///วัตถุมงคล/เครื่องราง...เริ่มหน้า 72..//

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 20 มกราคม 2018.

  1. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,017
    ค่าพลัง:
    +6,924
    ปิด144ครับ
     
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  3. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่150 พระเนื้อดินเคลือบรัก ที่ระลึกในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วัดป่าพระสามเงา อ.สามเงา จ.ตาก ปี 44
    ปิดครับ
    IMG_20180219_202633.jpg
    IMG_20180219_202622.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  4. melonn

    melonn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,242
    ค่าพลัง:
    +2,025
    จอง 141 ครับ ขอบพระคุณครับ
     
  5. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่151 พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท รุ่นไพรีพินาศ
    กล่าวถึงหลวงพ่อเฒ่าวัดคังคาว หรือวัดค้างคาว ที่ตั้งอยู่ในเขต อ.สรรคบุรี ริมแม่น้ำน้อย บารมีความยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ หาได้กล่าวเกินจริงไม่จากความศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อท่านจากชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียง บนบานสารกล่าวสำเร็จดังหวัง วัตถุมงคลไม่ว่ารุ่นไหน เก่า ใหม่ มีรูปเคารพตัวท่านก็ประสปการณ์มากมายอย่างต่อเนื่องจนวันนี้ ขอได้ อยู่คง แคล้วคลาด มหาอุตม์ โชคลาภ เมตตา มหานิยม สารพัด
    ประวัติหลวงพ่อเฒ่า ท่านเก่ามาก เก่าจนเกินกว่าจะสืบค้น รูปถ่ายท่านก็ถ่ายมาจากรูปปั้นที่ปั้นจากคำบอกเล่าของคนที่อาวุโสที่สุดในย่านวัดที่ก็ยังไม่เคยเห็นหน้าท่านในยุคหลวงพ่อสอนเป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี ๒๔๗ กว่าๆ ท่านน่าจะมีชีวิตอยู่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินท์ หรือปลายกรุงศรีอยุทธยา เคยมีคนกล่าวถึงหลวงปู่ศุข วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่าได้มาเรียนและต่อวิชาจากหลวงพ่อเฒ่าและมีการคาดคะเนกันต่างๆนาๆซึ่งขัดแย้งในบางกรณี จนผมมีโอกาสได้สืบค้นประวัติในสายหลวงปู่ศุขจากตำราที่บันทึกโดย พระอาจารย์ บุญยัง ศิษย์เอกหลวงปู่ศุขคู่กับสมุห์กลับ กล่าวไว้ว่า หลวงปู่ศุขได้ต่อวิชาสร้างตะกรุดใต้น้ำ และวิชาบางอย่าง จากหลวงพ่อเฒ่า ซึ่งคำว่าเฒ่าในภาษาคนชัยนาทและละแวกใกล้เคียงจะหมายถึงพระแก่ พระที่อาวุโสมากๆ และในความหมายที่ อ.ยัง บันทึกนั้นหมายถึงหลวงพ่อเฒ่า วัดจำรัง ท่านนี้คือหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่าวัดคงสวัสดิ์ ซึ่งหาได้เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเฒ่า(ปั้น)ไม่ และชื่อปั้นนั้นหมายถึงนามท่าน หรือ รูปปั้นอาจเป็นได้ มีคนเคยตั้งข้อสังเกตุว่าหลังจากที่ค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านหายไปไหน อาจมรณะภาพในสงคราม หรือ ไปจำวัดที่ไหนหลังสงครามสงบ เป็นไปได้หรือไม่ถ้าท่านจะเป็นหลวงพ่อเฒ่า เป็นข้อสันณิษฐานเท่านั้น ผมขอรับผิดชอบข้อมูลแต่ผู้เดียวครับ
    ในสายวิชาหลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาวถือเป็นตักศิลาในลุ่มแม่น้ำน้อย มีตำราคัมภีร์ที่พระเกจิในย่านนี้เรียนต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย เป็นเอก หนึ่งเดียว เอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำกับสายอื่นคือ หัวใจพระกรณีย์ อะปะจะคะ แค่อักขระ ๔ ตัว สำเร็จสามารถกระทำสิ่งใดได้ต่างๆนานา ทั้งผ้ายันต์ ปลุกเสก ลงวัตถุมงคล สารพัด
    วัตถุมงคลในรูปหลวงพ่อเฒ่าสร้างครั้งแรกสมัยหลวงพ่อสอน ต่อมาก็สมัยหลวงพ่อสวัสดิ์ หลวงตาวิเชียร จนสมภารรูปปัจจุบัน การออกวั
    ตถุมงคลของวักคังคาวแทบทุกครั้งจะต้องนิมนต์เกจิที่สืบสายวิชามาร่วมนั่งปรกด้วยทั้งนั้น เช่น หลวงพ่อกวย หลวงพ่อเจ้ย และหลายท่านในลุ่มน้ำน้อย มีทั้งเหรียญ พระสมเด็จ พระดิน ชิน ผง ผ้ายันต์ มีดหมอ และวัตถุมงคลที่เก่าแก่ที่สุดก็คือพระโคนสมอขนาดเล็กมีทั้งชินและดินเผา บรรจุอยู่ในกรุของวัดคังคาว สันณิษฐานว่าหลวงพ่อเฒ่าท่านสร้างและบรรจุกรุไว้ถือเอาวัตถุมงคลชุดนี้เป็นพระที่ทันหลวงพ่อเฒ่าครับ

    ส่วนมากประวัติที่เราท่านทราบกันจะสืบค้นจากหลวงตาเชียร ท่านนี้จัดเป็นพระอาคมกล้าของวัดคังคาวเลยศรัทธาหลวงพ่อเฒ่ากันมาตั้งแต่สมัยปู่ของท่านพระเครื่องที่เป็นรูปเคารพหลวงพ่อเฒ่าส่วนมากหลวงตาเชียรจะเป็นผู้สร้าง และเสก ส่วนหลวงพ่อสวัสดิ์ท่านเป็นเจ้าอาวาสมีบทบาทเรื่องพิธีกรรมและประสานงานครับ
    สร้างแต่ละครั้งถือเป็นการชุมนุมเกจิในเขตลุ่มน้ำน้อยที่เก่งกล้าสามารถทุกครั้งครับ

