย สันโดษ เป็นที่เคารพของคนทั้งในและนอกพื้นที่ จึงเรียกว่า หากใครมีเหรียญหรือวัตถุมงคลของหลวงปู่บู่ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดก็ตาม ย่อมเกิดความเป็นมงคลต่อตนเองทั้งสิ้น
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จรุ่นแรกหลวงปู่บู่วัดหนองคันจามปี 2519 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาททั้งหมดแฟลชหรือ j&t หรือเคอรี่
    IMG_20221106_170445.jpg IMG_20221106_170501.jpg

     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    1269927-517d8.jpg
    พระผงหลังใบโพธิ์ หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร ปี 2516 หลวงพ่อทบ, หลวงปู่โต๊ะ ฯลฯ ปลุกเสก

    พระผงหลังใบโพธิ์ หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร ปี2516 เมื่อปี พ.ศ.2516 ทาง วัดสุขุมาราม วัดที่หลวงพ่อเขียนสร้างไว้ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลพระเครื่องเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ขึ้น จึงจัดพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ยิ่ง มีการอัญเชิญ ไฟพระราชทาน จากสมเด็จพระสังฆราช มายังพิธีโดยทางรถไฟ พระเครื่องวัตถุมงคลในพิธีดังกล่าวจัดสร้างพระผงจำนวน 2 พิมพ์ คือ พระพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์และพระรูปเหมือน หลวงพ่อเขียน สามเหลื่ยม นอกนั้นเป็นเหรียญรูปหล่อ และพระบูชา พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อเขียน สามเหลี่ยม ปี 16 มีส่วนผสมผงเก่ามากมาย อาทิเช่น ผงหลวงพ่อเขียน , แป้งที่หลวงพ่อเขียนปลุกเสก,ผงหลวงพ่อพิธ,ผงหลวงพ่อเงิน เป็นต้น รายชื่อพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมพุทธาภิเษก คือ
    1.พระครูวิชิตพัชราจารย์ (หลวงพ่อทบ วัดพระพุทธบาทชนแดน จ.เพชรบูรณ์)
    2.พระราชสังข์วราภิมนต์ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี)
    3.หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    4.หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร
    5.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    6.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    7.หลวงปู่เส็ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพ
    8.หลวงพ่อชม วัดเขาดิน จ.อยุธยา 9.หลวงปู่เกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย
    10.ครูบาอินถา วัดพระธาตุดอยเต่าคำ จ.ลำปาง
    และพระเกจิในจังหวัดพิจิตรและเกจิในละแวกใกล้เคียง ร่วมกันปลุกเสกอีกคับคั่ง
    ส่วนผสมมวลสารขององค์พระ ประกอบไปด้วย ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงว่านวิเศษ108 ผงใบโพธิ์จากวัดหลวงพ่อเงิน และเส้นเกศา จีวรของหลวงพ่อเขียน **หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง (นั่งปรกในทิศตะวันออก) หลังพิธีพุทธาภิเษก หลวงพ่อบอกกับท่านพระครูสุรินทร์ว่า พิธีนี้สมบูรณ์มาก เป็นประกายพรึกสว่างไสวไปทั้งโบสถ์ (ไม่ใช่เฉพาะวัตถุมงคลแต่จากวัตถุมงคลแผ่รัศมีประกายพรึกจนสว่างไปทั้งโบสถ์ซึ่งเป็นพิธีที่ดีมากที่สุดพิธีหนึ่ง) รัศมีประกายพรึก ในความหมายหมายถึงพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์หมดทุกอย่าง หลวงพ่อฤๅษีลิงดำบอกพระครูสุรินทร์ว่า เป็นพิธีมหาจักรพรรดิ เพราะเจตนาในการสร้างนั้นก็บริสุทธิ์ สร้างเพื่อแจกผู้ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์วัดสุขุมาราม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านบอกอีกว่า หลวงปู่เขียนท่านก็มาร่วมปลุกเสกด้วย หมายถึงเอากายทิพย์มาร่วมครับ
    1269927-4bca4.jpg
    คาถาบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้ ตั้งนะโม 3 จบ ว่าพุทธาราธะนัง ธัมมาราธะนัง สังฆาราธะนัง แล้วว่า คาถามหาลาภ ธะนะกาโม ละเภ ธะนังธะนะโภคัง ภะวันตุ เม อัตถิ การะเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตังสุตวา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงหลวงปู่เขียนให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบแฟลชหรือj&tหรือเคอรี่
    IMG_20221106_172115.jpg IMG_20221106_172058.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2022
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    1667793235600.jpg
    วัดชัยพฤกษมาลา เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อเดิมคือวัด ชัยพฤกษฯ ต่อมาได้รับบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 4 ต่อมาโดยลำดับ และได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นโท และพระราชทานนามว่า วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร วัดนี้ตั้งอยู่ที่ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน กทม. มี เจ้าอาวาสรูปหนึ่งที่พัฒนาวัดชัยพฤกษฯ ให้เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดก็คือ พระนันทวิริยะ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่าเจ้าคุณโพธิ์นั่นเองครับ ท่านเจ้าคุณโพธิ์เป็นชาวบางอ้อยช้าง
    เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2395 โยมบิดาชื่อ เมฆ เป็นเจ้ากรมในกรมหมื่นภูวดีราชหฤทัย โยมมารดาชื่อ อ้น เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ได้ศึกษาอักษรสมัยในสำนักวัดบางอ้อยช้าง ครั้นอายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางอ้อยช้าง ได้เล่าเรียนนักธรรมและบาลี ต่อมาพรรษาที่ 8 ก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง ในปีพ.ศ.2443 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูนนทปรีชา ว่าที่เจ้าคณะแขวง
    พอถึงปี พ.ศ.2444 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีเดียวกันนี้ก็ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดชัยพฤกษมาลา ครั้นพอถึงปี พ.ศ.2455 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระนันทวิริยะ" และในปีพ.ศ.2459 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี ท่านครองวัดชัยพฤกษมาลานานถึง 26 ปี มรณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2465 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54
    (หมายถึง วัดชัยพฤกษมาลา แต่เดิมนั้นขึ้นกับตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันขึ้นกับเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร)
    พระเนื้อดินกรุวัดชัยพฤกษมาลานั้น แตกกรุเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2509 เนื่องจากทางวัดได้ซ่อมแซมหลังคาพระอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรม ขณะที่รื้อหลังคาอยู่นั้นก็ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่มากมายในเพดานพระอุโบสถ ตรงตำแหน่งพระเกศของพระประธาน จำนวนมากมายรวมได้ประมาณ 3 ปี๊บ จากการบอกเล่า ของ ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (อิ่ม ยโสธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยพฤกษมาลาในสมัยนั้นบอกว่า พระทั้งหมดสร้างโดยท่านเจ้าคุณโพธิ์ สมัยที่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในปีพ.ศ.2442
    ท่านเจ้าคุณโพธิ์ได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ทรง เพื่อแจกให้แก่ศิษย์ ทั้งปวง เล่าขานกันว่าท่านเจ้าคุณโพธิ์สำเร็จผง เป็นพระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณ และท่านได้ทำผงผสมคลุกเคล้ากับ ดินปั้นหม้อที่ขุดได้จากเมืองปทุมฯ และนนทบุรี และท่านก็ได้ทำพิธีปลุกเสกที่วัดบางอ้อยช้างนั่นเอง ครั้นเมื่อท่านได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชัยพฤกษมาลา ท่านจึงได้นำพระเครื่องดังกล่าวมาบรรจุไว้ที่เพดานพระอุโบสถวัดนี้
    พระเนื้อดินวัดชัยพฤกษมาลาฯ นี้เด่นทางด้านเมตตามหานิยม มีโชคลาภ และโภคทรัพย์ มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ และ มีขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก เนื้อดินเผามีหลายสีด้วยกัน แต่ส่วนมากมักจะเป็นสีเหมือน ใหม่ สนนราคาไม่แพงนักราคาประมาณหลักพันต้นๆ ที่ไม่ค่อยสวยอาจจะแค่หลักร้อยครับ แล้วแต่พิมพ์ทรงและความสวยสมบูรณ์ครับ นับว่าเป็นพระเก่าที่น่าสนใจพอสมควร อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก มีจำนวนมากพอสมควร จึงสามารถเสาะหาได้ไม่ยากนักเช่นกันครับ
    พระพุทธชินราชเนื้อดินเจ้าคุณโพธิ์วัดชัยพฤกษ์มาลา พระเนื้อดินกรุวัดชัยพฤกษมาลานั้น แตกกรุเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2509 เนื่องจากทางวัดได้ซ่อมแซมหลังคาพระอุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรม ขณะที่รื้อหลังคาอยู่นั้นก็ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่มากมายในเพดานพระอุโบสถ ตรงตำแหน่งพระเกศของพระประธาน จำนวนมากมายรวมได้ประมาณ 3 ปี๊บ จากการบอกเล่า ของ ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (อิ่ม ยโสธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยพฤกษมาลาในสมัยนั้นบอกว่า พระทั้งหมดสร้างโดยท่านเจ้าคุณโพธิ์ สมัยที่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในปีพ.ศ.2442
    ท่านเจ้าคุณโพธิ์ได้สร้างพระเนื้อดินเผาไว้หลายพิมพ์ทรง เพื่อแจกให้แก่ศิษย์ ทั้งปวง เล่าขานกันว่าท่านเจ้าคุณโพธิ์สำเร็จผง เป็นพระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคุณ และท่านได้ทำผงผสมคลุกเคล้ากับ ดินปั้นหม้อที่ขุดได้จากเมืองปทุมฯ และนนทบุรี และท่านก็ได้ทำพิธีปลุกเสกที่วัดบางอ้อยช้างนั่นเอง ครั้นเมื่อท่านได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชัยพฤกษมาลา ท่านจึงได้นำพระเครื่องดังกล่าวมาบรรจุไว้ที่เพดานพระอุโบสถวัดนี้พระเนื้อดินวัดชัยพฤกษมาลาฯ นี้เด่นทางด้านเมตตามหานิยม มีโชคลาภ และโภคทรัพย์ครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระพุทธชินราชเจ้าคุณโพธิ์วัดชัยพฤกษมาลาให้บูชา
    300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่

