เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    [​IMG]

    วันนี้ dekdelta2จะเดินทางไปอุบล ต้องขอบคุณคุณFarrenมาก ที่จะพาไปกราบครูบาอาจารย์อีกหลายรูป

    ล็อกเกตมี 3 สีครับ ฉากสีเขียวหมดแล้ว ฉากสีขาวเหลือ 45 องค์ ฉากสีดำเหลือ 43 องค์ครับ

    ร่วมบุญ 1,500 บาท โอนบัญชีนี้นะครับ
    :นายสุรเชษฐ์ วันทนียวงศ์: ธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี 630-2-12573-0

    เบอร์ติดต่อ 084-4840136


    โอนเงินแล้ว จะโทรแจ้ง dekdelta2ก็ได้ ถ้าแจ้งการโอนในกระทู้ด้วยก็จะดีครับ ผมจะได้updateในตารางให้

    ดูรายละเอียดการโอนเงินได้จากตารางข้างล่างครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. bankru

    bankru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +631
    กระผมขอร่วมบุญสร้างเจดีย์
    จองล็อคเก็ตพระแก้วมรกตสีขาว 1 องค์นะครับ
     
  3. bankru

    bankru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +631
    โอนไปแล้วนะครับ จำนวนเงิน 1500 บาท
    ธ.กสิกรไทย สาขาเซียร์รังสิต วันที่ 12/3/54 เวลา 15.55 น.
    โอนเข้าบัญชีเลขที่ 630-2-12573-0 แล้วนะครับ
     
  4. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    เราขอทั้งถุงน่ะ

    หลวงปู่แสง ญาณวโร พระอริยะเจ้าผู้เกศาแปรสภาพเป็นพระธาตุ
     
  5. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    Update สั้นๆให้นะครับ ส่วนรายละเอียดให้คุณ dekdelta2 ลงเองนะครับ

    วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม อธิษฐานจิตเดี่ยวโดย
    1.หลวงพ่อแสง ปริปุณโณ วัดป่าฤกษ์อุดม จ.อำนาจเจริญ
    2.หลวงพ่อบุญชู (พระครูเกษมธรรมานุวัตร ศิษย์ญาท่านสวน) วัดเกษมสำราญ จ.อุบล
    3.หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม วัดสิงหาญ จ.อุบล
    4.หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดบ้านกระเดียน จ.อุบล
    5.หลวงปู่จูมณี กังขามุตโต อายุ 94 ปี วัดธรรมรังสี จ.อุบล
    6.หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสะนะธัมโม อายุ 90 ปี วัดสว่างวารี(วัดตุงลุง) จ.อุบล
    7.หลวงปู่โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว จ.อุบล
    8.ยายชีนวล อายุใกล้ 100 ปี ศิษย์สำเร็จลุน

    วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม อธิษฐานจิตเดี่ยวโดย
    1.หลวงปู่เกลี้ยง เตชะธัมโม อายุ 104 ปี วัดบ้านโนนแกลด จ.ศรีสะเกษ
    2.หลวงปู่พา อธิวโร วัดบัวระรมย์ จ.ศรีสะเกษ
    3.หลวงปู่เพ็ง จันทรังสี วัดโพธิ์ศรีละทาย จ.ศรีสะเกษ
    4.หลวงปู่โทน ขันติโก วัดบ้านพับ จ.อุบล
    5.หลวงปู่แสง ญาณวโร จ.อำนาจเจริญ รูปนี้ท่านไปสร้างวัดใหม่ แต่โชคดีคลำทางถูก แต่จำชื่อวัดไม่ได้ครับ รู้สึกจะชื่อ วัดภูชิด.... ประมาณนี้
    6.หลวงปู่มหาคำแดง ฐานะทัตโต อายุ 90 ปี วัดคำภีราวาส จ.อุบล

    ความจริงรอบนี้กะจะให้ หลวงพ่อสุพัฒน์ ศิษย์หลวงปู่เจียม อธิษฐานด้วยแต่ไม่ทัน ด้วยเวลาที่กระชั้นชิด ส่วนหลวงปู่บุญหลาย ตอนนี้ท่านรักษาตัวที่โรงพยาบาล หลวงปู่จอมไปไม่ทัน เลยต้องไว้โอกาสหน้านะครับ
     
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    ยายชีนวล ท่านอยู่แถวไหนครับ
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    UPDATE 13 มี ค. 54

    ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้
    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 12-13 มกราคม 2554





    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. พระใบฎีกายวง สุภัทโท วัดหน้าต่างใน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    2. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม(แม้น) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระครูประโชติธรรมวิจิตร(เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    4. พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ(พูน) วัดบ้านแพน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระมงคลนนทวุฒิ(เก๋) วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    6. พระครูเกษมวรกิจ(วิชัย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย (2 วาระ)
    7. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    9. พระครูอุดมธรรมสุนทร(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (2 วาระ)
    10. หลวงปู่เณรคำ(วิรพล) ขันติโก วัดป่าขันติธรรม อ.กัณทรารมย์ จ.ศรีษะเกษ
    11. พระอาจารย์สุมโน วัดถ้ำสองตา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    14. พระอาจารย์เจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    15. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฒิราษฏร์(บ้านฟ่อน) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    16. พระครูศีลพิลาศ(จันทร์แก้ว) วัดศรีสว่าง(วัวลาย) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    17. พระครูวิสุทธิศีลสังวร(สาย) วัดร้องขุด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    18. หลวงปู่ดี ธัมมธีโร วัดเทพากร เขตบางพลัด กรุงเทพฯ (2 วาระ)
    19. พระครูปราสาทพรหมคุณ(หงษ์) สุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    20. พระครูไพบูลย์สิกขการ(หวาน) วัดสะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
    21. พระราชสังวรญาณ(ไพบูลย์) วัดอนาลโย อ.เมือง จ.พะเยา (2 วาระ)
    22. หลวงปู่บุญมา คัมภีรธโร วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (4 วาระ)
    23. พระครูวิมลภาวนคุณ(คูณ) วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง เขมปัญโญ วัดบางจาก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    25. หลวงปู่โปร่ง ปัญญธโร วัดตำหนักเหนือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    27. พระครูปราโมทย์(อ้อน) วัดบางตะไนย์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    28. หลวงพ่อสินธุ์ ฐิตาโก วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    29. หลวงตาวาส สีลเตโช วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน
    33. พระครูสุวรรณศาสนคุณ(นาม) วัดน้อยชมภู่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี (3 วาระ)
    34. พระครูวิบูลโพธิธรรม(น่วม) วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    35. หลวงพ่อมนตรี ขันติธัมโม วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.บ่อไร จ.ตราด
    36. พระครูวิสิษฐ์ชโลปการ(เกลี้ยง) วัดเนินสุทธาวาส อ.เมือง จ.ชลบุรี (2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย อัตตมโน วัดสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    40. หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    41. พระญาณสิทธาจารย์(ทองพูล) วัดสามัคคีอุปถัมป์(ภูกระแต) จ.บึงกาฬ
    42. หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย (2 วาระ)
    43. พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.หนองคาย
    44. หลวงพ่อปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    45. พระครูประสิทธิ์ อัคคธัมโม วัดโฆสมังคลาราม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    46. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่(2 วาระ)
    47. พระครูถาวรศีลพรต(อินถา) วัดอินทราพิบูลย์ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    48. พระครูโสภณสารคุณ(บุญมา) วัดศิริชัยนิมิตร อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    49. ครูบาบุญเป็ง คัมภีโร วัดทุ่งปูน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    50. หลวงปู่ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
    51. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
    52. หลวงปู่ครูบาบุญมา อนิญชิโต วัดบุปผาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี (อายุ 100 ปี)
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
    55. พระครูสันติวรญาณ(อ่ำ) ธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
    56. พระครูกิตติอุดมญาณ(ไม) วัดป่าหนองช้างคาว อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี (3 วาระ)
    57. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์) สำนักสงฆ์ดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
    62. พระราชสิทธิมงคล(สวัสดิ์) วัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    63. พระสุนทรธรรมานุวัตร(เอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ กิ่ง อ.เฝ้าไร่ หนองคาย (2 วาระ)
    65. พระมงคลศีลจาร(ทองอินทร์) วัดกลางคลองสี่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
    66. พระครูโสภณพัฒนาภิรม(บุญ) วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์(ขวัญชัย) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    68. พระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    69. พระครูมงคลนวการ(ฉาบ) วัดศรีสาคร อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    70. หลวงพ่อเอิบ ฐิตตธัมโม วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
    71. พระครูวิจิตรชยานุรักษ์(พร้า) วัดโคกดอกไม้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    72. พระครูปัญญาวิมล(แป๋ว) วัดดาวเรือง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดสุวรรณจัตตุพลปัลนาราม(บางเนียน) อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 106 ปี)
    75. หลวงพ่อจำลอง เขมนัญโญ วัดเจดีย์แดง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    76. พระครูอนุศาสน์กิจจาทร(เขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(สีโรจน์ ปิยธัมโม) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    78. ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง ลำพูน
    79. ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ลำพูน
    80. ครูบาอุ่น วัดโรงวัว เชียงใหม่
    81. ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด จ.ลำพูน
    82. ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก จ.ลำพูน
    83. หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์(2 วาระ) (อายุ 100 ปี)
    84. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    85. หลวงปู่ใสย วัดเขาถ้ำตำบล ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ วัดถ้ำปากเปียง เชียงใหม่(2 วาระ)
    87. พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่ อุดรธานี(2 วาระ)
    88. หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด จ. อ่างทอง(2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด วัดไร่้ จ.อ่างทอง
    90. หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน จ.อ่างทอง(2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม วัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    93. หลวงปู่ครูบาสิงห์โต วัดดอยแก้ว
    94. ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง
    95. ครูบาบุญมา วัดบ้านสา ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตะอาสภะมหาเถระอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์<!-- google_ad_section_end -->
    98. หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่(อธิษฐานเฉพาะพระปิดตาที่ใช้อุดหลังล็อกเกต)
    100. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี<!-- google_ad_section_end -->
    102. หลวงพ่อแก่ วัดกล้วย พระนครศรีอยุธยา
    103. หลวงปู่ศรี วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
    104. หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    105. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    106. หลวงปู่ปัญญา ปัญญาธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง อ.หนองใหญ่ จ. ชลบุรี (อายุ 106 ปี)
    107. หลวงปู่เรือง อาภัสโร ปูชนียสถานธรรมเขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
    108. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    109. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    110. พระครูปัญญาวราภรณ์(สมภาร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ หนองคาย
    111. พระครูธรรมสรคุณ (เขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี
    112. พระญาณวิศิษฎ์(ทอง) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    113. พระครูอุดมภาวนาจารย์(ทองสุก) วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา
    114. พระราชภาวนาพินิจน์(สนธิ์) วัดพุทธบูชา เขตบางมด กรุงเทพฯ
    115. หลวงพ่อทองคำ กาญจวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
    116. พระครูอุดมวีรวัฒน์ (คูณ) วัดอุดมวารี อ.พาน จ.เชียงราย
    117. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (อินทร) วัดสันป่ายางหลวง อ.เมือง จ.ลำพูน
    118. พระครูสุนธรธรรมโฆษิต(หลวงเตี่ยสุรเสียง) วัดป่าเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    119. หลวงพ่อบุญส่ง วัดทรงเมตตาราม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    120. พระอาจารย์เกษมสุข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
    121. หลวงปู่เชิญ เทพนภา จ.สิงห์บุรี<!-- google_ad_section_end -->
    122. พระครูภาวนาวิรัชคุณ(คง) วัดเขากลิ้ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    123. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    124. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง อ.บางกระดี่ จ.ปทุมธานี
    125. หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    <!-- google_ad_section_end -->126. หลวงปู่มหาเจิม วัดสระมงคล จ.นครปฐม
    127. หลวงปู่พุทธา พุทธจิตโต วัดป่าหนองยาว
    128. หลวงตาเก่ง ธนวโร วัดบ้านนาแก
    129. หลวงพ่อบุญรัตน์ วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    130. ครูบาอินตา วัดศาลา อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    131. หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย<!-- google_ad_section_end -->
    132. หลวงปู่สิริ อคฺคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    133. พระครูพิพิธชลธรรม (หลวงปู่หลาย) วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    134. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน รัตนวัณโณ)วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา
    135. พระครูอดุลปุญญาภิรม(ผัด) วัดหัวฝาย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    136. หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย สำนักสงฆ์ท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง
    137. หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    138. พระครูธรรมธรเล็ก วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    139. หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ<!-- google_ad_section_end -->
    140. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร) วัดบรมนิวาส เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
    141. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(มานิตย์) วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    142. พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    143. หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    144. หลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    145. หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
    146. พระครูโสภณสิริธรรม(สม) วัดโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    147. พระครูนิพัธธรรมรัต(เกลื่อน) วัดรางฉนวน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
    148. พระครูสิริบุญเขต(มี) วัดม่วงคัน อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    149. พ่อท่านเกลื่อน วัดประดู่หมู๋ (อายุ 104 ปี)
    150. พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น (อายุ 100 ปี)
    151. พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย
    152. พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ
    153. พระอาจารย์ภัทร อริโย วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา
    154. พระครูมนูญธรรมาภรณ์(อิ่นคำ) วัดมหาวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    155. ครูบาคำปัน ญาณเถระ วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    156. หลวงปู่ชม ฐานคุตโต วัดป่าท่าสุด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    157. หลวงปู่กวง โกสโร วัดป่านาบุญ อ.แม่งแตง จ.เชียงใหม่
    158. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    159. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    160. พระอธิการเสน่ห์ จันทสโร วัดเชียงขาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    161. พระราชพุทธิมงคล(ทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    162. ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    163. พระครูอุดมวิริยกิจ(แสง) วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    164. พระครูเกษมธรรมานุวัตร(ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    165. หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดราษฎร์นิยม(บ้านกระเดียน) อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    166. หลวงปู่จูมณี กังขามุตโต วัดธรรมรังสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
    167. หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสะนะธัมโม วัดสว่างวารี(วัดตุงลุง) อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    168. พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    169. พระครูโกวิทพัฒนาโดม(เกลี้ยง) วัดบ้านโนนแกด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ (อายุ 104 ปี)
    170. หลวงปู่พา อธิวโร วัดบัวระรมย์ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ
    171. พระครูโสภณจันทรังสี(เพ็ง) วัดโพธิ์ศรีละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    172. หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    173. หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าภูติศษา อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    174. หลวงปู่มหาคำแดง ฐานะทัตโต วัดคำภีราวาส อ.ตระการพืขผล จ.อุบลราชธานี