    คุณลืมจังนิมนต์ครับ
    IMG_20180219_202500.jpg
    IMG_20180219_202444.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่152 พระเนื้อผง หลวงพ่อขาว หลังพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ วัดเสาธงกลาง จ.สมุทรปราการ (พิมพ์ใหญ่ ,มีกริ่ง) รุ่นแรก พระเครื่องยอดนิยมของปากน้ำสมุทรปราการ
    พระเนื้อผงพุทธคุณ หลวงพ่อขาว วัดเสาธงกลาง หลังพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ (หลวงพ่อสงวน ธัมมญาโน) รุ่นแรก มีประกวดในรายการพระเครื่องท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อผงสีขาวอมเหลือง จัดว่าเป็นพระที่ได้รับความนิยม สภาพสวยมาก คนพื้นที่นับถือกันมาก ประสบการณ์มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ นักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่แขวนเกือบทุกคน พระเนื้อผง หลวงพ่อขาว วัดเสาธงกลาง จ.สมุทรปราการ (พิมพ์ใหญ่) หลังพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ สภาพสวย รุ่นแรก ท้องถิ่นนิยมมาก หลักพันขึ้น พระคุณภาพอีกสำนักหนึ่ง คนรู้จักน้อยมาก มวลสารที่กดพิมพ์มีทั้ง ผงเก่าหลวงปู่เผือก หลวงพ่อบุตร ฯลฯ ปลุกเสกโดยพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ พระปฎิบัติดีปฎิบัติชอบอีกท่านหนึ่ง น่าบูชา พระเนื้อผง หลวงพ่อขาว หลังพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ วัดเสาธงกลาง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการรุ่นแรก พระเครื่องรุ่นนี้ติดอันดับในพระเครือง ยอดนิยมของ ปากน้ำสมุทรปราการ
    ปิดครับ
    IMG_20180219_204516.jpg
    IMG_20180219_204505.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่153 สมเด็จ9ชั้นข้างยันต์พุทโธ ปางมารวิชัย เนื้อผงสีขาว ไม่ทราบวัดครับ
    ปิดครับ
    IMG_20180216_224124.jpg
    IMG_20180216_224102.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่154 นางพญาเนื้อผง หลังยันต์ ปั๊ม ว ท พ ปี23 ไม่ทราบวัดครับ
    ปิดครับ
    IMG_20180219_203841.jpg
    IMG_20180219_203807.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่155 พระเนื้อผงน้ำมัน วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี ปี 2524
    ปิดครับ
    IMG_20180213_215920.jpg
    IMG_20180213_215908.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  11. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +822
    โอนกสิกรให้เมื่อสักครู่ครับ:);)
     
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    ขอบคุณครับ
     
  13. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่156 เหรียญเม็ดแตง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล 120 ปี พ.ศ.2557 วัดบ้านจานสร้าง
    ปิดครับ
    IMG_20180221_201632.jpg
    IMG_20180221_201619.jpg
    IMG_20180221_201828.jpg IMG_20180221_201913.jpg get_auc3_img.jpg get_auc3_img (1).jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่157 เหรียญหลวงปู่คาน คันทโย วัดโพธิ์ชัย ปี2520 จ.นครพนม "ตอกโค้ด ด้านหน้า"
    วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7164 ข่าวสดรายวัน

    "หลวงปู่คาร คันธิโย" อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นคร พนม พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ในอดีตเมื่อกว่า 90 ปีที่แล้ว ท่านได้ก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมให้ความรู้พระภิกษุ-สามเณรได้ศึกษาพระธรรมวินัย

    หลวงปู่คาร ยังเป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเถระผู้ก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน

    อีกทั้ง
    หลวงปู่คาร ยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยสงฆ์ชื่อดังของเมืองไทย

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สุวรรณมาโจ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2424 ณ ต.ท่าอุเทน หมู่ 3 อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โยมบิดา-มารดาชื่อ ท้าวโพสะราช (นามตราตั้งของรัชกาลที่ 4) นามเดิมชื่อ นายบุตร และนางบุตรศรี สุวรรณมาโจ เป็นบุตรชายคนสุดท้องในพี่น้อง 3 คน

    ในช่วงวัยเยาว์ ได้มีโอกาสศึกษาหนังสือธรรมจากวัดในหมู่บ้าน

    ปี พ.ศ.2445 อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ชัย ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โดยมีพระครูทน แห่งวัดโพนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระเคน อุตตโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระหนู วิริโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลังบวชได้ 1 พรรษา ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปเรียนที่กรุงเทพฯ ในสำนักวัดเทพธิดาราม โดยมีพระสุนทรสมาจารย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านใช้เวลาศึกษานาน 10 ปี จึงสำเร็จมูลกัจจายน์และแปลพระธรรมบท

    แต่ในห้วงเวลาดังกล่าว ขณะเตรียมสอบชั้นเปรียญธรรม ได้ทราบข่าวพี่ชายเสียชีวิต จึงเดินทางกลับมาบ้านทำศพพี่ชายและพี่สะใภ้ที่ป่วยตายด้วยโรคอหิวาตกโรค และไม่ได้กลับไปกรุงเทพฯ อีกเลย

    ต่อมา พระโพธิราช เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ได้มรณภาพ ทำให้ขาดพระผู้ปกครอง พ.ศ.2456 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย นับแต่นั้นมา ด้วยในสมัยก่อนยังไม่มีการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์จากส่วนกลาง คณะสงฆ์ในอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร

    หลวงปู่คาร ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้พระเถระชื่อดัง เป็นกำลังสำคัญในบวรพระพุทธศาสนา 2 รูป คือ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม และหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลราชธานี

    ระหว่างที่เปิดสำนักเรียนมูลกัจจายน์ที่วัดโพธิ์ชัย ได้มีพระภิกษุสามเณร เดินทางมาเล่าเรียนศึกษากันเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านเป็นพระผู้ทรงคุณวุฒิที่รับหน้าที่อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้ท่องจำพระปาติโมกข์ สวดมนต์ 7 ตำนาน 12 ตำนานได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยการสอนแบบมุขปาฐะ หรือแบบปากเปล่าท่องจำ

    กล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาแห่งการดำรงสมณเพศ หลวงปู่คาร ไม่ได้รับตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยท่านเพียงทำหน้าที่เป็นครูผู้อบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและอบรมศีลธรรมให้แก่อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น

    นอกเหนือไปจากการให้ความรู้แก่พระภิกษุสามเณรแล้ว ด้านการพัฒนาวัดท่านยังได้ร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างอุโบสถ (สิม) หลังใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน แทนสิมหลังไม้หลังเก่า ที่ชำรุดทรุดโทรมสมัยพระครูขันธ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 1 โดยใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี

    จากนั้นยังได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ (หอแจก) ครอบพระเจ้าองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.40 เมตร สูง 4 เมตร ที่สร้างมาพร้อมกับวัดโพธิ์ชัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญหลังใหม่ พร้อมกุฏิสงฆ์ 3 หลัง

    หลวงปู่คาร เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม จะคอยอบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีล แม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัยจะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้การตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา ก็จะตำหนิพระลูกศิษย์ เป็นสมณะต้องมักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อย ไม่สะสมทรัพย์สิ่งของ

    ในช่วงบั้นปลายชีวิต สุขภาพร่างกายของท่านไม่แข็งแรงดังเดิม กระทั่งวันที่ 19 กันยายน 2520 เวลา 20.20 น. ท่านได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยโรคชราภาพ สิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 75

    ท่ามกลางความเศร้าสลดแก่คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เคารพเลื่อมใส

    "หลวงปู่คาร คันธิโย" เป็นนามแห่งพระเถระที่คณะศิษย์และสาธุชนชาวเมืองนครพนม ต่างเลื่อมใสศรัทธา นำคำสั่งสอนไปปฏิบัติและเผยแผ่ขจรขยายในต่างแดนตราบเท่าทุกวันนี้

    แม้ท่านจะละสังขารจากไปนานแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดี ต่อวงการศึกษาและพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ ยังคงเป็นที่จดจำได้อย่างไม่มีวันลืมเลือน
    มาจากหนังสือพิมพ์ : ข่าวสด

    ปิดครับ
    IMG_20180221_202216.jpg
    IMG_20180221_202241.jpg
    IMG_20180221_202413.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่158 เหรียญหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (พระญาณสิทธาจารย์) ถ้ำผาปล่อง เชียงดาว ปี2518 ( เหรียญรุ่น 36 )
    ประวัติ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย


    ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2452 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลาประมาณ 21.00 น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน - นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน ท่านเป็นคนที่ 5

    สกุล "วงศ์เข็มมา" เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุล คือ ท่านขุนแก้ว และ อิทปัญญา น้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เ เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา 1 ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้ม หลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ 3 ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า "
    สิม" ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุ 15-16 ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิม เป็นหมอแคน

    สิ่งบันดาลใจให้
    หลวงปู่สิม อยากออกบวชคือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า "ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจ ทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช" มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาท ในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่สิมกำหนด "มรณํ เม ภวิสฺสติ" ของท่าน มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัย ของท่าน หลวงปู่สิมก็ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่า หลวงปู่เทศน์ครั้งใด มักจะมี "มรณํ เม ภวิสฺสติ" เป็นสัญญาณเตือนภัย จากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เมื่อท่านอายุ 17 ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม 2469 ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจาก
    พระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกต ข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจาย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์ มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยัง ไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ 2 ลำ ทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    เมื่อสามเณรสินอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับ วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธาจาโร" จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณา อสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา
    หลวงปู่สิมได้เล่า ประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพและว่า "นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่า กัน"

    "สมมติโลกว่าสวยว่างามสมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตาย ตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ"

    ในชีวิตสมณะของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า "โสสานิ กังคะ" คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าเหล่างานี้เอง ที่
    หลวงปู่สิมได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน 3-4 ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทศก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

    ปี พ.ศ. 2479 (พรรษาที่ 8) เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโมที่วัดจักราช สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของ
    หลวงปู่สิม ขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้และเกิดชื่นชอบถูกใจ ถึงกับปรารถนาจะชวนหลวงปู่สิมไปอยู่ด้วย กับท่าน จึงเอ่ยปากขอตัวหลวงปู่สิม กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ว่า "พระองค์นี้มีลักษณะเป็นผู้มีบุญบารมี ผมจะขอตัวให้ไปอยู่ด้วยจะขัดข้องหรือเปล่า" ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของหลวงปู่สิม ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เยี่ยงท่านสมเด็จฯ นี้ ทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร จึงได้ร่วมเดินทางมากับสมเด็จฯ ที่วัดบรมนิวาส มาจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักสมเด็จฯ ทำให้หลวงปู่สิม ได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขึ้น หลวงปู่สิม อยู่รับใช้สมเด็จฯด้วยจริยา ดีเยี่ยม พร้อมกันนั้นหลวงปู่สิม ก็ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ พระธุดงค์กรรมฐานให้แก่พระเณรจำนวนมากที่มารับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่สิม
    ปี พ.ศ. 2480 ออกพรรษาแล้ว
    หลวงปู่สิม ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภ ที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว ญาติโยม จึงต่างสนองตอบ คำปรารภของหลวงปู่สิม อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ โยมอาของท่าน คือนางคำไพ ทุมกิจจะ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่สิม จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2480 สำนักสงฆ์นี้ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น "วัดสันติสังฆาราม" พร้อมด้วยวัดและสำนักสงฆ์ สาขา เกิดอีก 9 แห่ง