    IMG_20221107_110015.jpg IMG_20221107_110035.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2022
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    MO49-ประวัติหลวงปู่บุญมี-โชติปาโล.jpg
    พระภาวนาวิศาลเถร หรือ หลวงปู่บุญมี โชติปาโล มีนามเดิมว่า บุญมี นามสกุล กุศลคุณ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2452 ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา ณ บ้านเลขที่ 136 หมู่ที่ 2 บ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ นายกุ กุศลคุณ โยมมารดาชื่อ นางเลื่อน กุศลคุณ ท่านเป็นบุตรคนโตในพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 10 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 6 คน

    ในช่วงชีวิตสมณเพศของหลวงปู่บุญมี ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ กระทั่งปีพุทธศักราช 2480 หลวงปู่บุญมีเดินทางกลับมายังจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข โดยท่านได้ทำการพัฒนาก่อสร้างวัดสืบต่อจากพระเดชพระคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ซึ่งเป็นผู้นำพาในการสร้างวัดสระประสานสุข และเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน หลวงปู่บุญมีได้พัฒนาวัดสระประสานสุขซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ให้มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงทั่วไปเรื่อยมาตามลำดับ
    หลวงปู่บุญมี ได้อุทิศตนเป็นสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำหน้าที่สืบทอดและเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ตลอดชีวิตในสมณเพศ หลวงปู่บุญมีท่านได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี ที่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน เห็นได้จากการเริ่มต้นพัฒนาวัดสระประสานสุข จากวัดป่าธรรมดาให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเป็นวัดปฏิบัติที่มีชื่อเสียง ญาติโยมประชาชนจากทั่วประเทศมีจิตเลื่อมใสศรัทธาเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่กันอย่างไม่ขาดสาย

    เมื่อครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงาน สมโภชเฉลิมฉลองการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีครบ 200 ปี ในปีพุทธศักราช 2535 มีการจัดทำหนังสือที่ระลึกชื่อว่า อุบลราชธานี 200 ปี พระครูไพโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) เจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข ท่านได้รับคัดเลือกและยกย่องให้เป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพนับถือทางด้านพระเถระสายวิปัสสนาธุระในจังหวัดอุบลราชธานี จึงถือได้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ตัวอย่างที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีสมควรยกย่องให้เป็น “พระดีศรีอุบล” และเป็น “พระดีศรีแผ่นดิน” ที่ชาวไทยทั่วประเทศสมควรเอาเป็นตัวอย่างตลอดไป
    หลักคำสอนของหลวงพ่อบุญมีท่านเน้นการอบรมสั่งสอนให้รู้คุณของพระแก้ว ๒ องค์ คือ บิดา มารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในบ้านที่ทุกคนควรกราบไหว้บูชาตลอดกาล สอนให้ทุกคนบ่าเพ็ญตนตามหลัก กุศลสมาทาน สอนให้รู้จักศาสนากับสังคมไทย การประหยัดและอดออมตามหลักพระพุทธศาสนาและใน การปฏิบัติธรรม ท่านสอนให้ปฏิบัติธรรมเป็นกิจประจ่าวัน โดยการนั่งสมาธิภาวนาทุครั้งในเทศกาลต่างๆ ให้บำเพ็ญทานบารมี สมาทานศีล ปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทุกครั้ง
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูปหล่อหลวงปู่บุญมียืนรับบิณฑบาต ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flashหรือ j&t หรือเคอรี่

    img_20221012_164127-jpg.jpg img_20221012_164200-jpg.jpg img_20221012_164144-jpg.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    1667884192162.jpg

    หลวงปู่บุญตาท่านมีความช่ำชองในการเพ่งกสิณไฟเป็นพิเศษถึงขนาดที่กำหนดจิตเสกพระให้แก่ผู้ศรัทธาเพียงชั่วอึดใจพระที่ท่านเสกให้ถึงกับร้อนจัดขึ้นทันที เหรียญที่สร้างชื่อให้หลวงปู่บุญตา เป็นที่รู้จักมากขึ้นคือเหรียญรุ่นฟ้าผ่า เป็นเหรียญนั่งเต็มองค์ สร้างปี 2517 และที่น่าอัศจรรย์คือมีผู้ห้อยพระของท่านถูกฟ้าผ่า แต่รอดตายได้อย่างปาฏิหารย์วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นประสบการณ์เพียบ....เรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย โชคลาภ มีพูดคุยปากต่อปากของลูกศิษย์ของท่านไม่ขาดปากตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ เหรียญรุ่นปลอดภัยแบบครึ่งองค์ มีดหมอแบบปากกาของหลวงปู่บุญตา ก็ได้รับความนิยมหายาก เช่นกัน เพราะท่านสร้างตามตำราสายหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ปัจจุบันพระเครื่องของหลวงปู่บุญตา วัดคลองเกตุ เป็นที่นิยมสะสมมาก และวัตถุมงคลของท่านไม่มีวางให้เห็นตามแผงพระทั่วไป เพราะลูกศิษย์เห็นจะเก็บไว้หมดนาน ๆ ทีจึงจะเห็นวัตถุมงคลของท่านออกมาให้เห็นตามตลาดพระบ้างหลวงปู่บุญตา มีสิริอายุถึง 93 ปีมรณภาพ เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541
    แหวนหลวงปู่บุญตาวัดคลองเกตุให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&tหรือเคอรี่(ปิดรายการ)

