ลพ.สอน วัดศาลเจ้าพระผงหลวงปู่บุญวัดบ้านนาระยอง พระปิดตาลป.เจียง เนินหย่องระยอง.

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. ทองทวี

    ทองทวี “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +1,774
    จอง
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1607774998987-jpg.jpg

    หลวงปู่สำลี ปภาโส พระอริยสงฆ์ 5 แผ่นดิน เทพเจ้าแห่งผืนป่าดงพญาเย็นในตำนาน.ปฐมบท 1 ชาติภูมิกำเนิด หลวงปู่สำลี ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 7 ค่ำ ปี ชวด พ.ศ. 2417โยมบิดาชื่อรงค์ พื้นเพเดิมเป็นคนเมืองปราจีนบุรี เดินทางเข้าๆออกๆระหว่างไทยกับกัมพูชา สมัยก่อนนั้นประเทศกัมพูชายังมิได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ คนไทนคนกัมพูชาเข้าออกได้ ติดต่อทำมาค้าขายเพราะถือเสมือนเมืองพี่เมืองน้อง หลวงปู่เล่าว่า โยมบิดาเดินทางไปเที่ยวถึงเมืองพนมเปญ ได้พบกับโยมมารดารักไคร่และสู่ขอกัน ส่วนประเพณีก็เหมือนกับคนลาวมีการเซ่นไก่ไหว้ผี เมื่อเสร็จพิธีเซ่นไก่ไหว้ผีแล้วโยมบิดาของหลวงปู่ก็พาโยมมารดากลับมาเมืองไทยอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี หลวงปู่เกิดมาอายุได้ 4-5 ขวบ โยมบิดาก็ถึงแก่กรรม โยมมารดาของท่านจึงได้พาหลวงปู่กลับเมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา หลวงปู่เป็นกำพร้าบิดามาแต่เล็กแต่น้อย โยมมารดาก็พยายามกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมาด้วยความทนุถนอม จนหลวงปู่อายุได้ 7-8 ขวบ โยมมารดาก็นำไปฝากกับเจ้าอาวาสวัดดาลาวัณ เพื่อให้ศึกษาหาความรู้ พอหลวงปู่อายุได้ 11 ขวบก็บวชเป็นสามเณร พอเรียนภาษาขอมได้คล่องแคล่วแล้วหลวงปู่ก็หันเข้าร่ำเรียนทางไสยเวทย์ ไสยศาสตร์ เมตตา มหา นิยม คงกระพันชาตรี เป่าเสกคาถาอาคม ผูกหุ่น กำบังกายหายตัว หมอยารักษาโรค และหมอดู พออายุของหลวงปู่ 16 ปีก็ขออนุญาตโยมมารดากลับเข้ามาเมืองไทย เพื่อสืบเสาะหาญาติข้างโยมบิดา ทางฝ่ายโยมมารดาก็อนุญาต ตอนที่ 2 เดิมทีนั้น หลวงปู่ชื่อกล่ำ ต่อมาผิวของท่านขาวผิดพ่อผิดแม่ โยมมารดาจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า สำลี เมื่อสามเณรสำลีได้รับอนุญาตจากโยมมารดาแล้ว ก็ออกเดินทางจากกรุงพนมเปญเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2433 ท่านเล่าว่าในสมัยนั้นการคมนาคมของกัมพูชายังไม่เจริญ จากกรุงพนมเปญมายังจังหวัดพระตะบองอำเถอปอยเปต ไม่มีรถยนต์ ต้องเดินบุกป่าฝ่าดง ถ้าหน้าฝนก็มีไข้ป่าชุกชุม การเดินทางลำบากมาก หลวงปู่เล่าว่า จากวัดดาลาวัณในนครพนมเปญ กว่าจะถึงอำเภอปอยเปตเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชา นับเป็นเวลาเดือนเศษ เมื่อมาถึงปอยเปต ก็แจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าด่าน ผ่านข้ามสะพานคลองลึกเข้ามาด่านไทยอรัญประเทศ สมัยนั้นเข้าออกง่าย ยิ่งมาในลักษณะของชาว กัมพูชา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยก็ไม่พิถีพิถันอะไรมากนัก สำคัญอยู่ที่ว่าภาษาพูดทำให้ลำบากใจมาก เพราะหลวงปู่ไปกับโยมมารดาตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบ จนถึงอายุ 16 ปี มีชีวิตเติบโตอยู่ในกัมพูชา แต่ท่านก็โชคดีมากได้พบกับสามเณรเชื้อชาติกัมพูขาสัญชาติไทย จึงได้ชวนมาเป็นเพื่อนเดินทางขึ้นรถไฟจากอรัญประเทศมาลงที่สถานีรถไฟปราจีนบุรี สองสามเณรหันเหไม่รู้จะไปถามใคร จึงพากันไปที่วัดแห่งหนึ่งใกล้ๆกับสถานีรถไฟ ขอพักอาศัยกับหลวงตาแก่ๆองค์หนึ่ง อยู่ที่วัดนั้นหลายวันภาษาก็ชักจะคุ้นหู หัดพูดกับเพื่อนสามเณรจากภาษากัมพูชาแปลเป็นไทย ในที่สุดหลวงปู่ก็พูดได้ สามเณรเพื่อนลากลับอรัญประเทศ หลวงปู่ยังคงอยู่ที่วัดนั้นต่อไป อาศัยว่าสามเณรสำลีมีวิชาทางพยากรณ์อยู่บ้างจึงมีญาติโยมเอื้อเอ็นดู มีประชาชนมาให้สามเณรสำลีดูโฉลกโชคชะตา สามเณรน้อยก็ทายได้อย่างแม่นยำ ในการต่อมาทำให้สามเณรสำลีรู้จักกับญาติโยมอย่างกว้างขวาง สามเณรน้อยก็พยายามสืบเสาะจนพบปู่ย่า เมื่อปู่ย่าได้ พบหลานในใส้ ต่างก็พากันร้องห่มร้องไห้ ได้ถามถึงโยมมารดา สามเณรได้เล่าให้ปู่ย่าฟังโดยตลอด ยิ่งเห็นสามเณรน้อยผู้เป็นหลานก็ทำให้ปู่ย่าคิดถึงลูกชายของแกเอง เพราะสามเณรหลานรูปร่างถอดแบบพ่อไว้ไม่มีผิด ระยะที่ท่านมาอยู่ประเทศไทยก็ไปๆมาๆอยู่เสมอ ทำให้ท่านพูดภาษาไทยได้คล่อง เมื่อพูดภาษาได้แล้ว ท่านก็เริ่มเรียนหนังสือไทย ประกอบกับหลวงปู่ท่านมีพรสวรรค์อยู่ในตัว ท่านจึงเขียนหนังสือไทยได้คล่องในระยะต่อมา ในขณะที่หลวงปู่เป็นสามเณรอยู่ในเมืองไทย ท่านได้ไปเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี อยุธยา สระบุรี และท่าน คิดจะไปอีกหลายจังหวัด แต่ขณะนั้นอายุท่านใกล้จะครบบวช ท่านจึงได้ลาปู่ย่า เดินทางกลับไปบวชในกรุงพนมเปญ อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของโยมมารดา ท่านกลับไปอยู่กรุงพนมเปญได้หนึ่งปีอายุท่านก็ครบบวชพอดี โยมมารดา-ยาย ญาติพี่น้องทางฝ่ายโยมมารดาก็พากันอนุโมทนา หลวงปู่บวชเมื่ออายุครบ 21 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2438 บวชที่วัดดาลาวัณ อยู่ที่ชานกรุงพนมเปญ ผู้เขียนเคยถามถึง พระอุปัชฌาย์ และคู่สวด หลวงปู่บอกว่า ลืมหมดแล้วมันเกือบร้อยปีมาแล้ว มีฉายาว่า “ปภาโส”
    ตอนที่ 3 ครั้นเมื่อหลวงปู่อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงปู่ก็ศึกษาธรรมวินัย อันเป็นธรรมปฏิบัติของพุทธวจนะ หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดดาลาวัณได้ 3 พรรษา ท่านก็คิดจะออกแสวงหาธรรม จึงได้ชวนสงฆ์กัมพูชาด้วยกันอีก 5 รูปด้วยกันเดินธุดงค์ จากวัดดาลาวัณ ณ เดือน 11 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ. 2438 โดยเดินทางจากวัดดาลาวัณกรุงพนมเปญมาข้ามเข้าเขตประเทศไทย ทางด้านเขาพระวิหาร จังหวัดสุรินทร์ พอเข้าเขตประเทศไทย หลวงปู่กับพระสงฆ์ไทยอีก 5 รูป เลยชวนกันร่วมเดินทางไปด้วยกัน รวมเป็น 11 รูป ตกลงกันว่าจะไปไหนไปกัน โดยมีหลวงปู่สำลี ปภาโส เป็นหัวหน้าเป็นผู้นำจากเขาพระวิหารชายแดนที่พากันบุกป่าเขาลำเนาไพร ใกล้ค่ำที่ไหนก็ปักกลดที่นั่น หลวงปู่เล่าว่าเดินธุดงค์ในเมืองไทย เรายังดีในป่าในดงก็ยังมีบ้านมีช่อง เป็นระยะๆ เดินธุดงค์ในประเทศพม่าบางที 7 วันไม่เคยฉันข้าวเลยสักคำ หลวงปู่กับพระที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน ท่านอยู่ได้อย่างไร อดใจอ่านต่อไป ให้หลวงปู่ข้ามเข้าเมืองพม่าเสียก่อน แล้วท่านผู้อ่านจะทราบว่าหลวงปู่กับพระทั้ง 10 รุป ท่านมีชีวิตรอดอยู่ได้อย่างไร จากจังหวัดสุรินทร์ผ่านเข้าจังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น มาตามลำดับ ผู้เขียนถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่ไม่พบกับพระอาจารย์ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ดุลย์ หลวงพ่อผางบ้างหรือขอรับ พบทั้งนั้นแหละถามทำไม หลวงปู่ท่านย้อนถาม กระผมคิดว่าหลวงปู่จะไปขอเรียนวิชาจากพระเกจิอาจารย์ดังที่กล่าวบ้าง เขาเกิดทีหลังตั้งเยอะ กำลังบวชเป็นเณรบ้าง เพิ่งบวชพระใหม่ๆบ้าง มีแต่อาจารย์เหล่านั้นจะมาขอเรียนวิชาจากเรา เขาเห็นเราเป็นพระกัมพูชา แต่เราไม่มีเวลาสอนให้เขา เราจะต้องเดินให้ถึงประเทศพม่า ผู้เขียนถามต่อไปอีกว่า ในการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ ผ่านอุปสรรคอะไรบ้างที่แปลกและมหัศจรรย์มาก อ้าว… ไม่ยักถามเมื่อก่อนเดินธุดงค์อยู่ในกัมพูชา (หลวงปู่พูด) ตอนนั้นธุดงองค์เดียว ได้ไปพบอาจารย์อายุ 100 กว่าปี อยู่ในถ้ำแขวงเมืองกำปงธบ อาจารย์ผู้เฒ่าองค์นั้นแนะนำว่า ท่านอยากจะมีอายุยืนและก็ โน่นไปบิณฑบาตทางโน้น พร้อมกับอาจารย์ผู้เฒ่าขี้มือ ไปทางทิศเหนือของประเทศ พอรุ่งขึ้นเช้าหลวงปู่สำลี ปภาโส ก็ออกไปบิณฑบาตตามทิศทางที่พระอาจารย์เฒ่าบอก หลวงปู่บอกว่า ได้พบหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีผู้คนมากพอสมควร แต่ละคนล้วนมีรูปร่างหน้าตาสวยงามทั้งนั้น แต่ไม่ยักเห็นผู้ชาย หรือเขาจะออกไปทำงานกันหมด มีผู้หญิงออกมาใส่บาตร ข้าวที่นำมาใส่บาตรเมล็ดสวยมีกลิ่นหอม กับข้าวมีเป็นของแห้งจำไม่ได้ว่าเป็นอะไร เมื่อบิณฑบาตเสร็จก็กลับไปที่ปักกลด ลงมือฉันข้าวทั้งหอมทั้งอร่อย พอรุ่งขึ้นอีกวันก็ไปบิณฑบาตร ที่เก่า แต่ปรากฏว่า หมู่บ้านที่ไปบิณฑบาตรเมื่อวันวาน ไม่มีบ้านสักหลัง ทั้งๆที่หมายตาไว้ไม่ผิดแน่นอน กลับมาหาพระอาจารย์ผู้เฒ่า เล่าเรื่องราวให้ท่านฟัง พระอาจารย์เฒ่าองค์นั้นบอกว่า นั่นแหละหมู่บ้านลับแล ใครมีบุญจริงๆ ๆจึงจะได้พบเห็น อาตมาก็ได้ฉันข้าทิพย์ของคนเมืองลับแล จึงได้มีอายุยืนมาถึงร้อยกว่าปี นี่คือข้อความที่หลวงปู่สำลี ปภาโส ได้กรุณาเล่าย้อนให้ผู้เขียนฟัง ตอนที่ 4 เรื่องราวของหลวงปู่สำลีอายุ 115 ปี ยังมีความเร้นลับน่าศึกษา และติดตามรอยเท้าของท่านต่อไป ณ ที่เขตบ้านแห่งหนึ่งท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคาม หลวงปู่ปักกลดอยู่ 2-3 วัน ในฐานะหลวงปู่เป็นพระกัมพูชาผู้เรืองวิชา ก็ชอบที่ผู้ เรืองวิชาด้วยกันจะทดลองว่าวิชาใครจะเหนือกว่าใคร ในเช้าวันหนึ่ง เมื่อหลวงปู่กลับจากบิณฑบาตในหมู่บ้านแล้ว ได้มีผู้ที่เลื่อมใสในการบุญการกุศลได้นำเอาข้าวปลาอาหารมาถวายท่าน พระนั่งฉันวงละ 5 องค์ 1 วง วงละ 6 องค์อีก 1 วง ที่มี 6 องค์มีหลวงปู่ร่วมอยู่ด้วย ก่อนจะฉันส่งทุกองค์จะต้องถวายข้าวพระ พอถวายแล้ว มีพระองค์หนึ่งที่นั่งร่วมวง จะลงมือตักแกงเนื้อก่อน หลวงปู่ปัดมือห้ามไว้ พระร่วมวงฉันต่างก็มองหลวงปู่ หลวงปู่นั่งภาวนาคาถาอยู่ครู่หนึ่ง เอามือจับถ้วยแกงเนื้อ แกงเนื้อที่อยู่ในถ้วยก็เดือดพล่านขึ้น นายคนที่ลองวิชาของหลวงปู่ถึงกับตะลึง หลวงปู่พูดขึ้นว่า “เรามันเสือเหมือนกัน กินกันไม่ลงหรอก” นายคนที่ลองวิชาคลานเข้าไปกราบหลวงปู่ขอขมาอภัย แล้วก็พากันกลับไป ผู้เขียนถามหลวงปู่อีกว่า ในถ้วยแกงเนื้อมีอะไรขอรับ หลวงปู่บอกจะมีอะไรเสียอีกล่ะ ก็มีหนังควายทั้งแผ่นนะสิ เพราะเขาก็มีวิชาเหมือนกัน หนังควายขนาดเท่าฝ่ามือ เขามีวิชานั่งบริกรรมเป่าเสกให้หดเหลือเท่าชิ้นเนื้อแกง ถ้าใครไม่มีวิชาแก้ กินเข้าไปหนังควายก็จะคลายออกเท่าฝ่ามือเหมือนเดิม แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ตายลูกเดียว
