ภาวนาธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 28 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ฝึกใจ

    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: left" bgColor=#ffffff><TABLE style="WIDTH: 100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง
    ยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั้นด้วย
    ใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้
    ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้ว มันก็อาละวาด
    เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนา ด้วยสมาธิ
    นี้แหละที่เราเรียกว่า
    ...
    การฝึกใจ...

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา : http://www.dhammathai.org/store/talk/view.php?No=393
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    คอยระมัดระวังที่จิตที่ใจ

    [​IMG]

    ...ทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิดนั่นแหละ

    ตัวความคิดจริง ๆ นั้น มันก็ไม่ได้มีความทุกข์
    ที่มันมีทุกข์เกิดขึ้นคือ...เราคิดขึ้นมา

    เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น
    มันก็เลยเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป

    เมื่อมันเป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป มันก็นำทุกข์มาให้เรา
    ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราว่า “คอยระมัดระวังที่จิตที่ใจ
    เราไม่เคยดูใจเรา บางคนเกิดมาจนตาย(ไป)ก็มีนะ
    บางคนไม่เคยดูชีวิตจิตใจของเรา นี่เป็นอย่างนั้น

    [​IMG]


    หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    วัดสนามใน
    จ.นนทบุรี
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ต้องรู้อยู่ตลอด

    [​IMG]

    ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง
    เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที
    ถ้าไม่มีสติครึ่งวัน เราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งว้น เป็นอย่างนี้

    สตินี้คือ...ความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไร
    ต้องรู้ตัวเราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้

    คล้ายๆกับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่
    คนจะเข้ามาซื้อของ หรือขโมยของของเรา
    ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอเราก็รู้เรื่องว่าคนๆนี้
    มันมาทำไม เราจับอาวุธ ของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือ...
    เรามองเห็นพอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา อารมณ์ก็เหมือนกัน

    ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้
    มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม
    อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก...
    ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่
    เรามีสติอย่างนี้เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม



    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


    ที่มา : http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=2664
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    เปลี่ยน...

    [​IMG]

    ไม่ต้องหนีไปไหน หัดเปลี่ยนตัวหลงเป็นตัวรู้เข้าไป
    เอาตั้งแต่รู้นี่ไปเลย ค่อยๆ เปลี่ยนไป ทำเรื่อยไป
    นี่กรรมฐาน มันเป็นวิปัสสนา
    บรรลุเพื่อ มรรค ผล นิพพานแท้ๆ




    หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
    วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ

    ที่มา : www.dhammajak.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    อย่าคิดว่าตนเองเป็นนักปฏิบัติ...

    การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าปฏิบัติอย่างถูกทาง

    ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น...

    แต่ถ้าผู้ปฏิบัติมีความคิดหรือความรู้สึกว่า...ตนเองเป็นนักปฏิบัติ ก็อาจจะไม่เป็นผลดีต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง (เฉพาะผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่) เท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะถ้ามีความคิดหรือความรู้สึกดังกล่าวขึ้นมา ก็เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ตามมา คือ

    1.) เกิดอติมานะ คือ ความรู้สึกว่าเราเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง จะทำให้จิตใจแข็งกระด้าง ถือดี ทำให้กรรมฐานก้าวหน้าได้ยากขึ้น

    2.) เกิดความยึดมั่นถือมั่นในการปฏิบัติ การทำกรรมฐานที่จะได้ผลดีนั้นจะต้องทำใจให้สบาย ไม่มีความมุ่งหวังจะให้ได้รับความสำเร็จ ควรคิดเพียงว่าเราจะทำในสิ่งที่ดี ส่วนผลสำเร็จนั้นจะได้แค่ไหนก็แค่นั้น การคิดเช่นนี้จะทำให้จิตใจละเอียด ประณีต โล่งสบาย จิตใจจะอยู่กับสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ไม่ฟุ้งไปหาความสำเร็จที่ยังมาไม่ถึง กรรมฐานก็จะก้าวหน้าไปได้ ตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น