    รายนามอุบาสก-อุบาสิกาอธิษฐานจิตเชิญบารมีคุณพระรัตนตรัย

    1. อ.ธรรมนูญ บุญธรรม สำนักบัวแปดกลีบ อัญเชิญคุณบารมีพระแก้วมรกตและครูบาอาจารย์มาประสิทธิ์
    2. อ.ชินพร สุขสถิตย์ มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก อัญเชิญเทพ พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์อันมีหลวงปู่ทิม เป็นที่สุด
    3. อ.ศุภรัตน์ แสงจันทร์ อาศรมโพธิสัตว์ม่อนแก้ว อธิษฐานนำพระไปถวายสมเด็จองค์ปฐมครอบวิมานแก้ว
    4. ยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ 100 ปี ศิษย์สำเร็จลุน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2011
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    เรื่องรายละเอียดเขียนโอกาสหน้านะครับ
     
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 92 หลวงปู่แสง วัดป่าฤกษ์อุดม

    วันที่ไปวัดรู้สึกว่าอากาศดีมากๆ หลวงปู่ท่านค่อนข้างโด่งดังทีเดียว เพราะมีรถเบนซ์จาก กทม. มาให้ท่านเจิมหลายคัน หลวงปู่ท่านมักจะลงป้องกันภัยต่างๆให้ นอกจากนั้นก็มีกุมารทองให้ทำบุญกัน ผมก็ได้ทำบุญกุมารของหลวงปู่มาหนึ่งองค์
    หลวงปู่ท่านอธิษฐานให้ พร้อมรดน้ำมนต์ รู้สึกว่าหนาวสะท้านเลย จากนั้นท่านก็ทำพิธีบังสุกุลเป็นบังสุกุลตายให้ นับว่าท่านเป็นพระที่เมตตามากๆ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0720.JPG
      IMG_0720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      456 KB
      เปิดดู:
      3,820
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 93 ญาท่านเกษม ศิษย์เอกหลวงปู่ญาท่านสวน

    [​IMG]
    พระครูเกษมธรรมานุวัตร เข้าสู่เพศบรรพชิตเมื่อขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์ 2509 ณ พัทธสีมา วัดเกษมสำราญ ต.เกษม อ.ตระการพืชผล จ.อุบลฯ พระอุปัชฌาย์คือ พระครูนันทปัญญาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเกษมสำราญ ในสมัยนั้น เมื่อปี 2516 สอบไล่ได้ประโยคนักธรรมชั้นเอก และ พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์พัดยศเป็นพระครูเกษมธรรมานุวัตร (พระครูชั้นตรี) จนกระทั่งปี พ.ศ.2539 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกษมสำราญและในปี พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นเอก (ตำบลเกษม) ท่านเป็นพระที่ไม่เคยถือตัว ใช้ชีวิตอย่างสงบ สมถะ เรียบง่าย และท่านยังมีความรู้ด้านต้นไม้และสมุนไพรเป็นอย่างดี ที่สำคัญท่านเป็นผู้ที่มีวาจาสิทธิ์ พูดคำไหนคำนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม ถ้าท่านได้พูดอะไรหรือทักอะไร มักจะเป็นดังที่ท่านพูดเสมอ สุจริตชนใดได้วัตถุมงคลของท่านไป มักจะสุข สมหวัง แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ยิ่งในระยะหลังๆ ผู้ที่ถอยรถป้ายแดงจากทั่วสารทิศ นิยมนำรถไปให้หลวงพ่อเจิมให้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคณะสาธุชนเดินทางไปกราบไหว้ญาท่านเกษมไม่ขาดสาย ทั้งที่มาจากในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนจากต่างถิ่นแดนไกล
    พระครูเกษมธรรมานุวัตร หรือญาท่านเกษม มีผลงานที่โดดเด่นจนได้รับโล่รางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนา และโล่รางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งด้านการพัฒนาวัด พัฒนาชุมชน ด้านการศึกษาของชุมชน และด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ทำให้วัดเกษมสำราญมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นทั้งวัดและเป็นทั้งทุกสิ่งทุกอย่างของชุมชน มีห้องสมุด มีพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม มีสิมเก่าให้ชื่นชม มีศูนย์หัตถกรรมจักสาน มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นที่ชื่นชมและประทับใจของชาวบ้านและแขกผู้มาเยือน ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา ครูบาอาจารย์ ที่มาทัศนศึกษาหาความรู้จากวัดแห่งนี้
    นอกจากผลงานด้านการพัฒนาแล้ว หลวงพ่อพระครูเกษมธรรมานุวัตร หรือญาท่านเกษม ยังมีวัตถุมงคลหลายรุ่น ที่หลวงปู่ญาท่านสวนเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษ และมีอีกบางรุ่นที่หลวงปู่ญาท่านสวนสั่งให้ญาท่านเกษมร่วมปลุกเสก (ปลุกเสกคู่) ซึ่งต่อมาวัตถุมงคลเหล่านั้นของหลวงพ่อพระครูเกษมธรรมานุวัตรได้รับความนิยมศรัทธาในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและผู้นิยมสะสมวัตถุมงคลเป็นอย่างยิ่ง วัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมชมชอบได้แก่ พระพุทธนวโกฏิมหาเศรษฐีและพระอุปคุตครอบจักรวาล และวัตถุมงคลรุ่นใหม่ที่มาแรงในขณะนี้ ก็คือวัตถุมงคล รุ่นมหามงคลครอบจักรวาล ซึ่งเป็นเหรียญวัตถุมงคลทั้งหมด นอกจากนี้ยังมี พระอุปคุตครอบจักรวาล เนื้อนวะใต้ฐานบรรจุผงมวลสารเก่า เส้นเกศาหลวงปู่ญาท่านสวน-ญาท่านเกษมและตะกรุดเงินจารมือเดี่ยว ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกองค์ และพระอุปคุตครอบจักรวาล เนื้อโลหะผสมใต้ฐานบรรจุผงมวลสาร เกศาหลวงปู่ญาท่านสวน-ญาท่านเกษมและตะกรุดเงินจารมือเดี่ยวเช่นกัน และยังมีวัตถุสำหรับห้อยคอได้แก่ พระพุทธนวโกฏิมหาเศรษฐี (ห้อยคอ) เนื้อนวะแก่เงินใต้ฐานบรรจุผงไม้มงคลทั้ง 9 ตะกรุดกสิณ 1 ตอกโค้ดและหมายเลข และพระพุทธนวโกฏิมหาเศรษฐี (ห้อยคอ) เนื้อสัตตะทองแดง ใต้ฐานบรรจุผงไม้มงคลทั้ง 9 ตะกรุดกสิณ 2 คอกตอกโค้ดและหมายเลขทุกองค์ นอกจากนี้ยังมีรูปเหมือนลอยองค์ มีล็อกเกตฉากทอง และฉากไฟเบอร์ ๑ จัมโบ้ด้านหลังบรรจุผงมวลสารเก่าเส้นเกศาหลวงปู่ญาท่านสวน-ญาท่านเกษมและตะกรุดเงินจารมือ ประทับโค้ดหมายเลข พร้อมทั้งมีเหรียญที่มีรูปของญาท่านเกษมหลายรูปแบบเช่น เหรียญพุดซ้อนรุ่นแรก ปี 2537 เหรียญรูปไข่เต็มองค์ เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ เหรียญฉลองอายุ 5 รอบ เหรียญเม็ดแดงเนื้อทองคำ-เงิน-นวะทองแดง อีกด้วย ทั้งหมดนี้ผ่านพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ 3 พิธีคือ พิธีจารชนวนมวลสารลงอักขระเลขยันต์จาก 18 พระมหาเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ พิธีปลุกเสกเดี่ยว และพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดเกษมสำราญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    พุทธศาสนิกชนท่านใด มีความประสงค์จะเดินทางไปกราบไหว้นมัสการ หรือต้องการบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่อพระครูเกษมธรรมานุวัตร หรือญาท่านเกษม ติดต่อได้ที่ วัดเกษมสำราญ ต.เกษม อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ได้ทุกวัน



    ชาวบ้านใกล้วัดเล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์บุญชู ท่านมีวิชาแก่กล้ามากครับ มีชาวบ้านไปจับกบจับปลาในตอนกลางคืน แถวๆลำน้ำ ได้ไปเห็นพระอาจารย์บุญชูเดินข้ามลำน้ำ แต่เดินบนผิวน้ำนะครับ นำลึกประมาณศรีษะคนสูงประมาณ 170 ซ.ม.ได้อะครับ อภิญญาท่านแก่กล้ามาก

    เรื่องอิทธิวิธีการเดินบนผิวน้ำนั้น ผมไม่อาจยืนยันได้ แต่ถ้าถามว่าท่านเก่งมั๊ย ผมก็คิดว่าท่านเก่งครับ เพราะเมื่อท่านปลุกเสกเสร็จ ท่านเรียกผมไปใกล้ๆ ผมก็นึกว่าท่านอาจจะตำหนิอะไรได้ แต่ท่านเรียกไปถามว่า


    "พระนี่เสกมากี่องค์แล้ว แรง แรงมาก แรงจนคนเสกยังขนลุกไปทั้งตัว"


    <SCRIPT type=text/javascript><!--$('pre.xff').click( function() { $(this).toggleClass('expanded');});--></SCRIPT>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0721.JPG
      IMG_0721.JPG
      ขนาดไฟล์:
      515.4 KB
      เปิดดู:
      341
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 94 หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน

    หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์เอกญาท่านฤทธิ์ วัดสระกุศกร ที่เป็นศิษย์ของญาท่านตู๋ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นศิษย์มือขวาของสำเร็จลุน ท่านอยู่ศึกษาวิชาอาคมกับญาท่านฤทธิ์ 40 ปี ท่านมีชื่อเสียงด้านแคล้วคลาดสุดยอด นอกจากนี้พระที่วัดของหลวงปู่ญาท่านโทน วัดบูรพา เล่าให้ฟังว่า เรื่องเป่ากระดูกที่หักให้ติดกันได้นั้นเห็นกับตาตนเอง ท่านจึงเชื่อจริงๆ

    ตอนปลุกเสกท่านจุดเทียน พร้อมตั้งขันธ์ห้าบูชาครู ครับ จริงๆท่านมีนิมนต์เทศน์มหาชาติที่อื่น แต่นับเป็นโชคอันดีที่รอเพียง 10 นาที ท่านก็แวะกลับวัดแปปนึ ก่อนที่จะไปร่วมพิธีเทศน์มหาชาติต่อ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0726.JPG
      IMG_0726.JPG
      ขนาดไฟล์:
      436 KB
      เปิดดู:
      363
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 95 กราบหลวงปู่จูมณี

    หลวงปู่อายุ 94 ปี ที่ทรงอารมณ์ในอิริยาบทเดียวตลอดรู้เหมือนไม่รู้ ถามท่านบอกว่าทำอะไรไม่เป็นนอกจากนั่งเคี้ยวหมาก พระที่หลวงปู่ญาท่านสวนเรียกว่าหลวงพ่อใหญ่

    [​IMG]
    ตอนที่ไปกราบท่าน ท่านก็นั่งยิ้ม อย่างเดียว ตอนขอให้ท่านปลุกเสกท่านยังครองจีวรไปเรียบร้อย ท่านก็นำผ้าห่มหลากสีมาคลุมแทนจีวร แล้วท่านก็หัวเราะ เวลาท่านหัวเราะถ้าสังเกตจะมีความสุขมาก มันเหมือนมาจากหัวใจเลย หลวงปู่เพิ่งออกเหรียญรุ่นแรกไป ผมว่าน่าจะดีแน่ๆ ประชาสัมพันธ์ใครผ่านไปผ่านมาแวะไปทำบุญกับหลวงปู่ได้ ท่านเป็นพระดีจริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 96 เที่ยววัดถ้ำคูหาสวรรค์ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี

    ผ่านวัดหลวงปู่คำคะนิง แวะกราบสรีระสังขารหลวงปู่
    หลวงปู่ก็เป็นองค์ที่เกี่ยวข้องกับพระรุ่นนี้ คือ ได้บรรจุเกศาของท่าน ตัดเป็นเส้นเล็กๆผสมในเนื้อมวลสารไปด้วย

    องค์นี้เดิมทีท่านเป็นฤาษีมาก่อน เคยประลองฤทธิ์กับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ให้หลวงพ่อฤาษีทั้งสี่องค์ ดุมาแล้ว

    ท่านก็เป็นศิษย์สายสำเร็จลุน


    [​IMG]

    รูปนี้เห็นเป็นดวงกลมๆ สีขาวๆสวยดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0730.JPG
      IMG_0730.JPG
      ขนาดไฟล์:
      219.8 KB
      เปิดดู:
      351
    • IMG_0731.JPG
      IMG_0731.JPG
      ขนาดไฟล์:
      347.3 KB
      เปิดดู:
      317
    • IMG_0732.JPG
      IMG_0732.JPG
      ขนาดไฟล์:
      414.4 KB
      เปิดดู:
      3,095
    • IMG_0735.JPG
      IMG_0735.JPG
      ขนาดไฟล์:
      516.8 KB
      เปิดดู:
      302
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 97 หลวงปู่บรรยงค์ วัดตุงลุง

    ก่อนเล่าเรื่อง หลวงปู่บรรยงค์ ผมจะเล่าเรื่องหนึ่งเหตุเกิดขึ้นที่ ชั้นใต้ดิน สยามพารากอน เมื่อประมาณสองเดือนก่อน

    พอดีผมไปฟิตเนสที่ cawow มีพี่ที่รู้จักโทรหาพอดี ว่าอยู่ที่เดียวกัน เลยนัดมาเจอมาคุยกันซะหน่อยกัน(พี่คนนี้สนับสนุนเกศา อังคารครูบาอาจารย์มาเกือบร้อยรูป สมาชิกต้องขอบคุณเค้ามากๆนะครับ) พี่ท่านนี้ก็เป็นสมาชิกเว็บนี้ เพื่อนเค้าที่เป็นสมาชิกเว็บนี้ ก็มาด้วย โดยมาพร้อมกับหนังสือนะโม ซึ่งปกติผมไม่ค่อยอ่านเท่าไหร่ เพราะมองว่ามันต้องเติมไม้โท

    ผมก็ขออนุญาตเปิดหนังสือ พี่อีกท่านเป็นศิษย์ของหลวงพี่เอก วัดเขาแร่ ก็เล่าเรื่อง หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวดว่า ตอนแรกเห็นท่านทำพยนต์ก็นึกว่าธรรมดา แต่เห็นหลวงพี่เอก กราบเท้าท่าน ก็เลยคิดว่าต้องไปขอขมาท่าน คุยไปคุยมาผมก็เปิดหนังสือทีละองค์ แบบขำๆ เพราะ องค์ที่ผมถูกใจมีไม่เกิน 3-4 องค์ทั้งนั้น นอกนั้นทัศนะส่วนตัวคิดว่าเป็นการเชียร์มากกว่า
    เปิดหนังสือไปเรื่อยๆ เจอขุนแผนหลวงพ่อส. วัด บ. ผมก็ขำๆ ไปตามเรื่องราว เพราะที่เขียนๆกันหลวงพ่อบางองค์ยังไม่มีวิชานั้นๆเลย ด้วยซ้ำ

    เปิดไปเจอ พระปิดตา หลวงปู่บรรยงค์ ซึ่งเป็นศิษย์ที่ทัน หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน และได้สายวิชามาจากสายสำเร็จลุน ผมบอกเลยว่าองค์นี้เก่งนะพี่
    พี่เค้าบอกว่ารู้ได้ยังไง ผมว่าผมมี sense ไม่ได้ปฏิบัติถึงขั้นไหนหรอก เพราะบางคนเมื่อสัมผัสกับรูปก็จะรู้ได้ แต่ผมใช้ sense ล้วนๆ อาจเป็นเพราะไปกราบมาแล้วเป็นร้อยๆองค์ และผมว่าวันไหนที่ผมไปกราบหลวงปู่เกลี้ยง วัดโนนแกด ผมจะไปหาองค์นี้แน่นอน

    เมื่อวันที่เป็นจริงก็มาถึง หลวงปู่นั่งอยู่หน้ากุฏิ ท่านฉันโอวัลตินแช่แข็ง อยู่ ผมเห็นท่านเพ่งมองพระตั้งแต่ยกเข้าไปแล้ว ดูมีตบะบารมีแก่กล้ามากทีเดียว
    ไปกราบท่านก็นับว่าประทับใจอีกองค์หนึ่ง
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 98 หลวงปู่โชติ อาภัคโค อริยะตำนานที่ยังมีลมหายใจ

    ก่อนอื่นได้แวะวัดดอนธาตุ วัดสุดท้ายในฝั่งไทย ของหลวงปู่เสาร์ เสียก่อน วัดนี้บรรยากาศดีมาก เหมาะกับการปฏิบัติธรรมเพราะเป็นวัดเกาะกลางน้ำ ได้ไปแจ้งข่าวแม่ชี ตามที่พระอ.บัวพรรณได้ฝากแจ้งท่านเรื่อง กำหนดการฉลองเจดีย์ภูริทัตตเถรานุสรณ์ ได้ฟังท่านเจ้าอาวาสไขข้อข้องใจด้านการปฏิบัติ
    จากนั้นก็แวะมากราบนมัสการ หลวงปู่โชติ

    [​IMG]

    หลวงปู่โชติ ท่านเป็นศิษย์ที่ทันฟังการแสดงธรรม จาก หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ดี ฉันโน
    ท่านเคยไปร่วมบูรณะพระธาตุพนมสมัยเป็นสามเณร จึงได้เก็บเหล็กเปียก และยอดพระธาตุพนมมาเป็นมวลสาร ของเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องบรรยายถึงความศักดิ์สิทธิ์อะไรอีกแล้ว
    สหธรรมิกของท่าน เช่น หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่เมตตาหลวง หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

    เล่าเรื่องหลวงปู่ดี อาจารย์ของท่านเล็กน้อย

    หลวงปู่ดี ฉันโน เป็นพระอาจารย์กรรมฐานที่เชี่ยวชาญทางกสิณ 10 อย่างเยี่ยมยอด พระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี กล่าวยืนยันว่า เรื่องฤทธิจิตสำแดงปาฏิหาริย์แล้วละก็ พระอาจารย์ดีเป็นยอดไม่แพ้ สำเร็จลุน ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในยุคนั้นทีเดียว ผู้ชำนาญทางกสิณเท่านั้น ถึงจะเก่งกล้าทางฤทธิจิตหรือทรงอภิญญา พระอาจารย์โชติเล่าว่า วันหนึ่งท่ามกลางพระเณรและญาติโยมทั้งหลายเต็มศาลาวัด หลวงปู่ดีชี้มือ ไปที่สามเณรรูปหนึ่งแล้วว่า ? เอ้า...เณรมึงเป็นไข้จับสั่นให้กูดูซิ ? พอท่านพูดขาดคำเท่านั้นสามเณรรูปนั้นก็ล้มตึง เกิดอาการหนาว สั่นพั่บๆ ขึ้นมาทันทีทันใด ตาเหลือกตาตั้ง ทำท่าจะตายเอา พอเห็นเช่นนั้น หลวงปู่ดีก็ร้องขึ้นว่า ? เอ้า...หยุดๆๆ? สามเณรก็หยุดสั่นลุกขึ้นนั่งได้ทันทีตีสีหน้า บ้องแบ๊วงุนงง นี่ไม่ใช่เล่นมายากล แต่เป็นการใช้ฤทธิจิตอันแรงกล้าจริงๆ
    อีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ดี ฉันโน พาพระภิกษุสามเณรไปเที่ยวธุดงค์หน้าแล้ง อากาศร้อนมากเดินธุดงค์ไปในที่ทุรกันดาร ไม่มีน้ำเลย น้ำในกาพระเณร ทุกรูปก็หมดสิ้น ต่างมีความกระหายน้ำกันเหลือสติกำลัง หลวงปู่ดีจึงหยุดที่ภูเขาหัวโล้นลูกหนึ่ง ท่านจึงสั่งให้พระเณรช่วยกันเอาหญ้า เอาใบไม้ ขุดทรายออกจากร่องหินภูเขาหัวโล้น
    ? เอาละโว้ย ทีนี้กูจะเรียกฝนให้ตกลงมา พวกมึงคอยรองเอาน้ำ ใส่กาใส่กระติกจากร่องน้ำนะโว้ย อาบกินกันให้สนุก ? หลวงปู่ดี ฉันโนประกาศขึ้นด้วยภาษาสำนวนลูกทุ่งที่ท่านเคยปาก ต่อจากนั้น ท่านก็นั่งลงเพ่งกสิณเรียกลมเรียกฝน เพียงชั่วแพล็บเดียว ท้องฟ้าหน้าแล้งจัดจ้าด้วยแดด พลันก็มืดครึ้มก้อนเมฆ สีเทาเข้ม ก็ม้วนไปม้วนมาปั่นป่วนเต็มท้องฟ้า ชั่วครู่ต่อมา ฝนก็เทกระหน่ำตกลงมา ตรงเฉพาะภูเขาหัวโล้นลูกนั้น ที่อื่นไม่ตก เมื่อฝนตกลงมาเต็มที่ พระเณรก็ร่าเริงกัน ช่วยกันตักน้ำจากหลุม และร่องน้ำกัน จนเต็มกระติกเต็มกาใส่น้ำ และอาบน้ำเล่นน้ำกัน เป็นที่รื่นเริงเย็นสบาย