    IMG_20221108_120013.jpg IMG_20221108_120039.jpg IMG_20221108_120053.jpg IMG_20221108_115949.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    หลวงพ่อหยอด-วัดแก้วเจริญ1.jpg
    พระผงรูปเหมือนใบโพธิ์ หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นอริยทรัพย์ ปี 2536
    คติธรรมหลวงพ่อหยอด มอบไว้ในวันที่ 1 มกราคม 2534
    "... เหตุที่เขามาหา เพราะเขาเชื่อว่าเราสามารถทำให้เขาหมดทุกข์ หมดความเดือดร้อนใจสบาย ใจเป็นสุขเขาก็เกิดกุศล เมื่อจิตเป็นกุศลทำการทำงานใด ก็ทำด้วยความมีสติ ทำสำเร็จเมื่อทำให้เขาเป็นสุข เราเกิดปิติเราก็เกิดกุศล.
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ....รูปพระผงรูปเหมือนใบโพธิ์รุ่นอริยทรัพย์"
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry
    IMG_20221108_130044.jpg IMG_20221108_130056.jpg IMG_20221108_130031.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    ลพ.คง วัดตะคร้อ จ.นครราชสีมา
    2v.jpg
    "หลวงปู่คง วัดตะคร้อ"พระมหาเถราจารย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐที่หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่เคารพบูชามาก...หลวงปู่คง วัดตะคร้อนับเป็นพระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีบฏิบัติชอบ ที่เคารพนับถือได้อย่างสนิทใจ ด้วยวัตรปฏิบัติที่งดงามน่าเลื่อมใส หลวงปู่มีวิชาอาคมที่เข้มขลัง และศักดิ์สิทธิ์ทุกรุ่น ทุกชิ้น และมากด้วยประสบการณ์ สมัยที่ท่านยังไม่ละสังขาร หลวงปู่กับกิจนิมนต์โดยไม่เลือกยากดีมีจน ชาวบ้านหรือคหบดี ทุกคนที่มากราบนมัสการหลวงปู่ หลวงปู่จะมอบวัตถุมงคลให้คนละกำมือ

    พระครูคงคนครพิทักษ์ (คง ฐิติปญโญ) นามเดิม คง เทพนอก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ค. 2453 ปีกุน ณ บ้านคอนเมือง ตำบล เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา อุปสมบท ณ วัดบ้านวัด เม่อวันที่ 20 พ.ค. 2475 เมื่ออายุได้ 22 ปี โดยมี พระครูสีลวิสุทธิพรต วัดเดิม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองสุข สุชาโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทิม สุมโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า
    "ฐิติปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญาตั้งมั่น
    ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เมื่อจำพรรษาอยู่วัดด ก็จะพัฒนาวัดนั้นอย่างเต็มที่ ทำการบูรณะสร้างกุฏิ ศาลา หอฉัน และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากวัดแล้ว น้ำใจของท่านยังเผื่อแผ่เจือจาน ไปยัง โรงเรียน โรงพยาบาล ทำให้วัดตะคร้อเป็นที่รู้จักกว้างขวางของคนทั่วไป ทั้งใกล้ และไกล และได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี พ.ศ.2531 จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
    วัตถุมงคลของหลวงปู่ ได้สร้างรุ่นแรกเป็นพระสมเด็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 เป็นต้นมา ได้แจกจ่ายแก่พุทธศาสนิกชนเพื่อเป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ เป็นที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวแก่ประชาชน โดยยันต์ที่หลวงปู่ใช้เป็นยันต์ประจำองค์ ประทับหลังวัตถุมงคลแทบทุกรุ่นคือ "ยันต์นะครอบจักรวาล" ซึ่งท่านบอกว่า ใช้ได้ทุกทาง และทุกประเภท สุดแล้วแต่จะอธิษฐานใช้
    ทุกสั่งทุกอย่าง ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เกิดดับ ตามกฏของพระไตรลักษณ์ ซึ่งองค์หลวงปู่คง ท่านก็แสดงธรรมข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชน ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพศรัทธาทั่วไป ในวันที่ 5 มิ.ย.2548 หลวงปู่คง ได้รับนิมนต์เป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรผู้ศรัทธาในพระอุโบสถวัดตะคร้อ หลวงปู่มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก จึงขออนุญาตลงมาก่อนที่จะบวชเสร็จ และหลวงปู่ก็ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ ด้วยสติ สัมปชัญญะ ครบถ้วน ณ กุฏิที่พำนักของพระเดชพระคุณหลวงปู่เอง
    แม้ร่างกาย และลมหายใจของหลวงปู่จะหมดไป แต่คุณงามความดี ความเมตตา ขององค์หลวงปู่ ยังขจรขจายอยู่ไม่รู้หาย คณะศิษยานุศิษย์ นำโดยพระเดชพระคุณ พระครูอาทรกิตตยารักษ์ จึงได้มีมติก่อสร้าง เจดีย์พิพิธภัณฑ์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สังขารองค์หลวงปู่ อัฐบริขาร พระเครื่อง และวัตถุโบราณที่หลวงปู่เก็บรักษาไว้ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชา โดยได้มีพิธีบรรจุพระบรมสาริริกธาตุ ยกยอดฉัตร และบรรจุสังขารของหลวงปู่ไว้ในองค์พระมหาธาตุเจดีย์ เมื่อปีพ.ศ.2553 ที่ผ่านมา .....
    ประสบการณ์เหรียญรุ่นแรก
    เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 นางไสว โตค้างพลู อยู่บ้านหนองจิก ม.14 ต.หนองมะนาว คืนก่อนวันเกิดเหตูได้ฝันร้าย จึงถอด เหรียญรุ่นแรกที่แขวนอยู่เป็นประจำออก แล้วมานั่งนึกทบทวนอยู่พักใหญ่ คิดว่าตนเองไม่ได้ทำอะไร จึงไปหยิบมีด แล้วเข้าไปเอาพระมาแขวนคอ เพื่อที่จะตัดไม่ไผ่ข้างรั้วบ้าน ได้เลือกไม่ไผ่ลำขนาดเท่าขาท่อนล่าง ตัดแล้ว ไม้ไผ่ได้ไหลลงมาภูกคอ บริเวณใต้คางที่แขวนเหรียญหลวงปู่คง จนแทบล้มทั้งยืนด้วยความหนักของลำไผ่ และแรงไหล แต่เมื่อคลำดูก็ไม่มีบาดแผล และไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด เพราะบารมีของหลวงปู่คงช่วยโดยแท้.......