    จากนั้นหลวงปู่ก็ได้เล่าถึงการเดินธุดงค์ของท่านต่อไป ออกจากจังหวัดมหาสารคาม เดินต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น บางครั้งก็มีญาติโยมออกค่ารถให้บ้าง บางครั้งก็ต้องเดินป่าไปตลอด ผ่านเพชรบูรณ์ พิษณุโลก แวะเข้านมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อไปจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ จุดหมายจะออกไปประเทศพม่า ด้านอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย เมื่อหลวงปู่สำลีกับพระที่ร่วมเดินธุดงค์อีก 10 องค์ ข้ามเข้าเขตประเทศพม่าแล้ว ก็เดินทางล่องไปทางใต้ หลวงปู่ หยุดปักกลดในเขตอำเภอเมียววดี หลวงปู่บอกว่า คนพม่าเขาก็ใจบุญ เห็นพระผ่านไปเขาก็ยกมือไหว้ พระธุดงค์ออกบิณฑบาตตามตลาดหรือตามบ้านเรือน เช้าก็จัดข้าวจะแกงมาใส่บาตร หลวงปู่ปักกลดอยู่ที่อำเภอเมียววดี 2-3 วัน ก็ออกเดินทางต่อไปยังเมืองทวาย ก่อนจะเข้าถึงเมืองทวาย ต้องผ่านภูเขาตะนาวศรี ทางข้ามเขาตะนาวศรี ลำบากมากเพราะเป็นดงหิน เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ก่อนที่หลวงปู่จะเดินทางข้ามเขตตะนาวศรี มีชาวพม่าบอกกับหลวงปู่ว่า มีทางเดียวที่จะข้ามเขาได้แต่ก็ต้องผ่านดงเสือดงช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ที่ดุร้ายมาก หลวงปู่ไม่ควรจะไป แต่หลวงปู่ก็ไม่ละความตั้งใจ คงพาพระที่ร่วมเดินทางทั้ง 10 องค์ เดินทางต่อไป และเย็นวันนั้นเอง หลวงปู่ก็ต้องปักกลดในกลางดงหิน เป็นที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับประชาชนคนธรรมดา แต่หลวงปู่เป็นพระสงฆ์ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม มีศิลาจารวัตรอันงดงาม ถ้าท่านผู้อ่านจะถามผู้เขียนว่า ศิลาจารวัตร และเมตตาธรรมจะหยุดยั้งความดุร้ายของเสือช้างได้ลงหรือ ท่านผู้อ่านครับ ถ้าท่านจะถามผู้เขียนอย่างนั้นก็ถามได้ตามสิทธิของท่าน แต่ท่านผู้อ่านอย่าลืมว่า หลวงปู่สำลี ปภาโส สัญชาติไทยแต่เชื้อสายกัมพูชาคงจะต้องมีวิชาพอตัว ไม่แค่นั้นคงไม่อาจหาญ บุกบั้นเข้าสู่ดงเสือดงช้างเป็นแน่ พอตะวันตกดินได้สักครู่ หลวงปู่ก็เสกก้อนดินเข้า 8 ก้อน พอเสกแล้วหลวงปู่ก็โยนไปทิศละก้อน แล้วก็บอกกับพระทั้งหมดว่า ถ้าท่านได้ยินเสียงอะไรก็ตาม อย่าได้ตกอกตกใจ และอย่าออกจากกลดโดยเด็ดขาด พระสงฆ์ทั้งหมดเข้ากลดสวดมนต์ แต่ก็ไม่วายที่จะระแวงภัย บางองค์ก็ผล็อยหลับไปเพราะความเพลีย บางองค์ก็ไม่ยอมหลับนั่งอยู่แต่ในกลด หูก็คอยสดับรับรู้ว่าจะมีอะไรผิดปกติ เวลาสาม ล่วงเข้ายามสองเห็นจะได้ สิ่งที่พม่าชาวป่าเตือนหลวงปู่ไม่ให้ผ่านเข้าไปปักกลด ก็ได้ปรากฏขึ้นทั้ง 4 ด้าน ได้ส่งเสียงร้องคำรณคำรามอย่างกึกก้อง มันเป็นเสียงของเจ้าป่า ทำให้พระที่อยู่ในกลดตลกตกใจแทบจะเผ่นไปหาหลวงปู่ แต่ก็ยังทำจำคำของหลวงปู่ได้ว่า ถ้ามีเสียงอะไรเกิดขึ้นก็ให้อยู่แต่ในกลด ส่วนหลวงปู่สำลีนั้น ท่านก็นั่งบริกรรมพระคาถาอยู่ในกลด เจ้าเสือโคร่ง 3-4 ตัว ก็เดินวนเวียนอยู่นอกเขตที่หลวงปู่โยนก้อนดินเสกทั้ง 8 ทิศ เจ้าเสือบางตัวก็ทำท่าจะกระโจนเข้า แต่ก็ต้องผงะออกไปเหมือนมีอะไรขวางกั้น เจ้าเสือร้าย 3-4 ตัว เดินวนเวียนอยู่ช่วงหุงข้าวหม้อสุก แล้วมันก็กระโจนเข้าป่าหายตัวไป ตอนที่ 5 พอรุ่งเช้า หลวงปู่ก็สั่งพระทั้งหมดเก็บกลดออกเดินทางต่อไป โดยไม่พูดจาอะไรทั้งสิ้น มุ่งหน้าเดินทางเข้าสู่เมืองทวาย จากเทือกเขาตะนาวศรีเดินบุกป่า ผ่านถ้ำผ่านเหว ครบ 7 วันจึงบรรลุถึงเมืองทวาย มีเจ้าหน้าที่ของเมืองพม่าเข้ามาไต่ถาม หลวงปู่ก็แจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
    ขอขอบคุณบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จหลวงพ่อโตหลังหลวงพ่อสำลีวัดซับบอนให้บูชา บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20240108_153705.jpg IMG_20240108_153721.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2024
  3. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +6,889
    ขอจองครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1381563-5f6bd-jpg.jpg
    สมเด็จ9อรหันต์ เนื้อผสมอัฐิธาตุ อังคารธาตุ เกศา และชานหมากของพระอรหันต์ 9 รูป พิธีสร้างวัดอินทาราม จ.สมุทรสงคราม พ.ศ.2538 สภาพสวย
    พระสมเด็จ ๙ อรหันต์หรือ พระผงอังคาร ๙ อรหันต์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2538 เป็นที่สุดของมวลสารในการจัดสร้างพระรุ่นนี้คือ
    1. พระผงรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งด้านหลังบรรจุเกศาแท้ ๆ ของหลวงปู่มั่น สร้างโดยหลวงปู่เจี๊ยะ วัดป่าภูริทัตตะฯ จ.ปทุมธานี สมเด็จชานหมากของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ด้านหลังฝังเหล็กเปียกสร้างโดยพระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
    2. พระผงรุ่นอายุยืน เส้นเกศา จีวร ชานหมาก ผิวสรีระบางส่วนที่ขูดออก ครั้งเปลี่ยนจีวร สีผึ้งที่ทำจากอุจจาระ ซึ่งก่อนมรณภาพหลวงปู่สี ฉันทสิริ ได้ขับถ่ายออกมาเป็นสีผึ้ง
    3. เส้นเกศา-อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    4. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    5. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่ขาว อนาลโย
    6. พระผงอังคารธาตุ หลวงปู่ชา สุภัทโท
    7. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ ชานหมากหลวงปู่สาม อกิญจโน
    8. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    9. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส
    และผงธาตุกายสิทธิ์เช่น
    1. ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช
    2. ผงว่าน ๑o๘
    3. ดินสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน
    4. ใบโพธิ์ ของต้นโพธิ์ตรัสรู้แท้ ๆ จากประเทศอินเดีย
    5. ผงแร่เกาะล้าน แร่เกาะคาม แร่เกาะภูเก็ต แร่เมฆพัด
    6. ผงแร่เหล็กไหลเพลิง
    7. ผงเหล็กไหลตาแรด หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแฝด
    8. ผงธูป ผงพระเก่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    9. ดินกากยายักษ์ที่ใช้ผสมทำพระผงหลวงปู่ทวด
    10. ผงเกสรดอกไม้บูชาพระอาจารย์หลายรูป
    11. ผงพระเก่าหลวงพ่อมงคลบพิตร
    12. ผงพระธาตุพระสิวลี ชนิดสีขาวและสีดำ
    13. ผงสะเก็ดแก้ว พิสดาร
    โดยมีพิธีอธิษฐานจิต-พุทธาภิเษก ถึง 3 ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ภายในโบสถ์มหาอุด วัดอินทราราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๘ ซึ่งตรงกับวันเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา โดยหลวงพ่อแดง นันทิโย และพระภิกษุผู้ทรงอิทธิจิตสูงส่งภายในวัดอินทรารามทั้งยังเป็นผู้สร้างพระสมเด็จ ๙ อรหันต์ ตามสูตรการสร้างพระสมเด็จที่สืบทอดมาจากหลวงปู่ใจวัดเสด็จ และ หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ
    ครั้งที่ ๒ พิธีมหาพุทธาภิเษก ภายในพระวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๘ โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๙ รูป นั่งปรกแผ่เมตตาดังนี้
    1. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    2. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม
    3. หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า
    4. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
    5. หลวงพ่อยะ วัดท่าข้าม จ.นครปฐม
    6. หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    7. หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ.นครปฐม
    8. หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
    9. หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี
    ครั้งที่ ๓ อธิษฐานจิตแผ่พลังโดยพระป่ากรรมฐานในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกจำนวนทั้งหมด ๒๒ รูป ดังนี้
    1. หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร
    2. หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพฯ
    3. หลวงพ่อคำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    4. พระอาจารย์กิ ธัมมุตตโม วัดสนามชัย จ.อุบลราชธานี
    5. พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
    6. พระอาจารย์บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม จ.ขอนแก่น
    7. หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง
    8. หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิตร
    9. พระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
    10. พระโพธินันทมุนี วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    11. พระอาจารย์แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    12. พระครูอุดมสังวรคุณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    13. หลวงพ่อเพิ่ม กิตติวัฒฑโน วัดถ้ำไตรรัตน์ จ.นครราชสีมา
    14. หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือวิปัสสนา จ.กระบี่
    15. พระอาจารย์สมาน ชิตมาโร วัดป่าศรัทธาราม จ.นครราชสีมา
    16. หลวงพ่อเที่ยง ผาสุโก วัดหลวงปรีชากูล จ.ปราจีนบุรี
    17. พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
    18. พระอาจารย์เคล็ม ปิยธโร วัดกระสัง จ.บุรีรัมย์
    19. หลวงพ่อแดง นันทิโย วัดอินทราราม จ.สมุทรสงคราม
    20. พระอาจารย์เฉลียว วรกิจโจ วัดป่าโคกมน จ.เลย
    21. หลวงพ่อสิทธา เชตะวัน
    22. พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ กรุงเทพฯ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จ อรหันต์ กล่องเดิมๆ ให้บูชา 999 บาทครับ
    img_20240108_120649-jpg.jpg img_20240108_120708-jpg.jpg img_20240108_120617-jpg.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343