    อีกครั้ง หลวงปู่ดีพาพระ เณร ออกบิณฑบาตในฤดูหนาว ท่านเห็นชาวบ้านก่อไฟกองใหญ่ มีคนนั่งล้อมวงผิงไฟ กันอยู่เต็มใต้ต้น มะพร้าวที่ออกลูกดกเต็มต้น หลวงปู่ดีนึกสนุกก็ร้องบอกพวกชาวบ้าน ว่าให้รีบหนีไปจากกองไฟให้หมด ลูกมะพร้าวมันจะตกหล่นใส่หัวแตกตาย ชาวบ้านก็เชื่อฟังท่าน ต่างก็รีบหนีออกมาจากใต้ต้นมะพร้าว พอทุกคนออกมาพ้นหมดแล้ว มะพร้าว ก็หล่นพรูลงมาจากจั่นจนหมดต้น สร้างความตกตะลึงขนพองสยองเกล้าให้ชาวบ้านไปตามๆ กัน เมื่อมะพร้าวหล่นลงมาหมดแล้ว ชาวบ้านก็ช่วยกันนำเอามะพร้าวอ่อน ทั้งหมดมาถวายหลวงปู่ดีและพระเณร นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านทุกหนทุกแห่งในถิ่นนั้น พอเอ่ยชื่อ พระอาจารย์ดี ฉันโน ต่างก็ยกมือไหว้ท่วมหัว ด้วยความกลัวแสยง สยองในฤทธิ์เดชของท่านไปตาม ๆ กัน
    [​IMG]

    เกศาของหลวงปู่โชติ ขมวดปมเป็นก้อน โลหิตของท่านก็แปรสภาพเป็นพระธาตุ

    หลวงปู่โชติท่านมีวัตถุมงคลโดดเด่น คือ กุมารทองเกล้านางนี อันคือ กุมารทองที่บรรจุ ขมวดปมเกศาของพระโพธิสัตว์ที่มีบุญ จะต้องมีพระที่มีบุญ มาตัด เมื่อถูกตัดเกล้านางนีออก คนๆนั้นก็ต้องรักษาศีลตลอดชีวิต

    ท่านเคยดังมากมาก่อน ดังรุ่นๆเดียวกับ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ต่อมาหลวงปู่โชติท่านมีอาการอาพาธ ความนิยมจึงซาๆไป คนรุ่นใหม่จึงลืมๆท่าน แต่ถ้าใครอยากไปกราบพระสงฆ์อย่างสนิทใจ ได้ทำบุญแล้วได้บุญดั่งตถาคต ก็จงทำบุญกับพระอาพาธรูปนี้เถิด อย่าลืมนะครับ แวะมาแถวนี้ก็ไปกราบหลวงปู่ได้ ที่วัดยังมีกุมารทองเกล้านางนีให้บูชาอยู่ ประสบการณ์เพียบ
    ลืมบอกไปว่า หลวงปู่ท่านได้คาถาจากหลวงปู่เทพโลกอุดรมาด้วย

    ตอนหลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตให้ ท่านได้ครอบพุทธคุณและได้ใช้คาถาของหลวงปู่เทพโลกอุดรเสกด้วย ท่านอธิษฐานเสร็จท่านว่า "แรง" อุปัฏฐากท่านก็ถามว่าแรงด้านไหนหรือครับหลวงปู่ ท่านบอกว่า "พระนี้แรงทุกด้าน"

    หลังจากนั้นผมได้เอื้อมมือจับท่าน รู้สึกว่าท่านอธิษฐานให้ รู้สึกเย็บวาบขึ้นหัว ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า แต่รู้สึกอย่างงั้นจริงๆ ได้เมตตาขอมวลสารหลวงปู่ หลวงปู่ได้เมตตามอบให้มากกว่า 30 องค์ เป็นรูปพระผงหลวงปู่เสาร์ ที่สร้างมา 20 กว่าปีแล้ว มวลสาร ก็ผงสมเด็จ ผงวัดโมฬีโลก ยอดพระธาตุพนม และที่สำคัญคือทุกองค์โรยด้วยเหล็กเปียกพระธาตุพนม(เหล็กเปียกหุ้มพระธาตุชั้นกลาง ราชครูโพนสะเม็กอาจารย์ของสำเร็จลุนเป็นผู้บรรจุตอนบูรณะ)

    [​IMG]



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0737.JPG
      IMG_0737.JPG
      ขนาดไฟล์:
      507.7 KB
      เปิดดู:
      115
    • IMG_0740.JPG
      IMG_0740.JPG
      ขนาดไฟล์:
      320.2 KB
      เปิดดู:
      2,368
  16. siriphan2009

    siriphan2009 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,237
    ค่าพลัง:
    +17,735
    ภาพในงานพิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี

    พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      267.1 KB
      เปิดดู:
      186
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      255.6 KB
      เปิดดู:
      208
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      209.4 KB
      เปิดดู:
      164
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      229.9 KB
      เปิดดู:
      176
    • 05.jpg
      05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.8 KB
      เปิดดู:
      179
    • 06.jpg
      06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.8 KB
      เปิดดู:
      133
  17. siriphan2009

    siriphan2009 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,237
    ค่าพลัง:
    +17,735
    ภาพหลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร เมตตาอธิฐานจิตล๊อกเก็ต


    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.6 KB
      เปิดดู:
      1,982
    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      189.4 KB
      เปิดดู:
      2,380
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 99 ยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ ศิษย์ที่ทันสำเร็จลุน

    เรื่อง ยายชีนวล ผมขออนุญาต copy บทความของคุณอาอำพล เจน มานะครับ

    [​IMG]

    ยายชีนวล แสงทอง
    วัดภูฆ้องคำ บ.ดงตาหวาน อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี
    --------------------------------------------------------------------
    บ่ฮู้..บ่จัก.
    เมื่อถูกซักถามเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับครูบาอาจารย์รวมทั้งเรื่องที่ไม่ปรารถนาจะตอบ ยายชีนวลมักตัดบทว่า
    “บ่ฮู้-บ่จัก”
    เป็นถ้อยเป็นคำที่ออกจากปากยายชีบ่อยที่สุด
    รูปศัพท์ง่ายๆตรงๆว่า=ไม่รู้จัก.
    แต่จะให้ตรงจริงๆในภาษากลางต้องแฝงดัดจริตคือ-ไม่รู้ไม่ชี้
    เมื่อเป็นอีสานทั้งศัพท์สำเนียงความหมายและอารมณ์นั้นกลับจริงจังไม่ดัดจริต

    เรื่องนี้วิจารณ์ได้เพียงผิวเผินว่านั่นคือคุณลักษณะของนักปฏิบัติที่กำลังนำตนให้หลุดพ้นวัฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด)
    ยุติการยึดติดกับสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรือนาคต ไม่ใยดีอาลัยในสังขารตน รวมไปถึงวัตถุสิ่งของภายนอกที่เป็นสมบัติของโลก

    ดังนั้นเรื่องเล่าทั้งหมดที่เกี่ยวกับความเป็นยายชีจึงเกิดด้วยความยากลำบาก ไร้ข้อมูลที่ชัดเจน ขาดรายละเอียด ที่จะสร้างอรรถรสให้แก่ผู้อ่าน คงอาศัยจากคำบอกเล่าผู้ใกล้ชิด สานุศิษย์ ลูกหลานของยายชี ซึ่งก็เต็มไปด้วยความแผ่วเบา ขาดน้ำหนัก ด้วยว่าทุกคนล้วนอยู่ในภาวะเดียวกัน ต้องเผชิญกับคำว่า
    “บ่ฮู้..บ่จัก”
    เสมือนมีดคมบั่นกระบวนการสนทนาจนขาดสะบั้นในทันที

    ชาติกำเนิด
    เกิดวันศุกร์ ไม่ทราบวันที่และเดือน คงอาศัยเค้าจากปีเกิดหลวงปู่สวน วัดนาอุดม(8 ก.ย. 2453) ด้วยว่าทั้งหลวงปู่สวนและยายชีเกิดปีเดียวกัน ยายชีเป็นน้องแค่เดือน
    เป็นลูกสาวคนโตของนายส่วน แสงทองกับนางปี๋ ผลทวี,เป็นพี่สาวของน้องหญิงน้องชายอีก10คน ซึ่งเสียชีวิตเกือบทั้งหมด ยังคงมีชีวิตอยู่เพียงสองท่านคือยายคำ แสงทอง กับ ป้า อนันต์ แสงทอง

    เป็นศิษย์สำเร็จลุน แห่ง จำปาศักดิ์จริงหรือ?
    เท่าที่ได้เคยสัมผัสและสังเกตเห็นมาโดยตลอด บรรดาผู้ที่เป็นศิษย์สำเร็จลุนอย่างแท้จริง มักไม่นิยมกล่าวถึงครูบาอาจารย์ แม้แต่อวดอ้างเอ่ยชื่อก็ไม่ทำ ทุกคนดำรงตนอย่างเงียบเชียบอยู่ในที่กันดารที่คนเข้าถึงลำบาก โดดเดี่ยวลำพังอย่างนักปฏิบัติพันธ์แท้ ไม่คลุกคลีหมู่คณะ ไม่สะสมวัตถุสมบัติ ไม่ติดอยู่กับที่ ไร้ร่องรอย ไร้เรื่องราว

    ถ้าจะมีเรื่องราวปรากฏมักเป็นคำกล่าวขวัญขานถึงอย่างพิสดารโดยมีพื้นฐานจากความเคารพนับถือ ทำให้เกิดภาคอภินิหารใหญ่โตในภายหลัง ส่วนมากก็หลังจากบรรดาท่านเหล่านั้นละสังขารกันไปแล้ว

    ชั้นหลังๆได้ยินเสียงอวดอ้างเอ่ยนามสำเร็จลุนบ่อยๆ ทำนองว่าเป็นศิษย์สายเดียวกัน ป่าวประกาศให้รู้ทั่วไปโดยไม่กระดากใจว่าตนเป็นศิษย์สายนี้ บางรูปอ้างถึงกับว่าตนเป็นลูกศิษย์สายตรงที่ไม่ใช่แค่หลานศิษย์ ครั้นสอบสวนเอาความจริงล้วนโกหกทั้งเพ แค่ปีเกิดของศิษย์จอมปลอมก็ยังไม่ทันชีวิตองค์สำเร็จลุน ใยจึงไม่นึกละอายว่าตนกำลังอมคำโกหกคำโตไว้ในปากตลอดเวลา ยากจะเข้าใจว่าทำกันเช่นนั้นเพื่อผลประโยชน์อย่างใด

    เคยถามยายชีด้วยตนเองว่าครูบาอาจารย์ของยายเป็นใคร
    “บ่ฮู้-บ่จัก”
    “ถ้าไม่มีใครเป็นอาจารย์ ก็เรียนเองรู้เอง”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น ครูบาอาจารย์นั้นมีแน่..แต่ยายบ่จำ”
    บ่จำ=ไม่จำ,จำไม่ได้.
    มีดคมอีกเล่มที่หั่นประวัติสำนักศึกษาและอาจารย์ท่าน

    เรื่องนี้ทราบจากยายคำ แสงทองผู้เป็นน้องหญิงคนที่4ของยายชีว่า สมัยยายชียังเยาว์วัย ป่วยเป็นฝีที่คอ รักษาอย่างไรไม่หาย วันหนึ่งมีหมอธรรมมาชี้แนะว่า มีผู้เดียวที่จะรักษาได้ เป็นพระชื่อว่าครูบาลุน อยู่ภูมะโรง เมืองจำปาศักดิ์ อยากจะหายจงเร่งไปหา ด้วยว่าเวลานั้นท่านชราภาพมากแล้ว อย่านิ่งนอนใจ ช้าไปจะไม่ทันการ

    จากตรงนี้นั่นเองจึงเป็นจุดหักเหของชีวิตเด็กหญิงคนหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ดั้นด้นไปจนถึงภูมะโรง

    ว่ากันขณะนั้นยายชีมีอายุได้13ปี บางเสียงว่า18ปี
    ถ้าจะวิเคราะห์เอาข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด ประมาณว่ายายชีตอนนั้นควรจะมีอายุระหว่าง9-11ขวบ
    ดูที่ปีมรณภาพของสำเร็จลุนซึ่งมีบันทึกปรากฏชัดเจนคือปี2464(ปีระกา เดือน11 เพ็ญขึ้น15ค่ำ เวลาใกล้รุ่ง) เอามาเป็นตัวตั้งแล้วเอาปีเกิดของยายชีคือ2453ลบไปก็จะได้ตัวเลข11ปี