    ยิงไม่เข้า
    เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๔ เวลา ๑๙.๒๐ น. นางสุดใจ จันทร์พุ่ม อายุ ๒๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๗๙/๑๒ ซอยร่วมฤดี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้แจ้งความ ร.ต.อ.ธีรศักดิ์ ณ นคร สน.ลุมพินี ว่าเพิ่งถูกนายสมบัติ พรหมจิต อายุ ๒๕ ปี อดีตสามีซึ่งเลิกร้างกันไปปีกว่าแล้วยิงด้วยปืน
    โดยนางสุดใจเล่าว่า ปกติหาเงินอยู่แถวโรงแรมเกรซ เมื่อ ๔ เดือนที่แล้ว ได้พบกับนายซ้านซ์ สลอด ชาวเยอรมัน ได้ตกลง เป็นเมียเช่า โดยได้รับเงิน เป็นรายเดือน ระหว่างอยู่เมืองไทยก่อนหน้ามาแจ้งความ ได้พานายซ้านซ์ ไปที่บ้านเช่า ก็พอดีนายสมบัติ ซึ่งปกติแม้เลิกกันแล้ว ก็ยังมาหาที่บ้านเช่าและแบมือขอเงินอยู่เสมอ วันนี้เมื่อนายสมบัติมาถึง ก็ฉุดมือนางสุดใจ ต่อหน้านายซ้านซ์ ทำให้นายซ้านซ์ไม่พอใจมากถึงกับปฏิเสธที่ให้เงินนางสุดใจอีก ทำให้นายสมบัติโกรธมาก จึงชักปืนยิงนางสุดใจ ๑ นัด ล้มทั้งยืน จากนั้นนายสมบัติ ก็หันปลายกระบอกปืนเข้าใส่นายชานซ์ ซึ่งวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต กระสุนนั้นหลังนี้ ได้เลยไปถูกทีวีเครื่องหนึ่ง ของเจ้าของบ้านเช่า (ชื่อนางอรุณ คำปาวงศ์) หัวกระสุนลูกที่ ๒ นี้เป็นกระสุน .๓๘ หัวทองแดง
    หลังจากให้ปากคำร้อยเวร นางสุดใจ ได้เปิดรอยแผล ที่บริเวณไหล่ซ้าย ให้เจ้าหน้าที่ ดูรอยแผลที่ถูกสามีเก่ายิง ปรากฏเป็นเพียงจุดแดงกลม ๆ เป็นรอยช้ำมีเลือดไหลซึมออกมาเล็กน้อย ร้อยเวรได้ส่งตัวไปให้แพทย์ ร.พ. ตำรวจ ตรวจรักษาบาดแผล แพทย์ก็เพียงเอายาแดงทาให้ แล้วกลับมาโรงพัก ท่ามกลางตำรวจ นักข่าว ช่างภาพหนังสือพิมพ์ นับสิบคน ได้มีผู้ขอดูพระที่แขวนคอ นางสุดใจได้ถอดสร้อยคอนาก เส้นเล็กออกมาให้ดู เป็น เหรียญหลวงปูคง รุ่นสาวหนังเหนียว (ที่มาของชื่อ ได้มาจากเรีองนี้) นางสุดใจแจ้งว่า ได้มาจาก วัดสามง่าม (วัดชำนิหัตถการ กทม.) ส่วนหลวงปู่คง ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดตะคร้อ จังหวัดนครราชสีมา ท่านเป็นทั้งพระวิปัสสนา มีผู้เคารพ นับถือมากผู้หนึ่ง ในเมืองไทย
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูปเหมือนครึ่งซีกหลวงพ่อคงวัดตะคร้อให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry
    IMG_20221109_114202.jpg IMG_20221109_114217.jpg IMG_20221109_114150.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2022
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    วันนี้ จัดส่ง kerry
    PEX114100000412 บ้านไร่
    ขอบคุณครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    เหรียญพระราหูวัดอ่างศิลาชลบุรี รุ่น 1เหรียญด้านหนึ่งเป็นจันทรประภา เป็นเมตตามหานิยม เรียกทรัพย์ อีกด้านเป็นสุริยประภา ป้องกันสิ่งชั่วร้าย เสนียดจัญไร ไม่ให้เข้ามาทำอะไรได้
    ให้บูชา 120 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&tหรือเคอรี่
    IMG_20221109_131332.jpg IMG_20221109_131354.jpg
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    วัตถุมงคลหลากหลายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศครับค่าจัดส่งต่อครั้ง 30 บาทระบบflash หรือ J&Tและ 50 บาทems ไปรษณีย์ไทย 08--1--70--4--72--64 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง line ตามเบอร์โทรศัพท์
    บัญชีธนาคาร กรุงไทย 125-00-89-239
    Supachai thu
    โอนแล้วแจ้งบอก ทางข้อความ พร้อมที่อยู่จัดส่ง ป้อง กัน การเอาข้อมูลจากมิจฉาชีพครับ
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    1344026-3bc35.jpeg
    หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร วัดม่วงชุม
    หรือ "พระครูจันทสโรภาส" อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เจ้าตำรับตะกรุดโทนหนังเสืออันลือลั่น ท่านเป็นศิษย์และยังมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่เปลี่ยน (พระวิสุทธิรังษี) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) พระเกจิชื่อดัง รวมทั้งเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อีกทั้งมีความสนิทสนมอย่างมากกับ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม ว่ากันว่าเรียนวิชาทำตะกรุดหนังเสือมาจากสำนักเดียวกัน

    นอกจากนี้ ยังมีสหธรรมิกอีกหลายท่านที่พบปะในงานพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น
    หลวงพ่อเที่ยง ท่านมีนามเดิมว่า เที่ยง ท่านกเอี้ยง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นบุตรของนายเขียว ท่านกเอี้ยง และนางทองแคล้ว ท่านกเอี้ยง มีพี่น้องรวม ๘ คน หญิง ๕ คน ชาย ๓ คน
    ในวัยเด็กหลวงพ่อเที่ยง ท่านมีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และรักความยุติธรร ม เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร จึงเป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกันยกให้เป็นพี่ใหญ่

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ หลวงพ่อมีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ ๒ ปี หลังปลดประจำการกลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ หลวงพ่อเที่ยง ท่านมีอายุได้ ๒๔ ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านถ้ำ หลังจากบวชแล้วอยู่ศึกษ าเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะย้ ายมาอยู่จำพรรษ าที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน โดยได้ศึกษ าเล่าเรียนหนังสืออย่ างจริงจังและเต็มที่

    เนื่องจากในวัยเด็กมีโอกาสเล่ าเรียนไม่มาก เพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนท่านก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้มีความแตกฉานเรื่องหนังสืออย่ างมาก .
    หลังจากศึกษ าพระธรร มวินัย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจนเชี่ยวชาญ ท่านจึงเริ่มหันมาศึกษ าวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทย าคมกับหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคร าม) ในฐานะที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เปลี่ยนเป็นพิเศษในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพุทธาคม จนมีความเชี่ยวชาญอย่ างมาก
    ชาวบ้านทั่วไปมักกล่าวขวัญว่า “ใครแขวนวัตถุมงคลของท่าน แมลงวันไม่ได้กินเลื อด” หมายความว่า คนคนนั้นหนังเหนียว แ ทงไม่เข้า ยิ งไม่ออก
    แม้กระทั่งหลวงปู่แย้ม พระเกจิอาจารย์ดังแห่งวัดสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ยังกล่าวยกย่องหลวงปู่เที่ยงว่าท่านเก่งมาก โดยท่านเป็นสหธรร มิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง (อาจารย์หลวงปู่แย้ม) ซึ่งทั้ง ๒ ท่าน ต่างมีชื่อเสียงอย่ างมากในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

    เป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ภาษ าที่ใช้สื่อสารก็เหมือนหลวงพ่อคูณเป็นภาษ าไทยแท้ๆ ฟังไม่เพราะหู แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ญ าติโยมที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่านจะได้รับความเมตตาช่วยเหลือในทุกๆ เรื่องด้วยดี โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังจากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่า ท่านชอบกีฬาชกมวยอย่ างมาก การละเล่นนิยมลิเกและหนังตะลุง ท่านเป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบท ชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดัง
    ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
    สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จัดเป็นเครื่องรางยุคแรกๆ ที่หลวงพ่อได้ทำการจัดสร้าง และทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง ลักษณะเป็นแผ่นหนังหน้าผากเสือตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดย าวประมาณ ๑.๕ นิ้ว โดยที่หลวงพ่อจะทำการจารอักขระลงในหนังหน้าผากเสือ แล้วจึงม้วนเป็นตะกรุด แล้วจึงถักด้วยด้ายสายสิญย์เพื่อให้ขึ้นรูปเป็นตะกรุดแล้วจึงลงรักปิดทอง เสร็จท่านจะหาฤกษ์ย ามที่ดี แล้วจึงปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งก่อน

    เชื่อกันว่าใครที่ได้ครอบครองจะมีฤทธิ์ด้านอยู่ยงคงกระพัน กันของมีค มและเขี้ ยวงา เป็นมหาอำนาจมากด้วยบารมี เป็นที่ยำเกรงของคนทั่วไป จัดเป็นของหาย ากในปัจจุบัน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อเที่ยงวัดม่วงชุมหนูถวายแหวนให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือ kerry

