รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ฐานิยสูตร
    นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์

    [๔๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ.

    [๔๓๙] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาท.

    [๔๔๐] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะ.

    [๔๔๑] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ.

    [๔๔๒] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมาก ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.

    [๔๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมาก
    ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมาก
    ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

    จบ สูตร​
     
  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๔๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย
    กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
    พยาบาท ...
    ถีนมิทธะ ...
    อุทธัจจกุกกุจจะ ...
    วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

    [๔๔๕] สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ฯลฯ
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป.

    [๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย
    กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้
    พยาบาท ...
    ถีนมิทธะ ...
    อุทธัจจกุกกุจจะ ...
    วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้.

    [๔๔๗] สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ฯลฯ
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

    จบ สูตร​
     
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
  4. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๔๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชนชาวสุมภะ ชื่อเสตกะ ในแคว้นสุมภะ
    ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า.

    [๔๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า
    ไม่เคยมีมา มีขึ้น ความรัก ความเคารพ ความละอายใจ และความเกรงกลัว
    ของข้าพระองค์ซึ่งมีอยู่ในพระผู้มีพระภาคมากเพียงไร
    ด้วยว่า ข้าพระองค์เมื่อเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
    ก็มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระธรรมมากนัก
    มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระสงฆ์มากนัก
    ข้าพระองค์เห็นความรักความเคารพ ความละอายใจ ความเกรงกลัว
    ในพระผู้มีพระภาค จึงออกบวชเป็นบรรพชิต

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า
    อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความ
    ดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา ... อย่างนี้สัญญา ... อย่างนี้สังขาร ...
    อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ.

    [๔๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง
    พิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
    ได้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

    [๔๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว
    และมรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำ
    ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น
    โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    คือ สติสัมโพชฌงค์ ที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้นๆ ไป
    เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป
    เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
    แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนี้แล อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น
    โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    [๔๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้วนั้นแล
    อันเธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป
    เพื่อความเป็นอย่างนั้นโดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    จบ สูตร​
     
  5. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561


    [๕๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    ละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

    ในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    จักละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

    ในปัจจุบันละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

    [๕๐๔] โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว ... สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ ...สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

    จบ สูตร
     
  6. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๕๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างจึงปรากฏ
    รัตนะ ๗ อย่างเป็นไฉน? คือ
    จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้ว ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างเหล่านี้จึงปรากฏ.

    [๕๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะคือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ
    รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? ได้แก่
    รัตนะ คือ สติสัมโพชฌงค์
    ฯลฯ
    รัตนะ คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ
    รัตนะ คือโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้จึงปรากฏ.

    จบ สูตร​



    [๕๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามารแก่เธอ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น ก็มรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน? คือ
    โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร.

    จบ สูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2012
  7. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ในอดีตกาลเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น
    เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
    สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
    เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน เป็นผู้มีฤทธิ์มาก
    มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
    เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร
    ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ...
    จิตตสมาธิ ...
    วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

    [๑๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล
    เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
    เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ในอนาคตกาล จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักเป็นผู้มี
    ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือ
    พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือ
    พราหมณ์ทั้งหมด ย่อมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่ง
    อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

    จบ สูตร​
     
  8. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล
    แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ... ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก
    ก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเช่นนั้น เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำ
    ให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล ... สมณะหรือพราหมณ์
    เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ...
    ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลาย
    อย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อม
    เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

    [๑๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล
    แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ... ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก
    ก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำ
    ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล ... สมณะ
    หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน
    ก็ได้ ... ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์หลาย
    อย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

    จบ สูตร​
     
  9. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๑๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเป็น
    ผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
    ประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
    อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

    จบ สูตร​
     
  10. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิบาทภาวนา และปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็อิทธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
    ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.
    [๑๑๗๖] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน? มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์
    เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.

    [๑๑๗๗] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
    ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตต-
    *สมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.

    [๑๑๗๘] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
    นี้แล
    คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.

    จบ สูตร​
     
  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก
    แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย
    ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป
    ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่
    ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด
    เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลาง
    คืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม
    เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา
    ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก
    และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้อง
    หลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็
    ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย
    ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

    [๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?
    ฉันทะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.

    [๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน?
    ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.

    [๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน?
    ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะสัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.

    [๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน?
    ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไปปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.

    [๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
    เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร?
    ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว
    ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า
    เบื้องหน้าฉันใดเบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

    [๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
    เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่าในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน
    หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
    อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

    [๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด
    กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน
    ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน
    ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง
    ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด
    ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน
    ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
    กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

    [๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร?
    อาโลกสัญญา (ความสำคัญว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า
    กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.

    [๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?
    วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้านสัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.

    [๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน?
    วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.

    [๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน?
    วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.

    [๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน?
    วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไปปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

    [๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร
    อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว
    ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.

    [๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?
    จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.

    [๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต
    ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.

    [๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน?
    จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.

    [๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน?
    จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

    [๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.

    [๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?
    วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้านสัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.

    [๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน?
    วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.

    [๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน?
    วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.

    [๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน?
    วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไปปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

    [๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล
    มาก มีอานิสงส์มาก.

    [๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล
    ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
    ใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.

    [๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล
    ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
    ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

    (พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)
    จบ สูตร​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2012
  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
    แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
    ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป
    เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

    [๑๐๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
    บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๐๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก
    ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์
    เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
     
  13. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561


    [๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
    คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

    [๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
    ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.

    [๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
    ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.

    [๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
    ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมนี้.

    [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
    ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมนี้.

    [๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
    ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรมนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

    จบ สูตร​
     
  14. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๘๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
    คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

    [๘๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ
    ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
    นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

    [๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม
    มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
    นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

    [๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง
    ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแม้นานได้
    นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

    [๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
    นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

    [๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ
    ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

    จบ สูตร​
     
  15. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๘๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
    คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

    [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม
    นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

    [๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
    เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
    อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น
    เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
    เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
    เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น
    เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

    [๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง
    ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดแม้นานได้
    อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
    ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

    [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
    อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
    เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

    [๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
    ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ
    ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ นี้แล.

    จบ สูตร​
     
  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...