สิ่งที่ทำใจให้แห้ง แห้งแล้ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 15 สิงหาคม 2019.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    คัดมาจาก

    กัณฑ์ที่ ๗๖
    คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ว่าด้วยชราทุกข์ถึงโสกทุกข์




    ตตฺถ กตมา ชรา ยา เตสํ เตสํ สตฺตานํ ตมฺหํ สตฺตนิ
    กาเย ชรา ชีรณตา ขณฑิจฺจํ ปาลิจฺจํ วลิตฺตจตา อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก อยํ วุจฺจติ ชราติ

    (อ่านว่า - ตัตถะ กะตะมา ชะรา ยา เตสัง สัตตานัง ตัมหัง สัตตะนิ กาเย ชะรา ชีระณะตา ขะณะฑิจจัง ปาลิจจัง วะลิตตะจะตา อายุโน สังหานิ อินทริยานัง ปะริปาโก อะยัง วุจจะติ ชะราติ)

    ณ บัดนี้
    อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
    กัณฑ์ที่ ๗๖ ว่าด้วยชราทุกข์ ถึงโสกทุกข์ สืบต่อไป
    เพื่อให้ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน หาประมาณมิได้

     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ดำเนินความตามวาระพระบาลี
    ข้อว่าด้วย ทุกขอริยสัจ นั้น ว่า

    คำว่า ชรานั้น ได้แก่สิ่งใด

    มีคำแก้ไขว่า

    ความแปรไป
    กิริยาแปรไป
    ความมีฟันหัก
    ความมีผมหงอก
    ความมีหนังหดหู่
    ความเสื่อมไปแห่งอายุ
    ความแก่ไปแห่งอินทรีย์ทั้งหลายอันใด อันนั้นแหล่ะ เรียกว่า ชรา ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2019
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ในอรรถกถาว่า ชรานั้น มีอยู่ ๒ อย่าง
    คือ ลักษณะแห่งธรรมอันปัจจัยตกแต่ง ๑

    ความมีอยู่แห่งขันธ์เก่าซึ่งนับเข้าในภพอันเดียวในความสืบต่อโดยสมมติ มีฟันหักเป็นต้น ๑

    ชราคำหลังนี้ ประสงค์เอาในที่นี้

    ชรานั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์
    เพราะเป็นทุกข์แห่งสังขาร ๑
    เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๑

    ทุกข์ กาย ใจ อันใด ซึ่งมีปัจจัยไม่ใช่อย่างเดียว
    เป็นต้นว่า
    ความหย่อนไปแห่งอวัยวะน้อยใหญ่
    ความพิการแห่งอินทรีย์
    ความหมดไปแห่งความหนุ่มสาว
    ความพลั้งเผลอสติ
    ความแปรปรวนไปเป็นอย่างอื่นเป็นต้น เกิดขึ้น
    ชราย่อมเป็นวัตถุแห่งทุกข์นั้น

    เพราะฉะนั้น

    ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

    บุคคลได้รับทุกข์ทางกาย ทางใจ อันใด
    เพราะความหย่อนไปแห่งอวัยวะทั้งหลายก็ดี
    เพราะความพิการแห่งอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี
    เพราะความหมดไปแห่งความหนุ่มสาวก็ดี
    เพราะความเสียกำลังก็ดี
    เพราะความปราศจากสติเป็นต้นก็ดี
    เพราะไม่เป็นที่น่าพอใจแห่งบุตรภรรยาขอตนก็ดี

    ทุกข์อันนั้นทั้งสิ้น ย่อมมีชราเป็นเหตุ

    เพราะฉะนั้น ชราชื่อว่าทุกข์ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2020
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ในอรรถกถาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร

    ว่า
    คำว่า ชรา นั้น เป็นคำชี้ถึงสภาพ
    คำว่า ความแปรไปนั้น เป็นคำชี้ถึงอาการ
    คำว่า ความมีฟันหักเป็นต้น เป็นคำชี้ถึงความพิการ ฯ

    ก็ในเวลายังเล็กอยู่นั้น ฟันทั้งหลายย่อมขาวดี
    ต่อเมื่อเวลาล่วงไปฟันทั้งหลายนั้นย่อมเปลี่ยนสีไป
    ฟันที่ถึงซึ่งความตกไป และตั้งอยู่ เรียกว่าฟันหัก ฯ