    สำหรับ วัดสันติสังฆาราม จังหวัดสกลนครนี้
    หลวงปู่สิม ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนแล้วเสร็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาฝังลูกนิมิตในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ในโอกาสเดียวกับงานอายุครบ 71 พรรษา ของหลวงปู่สิม

    หลวงปู่สิม ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิ เช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่นี้หลวงปู่สิมได้พบ หลวงปู่มั่นฯ และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น จนการปฏิบัติธรรม ของหลวงปู่สิม ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก) เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่สิมได้เดินธุดงค์ ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่ วัดโรงธรรม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีนี้ เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้พักจำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นต้น

    หลวงปู่สิม ได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคี แห่งนี้ ติดต่อกันนานถึงห้าปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึงปี พ.ศ. 2487 จึงย้ายไปจำพรรษาที่ ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 ในระหว่างนั้น หลวงปู่สิมได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่สิมได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการหยั่งพระ สัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา

    ในระหว่างออกพรรษา
    หลวงปู่สิม ได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย 96 ปี) โดยในปี พ.ศ. 2488 เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่สิมธุดงค์ ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะนี้ ท่านเปรียบเสมือนที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมาก สำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เนื่องจากสงคราม ปลายปี พ.ศ. 2498 เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะ กลับคืน ตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่สิม ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษา ที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้าง กับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่สิมพบกับลูกศิษย์ คนแรกที่อุปสมบทที่เชียงใหม่คือ พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัด "สันติธรรม" ซึ่งได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปี พ.ศ. 2490 เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่า เจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยง ดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืน ถิ่นฐานเดิม หลวงปู่สิม จึงปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่สิม ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง "วัดสันติธรรม" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธา ของสานุศิษย์

    ปี พ.ศ. 2497 โยมมารดาของ
    หลวงปู่สิม ถึงแก่กรรม หลวงปู่สิม จึงได้เดินทาง จากเชียงใหม่ลงมาที่บ้านบัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ ไปจังหวัดนครพนมทันที เพื่อจำพรรษาที่ภูลังกา

    ช่วงปี พ.ศ. 2498-2403
    หลวงปู่สิม ได้กลับไปพักจำพรรษาที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในจิตใจส่วนลึกของท่านนั้น ยังปรารภความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่างๆ อยู่ จนต้นปี พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ ไปพบ ถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่สิม จึงย้ายไปอยู่ภาวนาที่ถ้ำปากเปียงบ่อยครั้ง ด้วยเป็นที่สงบสงัดร่มรื่น ต่อมาในฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2503 ลุงติ๊บ คนบ้านถ้ำ ได้เป็นคนนำทาง พาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็กๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง ตามคำปรารภของหลวงปู่สิม ที่ว่า "กิเลสจะได้เข้าหายาก" จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่อง ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านคิดว่าจะเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวติของท่าน หลวงปู่สิม ได้ พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียงต่อ ต่อจากนั้นท่านก็ได้แวะเวียนไปพักที่ถ้ำผาปล่องอีกเสมอ

    ในปี พ.ศ. 2504 ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร (ท่านเจ้าคุณวิสุทธิธรรม รังสี) เจ้าอาวาส วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นศิษย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่นกัน ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติขอให้หลวงปู่รับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการาม ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 และในปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ได้รับการขอร้องจาก ท่านเจ้าคุณนิโรธธรรมรังษี ให้หลวงปู่ช่วยรับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่สิม จึงจำใจต้องรับเป็นเจ้าอาวาส ให้วัดป่าสุทธาวาสอยู่ 1 พรรษา โดยที่ใจจริงของท่านนั้นเบื่อหน่าย คิดอยากแต่จะออกธุดงค์อยู่เรื่อยไป

    ในระหว่าง พ.ศ. 2506-2509
    หลวงปู่สิม ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่สิมหลวงปู่สิม จึงได้ตัดสินใจวาง ภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้น ท่านก็มาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องตลอดมา

    ในปี พ.ศ. 2518
    หลวงปู่สิม ได้เดินทางไปสังเวชนียสถานที่อินเดียและได้เดินทางไปอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2523 นอกจากนี้แล้วหลวงปู่สิมยังได้มีโอกาส เดินทางไปที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตลอดถึงทวีปยุโรป และอเมริกาอีกด้วย

    หลวงปู่สิม ท่านมีความขยันและตั้งใจมั่นตั้งแต่เด็กดังเช่น พระอาจารย์ศรีทอง (พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งเป็นมหานิกาย) ได้เล่าว่า ครั้งเมื่อทางวัดมีการขุดสระ สามเณรสิมก็ไปช่วยขุดและขุดจนกระทั่งใครต่อใครเขาทิ้งงานไปหมด เนื่องจากขุดลงไปลึกถึงสิบเอ็ดสิบสองวาแล้ว ก็ยังไม่มีน้ำ เมื่ออุปัชฌาย์ถามว่า "จะขุดไปถึงไหนกัน" สามเณรสิมตอบว่า "ขุดไปจนสุดแผ่นดินนั่นแหละ" ปฏิปทาของหลวงปู่สิม ที่แสดงถึงความมีเมตตาอย่างล้นเหลือต่อลูกศิษย์ ได้แสดงให้เห็นอยู่เนืองๆ หลวงปู่สิม ปกครองพระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่น ใกล้ชิดเหมือนพ่อดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจลูกศิษย์ (คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์) ภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธ หลวงปู่สิม จะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่างจนกระทั่ง ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ครั้งหนึ่งเณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิตัวเหลืองซูบซีดผอม เพราะฉัน อาหารไม่ได้เลย "แม่ไล" ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโมโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่สิม ซึ่งนั่งเฝ้า อยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า "วันพรุ่งนี้เถอะเน้อ ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน" งานพัฒนาชุมชนที่นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ของหลวงปู่สิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส และผลงานก็ได้ก่อประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ แก่ชาวบ้านเกษตรกร ก็คือ งานสร้างฝายน้ำล้น ลำน้ำอูน ที่ท่าวังหิน ซึ่งก็คือบริเวณ สำนักสงฆ์เวฬุวันสันติวรญาณ ในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2521 ภายหลังจำพรรษา ที่วัดสันติสังฆาราม หลวงปู่สิม ก็ได้รับอาราธนาจากชาวบ้านทั้ง 4 ตำบล ใน 2 เขตอำเภอ ให้มาเป็นประธานในการสร้างฝายน้ำล้นกั้นลำน้ำอูน งานสร้างฝายน้ำล้นชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของหลวงปู่สิม เด่นชัดมาก ในเรื่องความเป็นผู้เอาใจใส่ และรับผิดชอบในภารกิจ เมื่อที่ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเห็นควรจะเริ่มงานกันวันใหม่ หลวงปู่สิม ก็ว่าให้เริ่มงานกันวันนี้เลย