    IMG_20221114_113054.jpg IMG_20221114_113029.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2022
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    S__20004934.jpg ประวัติหลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี
    หลวงพ่ออิฏฐ์ ภทฺจาโร นาม พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์ ฉายา ภทฺทจาโร สถานะเดิม ชื่อสมโภชน์ นามสกุล อมรรัตนบดี เกิด วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๙ บิดาชื่อ นายพจน์ น้อยมา มารดาชื่อ นางประนอม ฮะประสาน เกิดที่บ้านเลขที่ ๗๘ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บรรพชา วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ ณ วัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ ณ. วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นามพระอุปัชฌาย์ พระครูโกวิทสมุทรคุณ วัดจุฬามณี นามพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรบรรณวัฒน์ วัดเจริญสุขาราม พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสมุทรสารโสภณ วัดบางกะพ้อม
    วิทยฐานะ
    พ.ศ.๒๕๑๒ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดนางวัง พ.ศ.๒๕๒๑ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษา วัดจุฬามณี พ.ศ.๒๕๕๙ ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มจร.
    การศึกษาพิเศษ มีความชำนาญ อ่าน – เขียน อักขระขอม-บาลีและความสามารถทางนวกรรม
    งานปกครอง
    พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจุฬามณี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองประธานสภาครูสอนปริยัติธรรมอำเภออัมพวา พ.ศ.๒๕๖๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลอัมพวา เขต ๑
    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ของ พระวิสุทธาธิบดี (ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานครที่ พระครูวินัยธรสมโภชน์ ภทฺทจาโร พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (สุรเตโช) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ที่ พระครูปลัดกิตติมงคลวัฒน์ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
    การศึกษาวิชาจากคณาจารย์
    1 .หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร ยันต์นกคุ้มกันไฟ
    2.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร ยันต์ตรีนิสิงเห
    3.หลวงพ่อปึก วัดสวนหลวง สมุทรสงคราม เจิมเรือ
    4.หลวงปู่ขวัญ วัดโพธิดก ราชบุรี ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์
    5.หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
    6.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคร
    7.หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม ไหม 5 สี,ตะกรุดโลกธาตุ
    8.หลวงพ่อพิน วัดอุบลวรรณาราม ราชบุรี เหรียญมหาปราบ,หนุมานเชิญธง
    9.หลวงพ่อพรหมวัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยานารายณ์แปลงรูป
    10.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา พระนครศรีอยุธยานะ ฉัพพัณนะรังษี
    11.หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงครามตะกรุดจันทร์เพ็ญ
    12.หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม เบี้ยแก้
    13.หลวงพ่อสุธรรม วัดเขาพระ เพชรบุรี นั่งสมาธิสายวัดปากน้ำภาษีเจริญ
    14.หลวงพ่อแผว วัดตะโหนดหลวง เพชรบุรี ลูกศร
    15.หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี ต่อกระดูก
    16.หลวงพ่อไห วัดบางทะลุ เพชรบุรี แหวนพิรอด
    17.โยมเหมือน อนันตรพีระ สมุทรสงคราม ใบมะนาวรักษาโรค
    18.โยมหมอเย็น คำแหง สมุทรสงคราม วิชาหลวงปู่บ่ายวัดช่องลม
    19.โยมวิทย์ จันหอม สมุทรสงคราม วิชาสายหลวงปู่อ่วมวัดไทรและหลวงปู่อยู่วัดน้อย
    ปัจจุบัน
    พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระปิดตาอาจารย์อิฐวัดจุฬามณีรุ่นแรกปี 2535 ให้บูชา 500 บาทครับ
    IMG_20221115_092609.jpg IMG_20221115_092624.jpg IMG_20221115_092553.jpg

     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    gb.jpg
    ประวัติ

    พ่อท่านเขียว ท่านเกิดเมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ณ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นบุตรของนายทอง เพชรภักดี และ นางกิ๊ม นวลศรี ครอบครัวชาวนาในจังหวัดยะลา เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน ช่วงชีวิตในวัยเด็ก ท่านเรียนจบแค่เพียงชั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะบิดาถึงแก่กรรม จึงต้องออกมาช่วยมารดาทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนางโอ (หรือวัดบุพนิมิต) ในปัจจุบัน ตำบลแม่ลาน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น อำเภอแม่ลาน) จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยมีพระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแดง ธมฺมโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคำ ติสสโร เป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสานความรู้วิชาให้แก่พ่อท่านเขียวก่อนอุปสมบท หลังจากนั้นท่านจึงได้ฝึกฝนสวดมนต์บทต่าง ๆ ในเจ็ดตำนานและการสวดภาณยักษ์ [1]

    พรรษาที่ 2 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสุนทรบัญชาราม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
    พรรษาที่ 3 พ่อท่านเขียวได้กลับไปที่วัดนางโออีกครั้ง พร้อมกับได้ศึกษาวิชา ตาเลี่ยม กับฆราวาสที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งศึกษาสรรพวิชาต่าง ๆ จากฆราวาสอีกหลายท่าน พ่อท่านเขียวยังสอบได้นักธรรมชั้นโท แล้วยังได้รับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดนางโอ ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา พ่อท่านเขียวเป็นคนที่รักความสันโดษ และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มัธยัสถ์ อดออม และรักการอ่านและการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกฎหมายหรือทางด้านเกษตรกรรม หรือในทางด้านทางธรรม ท่านก็ศึกษาพระปริยัติธรรม บาลีไวยากรณ์ และ นักธรรม รวมทั้งสวดมนต์พิธีต่าง ๆ [2]
    พรรษาที่ 5 สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ มีความเคร่งครัด ไม่ยึดติดในลาภยศ สรรเสริญ [2]

    วัตถุมงคล
    ในด้านการปลุกเสกวัตถุมงคล พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ นับได้ว่าท่านเป็นพระเถระที่มีพุทธาคมแก่กล้าที่สุดรูปหนึ่งในประเทศไทยเรา พ่อท่านเขียวท่านได้เข้าร่วมปลุกเสกหลวงพ่อทวด ตั้งแต่สมัย พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ โดยเฉพาะพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่านรุ่นแรก ปี2497 พ่อท่านเขียวเล่าว่าท่านได้ไปช่วยพระอาจารย์ทิม ตั้งแต่ขั้นตอนในการสร้างพระ และได้เข้าร่วมพิธีเสกพระหลวงพ่อทวดรุ่นแรกนี้ด้วยตัวท่านเอง นับแต่นั้นพิธีพุทธาภิเษกพระหลวงพ่อทวดของวัดช้างให้ส่วนใหญ่แล้ว จะทำการนิมนต์พ่อท่านเขียวมาร่วมปลุกเสกเสมอมา
    การสร้างเหรียญรูปเหมือรุ่นแรกพ่อท่านเขียว หรือที่เรียกกันติดปากว่าเหรียญรุ่น รับทรัพย์-ขวัญถุง ทำการสร้างในปี2543 สร้างในวาระที่พ่อท่านเขียว มีอายุครบ6รอบ 72ปี โดยมีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีจุดไข่ปลารอบเหรียญ หน้าเหรียญเป็นรูปพ่อท่านเขียวหน้าตรง ช่างแกะได้มีรายละเอียดเหมือนพ่อท่านเขียวมากๆ ด้านหลังมี2แบบ คือแบบรับทรัพย์และแบบขวัญถุง มีรายละเอียดต่างกันตรงอักษรชื่อเหรียญและตารางเลขยันต์ด้านหลังเหรียญ จำนวนการสร้าง เนื้อทองคำสร้างตามสั่งจอง ,เนื้อเงินหน้าทองคำสร้าง300เหรียญ ,เนื้อนวะสร้าง300เหรียญ ,เนื้อนวะหน้าเงินสร้าง300เหรียญ ,เนื้อเงินสร้าง500เหรียญ ,เนื้อโลหะ(ทองแดง)หน้าเงินสร้าง500เหรียญ ,เนื้อโลหะ(ทองแดง)แบบรับทรัพย์สร้าง15,000เหรียญ ,เนื้อโลหะ(ทองแดง)แบบขวัญถุงสร้าง15,000เหรียญ ,และสร้างเป็นเหรียญเล็ก(เม็ดแตง) เนื้อทองคำสร้าง72เหรียญ ,เนื้อเงินสร้าง720เหรียญ ,เนื้อโลหะ(ทองแดง)สร้าง20,000เหรียญ และยังมีวัตถุมงคลที่สร้างในคราเดียวกันอีกมากมายรวม24รายการ อาทิ พระบูชารูปเหมือนพ่อท่านเขียวรุ่นแรก(ด้านหลังสังฆาฏิรูปงู ปีนักษัตรมะเส็ง) ,รูปหล่อพ่อท่านเขียวลอยองค์รุ่นแรก ,พระกริ่งรับทรัพย์ ,พระปรกใบมะขามรับทรัพย์ เป็นต้น การสร้างพระรุ่นรับทรัพย์-ขวัญถุงหรือพ่อท่านเขียวรุ่นแรกนี้ นับเป็นการสร้างพระที่มีเจตนาการสร้างบริสุทธิ์ จำนวนการสร้างชัดเจนแน่นนอน และมีการพุทธาภิเษกที่เข้มขลังเป็น มงคลในทุกๆด้านทั้งเมตตาค้าขาย โภคทรัพย์ และนิรันตรายคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆนานา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญรุ่นแรกพ่อท่านเขียววัดห้วยเงาะให้บูชา 500 บาท ค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่(ปิดรายการ)