    ผมและขนทั้งหลายที่แปรไปโดยลำดับ ชื่อว่าผมหงอก
    เกลียวหนังที่มีมังสโลหิต เหี่ยวแห้งด้วยกำลังลมชรา ย่อมหดหู่
    เป็นอันว่า ท่านได้แสดงชราปรากฏด้วยการแสดงความพิการในฟัน
    และผม ขน ตลอดถึงหนัง ด้วยถ้อยคำตามที่ว่าแล้วนี้ ฯ

    ทางที่ลมพัดไป ย่อมปรากฏด้วยมีต้นไม้เป็นต้นหักไป
    ทางที่มีไฟไหม้ยอมปรากฏด้วยสิ่งต่าง ๆ

    มีหญ้าและต้นไม้เป็นต้นถูกไฟไหม้ฉันใด
    ทางไปแห่งชราก็ปรากฏด้วยฟันหักเป็นต้นฉันนั้น

    ถึงแม้ว่าลืมตาดูก็ไม่เห็น แต่เมื่อบุคคลถึงชรา อายุก็เสื่อมไป

    เพราะฉะนั้น

    ท่านจึงกล่าวไว้โดยหมายผลแห่งชราว่า ความเสื่อมไปแห่งอายุ เรียกว่าชรา ฯ

    อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น
    เป็นของสามารถจะเห็นแม้ของละเอียดได้โดยง่าย ในเวลายังเป็นเด็ก
    หรือหนุ่มสาว
    เพราะอินทรีย์เหล่านั้นยังผ่องใสดี

    แต่เมื่อถึงชราแล้ว

    อินทรีย์เหล่านั้นก็ขุ่นมัวไม่ผ่องใส ถึงแม้ว่าของหยาบ ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็น
    เพราะฉะนั้น
    ท่านจึงกล่าวโดยมุ่งผลแห่งชรา

    ว่า

    ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลายเรียกว่าชรา ดังนี้
    ได้ใจความตามที่แสดงมานี้ว่า ชรานั้น มีอยู่ ๒ อย่าง
    คือ ชราปารกฏ ๑
    ชราไม่ปรากฏ ๑

    ชราปารกฏนั้น ได้แก่ ความมีฟันหัก ผมหงอก ผิวหนังหดหู่เป็นต้น

    ชราไม่ปรากฏนั้น ได้แก่ ความแปรไปแห่งสังขารตามธรรมดา
    และท่านกล่าวว่า ชรานั้นไม่ได้อยู่ที่ฟันหักเป็นต้น
    ไม่ใช่เป็นของเห็นได้ด้วยตา คำนี้ท่านหมายถึงชราปกปิด
    คือ หมายถึงวามแก่เรื่อย ๆ ไปแห่งรูปกาย สังขาร
    เช่น เด็กอ่อนกลายเป็นเด็กแก่ เป็นต้น
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    บาลี

    ต่อนี้ไป ว่าด้วยมรณะ
    ตามวาระพระบาลีอันมีในปฏิสัมภิทามรรคว่า

    มรณะนั้น ได้แก่
    ความจุติ
    กิริยาจุติ
    ความแตก
    ความหายไป
    มัจจุมรณะ
    กลากิริยา
    ความแตกไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย
    ความทิ้งซาก ความขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ ดังนี้

    ในตอนนี้

    ขอให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ท่านไม่ได้กล่าวถึงพยาธิเลย ท่านข้ามพยาธิเสีย
    ที่กล่าวถึงพยาธินั้น มีอยู่ในคัมภีร์อื่น
    พระสูตรอื่น เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์นี้จึงไม่ได้มีการแสดงไว้
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อรรถกถา

    ในอรรถกถาว่า ควรทราบว่า
    ถึงแม้ว่า พยาธิทุกข์ มีอยู่ในลำดับแห่งชราทุกข์ก็จริง

    ควรทราบว่าท่านไม่ได้กล่าวไว้
    เพราะเป็นอันกล่าวถึงพยาธิทุกข์ ด้วยคำว่าทุกข์กายแล้ว ฯ

    ในคำว่า แม้มรณะก็เป็นทุกข์นั้นมีคำอธิบายว่า
    มรณะมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ลักษณะแห่งธรรมอันเป็นปัจจัยตกแต่ง ๑
    ความขาดไปแห่งความเนื่องกันแห่งชีวิตอินทรีย์ซึ่งนับเข้าในภพอันเดียวกัน ๑

