วิหารธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 6 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต
    เพื่อความอยู่สุขในปัจจุบัน หรือยังไปถึงความมีสติสัมปชัญญะด้วย

    ในสัลเลขสูตร ฌานสมาธิเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ แม้นไม่ได้เป็นที่ขัดเกลากิเลส แต่ก็เป็นเครื่องอยู่เพื่อความสุขในปัจจุบัน

    ..

    อานาปานสติ
    วิหารธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย.
    (รวมถึงพระเสขะ และไปพวกพรหมด้วย )

    อะไรคือธรรมเป็นเครื่องอยู่ (วิหารธรรม) ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกผู้ถือลัทธิอื่นจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า....พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนเป็นส่วนมาก เธอทั้งหลาย...พึงตอบ...อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ อันประกอบด้วยอานาปานสติมาก....


    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ...พึงกล่าวถึงสมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยบ้าง...ของพรหมบ้าง....ของพระตถาคตบ้าง...ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติอันภิกษุนั้นเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ...ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ...สมาธิอันสมัปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว...ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อความมีสติสัมปชัญญะ....”

    อิจฉานังคลสูตร มหา. สํ. (๑๓๖๔-๑๓๖๗ )
    ตบ. ๑๙ : ๔๑๒-๔๑๓ ตท. ๑๙ : ๓๗๗-๓๗๘
    ตอ. K.S. ๕ : ๒๘๙-๒๙๐


    .
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วิหารธรรมของพระอริยสาวก

    ๑๐. มหานามสูตร
    (อนุสสติของพระอริยะสาวก)

    [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
    ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ
    ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวก
    ผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วน
    มาก พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล
    ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวก
    ในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ
    ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระ-
    *ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วย
    วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี
    ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้
    จำแนกธรรม ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ
    สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไป
    ตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม
    ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
    เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ
    ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
    จิตย่อมตั้งมั่น
    ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบ
    เรียบร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ใน
    เมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญ
    พุทธานุสสติ ฯ


    ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ
    ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
    ด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรมหา-
    *นามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริย-
    *สาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ
    พระธรรม ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญ
    ธรรมานุสสติ ฯ


    ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ
    ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
    เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือ
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของ
    ทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า
    สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
    ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์
    ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญสังฆานุสสติ ฯ

    ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ
    ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหา
    ทิฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อม
    ระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
    ... ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภศีล ... ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ...
    เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญสีลานุสสติ ฯ


    ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคของตน
    เนืองๆ
    ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทิน
    คือความตระหนี่กลุ้มรุม เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน
    เป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบของบริจาค) ยินดีในการเสีย
    สละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวก
    ย่อมระลึกถึงการบริจาคเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
    กลุ้มรุม ... ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ความทราบซึ้ง
    อรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญจาคานุสสติ ฯ


    ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมเจริญเทวตานุสสติ
    (ความระลึกถึงเทวดาเนืองๆ)
    ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาว-
    *ดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่
    เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่า
    เหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
    อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย
    ศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น
    สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจาก
    โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น
    ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น
    แม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล
    สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเนืองๆ สมัยนั้น จิต
    ของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูก
    โมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง
    เพราะปรารภเทวดา ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม ย่อม
    ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
    เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
    จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบ-
    *ร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่
    สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญ
    เทวตานุสสติ


    ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว
    ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก ฯ


    จบสูตรที่ ๑๐


    จบอาหุเนยยวรรคที่ ๑

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
    อ่านโดยย่อ
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=11412.0;wap2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ดูสีแดง
     
  4. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    เมื่อกล่าวครบท่านแยกว่าพระเสขะ
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <CENTER style="FONT-SIZE: medium; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-WEIGHT: normal; COLOR: rgb(0,0,255)">โลมสกังภิยสูตร </CENTER> <CENTER style="FONT-SIZE: medium; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-WEIGHT: normal; COLOR: rgb(0,0,255)">วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์ </CENTER>
    [๑๓๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปหาท่านพระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ถวายนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้น เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรมของพระ- *ตถาคต หรือว่าวิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง ท่านพระโลมสกัง ภิยะถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้นแล เป็นวิหารธรรม ของพระเสขะ เป็นวิหารธรรมของพระตถาคต หามิได้ วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของ พระตถาคตอย่างหนึ่ง.
    [๑๓๗๐] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อม ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถิ่นมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้.
    [๑๓๗๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ มี กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอันเกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือกามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉา- *นิวรณ์ ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ ... หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้ มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.
    [๑๓๗๒] ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่วิหารธรรมของพระเสขะ อย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.
    [๑๓๗๓] ดูกรมหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่อ อิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว.
    [๑๓๗๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว ตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาอยู่ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก.
    [๑๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออก ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน หายใจเข้า.