    ในขณะที่เดินทางไปภูมะโรงนั้น บิดาของยายชีกำลังอยู่ในเพศสมณมาแล้ว6พรรษา น่าเชื่อได้ว่าพระภิกษุส่วน(บิดายายชี)ควรเป็นผู้นำพายายชีไปด้วยตนเอง หรือไม่ก็อาศัยผู้รู้จักหนทางที่ไว้วางใจได้ฝากฝังยายชีให้เขาคนนั้นนำพาไป

    ในการเดินทางไปภูมะโรงคราวโน้นเป็นไปได้ว่าน่าจะมีหลวงปู่สวน ฉนฺทโร วัดนาอุดมร่วมเดินทางไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน (บ้านนาทม ต.คำหว้า อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี)

    เมื่อไปถึงภูมะโรงแล้ว ครูบาลุนได้บอกว่าโรคของยายชีจะหายได้ด้วยมโหสถขนานเดียว คือบวชชีรักษาศีลแปดถือพรหมจรรย์ ซึ่งครูบาลุนได้เป็นผู้บวชให้

    ยายชีนวลเมื่ออยู่รักษาตัวที่ภูมะโรง ก็เหมือนดังว่าหายสาบสูญ ด้วยไม่เคยมีข่าวส่งไปถึงครอบครัวแม้แต่น้อย
    กระทั่งครูบาลุนมรณภาพแล้ว ข่าวคราวของยายชียังคงเงียบหายไปอีกหลายปี จนวันหนึ่งข่าวว่ายายชีถูกงูเหลือมกินก็มาถึงบ้านเกิด ทุกคนที่ทราบข่าวล้วนสลดใจสงสาร พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตามประเพณี

    สึกออกจากการเป็นชี
    พำนักอยู่บ้านเกิดไม่นาน ได้เพื่อนชีสาวอีก2คือแม่ชีเที่ยง(ไม่ทราบนามสกุล)
    กับแม่ชีอีกองค์หนึ่งไม่ทราบชื่อ ชวนกันออกธุดงค์ไปจนถึงภูสามส่วม เขตอำเภอเขมราฐ(ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร)


    ชีทั้ง3ปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่บนเขานั้นนานนับ10วันจึงเกิดเหตุ

    คืนวันที่10นั่นเอง เสือโคร่ง5-6ตัวเข้ามาหาชีทั้ง3 เสือตัวหนึ่งท่าทางเหมือนจ่าฝูง เข้าใกล้ยายชีนวลที่สุด มันลงนั่งจ้องหน้า ยกฝ่าเท้าข้างหนึ่งด้วยอาการเหมือนจะตะปรบเหยื่อ ยายชีนวลก็เอื้อมฝ่ามืออกไปตบเบาๆที่หัวเสือจ่าฝูง เสือก็หยุดกึก แล้วหันหลังกลับออกไปจากบริเวณนั้นทั้งหมด

    วันรุ่งขึ้นเพื่อนชีองค์หนึ่งเข้าใจว่าเป็นแม่ชีเที่ยง กลัวเสือที่ปรากฏตัวเมื่อคืนจนถึงกับล้มป่วย ต่อมาไม่นานก็เสียชีวิต

    บิดาของยายชีนวลทราบข่าว ได้ติดตามเอาตัวยายชีกลับบ้านขอร้องให้สึก อ้างเหตุผลไม่มีใครช่วยทำนา ยายชีนวลจึงยอมสึก
    (ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า บิดาของยายชีมีภรรยา2คน ภรรยาคนแรกมีลูกด้วยกันคนเดียวคือยายชี
    ต่อมาบิดายายชีได้บวชเป็นพระอยู่หลายปีจึงสึกออกมามีภรรยาใหม่ กับภรรยาคนที่2นี้มีลูกด้วยกัน10คน ขณะนั้นบิดามีครอบครัวใหม่แล้ว)

    แต่งงานออกเรือน
    หลังจากที่ได้สึกชีออกมาช่วยงานครอบครัวไม่นาน นายอาจ ผลทวี ได้มาติดพันชอบพอยายชี ออกปากขอแต่งงาน ยายชีไม่ขัดข้องแต่มีข้อแม้ที่ถือเป็นข้อตกลงว่า หากยายชีอยากจะไปวัด หรือไปปฏิบัติธรรมที่ไหน เมื่อไหร่ จะไปทันที ไม่ขออนุญาต ไม่บอกล่วงหน้า และอย่าได้ห้ามเสียให้ยาก นายอาจรับปากตกลง

    ชีวิตหลังแต่งงานยายชีนวลยังประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม คือรักษาศีล5บริสุทธิ์ตลอด

    มีลูกทั้งหมด 4 คน ชาย 2 หญิง 2
    ลูกๆต่างรับรองว่าแม่(ยายชี)ไม่เคยฆ่าสัตว์ แม้มดหรือยุงก็ละเว้นไม่ล่วงเกินชีวิตสัตว์เหล่านั้น

    ระหว่างมีครอบครัวมีลูกมีเต้า ยายชีไปธุดงค์กับสำเร็จตันบ่อยๆ ออกปฏิบัติธรรมร่วมกัน ในป่าเขาและสถานที่กันดารน่ากลัวแทบทุกแห่ง เรียกว่าไม่เคยลืมความเป็นนักบวช

    ความองอาจกล้าหาญของยายชีไม่ได้เป็นรองสำเร็จตัน

    ดูแค่เพียงการอยู่ในสถานที่ต่างๆรวมทั้งภูฆ้องคำตามลำพังคนเดียวก็นับว่าเป็นยิ่งกว่าคำรับรอง

    กลับสู่ผ้าขาวอีกครั้ง
    ปี2522 ขณะมีอายุได้ 69 ปี ยายชีบอกกับนายอาจผู้เป็นสามี รวมทั้งลูกๆว่า
    “จะออกบวชเป็นชีอีก อยากพ้นทุกข์ พ้นวัฏสงสาร”

    แล้วออกจากบ้านหายสาบสูญไปอีก

    ลูกหลานเล่าว่ายายชีเมื่ออกธุดงค์ ไม่เคยพกพาสมบัติเงินทองติดตัว มีแค่ย่ามใบเดียว กับผ้าขาวหุ้มตัวชุดเดียว ไม่มีแม้เอกสารหลักประจำตัว เรียกว่าไปตัวเปล่าจริงๆ

    ราวๆปี2526จึงได้ข่าวว่ามีสถานที่2แห่งที่ยายชีปรากฏตัวไปมาบ่อยๆคือระหว่างถ้ำค้อในเขต อ.โขงเจียมกับวัดดอนม่วง บ.ดอนรังกา อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี

    พอดีกับนายอาจผู้เป็นสามีป่วยหนัก ลูกๆตามไปหาแล้วแจ้งอาการป่วยของนายอาจที่ถ้ำค้อ
    แต่ยายชีบอกว่า
    “แม่ไม่ใช่หมอ ถึงไปดูก็ช่วยให้หายป่วยไม่ได้”

    ต่อมาไม่นานนายอาจ ผลทวีผู้สามีก็ถึงแก่กรรม

    ผู้ไร้ร่องรอย
    หลังจากนั้นยายชีก็หายสูญข่าวคราวไปอีก ไม่มีใครรู้ว่าไปไหน อยู่ที่ใด
    นานๆก็โผล่มาเยี่ยมลูก นานๆก็หายตัวไป เป็นปกติ

    การติดตามหาตัวยายชีเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความไม่อยู่ติดที่ ไม่อยู่ที่ใดนานๆ

    เรื่องนี้มีผู้รับฟังคำอธิบายจากยายชีและสังเกตเห็นข้อเท็จจริงอันนี้

    ที่ใดมีคนเกลียดมากๆยายชีจะอยู่นานเป็นพิเศษ

    ที่ใดคนรักนับถือมากๆยายชีจะออกจากที่นั่นไปโดยเร็ว
    สถานที่ซึ่งมีคนเกลียดจะอยู่จนกระทั่งคลายทิฏฐิมานะของผู้คนได้สำเร็จ
    เกลียดกลายเป็นรักและนับถือเมื่อไหร่ จะจากไปเมื่อนั้น
    หลายแห่งที่ผู้คนร้องไห้อาลัย อ้อนวอนให้อยู่ต่อไป ยายชีก็จะบอกธรรม1ข้อ

    “อนิจจังไม่เที่ยง มีพบก็มีพราก”

    ปี2534ยายชีนวลปรากฏตัวที่วัดภูน้อย (บ.น้ำวุ้น ต.แก่งเค็ง อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี)
    ซึ่งยายชีเคยมาร่วมสร้างเอาไว้กับพระอาจารย์หมุนพร้อมด้วยชาวบ้านญาติโยม


    การย้อนกลับมาครั้งนี้ทำความสลดใจให้ยายชีเป็นอันมาก ด้วยวัดอยู่สภาพรกร้างเสื่อมโทรม เป็นเหตุให้เกิดสังเวชสงสารญาติโยมที่เขามีศรัทธาร่วมสร้างถวาย แต่กลับไม่มีพระเณรอยู่อาศัย ทั้งไม่มีใครดูแลรักษา จึงตัดสินใจพำนักอยู่ที่นั่นตามลำพังคนเดียว

    ชาวบ้านเล่าว่ายายชีมาอยู่วัดภูน้อยสมัยแรกนั้น ไม่ค่อยมีใครได้เห็นตัว นานๆจะเห็นลงจากเขามาบิณฑบาตที

    เรื่องนี้ยายชีได้กรุณาอธิบายให้ฟังในภายหลังว่า
    “สงสารชาวบ้าน ลำพังการหาอยู่หากินก็ลำบากพอ ไม่อยากรบกวนเขามากเกินไป ได้อาหารเขาแล้วก็เว้นเสียบ้าง หาเก็บใบไม้มาหั่นกินเอาพอบรรเทาหิว ก็พออยู่ได้หรอก”
    (หั่นใบไม้กิน-ในความหมายของอีสาน บางคนว่าเสกใบไม้กิน)

    เบื้องต้นพวกชาวบ้านต่างพากันสงสัยว่ายายชีรูปนี้มาอยู่ที่นี่คนเดียวได้อย่างไร ลูกเต้าอยู่ไหน เป็นผีเป็นปอบหรือไม่ ใยจึงมาหลบซ่อนตัวอยู่ในวัดร้างบนเขาเช่นนี้

    นานไปชาวบ้านจึงเริ่มรู้จักและเข้าใจ

    หลังจากนั้นข้าวปลาอาหารก็อุดมสมบูรณ์ด้วยว่าผู้คนพากันหลั่งไหลเข้าไป
    วัดร้างก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งเพียงเวลาไม่นานปี
    ทั้งพระทั้งโยมจากทางใกล้ทางไกล เดินทางมาร่วมบุญบูรณวัด ทั้งปฏิบัติและสนทนาธรรมกับยายชีจนเป็นที่เลื่องลือ ต่างอัศจรรย์ใจในตัวยายชีที่เป็นหญิงชราปานนี้ยังมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดน่าเลื่อมใส ถึงกับว่ามีพระหลายรูปมาฝากตัวเป็นศิษย์

    ซึ่งยายชีได้กราบเรียนตอบพระเหล่านั้นอย่างนอบน้อมถ่อมตนเสมอ
    “สิบข้าน้อยฮู้ บ่ถ่ออาจารย์หลง”
    หมายความว่า – ความรู้ที่ยายชีมีนั้นจะมากแค่ไหน ก็ไม่เท่าความรู้ที่ท่านอาจารย์หลง(ลืม)

    ที่พักพิงสุดท้าย-ภูฆ้องคำ
    ถึงปี2539 วัดภูน้อยมีไฟฟ้าและน้ำใช้สะดวกดีแล้ว มีพระเณรอยู่ประจำ มีชาวบ้านศรัทธาค้ำจุนแน่นหนาแล้ว ยายชีนวลก็อำลาท่ามกลางความอาลัยของทุกคน
    ยายชีนวลมุ่งหน้าสู่ภูฆ้องคำ บ.ดงตาหวาน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดภูน้อย
    เพียงเป็นเขาคนละลูก หมู่บ้านคนละหมู่