    หลวงปู่สิม เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่ตี 4 ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นพอ 10 โมงเช้า จึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา 1 ทุ่ม หลวงปู่ก็จะพาสวดมนต์และฟังเทศน์ เสร็จแล้ว ก็เริ่มท้ิงหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็ 4 ทุ่ม หรือบางวัน งานจะติดพันจนถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่สิม จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง

    หลวงปู่สิม ได้รับสมณศักดิ์ "พระครูสันติวรญาณ" ในวันที่ 5 ธันวาคม 2502 และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ "พระครูสันติวรญาณ" เป็น "พระญาณสิทธาจารย์" ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 และในคืนวันที่ 13 สิงหาคม 2535 พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. แล้วท่านก็นั่งพักดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ 20 นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา 22.00 น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา

    ธรรมโอวาท จาก พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์ และ ธรรมลิขิต

    1. คำว่า จิต ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัวในใจ นั่นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่
    2. ตาเห็นรูป ก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้
    3. การปฏิบัติบูชา ภาวนานี้ เป็นการปฏิบัติภายใน เป็นการเจริญภายใน พุทโธภายใน ให้ใจอยู่ภายใน ไม่ให้จิตใจไปอยู่ภายนอก
    4. การภาวนา ไม่ใช่เป็นของหนัก เหมือนแบกไม้หามเสา เป็นของเบาที่สุด นึกภาวนาบทใดข้อใด ก็ให้เข้าถึงจิตถึงใจ จนจิตใจผ่องใสสะอาดตั้งมั่นเที่ยงตรงคงที่อยู่ ภายในจิตใจของตน ใจก็สบาย นั่งก็สบาย นอนก็สบาย ยืนไปมาที่ไหนก็สบายทั้งนั้น ในตัวคนเรานี้ เมื่อจิตใจสบาย กายก็พลอยสบายไปด้วย อะไรๆ ทุกอย่างมันก็สบายไป มันแล้วแต่จิตใจ
    5.ทำอย่างไรใจจะสงบระงับ มีอุบายอะไร ก็อุบายไม่ขึ้เกียจไงละ ให้มีความเพียร จะสู้กับกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในใจได้ ไปสู้ที่ไหน ก็สู้ด้วยความเพียร สู้ด้วยความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลงไปแล้วให้มันมั่นคง อย่าไปถอย
    6. เพียรพยายามฝึกตนเองอยู่เสมอ บนแผ่นดินนี้ผู้มีความเพียร ผู้ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ ไม่ว่าจะทำอะไร ย่อมสำเร็จได้ ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นแล้วเราต้องตั้งความเพียรลงไป ภาวนาลงไป เมื่อมันยังไม่ตายจะไปถอยความเพียรก่อนไม่ได้
    7. สู้ด้วยการละทิ้ง อย่าไปยึดเอาถือเอา เขาว่าให้เรา เขาดูถูกเรา เสียงไม่ดีเข้าหูก็เพียรละออกไปให้มันหมดสิ้น มนุษย์มีปาก ห้ามมันไม่ให้พูดไม่ได้ มนุษย์มีตา ห้ามไม่ให้มันดูไม่ได้ มันเป็นเรื่องของโลก ท่านจึงตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมันเป็นความร้อน ความร้อน คือกิเลส กิเลสเหมือนกับไฟ ไฟมันเป็นของร้อน
    8. เราได้คลานภาวนาจนเข่าแตกเลือดออกมีไหม ไม่มี มีแต่นอนห่มผ้าให้มัน ตลอดคืน มันจะได้สำเร็จมรรคผลอะไร ก็ได้แต่กรรมฐานขี้ไก่ กรรมฐานขี้หมู ไม่ลุกขึ้นภาวนาเหมือนพระแต่ก่อน พระแต่ก่อนท่านเดินไม่ได้ท่านก็คลานเอา
    9. พุทโธในใจ หลงใหลทำไม ไม่ต้องหลง ไม่ต้องลืม นั่งก็พุทโธในใจ นอนก็พุทโธในใจ ยืนก็พุทโธในใจ เดินไปไหนมาไหน ก็พุทโธในใจ กิเลสโลเลละให้หมด โลเลทางตา โลเลทางหู โลเลทางจมูก ทางกลิ่น โลเลในอาหารการกิน เลิกละให้หมด
    10. ไม่ต้องไปรอท่าว่า เมื่อถึงวันตายข้าพเจ้าจะภาวนาพุทโธเอาให้ได้ อย่างนี้ไม่ได้ เราต้องทำไว้ก่อน เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน ตั้งแต่บัดนี้ เดี๋ยวนี้เวลานี้เป็นต้นไป
    11. ความตายนี้ไม่มีใครหลบหลีกได้ ท่านให้นึกให้น้อมให้ได้ว่า ทุกลมหายใจเข้าไปก็เตือนใจของตนให้นึกว่า นี่ถ้าลมหายใจนี้เข้าไปแล้วออกมาไม่ได้ เกิดติดขัดคนเราก็ตายได้ แม้ลมหายใจออกไปแล้ว เกิดอะไรขัดขึ้นมาสูดลมหายใจเข้า มาไม่ได้คนเราก็ตายได้
    12. เราทุกคนดวงใจที่มีชีวิตอยู่ ณ ภายในนี้ ก็อย่าพากันนิ่งนอนใจ อยู่ที่ไหน กายกับใจอยู่ที่ไหน ก็ที่นั่นแหละเป็นที่ปฏิบัติบูชาภาวนา อยู่บ้านก็ภาวนาได้ อยู่ วัดก็ภาวนาได้ บวชไม่บวชก็ภาวนาได้ทั้งนั้น
    13. ตั้งจิตดวงนี้ให้เต็ม ในขั้นสมถกรรมฐาน พร้อมกับวิปัสสนา กรรมฐาน ให้แจ่มแจ้งในดวงใจทุกคนเท่านั้น ก็พอ เพราะว่าเมื่อเราเกิดมาทุกคน ก็ไม่ได้มีอะไรติดมา ครั้งเมื่อเราทุกคนตายไปแล้วแม้สตางค์แดงเดียวก็เอาไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จงพากันนั่งสมาธิภาวนาให้เต็มที่จนกิเลสโลภะอันมันนอนเนื่องอยู่ใน จิตนี้ให้หมดเสียวันนี้ๆ ถ้ากิเลสความโลภนี้ยังไม่หมดจากจิต ก็ยังไม่หยุดยั้งภาวนาจน วันตายโน้น
    14. การภาวนาละกิเลสให้หมดไปจริงๆ นั้น ต้องปฏิบัติดังนี้ เมื่อกำหนดรูปร่างกายของเรา บริกรรมกำหนดลมหายใจจนจิตตั้งมั่นดีแล้ว ต้องกำหนดรูปร่างของเราเอง นับตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ไปตลอดหมดในร่างกายนี้ ให้เห็นตามความเป็นจริง ที่มันตั้งอยู่และมันเสื่อมไป ด้วยความเจ็บไข้ได้ป่วยมีทวารทั้ง 9 เป็นสถานที่ไหลออกไหลเข้าซึ่งของไม่งาม
    15. อันความตายนั้น จงระลึกดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง ยกจิตใจตั้งให้มั่นอย่าได้หวั่นไหว เจ็บจะเจ็บไปถึงไหนก็แค่ตาย อยู่ดีสบาย อยู่ไปถึงไหนก็แค่ตาย แก่ชราแล้วไม่ตายไม่ได้ เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใดจะให้ผู้อื่นช่วยไม่ได้ ต้องภาวนาให้พ้นจากความตาย ความตายนั้นมีทางพ้นไปได้ อยู่ที่การละกิเลส ล้างกิเลสในใจให้หมดสิ้น