    [๑๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ พระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ภิกษุ เหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นอาสวะ?
    [๑๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์ เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ เพื่อสติสัมปชัญญะ.

    [๑๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้น ว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.

    [๑๓๗๙] ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่วิหารธรรมของพระ เสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.

    <CENTER style="FONT-SIZE: medium; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-WEIGHT: normal; COLOR: rgb(0,0,255)">จบ สูตรที่ ๒</CENTER>http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=7952&Z=8009

    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วิหารธรรม ของผู้ปฏิบัติจนถึงพระอริยะขั้นต่างๆ
    (แปะไว้ก่อน เผื่อใครสนใจศึกษา)

    วิหารธรรม คือ ธรรมเป็นคุณเครื่องอยู่ของผู้บรรลุธรรม ขั้นต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามระดับของผู้ภาวนา

    ควรนับตั้งแต่
    1.วิหารธรรมจากการเจริญสติในเบื้องต้น เรียกว่า สติญาณ
    2.วิหารธรรมจากการเจริญฌาน เรียกว่า สมาปัตติญาณ
    3.วิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน เป็นต้นไป เรียกว่า ผลสมาปัตติญาณ
    4.วิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบุคคตั้งแต่พระอนาคามี ขึ้นไป อันประกอบด้วยสมาปัตติญาณเรียกว่า นิโรธญาณ
    5.วิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอิรยะบุคคตั้งแต่พระอรหันต์ ขึ้นไป อันประกอบด้วย สมาปัตติญาณ เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ
    6.วิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบุคคลแบบวิปัสสก ในการประกอบด้วยสติญาณ เรียกว่า สุญญตมหาวิหารสมาปัตติญาณ
    7.วิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบุคคลแบบเจโตวิมุิตติ อันปราศจากนิมิต เรียกว่า เจโตสมาธิอนิมิตสมาปัตติญาณ

    ยังมีอธิบาย ใน ญาณ 72 ในพระไตรปิฏก ปฏิสัมภิทามรรค อีกนะจ๊ะ แต่เอาแค่นี้พอแล้ว สำหรับพวกเรา
    เพราะว่า ยังมี วิหารธรรม อันเป็น ญาณเฉพาะองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกนะจ๊ะ

    เจริญธรรม

    วิหารธรรม คือ อะไรคะ เหมาะแก่ใครบ้างคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2015
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <TABLE class=blog_center_data style="WIDTH: 369px; WHITE-SPACE: normal; WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; COLOR: rgb(0,0,0); TEXT-ALIGN: left; FONT: 14px/18px Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(222,220,220); TEXT-INDENT: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px"> <TBODY> <TR> <TD style="WORD-WRAP: break-word; FONT-SIZE: 14px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; WIDTH: 363px; COLOR: rgb(0,0,0); LINE-HEIGHT: 18px"> [​IMG]

    ภิกษุทั้งหลาย ! แม้เราเองก็เหมือนกัน
    ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้
    ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม
    คือ อานาปานสติสมาธิ นี้เป็นส่วนมาก.

    เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก
    กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก
    และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ
    เพราะไม่มีอุปาทาน.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ
    หวังว่ากายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบากและ
    จิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทานเถิด
    ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ซึ่งอานาปานสติสมาธินี้
    ให้เป็นอย่างดี.
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙,๔๐๑/๑๓๒๔,๑๓๒๙.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ����ø��� ��������ʴ�����������ǹ�ҡ������ѧ�������������
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แล้วไง...เหรอ..
    จะบอกอันใด???

    ..

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ...พึงกล่าวถึงสมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยบ้าง...ของพรหมบ้าง....ของพระตถาคตบ้าง...

    ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติอันภิกษุนั้นเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ...

    ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ...สมาธิอันสมัปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว...ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อความมีสติสัมปชัญญะ....”
     