    แต่ ถ้าเกิดความยึดมั่นถือมั่นในการปฏิบัติขึ้นมาแล้ว ผลจะเป็นในทางตรงกันข้าม คือจะเกิดความเครียด จิตใจแข็งกระด้าง ฟุ้งซ่านไปหาความสำเร็จซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะมัวแต่คิดว่า เมื่อไหร่จะสำเร็จขั้นนั้นขั้นนี้สักที ยิ่งเครียดยิ่งฟุ้งกรรมฐานก็ยิ่งไม่ก้าวหน้า ในที่สุดก็อาจถึงขั้นหมดหวัง ท้อแท้ แล้วเลิกทำกรรมฐานไปได้

    ผู้ปฏิบัติควรคิด อย่างมากที่สุดก็เพียงว่าตนเองกำลังศึกษาอยู่ คือศึกษาธรรมชาติของจิต หรือศึกษาธรรมชาติของรูปนาม ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้รู้ ให้เข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง แล้วทำกรรมฐานรวมทั้งใช้ชีวิตประจำวัน ไปอย่างที่สมควรจะให้เป็น ไม่เคร่งเครียดโดยไม่จำเป็น ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว ความเจริญในธรรมก็จะตามมาเอง (คำว่ากำลังศึกษาอยู่นี้ ขอให้มีความหมายตามตัวอักษรเช่นนั้นจริงๆ ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเสกขบุคคล อันหมายถึงอริยบุคคลที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์)

    [​IMG]








    ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๔

    ข้อมูล : http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Analysis/an008.htm
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    อย่ามองข้ามตนเอง...

    [​IMG]
    มารักษาใจให้มันปกติ คือ...
    ใจไม่มีโทษ วาจาไม่มีโทษ กายไม่มีโทษ
    ถ้ารักษาได้อย่างนี้แ้ล้ว มันก็จะมีศีลเพียงตัวเดียวเท่านั้น
    ที่ว่าตัวเดียวก็คือ...
    ดวงจิตดวงใจของเราที่มันเป็นปกตินั่นล่ะ
    พระพุทธก็อยู่ที่นี่ พระธรรมก็อยู่ที่นี่ พระสงฆ์ก็อยู่ที่นี่
    คุณพ่อก็อยู่ที่นี่ คุณแม่ก็อยู่ที่นี่ อยู่ที่เดียวกัน
    พวกเรามองข้ามตนเองไปเฉย ๆ นะนี่



    หลวงปู่บุญมา คมฺภีรธมฺโม วัดป่าสีห์พนมประชาราม จ.สกลนคร
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ข้าศึกแก่สมาธิ

    [​IMG]


    การทำสมาธินั้น บางคนเป็นสมาธิง่ายมาก แต่บางคนทำตั้ง 2-3 ปี จึงจะเป็นก็มี

    เรื่องนี้ถ้ารู้ว่าบุญบารมีวาสนาของเรายังอ่อนไม่ได้สร้างสมมาแต่บุพชาติหนหลัง

    นึกรู้อย่างนี้แล้วอย่าท้อใจ ถ้ารู้ตัวว่า...ตนเองวาสนาอ่อน อินทรีย์อ่อน

    จะปล่อยให้แก่เองไม่ได้หรอก ต้องปฏิบัติเอาจึงจะได้

    เหมือนผลไม้ในสวน เจ้าของต้องปรนนิบัติ ใส่ปุ๋ยรดน้ำ พรวนดิน

    ระวังดูแลรักษาไม่ให้เป็นอันตราย มันก็ค่อยเจริญงอกงามขึ้นเอง ไม่เสียผลหรอก

    ถ้าเราทำเหตุผลก็ต้องได้รับ ถ้าเราไม่ทำสิ่งใดเราย่อมไม่ได้สิ่งนั้น

    เหมือนสมบัติภายนอกต้องการสิ่งใดก็ต้องขวนขวายหามาไว้

    ความปรารถนาที่จะทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลพอให้มีได้

    แต่ความปรารถนาความสงบอยากให้จิตรวมนั้น เป็นข้าศึกแก่สมาธิอย่างยิ่ง

    ขอแนะนำไว้...ถ้าเกิดความอยากขึ้น มักจะเกิดท้อใจ ทุกข์ใจ เดือนดร้อน

    เกิดความร้อนใจโกรธให้ตนเอง ถ้าความอยากมันเกิดขึ้นให้เอาจิตเพ่งความอยาก

    แต่อย่าถือว่าเป็นจิตของเรา เป็นจิตใจของเรา ให้กำหนดรู้ว่า...
    ความอยากเป็นเพียงอาการของใจ ความอยากเป็นความนึกคิดของใจเท่านั้น