    ข้อหลังนี้ ประสงค์เอาในที่นี้

    มรณะนั้น มีขึ้นเพราะชาติเป็นปัจจัย
    ถึงแม้ว่า
    อุปักกมมรณะก็ดี
    สรสมรณะก็ดี
    อายุรขยมรณะก็ดี
    ปุญญักขยมรณะก็ดี ก็รวมเรียกว่ามรณะ ฯ

    ขณิกมรณะ คือ
    ความตายชั่วขณะก็ดี

    สมมุติมรณะ คือ
    ความตายตามสมมติก็ดี

    สมุจเฉทมรณะ คือ
    ความตายแห่งรูปธรรม อรูปธรรม

    ในเวลาชีวิตอินทรีย์ยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่าขณิกมรณะ
    คือ ความตายชั่วขณะ ฯ


    คำว่า นายดิสตายก็ดี นายบุศตายก็ดี คำว่า ข้าวกล้าตายก็ดี ต้นไม้ตายก็ดี
    อันนี้ เรียกว่าสมมุติมรณะ คือ ความตายตามสมมติ
    เพราะเหตุ
    ไรจึงเรียกว่าความตายตามสมมุติ

    เพราะเหตุว่า เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว คำว่า นายดิสหรือนายบุศไม่มี
    เมื่อโดยปรมัตถ์แล้ว คำว่าข้าวกล้าตาย ต้นไม่ตายนั้นไม่ถูก
    เพราะข้าวกล้าและต้นไม้นั้นไม่มีชีวิตอินทรีย์ ฯ


    กาลกิริยาของพระขีณาสพซึ่งไม่มีปฏิสนธิอีก
    ชื่อว่า
    สมุจเฉทมรณะ แปลว่า ความตายอย่างเด็ดขาด ฯ

    สมมุติมรณะภายนอก ยกเว้นสมมุติมรณะที่ว่ามาแล้วนี้
    กับยกเว้นสมุจเฉทมรณะเสียจัดเข้าในข้อว่า ความขาดไปแห่งความเนื่องกันแห่งอินทรีย์
    ตามที่กล่าวมาแล้ว ฯ มรณะนั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์

    เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ฯ

    เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวได้ว่า ทุกข์ในใจอันใด
    ซึ่งมีแก่ผู้ทำบาป ที่แลเห็นเครื่องหมายแห่งบาปก็ดี มีอยู่แก่ผู้ทำบุญ
    ซึ่งจะพลัดพลากจากของรักในเวลาใกล้จะตายก็ดี

    ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการจองจำ ถูกตัดอวัยวะน้อยใหญ่เป็นต้นก็ดี
    ทุกข์ที่เสียดแทงอยู่ในกายก็ดี
    ทุกข์เหล่านั้น ก็มีมรณะเป็นที่ตั้ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มรณะเป็นทุกข์ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2020
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ในอรรถกถาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

    คำว่า จุตินั้น เป็นคำชี้ถึงสภาพ
    คำว่า ความจุตินั้น เป็นคำชี้ถึงอาการ
    ขันธ์ทั้งหลายของผู้ถึงมรณะย่อยแตกไป
    ย่อยอันตรธานไป ย่อมถึงซึ่งความไม่เห็น

    เพราะฉะนั้น ความแตกไป ความอันตรธานไป จึงเรียกว่ามรณะ

    คำว่า มัจจุมรณะนั้น ไม่ใช่ขณิกมรณะ
    คือ ไม่ใช่ความตายชั่วขณะ

    คำว่า กาลกริยานั้น หมายถึงการเวลาตาย คำทั้งปวงนี้ เป็นคำสมมติทั้งนั้น

    คำว่า ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ามรณะนั้น เป็นคำปรมัตถ์
    คือ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งมีปะเภท ๑ ประเภท ๔ และประเภท ๕

    ในภพทั้งหลาย มีภพซึ่งมีขันธ์ ๑ เป็นต้น

    ย่อมไม่มีแก่บุคคล ย่อมแก่ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น
    แต่เมื่อความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายมีอยู่
    ก็มีคำเรียกกันว่าบุคคลตาย

    คำว่า การทิ้งซากนั้น ได้แก่ การทิ้งอัตภาพ ฯ
    ด้วยว่า อัตภาพของผู้ซึ่งถึงความตาย
    ย่อมตกอยู่เหมือนกับท่อนไม่ซึ่งไม่มีปะโยชน์
    เพราะฉะนั้น ความทิ้งซากจึงเรียกว่ามรณะ
    ก็คือ
    ความขาดแห่งอินทรีย์ ชื่อว่ามรณะนั้น
    ว่าโดยปรมัตถ์โดยอาการทั้งปวง
    แต่เมื่อว่าโดยสมมติก็ต้องว่าคนนั้นตาย คนนี้ตาย

