หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ตำนาน หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว

    หลวงตา
    Jun 19, 2024
    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ วัดอุสภารามบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา

     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    lpdingkangkasuwanno.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูพิบูลย์คณารักษ์
    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ

    วัดบางวัว (วัดอุสภาราม)
    บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา


    ชาติภูมิและประวัติทั่วไป

    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๐
    ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู จ.ศ. ๑๒๓๙
    ที่บ้านบางวัว ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    เป็นบุตรของ คุณพ่อเหม และคุณแม่ล้วน เหมล้วน
    มีพี่น้องทั้งหมดรวม ๑๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    พอเข้าวัยการศึกษา บิดามารดาได้นำท่านไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียน
    อยู่กับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดบางวัว ซึ่งท่านก็ได้รับการอุปถัมภ์ด้วยดี
    รสพระธรรมได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจของท่านอย่างลึกซึ้ง
    ยามว่างก็จะเข้ามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ คือ การทำนา
    สมัยก่อนทำนาปีละครั้ง ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงมีเวลาว่างมาก
    เพราะต้องรอคอยฤดูฝนจึงจะทำนากันได้

    การอุปสมบท

    อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐
    ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา ณ พัทธสีมา วัดบางวัว
    โดยมี พระอาจารย์ดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร
    ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์จ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    และพระอาจารย์ปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับนามฉายาว่า “คงฺคสุวณฺโณ” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า
    “ผู้มีจิตชุ่มเย็นเช่นดังแม่น้ำ และแกร่งเช่นดังทองคำ”
    นับตั้งแต่นั้นมาท่านก็ซาบซึ้งในรสของพระธรรม
    และครองสมณเพศจนตลอดสิ้นอายุขัย

    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดบางวัว
    เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๒ พรรษา
    หลังจากนั้นท่านก็เดินทางเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม
    ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม (วัดสามจีน) ในสมัยที่หลวงพ่อโม ยังมีชีวิตอยู่

    พระอาจารย์

    จากคำบันทึกที่หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า
    ขณะที่มาอยู่ที่วัดไตรมิตรฯ เพียง ๑ พรรษา
    พระอธิการเปีย เจ้าอาวาสวัดบางวัว ก็มรณภาพลง
    พระภิกษุในวัดและญาติโยมได้ประชุมปรึกษากัน
    มีมติให้ไปนิมนต์ท่านกลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป
    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่อาจขัดศรัทธาของญาติโยมได้ จึงเดินทางมาครองวัดบางวัว
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่าบวชเพียง ๓ พรรษาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว
    เมื่อหลวงพ่อดิ่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็เริ่มพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ ในวัด
    ซึ่งขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
    ได้พัฒนาให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร

    หลวงพ่อดิ่งได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังเสมอว่า
    อาจารย์ที่ฉันได้เล่าเรียนวิชามาด้วยกันจริงๆ มีอยู่ ๓ องค์ คือ
    (๑) หลวงพ่อดิษฐ์ พฺรหฺมสโร วัดบางสมัคร ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของฉันเอง
    (๒) หลวงพ่อเปิ้น วัดบ้านเก่า ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี
    องค์นี้ท่านเก่งมาก ขนาดปราบฝรั่งที่มันมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์จนต้องยอมสยบต่อท่าน
    แน่ไม่แน่ขนาดฝรั่งยิงปืนไปที่โบสถ์วัดบ้านเก่า ไม่ออกก็แล้วกัน
    (๓) หลวงพ่อเปอะ วัดจวนเขื่อนขันธ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
    องค์นี้ท่านเก่งทางสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ


    สมณศักดิ์และหน้าที่ทางคณะสงฆ์

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางวัว

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางวัว

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง
    (ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอบางปะกง ในปัจจุบัน)

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง
    (เจ้าคณะอำเภอบางปะกง ในปัจจุบัน)

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิบูลย์คณารักษ์

    วัตถุมงคลและเหรียญคณาจารย์

    บรรดาเหรียญพระคณาจารย์ของจังหวัดต่างๆ นั้น
    บางจังหวัดสนนราคาเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าค่อนข้างสูง
    ถ้าจะจัดลำดับความสำคัญ โดยถือเกณฑ์เฉลี่ยของเหรียญพระคณาจารย์ยุคเก่าเป็นดัชนีในการจัด
    จะพบว่าในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเหรียญดัง อีกทั้งสนนราคาเหรียญค่อนข้างสูงอยู่หลายเหรียญ
    สำหรับที่เด่นและเป็นที่รู้จักแพร่หลายในยุทธจักรวงการเหรียญพระคณาจารย์ คือ