    16. วันคืนเดือนปี หมดไป สิ้นไป แต่อย่าเข้าใจว่าวันคืนนั้นหมดไป วันคืนไม่หมด ชีวิตของแต่ละบุคคลหมดไปสิ้นไป มันหมดไปทุก ลมหายใจเข้าออก
    ฉะนั้น ภาวนาดูว่า วันคืนล่วงไป เราทำอะไรอยู่ ทำบุญหรือทำบาป เราละกิเลสได้หรือยัง เราภาวนาใจสงบหรือยัง
    17. ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ใจยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในชาติตระกูล ในตัว ในตน ในสัตว์ในบุคคล ความยึดอันนี้แหละที่ยึด ไม่ให้มีทุกข์ให้มีความสุข มันเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับว่าเราจะไม่ให้แก่ ก็แก่เรื่อยไป ต้องรู้ว่าแก่เพราะอะไร ก็เพราะว่าจิตมายึดถือ เมื่อจิตมายึดมาถือ จิตจึงมาเกาะอยู่ มาเกิด มาแก่ชรา เจ็บไข้ได้พยาธิ ผลที่สุดก็ถึงซึ่งความตาย
    18. บทภาวนาบทใดก็ดีทั้งนั้น ถ้าภาวนาได้ทุกลมหายใจ ก็เป็นอุบายธรรมอันดีทั้งนั้น ความตั้งมั่นในสมาธิภาวนาของจิตใจคนเรานั้น ย่อมมีเวลาเจริญขึ้น มีเสื่อมลงเป็นธรรมดา ถ้าเรามารู้เท่าทันว่า การรวมจิตใจเข้าเป็นดวงหนึ่งดวงเดียว เป็นความสงบสุขเยือกเย็น อย่างแท้จริง ก็ให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา อย่าได้มีความท้อถอย เมื่อใจไม่ท้อถอยแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราท้อแท้อ่อนแอได้ เพราะคนเรามีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจทั้งสิ้น
    19. ความเที่ยงแท้แน่นอนในโลกนี้ จะเอาที่ไหนไม่มี ผู้ปฏิบัติจงรู้เท่าทัน รู้เท่านั้นแล้วก็ปล่อยว่าง อย่าเข้าไปยึดไปถือ อย่าไปยึดว่าตัวกูของกู ตัวข้าของข้า ตัวเราของเรา เราเป็นนั้นเป็นนี้ ตัวเราของเราไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มีแต่หลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งโลก
    20. ให้ทานข้าวของ วัตถุภายนอกก็เป็นบุญ แต่ยังไม่ลึกซึ้ง ให้ทำบุญภายในใจ ให้เป็นบุญอยู่เสมอ ภาวนาพุทโธ นึกน้อมเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอยู่ภายใน นี่แหละ บุญภายใน
    21. อวิชชา แปลว่าไม่รู้ ไม่รู้ต้น ไม่รู้ปลาย ไม่รู้อยู่ จิตจึงได้วนเวียน หลงไหล เข้าใจผิดว่า โลกนี้ยังมีความสุขซ่อนอยู่ ความจริงแล้วในมนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ตาม พรหมโลกก็ช่าง ล้วนแล้วแต่ตกอยุ่ในกองทุกข์ กองภัย ต้องมีภัย อันตรายรอบด้าน
    22. ชีวิตของคนเราไม่นาน ชีวิตนี้มีน้อยที่สุด เวลาเรายังไม่ตาย ก็ได้ข่าวคน นั้นว่าตาย ที่เขาเอาไปฝังทิ้ง หรือเอาไปเผาไฟ เพื่อไม่ให้กลิ่นมันเหม็นจมูกเขาต่างหาก เราต้องพิจารณา ต้องทำด้วยกำลังศรัทธาของเรา ทำไมพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าทั้ง หลาย ท่านจึงเกิดอสุภกรรมฐานเห็นแจ้งในจิตในใจได้ เห็นคนก็เห็นก้อนอสุภกรรมฐาน เห็นคนก็เห็นความตายของคนนั้น
    23. สงบแต่ปาก ใจไม่สงบ ก็ไม่ได้ ต้องให้ใจสงบ ใจสงบ ก็คือว่า เมื่อฟุ้งซ่านรั่วไหลไปที่อื่นก็ให้คอยระวัง นึกน้อมสอนใจของตัวเองด้วยว่า ความเกิดเป็นทุกข์ เกิดมาแล้วเป็นทุกข์อย่างนี้แหละ จะไปเอาสุขที่ไหนในโลก ที่ไหน มันก็ทุกข์เท่าๆ กัน เอาสิ่งเหล่านี้มาเตือนใจตนเอง
    24. เวลาความตายมาถึงเข้า กายกับจิตจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เรียกว่าแยกกันไป จิตทำบาปไว้ก็ไปสู่บาป จิตทำบุญไว้ก็ไปสู่บุญ จิตละกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ได้ก็ไปสู่นิพพาน จิตละไม่ได้ก็มาเวียนตายเวียนเกิด วุ่นวายอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้ามา ตรัสรู้ในโลก มนุษย์ทั้งหลายก็ยังไม่หมดไปจากโลก ยิ่งในปัจจุบันนี้ ยิ่งมากกว่าในสมัย ก่อน มันเกิดมาจากไหน ก็เกิดมาจากจิตที่เต็มไปด้วย อวิชชา-ความไม่รู้ ตัณหา-ความดิ้นรน ไม่สงบตั้งมั่น ก็สร้างตัวขึ้นมาในแต่ละบุคคล แล้วก็มาทุกข์มาเดือดร้อน วุ่นวายอยู่ในวัฏสงสารอย่างนี้แหละ
    25. ให้ละกิเลสออกจากจิตให้หมดทุกคน กิเลสนี้แหละทำให้คนเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ไม่สิ้นสุด กิเลสนั้นเมื่อย่นย่อเข้ามาก็คือ ความโกรธ ความโลภ ความหลง 3 อย่างเท่านี้ ทำไมจึงเกิดมาสร้างกิเลสให้มากขึ้นไปทุกภพทุกชาติ ทำไมหนอ ใจคนเราจึงไม่ยอมละ การละก็ไม่หมดสักที ในชาติเดียวนี้ตั้งใจละ ทั้งพระเณรและญาติโยมทั้งหลาย ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นอย่าโกรธไปตาม ถ้าไม่โกรธไปตาม มันจะตายเชียวหรือ ทำไมจึงไม่ระลึกอยู่เสมอว่า คนเราจะละความโกรธให้หมดสิ้นไป ในเวลาเดี๋ยวนี้ อย่าให้มีการท้อถอยในการสร้างความดี มีการรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 พร้อมทั้งการเจริญสมาธิภาวนา ฆ่ากิเลสตัณหาให้หมดไป ใจจึงจะเย็นเป็นสุขทุกคน
    26. ภาวนาให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จิตของผู้ภาวนาก็สูง คำว่าสูง ก็เหมือนกับเรือที่ลอยลำอยู่ในแม่น้ำ ลำคลองหรือที่มหาสมุทรสาคร ก็คือ จิตมันอยู่เหนือน้ำ
    27. จิตอยู่เหนืออารมณ์ เหมือนเรืออยู่เหนือแม่น้ำ มันก็ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงจำต้องฝึกอบรมตัวเองให้มีความอดทน
    28. เวลาความสุขมาถึงเข้า เราจะไปเอาความสุขในความสรรเสริญเยินยอ มั่งมีศรีสุขอย่างเดียว แต่เราหารู้ไม่ว่า "ความสุขมีที่ไหน ความทุกข์ก็มีที่นั่น"
    29. มรณกรรมฐานนี้เป็นยอดกรรมฐาน คนเราเมื่ออาศัยความประมาท มัวเมาไม่ได้มองเห็นภัยอันตรายจะมาถึงตน คิดเอาเอง หมายเอาเอง ว่าเราคงไม่เป็นไรง่ายๆ เราสบายดีอยู่ เรายังเด็กยังหนุ่มอยู่ ความตายคงไม่กล้ำกรายได้ง่ายๆ อันนี้เป็นความประมาท มัวเมา...
    30. ถ้ามองเห็นความตายทุกลมหายใจเข้าออก สบายไปเลย กูก็จะตาย สูก็จะตาย จะมากังวลวุ่นวายกันทำไม่...