    โลกทั้งหลายถือเอาความขาดแห่งชีวิตอินทรีย์
    มากล่าวกันว่า นายดิสตาย นายบุศตาย ดังนี้
     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    บาลี

    ต่อไปนี้ ว่าด้วยโสกทุข์

    ตามวาระพระบาลีในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนั้น ว่า
    โสกทุกข์นั้น ได้แก่
    ความแห้งใจ
    การแห้งใจ
    กิริยาแห้งใจ
    ความแห่งในภายใน
    ความแห้งไปรอบในภายใน
    ความเผารอบแห่งจิตความโทมนัส

    ลูกศรคือความโกรธ ของบุคคลผู้ได้รับทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    เช่น ญาติวิบัติ หรือเกิดโรค หรือเสียศีล เสียทิฏฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
     
  9. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อรรถกถา

    ในอรรถกถาว่า ความโศกนั้น ได้แก่ ความเร่าร้อน
    ซึ่งมีการตรม เตรียมในภายในแห่งผู้ได้รับทุกข์ต่าง ๆ
    มีทุกข์โดยญาติวิบัติเป็นต้น เป็นลักษณะ ความโศกนั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์
    เพราะตัวเองก็เป็นทุกข์ และเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์อื่น ๆ ด้วย

    เพราะฉะนั้น

    ท่านจึงกล่าวว่า ความโศกย่อมแทงหัวใจของสัตว์ทั้งหลาย
    เหมือนกับลูกศรที่อาบด้วยยาพิษ

    ความโศก ย่อมทำให้ร้อนใจ เหมือนพญาอัคคิทัตนาคราช พ่นพิษฉะนั้น

    ความโศกย่อมนำมาซึ่งพยาธิ และชรา มรณะ
    เพราะฉะนั้น ความโศก จึงเรียกว่าทุกข์ ดังนี้

    ในอรรถกถาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นว่า

    ความโศกนั้น ได้แก่
    ความแห้งใจ ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้รับความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    มีญาติวิบัติ และถูกฆ่าตี จองจำ เป็นต้น

    สิ่งที่ทำใจให้แห้ง เรียกว่าความโศก ดังนี้

    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑนี้ไว้เพียงเท่านี้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
     
  10. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    (คำแผ่เมตตา)

    จักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด
    สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในจักรวาล มีอยู่ประมาณเท่าใด
    จงเป็นผู้ไม่มีเวร
    ไม่ถูกปองร้าย
    ไม่มีความคับแค้น
    จงมีแต่ความสุขเถิด
     
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    20190815_111644.jpg

    #ท่าสมาธิ โงบะ ก้มดม
    ได้ที่ มีคิ้วแตก สดชื่น
    มากมาย
     
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เมื่อวันนั้นมาถึง

    1365947931-184-o.jpg
     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
     
  14. ปวีรัศม์ชา

    ปวีรัศม์ชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    703
    ค่าพลัง:
    +642
    เด่วต้องเห็นการ้อนมาโพสเพลงต่อ วันๆ ไม่มีไรหรอก
     
  15. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  16. เจ้าทองไปดี

    เจ้าทองไปดี แมว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +223
     
  17. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    แผ่นดินแห้งแล้งเพราะขาดน้ำฝน
    ใจคนแห้งแล้งเพราะขาดน้ำใจ
    แม้แต่สายน้ำเอื่อยเรื่อยหินผาจนพังทลาย
    ยังต้องสยบแพ้พ่ายต่อกาลเวลา
    เหมือนร่างกายที่ประชุมกันขึ้นมา
    ในไม่ช้าก็จะแตกสลายกลายเป็นผงธุลี
     
  18. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    กุหลาบที่ไร้หนาม,มะขามที่ไร้ข้อ
    แมลงปอที่ไร้ปีก,ปลาที่ไร้ครีบ
    อดีตที่ไร้ใจ,ไร้ซึ่งใจก็ไร้นาคตคับ
    สิ้นชาติไร้เชื้อเกิดคือผู้ประเสริฐของแผ่นดิน
     
  19. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
  20. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    น้ำท่วมเพราะใจมันแล้ง
    น้ำแห้งเพราะใจมันร้อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...