    เหรียญหลวงพ่อโสทร รุ่นปี พ.ศ. ๒๔๖๐

    เหรียญหลวงคง วัดซำป่างาม

    เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดอุสภาราม

    ทั้ง ๓ เหรียญพระคณาจารย์ดังกล่าว คือเหรียญยอดนิยมของจังหวัดฉะเชิงเทรา

    หลวงพ่อดิ่ง ท่านเป็นพระเถราจารย์ยุคอินโดจีนที่เคร่งในวัตรปฏิบัติ
    มีเมตตาจิต และเชี่ยวชาญแตกฉานในทุกสาขาวิชา รวมถึงพุทธาคมต่างๆ
    ทั้งเป็นที่รักเคารพและศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา
    วัตถุมงคลของท่านล้วนทรงไว้ซึ่งพุทธานุภาพเป็นที่นิยมสะสมทั้งสิ้น
    ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษและปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง
    เพราะผู้มีไว้ต่างหวงแหน คือ “ลิงไม้แกะ”
    ที่แกะจากรากต้นรักและรากต้นพุดซ้อนอันทรงพุทธานุภาพ
    และ “เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑”

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะศิษย์ มรรคนายกของวัด และญาติโยมผู้เคารพเลื่อมใส
    ได้พร้อมใจกันจัดงานพิธีทำบุญอายุครบ ๖๑ ปี ถวายแด่หลวงพ่อดิ่ง
    ในงานพิธีนี้ท่านได้ปลุกเสกวัตถุมงคล ประเภทเหรียญแจกคณะศิษย์ มีด้วยกัน ๓ แบบ คือ

    เหรียญพระพุทธรูปจำลองพระประธานอุโบสถ

    เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก เนื้อเงินลงยา มีจำนวนน้อย

    เหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่ เนื้อทองแดง มีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ

    สำหรับพระเครื่อง “เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑”
    ที่ท่านสร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ ๖๑ ปี โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง
    และเพิ่มเนื้อพิเศษสำหรับแจกกรรมการเป็นเนื้อเงินลงยา
    ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหูเชื่อมเช่นเดียวกันนั้น

    เหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก เนื้อทองแดง เหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่
    ด้านหน้ายกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป
    มีอักษรไทยกำกับโดยรอบว่า
    “พระครูพิบูลย์คณารักษ์ เจ้าคณะแขวงอำเภอบางปะกง วัดอุสภาราม ฉะเชิงเทรา”
    ด้านหลังยกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นยันต์ ภายในบรรจุอักขระขอมว่า “มิ มะ นะ อะ อุ”
    ล่างสุดเป็นปี พ.ศ. ที่สร้าง คือ “พ.ศ. ๒๔๘๑”

    ส่วนเหรียญปั๊มรูปเหมือน รุ่นแรก เนื้อเงินลงยา เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก
    ด้านหน้ากรอบใน ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อดิ่งครึ่งรูป
    ด้านบนเป็นปี พ.ศ. ที่สร้าง คือ “๒๔๘๑”
    กรอบนอก เป็นอักษรไทยจารึกว่า
    “ทำบุญที่ระลึกอายุ ๖๑ ปี พระครูพิบูลย์คณารักษ์” ด้านหลังพื้นเรียบ

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงพ่อดิ่งทำพิธีปลุกเสก ลิงจับหลัก หรือ หนุมานแกะ
    ซึ่งการทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในครั้งนั้นจัดพิธีใหญ่มาก
    มีการทำพิธีตัดไม้ข่มนาม มีการเอาหนังเสือมาปูทับอาวุธนานาชนิด
    แล้วหลวงพ่อดิ่งก็ขึ้นไปนั่งปลุกเสกบนหนังเสือ ปลุกเสกจนสว่าง
    โดยที่หลวงพ่อดิ่งไม่ลุกขึ้นไปไหนเลยขณะที่ปลุกเสกลิงจับหลัก
    การบูชาให้ถูกต้องตามตำราของหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
    จะต้องตั้งนะโม ๓ จบก่อน แล้วค่อยว่าพระคาถาหนุมาน ดังนี้
    หนุมานะ นะ มะ พะ ทะ ตามกำลังวัน
    เช่น วันเสาร์ ๑๐ วันอาทิตย์ ๖ วันจันทร์ ๑๕ วันอังคาร ๘ เป็นต้น
    ถ้าเข้าหาผู้ใหญ่ ให้นำลิงจับหลักจุ่มน้ำมันจันทน์แล้วเจิมที่หน้าผาก
    สำหรับคุณวิเศษของลิงจับหลัก หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว นั้น
    เป็นที่รู้กันว่าดี ทั้งทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

