เหตุการณ์ใน-นอกโลก VS ภัยธรรมชาติ และupdate พายุสุริยะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 มกราคม 2011.

  1. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    สันกำแพง เชียงใหม่
    เวลานี้ ฝนกำลังกระหน่ำ
    สงสัยอุตุลืมพยากรณ์
    หรืออย่างไร
     
  2. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    พลังงาน CME จะผ่านมาปะทะโลกอีกที คืนวันเสาร์ที่ 13 กค 13 ครับ
    พายุสนามแม่เหล็กโลก คาดว่าจะแรงกว่า G1 ที่เกิดเมื่อเช้าวันวาน 10 กค 13


    [​IMG]

    .
     
  3. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    ภาพจำลองการถ่ายโอนของสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์มายังโลก

    [​IMG]

    อ่านเพิ่มเติม
     
  4. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    [​IMG]

    .
     
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     
  6. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    ยานนาซาค้นพบ ระบบสุริยะมีหาง

    [​IMG]

    ดาวเทียมสำรวจอวกาศของนาซาพบว่า ระบบสุริยะของเรามีหางเช่นเดียวกับดาวหาง เป็นการยืนยันทฤษฎีที่มีมานาน แต่ในชั้นนี้ยังบอกไม่ได้ว่า อนุภาคที่ทอดตัวยาวเป็นหางนี้ มีความยาวแค่ไหน

    ระบบสุริยะของเรา อันมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ 8 ดวงเป็นบริวาร พร้อมมวลสารอื่นๆ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอื่นๆ มีโครงสร้างเป็นทรงกลมที่เรียกว่า เฮลิโอสเฟียร์

    ขณะที่ระบบสุริยะเคลื่อนที่ไปในอวกาศนั้น ได้เกิดผลคล้ายกับตอนที่อุกกาบาตพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศของโลก อนุภาคจะก่อตัวเป็นหางตามหลังวัตถุที่เคลื่อนที่นั้น

    ทว่าก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เคยมองเห็นส่วนหางของเฮลิโอสเฟียร์มาก่อน

    [​IMG]
    ดาวเทียบไอเบ็กซ์ พบว่า ระบบสุริยะของเรา มีหาง

    นาซาบอกว่า ล่าสุด ดาวเทียมไอเบ็กซ์ (IBEX-Interstellar Boundary Explorer) ได้ทำแผนที่ขอบเขตของหางของเฮลิโอสเฟียร์ (helioshere) เป็นครั้งแรก

    หลังใช้เวลาวิเคราะห์ภาพถ่ายจากไอเบ็กซ์นาน 3 ปี นักวิจัยได้แสดงภาพของหางดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า เฮลิโอเทล (heliotail)

    ภาพดังกล่าวบ่งชี้ว่า หางนี้ประกอบด้วยลำอนุภาค 2 ลำทางด้านข้าง ซึ่งเคลื่อนที่ช้า กับอีก 2 ลำทางด้านบนและล่าง ซึ่งเคลื่อนที่เร็ว โครงสร้างทั้งหมดมีการบิดผันเมื่อเจอกับแรงดึงและแรงผลักของสนามแม่เหล็กภายนอกระบบสุริยะ

    เดวิด แม็กโคแมส หัวหน้าทีมวิจัยของไอเบ็กซ์ ที่สถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ ในเมืองซานอันโตนิโอ มลรัฐเท็กซัส บอกว่า เคยมีการเสนอแบบจำลองของเฮลิโอเทลหลายแบบ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เคยสังเกตเห็นได้โดยตรง เมื่อแสดงภาพจำลองของระบบสุริยะ จึงมักไม่มีการแสดงให้เห็นส่วนหาง เพราะไม่รู้ว่ามันมีรูปร่างอย่างไรแน่

    อย่างไรก็ดี แม้การค้นพบนี้ได้ยืนยันว่า ระบบสุริยะมีหางจริง แต่ก็ยังบอกไม่ได้ว่า หางนี้ยาวแค่ไหน

    อีริก คริสเตียน นักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลโครงการไอเบ็กซ์ ที่ศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซา ในเมืองกรีนเบลต์ มลรัฐแมรีแลนด์ บอกว่า เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่เราเริ่มเข้าใจโครงสร้างของเฮลิโอสเฟียร์ ขั้นต่อไป คือ นำความเข้าใจนี้เสริมเติมเข้าไปในรูปจำลองของระบบสุริยะ.