    ภูฆ้องคำเวลานั้นเป็นที่พักสงฆ์รกร้างเช่นเดียวกับภูน้อย มีกุฏิถูกไฟไหม้อยู่หลังเดียว ยังไม่มีศาลา ไม่มีห้องสุขา กันดาร แห้งแล้ง ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่มีแม้กระทั่งทางเข้าถึงโดยสะดวก อาศัยชาวบ้านช่วยกันเบิกทางให้ พอได้สัญจรไปมา

    ในเบื้องแรกยายชีต้องปักกลดอาศัยอยู่ไปก่อน โดยมีชาวบ้านช่วยกันส่งข้าวน้ำให้พอประทังชีวิต
    ไม่นานภูฆ้องคำก็ฟื้นคืนสภาพ ชาวบ้านดงตาหวานและจากทุกสารทิศ ทั้งทางใกล้ทางไกลต่างร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างศาลา1หลัง กุฏิ6หลัง ห้องน้ำห้องสุขา5ห้อง ทั้งยังสร้างเจดีย์เล็กๆบนยอดเขา รวมทั้งพระประธานองค์ใหญ่ไว้ด้วย

    ยายชีนวลพำนักอยู่ภูฆ้องตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ตามลำพังคนเดียว ไม่มีพระเณรอยู่ประจำ ถ้ามีก็แค่อาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว สุดท้ายยังเป็นยายชีอยู่อย่างถาวร

    ค่อนข้างแน่ใจว่าที่นี่คือสถานที่พักพิงสุดท้ายของยายชี


    ยายชีผู้ทรงค่าควรแก่การเลื่อมใส

    ยังมีท่านผู้หนึ่งซึ่งถือว่าใกล้ชิดและรู้ต้นปลายของยายชีในช่วงบั้นปลายชีวิตค่อนข้างดี ท่านผู้นี้ชื่อว่าประสิทธิ ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวบ้านดงตาหวานรุ่นเก่าได้กรุณาเล่าเรื่องทั้งหมดที่รู้เห็นและรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ

    ปี2538 คุณประสิทธิได้รู้จักยายชีนวลเป็นครั้งแรกโดยไม่ตั้งใจ
    วันนั้นมีงานบุญทอดกฐินสามัคคีที่วัดภูน้อย คุณประสิทธิผู้เคยบวชและสนใจปฏิบัติธรรมมาก่อนจึงพอเข้าใจและรู้จักเรื่องพระเณรหรือเรื่องของนักปฏิบัติ ได้พิจารณาสังเกตดูพระเณรหรือใครต่อใครที่มาร่วมงานบุญจนเห็นยายชีแก่ๆองค์หนึ่งนั่งสำรวมเรียบร้อย ดูสงบ ทรงพลังน่าเลื่อมใส
    เหตุที่สะดุดตาและใจก็ด้วยว่ายายชีองค์นี้ไม่รับอาหารเพล จึงเข้าไปสอบถาม ได้ความว่าท่านกินมื้อเดียว
    หลังจากนั้นได้สนทนากับท่านจนเกิดความนิยมนับถือ ทำให้ได้ทราบว่ายายชีนี่เองที่เป็นหัวใจในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดภูน้อย สิ่งใดขัดสนกันดาร ยายชีเป็นกำลังสำคัญจัดหาสิ่งขาดแคลนจนมีครบสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำดื่ม น้ำใช้ กุฏิ ศาลา ห้องน้ำ ห้องสุขา ยายชีเป็นธุระจัดหาให้หมด เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้อาศัยทุกคน

    โดยส่วนตัวของยายชีนวลมีอารมณ์เป็นสมาธิตลอดเวลา ตกกลางคืนบำเพ็ญเพียรภาวนา พิจารณาธาตุ4ขันธ์5เป็นอารมณ์ สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าเราเขาล้วนร่วงโรยเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้

    วันหนึ่งยายชีเล่าให้คุณประสิทธิฟังว่า เมื่อคืนเกิดนิมิตเห็นบุรุษผู้หนึ่งสรวมหมวกขี่ม้าหยุดตรงหน้า ยื่นกะลามะพร้าวใส่เกลือให้ กำชับว่าเก็บไว้ให้ดี นิมิตนี้มีความหมายอย่างไร ยายชีได้อธิบายว่านี่เป็นปริศนาธรรมที่เทวดามาส่งให้ มะพร้าวหมายถึงให้”ฟ้าวเฮ็ดฟ้าวทำ”(รีบปฏิบัติ รีบทำ), เกลือหมายถึงความอดทนพากเพียรรักษาการประพฤติปฏิบัติให้มั่นคงดุจเกลือรักษาความเค็ม
    ปกติยายชีเป็นผู้สม่ำเสมอในการบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่แล้ว พอนิมิตนี้ปรากฏ ท่านเร่งความเพียรเป็นทวี เกิดปิติสุข อิ่มเอิบอยู่กับผลของความเพียรอย่างบอกไม่ถูก
    ต่อมาบุรุษเดิมมาปรากฏตัวในนิมิตอีก คราวนี้มอบใบตองแห้งห่อเกลือให้ ความหมายคือให้รักษาผลของการประพฤติปฏิบัติที่เกิดขึ้นแล้วไว้ต่อไป เหมือนใบตองรักษาเกลือเอาไว้ไม่ให้หกหล่นเรี่ยราดเสียหาย
    ยายชีบอกว่าท่านได้เก็บปริศนาธรรมนี้ไว้สอนใจและเตือนใจท่านไว้ตลอด

    ปี2539ยายชีออกจากภูน้อยมาอยู่ภูฆ้องคำ ที่นี่คุณประสิทธิเห็นแปลกว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ ภูมิเทวดาเจ้าที่แรงกล้า ไม่เคยมีพระรูปไหนอยู่ได้เกินพรรษา ถ้าไม่เจ็บป่วยก็มักร้อนรนจนอยู่ไม่ได้ต้องหนีไป เป็นเหตุให้ภูน้อยเป็นวัดร้างตลอดมา
    พื้นที่แถบนี้คือที่ตั้งของหมู่บ้านเล็กๆชื่อบ้านดงตาหวาน อยู่กลางป่า กันดาร ความเป็นอยู่แสนยากลำบาก
    ระยะแรกของการตั้งหมู่บ้านนี้ชาวบ้านประสพภาวะป่วยไข้ด้วยมาเลเรีย ล้มตายไปเยอะ ไกลโรงพยาบาล ไม่มีถนนหนทางสะดวกพอจะนำคนป่วยส่งหมอ เป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องพึ่งตนเอง ศึกษาหาความรู้ที่จะสู้กับมาเลเรีย คุณประสิทธิเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการปราบมาเลเรีย

    ดังนั้นคุณประสิทธิจึงไม่กังวลใจกับเรื่องมาเลเรียแม้แต่น้อย ใครป่วยไข้มาหา คุณประสิทธิรักษาได้หมด ทั้งฉีดทั้งกินยาไม่มีปัญหา

    ประหลาดอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าหากพระที่พำนักอยู่ภูฆ้องคำอาพาธด้วยมาเลเรีย ยาที่คุณประสิทธิเคยใช้รักษาชาวบ้านจนหาย กลับไม่สามารถรักษาพระในภูฆ้องคำได้ องค์แล้วองค์เล่าที่เข้ามาอยู่ที่นี่ คุณประสิทธิหมดหนทางรักษา
    แปลกที่ว่าทุกองค์ที่อาพาธนั้นเมื่อออกจากภูฆ้องคำไปแล้วเป็นอันหายจากมาเลเรียทุกองค์ เหตุนี้จึงไม่มีพระรูปใดจำพรรษาที่นี่ได้ตลอดรอดฝั่ง

    จนกระทั่งยายชีนวลมาถึง มาเลเรียก็เบาบางลงไป

    ระหว่างที่ยายชีพำนักอยู่ที่ภูฆ้องคำ หากมีพระรูปใดมาขออยู่ด้วย แล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มีความเพียรในการภาวนาจะไม่อาพาธเจ็บป่วยเลย
    คุณประสิทธิจึงเชื่อมั่นว่าภูฆ้องคำต้องเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง

    ดับไฟป่า
    คุณประสิทธิเล่าว่าทีแรกยังไม่ถึงกับเชื่อถือในคุณวิเศษว่ามีจริงในตัวยายชี แค่เลื่อมใสในความเป็นนักปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดเหตุที่ทำให้ต้องเชื่อขึ้นมาในวันหนึ่ง
    เรื่องนี้คุณประสิทธิให้คำรับรองว่าอยู่ในเหตุการณ์ได้รู้ได้เห็นด้วยตาตนเองเอง

    ประมาณหน้าแล้งปี2541 เกิดไฟป่าไหม้จากนอกวัดภูฆ้องคำลามเข้ามาหากุฏิยายชีอย่างน่ากลัว รอบๆวัดคือป่าต้นเลาและหญ้าคาแห้งบนพื้นที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ไฟจึงลามไหม้อย่างรวดเร็วรุนแรง เกิดเปลวไฟสูง4-5เมตร ลมแรงโหมกระพือไฟเข้าใส่ คุณประสิทธิเชื่อว่าไฟนรกคงเหมือนไฟป่าหนนี้ มีทั้งเสียงลม เสียงฮือๆครืนของไฟที่เกิดมาไม่เคยพบเห็นว่ามันจะน่ากลัวขนาดนี้
    ลูกศิษย์2คนที่เป็นชาวบ้านแถวนั้นวิ่งเข้ามาวัดเพื่อจะช่วยขนข้าวของออกจากกุฏิยายชีหนีให้พ้นไฟ

    ยายชีบอกว่า
    “ไม่ต้องขน, ไฟมันรู้จักว่าถ้าไหม้กุฏิ เราจะไม่มีที่อยู่, ไฟจะไม่ไหม้กุฏิเรา”

    ยายชีบอกให้ลูกศิษย์คนหนึ่งตักน้ำใส่ครุถังเอาไปวางขวางไฟไว้ ประมาณว่าห่างจากกุฏิ3เมตร

    ไฟที่เหมือนไฟนรกมอดดับลงอย่างรวดเร็ว

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    คำสอนง่าย
    ส่วนใหญ่ญาติโยมสานุศิษย์ที่เดินทางมาขอข้อธรรมเพื่อนำไปปฏิบัติมักกล่าวตรงกันว่ายายชีเน้นศีล5เป็นหลัก
    “การปฏิบัติธรรม การรักษาศีล ผู้อื่นทำแทนไม่ได้ ต้องทำเอาเอง แค่ศีล5ก็พอเพียงสำหรับคฤหัสถ์ ให้รักษาไว้กับตัวกับใจ ทำอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมาทำที่นี่ ศีล5นั้นประเสริฐสุด”

    บางครั้งก็อบรมว่า
    “ถ้าเราปฏิบัติหรือรักษาศีลไม่ได้ อย่ารับศีลเลย อย่าโกหกพระเลย”
    เรื่องศีล5เรารู้จักกันแล้วว่าเป็นศีลที่คฤหัสถ์ปฏิบัติได้ เป็นศีลที่ปิดประตูนรกอบายภูมิ

    หลวงปู่ทองสาเคยบอกว่า
    “เป็นคฤหัสถ์ก็บวชได้ รักษาศีล5ตลอดชีวิตก็เหมือนบวช
    ไม่ต้องอดอาหารมื้อเย็น มีผัวมีเมียได้ ครองบ้านครองเรือนได้เป็นปกติ
    รักษาศีล5ให้บริสุทธิ์ มรรคผลนิพพานได้เหมือนกัน”