    IMG_20221115_184538.jpg IMG_20221115_184526.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2022
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    วันนี้ จัดส่ง Flash

    1668580238172.jpg

    ขอบคุณครับ
     
  18. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,986
    ค่าพลัง:
    +5,394
    ขอจองครับ
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    ]
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,347
    พระอุปัชฌาย์ศรีแก้ว พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2447
    วัดอรัญวาสิการาม (ห้วยเงาะ) ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

    "บารมีธรรม" ไม่ว่าจะไกลแสนไกล จะใกล้แสนใกล้ บารมีธรรมก็คือบารมีธรรมย่อมไปถึงทุกแห่งหน
    บารมีธรรมเป็นของไม่ยาก มองกันง่ายเห็นกันง่าย แต่จะมีให้เห็น จะมีให้มองหรือไม่นั้น ไปอีกทำนองหนึ่ง หากใครเจอะเจอพบเห็น ถือได้ว่าบุคคลนั้นคนโชคดีคนหนึ่ง ในจำนวนอีกหลาย ๆ คน
    ผู้เห็นบารมีธรรม จำนวนเท่าที่เห็นจริงนั้น ส่วนใหญ่เจ้าของบารมีธรรมจะไม่อวดอ้างกลับอยู่นิ่งเฉย บางสถานที่ถึงกับกับถ่อมองค์อย่างไม่น่าเกลียด “ของจริงนิ่งเป็นใบ้” และผู้พบเห็นบารมีธรรมจริง ๆ ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจของเขาเองว่า “บารมีธรรมจะคงอยู่ในลักษณะอย่างไร”
    หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านเปรียบประดุจดั่งช้างเผือก การเจอะเจอคนหมู่มากย่อมน้อย และหากใครได้เจอนับได้ว่ามีบุญวาสนาอยู่ในผู้นั้นมากพอสมควร ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงกับเป็นการสำคัญที่จะต้องเข้าไปสักการบูชา กราบไหว้แนบชิดปลายจีวรกับตัวท่าน แต่เพียงขนาดเหรียญบูชารูปเหมือนของท่านหากมีอยู่ถือได้ว่า คนผู้นั้นเป็นผู้มีบุญอยู่ในข้อที่สามารถมีบานธรรมคุ้มครองตนเองอยู่แล้ว
    กล่าวเช่นนี้เนื่องเพราะว่า วัตถุมงคลอันเป็นสิ่งทดแทนในบารมีธรรมของท่านหลวงพ่อศรีแก้วนั้น กว่าจะมาเป็นหรือถึงจุดสูงพอจะรับบารมีธรรมเพื่อเป็นตัวแทนท่าน ทุกอย่างต้องพิถีพิถัน ถูกต้องตามกาลฤกษ์ตามประสาคนเฒ่าคนแก่บ้านนอกบ้านนา
    เพราะฉะนั้นทุกขั้นตอนการจัดทำจึงต้องประณีตละเอียดลออครบหลักสูตร พระเกจิที่เข้ามานั่งปรก นั่งแผ่เมตตาจิตมานั่งแผ่บารมีธรรม “ไม่ว่าจะเป็นชั้นเทพยวิมานในที่องค์ ท่านแผ่ไปนั้น ถึงไหน ทุก ๆ องค์ย่อมรู้อยู่แก่ในจิตใจขององค์ท่านเองดี ” ช้างเผือกย่อมอยู่ในป่า (ลึก)
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว นับได้ว่าเป็นสิ่งวิเศษใหญ่หลวงแม้จะไม่เลอเลิศมากนัก แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกขั้นตอนทั้งความมีบารมีธรรมในรูปเหมือนของวัตถุมงคลที่มีอยู่ในองค์ท่าน