    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/BhAzMdoOe5E" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ที่มาจาก VOICE TV
     
  7. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    16:15 อุตุไต้หวัน หรีอ CWB แสดงปริมาณน้ำฝนจากเรดาร์ในเวลานี้ ผลจากไต้ฝุ่นซูลิก

    [​IMG]
     
  8. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วันที่ 9 กรกฏาคม เวลา 20:34 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์ในระดับสูง ทิศทาง-ตรงกับโลก- ซึ่งคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 12 กรกฏาคม เวลา 18 UT จากการคำนวณเพิ่มเติมโดย NOAA พบว่าคลื่นพลังงานจะเดินาทางมาถึงโลกในวันที่ 13 กรกฏาคม เวลา 15 UT ดังนั้นผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องของลมฟ้าอากาศ โปรดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจนถึงวันที่ 15 กรกฏาคม ครับ

    ข้อมูลเพิมเติมโดยรายละเอียดมีดังนี้
    - โมเดลการแพร่กระจายของคลื่นพลังงานจากดวงอาทิตย์โดยนาซ่า
    http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=378530732
    - โมเดลการแพร่กระจายของคลื่นพลังงานจากดวงอาทิตย์โดย NOAA SOLARHAM.com - CME Tracker
    - วิดิโอการแพร่กระจายของพลังงานมุมกว้างจากดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/09/behind_20130709_cor2_512.mpg
    - วิดิโอการแพร่กระจายของพลังงานมุมกว้างจากดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/09/ahead_20130709_cor2_512.mpg
     
  9. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    <center>
    <a href="http://www.hamqsl.com/solar.html" title="Click to add Solar-Terrestrial Data to your website!"><img src="http://www.hamqsl.com/solarpic.php"></a>
    </center>

    ดูสนามแม่เหล็กโลก เบี่ยงเหนือ เยอะเหมือนกันนะครับ
     
  10. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    เกิดการปะทุจากจุดดับ 1785 ที่ขนาด C.3.5 เมื่อเวลา 17:33 UTC ตรงกับ 00.33 น. ประเทศไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    เกิดพายุแม่เหล็กเข้ามากระทบสนามแม่เหล็กโลกเวลานี้ทำให้สนามแม่เหล็กโลกเกิดการเบี่ยงใต้ที่ -5.7nT ความเร็วลมสุริยะ 379 กม/วินาที ค่า k.indec อยู่ที่ระดับ 5 (G1)

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     
  13. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    [​IMG]

    .
     
  14. bluejet

    bluejet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +2,181
    ผมไปเจอบทความหนึ่ง (ภาษาอังกฤษ) ว่า หน่วยงาน CWB (ทบวงอากาศกลาง) ของไต้หวัน เขารายงานข้อมูลให้กูเกิ้ล ทำให้กูเกิลสามารถเตือนภัยให้กับผู้ใช้ในไต้หวัน ได้ผลเป็นอย่างมาก
    ลองดูที่นี่แล้วพอจะได้แนวคิด

    ผมเห็นว่า ถ้าใครทำงานหน่วยงานเตือนภัยต่างๆ ในเมืองไทย ทำรายงานดาต้าแบบ Google Public Alerts เพื่อให้กูเกิ้ลนำดาต้าไปใช้ได้ง่าย ก็จะช่วยเตือนภัยสาธารณะได้มากในอนาคต หากมีภัยอะไรเกิดในเมืองเรา (อาจจะทำแล้วก็ได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทำ จะได้หันมาพิจารณา)
     
  15. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    ในวันที่ 15-16 กรกฏาคม ที่ผ่านมาเกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติอีกครั้ง โดยมีทิศทางตรงกับโลกและออกไปทางทิศตะวันตกทางด้านหลัง จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเคลื่อนตัวผ่านมาในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 18 กรกฏาคม เวลา 18 UT +/- 7 ชั่วโมง นอกจากนั้นในช่วงนี้ยังพบแนวสนามแม่เหล็กเปิดขนาดใหญ่ซี่งจะส่งผลให้เกิดลมสุริยะความเร็วสูงพัดมาที่โลกวันที่ 19-20 กรกฏาคม ดังนั้นผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ โดยติดตามสถานการณ์ถึงวันที่ 19 กรกฏาคม ครับ

    ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ดังกล่าวมีดังนี้
    - แนวสนามแม่เหล็กเปิดที่ผิวดวงอาทิตย์ (พื้นที่สีดำที่ผิวขนาดใหญ่ทางทิศเหนือ) http://spaceweather.com/images2013/16jul13/coronalhole_sdo_blank.jpg?PHPSESSID=v4ivvigmm5lm135nfksskcama4
    - ภาพถ่ายดาวเทียมมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/16/ahead_20130716_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายดาวเทียมมุมกว้างที่ดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/16/behind_20130716_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์มองสังเกตจากโลก CACTUS CME Details
     