    การมรณภาพ

    หลวงพ่อดิ่ง คังคสุวัณโณ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ
    ในวันธรรมสวนะ ขณะที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมสวดปาฏิโมกข์
    ตรงกับวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ สิริอายุรวมได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๔

    ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ
    fb. วัดบางพลีน้อย : ประวัติหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
    https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%A ... 5551581259

    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงพ่อดิ่ง-วัดบางวัว/history
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่แสง กล่าวยืนยันหลวงปู่ไพบูลย์ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

    ปู่ดอน station
    Jun 24, 2023

    หลวงปู่แสง ญาณวโร พระอริยสงฆ์แห่งวัดป่าดงสว่างธรรม ท่านมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับหลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโลมาก เพราะได้เคยปฏิบัติธรรมมาด้วยกันที่ภาคเหนือ หลวงปู่แสง ท่านได้กล่าวยืนยันหลวงปู่ไพบูลย์ว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต..
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    lpsang.jpg
    ประวัติ ‘หลวงปู่แสง ญาณวโร’ พระดีที่น่ากราบ ละสังขารอย่างสงบ...
    หลวงปู่แสง จันดะโชโต (ญาณวโร) วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เดิมชื่อ นายแสง ดีหอม เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2467 ที่ อ.ฟ้าหยาด จ. อุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร) อุปสมบทเมื่อ วันที่ 1 มิ.ย. 2490 ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    ละสังขาร เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 66 เวลา 19.13 น สิริอายุปีที่ 99 พรรษา 75.
    ประวัติการจำพรรษา วิเวกธุดงค์ และไปมาหาสู่กับพระรูปต่าง ๆ

    ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ)
    หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย (ปี 2494-2496)
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (ปี 2497)
    หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (1 พรรษา)
    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (20 พรรษา)
    พระอาจารย์แบน ธนากโร ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลาที่วัดธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จ.ขอนแก่น
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย – ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง
    หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อ.ผือ อ.สามพราน และ อ.น้ำโสม
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ได้วิเวกธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และ ภูทอก ฯลฯ
    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ได้จำพรรษาด้วยกัน (ปี 2532-2533)
    ตั้งแต่ ปี 2534 – 31 ธันวาคม 2551 จำพรรษา ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จ.อำนาจเจริญ
    31 ธันวาคม 2551 – 11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (เสนาสนป่าโคกค่าย) บ้านหนองไฮน้อย ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    11 ตุลาคม 2552 จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
    21 พฤศจิกายน 2553 จำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา) บ้านห้วยฆ้อง ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    3 พฤศจิกายน 2556 สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
    ปัจจุบัน หลวงปู่แสง ญาณวโร จำพรรษา ที่ วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ. ป่าติ้ว จ.ยโสธร

    ก่อนหน้านี้หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับฉายาของท่านคือ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงเหตุการณ์ที่เปลี่ยนฉายาจาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 หลวงปู่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า

    “…สมัยที่ท่านหนุ่ม ๆ ท่านได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จ.อุดรธานี เพื่อที่จะไปปักกรดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้น ต้องนั่งเรือข้ามห้วยชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่หลวงปู่ท่านกำลังนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรของหลวงปู่ได้หล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นได้มีสูจิบัตรพระอยู่ด้วย ทำให้สูจิบัตรของหลวงปู่ท่านได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ไปทำสูจิบัตรพระใหม่ซึ่งหลวงปู่ท่านมาเห็นในภายหลังว่า เจ้าหน้าที่พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดไปเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้ใช้ฉายา “จันดะโชโต” มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้หลวงปู่ได้ใช้ฉายา “ญาณวโร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี

    จนกระทั่งปี 2557 หลวงปู่ท่านได้มอบหมายให้พระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการ ในการเปลี่ยนฉายาของหลวงปู่กลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของหลวงปู่ และหลวงปู่ยังได้กล่าวอีกว่า “จันดะโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง” หลวงปู่ท่านเคยจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม เมื่อปี 2532 – 2533 …”
    ก่อนหน้านี้หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับฉายาของท่านคือ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงเหตุการณ์ที่เปลี่ยนฉายาจาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 หลวงปู่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า

    “…สมัยที่ท่านหนุ่ม ๆ ท่านได้เดินทางไปธุดงค์ที่ จ.อุดรธานี เพื่อที่จะไปปักกรดที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ทางที่จะไปนั้น ต้องนั่งเรือข้ามห้วยชื่อว่า “ห้วยหลวง” ขณะที่หลวงปู่ท่านกำลังนั่งเรืออยู่นั้น เรือได้เกิดพลิกคว่ำ ทำให้บาตรของหลวงปู่ได้หล่นน้ำ ซึ่งในบาตรนั้นได้มีสูจิบัตรพระอยู่ด้วย ทำให้สูจิบัตรของหลวงปู่ท่านได้ลอยหายไปกับกระแสน้ำ หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ไปทำสูจิบัตรพระใหม่ซึ่งหลวงปู่ท่านมาเห็นในภายหลังว่า เจ้าหน้าที่พิมพ์ฉายาให้ท่านผิดไปเป็นฉายา “ญาณวโร” โดยแท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้ใช้ฉายา “จันดะโชโต” มาตั้งแต่ต้น จึงทำให้หลวงปู่ได้ใช้ฉายา “ญาณวโร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี

    จนกระทั่งปี 2557 หลวงปู่ท่านได้มอบหมายให้พระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำเนินการ ในการเปลี่ยนฉายาของหลวงปู่กลับมาเหมือนเดิม จาก “ญาณวโร” เป็น “จันดะโชโต” ซึ่งเป็นฉายาที่แท้จริงของหลวงปู่ และหลวงปู่ยังได้กล่าวอีกว่า “จันดะโชโต” มีความหมายว่า “ผู้ที่รุ่งเรือง” หลวงปู่ท่านเคยจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม เมื่อปี 2532 – 2533 …”.

    :- https://www.dailynews.co.th/news/2452397/
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ห้องชั้นบน การต่อสู้ของพระภิกษุหนุ่มกับหญิงงามเมือง

    thamnu onprasert
    Jun 22, 2024

    เรื่องราวการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ของพระภิกษุหนุ่มชาวเมืองสาวัตถี ซึ่งหลงกลหญิงงามเมืองไปอยู่กับเธอเพียงสองต่อสอง ในห้องชั้นบนที่ลับหูลับตา ใครจะเป็นฝ่ายชนะและใครจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้...
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ภัททกาปิลานี (อดีต)หญิงคู่บุญพระมหากัสสปะ

    เผือก สีขาว
    Jan 26, 2023

     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กุกกุฏสัมปาตบรรพต สถานที่นิพพานของ พระมหากัสสปะ กับประวัติอันน่าอัศจรรย์ (ฉบับเต็ม)

    พระครูอินเดีย
    Nov 14, 2022

    หนึ่งในสถานสำคัญของแดนพุทธภูมิ "ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต" สถานที่นิพพานของ พระมหากัสสปะ หรือ Gurpa หรือ mahakasyapa mountain ตั้งอยู่ในเขตเมืองราคฤห์เดิม อยู่ห่างจากพุทธคยา 57 กิโลเมตร กับ ประวัติอันน่าอัศจรรย์ที่น้อยคนจะทราบ ซึ่งจะทำให้รู้จักและเคารพศรัทธา พระมหากัสสปะ ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าที่เคย...
    อีกทั้ง พระมหากัสสปะ ยังเป็นต้นแบบของ พระป่าสายกรรมฐาน ที่สืบมาองค์หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เสาร์ อีกด้วย

     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    สังกัสสะนคร เมืองแห่งปาฏิหาริย์ การเปิดสามโลก จุดกำเนิดตักบาตรเทโวโรหณะ