    เหตุที่เจ็บป่วยแล้วไม่ไปหาหมอ
    สมัยที่ยังธุดงค์ไปทั่ว หาตัวเจอยาก แต่ยายชีมักไปปรากฏตัวกับลูกสาวคนเล็กที่ จ.อำนาจเจริญ
    ครั้งหนึ่งราวๆปี2527 ยายชีถูกหนามตำเท้า อักเสบกลัดหนอง เจ็บปวดทรมานไม่ใช่เล่น ยายชีไปหาลูกสาวคนนี้เพื่อจะหายาบรรเทาทุกขเวทนา ลูกสาวเห็นว่าหนักหนาสาหัสเกินกว่าจะรักษากันเอง จำเป็นต้องถึงมือหมอ แต่จะทำอย่างไรดี ในเมื่อรู้อยู่แก่ใจว่าแม่(ยายชี)ไม่ยอมหาหมอ จึงโกหกว่าจะพาไปซื้อยาที่ร้านยาในตัวเมือง
    “ทำไมแม่ต้องไปด้วยล่ะ”
    “ถ้าไม่ไปให้เขาเห็นแผล เขาจะจัดยาให้ถูกต้องได้ยังไง”
    ยายชีจึงยอมไป
    พอไปเข้าจริงๆกลายเป็นถึงมือหมอที่คลินิกไม่ใช่ร้านขายยา
    ผลตรวจคือนอกจากจะอักเสบกลัดหนองแล้ว กระดูกเท้ายังแตกอีกด้วย ต้องผ่าตัดจึงหาย
    ลูกสาวนำตัวยายชีไปโรงพยาบาลโดยไม่บอกให้ทราบว่าจะไปไหน ถึงโรงพยาบาลก็ส่งตัวยายชีให้หมออย่างรวดเร็ว
    เรียกว่ามัดมือชก หรือผีถึงป่าช้าต้องฝัง
    ยายชีแม้ไม่ยอมก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
    หลังจากหายเป็นปกติแล้วยายชีได้บอกว่า
    “ความเจ็บไข้ที่เกิดกับเรามันเนื่องมาแต่กรรม ไม่ว่าหมอหรือเราก็ต้องตายเหมือนกัน”

    งูกัดก็ต้องภาวนาตาย
    เมื่อปีที่แล้วยายชีถูกงูเห่ากัด
    ก่อนถูกงูเห่ากัด ฝันว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยมา พอรุ่งขึ้นก็ทำกิจวัตรตามปกติ หุงหาอาหารกินเอง ถ้าแข็งแรงดีอยู่จะไม่ยอมให้ใครทำอาหาร จะต้องทำเองกินเอง ยายชีกินเนื้อสัตว์เพียงแต่น้อย ถ้าใส่หมูก็เรียกว่าใส่วิญญาณหมู เน้นผักเป็นส่วนใหญ่
    หลังกินอาหารแล้วนั่งผักผ่อนอยู่ รู้สึกเจ็บแปลบที่เท้า เห็นงูเห่าอยู่ใกล้ๆแล้วก็ค่อยๆหมดสติไป เมื่อฟื้นขึ้นมาก็เข้ากุฏิปิดประตูเงียบไม่ออกมาตลอดวันและคืน ไม่ยอมให้ใครพาไปหาหมอ คงตั้งใจภาวนาตายอย่างนักปฏิบัติ
    เช้าวันรุ่งขึ้นยายชีก็ไม่ตาย หนำซ้ำแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า เดินเหินคล่องแคล่วเป็นพิเศษ
    ภายหลังยายชีได้บอกว่า งูที่กัดนั้นไม่ใช่งู แต่เป็นพญากรรม

    ประสบการณ์จริงของยายชีนวลกับพญานาคถ้ำแกลบ
    เมื่อพูดถึงงูเห่ากัดยายชีทำให้นึกเรื่องพญานาคถ้ำแกลบ อยู่ในเขตอำเภอนิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร

    เรื่องมีอยู่ว่ายายชีธุดงค์ผ่านไปแถวนั้น คะเนว่าอายุประมาณ16-17ปี คงเพิ่งออกจากภูมะโรงแล้วเดินทางมาเรื่อยๆจนถึงที่นี่ ทราบว่ามีถ้ำชื่อแกลบคนเขากลัวกันมากก็แสดงความประสงค์จะขึ้นไปปฏิบัติธรรมในถ้ำนั้น

    มูลเหตุที่ชาวบ้านกลัวคือมักมีคนเห็นงูยักษ์เลื้อยเข้าออกถ้ำแกลบบ่อยๆ จนไม่มีใครกล้าเข้าไปหาของป่าหรือเฉียดกรายเข้าใกล้บริเวณนั้น

    เมื่อยายชี(สาว)ตั้งใจจะเข้าไป ก็พากันห้ามปราม แต่ไม่สำเร็จ ยายชียังยืนกรานจะไปเช่นเดิม ชาวบ้านก็ไม่มีใครกล้าไปส่ง แค่บอกทางให้ ต่อจากนั้นยายชีก็เดินเท้าเข้าไปด้วยตนเอง

    หลังจากนั้นยายชีก็หายสูญไปนานนับเดือน ไม่เคยลงมาหมู่บ้านบิณฑบาต ชาวบ้านก็วิตกวิจารณ์กันว่าน่ากลัวยายชีนวลจะไม่รอด คงเสียชีวิตไปแล้ว

    ในที่สุดชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้กล้ารวมตัวกันขึ้นมาประมาณ10คน จะลองขึ้นภูเขาเข้าไปที่ถ้ำแกลบเพื่อดูว่ายายชี(สาว)เป็นตายร้ายดีประการใด

    เมื่อไปถึงทุกคนตกตลึงกับภาพที่เห็นแต่ไกล
    งูมีหงอนสีแดงลำตัวสีขาวขนาดใหญ่รัดรอบตัวยายชีจนมิด
    เห็นแค่ใบหน้าที่หลับตาพริ้มสงบ
    ทุกคนเห็นเช่นนั้นก็เผ่นแน่บกลับลงมาหมู่บ้าน ป่าวประกาศไปว่ายายชีตายแล้ว ถูกงูยักษ์กิน

    (เหตุการณ์นี้น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นต้นเค้าของข่าวที่มีไปถึงบ้านเกิดของยายชีว่าถูกงูเหลือมกิน)

    หลังจากนั้นไม่นาน ชาวบ้านก็ถึงตกตะลึงกันอีกครั้งเมื่อเห็นยายชีนวลลงจากเขามาปรากฏตัวในหมู่บ้าน
    ยายชีได้บอกกับชาวบ้านว่า
    “ไม่ต้องกลัวท่านพญานาคนั่นหรอก ท่านเป็นพญานาคมีศีล ขอเพียงให้ชาวบ้านที่เข้าไปหาของกินของอยากแถวถ้ำนั้นเอ่ยชื่อพญานาคคำขาว ทุกคนจะปลอดภัยไม่มีอันตราย "

    ทุกวันนี้ชาวบ้านรุ่นเก่าที่ยังมีชีวิตอยู่ยังจดจำเหตุการณ์นี้ได้ และเล่าสืบต่อกันมาจนวันนี้



    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top>​



    [​IMG]
    เท้าไม่ติดพื้น
    แม้นว่าภูฆ้องคำจะอยู่ไกล กันดาร แต่สานุศิษย์ ผู้เลื่อมใสศรัทธา ก็หลั่งไหลมาไม่ได้ขาด ทั้งทหาร ตำรวจ ชาวบ้านหรือแม้แต่พระเณร ต่างก็มาด้วยเชื่อมั่นในวัตรปฏิบัติของยายชีว่าควรค่าแก่การมาสักการะและปรึกษาข้อธรรม
    พระอาจารย์หน่อย(ไม่ทราบชื่อ ฉายา)เจ้าอาวาสวัดบ้านยาง อ.ดอนมดแดง จ.อุบลฯ เล่าว่า เคยเห็นยายชีเดินจงกรมโดยที่เท้าไม่ติดพื้น
    เกิดความอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก


    มาเพื่อชดใช้หนี้
    พูดถึงกำลังสำคัญในการพัฒนาวัด ต้องกล่าวถึงพระอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งมาสู่ภูฆ้องคำยุคแรก
    ท่านคือพระอาจารย์อ้อด(อริศร ปญฺโญ)ที่อยู่ๆก็มาปรากฏตัวที่วัดภูฆ้องคำโดยไม่มีผู้ใดรู้ล่วงหน้า
    ท่านบอกแปลกๆว่าตั้งใจมาหายายชีเพื่อใช้หนี้

    ท่านได้กรุณาเล่าว่า สมัยภูหินร่องกล้ายังรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างรัฐบาลกับคอมมิวนิสต์ ท่านและพระอีก2รูปธุดงค์ไปพำนักอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนภูหินร่องกล้า เกิดการรบอยู่บริเวณถ้ำนั้นพอดี ต้องหลบซ่อนอยู่ในถ้ำหลายวัน อดอาหารและน้ำอยู่9วัน ออกจากถ้ำไม่ได้ มีเสียงระเบิด เสียงปืนดังอยู่ตลอดเวลา ควันจากอาวุธพวยพุ่งเข้าถ้ำจนหายใจแทบไม่ออก นึกว่าคงไม่รอดกันแล้ว

    ในขณะที่ตาพร่ามัวด้วยควันเข้าตา เห็นยายชีลอยเข้ามาตามกลุ่มควันนั้นแล้วพูดว่า
    “ข้าน้อยขอโอกาส..ถ้าหากจะออกจากถ้ำนี้โดยปลอดภัยขอให้พระอาจารย์ภาวนาคาถานี้”
    ยายชีบอกคาถาแล้วก็หายไป

    หลังจากท่องคาถาแล้วพวกท่านสามารถออกจากถ้ำ ผ่านดงปืนและระเบิดมาได้อย่างปลอดภัย

    ภายหลังทราบว่ายายชีมาอยู่ที่ภูฆ้องคำ กำลังบุกเบิกสถานที่ เห็นเป็นโอกาสจะมาใช้หนี้ชีวิตจึงมาช่วยเป็นกำลังก่อสร้างให้

    ยายชีเป็นกำลังเงิน ด้วยว่าเงินจากญาติโยมจะตรงมาที่ยาย
    ท่านเป็นกำลังงาน ลงมือทำงานก่อสร้างอย่างเดียว
    ยายชีไม่ถือเงินหรือเก็บเงิน เมื่อมีศรัทธามาถวายก็มอบเงินให้พระอาจารย์อ้อดเป็นผู้เก็บรักษา ไม่ว่าจะ10บาท 20บาทก็ตาม พระอาจารย์ก็จะเก็บเงินรวบรวมไว้จนครบค่าวัสดุ เช่นครบค่าปูน1กระสอบก็ให้ชาวบ้านขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อปูนมา
    การก่อสร้างที่สำคัญที่ท่านลงแรงไว้คือบันไดขึ้นภูเขา ทำทีละขั้นไปเรื่อยๆจนแล้วเสร็จ

    กำลังจะทำฐานพระประธานบนเขาต่อ ยายชีก็มานิมนต์ให้พระอาจารย์อ้อดกลับไป
    “ฐานพระประธานยังไม่เสร็จ องค์พระประธานยังไม่สร้างจะให้กลับทำไม”
    “บ้านเมืองกำลังจะวุ่นวายเดือดร้อน อาจารย์กลับไปเถอะ ไปหาที่บำเพ็ญภาวนาตามป่าตามเขาช่วยบ้านเมือง”
    “อาตมาเป็นพระผู้น้อย ไม่เก่งกล้าสามารถขนาดนั้น”
    “ไปเถอะไปภาวนาช่วยกัน”
    พระอาจารย์อ้อดเล่าว่า ยายชีวนเวียนนิมนต์ให้ท่านไปหลายรอบหลายครั้งจนในที่สุดท่านจึงรับนิมนต์เดินทางกลับนครพนม

    เรื่องนี้น่าคิดไม่น้อย เมื่อวันที่30พย51ยายชีทำพิธีบังสุกุลประเทศ ทำให้ทุกคนทุกฝ่าย ไม่ว่าเหลืองหรือแดงหรือประชาชนทั่วไป ท่านว่าพิธีนี้จะช่วยบรรเทาความวุ่นวายบ้านเมืองได้ระดับหนึ่ง ผู้ที่ตายไปแล้วก็จะได้รับส่วนบุญส่วนกุศล ผู้ที่ยังไม่ตายก็จะปลอดภัยเป็นสุข ซึ่งในพิธีนี้ได้นำรายชื่อสมาชิกเว็บสวนขลังและเว็บอำพล เจนเข้ารับการสวดแผ่เมตตาเป็นกรณีพิเศษไปแล้ว ไม่ทราบว่าปรากฏผลอย่างไร
    มีที่น่าสนใจอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง ส่วนตัวของยายชีนั้น ท่านได้จดรายละเอียดของสัตว์ทุกชนิดที่ตายอยู่ในวัดตลอดมาจนถึงวันพิธี ไม่ว่าจะเป็นงู ตะขาบ กิ้งก่า มด ปลวก จิ้งจก หรือแม้แต่ไส้เดือน ท่านจดไว้หมด แล้วนำเข้าพิธีด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    มาเอาวิชากับคาถาอาคม