    พระสมเด็จและพระกริ่งหลวงปู่ทอง
    ให้บูชาคู่กัน 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240108_195205.jpg IMG_20240108_195224.jpg IMG_20240108_195147.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    พระกริ่ง ๙ ยอดวัดสุทัศน์พิธีวันเพ็ญเดือน ๑๒ ปี ๒๕๓๘ ยอดที่ ๑ เนื้อหามวลสารแผ่นจาร ตามสููตรพระกริ่ง พิธีใหญ่
    ให้บูชา 400บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20240109_104226.jpg IMG_20240109_104247.jpg IMG_20240109_104209.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2024
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1704769311072.jpg 1704696423665.jpg 1704696306249.jpg พระผงรูปเหมือนนั่งใบโพธิ์ อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ จัดสร้างโดยท่านเจ้าคุณพระศีลขันธโสภณ เจ้าอาวาสวัดศีลขันธาราม จ.อ่างทอง ซึ่งนำไปเข้าพิธีวันเสาร์ที่ 5 ธ.ค.2513 ณ อุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาสโดยเป็นการอธิษฐานจิตครั้งสุดท้ายของท่านเจ้าคุณนรฯ หลังยันต์จม

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนใบโพธิ์ และพระสมเด็จ สมาคมตำรวจสร้างไม่ทันท่านแต่พิธีใหญ่ ให้บูชาคู่กัน 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240109_110052.jpg IMG_20240109_110114.jpg IMG_20240109_110152.jpg IMG_20240109_110215.jpg IMG_20240109_110130.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    3-wm (1).jpg 4-wm (1).jpg 5-wm.jpg
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของข้อมูลที่มารูปภาพอย่างสูงครับ
    พระปิดตามนต์เสน่ห์ ธุดงสถานน้ำตกกะอาง ปี๒๕๑๙ ลพ.คูณ ปลุกเสก และ คาดว่า พระป่ากรรมฐาน สายลป.มั่นเสก ด้วย เพราะวัดนี้ มีออกเหรียญวัตถุมงคล อ.ฝั้น อ.วัน อ กว่า หลังพระสิวลี ที่ได้รับความนิยม สภาพเดิมๆ แบบนี้ ครับ ที่เห็นทั่วไป จะมีใส่ซอง และ เปลือยๆ
    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240109_122602.jpg IMG_20240109_122546.jpg IMG_20240109_122454.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    Clip_203.jpg

    "หลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ"
    พระครูถาวรวัยวุฒิ (หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ)
    วัดห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
    อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่า เรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตา จึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยม และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซ โดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัด สันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์ เจ้าอาวาส (ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่เก่งกล้ามากได้ปรมัติสูญสตาอรรถพยัญชนะทรงอภิญาชั้นสูง)เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่น อักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์(เป็นศิษย์ครูบาหลวงวัดฝายหิน จบสตาปรมัติรู้ภาษานกกาได้ เจนจบ 9 มัด) พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

    FB_IMG_1704780656193.jpg
    หลัง จากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชา ตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้คนในเรื่องของวิชาพลังจิตที่สูงมากตลอดถึงในวิชาอาคมแขนงต่างๆ ประกอบกับการปฏิบัติสมถะวิปัสสนาธุระควบคู่กันไประหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรี วิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุ เทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกัน เมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋า ได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้ม เขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาส ของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัด โดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไป หลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและ สาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ พัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรือง สาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้าน นอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตา อนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธาน อำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่ง จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ
    พระพุทธรูปยืนวัด ศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิ และผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มี ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า ครูบาสิริ วัดปากกองสารภี(ครูบาผีกลัว)ครูบาแก้ว สันกำแพงครูบาดวงทิพย์ วัดสันคะยอม(เป็นพระที่ครูบาพรหมาจักรนับถือมากๆ) ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลาย ปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด เมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ขึ้น
    สำหรับวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือเป็นที่ ต้องการกันมากทำให้ทำแจกแทบไม่ทัน ยุคต่อๆมาเมื่อท่านชราภาพก็ให้ลูกศิษย์ที่พอมีความรู้เป็นผู้ทำให้โดยใช้ ตำราของท่านแล้วให้หลวงปู่ครูบาอินตาเสกเป่าอีกครั้ง ลักษณะของตระกุดจะมีดอกเดียวที่เรียกกันว่าตระกุโทนโดยใช้ตะกั่วทำ ตะกั่วนั้นได้จากหลังกระจกสีที่ใช้ติดตามห้าบรรณวิหารและตามเจดีย์ในสมัย ก่อนเมื่อชำรุดตกหล่นลงมาท่านจึงได้นำมาทำเป็นตระกุด ต่อมาศิษย์จึงได้ขอนุญาติจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓ และอีกหลายๆรุ่นในเวลาต่อมา ทั้งเหรียญ รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชาขนาดต่างๆ ล็อกเก็ต พระผง วัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่ท่านได้อธิฐานจิตปุกเสกเอาไว้ก็มีอิทธิปาฏิหาริย์จน เป็นที่ลำลือเช่นกันและได้รับความนิยมมาก เหรียญใบโพธิ์ รุ่นสมปรารถนา แซยิด ๙๑ พ.ศ.๒๕๓๘ หนึ่งในเหรียญประสบการณ์ที่โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาดคงกระพัน มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามีเด็กวัยรุ่นถูกคู่อริไล่ยิงและถูกยิงจนเสื้อที่ สวมนั้นขาดเป็นรอยลูกกระสูนรูพรุน แต่ลูกกระสูนไม่ได้ผ่านเข้าผิวแค่เป็นรอยจุดแดงซ้ำเป็นยางบอนเจ็บๆแสบๆเท่า นั้น ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่เข้าไปช่วยเหลือขอดูของดีที่วัยรุ่นคนนั้นพกติดตัว ที่คอของเขามีเพียงเหรียญใบโพธิ์ของครูบาอินตาเพียงเหรียญเดียว ทำให้เหรียญรุ่นดังกล่าวเป็นที่แสวงหากันมาก นี้เป็นเพียงแค่หนึ่งในประสบการณ์ของวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตาที่มี อยู่มากมายหลายต่อหลายครั้ง
    อัฐิธาตุที่แปรเปลี่ยนเป็นผลึกพระธาตุแล้วของหลวงปู่ครูบาอินตา อินทปัญโญ เอกองค์พระอาจารย์ที่ให้ดวงกรรมฐานกับครูบากฤษดา ตั้งแต่เป็นสามเณร ที่ท่านสามารถปราบความคิดที่อยากรู้อยากเห็น ซุกซนโลดเเล่นแก่นแก้วสามารถดักทางความคิดจิตของครูบากฤษดา ได้ทั้งหมดตั้งแต่เป็นสามเณรร่ำเรียนอยู่ในสำนักวัดห้วยไซใต้ ถือว่าเป็นพระอาจารย์องค์แรกครับ และก็มีครูบาชัยวงค์ได้ไปกราบคารวะสนทนาเป็นบางครั้งคราว และมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ครูบากฤษดาเทิดเหนือหัวคือหลวงปู่พิสดู ธัมมจารี เป็นที่สุดครับ


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระรอดครูบาอินตาวัดห้วยไซ
    ให้บูชา
    250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240109_124700.jpg IMG_20240109_124720.jpg IMG_20240109_124618.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วันนี้ จัดส่ง
    1704874220464.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1704885080880.jpg
    1704885458652.jpg
    ประวัติหลวงปู่หล้า อุตฺตโม
    อดีตเจ้าอาวาสวัดวังโพรงเข้
    (คัดลอกมาจากบันทึกของพระจำปี เผยแผ่โดยพระอาจารย์โทน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)
    นามเดิม ชื่อนายหล้า วารนุช เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้นำฝูงควายเดินทางออกจากจังหวัดร้อยเอ็ด มากับนายบุญเพ็ง ที่เป็นหัวหน้าใหญ่ หรือที่เรียกกันภาษาท้องถิ่นว่า นายฮ้อย มุ่งหน้าสู่ภาคกลาง เป้าหมายที่จังหวัดลพบุรี เพื่อนำฝูงควายมาขายยังจังหวัดที่เป็นอู่ข้าวของประเทศ คือจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อยุทธยา เป็นต้น
    เมื่อนำฝูงควายมาถึงดงพยาเย็น อันลือชื่อเรื่องโจรปล้นซึ่งทรัพย์ และก็ถูกโจรดงพยาเย็นปล้นตามธรรมเนียมที่เคยได้ยินได้ฟังมา จากนักเดินทางค้าควายรุ่นก่อน ๆ แม้จะเตรียมพร้อมกันมา อย่างเต็มที่ก็ไม่วายเสียทีให้พวกโจรแย่งเอาควายบางส่วนไปได้ และก็บังเอิญที่ควายส่วนใหญ่ ที่โจรแย่งเอาไปได้ เป็นควายของนายหล้า วารนุช เมื่อนำฝูงควายมาถึงอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ควายของนายหล้าส่วนที่เหลือ ก็ขายหมดพอดี นายหล้าจึงขอแยกทางกับกองคาราวานค้าควายเพื่อหางานทำอยู่ที่อำเภอโคกสำโรง และต่อมานายหล้าก็ได้ภรรยาชื่อ ระพี เป็นคนในหมู่บ้าน ถลุงเหล็ก ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอโคกสำโรง จนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อสำเภา วารนุช หลังจากบุตรได้ไม่นาน นางระพี ภรรยาของท่านก็เสียชีวิต และท่านก็ได้บวชเป็นภิกษุอุทิศกุศล ให้ภรรยาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พอฌาปณกิจศพภรรยาและทำบุญ ๗ วัน ให้ภรรยาเรียบร้อยแล้ว
    ท่านก็เปลี่ยนใจไม่ลาสิกขา อยู่เป็นภิกษุตั้งแต่นั้นมาจนตลอดชีวิต ในปีนั้นหลวงปู่เหล้า อยู่จำพรรษาที่วัดถลุงเหล็ก ปี พ.ศ.๒๔๕๙ ท่านไปจำพรรษาที่วัดวังไต้ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านจำพรรษาที่วัดเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
    ปี พ.ศ.๒๔๖๑-๒๔๖๓ ท่านกลับไปจังหวัดร้อยเอ็ดบ้านเกิด เมื่อไปถึงบ้านปรากฏว่าบิดามารดาญาติพี่น้องของท่านได้ย้ายไปอยู่จังหวัดสุรินทร์ท่านจึงตามไปและจำพรรษาที่จังหวัดสุรินทร์ ๒ ปี และเรียนวิชชาอาคมที่นั้น ปี พ.ศ.๒๔๖๓ จำพรรษาที่จังหวัดศรีสะเกษ เรียนวิชชาอาคมต่อ
    ปีพ.ศ.๒๔๖๔ ท่านกลับมาที่วัดเกาะแก้วและย้ายมาจำพรรษาที่วัดโพรงเข้ ตำบลเกาะแก้ว และย้ายมาจำพรรษาที่วัดวังโพรงเข้ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ท่านประจำอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดวังโพรงเข้ ตั้งแต่ปีนั้น จนตลอดอายุไข ท่านมรณภาพเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๙
    คุณวิเศษของหลวงปู่หล้า อุตฺตโม ความอัศจรรย์ของหลวงปู่หล้า ตามคำเล่าขาน จนเป็นตำนานคู่บ้านวังโพรงเข้ และหมู่บ้านใกล้เคียง เพราะไม่ใช้เป็นการบอกเล่าเพียงคน ๆ เดียว เป็นที่รู้กันทั้งหมู่บ้าน ในคุณวิเศษของหลวงปู่หล้า เรื่องราวของหลวงปู่ถูกกล่าวถึงอยู่เสมอ จึงเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของท่าน สู่คนรุ่นหลังโดยปริยายผู้เขียนจะนำมากล่าวเฉพาะที่คิดว่าสำคัญ และน่าอัศจรรย์จริง ๆ เท่านั้น ที่พอจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในทางไสยศาตร์วิชาอาคมเรื่องราวของหลวงปู่หล้าที่กล่าวถึง ในระยะแรกไม่อาจจะอ้างอิงปี พ.ศ. ได้ เพราะไม่มีใครจดบันทึก เพียงแต่เล่าขานสืบต่อกันมาและเรียงลำดับเรื่องไม่ได้เรื่องไหนเกิดก่อนเกิดหลัง