    อีกทั้งได้รับการนั่งปรกปลุกเสกจากพระเกจิผู้เพียบพร้อมในรูปขององค์ท่านอยู่แล้ว พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้วมีหลายรูปชื่อเสียงขององค์ท่านไม่ขจรขจายเป็นที่รู้จักของคนนอกพื้นที่มากนัก แต่ท่านเหล่านี้แหละเป็นพระเถระที่เข้าไปนั่งปรกในพิธีหลวงปู่ทวด 2497 วัดช้างให้ อยู่หลายรูป แต่องค์ท่านเหล่านี้ไม่ยอมเปิดเผยองค์ท่านต่อสาธารณชน คนนอกพื้นที่จริงไม่ทราบและไม่รู้จักองค์ท่านมากนัก นี่คือรูลักษณะของความจริงในวัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก
    เป็นอย่างนั้นจริง ๆ มีบทพิสูจน์ที่รู้และทราบกันในละแวกท้องถิ่นและชนแดนไกล หรือแม้แต่ชาวต่างชาติและต่างศาสนา ที่เช่าหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อไป ก็พบพานอภินิหาริย์มากมายด้วยเช่นเดียวกัน จะกล่าวให้ทราบในภายหลัง
    แม้ระยะทางจะไกลอยู่บ้างสำหรับพุทธชนทั่วแคว้นแดนไทย ที่จะมาสักการะองค์ท่านด้วยตนเอง ดังนั้นจึงมีการจัดทำรูปจำลองขององค์ท่านออกมาในรูปลักษณ์วัตถุมงคล เพื่อให้บารมีธรรมแห่งองค์หลวงพ่อศรีแก้วที่มีอยู่ ถูกบรรจุในวัตถุสิ่งนั้นได้คุ้มครองช่วยเหลือทุกท่านที่อยู่ไกลแสนไกลอย่างไร้กังวล
    ประวัติหลวงพ่อศรีแก้ว
    ชาติกำเนิด
    หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านโคกม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ท่านเกิดประมาณ พ.ศ. 2357 นามบิดามารดาไม่ปรากฏทราบแต่เพียงว่ามีพี่น้อง 5 คน แต่มีบันทึกไว้เพียง 3 คน คือ ปู่ทวดพรหมทอง ทวดพัดทอง และหลวงพ่อศรีแก้ว
    เยาว์วัย
    ตั่งแต่เยาว์วัยเป็นเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา ขยันขันแข็ง รักในการทำงาน ชอบสันโดษอยู่กับธรรมชาติ เมื่ออายุได้ 16 ปี เด็กชายศรีแก้ว ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจันทร์ วัดห้วยเงาะ (วัดทักษิณสาคร) ในสมัยนั้น เล่าต่อ ๆ กันว่า หลวงพ่อจันทร์ ท่านเดินจากวัดห้วยเงาะ ไปยังพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เพื่อเข้าพิธียิ่งใหญ่ของพระธาตุ ซึ่งในสมัยก่อนนั้น พระเกจิท่านรู้กัน “นิมนต์การทางจิต ” หลวงพ่อจันทร์ท่านออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ ในเวลาบ่าย 2 โมงเย็น ถึงในพิธี ณ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในเวลาเกือบจะ 4 โมงเย็นของวันเดียวกัน ระยะทางจากวัดห้วยเงาะถึงพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ประมาณ 370 กม. นับว่าอัศจรรย์มาก เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมากในยุคนั้น หลวงพ่อจันทร์ท่านยังมีวิชาแปรธาตุสภาพวัตถุให้เป็นสิ่งมีชิวิตได้ วิชานี้ชาวบ้านทั่วไปจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อ ชาวบ้านนำของไปถวายแด่องค์ท่านหลวงพ่อจันทร์ เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ ท่านเอ่ยวาจาว่า “นั้นสูเอาลูกไก่มาทำไม” เมื่อชาวบ้านก้มมองของที่นำมาถวายแก่หลวงพ่อจันทร์ ณ บัดนั้นได้กลายเป็นลูกไก่ร้องเจี๊ยบ ๆ เสียแล้ว และเมื่อมองอีกอีกครั้งหนึ่ง ลูกไก่เจี๊ยบ ๆ ได้กลายเป็นสิ่งของเหมือนเดิมเสียแล้ว วิชานี้ หลวงพ่อทวดสีพุฒ วัดกาโผะ อาจารย์ใหญ่ของ หลวงปู่แดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ. ปัตตานี เคยใช้หยอกศิษย์ท่านเหมือน ในสมัยก่อนมีศิษย์ท่านได้นำภัตตาหารไปถวายหลวงพ่อทวดสีพุฒ ท่านเอ่ยวาจาประมาณว่า “สูเอานกมาทำไมนั้น” เมื่อศิษย์ท่านมองดูภัตตาหารได้กลายเป็น นกน้อยเสียแล้ว และในบันดล นกน้อย ก็ กลายเป็นภัตตาหารเหมือนเดิม นับว่าพระเกจิยุคเก่าก่อน น่าอัศจรรย์กันทุกองค์
    บรรพชา
    เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ นายศรีแก้วจึงได้รับการอุปสมบทในราว พ.ศ. 2378 ณ วัดห้วยเงาะ โดยมี หลวงพ่อจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หลวงปู่หิด เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระศรีแก้วเป็นพระที่ใฝ่หาในวิทยาคมและขยันหมั่นเพียร เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้ศึกษาเวทย์จากหลวงพ่อจันทร์ จนบรรลุในจุดที่สามารถจะไปไหนมาไหนได้อย่างอาจารย์เมื่อถึงจุดหนึ่งพระศรีแก้วจึงออกธุดงค์ เพื่อเสาะหาอาจารย์ที่เรืองเวทย์ในสถานที่ต่าง ๆ กัน โดยไม่จำกัดว่าวิชาเหล่านั้นท่านได้มาจากเพศบรรพชิตหรือฆราวาส ตามประวัติท่านออกธุดงค์เงียบหายไปเป็นเวลานานมาก เงียบหายไปกับกาลเวลา
    พระศรีแก้ว กลับมาวัดห้วยเงาะอีกครั้งหนึ่ง แต่ครานี้ท่านกลับกลายเป็น หลวงพ่อศรีแก้วผู้เข้มขลังด้วยพระเวทย์ เต็มเปี่ยมเมตตาปรานี เพียบพร้อมด้วยไสยและโหราศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณ แต่น่าเสียดายที่สมุดบันทึกมิได้กล่าวถึงรายนามพระอาจารย์ของท่าน ที่ท่านออกธุดงค์ไปพบเจอพร้อมทั้งศึกษาไสยเวทย์ มาให้ชนรุ่นหลังได้ทราบ ทราบแต่เพียงว่าท่านธุดงค์ไปถึง ถ้ำผ่าปล่องสู่ถ้ำเชียงดาว ระยะทางจากปัตตานี ถึง เชียงใหม่ ในเวลานั้นจะ
    สุดยอดขนาดไหน ที่แน่ ๆ เส้นทางเมื่อ 100กว่า ปี ที่แล้วต้องเต็มไปด้วยป่าไม้รกทึบ ไข้ป่า สัตว์ป่านานาชนิดแน่นอน พระเวทย์ของพระเกจิอาจารย์ในสมัยก่อนสุดหยั่งจริง ๆ ยิ่งมีอยู่ในตัวเท่าไหร ยิ่งทำให้พระเกจิท่านนั้น ดูภูมิฐาน อิ่มเอิบสดใส คงเป็นไปได้ว่า พระเกจิสมัยก่อนนั้น ทุก ๆ ท่านหยั่งรู้ได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต เป็นแน่แท้
    พระเวทย์อีกวิชาหนึ่งซึ่งประจักษ์แก่สายตาชาวท้องถิ่น คือ วิชาสั่งกระสุน (ธนู) วิชานี้ท่านเอาไว้ใช้ปราบเด็กอันธพาลเกเร ที่ไม่เชื่อฟัง ในสมัยต้องมีวิธีการที่ใช้ปราบเด็กเกเรให้เด็ดขาด วิธี หลวงพ่อศรีแก้วท่านสั่งสอนแบบธรรมดา คือ ผู้ที่โดดลูกธนูของท่านก็จะไม่กระทำในสิ่งที่ผิดที่คิดจะกระทำอีก และทราบด้วยว่ากระสุนนั้นเป็นของใครทุกคนที่โดนจะต้องเข้าไปกราบไหว้ท่านและต้องกลับตัวเป็นคนดีประสอบการณ์เรื่องนี้มีมากมาย
    วิธีใช้ เมื่อท่านจะสั่งกระสุนไปโดนใคร (ลูกธนูดิน) ท่านจะนั่งบริกรรมพระคาถาอยู่ในกุฏิ คนที่จะกระทำผิดก็จะโดดลูกธนู พร้อมเสียงร้อง โอ๊ย ทุกคน
    วิชาสั่งกระสุนนี้ ชาวบ้านในแถบถิ่นรู้กันดี ว่าถ้าใครโดด คือ หลวงพ่อท่านเตือนแล้ว อย่าได้บังอาจคิดกระทำผิดอยู่ ฉะนั้นในละแวกวัดจึงมีแต่คนคิดดี ทำดี
    หลวงปู่แดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับสายพระเวทย์ว่า “ วิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคม เปรียญเหมือนมีดเราจะใช้ทำอะไรก็ได้ ฆ่าคน ทำร้ายคนหรือนำมาเป็นประโยชน์ป้องกันตัว ช่วยคน ตัดไม้ทำอาหาร มีดมิใช่ว่าใช้ทำร้ายคนอย่างเดียว ประโยชน์ต่าง ๆ ก็มีมากมาย”