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร เกิดมาเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ให้กับตนเอง และใช้ชีวิตที่เหลือในการเกื้อกูลมหาชนอย่างแท้จริง หลวงปู่สิม พร่ำสอนเสมอๆ มิให้ ตั้งตนในทางที่ประมาท ทั้งความประมาทในชีวิต ความประมาทในวัย และความ ประมาทในความตาย

    หลวงปู่สิม เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการปฏิบัติภาวนาว่า เป็นหนทางอัน สูงสุดที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ ดังคำสอนตอนหนึ่งว่า

    "ทางพระสอนให้ละชั่วทำความดี แต่ก็ไม่ให้ติดอยู่ในความดี ให้บำเพ็ญจิตให้ยิ่งขึ้นจนถึงไม่ติดดีติดชั่วจึงจะพ้นจากโลกนี้ไปได้ เพราะแม้คุณความดีจะส่งผลให้เป็นสุขไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นเทพ อินทร์ พรหม ก็ตาม แต่เมื่อกำลังของกุศลกรรมความดีนั้นๆ หมดลง ก็ย่อมต้อง กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ทางพระจึงมุ่งสอนให้มุ่งภาวนา ทำจิตให้รวม ระวังตั้งมั่น ทำจิตให้มีปัญญารู้ความเป็นจริงด้วยตนเอง จนถอดถอนอุปทานความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ออกเสียจึงจะเป็นไปเพื่อความสิ้นภพสิ้นชาติ หมดทุกข์หมดยากโดยแท้จริง"