    พระครูอินเดีย
    Dec 20, 2022

    สถานที่จริง! ของ "อจลเจติยสถาน" สังกัสสะนคร ประเทศอินเดีย
    สถานที่พระพุทธเจ้าลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก
    สถานที่พระพุทธเจ้ากระทำปาฏิหาริย์เปิดสามโลก
    สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจนมีผู้บรรลุธรรมมากถึงสามร้อยล้านท่าน สถานที่กำเนิดประเพณีการตักบาตรเทโวโรหณะ
    ที่แห่งนี้ไปเยือนกี่ครั้งก็ประทับใจทุกครั้ง จึงนำบรรยากาศและเรื่องราวแบบละเอียดมาแบ่งปันกัน เพราะเชื่อว่า พุทธสถานสำคัญแห่งนี้ มีน้อยคนที่จะเคยไปเยือน หรือ เคยได้เห็นของจริง
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พระมหากัจจายนะ ผู้มีวรรณะดังทอง | อรหันต์ผู้สามารถแจงคำสอนพระพุทธองค์ได้แจ่มแจ้งที่สุด

    ธรรมไม่ยาก
    Jun 21, 2023

    เรื่องราวในวันนี้ เป็นเรื่องราวของพระมหากัจจายนะ พระอสีติมหาสาวก ของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศ ในทางอธิบายความย่อให้พิสดาร คือสามารถแจกแจงเนื้อความคำสอนของพระพุทธองค์ได้อย่างยอดเยี่ยม แจ่มแจ้ง เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ขอท่านทั้งหลายโปรดติดตามครับ
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ถ้ำสัตตบรรณคูหา จุดกำเนิดพระไตรปิฎก สถานที่ทำสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ 1 (ฉบับเต็ม)

    พระครูอินเดีย
    Dec 27, 2022

    ถ้ำสัตตบรรณคูหา ณ เขาเวภาระบรรพต เมืองราชคฤห์ สถานที่ทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก จุดกำเนิดพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ๑๗.ป่าผีควายธนู ธุดงค์ป่ากับหลวงปู่

    thamnu onprasert
    Jun 28, 2024

    สามเณรจันทร์กับหลวงปู่บุญพา และพระภิกษุชู เดินธุดงค์ไปในป่าผีควายธนูชายแดนไทย-กัมพูชา.
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    จุดสิ้นสุดชีวิต "พระสารีบุตร" และ จุดกำเนิด มหาวิทยาลัยนาลันทา! อันยิ่งใหญ่

    พระครูอินเดีย
    Jan 18, 2023

    วาระสุดท้ายของ "พระสารึบุตร" อัครสาวกผู้มีปัญญามากของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเรื่องราวที่จะทำให้รู้จักตัวตน ความงดงาม และความน่าเคารพศรัทธา ของพระสารีบุตรมากยิ่งขึ้น กับ จุดกำเนิดของมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงพ่อนุ่ม เกสโร( พระอภิญญา เมืองปากพนัง)

    หลวงตา
    Jun 28, 2024
    หลวงพ่อนุ่ม เกสโร วัดคงคาสวัสดิ์ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    การขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุที่ซ่อนตัวเร้นลับมานานกว่า 2000 ปี ที่โลกตะลึง!

    อาจารย์เอ
    Oct 14, 2021

    อาจารย์เอ พระธรรมทูตต่างประเทศ (ธ) และพระธรรมวิทยากรแดนพุทธภูมิ อินเดียเนปาล
    #อาศรมธรรมะประทีป อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    บันทึกพระธุดงค์

    หลวงตา
    Jul 1,2024

    บันทึกพระธุดงค์ พระอาจารย์สว่าง โอภาโส วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม ต.ทมนางาม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี

    ประวัติ พระอาจารย์สว่าง โอภาโส
    • ชาติภูมิ
    หลวงปู่สว่าง โอภาโส นามเดิมชื่อ นาย สว่าง สิทธิราช เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๔ สิหาคม ๒๔๗๖ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือน ๙ เวลาเช้าตรู่ ณ บ้านขามน้อย ต.โพนเมือง อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อนายพา โยมมารดาชื่อนางนิน ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวมกัน ๗ คน เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบ้านขามน้อย จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๘ อายุได้ ๑๒ ปี จะได้บวชเป็นผ้าขาวถือศีล ๘ ปฏิบัติอยู่กับหลวงลุงจอมที่วัดป่าโนนแดง ๓ ปี ต่อมาโยมบิดาได้ออกบวช เป็นหลวงพ่อพา จนกระทั่งมรณภาพ
    ช่วงที่เป็นเด็กวัดอยู่นั้น ท่านได้ฝึกนั่งสมาธิภาวนาด้วย จนวันหนึ่งนั่งภาวนา พุทโธ พุทโธ ไป จิตก็สงบลงเกิดภาพนิมิต พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนแท่นใต้ต้นไม้ใหญ่ กำลังแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่หมู่ชนที่พากันมาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก เด็กชายสว่างในขณะนั้นได้สัมผัสกับรัศมีคุณธรรมของพระพุทธองค์ สัมภาษณ์กับแสงฉัพพรรณรังสี เกิดศรัทธาปสาทะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปรารถนาจะบวชไปจนตลอดชีวิต
    • บรรพชาเป็นสามเณร
    เป็นผ้าขาวที่วัดป่าโนนแดงปฏิบัติธรรมกับหลวงลุงจอมอยู่ ๒ ปี พอเข้าปีที่ ๓ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต ณ วัดสุปัฏวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพวรคุณ(หลวงปู่อ่ำ ภัทราวุโธ) แห่งวัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังหลวงลุงจอมพิจารณาเห็นว่า สามเณรสว่างมีความขยันในการศึกษา จึงสนับสนุนส่งเสริมให้ได้เรียนทางปริยัติธรรมจึงส่งไปเรียนหนังสือที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี กับท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร(หลวงปู่เส็ง ปุสฺโส) ท่านจึงได้สอนวิธีการนั่งสมาธิภาวนาให้กับสามเณรสว่าง ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่จนถึงอายุ ๑๖ ปี จึงได้ลาสิกขา กลับมาช่วยทางบ้านทำไร่ไถนา จนถึงอายุ ๒๑ ปี ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว จึงมุ่งหน้าเข้าหางานเป็นช่างเย็บผ้าที่กรุงเทพมหานคร แล้วจึงเปลี่ยนอาชีพมาเป็นช่างตัดผม
    • การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    นายสว่าง สิทธิราช หลังจากทำงานเป็นช่างตัดผมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ถึง ๑๓ ปี แต่ก็ไม่ได้แต่งงานหรือมีครอบครัวแต่อย่างใด สาเหตุที่ทำให้ท่านกลับเข้ามาบวชในบวรพุทธศาสนาอีกครั้ง เพราะด้วยอาการป่วยด้วยโรควัณโรคลงปอดอาเจียนเป็นเลือด มีอาการทรมานทุรนทุรายอยู่ ๓-๔ ปี ท่านจึงอธิษฐานว่า "หากมีโอกาสจะได้บวชก็ขอให้โรคนี้หายภายในหนึ่งเดือน" จากนั้นท่านก็ลุกนั่งสมาธิเพราะว่าปวดท้องมากไม่สามารถนอนลงได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป ๑ เดือน อาการต่างๆ ได้หายเป็นปกติ แพทย์ก็วินิจฉัยว่าเป็นปกติแล้ว นี่จึงเป็นสาเหตุทำให้ท่านเดินทางจากกรุงเทพมหานครกลับมาที่ จ.ขอนแก่น เพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาอีกครั้ง
    ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘ เวลา ๑๑.๑๐ น. ณ พระอุโบสถวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระเทพบัณฑิต(หลวงปู่มหาอินทร์ ถิรเสวี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุพจนประกาศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “โอภาโส” เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้อยู่ปฏืบัติธรรมกับหลวงปู่ประเทือง ฐานุตฺตโม ที่วัดตาดฟ้า อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและอยู่ปฏิบัติอุปัฏฐากหลวงปู่ประเทือง จนท่านมรณภาพ
    • ออกปฏิบัติธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์
    พระสว่าง โอภาโส ปฏิบัติธรรมภาวนา ณ ดินแดนภูเขาสวนกวาง จนกระทั่งพรรษา ๓ ออกพรรษาท่านก็ได้ไปกราบขออนุญาตหลวงปู่ประเทือง เพื่อไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ จากนั้นพระสว่าง ท่านได้เดินทางไปวัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู กราบนมัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย ออกวิเวกเพื่อมาฟังธรรมกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี เดินทางไปกราบหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี ต่อจากนั้นท่านก็มีโอกาสไปฟังเทศน์ของหลวงปู่คำดี ปภาโส
    • ผจญวิญญาณภูตสาว
    การออกแบบเพื่อศึกษาธรรมกับครูบาอาจารย์ ของพระสว่างนั้น การไปศึกษากับครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ ก็ล้วนแต่นโยบายเยี่ยมยล ๆ ดีทั้งนั้น ท่านจึงกลับมาเร่งเพียรภาวนาที่วัดป่าทมนางามอันเป็นสถานที่ท่านและหลวงปู่ประเทือง ได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรม ครั้งหนึ่งพระสว่างได้มานั่งภาวนาอยู่ที่ถ้ำ จนจิตสงบลงสู่ภวังค์ ท่านก็ได้ทราบทางจิตสมาธิว่า มีวิญญาณหญิงม่าย รูปร่างอรชร สวยงามมาก มานอนคว่ำกายอยู่ตรงหน้าท่าน เพื่อมาเย้ายวนกวนอารมณ์จิตของท่าน มาพร้อมกับบุตรชาย ๒ คน บุตรนั้นก็นั่งขี่บนหลังแม่ของตน เด็กชายนั้นได้ถามหลวงปู่สว่างว่า “ศึกไปแล้วมาเป็นพ่อผมไหม? ” หลวงปู่ได้รับฟังคำขอจากเด็กน้อยผู้ต้องการพ่อแล้ว หลวงปู่จึงได้กล่าวกับเด็กชายนั้นว่า “โอ้! ไม่สึกหรอก เราไม่ได้มาแสวงหาทางด้านนี้ เรามาภาวนา” หลวงปู่บอกจุดประสงค์ของท่านในการออกบวชให้เด็กชายนั้นทราบ เด็กชายผู้นั้นจึงได้คลานกลับไปหาแม่ของตนดังเดิม จากนั้นวิญญาณสาวม่ายลูกสอง ก็อันตรธานหายไป หลวงปู่สว่างแล้วว่า “โอ้! ถ้าจิตเราไปชอบเขาเราจะต้องเป็นไข้หัวโกร๋น หรือไม่ก็ตาย มันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าเราพอนานแล้วจะให้กิเลส ตัวชอบนี้ขึ้นมาแผดเผา มารักในทางนิมิตเราต้องเสร็จแน่ๆ อาจเป็นไข้ตายก็ได้”
    • เตือนอย่าขาดสวดมนต์ภาวนา
    สมัยแรกๆ ที่หลวงปู่สว่าง มาอยู่ที่วัดป่าทมนางาม พักอยู่ศาลไม้หลังเล็กๆ เวลานั้นอยู่ในช่วงเดือน ๓ เดือน ๔ หลวงปู่พำนักอยู่รูปเดียว ช่วงนั้นมักเกิดไฟไหม้ป่าอยู่เป็นประจำ ปกติหลวงปู่สว่างจะสวดมนต์ไหว้พระอยู่เป็นประจำมิได้ขาด โดยปกติธรรมดาในแต่ละวัน ท่านจะสวดเจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ธรรมจักร เจริญเมตตามิได้ขาดโดยจะสวดมนต์อยู่ในกลดเพราะยุงเยอะ แต่ครั้งนี้แปลกใจพิกล หลวงปู่บอกกับตัวเองว่า “วันนี้ไม่ต้องสวดมนต์ก็ได้ วันนี้ขอเว้นสักหน่อยเถอะ” ความแปลกอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น เมื่อจู่ๆ ปรากฏว่ามุ้งกลดได้ร่วงหล่นมาจากร่มกลด ลงกองอยู่บนพื้นศาลา หลวงปู่พิจารณา ว่ามุ้งกลดร่วงหล่นได้อย่างไร ปกติมุ้งจะไม่หลุดลงมาได้ง่ายๆ ท่านจึงนำมุ้งไปสวมแล้วทดลองดึงแรงๆ ดูก็ไม่หลุด หลวงปู่จึงพิจารณาเตือนตนว่า “เอ้อ เรามันขี้เกียจไม่อยากสวดมนต์บทธรรม เทพคงจะบันดาลให้ทราบ” นับแต่นั้นมา ท่านจึงสวดมนต์มิได้ขาด พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านแนะนำว่า บทที่เทพเทวดาชอบฟังมากที่สุดก็คือบทสวดมนต์มหาสมัยสูตร เทพเทวดาจะมาฟังและอนุโมทนาเป็นประจำ