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    Coronal hole: สนามแม่เหล็กแบบเปิด กำลังเปิดอย่างกับซิป ความยาวขนาดเกือบ 1 ล้านกิโลเมตร อยู่บนดวงอาทิตย์ทางตอนเหนือของดวงอาทิตย์ นาซ่าถ่ายรูปไว้ รูป UV สีดำ สนามแม่เหล็กเปิดนี้ จะทำให้เกิดลมสุริยะพัดออกมา และลมสุริยะนี้จะมาถึงโลก 19-20 กรกฎาคมนี้

    นอกเหนือจากนั้น NOAA พยากรณ์ว่า CME ลูกหนึ่งเข้ามาถึงโลกในวันที่ 18 กรกฎาคมตอนดึกๆ (เช้าวันที่ 19 กรกฎาคมเวลาไทย) การผสมผสานระหว่าง CME กับลมสุริยะที่มาจากสนามแม่เหล็กเปิดนี้ จะสามารถทำให้เกิดพายุสุริยะอย่างแรงในวันสองวันนี้ NOAA ยังพยากรณ์ว่า ประมาณ 50%-65% ที่จะทำให้ขั้วโลกเกิดพายุแม่เหล็กโลกในวันที่ 18-20 กรกฎาคม


    [​IMG]

    CORONAL HOLE: Opening up like a zipper almost a million kilometers long, a vast coronal hole has appeared in the sun's northern hemisphere. NASA's Solar Dynamics Observatory took this picture of the UV-dark chasm on July 18th:

    Coronal holes are places in the sun's upper atmosphere where the magnetic field opens up and allows solar wind to escape. A broad stream of solar wind flowing from this particular coronal hole should reach Earth on July 19-20.

    In addition, NOAA forecasters say a CME could hit Earth's magnetic field late on July 18th. The combined impact of the CME and the incoming solar wind stream could cause some stormy space weather around Earth in the days ahead. NOAA forecasters estimate a 50% - 65% chance of polar geomagnetic storms on July 18-20.

    SpaceWeather.com -- News and information about meteor showers, solar flares, auroras, and near-Earth asteroids
     
  17. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    วันนี้เมื่อ 44 ปีที่แล้ว

    วันนี้ในอดีต : 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)
    >>วันที่มนุษย์เหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก<<


    [​IMG]

    วันนี้เมื่อ 44 ปีที่แล้วนั้น เกิดเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ขึ้นทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกแทนประเทศรัสเซียซึ่งที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ในตอนนั้น

    การเดินทางสุดพิเศษครั้งนี้นั้นเป็นโครงการณ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่อนุมัติการสร้างยานอวกาศ Apollo 11 ซึ่งมีความหมายเป็นชื่อของเทพเจ้ากรีกองค์หนึ่ง โดยโครงการนี้นั้นมีเป้าหมายเพื่อที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก

    ปฎิบัติการครั้งนี้นั้นใช้เงินมหาศาลถึงประมาน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งถ้าเทียบเป็นค่าเงินในปัจจุบันแล้วนั้น จะเทียบได้ประมาณ 150,000 ล้านเหรียญเลยทีเดียว แน่นอนว่าปฎิบัติการครั้งนี้เป็นการลงทุนที่คุ้มแสนคุ้มเมื่อสหรัฐนั้นตั้งใจที่จะตัดหน้าประเทศอื่นๆในการค้นคว้าพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถส่งคนที่ยังมีชีวิตอยู่ขึ้นไปเดินเล่นบนอวกาศได้ซึ่งแน่นอนว่าการเดินทางครั้งนี้นั้นเป็นที่จับตาของทั้งสื่อมวลชนและบุคคลธรรมดาทั่วโลก

    สำหรับนักอวกาศชื่อดังที่เป็นคนรับมอบหมายหน้าที่ในการขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งนี้ มีชื่อว่า นีล อาร์มสตรองซึ่งภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้คนที่คอยชมการถ่ายทอดอยู่ที่บ้านนั้นต่างปลื้มปิติ น้ำตาไหลไปตามๆกันโดยเฉพาะชาวอเมริกัน เพราะพวกเขารู้ดีว่า การเดินทางครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่สำหรับประเทศของพวกเขา ธงชาติสหรัฐนั้นถูกปักอยู่บนดวงจันทร์ ประกาศกร้าวถึงความสำเร็จอันน่าภูมิใจของผู้ร่วมโครงการและประชาชนทุกคนที่คอยลุ้นอยู่ทางบ้าน โดยนีล อาร์มสตรองหนึ่งในผู้ที่ได้รับเกียรติในการปฎิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ ได้กล่าวไว้ว่า