    หลวงปู่สิม ได้ทำหน้าที่ครูอาจารย์ไว้โดยสมบูรณ์ยิ่งแล้ว ทั้งด้านเทศนาธรรม และด้วยการประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงาม หลวงปู่สิมเป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคงไม่ หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจักยึดถือปฏิบัติตามได้โดยสนิทใจ หลวงปู่สิม จากไปอย่างผู้ที่พร้อมรับต่อความตายทุกขณะ สมดังที่หลวงปู่สิม ได้พร่ำสอนผู้อื่นเสมอ

    ถ้าท่านได้ไปถ้ำผาปล่อง ท่านจะได้พบรูปหล่อเหมือนองค์
    หลวงปู่สิม ประดิษฐานอยู่ในท่าขัดสมาธิเพชร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำองค์ท่าน และ "เจดีย์แห่งความกตัญญู" ที่คณะศิษย์ได้จัดสร้างถวายให้ใช้เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุและเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องอัฐบริขารของ "หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร"
    นิมนต์แล้วครับ
    IMG_20180221_202918.jpg
    IMG_20180221_203009.jpg

    IMG_20180221_203357.jpg IMG_20180221_203253.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่159 เหรียญหลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี รุ่นที่ระลึกยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญวัดหนองสุ่ม 15 เมษา 22
    นิมนต์แล้วครับ
    IMG_20180221_204308.jpg
    IMG_20180221_204257.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่160 เหรียญพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี ปี2521
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อพุทธคุณ... ดีทุกด้าน...ครอบจักรวาลครับ

    (จ้อยหลวงพ่อ ฐิตปุญโญ)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ และ อดีตเจ้าคณะอำเภอดอนสัก
    วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี


    ท่านเจ้าคุณ พระกิตติมงคลพิพัฒน์ ท่านมีนามเดิมว่า จ้อย นามสกุล พันธุ์อุดม ต่อมาท่าน พระครูวอน (ไม่ทราบฉายา) ผู้เป็นอา ได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น ไกรวงศ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2448 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ณ บ้านหัวรอ ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตร นายนวล - นางห้อง พันธุ์อุดม มีอาชีพกสิกรรม ท่านเป็นบุตรคนเดียวของพ่อแม่

    การศึกษาท่านได้รับการศึกษาที่ วัดมะขามคลาน ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา มีท่านพระครูวอน พุทธสโร เป็นผู้สอน ท่านมีความสนใจใฝ่รู้เป็นอย่างมาก และท่านได้ศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาบาลี อักษรขอม เวทมนตร์ คาถาอาคม โหราศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ

    ชีวิตในวัยหนุ่มของท่านท่านตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เนื่องจากพ่อไปมีภรรยาใหม่ และท่านได้หลงผิดไประยะหนึ่ง จนถึงกับได้กระทำกรรมที่ไม่ดี จนถึงกับทำให้พ่อแม่ญาติมิตรเดือดร้อนไปด้วย บิดาจึงส่งให้ไปอาศัยกับน้าสาวที่อำเภอดอนสัก ด้วยอำนาจบุญกุสลบารมีที่ท่านเคยสั่งสมไว้จึงทำให้ท่านได้พบกัลยาณมิตรแนะนำ จนกระทั่งเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้กลับไปอุปสมบทที่จังหวัดสงขลา จนกระทั่งครบ 1 พรรษา ท่านจึงลาสิกขากลับมาอยู่ที่ดอนสักตามเดิม และต่อมาท่านได้แต่งงานกับ นางสาวพัว อยู่ครองชีวิตสร้างฐานะครอบครัวจนกระทั่งมีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน ท่านประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเผาถ่าน ต่อมาได้เป็นแพทย์ประจำตำบลดอนสัก

    ต่อมาได้รับการอุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการบวชแก้บน ที่วัดดอนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระอธิการเริ่ม ฐานิโย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประจักษ์วรคุณ เจ้าอาวาสวัดประสพ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการวัด วัดนทีวัฒนาราม ตำบลชลคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จิตปุญฺโญ

    ท่านบวชเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2490 โดยท่านเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ในระหว่างที่บวชอยู่นั้น ท่านคิดจะลาสิกขาถึง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดท่านได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อได้หลีกออกจากเครื่องพันธนาการในเพศคฤหัสถ์แล้ว ไม่สมควรที่จะวิ่งกลับเข้าไปหาเครื่องพันธนาการ คือกิเลสตัณหาอีก จึงได้ตัดสินใจอยู่ครองสมณเพศ บำเพ็ญประโยชน์ทั้งส่วนตน ส่วนพระพุทธศาสนา ส่วนสังคมและท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ตลอดมา นับว่าเป็นการเจริญตามรอยบาทพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    ปิดครับ
    IMG_20180221_203900.jpg
    IMG_20180221_203847.jpg
    IMG_20180221_203833.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่161 หรียญฉลองครบรอบ 80 ปี หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
    พระรุ่นนี้จัดสร้างปี 2522 หลวงพ่อขอมปลุกเสกครับ
    ปิดครับ
    IMG_20180221_202656.jpg
    IMG_20180221_202645.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่162 พระปิดตา หลังยันต์นะทะนะ เนื้อผง พระครูวิโรจน์กิตติคุณ วัดประดู่ฉิมพลี พิมพ์หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    ปิดครับ
    IMG_20180215_194931.jpg
    IMG_20180215_194916.jpg
    IMG_20180215_194903.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  20. bunpon

    bunpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2015
    โพสต์:
    478
    ค่าพลัง:
    +303
    จอง 158 และ 159 ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...