     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (ต่อ)
    • รู้ล่วงหน้าเรื่องการอาพาธและมรณภาพ
    หลวงปู่สว่าง เมตตาเล่าเรื่องราวในอดีตที่สำคัญมากถ้ามาว่า “ในพรรษาที่ ๗ เราได้เร่งภาวนาเป็นอย่างมาก ในช่วงนั้นเราได้ภูมิธรรมพอสมควรแล้วล่ะ มีเสียงคำว่าบอกว่า จะมาเอาเราไปก่อนอายุพรรษา ๔๑” เราสังเกตดูความรู้ที่ปรากฏแก่เราอยู่เนือง ๆ ความรู้ใดจะจริงไม่จริง เรารู้ของเราอยู่ อาการของโรคจะรุมเร้าบีบรัดธาตุขันธ์จนทำให้อยู่ไม่ได้ และในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ มีญาติโยมมาเยี่ยมหลวงปู่ที่โรงพยาบาลศิริราช หลวงปู่สว่าง ท่านได้ฝากไปบอกญาติพี่น้องทั้งอุบลราชธานีและกรุงเทพมหานครว่า “บอกให้ทุกคนขึ้นมาที่วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม เพราะวันที่ ๒ มกราคม ก็จะตายจากกัน ถ้าใครไม่ขึ้นมา ก็จะไม่ได้เห็นหน้ากันอีกแล้ว”
    การมารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชครั้งสุดท้ายนั้นดูราวกับว่าท่านอยากจะมาโปรดศรัทธาญาติโยม ที่โรงพยาบาลศิริราช ในญาติโยมที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งสุดท้าย สิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอก คือหลวงปู่สว่าง มีวรรณะอันผ่องใส ไม่แสดงสีหน้าแววตา ความวิตกกังวลในเรื่องอาการอาพาธ และเวทนาที่บีบรักทรมานท่านอยู่ในขณะนั้น หลวงปู่ทั้งกล่าวว่า “เวทนาเหล่านี้มีผลแต่ทางร่างกายเราเท่านั้น แต่ทำอะไรต่อจิตใจเราไม่ได้”
    นับเเต่หลวงปู่สว่าง ท่านมาพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อาการอาพาธต่างๆ โดยรวมดูเหมือนจะดีขึ้น แต่อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่ได้พูดให้ฟังว่า เวลาฉันอาหาร หรือ น้ำเข้าไป จะเกิดอาการปวดท้อง เกิดเป็นจนขึ้นแก่ท่าน ท่านจึงกล่าวว่า “ตรงนี้ล่ะ ที่เราชอบใจ ถ้าไม่ฉันอะไรเลยจะสบายกว่า ไม่ทรมานสังขารร่างกาย” และนั้นท่านจึงตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปจะไม่ขอทานอาหารอะไรอีก ท่านกล่าวต่ออีกว่า “เราจะขอปล่อยแล้วนะ” (หมายถึงละวางธาตุขันธ์) และท่านยังย้ำถึงเจตนารมณ์ที่แนวหน้าอีกว่า “เราพิจารณาดีแล้ว พิจารณาหลายรอบแล้ว อย่างไรก็ตามธาตุขันธ์เหล่านี้ มันก็ไม่มีวันจะดีขึ้น มีแต่จะเสื่อมลงไปตามกาลเวลาเท่านั้น” จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับวัดที่อุดรธานี
    หลังจากกลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดป่าศรีอุดมรัตนารามได้ไม่นาน อาการหลวงปู่ท่านก็ทรุดลงเรื่อยๆ ซึ่งดำเนินไปตามอาการของโรค จนถึงเวลา ๐๒.๒๒ น. ของเช้าวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๔๘ ท่านก็ได้ละสังขารจากไปด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ ๗๑ ปี ๘ เดือน ๑๐ วัน พรรษา ๔๐
    ที่มา FB : เพจท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน
    :- https://www.tnews.co.th/variety/397405
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ๓๐๗.กุฎิร้างผีหลอน เวียงลายค่า ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Jul 2,2024

    เรื่องราวลี้ลับของกุฎิร้างในวัดผากุ่ม เขตเวียงลายค่า ซึ่งพระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทยได้เดินธุดงค์ไปพบเห็น
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ๖๗. แดนป่าว้าฮ้าย ตอน ๑ ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Aug 6,2019

    ในดงดอยอันลึกล้ำของรัฐฉานประเทศ มีคนป่าว้าฮ้าย ที่ดุร้ายอาศัยอยู่ ...
    จายปันและจายอ่อน หนุ่มลูกหาบขนสินค้าสองพี่น้องได้พบเห็นคนป่าเหล่านี้ ในป่าลึก ขณะกลับจากเมืองกึ๋ง..
     

แชร์หน้านี้

Loading...