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่หล้าวัดจรเข้ย้อนยุคปั๊มจากบล็อกเดิมที่เคยทำเหรียญรุ่นแรก 2499 รุ่นนี้มีประสบการณ์ผู้จัดการโรงแรมถูกโจรใต้ยิงพรุนทั้งคันแต่ไม่ได้รับอันตรายใดๆในรถมีแค่เหรียญรุ่นนี้รุ่นเดียว แขวน
    ให้บูชา
    400 บาทค่าจัดส่งด่วน30บาทครับ
    IMG_20240110_163218.jpg IMG_20240110_163236.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    3p.jpg พระผงของขวัญ อุดมสุข รุ่นแรก หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี * ผสมผงเก่า ยอดมวลสาร
    รายละเอียด "พระผงของขวัญ อุดมสุข" เป็นพระของขวัญรุ่นแรกของหลวงพ่ออุตตมะ นับเป็นพระดีที่น่าบูชาติดตัวไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะกรรมวิธีการสร้างพระ รวมทั้งวัตถุดิบที่นำมาสร้างนั้นสุดพิเศษมาก ๆ โดยพระรุ่นนี้นอกจากได้ผสมผงพระยอดขุนพลบุเรงนองรุ่น เก่าที่แตกหักเป็นจำนวนมากแล้ว หลวงพ่ออุตตมะยังได้เมตตาประทานผงว่าน 108 และผงอิทธิเจ (มหาจักรพรรดิ) ที่ท่านลบเอง เขียนเอง เมื่อครั้งสมัยที่ท่านยังเรียนบาลีอยู่ที่ประเทศพม่า มาผสมเป็นกรณีพิเศษด้วย นอกจากนี้ยังมีผงกระเบื้องจากองค์พระปฐมเจดีย์ พระเจดีย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในสุวรรณภูมิ และพระเครื่องเนื้อผงรุ่นเก่าของหลวงพ่ออุตตมะที่ชำรุด นำมาป่นผสมอย่างครบครันอีกด้วย โดยมีคุณบุญส่ง ไหลธนานนท์ เป็นผู้อุปถัมภ์การจัดสร้างด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ยิ่ง
    สำหรับพระพุทธลักษณะของพระผงของขวัญอุดมสุขนั้น ปรากฎเป็นรูปพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามศิลปะอย่างมอญ โดยมีประภามณฑล ประดับพระเศียรอยู่เบื้องหลังอย่างงดงามตามสมควรแก่พ ระผงขนาดเล็ก ที่มีส่วนใกล้เคียงกับพระของขวัญวัดปากน้ำรุ่นแรก ส่วนด้านหลังเป็นอักษรนาม "อุตตมะ" อย่างชัดเจน
    และสิ่งที่นับได้ว่าเป็นคุณสมบัติอันวิเศษของพระชุดนี้อีกประการหนึ่งนอกจากการที่พระทุกองค์ได้รับการกดพิมพ์สร้างสำเร็จเป็นองค์พระ โดยพระภิกษุสามเณรในปริมณฑล วัดพระปฐมเจดีย์แล้ว หลวงพ่ออุตตมะยังได้เมตตาทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกพระทั้งหมดด้วยระยะเวลาอันยาวนานเป็นพิเศษ ถึงราว 2 ปีเต็มอีกด้วย (พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531)
    สำหรับอิทธิปาฏิหาริย์ของพระผงอุดมสุขนั้นมีมากมาย
    พระผงอุดมสุข หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี จัดสร้างปี2529 ผสมมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย ทั้งผงพระยอดขุนพลบุเรงนอง กรุเก่า ผงว่าน 108 ผงอิทธิเจ ที่หลวงพ่ออุตตมะลบเองเขียนเอง ผงกระเบื้องจากองค์พระปฐมเจดีย์ และผงพระรุ่นเก่าของหลวงพ่ออุตตมะที่ชำรุด พระทุกองค์กดพิมพ์โดยพระภิกษุสามเณร วัดพระปฐมเจดีย์ พระผงอุดมสุขนี้หลวงพ่ออุตตมะท่านได้อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ราว 2 ปีเต็ม จึงนับว่าเป็นพระดีบริบูรณ์ ด้วยเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงอุดมสุขหลวงพ่ออุตตมะอธิษฐานจิตปลุกเสก 2 ปีให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240111_184626.jpg IMG_20240111_184602.jpg
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1704975838189.jpg
    "หลวงพ่อสมบูรณ์ รัตนญาโณ"
    พระผู้ยอดเยี่ยมเปรี่ยมไปด้วยความเมตตา สมบูรณ์พร้อมด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พระผู้เชี่ยวชาญชำนาญพระเวทย์แห่งฝั่งธนฯ
    #ประวัติโดยสังเขป
    พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์(สมบูรณ์ รตนญาโณ ป.ธ.๓) ผจล.ชอ./เจ้าคณะ๔
    --------------------------------------------------
    พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ มีนามเดิมว่า สมบูรณ์ นามสกุล บุญมา เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2501 ที่บ้านหนองหว้า ต.หนองไฮ. อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ในชนเผ่า ส่วย
    โยมพ่อ ชื่อ นายเลี้ยง บุญมา.
    โยมแม่ ชื่อ นางฝ้าย วิสาเกษ
    เป็นบุตรชายคนเดียว ของครอบครัว
    ต่อมาได้ศึกษาเล่าเรียนมาตามลำดับ
    ปี 2512 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่ ร.ร.บ้านนาโนน ต่อมาโยมแม่เสียชีวิต ท่านจึงกราบลาโยมพ่อ เพื่อเข้าอุปสมบท ซึ่งหลวงพ่อมีกุศลเจตนาที่จะบรรพชาอุปสมบทมาตั้งแต่ยังเล็ก แต่โยมแม่ไม่อนุญาตให้บวช เมื่อท่านบวชแล้ว ต่อมาโยมพ่อจึงแต่งงานใหม่
    ........เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2521 โดยมี พระอธิการเครื่อง สุภทฺโท วัดสระกำแพงใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมามีสมณศักดิ์เป็น พระมงคลวุฒ
    หลวงปู่สุข โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ
    พระอาจารย์สมชาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ณ พัทธสีมาวัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
    ขอเรียนวิชา แม่น้ำทั้งห้า คือวิชาทำน้ำมนต์ ถอนคุณต่างๆ จากหลวงปู่เครื่อง ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยบวชแล้วก็มาจำพรรษา วัดพงพรต ขอเรียนและศึกษาวิชากับหลวงปู่ใหญ่ลา ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ด้านยันต์ฝนแสนห่าและตะกรุดโทน เด่นในด้านแคล้วคลาดและท่านศึกษาภาษาขอม ภาษาธรรมอีสาน ภาษาไทยน้อย และภาษาลาว ภายใน ๑ พรรษาหลวงพ่อท่านก็สามารถอ่านออกเขียนได้ และได้เล่าเรียนนวกภูมิ มาตามลำดับ จนกระทั่งปี
    พ.ศ.2523 สอบไล่ได้ นักธรรมชั้นเอก
    พ.ศ.2523 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนาโนน
    พ.ศ.2526 หลวงพ่อย้ายมาจำพรรษา ณ วัดหงส์รัตนาราม กทม. เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนก บาลี โดยหลวงพ่อเป็นผู้ทรงจำพระปาฎิโมกข์ ได้แม่นยำ ซึ่งในสมัยนั้นใครจะมาอยู่วัดหงส์ฯ หากพรรษา 1-4 ต้องสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานได้ แต่หาก 5 พรรษาจะเข้ามาอยู่ต้องท่อง หรือทรงจำพระปาฏิโมกข์ได้ จึงจะสามารถมาอยู่วัดหงส์ฯ ได้
    พ.ศ.2528 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระใบฎีกา ฐานานุกรมในพระปริยัติมุนี
    พ.ศ.2530 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค(พระมหาสมบูรณ์)
    พ.ศ.2543 ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
    พ.ศ.2549 ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
    พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (ผจล.ชท.)
    ในราชทินนามที่ "พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์."
    ปี 2559 เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    @.....เมื่อหลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงส์รัตนารามแล้ว ก็ได้เห็นคัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย ต่างๆของวัด ประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งภายในวัดไม่มีผู้อ่านและแปลได้เลย ท่านก็นำมาแปล นำมารวบรวมเรียบเรียงและตีพิมพ์แจกในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระเทพรัตนโมลี(ชูศักดิ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์ฯ บ้าง และเก็บรักษาเอาไว้บ้าง เพราะท่านมีความประสงค์ที่จะเผยแผ่ธรรม ซึ่งใครจะมายกครูขอเรียนขอศึกษาท่านก็มิเคยหวงแต่ประการใด และได้บำเพ็ญสมณธรรมเรื่อยมา ซึ่งหลวงพ่อสมบูรณ์ ก็อยู่ใกล้ชิดถวายการรับใช้หลวงพ่อพระเทพรัตนโมลี อดีตเจ้าอาวาสที่มรณภาพไปเรื่อยมา ซึ่งก็มีหลากหลายวิชาที่ท่านได้ศึกษามา เช่น
    วิชาฝนแสนห่า ตระกรุดโทนและวิชาลงตะกรุดต่างๆ ซึ่งหลวงพ่อไปขอเรียนโดยตรงจากหลวงปู่ใหญ่ลา วัดพงพรต จ.ศรีสะเกษ
    วิชาพระเจ้า 16 พระองค์ และ นะโมตาบอด ได้ขอกับหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ เมื่อครั้งเดินทางไปขออนุญาตสร้างเหรียญหยดน้ำปี 2543 ซึ่งหลวงปู่หมุน ก็เคยมาจำพรรษาที่วัดหงส์รัตนารามด้วย และ เรียนวิชาหมากินความคิด เด่นในด้านเมตตามหาเสน่ห์ จากอาจารย์ตรึม ในประเทศเขมร และโยมทองสมุทร เป็นต้น ซึ่งมีครูบาอาจารย์อีกหลายท่านด้วยกัน และยังสืบทอดโลกุตรธรรม ๑๙ สายสำเร็จลุนหรือสมเด็จลุน สปป.ลาว ซึ่งไปพบเจอในคัมภีร์ใบลานที่สามเณรวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) นำมาให้แปล ต่อมาหลวงพ่อก็ได้ทำตะกรุดหนุนดวง โดยใช้หลักโหราศาสตร์ ซึ่งท่านได้ศึกษามา ว่ากันว่าเป็นการเสริมดวงเสริมบารมี โดยใช้วันเดือนปีเกิดของแต่ละท่านทำจนมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในและต่างประเทศ โดยทุกปีหลวงพ่อ จะมีพิธียกครูพระอานนท์ ซึ่งถือว่าเป็นครูเพราะท่านทรงจำพระธรรมวินัยจากพระพุทธองค์ไว้มาก โดยหลวงพ่อใช้ คาถาโลกุตรธรรม
    ...@ ซึ่งหลวงพ่อพระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ หรือคนทั่วไปเรียกสั้นๆตามชื่อท่านว่า หลวงพ่อสมบูรณ์ นอกจากจะศึกษาพระธรรมวินัยมาตามลำดับแล้วก็ยังศึกษาเรื่องของคาถาอาคมมาด้วย ซึ่งทุกปี หลวงพ่อท่านก็จะสอนนักธรรม ให้แก่พระนวกะอีกด้วย
    บทโคลงพจนมาลัย ถวายแด่ “พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์”
    (สมบูรณ์ รตนญาโณ, บุญมา ป.ธ.๓)
    -----------------------------------------
    พระคือผู้พิสุทธิ์แผ้ว จรณะ
    ศีลสมาธิปัญญาพระ ประพฤติแท้
    อยู่ง่ายสุขสงบสมถะ ละกิเลส
    สงเคราะห์หมู่สาธุชนแล้ กิจถ้วนแห่งสงฆ์
    พระคือองค์ธรรมกถึกทั้ง ประกาศธรรม
    จาริกภิกขาจารนำ สว่างแผ้ว
    ชี้ทางละอกุศลกรรม อกุศลจิต
    ที่พึ่งใจหนึ่งแล้ว ประหนึ่ง แก้วกลางกรุง
    คือหนึ่งพระมุ่งสร้าง บารมี
    คือหนึ่งมหาเถระดี จรณะล้ำ
    ครบ “หกสิบเอ็ดปี” อายุวัฒน์ แล้วเอย
    สิริวัฒนมงคลค้ำ ปกคุ้มพระเดชพระคุณ
    พระคุณพระเดชได้ ครองสงฆ์
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสองค์ หนึ่งรู้
    อารามแห่ง “วัดหงส์ รัตนารามราช วรวิหาร” เอย
    คือ “พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์” ผู้ ประจักษ์สิ้นศีลหอม
    พระ ผู้เพียรประพฤติพร้อม งดงาม
    ครู พระขมังเวทย์ นาม กระเดื่องด้าว
    ไพบูลย์ สืบพุทธศาสน์ตาม พุทธบาท
    รัตนาภรณ์ ผ่องอะคร้าว อนรรฆล้ำคุณหนา
    สมบูรณ์ พูนค่าล้น จริยวัตร
    รตนญาโณ ชัด จรัสแผ้ว
    บุญมา เพราะบุญปริยัติ ปฏิบัติ
    ท่าน “พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์” แก้ว ประดับแล้ววงศ์สงฆ์ ฯ
    --------------------------------------------------
    น้อมประพันธ์ถวาย โดย...(สาคร ชิตังกรณ์)
    ตรวจทานประวัติโดย : พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์
    แชร์ไปให้บารมีหลวงพ่อคุ้มครอง
    อายุ 61 ปี 41 พรรษา ที่ผ่านมา ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา มาโดยตลอด ยึดมั่นในแนวทางการปฏิบัติ ปริยัติ สมถะ แม้จะจำพรรษาในอาราม เมืองหลวงใหญ่ หลวงพ่อก็เป็นเฉกเช่นพระสมถะ ธรรมดา ยังคงสอนคำสอนตามแนวทางพระศาสนา ให้กำลังใจ เป็นหลักชัยยึดเหนี่ยวของบรรดาศานุศิษย์ตลอดมา
    สอน เสก สร้าง
    สอน=สอนธรรมะ สอนการใช้ชีวิต สอนปริยัติ สอนปฏิบัติ
    เสก= เสกกำลังใจ เสกสรรค์งานเพื่อพระศาสนา
    สร้าง=สร้างคน สร้างการศึกษา สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่
    FB_IMG_1704975602989.jpg
    หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ
    ผู้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุหนุนดวง
    ขอเรียนเชิญ พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญ เป็นเจ้าภาพกองบุญ วัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินการก่อสร้าง เจดีย์พุทธาคมรตนญาณมุนีศรีนครลำดวน ( พระธาตุหนุนดวง )
    จัดสร้าง ณ วัดนาโนน ต.หนองไฮ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
    รายการร่วมทำบุญ
    1.เจ้าภาพปูนซีเมนต์ กระสอบละ 110 บาท
    2.เจ้าภาพทราย คิวละ 380 บาท
    3.เจ้าภาพหิน คิวละ 830 บาท
    4.เจ้าภาพเหล็กเส้น ตามกำลังศรัทธา
    5.เจ้าภาพเสาเข็มฐานเจดีย์ ชั้น 1 เสาละ 10,000 บาท
    6.เจ้าภาพเสาเข็มเจดีย์ ชั้น 2 เสาละ 20,000 บาท
    7.เจ้าภาพเสาเข็มเจดีย์ ชั้น 3 เสาละ 30,000 บาท
    8.เจ้าภาพเสาเข็มเจดีย์ ชั้น 4 เสาละ 40,000 บาท
    สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
    วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร คณะ ๔
    บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    ทำบุญตามกำลังศรัทธา ได้ที่
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาโพธิ์สามต้น
    เลขบัญชี 047-1-72847-0
    ชื่อบัญชี พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ เพื่อสมทบสร้างเจดีย์พุทธาคมฯ
    ขออนุญาติท่านเจ้าของลิขสิทธิ์และไฟล์ภาพทุกๆภาพครับ เพื่อการเผยแผ่กิตติคุณบารมีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    สร้างในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ โดยมีพิธีที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ผู้จัดสร้างคือ พระมหาสมบูรณ์ รตนญาโณ ปธ.๓ (ปัจจุบันคือ พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม กทม.และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย และมีหลวงปู่คำพันธุ์ โฆษปญฺโญ วัดพระธาตุมหาชัย อ.นาแก จ.นครพนม เป็นองค์ดับเทียนชัย และมีเกจินั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิเช่น หลวงพ่อเปิ่น วัดท่าพระ หลวงพ่อหยอด หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง เป็นต้น และนอกจากนี้ยังได้นำไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ ปีเดียวกันนี้ ๒๕๓๖ ด้วย
    พระผงหลวงพ่อแสน วัดหงส์ ธนบุรี รุ่นแรก เนื้อผงใบลาน พิธีมหาพุทธาภิเศกพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ปีพ.ศ.๒๕๓๖ ปลุกเสกโดยพระเกจิคณาจารย์อาทิ
    ๑. สมด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    ๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์
    ๓. สมเด็จพระมหาธีราจารย์
    ๔. พระเทพศีลวิสุทธิ์
    ๕. พระหลวงพ่อแพ
    ๖. หลวงพ่ออุตตมะ
    ๗. หลวงตาจันทร์
    ๘. หลวงปู่คำพัน
    ๙. หลวงพ่อเปิ่น
    ๑๐. หลวงพ่อหยอด
    ๑๑. หลวงพ่อพุฒ
    ๑๒. หลวงพ่อยิด
    ๑๓. หลวงพ่อตี๋
    ๑๔. หลวงพ่อสำราญ
    ๑๕. หลวงพ่อเชิญ
    ๑๖. หลวงพ่อเกตุ
    ๑๗. หลวงพ่อเมี้ยน
    ๑๘. หลวงพ่อจวน
    ๑๙. หลวงพ่อช้วน
    ๒๐. หลวงพ่อหลิว
    ๒๑. หลวงพ่อเจ๊ก
    ๒๒. หลวงพ่อคูณ
    ๒๓. หลวงพ่อมี
    ๒๔. หลวงพ่อผัน
    ๒๕. หลวงพ่อแคล้ว
    ๒๖. หลวงพ่อเก๋
    ๒๗. หลวงพ่อเทียง
    ๒๘. หลวงพ่อป่วน
    ๒๙. หลวงพ่อแช่ม
    ๓๐. หลวงพ่อทิม
    ๓๑. หลวงพ่อทวี
    ๓๒. ครูบาสร้อย
    ๓๓. หลวงปู่บุดดา
    ๓๔. หลวงพ่อสมาน
    ๓๕. หลวงพ่อโสม
    ๓๖. หลวงพ่อชม
    ๓๗. หลวงพ่อธวัช
    ๓๘. หลวงพ่อถาวร
    ๓๙. หลวงพ่อบุญมา
    ๔๐. หลวงพ่อชูศักดิ์
    ๔๑. หลวงพ่อแฉล้ม, ฯลฯ
    พุทธคุณเด่นเมตตามหานิยม ปกป้องคุ้มภัย นำมาซึ่งโชคลาภ ค้าขายร่ำรวย พระดีพิธีใหญ่ หายาก น่าสะสมบูชา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    สายตรงในกลุ่มหลวงพ่อ ให้บูชาองค์ละ๑,๐๐๐บาทเลยนะครับ รุ่นนี้
    พระผงหลวงพ่อแสนวัดหงษ์รัตนารามรุ่น 1 ให้บูชาคู่กัน 2 องค์ 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    ชุดที่๑ (ปิดรายการ)
    IMG_20240111_190733.jpg IMG_20240111_190710.jpg
    ชุดที่ ๒
    (ปิดรายการ)
    IMG_20240111_194132.jpg IMG_20240111_194151.jpg