    เท่าที่ข้าพเจ้าได้สัมผัสยายชีในช่วงเวลาสั้นๆไม่กี่ปีมานี้ เห็นว่าผู้ที่มาหายายชีถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไปมักมาพึ่งพาอาศัยขอให้ช่วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ที่เป็นเรื่องต้องใช้ศาสตร์วิชา ยายชีก็สงเคราะห์ให้เป็นรายๆ อีกส่วนหนึ่งมาเพื่ออยากได้วิชา ซึ่งส่วนนี้มักไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม

    แต่เป็นพวกที่หวังได้คาถาศักดิ์สิทธิ์ไปทำประโยชน์ตน ยายชีมักปฏิเสธไปว่า
    “ข้อยบ่ฮู้บ่จักอีหยังสักอย่าง หนังสือก็ไม่ได้เรียน เรื่องนี้ถ้าบุญของพวกเจ้าเคยสร้าง มันจะมาเองรู้เองดอก”

    เรื่องศาสตร์วิชาแปลกๆของยายชี เคยได้ยินผู้ใกล้ชิดยายชีเล่าว่า สมัยก่อนท่านมีวิชาหนูกับแมว ทำเป็นน้ำมันขึ้นมา เอาไปป้ายหนูกับแมวแล้วมันจะไม่กัดกัน ขังไว้ในกรงเดียวกันก็ไม่ทำร้ายกัน คงจะคล้ายๆกับที่อาจารย์ชุม ไชยคีรีเคยทำไว้แต่ต้นเค้าวิชาไม่ทราบมาทางเดียวกันหรือเปล่า

    เดี๋ยวนี้ยายชีเลิกไม่ทำอีกแล้ว เข้าใจว่าตั้งแต่รู้จักกราบไหว้หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง เรื่องวิชาคาถาอาคมจึงเพลาๆลงไป หันมาตั้งใจปฏิบัติจิตทำเพียรภาวนาแทน

    ถ้าเอ่ยชื่อหลวงพ่อชาให้ยายชีได้ยินเมื่อไหร่ยกมือไหว้ท่วมหัวเมื่อนั้น ยึดถือว่าเป็นครูบาอาจารย์สำคัญอีกองค์หนึ่ง

    ในส่วนที่เป็นของขลังเท่าที่เห็นยายชีทำแจกให้ญาติโยมนั้นเป็นรังไหม ข้าพเจ้าเคยได้รับและยังเก็บรักษาเอาไว้เป็นอย่างดี แต่ไม่ทราบว่ารังไหมนั้นมีคุณอย่างไร ด้วยไม่เคยถาม แว่วๆเป็นเลาๆว่าเอาไว้คุ้มตัว รักษาตน เหมือนตัวไหมมีรังเป็นเปลือกหุ้มคุ้มภัย
    อีกอย่างหนึ่งที่ท่านชอบแจกให้ผู้ใกล้ชิด คือแป้งหอม และ น้ำอบไทย แล้วให้คาถาไปสวดภาวนากำกับ ข้าพเจ้าเคยได้รับแต่จำคาถาไม่ได้จึงไม่เคยใช้
    แต่รับรองได้ว่ายายชีนี้ไม่ธรรมดา

    เหมือนที่หลวงปู่คำพันธ์ได้อุทานขึ้นเมื่อเห็นยายชีครั้งแรกที่วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    “ยายชีนี่ไม่ธรรมดา วิชามีอยู่เต็มตัว”

    ปัจจุบันกาล
    ขณะนี้(ธค.2551)ยายชีนวลอายุได้98ปี สังขารเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เรี่ยวแรงหดหายไปสิ้น จะลุกนั่งเดินเหินลำบาก ความป่วยไข้รุมเร้าอย่างแสนสาหัส
    บางครั้งคล้ายหมดลมหายใจไป แต่ก็ยังกลับคืนมาหายใจได้

    ยายชีบอกว่า
    “นักปฏิบัติมักเป็นเช่นนี้ เรื่องของกรรมของแต่ละคน”

    ยายชีนวลไม่เคยแสดงอาการหวั่นไหวอ่อนแอให้ผู้ใดเห็น ที่ได้เห็นกันคือความองอาจกล้าหาญ ไม่สร้างความหนักใจแก่ผู้ปรนนิบัติดูแล นั่งนอนยืนเดินอยู่ในองค์ภาวนาตลอดเวลา

    นั่นคือการสอนศิษย์เทอมสุดท้าย สอนให้ทุกคนเห็นกับตาด้วยบทแห่งอนิจจัง







    ครูบาลุนเป็นใคร?
    ข้อสงสัยที่หวังให้มีผู้คลี่คลายคือ ครูบาลุน กับ สำเร็จลุน เป็นคนเดียวกันหรือไม่
    คาดคั้นเอาความจริงกับยายชี
    คำตอบเก่าๆ
    “บ่ฮู้..บ่จัก”

    คงมีเพียงพระภิกษุผู้เฒ่ารูปเดียวที่กล่าวรับรองว่ายายชีเป็นศิษย์สำนักครูบาอาจารย์เดียวกันคือสำเร็จลุน
    ภิกษุผู้เฒ่ารูปนี้มีชื่อลือนามว่าหลวงปู่สวน ฉนฺทโร วัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
    คำตอบที่ชัดเจนเพื่อคลายปมกังขาจึงมาอยู่ที่นี่ อยู่ที่หลวงปู่สวน

    น่าแปลกใจอย่างยิ่ง หลวงปู่สวนออกจะให้ความเกรงใจยายชีนวลเป็นพิเศษ
    อาจด้วยเหตุว่ายายชีนวลนั้นสนิทสนมคบหาสำเร็จตันถึงขั้นเรียกหากันว่า”เสี่ยว”
    สำเร็จตันผู้คงด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิอันบรรดาศิษย์อาจารย์เดียวกันยกย่องนับถือ

    เป็นข้อวัตรของสำเร็จลุนหรือไม่
    มองไปที่ หลวงปู่หนุ่ย ปภากโร
    ศิษย์สำเร็จลุนรุ่นราวคราวเดียวกันกับ ปู่ผ้าขาวครุฑ(อาจารย์ของหลวงปู่คำพันธ์)
    ก็เป็นภิกษุสันโดษและโดดเดี่ยวลำพังคนเดียวในป่าดงดิบบนเขาที่เรียกว่าภูพริก(เขตอ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลฯ) องค์ท่านดำรงชีพอยู่อย่างเงียบเชียบปราศจากชื่อเสียง ไม่เคยอวดอ้างเอ่ยชื่อครูบาอาจารย์ ถ้าถามจะได้ความเงียบเป็นคำตอบ

    เมื่อหลวงปู่หนุ่ยมรณภาพแล้วหลวงปู่คำพันธ์ได้เดินทางมานมัสการธาตุอัฐิขององค์ท่านเป็นการส่วนตัว หลวงปู่คำพันธ์เรียกหาองค์ท่านว่าเป็นครูบาอาจารย์ผู้เฒ่าเสมือนปู่ผ้าขาวครุฑผู้ไร้ร่องรอยเช่นเดียวกัน
    ร่องรอยเดียวที่ตามรอยได้คือสถานที่บรรจุอัฐิของท่านทั้งสองที่ยังคงซ่อนอยู่ในป่า จะไปจะมาลำบากเอาเรื่อง ร่องรอยก่อนหน้านั้นมีอันได้สูญหายไปกับกาลเวลา

    หลวงปู่บุญสี ปคุโณ วัดภูนางแก้ว บ.สองคอน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี มรณะไปแล้วราวๆ 30 กว่าปี เป็นอีกองค์หนึ่งที่ดำรงชีพอยู่อย่างเงียบเชียบไม่กระโตกกระตาก ไม่เอ่ยอ้างตนว่าเป็นศิษย์สำเร็จลุน ไม่ยินดีกับการก่อสร้าง ไม่ออกเหรียญหรือวัตถุมงคลใดๆ สงเคราะห์ให้แก่สานุศิษย์เฉพาะรายเช่นทำตะกรุดให้เท่านั้น

    ทุกรูปทุกนามที่เป็นศิษย์แท้ของสำเร็จลุน มักไม่ไคร่อยู่สถานที่ใดนานเกินควร ธุดงค์ไปทั่ว จนกว่าจะแก่เฒ่าถึงขั้นยากลำบากในการเดินทาง จึงหยุดธุดงค์ สถานที่พำนักบั้นปลายล้วนไกลผู้คน ราวกับซ่อนตัวหลบหลีกหนีอะไรสักอย่าง

    ยายชีนวลก็เช่นกัน เมื่อครูบาลุนมรณภาพและหมดภาระที่สำนักครูบาลุนแล้ว ยายชีในวัยรุ่นสาวกลับมีความองอาจกล้าหาญออกธุดงค์โดดเดี่ยวปานพระหนุ่มๆสักรูป เดินออกจากจำปาศักดิ์ขึ้นเหนือทะลุเวียงจันทน์ข้ามโขงมาฝั่งไทยที่เมืองหนองคาย เข้าอุดรธานี ย้อนมาสกลนคร ผ่านธาตุพนม สู่อำเภอเขมราฐจนกระทั่งถึงบ้านเกิดบ้านนาทม

    ในขณะที่กลับถึงบ้าน ยายชีสาวเต็มตัว อายุได้ 20 กว่าปี เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกหลังจากที่ทุกคนทำความเข้าใจมาตลอดเวลา10กว่าปีว่ายายชีนวลเสียชีวิตไปนานแล้ว
    ผู้ที่ประพฤติตนสันโดษเดียวดายเยี่ยงนี้ที่เป็นศิษย์สำเร็จลุนไม่ว่าหญิงว่าชาย ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ จะเรียกว่าถือข้อวัตรของสำนักหรือได้ไม่ เหตุใดจึงมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตโดดเดี่ยวเดียวดายเหมือนกันทุกคน



    ................................................................................................


    ยายชี ท่านมีอายุ 100 ปี สังขารท่านก็ร่วงโรยตามกาลเวลา แต่จิตท่านไม่มีทุกข์ไปด้วย ท่านยังเมตตาอธิษฐานจิตวัตถุมงคลให้

    หลวงปู่คำพันธ์เมื่อเดินผ่าน ยายชีนวล ถึงกับผงะ กล่าวว่า ยายชีเฒ่ามีวิชาอยู่เต็มตัว ท่านเป็นสหธรรมิกของสำเร็จตัน อาจารย์ของหลวงปู่จันหอม สุภาจาโร ที่เขียนตะกรุดยันต์หัวใจธาตุสี่ ที่แรงเอามากๆๆเสียด้วย

    ผมและพี่ Farren ได้ถวายชุดแม่ชีแก่ท่านนับว่าเป็นบุญเป็นกุศลครั้งหนึ่งในชีวิตที่น่าประทับใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0741.JPG
      IMG_0741.JPG
      ขนาดไฟล์:
      437.7 KB
      เปิดดู:
      197
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2011
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ขอบคุณพี่ siriphan2009ที่ช่วยลงรูปนะครับ
    วันนี้กรุงเทพฯ อากาศดีทั้งวันเลย

    วันนี้ลงแค่นี้ก่อน จะกลับมาต่อกับ

    พระที่หลวงปู่สรวง บอกว่า ในศรีษะเกษยังมีองค์นี้อีกองค์ ที่อายุเกินร้อยแน่ๆ

    และ

    พระภิกษุที่หลวงปู่หมุน ให้ตามหาเพื่อให้มาเสกพระรูปหล่อย้อนยุคของท่าน ใช้เวลา สามปีถึงจะตามเจอ
     
  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    และศิษย์น้องแท้ของพระที่หลวงปู่โต๊ะ มักยกย่องในพลังจิตและอาคมอันแก่กล้า

    อย่าลืมว่าหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เคยกล่าวว่า "หลวงพ่อโต๊ะมาฉันก็อุ่นใจ หลวงพ่อโต๊ะองค์เดียว เท่ากับเกจิ 20 องค์รวมกัน "
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...