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    มีวิหารธรรมกับอยู่อย่างผาสุขพิจารณาดีๆ. ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว
    ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก ฯ. อริยสาวกผู้ได้ทราบชัดพระศาสนาแล้วคือผู้บรรลุอรหัตถผลแล้วฮับ
     
  11. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่าจะแยกทำไมอ่ะถ้าความหมายว่าอยู่อย่างผาสุขได้ทั้งหมด. แสดงว่าผู้เสร็จกิจแล้วไม่ต้องทำไปเพื่อการบรรลุธรรม.
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แล้วไง..
    อ้าว ก็แยกตามเขาอ่ะดิ ใครจะไปแก้ล่ะ พระวจนะไม่ได้เขียนเอง
    ผู้เสร็จกิจ จะบรรลุอีกทำไม?

    อานาปานสติ เป็นวิหารธรรมได้ตั้งแต่เครื่องอยู่สุขในปัจจุบัน
    พระเสขะ เป็นเครื่องอยู่สุข ทั้งยังเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
    พระอเสขะ เป็นเครื่องอยู่สุข ทั้งยังเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  13. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    วิหารธรรมนะเป็นเครื่องอยู่ได้ทั้งนั้นถ้ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ แต่ถ้าอยู่เป็นไปเพื่อความผาสุขนั้นพระองค์กล่าวไว้ชัดนะว่าคืออรหันขีณาสพ. ส่วนการมีความสุขในปัจจุบันนั้นผู้ที่บรรลุฌานยังไม่ได้เป็นพระเสขะก็ทำได้
     
  14. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดในพระศาสนา ท่านเข้าใจคำนี้อย่างไร. อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล. ทราชัดในพระศาสนา?
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วิหารธรรม อานาปานสติ ใช่ไหม??

    อยู่เพื่อความ ผาสุข คือพระอรหันต์

    ส่วนการมีความสุขในปัจจุบัน ผู้บรรลุฌานไม่ได้เป็นพระเสขะ ก็ทำได้

    อ้าว แล้วไง.. จะบอกอะไร..??
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ขอโทษนะ อย่าไปเรื่องอื่นเลย..

    เอาวิหารธรรมนี่แหละ.. เอาให้มันรู้เรื่องเถอะ
     
  17. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ก็คำนี้แหล่ะที่ไม่เข้าใจกัน พระองค์บอกแก่พระมหานามะว่า อริยสาวาผู้ทราบชัดแล้วในพระศาสนา



    506 วิหารธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์

    ปัญหา อะไรคือธรรมเป็นเครื่องอยู่ (วิหารธรรม) ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพพาชกผู้ถือลัทธิอื่นจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า....พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนเป็นส่วนมาก เธอทั้งหลาย...พึงตอบ...อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ อันประกอบด้วยอานาปานสติมาก....
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ...พึงกล่าวถึงสมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยบ้าง...ของพรหมบ้าง....ของพระตถาคตบ้าง.สวะ...ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ...สมาธิอันสมัปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว...ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อความมีสติสัมปชัญญะ....”

    อิจฉานังคลสูตร มหา. สํ. (๑๓๖๔-๑๓๖๗ )
    ตบ. ๑๙ : ๔๑๒-๔๑๓ ตท. ๑๙ : ๓๗๗-๓๗๘
    ตอ. K.S. ๕ : ๒๘๙-๒๙๐

    ..ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติอันภิกษุนั้นเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสาวะ. จะเห็นได้ว่าท่านบอกว่า
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็ในพระสูตรก็บอกชัดนี่ เขาก็แยกมาให้

    ว่าอานาปานสตินั้น
    ว่าระดับพระอเสขะ เพื่อความอยู่สุข ยังเพื่อสติสัมปชัญญะ
    ส่วนระดับพระเสขะ เพื่อความอยู่สุข ยังเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ..

    ต่างระดับ ต่างการใช้งาน... อะนะ

    ..ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติอันภิกษุนั้นเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสาวะ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  19. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    จะบอกว่าอยู่มีความผาสุขในวิหารธรรมนั้นคือ พระพุทธองค์และพระอรหันขีณาสพเท่านั้น ตามคำนี้เลยครับ
     
  20. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อยู่มีความสุขแต่ไม่ใช่ผาสุขในวิหารธรรม. จะผาสุขจากธรรมเพราะได้ฌานก็ทำได้ตั้งแต่บุคคลธรรมดา
     

แชร์หน้านี้

Loading...