    ชุดที่ ๓
    (ปิดรายการ)
    IMG_20240111_190733.jpg IMG_20240111_190710.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2024
  14. ทองทวี

    ทองทวี “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +1,774
    จองชุดที่1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2024
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    paragraph__11_460.jpg ___5_506.jpg ___paragraphparagraphparagraph_oe__31__26_39_127.jpg ___6_311.jpg ___7_159.jpg ___paragraphaeparagraph_10_972.jpg ___paragraphaeparagraph_146_269.jpg ___paragraphaeparagraph_5_291.jpg ___paragraphaeparagraph_4_134.jpg ___paragraphaeparagraph_11_309.jpg 1342358-50a4e.jpg

    เหรียญสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ฟื้นวัดสามพระยา รุ่นสุดท้าย ให้บูชาเหรียญละ 120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับมี 2 เหรียญ
    เหรียญที่๑
    IMG_20240111_202017.jpg IMG_20240111_201921.jpg

    เหรียญที่ ๒(ปิดรายการ)

    IMG_20240111_202034.jpg IMG_20240111_201812.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2024
  16. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +1,193
    จองชุดที่ 3 ครับ
     
  17. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,982
    ค่าพลัง:
    +6,889
    ขอจองชุดที่ 2 ครับ
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    พระครูธรรมโกศล-หลวงปู่เผือก-วัดสาลีโข.jpg get_auc1_img (13).jpeg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญ (หลวงพ่อสาลีโข)
    หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญ (หลวงพ่อสาลีโข)
    วัดสาลีโขภิตาราม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

    หลวงพ่อสมภพ มีความเคารพศรัทธาในหลวงปู่เผือกมาก จึงได้สร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๐ นับเป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อสมภพมาก ทำให้มีลูกศิษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ
    ต่อมา หลวงพ่อได้สร้าง "พุทธอุทยานธรรมโกศล" ขึ้น ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เมื่อประมาณ ๒๕ ปีก่อน ทุกวันนี้มีถนนสายปทุมธานี-บางเลน ตัดผ่าน ตรงหลักกม.๑๙ จากตัวเมืองปทุมธานี
    ขณะนี้ หลวงพ่อสมภพ ได้ละสังขารมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน สิริรวมอายุ ๖๙ ปี
    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=967
    บทความลงวันที่: 14/1/2013