    การไปเยือนดวงจันทร์ครั้งนี้แม้จะเป็นก้าวเล็กๆของเท้ามนุษย์คนหนึ่ง แต่มันเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่เกินจะประเมิณค่าได้ได้สำหรับมวลมนุษยชาติ


    Fun Fact เกี่ยวกับการขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก

    1) ยานอพอลโล 11 นั้นใช้ระบบพลังงานสำหรับการประมวลผลต่ำกว่าโทรศัพท์มือถือเสียอีก
    2) นีล อาร์มสตรองต้องกระโดดสูงถึง 3.5 ฟุตจากออกตัวยานเพื่อให้ตัวเองสามารถเหยียบลงบนพื้นดวงจันทร์ได้ เนื่องจากเขาจอดยานได้นิ่มนวลเกินไปจนระบบเกาะติดพื้นอัตโนมัตินั้นไม่ทำงาน
    3) ก่อนจะลงจอดได้นั้น ยานอวกาศใช้น้ำมันไปจนเกือบหมดถึงซึ่งเป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อตัวนีล เองเพราะมีโอกาสสูงมากที่ยานจะชน แต่เขาก็รอดมันมาได้
    4) ยานอพอลโลนั้นเกิดอาการติดขัดในการดักจับก๊าซในของเหลว ทำให้การปัสสาวะบนยานอวกาศนั้นยากมาก นักอวกาศที่อยู่บนยานจึงเลือกที่จะกินยาระงับอาการปวดปัสสาวะแทนเปิดตัดปัญหาไป
    5) เมื่อนักอวกาศคนที่สองที่ชื่อบัซ อัลดรินนั้นออกจากยานตามนีลไปเพื่อเหยียบพื้นดวงจันทร์ เขาต้องเช็คประตูให้มันใจว่าประตูนั้นไม่ได้ล็อคอยู่ เพราะว่าประตูยานอวกาศนั้นไม่มีที่เปิดจากด้านนอก

    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/Jg80HZsv_js" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    ภาพ-ข้อมูล :
    SINGHASQUARE.COM | การศึกษา | News | วันนี้ในอดีต: 20 กรกฏาคม วันที่มนุษย์เหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2013
  18. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    วันที่ 22 กรกฏาคม เวลา 6:12 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้าง พลังงานแพร่กระจายรอบทิศทาง โดยมีทิศทางหลักออกไปในด้านที่ตรงข้ามกับโลก ทางทิศตะวันตก ในขณะที่ปริมาณความเข้มแสง X-ray ด้านเดียวกับโลกนั้นอยู่ในระดับต่ำ ในช่วงเดียวกันพบว่าเป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับกำลังลดลงต่ำสุด จากโมเดลการคำนวณพบว่าพลังงานค่าเฉลี่ยจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 25 กรกฏาคม เวลา 0 UT +/- 10 ชั่วโมง ผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลก โปรดติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดตั้งแต่-วันนี้-ถึงวันที่ 26 กรกฏาคม ครับ

    ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของเหตุการณ์มีดังนี้
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์ มุมมองจากโลก CACTUS CME Details
    - โมเดลการแพร่กระจายของคลื่นพลังงานจากดวงอาทิตย์สู่วงโคจรของโลก http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=385074531
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือของภาพ
    http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/22/behind_20130722_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/22/ahead_20130722_cor2_512.mpg
     
  19. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    NASA ปล่อยภาพดาวหาง ISON จากกล้อง Spitzer Space Telescope ของ NASA ถ่ายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ระยะ 502 ล้าน กม. จากดวงอาทิตย์ให้ได้ชม โดยแสดงภาพเป็น 2 ช่วงคลื่นแสง ด้านซ้ายแสดงให้เห็นหางฝุ่น ซึ่งเริ่มยืดออกตามแรงของลมสุริยะ ด้านขวาแสดงให้เห็นกลุ่มแก้สที่หุ้มหัวของดาวหาง ซึ่งเป็นน้ำแข็งแห้งหรือ CO2 ที่ระเหิดออกราว 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน (เครดิตภาพ Credit: NASA/JPL-Caltech/JHUAPL/UCF )

    [​IMG]
     
  20. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...