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่อศรีแก้ว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชสมัยราชที่ 4 หลวงพ่อได้ให้การบรรพชาและอุปสมบทแก่กุลบุตร ผู้มีความศรัทธาอย่างกว้างขวางท่านต้องรับภาระหนักมาก ทุกปีจะต้องเดินทางไกลโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ช้างของท่านมีอยู่ 2 เชือก ชื่อ อ้ายหนุน เป็นช้างพราย และ บูดาหยัง เป็นช้างพัง
    ทำงานพระศาสนา
    หลวงพ่อผู้เปี่ยมด้วยเมตตาแก่ผู้เข้าสนทนาด้วยความปิติในศีลาจารวัตรว่า
    “ตลอดชีวิตของกู ทำนกบินหลาตาย ตัวเดียว”
    หลวงพ่อศรีแก้ว สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ หลังจากวันเพ็ญวิสาขะมาศ ท่านก็จะออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ โดยมีช้างเป็นพาหนะ รอนแรมไปตามทาง เพื่อให้การอุปสมบทแก่ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ใน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ในสมัยนั้น กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ยังเป็นเขตแดนไทยอยู่ เพราะ หลวงพ่อศรีแก้ว มีชีวิตอยู่ พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2447 แต่ไทยเสียดินแดน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ประมาณ พ.ศ 2451 เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว ก็จะเดินทางอ้อมกลับไปทางสงขลา
    กว่าจะเดินทางมาถึงวัดห้วยเงาะ เป็นเวลาถึง 8 เดือน จึงให้การอุปสมบทแก่วัดค้างเคียงก่อน และจะอุปสมบท ที่วัดห้วยเงาะ เป็นครั้งสุดท้าย หลวงพ่อท่านจึงอธิษฐานเข้าพรรษา
    มรณภาพ
    หลวงพ่อศรีแก้วทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ของไทยตลอดจน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี จนกระทั่งได้ร่วงเลยมาถึงวัยชรา ท่านได้ถึงกาลมาณภาพ ในวัย 90 พรรษา พรรษาที่ 69
    หลวงพ่อศรีแก้วได้มรภาพลงแล้วชาวพุทธผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อก็หล่งไหลไปนมัสการกราบไหว้บูชา บางคนมีเรื่องทุกข์ร้อน ก็บนหลวงพ่อของความเมตตา หากสิ่งใดเป็นไปเพื่อความสุจริต ก็จะสมปรารถสิ่งนั้นตามสมควร
    จึงมีคนพูดว่า “บนพ่อท่านในหีบ”
    สถูปบรรจุอัฐิ
    เมื่อฌาปนกิจหลวงพ่อแล้ว พระอธิการชัย พร้อมด้วยคณะญาติโยม ได้ก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของหลวงพ่อศรีแก้ว ก่ออิฐถือปูนทรงย่อแหลมย่อเหลี่ยม เพื่อทางใต้ของพระอุโบสถเพื่อให้สาธุชน สืบไป
    เล่นซีละแก้บน
    ซีละ คือ ศิลปะการต่อสู้ของมลายู การแสดงซีละ จะมีการร่ายรำประกอบดนตรี เป็นการแสดงมิใช่ต่อสู้จริง ( ถ้านำซีละมาต่อสู้จริงผู้ที่ชำนาญซีละสามารถใช้ซีละต่อกรกับมวยไชยา ได้อย่างเหมาะสมกัน ) หลวงพ่อท่านจะโปรดการรำซีละมาก จึงมีผู้คนมาบนกันมาก
    ย้ายที่บรรจุสถูป
    หลวงพ่อพุฒ เจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะ ในสมัยนั้น ได้ทำการปฏิสังขรณ์อุโบสถ ตั่งแต่ พ.ศ 2500 – พ.ศ. 2505 อุโบสถหลังใหม่ก็สำเร็จ จึงได้ย้ายอัฐิหลวงพ่อศรีแก้วไปไว้ใต้ฐานประธานพระอุโบสถ
    ปฐมบทแห่งการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อศรีแก้ว
    ในคืนของวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย พ.ศ. 2521 หลวงพ่อได้ปรากฏในฝันกับชาวบ้านห้วยเงาะผู้หนึ่ง ชื่อ คุณบุญเรือน ความว่า คุณบุญเรือน ได้เดินทางเข้าไปในวัดห้วยเงาะเข้าไปใกล้อุโบสถ ปรากฏเจอหลวงพ่อเฒ่ารูปหนึ่งลักษณะน่าเลื่อมใส จนเกิดความปิติยินดีจนบอกไม่ถูก ดวงตาท่านมีแววแห่งความเมตตาคล้ายจะทักทาย จึงก้มลงกราบท่านด้วยความ
    ศรัทธายิ่ง พลางจ้องมองท่าน เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน
    หลวงพ่อท่านกล่าวเป็นภาษาพื้นเมืองพร้อมชี้ไปที่สถูปเก่าของท่านว่า
    “หมึงแลถีนุ้ย กูอยู่ตากแดดตากฝนกูกะอยู่ได้ กูเอ็นดูสู สูไปเตอะ กูจิรักษา”
    ผู้ที่ศรัทธาในหลวงพ่อศรีแก้ว ต่างพูดกันว่า “หลวงพ่อยังอยู่ ยังรักษาเราอยู่”
    วัตถุมงคล หลวงพ่อศรีแก้ว ในสมัยนั้นมีการสร้างขึ้น 2 รุ่น และจะกล่าวถึงแค่สองรุ่นด้วย คือ รุ่นแรก พ.ศ. 2522 และ รุ่นสอง พ.ศ. 2523
    วัตถุมงคล หลวงพ่อศรีแก้ว รุ่นแรก นับเป็นพระเครื่องรุ่นแรกของทางวัดห้วยเงาะ เพราะทางวัดห้วยเงาะ ไม่เคยบันทึกเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลใด ๆ ไว้เลย กำหนดฤกษ์ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 พิธีพุทธาภิเษกได้เริ่มขึ้นเมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชัย เวลา 22.20น. พระคณาจารย์ผู้ทรงศีล9รูปนั่งปรก
    พิธีเททองหล่อหลวงพ่อศรีแก้ว (เท่าองค์จริง)
    โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระโศภนธรรมคุณ วัดนาประดู่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โดบเริ่มพิธีเททองวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2522 เวลา 9.20 น. พระสงฆ์ 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ท่ามกลางประชาชนผู้มาร่วมพิธีเนืองแน่น
    ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ
    ขณะที่พิธีกรรมพุทธาภิเษกดำเนินไปท่ามกลางพระเกจิอาจารย์นั่งปรก “แสงเทียนนวหรคุณ ณ แสงเทียนชัย แสงเทียนวิปัสสีที่กำลังปรกติธรรมดาอยู่ภายในปริมณฑณก็พวยพุ่งเป็นลำแสงขึ้นสู่เพดานพระอุโบสถอย่างน่าอัศจรรย์” ท่ามกลางคณะพุทธบริษัทที่ตกตะลึงและขนลุกซู่ในพิธี
    ได้มีพระรูปหนึ่งใช้กล้องวัด ถ่ายภาพฟิล์มสีไว้ได้
    วัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้ว รุ่นสอง
    สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสำหรับสร้าง “วิหารจตุรมุข” เพื่อประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว
    โดยพุทธาภิเษก วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2523 ตรงกับวัน เสาร์ แรม5ค่ำ เดือน 5

    ของดีบางครั้งอยู่ไกลในป่าเขา คนที่ศรัทธาจริง ๆ เท่านั้นที่โชคดีมีโอกาสเป็นเจ้าของ การพระเครื่องของพระคณาจารย์ทางใต้นั้น น้อยครั้งที่จะสร้างกัน บางท่านก็ถ่อมตน เพราะแกรงว่าจะเป็นการไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
    การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้ง จึงต้องพิจารณากันนาน และเมื่อตกลงใจสร้างด้วยใจอันเป็นกุศลเป็นที่ตั้งไม่ใช่การค้า
    ดังนั้นพระเครื่องที่สร้างออกมาจะเปี่ยมล้น พุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ และ สังฆานุภาพ
    ผู้ที่มีใช้ไว้ประจำตัวต่างพบเจอในบุญญาอภินิหารด้านต่าง ๆ เสมอมา ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางวัดไม่เคยได้ออกข่าว จึงทราบกันในวงแคบ ๆ ละแวกจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พ่อท่านศรีแก้ววัดห้วยเงาะปี 2536 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบflashหรือj&t หรือเคอรี่.
    IMG_20221117_151241.jpg IMG_20221117_151256.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...