    หนึ่งในบทความที่กล่าวถึง หลวงพ่อสาลีโข (ยกมาเพียงบางส่วน)
    หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญ (หลวงพ่อสาลีโข)
    ฉันให้ของที่ดีกับพวกเธอ ขอให้พวกเธอได้นำภาชนะชั้นดีมารองรับไว้ ภาชนะที่ว่านั้นคือ ศีล.....
    หลวงพ่อสมภพ เตชะปุญโญ หรือหลวงพ่อสาลีโข แห่งพุทธอุทยานธรรมโกศล จังหวัดปทุมธานี ท่านเป็นพระคณาจารย์องค์หนึ่งของเมืองไทย ที่มีคนเคารพกราบไหว้และนับถือในเรื่องของวิชาอาคมอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีคตินิยมในแนวทางนี้
    ครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อสมภพมีหลายองค์ องค์ที่เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาอาคมให้หลวงพ่อ คือปฐมสมภารวัดสาลีโข นามว่า”หลวงปู่เผือก ธัมมะโกศล” หลวงปู่เผือก เป็นพระในสมัยกรุงศรีอยุธยายังคงเป็นเมืองหลวงของไทย
    หลวงปู่ท่านได้รับความเชื่อถือว่ามีความเชี่ยวชาญด้านกรรมฐานตลอดจนมีวิชาอาคมแก่กล้า โดยท่านได้ศึกษามาจากสำนักวัดป่าแก้ว
    องค์ต่อมาคือ”หลวงพ่อจำปา นารโท” อดีตเจ้าอาวาสวัดสาลีโข หลวงพ่อจำปาท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท หลวงปู่ศุข ท่านเป็นพระในยุครัตนโกสินทร์ ในสมัยท่านยังมีชีวิต สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นแหล่งฝึกวิทยายุทธชั้นดีของเมืองไทยทีเดียว
    หลวงพ่อจำปาได้สืบทอดวิชาสายวัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยได้เปิดการสักยันต์ขึ้นที่วัดสาลีโข ด้วยวิชาอาคมที่ขลังและเห็นผลประจักษ์ ทำให้วัยรุ่นในสมัยนั้นแห่มาเป็นลูกศิษย์เพื่อรับการสักยันต์จากท่านเป็น จำนวนมากพอสมควร
    จนกระทั่งทางการได้เพ่งเล็งว่าคนที่มีรอยสักมักเป็นคนที่ชอบเกเรและไม่ใช่คนดี จึงได้เข้าปราบปรามและเข้มงวดกับพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นอาจารย์สัก หลวงพ่อจำปาจึงได้ลงเรือและหลบเข้าไปจำพรรษาอยู่ในทุ่งในสวน และเลิกสักในเวลาต่อมา
    ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลวงพ่อสมภพ เตชะปุญโญ ท่านจะเชี่ยวชาญอักขระและคาถาอาคม จากทั้งสายวัดป่าแก้วและวัดปากคลองมะขามเฒ่า..
    ซึ่งหลวงพ่อมักจะเล่าให้พวกเราฟังเสมอๆว่า ท่านเป็นพระที่โชคดีจริงๆ ที่ได้เกิดมาเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เผือกและหลวงพ่อจำปา ปัจจุบันทั้งหลวงปู่เผือกและหลวงพ่อจำปา ท่านได้มรณะภาพล่วงหน้าหลวงพ่อสมภพ ไปนานแล้วครับ...
    ในสมัยที่หลวงพ่อสมภพท่านยังมีชีวิตอยู่ มักจะมีผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวท่านเดินทางไปกราบนมัสการท่านเพื่อความเป็น สิริมงคลอยู่เสมอๆ แต่เนื่องจากหลวงพ่อท่านมีสุขภาพไม่แข็งแรง อุปนิสัยไม่ชอบให้ใครรบกวนและชอบที่จะอยู่อย่างสงบๆในสมณะเพศ
    หลายคนจึงอาจผิดหวังในยามที่ไปแล้วไม่ได้กราบนมัสการท่านหรือไปแล้วเจอท่านแต่ ไม่ได้รับวัตถุมงคลจากมือของท่าน เรื่องนี้มีที่มาที่ไปและความหมายครับ หลวงพ่อเคยบอกผมว่า
    หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญ (หลวงพ่อสาลีโข)“การที่ท่านจะให้ของขลังแก่ใครหรือจะทำสิ่งใดให้ใคร ท่านจะต้องดูความเหมาะสมหรือดูฤกษ์ยามในการให้ที่ดี...”
    ลักษณะอุปนิสัยนี้มีอยู่ในตัวท่านจนถึงวันที่ท่านมรณภาพ....
    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/sitthi/2008/11/28/entry-1
    บทความลงวันที่: 14/1/2013
    ประวัติหลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม นนทบุรี
    ท่านเกิด ปี 2299 มรณภาพปี 2405 พระเถระห้าแผ่นดินเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็น พระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรม อยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควร พร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆ อีกนานาประการ วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร และลูกศิษย์ลูกหามากมาย กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้น มีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลัง บ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณ จึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399
    ในด้านวัตถุมงคลทั้งหมดจัดสร้างโดยหลวงพ่อสมภพ วัดสาลีโข ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ โดยการประทับร่างทรงหลวงปู่เผือกปลุกเสก(เหมือนพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้) โดยเหรียญรุ่นแรกปลุกเสกอยู่ 3 ปี และนำออกแจก ปี 2510 (ปัจจุบันราคาหลักหมื่นกว่าๆ) เหรียญนี้สร้างประสบการณ์มากมายทั้ง มหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เป็นเหรียญดังของจังหวัดนนทบุรี
    โดยหลวงพ่อสมภพเล่าว่า คาถานี้ใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆมาโดยตลอด และพิธีก็เหมือนกันไปแต่ละรุ่น ยันต์จะคล้ายๆกันไป และท่านก็บอกว่า ” วัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกดีทุกรุ่นเก็บไว้เถอะ ”
    หลวงปู่เผือก วัดสาลีโข จังหวัดนนทบุรี และวัตถุ มงคลต่างๆ หลวงปู่เผือก (พระครูธรรมโกศล) วัดสาลีโขภิตาราม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นชาวเมืองพระนครศรีอยุธยา มิได้ปรากฏหลักฐานว่าบิดามารดาของท่านมีชื่อเสียง เรียงนามว่ากระไร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลไหน ทราบแต่ว่า ตอนที่ หลวงปู่เกิดท่านเป็นเด็กผิวขาวจัดจนผิดปกติกว่าเด็กทั่วไป บิดามารดาจึงตั้งชื่อตามนิมิตว่า "เผือก"เพื่อให้ตรงกับผิวพรรณของท่าน
    พออายุ ๑๓ ขวบ เด็กชายเผือก ได้บรรพชาเป็น สามเณร ณ วัดใกล้บ้าน เริ่มศึกษา อักขรสมัยในสำนักวัดนั้นจนแตกฉานพอสมควร ก็สนใจศึกษาคาถา เวทมนตร์ต่างๆ ต่อมาได้เข้ามาศึกษาในสำนักวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อ ที่สุดในยุคนั้น ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้ๆ บ้านเกิด ได้ศึกษาอักขระสมัยและเวทมนต์คาถา ตามประเพณีนิยมจนแตกฉาน จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อที่ วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักพุทธาคมและไสยศาสตร์อันขึ้นชื่อของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสำนักวัดป่าแก้วนี้ก็เป็นที่พำนักของสมเด็จพระพนรัต ผู้เป็นพระอาจารย์ใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสำนักนี้เป็นสำนักที่รวบรวมสรรพวิชาทางพทธาคมและไสยศาสตร์เอาไว้มากมายหลายแขนงวิชาแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าตำราเหล่านี้ได้มีการพลัดกระจายไปหลายแห่งเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310
    มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็นพระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรมอยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควรพร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆอีกนานาประการ ชอบออกปฏิบัติธุดงควัตรเป็นนิจมิได้ขาด
    เมื่อมีอายุครบ 20 ปี หลวงปู่เผือกก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดป่าแก้ว นั้นเองและได้ศึกษาทั้งวิปัสสนากรรมฐานกับวิทยาคมมาโดยตลอดเมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็จะออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเป็นประจำทุกปี แม้วัยของหลวงปู่เผือกตอนนั้นจะยังหนุ่มๆอยู่แต่ก็มีความศักด์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแล้วเหมือนกันต่อมาเมื่อครั้งที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาและก่อนที่กรุงจะแตกนั้น ได้เกิดอาเพศขึ้นหลายอย่างอันเป็นลางบอกเหตุร้ายของแผ่นดิน โดยเฉพาะที่วัดป่าแก้วได้ปรากฏมีอีกาตัวหนึ่งบินมาปะทะยอดนพศูลพระเจดีย์องค์ใหญ่ภายในวัด แล้วถูกเหล็กแหลมบนยอดนพศูลเสียบตายอยู่บนยอดนั้นหลวงปู่เผือกเห็นเป็นนิมิตร้ายจึงซักชวนลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่นับถือศรัทธาอพยพหนีภัยข้าศึกลงมาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นได้มีลูกศิษย์และชาวบ้านอพยพมากับหลวงปู่เผือกหลายสิบครอบครัว ระหว่างทางก็ยังมีชาวบ้านร่วมอพยพสมทบอีกก็หลายครอบครัว เนื่องจากชาวบ้านร่วมเดินทางมาเป็นจำนวนมาก และต้องคอยหลบหลีกกองทัพพม่าระหว่างทางด้วยหลวงปู่เผือกจึงได้สร้างเครื่องรางของขลังตลอดจนลงอักขระบนผิดหนังให้แก่ชาวบ้านเหล่านั้น เพื่อเป็นสิ่งบำรุงขวัญกำลังใจและคุ้มครอบป้องกันอันตรายและได้ปลุกเสกใบไม้ให้นำไปติดหรือเหน็บไว้ตามเกวียนและข้าวของต่างๆ ในขบวนอพยพ เพื่อเป็นเครื่องกำบังตาจากทหารพม่า ระหว่างทางหากว่าชาวบ้านในขบวนอพยพเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงปู่เผือกก็จะเสกน้ำมนต์ให้ดื่มและใช้คาถาอาคมรักษา
    ขบวนอพยพที่มีหลวงปู่เผือก ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระอาจารย์หนุ่มเป็นผู้นำได้เดินทางโดยยึดเอาฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักระหว่างทางได้สวนกับกองทัพพม่าเป็นบางครั้ง แต่ทหารพม่ากลับมองเห็นขบวนอพยพเป็นดงไม้ขนาดใหญ่จึงไม่สนใจ ขบวนอพยพจึงเดินทางลงใต้มาเรื่อยๆ จนถึงทุ่งสามโคก เมืองปทุมธานี ก็พอดีมีขบวนชาวบ้านที่อพยพมาที่หลังได้ตามมาทันที่นี้พอดี และบอกว่าตอนนี้กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่ทหารพม่าแล้ว หลวงปู่เผือก จึงเร่งขบวนอพยพให้รีบเดินทางลงใต้ โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองธนบุรี แต่พอมาถึงบริเวณ บางพลับ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในปัจจุบัน ก็ได้พบชาวบ้านจากเมืองธนบุรีอพยพสวนทางขึ้นมา แล้วแจ้งข่าวว่าเมืองธนบุรีก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วและจะพากันขึ้นไปพึ่งกรุงศรีอยุธยาหลวงปู่เผือกจึงบอกว่ากรุงศรีอยุธยาก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วเหมือนกันขบวนชาวบ้านที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาและจากเมืองธนบุรีจึงต้องชะงักอยู่ที่ตรงนั้นซึ่งนับแล้วก็มีเป็นพันๆ คน บังเอิญหลวงปู่เผือก นึกขึ้นมาได้ว่าที่ตรงแนวโค้งเบื้องหน้าแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับเกาะเกร็ด มีทุ่งนาข้าวสาลีขึ้นเต็ม เจ้าของที่นาเป็นผู้หญิงสองคนพีน้องชื่อ บุญมี กับ บุญมา ได้เคยถวายที่ตรงนี้แก่หลวงปู่เผือกเมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาที่ตรงนี้และครั้งนั้นหลวงปู่เผือกก็ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์ได้พำนักและจำพรรษาที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นด้วย
    เมื่อนึกขึ้นได้หลวงปู่เผือกก็นำชาวบ้านในขบวนอพยพเหล่านั้นมาพักหลบซ่อนตัวจากทหารพม่าที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นและได้ประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยและบวงสรวงเทพยดาที่สำนักสงฆ์ เพื่อขอความเป็นสิริมงคล และปราศจากภัยอันตรายต่างๆทั้งปวงหลวงปู่เผือกและชาวบ้านจึงพำนักที่ทุ่งข้าวสาลีนั้นมาตลอดระหว่างที่บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวการณ์ของสงคราม ต่อมาเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของบ้านเมืองแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ขึ้นครอบราชย์ และปราบชุมนุมต่างๆ จนราบคาบจนบ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ปกติสุขหลวงปู่เผือกจึงให้สร้างวัดขึ้นที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นขึ้น และตั้งชื่อวัดว่า วัดสาลีโขโดยถือเอาสถานที่ตั้งของวัดเป็นนิมิตหมายมงคลซึ่งหมายถึง วัดที่มีข้าวสาลีขึ้นเต็มท้องทุ่งส่วนชาวบ้านที่อพยพมาหลบภัยกับหลวงปู่เผือกนับเป็นพันๆ คนนั้น เมื่อเห็นว่าบ้านเมืองกลับเข้าสู่ปกติดีแล้ว ต่างก็พากันกราบลาหลวงปู่เผือกกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม
    แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นต่อไป
    ครั้งเมื่อเข้าสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นมีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลังบ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม หรือสักยันต์บนลำตัวให้ ส่วนกิจการทางพระศาสนาหลวงปู่เผือกก็ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณจึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399 และมอบตราประจำตัวหลวงปู่เผือก คือตราสัญจกร ตำแหน่งของหลวงปู่เผือก ทำหน้าที่เป็น สังฆปาโมกข์ คือเป็นพระครูหัวหน้าสงฆ์ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่เผือกมีอายุเกือบๆ จะหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่ร่างกายของท่านยังแข็งแรงและคล่องแคล่วดีอยู่
    ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมอบหมายให้หลวงปู่เผือกเป็น สังฆปาโมกข์สระบุรีและเป็นแม่งานคุมงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีเป็นประจำทุกปี
    พร้อมก็ได้ทรงถวายเรือหลวงและฝีพายพร้อมสำหรับหลวงปู่เผือกออกตรวจการคณะสงฆ์ในแต่ละครั้งหลวงปู่เผือกได้ปฏิบัติสาสนกิจอย่างขันแข็งมาโดยตลอดเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านกันกว้างขวางหลายหัวเมือง จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยโรคชราขณะมีอายุได้ 106 ปี
    แม้ว่าหลวงปู่เผือกจะได้มรณภาพไปนานร้อยกว่าปีแล้วแต่บารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังคงปกป้อมคุ้มกรองลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่ศรัทธามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
    วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร
    และลูกศิษย์ลูกหามากมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง สนพระทัยในวัดสาลีโขมากถึงกับทรงปรารภกับหลวงปู่ว่าอยากจะเปลี่ยนนาม ของวัดนี้เสียใหม่ให้มีความหมายในทางธรรมให้ตรงกับปฏิปทาของท่าน พระครูธรรมโกศลที่สุด โดยรักษาเสียงของนามเดิมไว้ ถึงกับทรงมีพระราชดำริ ให้ใช้ชื่อว่า "วัดสัลเลโข"ทหมายถึงวัดที่ปฏิบัติเพื่อการ "ขัดเกลา" หรือ "กล่อมเกลากิเลสทั้งปวง" แต่ได้ทราบว่าหลวงปู่ท่านกราบทูลแย้งว่า "ของเก่าเขาดีแล้ว" เรื่องนี้ก็จึง เป็นอันพับไปคงใช้เป็นชื่อวัดสาลีโขสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
    สำหรับ เหรียญหลวงปู่เผือก ที่ปรากฏ ภาพให้ศึกษานั้น เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่จัดสร้างขึ้นโดย หลวงพ่อสมภพเตชปุญโญ พระลูกวัดสาลีโข ด้วยประสบการณ์ อันมากมาย ทำให้เหรียญนี้โด่งดังมาก นักสะสมเหรียญรุ่นเก่าๆจะรู้จักกันดี และเช่าหากันในราคาแพง หลวงพ่อสาลีโข ชื่อแท้ท่านคือ หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญอดีตพระลูกวัดสาลีโขภิตาราม ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ ซึ่งทรงอานุภาพดวงหนึ่ง เปลี่ยนชะตาชีวิต หน้ามือเป็นหลังมือในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ ของปี พ.ศ.2502 ขณะที่ ท่านบวชได้เพียงพรรษาเดียว
    ดวงวิญญาณที่ไร้รูปแต่เต็มปรี่ด้วยทิพยอำนาจอันยากหยั่งถึงได้พร่ำสอนถ่ายทอดความรู้นานาให้พระสมภพโดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย นับแต่เรื่องเล็กน้อย เช่นคาถาอาคมจนถึงเรื่องใจ คือ สมาธิ
    น้อย เช่นคาถาอาคมจนถึงเรื่องใจ คือ สมาธิ และยังบรรจุพระเวทย์สารพัดประดามีให้พระสมภพหมดสิ้นกระทั่งพาพระหนุ่มผู้อ่อนโลกออกธุดงค์ในป่าลึกเพื่อฝึกฝนจิตตานุภาพ เพื่อทบทวนวิชาที่ให้ไป และเพื่อทดสอบอำนาจจิตอภิญญาของพระสมภพ ก้อเก่งกล้าสามารถผ่านทุกขั้นตอน จากไปหลายปี กลับมาอีกทีก็มิใช่พระสมภพองค์เดิม หากเป็นพระอาจารย์สมภพที่เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่ง “คุรุ”ทางไสยเวทย์ความแตกฉาน และอภินิหารของพระอาจารย์สมภพ เป็นสิ่งที่ผู้ไปพบจะทราบดีหาคนเก่งอย่างนี้ได้ยากนัก ราวปี พ.ศ.2515 หนังสือพิมพ์ “บางกอกไทม” ลงข่าวหน้าหนึ่งครึกโครมว่า สตรีนางหนึ่งนาม น.ส. แป๋ว มีอาการเจ็บป่วยอย่างหนักหาสาเหตุไม่ได้ครั้นญาติมั่นใจว่าเห็นทีจะถูกคุณไสยเข้า ก็หอบหิ้วกันมาพบพระอาจารย์ ท่านเริ่มรักษาตามกระบวนการที่หลวงปู่เผือกสั่งสอนมา ผู้ป่วยก็เกิดขยอกขย้อนจะอาเจียน เมื่อนำกระโถนใบใหญ่วางลงตรงหน้า น.ส.แป๋ว ก็อาเจียนโอ้กใหญ่ กลิ่นคาวปนเน่าคละคลุ้งในภาชนะนั้นไม่เพียงมีของเหลวสีคล้ำช้ำเลือดช้ำหนอง หากปรากฎซากงูเน่า
    จนเห็นกระดูกโพลนทั้งตัวนอนอยู่ก้นกระโถนอย่างน่าตกตะลึง ท่านพระอาจารย์อธิบายว่า มีบางคนประสงค์ให้ น.ส.แป๋ว ตายอย่างทรมานจึงใช้เดรัจฉานวิชาชั้นสูงปล่อยงูเป็นๆ เข้าท้อง หากแก้ไม่ตกย่อมถึงตาย นี่งูก็เน่าจวนหมดตัวแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ในท้องอีกไม่นาน น.ส.แป๋ว ไม่รอดสมใจฝ่ายตรงข้ามแน่นอน ข่าวนี้เป็นดุจเชื้ออย่างดีที่โหมศรัทธามหาชนให้ลุกโชน คนนับพันนับหมื่นหลั่งไหลไปวัดสาลีโข เพื่อพึ่งใบบุญแห่งหลวงปู่เผือกและพระอาจารย์สมภพผู้เป็นตัวแทน ทุกคนได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์อย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ และทุกคนร่ำร้องหาความสงเคราะห์จากหลวงปู่เผือก ดวงวิญญาณอมตะของท่านก็ยังแผ่บารมีครอบคลุมทั่วถึงอย่างไม่เลือกรักเลือกชังบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ไปหาหลวงพ่อสมภพ บางคนไม่รู้จักชื่อของหลวงพ่อ เห็นว่าอยู่วัดสาลีโข ก็เลยเรียกท่านว่า หลวงพ่อวัดสาลีโข หรือ หลวงพ่อสาลีโข หลวงพ่อสมภพ ได้เล่าถึงความเป็นมาของเหรียญหลวงปู่เผือก รุ่นแรกนี้ว่า สร้างขึ้นมาจากนิมิตที่ได้พบเห็นในสมาธิ โดยการประทับรางทรงหลวงปู่เผือกปลุกเสก (เหมือนกับ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ผู้สร้างพระหลวงพ่อทวด) ซึ่งคาถาและอักขระเลขยันต์ต่างๆ หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญมีแต่นั่งสมาธิทางจิตรเท่านั้น ที่สามารถติดต่อกับหลวงปู่เผือกได้ บอกวิธีการลงอักขระเลขยันต์ หลวงปู่เผือกนั่งบนหลังสิงห์ด้านหน้าและด้านหลังลงบนเหรียญ รุ่นแรก ในปี 2507 คาถานี้ก็ใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ต่อมาโดยตลอด และพิธีก็เหมือนกันไปแล้วแต่รุ่น ยันต์คล้ายๆ กันท่านบอกว่าวัตถุมงคลของ ลป.เผือก ดีทุกรุ่น เก็บไว้เถอะ (ท่านก็เล่าความตั้งใจในรุ่นแรกต่อ)
    ท่านไม่ต้องการให้เหมือนกับเหรียญหลวงพ่อต่างๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป จึงได้ลงอักขระเลขยันต์จนเต็มพื้นที่ของเหรียญ ซึ่งท่านกำหนด ให้มีขนาดใหญ่เท่ากับกล่องไม้ขีดไฟสมัยนั้น
    และไม่มีตัวอักษรไทยเลย

    ขอขอบคุณเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพระนาคปรกหลังหลวงปู่เผือกสาลีโข ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240111_193105.jpg IMG_20240111_193146.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2024
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    110406929720180515_182937.jpg
    พระราชนันทาจารย์ มีนามเดิมว่า ผล ใกล้ขาว เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2454 ณ บ้านเลขที่ 76 หมู่ 10 แขวงและเขตบางซื่อ กรุงเทพฯ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำ และนางเผื่อน ใกล้ขาว
    ชีวิตในวัยเด็ก ได้ช่วยงานครอบครัวอย่างขยันขันแข็ง และจบการศึกษาสามัญชั้นม.1 โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม จนเมื่ออายุย่าง 16 ปี จึงได้บรรพชา ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีพระพิมลธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์
    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2474 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีพระพิมลธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเทพโมลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ด้วยความมุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมอย่างลึกซึ้ง ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้มุมานะเล่าเรียนอย่างหนัก
    พ.ศ.2466 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ตามลำดับ ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    พ.ศ.2481 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    พ.ศ.2502 สำเร็จการศึกษาประโยคครูพิเศษประถม (พ.ป.) จากกระทรวงศึกษาธิการ
    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2481 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเวตวันธรรมาวาส พ.ศ.2509 เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ.2515 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงบางซ่อน
    พ.ศ.2517 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะเขตพญาไท
    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2499 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูวิบูลโชติวัฒน์ พ.ศ.2509 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ.2510 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ.2514 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระศีลาจารพิพัฒน์
    พ.ศ.2514 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชนันทาจารย์
    พระราชนันทาจารย์ หรือหลวงปู่ผล อกฺกโชติ เป็นพระผู้โอบอุ้มอุปถัมภ์โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง นับแต่ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนหลายสิบปี ในช่วงนั้น ท่านได้เล็งเห็นถึงความลำบากของเด็กๆ ในย่านซอยวัดเซิงหวาย ซึ่งต้องพากันเดินไปเรียนที่โรงเรียนวัดสร้อยทอง ที่อยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร ท่านจึงได้เมตตามอบที่ดินของวัด เพื่อก่อตั้งโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส ต่อมาได้แยกเป็น 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมอีกแห่งหนึ่ง นับว่าพระเดชพระคุณเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างพื้นฐานปลูกฝังเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชุมชน นักเรียนแต่ละรุ่นที่จบการศึกษาออกไป ต่างประสบความสำเร็จ ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างดี
    ในช่วงบั้นปลายชีวิต อาพาธบ่อยครั้งด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ สุดท้ายได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงพยาบาลบางโพ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ สิริอายุ 93 พรรษา 9 เดือน 9 วัน


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ผลวัดเชิงหวายให้บูชา 3 เหรียญยกชุด 350 ค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240112_093312.jpg IMG_20240112_093335.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,782
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงพ่อชาญวัด บางบ่อ.jpg

    ประวัติ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกขานว่า "หลวงพ่อชาญ อิณมุตโต" มีนามเดิมว่า ชาญ รอดทอง เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2457 ที่ ต.เกาะไร อ. บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ปัจจุบัน สิริอายุ 99 ปี พรรษา 80 มีลำดับการปกครองทางคณะสงฆ์คือ พ.ศ.2510 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ, พ.ศ.2513 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ, พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ จนถึงปัจจุบัน ส่วนลำดับสมณศักดิ์คือ พ.ศ.2510 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ, พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระมงคลวรากร" การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อชาญนั้น นานๆถึงจะมีการจัดสร้างสักครั้งหนึ่ง เช่น พระเหรียญและพระผง 80 ปี เหรียญนั่งเสือ เสือหล่อ เสือไม้แกะจากไม้งิ้วดำ ไม้พะยูง และไม้อื่นๆ เป็นต้น สำหรับวัตถุมงคลของท่านที่มีประสบการณ์และกล่าวถึงพุทธคุณ ได้แก่ เหรียญนั่งเสือ ปี พ.ศ.2550 ถือได้ว่าเป็นเหรียญยอดนิยม นอกจากนี้ก็ยังมีวัตถุมงคลดังๆอีกหลายรุ่น เช่น เหรียญหล่อโบราณเนื้อเงิน, พระกริ่ง รุ่นมงคลวรากร, เหรียญโปร่งฟ้าหลวงพ่อชาญ, พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อชาญ เป็นต้น ปัจจุบัน หลวงพ่อชาญ จะมีวัยเกือยร้อยปีแล้ว แต่สุขภาพร่างกายของท่านยังคล่องแคล่ว แข็งแรง เกียรติคุณบารมี รวมทั้งพุทธานุภาพและพลังจิตของท่าน ทำให้หลวงพ่อชาญได้รับการยกย่องว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าของจังหวัดสมุทร
    ประวัติหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
    ประวัติหลวงพ่อ พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบ่อ ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการเดิมชื่อ ชาญ รอดทอง เกิดวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2457 ที่ตำบลเกาะไร่ อำเภอบางโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนจบชั้น ป.5 จากโรงเรียนอภัยพิทยาคาร ( วัดแก้วพิจิตร) จังหวัดปราจีนบุรี กลับมาช่วยบิดามารดาทำนากระทั่งอายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดคลองสวน ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ที่เป็นบ้านเกิด และไปจำพรรษาที่วัดนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2511 และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอบางบ่อเมื่อ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2541 ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ ผลงานที่ได้ปฏิบัติตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ กระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2548 ส่วนใหญ่ คือ เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระเณรเป็นจำนวนมาก นับได้มากกว่า 5,000 รูป เนื่องจากท่านเป็นผู้มีคุณธรรมและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย มีอัธยาศัยดีต่อทุกคนเสมอเหมือนกัน จึงเป็นที่นับถือ และเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั่วไปจะเห็นได้จากการบวชพระตามวัดต่างๆ ถึงแม้ว่าวัดนั้นจะมีพระอุปัชฌาย์อยู่แล้วผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อท่านยัง ได้นิมนต์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ นอกจากนั้นยังได้ปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เช่นการพัฒนาวัด อุดหนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนรับกิจนิมนต์โดยไม่ปฏิเสธหากมี เวลา ปี พ.ศ. 2548 พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ มีอายุครบ 91 ปี 72 พรรษา เป็นพระครูชั้นพิเศษ ปัจจุบันท่านมีอายุ (3 เม.ย. 2553) 96 ปี 77 พรรษาไ ดัรับพระราชทาน ดำรงตำแหน่งท่านเจ้าคุณพระมงคลวรากร ใน วันที่ 5ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมามีอาวุโสสูงสุด ยังมีสุขภาพแข็งแรงปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นปกติ เป็นที่นับถือของศิษยานุศิษย์ ทั้งในอำเภอบางบ่อ และใกล้เคียง
    พระปฏิบัติดี วิชาดีรูปต่อไปนี้คือ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ สมุทรปราการ อายุ 92 ปี (ปัจจุบันอายุ 95 ปี) เป็นศิษย์ หลวงพ่อไผ่ วัดบางบ่อ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน อีกที ท่านจึงรับวิชามาจากอาจารย์รุ่นต่อรุ่นเต็มที่ นอกจากนั้น หลวงพ่อชาญ ยังเรียน กัมมัฏฐาน 40 กอง จาก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา...กัมมัฏฐาน เป็นวีธีฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็เกิดปัญญา และมองได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง มี เกิด แก่เจ็บ ตาย สรุปคือ ไม่มีอะไรเลย เพื่อให้ ปลง และหลุดพ้น ...การเรียนกัมมัฏฐาน แบ่งเป็นหลายวิธี เช่น อสุภกัมมัฏฐาน(นั่งพิจารณาซากศพให้ได้คิดว่าก่อนนี้คือร่างกายที่เคยสวยงาม แต่ตายแล้วก็เหม็นเน่า) นอกนั้นยังมี กสิณ10, อนุสติ 10 ซึ่งล้วนเป็น อุบายพื้นฐาน ทำให้ จิตสงบ นำไปสู่นิพพาน... กัมมัฏฐาน 40 กอง เป็นพระปรีชาของพระพุทธเจ้าที่ทรงทราบกิเลสของพระสาวกว่าไม่เหมือนกัน บางรูปอยากแสดงฤิทธิ์ บางรูปอยากอยู่เงียบๆจึงมีวีธีให้เลือกตามอัธยาศัย แต่สุดท่ายก็ มุ่งพระนิพพานเหมือนกัน... หลวงพ่อชาญ ยังเรียน วิชาธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ จาก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ซึ่งสามารถแสดงฤทธิ์ เรียกน้ำ-ห้ามไฟได้... นายนๆครั้งหลวงพ่อชาญจะสร้างวัตถุมงคลที่ดังคือ เสือแกะจากไม้พญางิ้วดำเพราะมีประสบการณ์ที่ปืนยิงไม่เข้า แต่ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้น้อยและไม่เป็นวาระทุกวันนี้จึงหายาก ใครไปก็กราบขอพรท่านถือว่าสูงสุดแล้ว อย่าไปรบกวนท่านให้เหนื่อยสร้างโน่นสร้างนี่อีกเลย อายุตั้ง 92 แล้ว(ปัจจุบันอายุ 95 ปี)
    ที่มาของข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2549 :สนามพระวิภาวดี ,กราบ 9 พระดีเป็นศิริมงคล สีกาอ่าง
    จากใจผู้เขียน
    bq.jpg
    หลวงพ่อชาญ อิณมุตฺโต พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ พระมงคลวรากร หรือ หลวงพ่อใหม่ คืออริยะบุคลคนเดียวกันที่เรารู้จักกันในนาม หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ ท่านเป็นลูกศิษย์สายหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านโดยแท้ เริ่มจากหลวงพ่อไผ่ท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อปาน จากนั้น หลวงพ่อชาญก็เรียนวิชาจากหลวงพ่อไผ่ และยังเป็นศิษย์หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก เป็นศิษย์ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นศิษย์ หลวงพ่อดิ่งวัดบางวัว การสร้างวัตถุมงคลของท่านนานๆท่านจะสร้างเป็นวาระสักครั้งหนึ่ง เช่นพระเหรียญและพระผง 80 ปี เหรียญนั่งเสือ เสือหล่อ เสือไม้แกะและ อื่นๆเป็นต้น แต่โดยส่วนมากญาติโยมจะมาขอสร้างท่านก็เมตตาอนุญาตให้จัดสร้าง หลวงพ่อชาญท่านเกิดในสมัย ร.6 ซึ่งในปัจจุบัน(3เม.ย. 2553) หลวงพ่อมีอายุครบ 96 ปี 77 พรรษาสุขภาพท่านยังแข็งแรง ยังรับกิจนิมนต์อยู่และยังเดินทางไปพุทธาภิเศกในวาระต่างๆอยู่เป็นนิจ หลวงพ่อจะนั่งรับญาติโยมตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงวันกว่าๆแล้วท่านจะจำวัดและ จะรับญาติโยมอีกครั้งประมาณบ่ายสามโมงครึ่งเป้นต้นไปจนถึงเย็น...
    หลวงพ่อสักยันต์ หลายท่านที่เคยเคยเข้ากราบนมัสการหลวงพ่อจะสังเกตุว่าหลวงพ่อชาญท่านสักยันต์ที่ต่างๆของร่างกาย
    หลวงพ่อเมตตาเล่า ให้ฟังว่าเหตุที่สักยันต์เพราะสัก "กันงู" เนื่อง จากพื้นที่บางบ่อและพื้นที่ใกล้เคียงในสมัยก่อนนั้นเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ประกอบกับมีเจดีย์เก่าเป็นจำนวนมากทำให้มีงูอาศัยอยู่ อย่างชุกชุม หลวงพ่อได้สักยันต์กันงูกับหมอเที่ยง ซึ่งเป็นฆารวาสเป็นบุคคลที่มีวิชาอาคมหรือมี่เรียกกันว่า หมองูเที่ยง หมองูเที่ยงเป็นคนบางบ่อมีอาชีพจับงูขายแขนทั้งสองข้างของหมองูเที่ยงจะสัก ยันต์กันงู แกจะนอนตามวัดหรือนอนในเรือ(ปัจจุบันหมอเที่ยงได้เสียชีวิตไปแล้ว และมีลูกคนหนึ่งที่บางบ่อ) แกจะร่องเรือมานอนที่วัดบางบ่อมีพระเณรรวมทั้งคนทั่วไปมาขอสักยันต์กันงูกับ หมอเที่ยง หนึ่งในนั้น มีหลวงพ่อชาญ(ตอนนั้นหลวงพ่อท่านย้ายมาวัดบางบ่อแล้ว)มาสักต์กันงูด้วย หมอเที่ยงแกเคยโดนงูกัดที่มือจนมือหงิกงอแต่แกก็ไม่ได้รับอันตารยถึงชีวิต ในสมัยก่อนหมอเที่ยงแกใช้เรือแบบที่เปิดท้องเรือได้(ไม่แน่ใจว่าเรียกชือ เรือว่าอะไร) พอแกจับงูเห่าได้แกจะขังรวมกันไว้ใต้ท้องเรือ วันดีคืนดีหมอเที่ยงจะเอางูที่ขังไว้เป็นจำนวนมากออกมาโยนลงน้ำ เพื่อให้งู(อาบ)เล่นน้ำ แล้วจับใส่เรือเหมือนเดิม ต่อจากนั้นหมอเที่ยงจะเอางูไปขายที่ เสาวภา" ทราบมาว่าในสมัยนั้นจะนำงูไปรีดพิษ เพื่อทำเซรุ่ม หลวงพ่อเล่าต่อให้ฟังว่า หมอเที่ยงเดิมคือ เสือเที่ยง เป็นสหายเดียวกับ เสือไท เสือหา เคยออกปล้นแต่ไม่เตยฆ่าใคร ...ไม่ทราบปั้นปลายชีวิตของหมอเที่ยงที่แน่นนอน
    แต่ท่าน เพราะเงินท่านเอง หากแต่ท่านอยากทราบการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นใหม่ๆให้เรียนถามหลวงพ่อเอง อย่าได้หลงทางเป็นเหยื่อ...เขลา
    ข้าพเจ้าในนาม...อยู่รับใช้หลวงพ่อมานานหลายปีทราบดีว่าหลวงพ่อท่านมีเมตา และบารมีสูงส่ง ด้วยบุญบารมีนี้ทำให้สาธุชนต่างหลั่งไหลมากราบขอพรท่านเป็นจำนวนมาก หากแต่มีผู้กล่าวอ้างเอยนามเล่าว่า...ก็สุดแล้วแต่ ครั้งเมื่อข้าพเจ้านำวัตถุมงคลของหลวงพ่อนำเผยแผ่ต่อสาธารณะชนก็ได้รับการ โจมตีว่าไม่ใช่วัตถุมงคลของท่าน ทั้งที่ข้าพเจ้าเช่าบูชาที่กุฏิของท่านเมื่อหลายปีก่อน ทั้งที่หลายปีก่อนนั้นวัตถุมงคลของท่านยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นัก
    ดังนั้นในนามตัวแทนผู้นิยมศรัทธา วัตถุมงคลของหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ ขอย้ำให้ผู้เช่าหาวัตถุมงคลของท่านรุ่นต่างๆควรพิจารณาจากการจัดสร้างที่น่า เชื่อถือได้จริงๆ เพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการสะสมวัถุมงคลที่ทรงคุณค่าและมากพุทธคุณ
    ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เวปไซค์โรงเรียนวัดบางบ่อ


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จหลวงปู่ชาญวัดบางบ่อให้บูชาองค์ละ
    150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับมี 2 องค์

    องค์ที่๑

    IMG_20240112_094912.jpg IMG_20240112_094932.jpg

    องค์ที่ ๒

    IMG_20240112_095136.jpg IMG_20240112_095205.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...