    หลวงปู่คำดี ปภาโส
    วัดถ้ำผาปู่นิมิต จ.เลย
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หัดให้มันเคย

    [​IMG]

    ต้องฝึกหัดจิตใจ มันหัดได้นะ มันหัดได้ มันเปลี่ยนได้ คนเรานี้เรียกว่า “มนุษย์
    มันเป็นสัตว์ประเสริฐ มันฝึกได้ หลวงพ่อจะพูดให้ฟัง...
    การฝึกฝนจิตใจนี้ ไม่ใช่หลวงพ่อเป็นผู้พูดผู้สอน
    พระพุทธเจ้าศาสดา เป็นผู้สั่งสอนเอาไว้ นานมา ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว
    มีมาก่อนแล้ว แล้วก็มีผู้สอน พวกเราก็ได้ยินได้ฟังเหมือนกัน
    ในหลักของการปฏิบัติ ทั้ง...ชีวิตของเราจริง ๆ ให้เดินไป

    ให้มันเป็นร่องรอยไป เช่น...
    ความรู้สึกตัวนี่ ให้เราเดินบ่อย ๆ การใช้ชีวิต

    ให้มีความรู้สึกตัวไปกับการใช้ชีวิตของเรา
    อย่าไปเดินตามความหลง ความหลงก็มี

    เราเดินตามความหลงหรือเดินตามความรู้ แยก เลือกได้
    เวลาใดมันหลง รู้สึกตัวซะนะ...มันเลือกได้

    เปลี่ยนตัวหลงเป็นตัวรุ้ได้ เราก็ต้องหัดสิ
    ไม่ใช่รู้เฉย ๆ หัดให้มันเป็น ไม่ใช่ความรู้

    ต้องหัดให้มันเคยรู้ หัดให้มันเคยรู้
    รูปแบบก็มีเยอะแยะ อาจารย์ท่านสอนมีเยอะแยะในประเทศไทย หลายรูปแบบ

    ที่สอนให้เรารู้ตัวนะ...หามา
    ในตัวเราก็มีเยอะแยะ ที่เอามาเป็นวัสดุอุปกรณ์ผลิตความรู้...มีเยอะแยะ


    หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
    วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ


    ที่มา : จากหนังสือ "ใจเดียว" หน้าที่ ๕
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    การปฏิบัติของผู้ที่เล่าเรียนมามาก..

    [​IMG]


    ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมาก เป็นปริยายกว้างขวาง ครั้นมาปฏิบัติทางใจ
    จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย ฉะนั้น ต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว ต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา กำหนดรู้เท่ามหาสมมุติมหานิยม
    อัน เอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศ กลางหาวดาวนักขัตตฤกษ์ สารพัดสิ่งทั้งปวง อันเจ้าสังขาร คือ อาการจิตหากออกไปตั้งไว้ บัญญัติไว้ว่าเขาเป็นนั่นเป็นนี้
    จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่ากำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว จิตก็จะรวมลงได้
    เมื่อกำหนดอยู่ ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้วนิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง
    หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ในกายวาจาจิตนี้
    ที่เรียกว่า อกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อ โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่
    ปัจจัตตัง จึงจะรู้เฉพาะตัว คือมาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะ
    เปื่อยเน่าแตกพังลงไปตามสภาพความจริงของภูตธาตุ
    ปุพเพสุ ภูเตสุ ธัมเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อน สว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
    ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้
    อันบุคคลผู้ทำนา ก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลน ตากแดดกรำฝน
    จึงจะเห็นข้าวเปลือกข้าวสาร ข้าสุกมาได้ และได้บริโภคดื่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด
    ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ในกายวาจาใจของทุกคน ฯ

    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร

    ที่มา : http://sangdham.8m.com/mun2.html#m5
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หมั่นเพียรไม่ท้อถอย...

    [​IMG]

    ติปัฏฐานสี่ สติ มีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ
    เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน
    เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน

    อาการทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ , ทุกขัง ทั้ง ๕ , อนัตตา ทั้ง ๕ เป็นไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง

    อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตา ทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป
    เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน

    การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน สมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติแต่ธรรม เช่น
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่เที่ยงมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจจังทั้ง ๕ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
    รูปํ อนิจัง , เวทนา อนิจจัง , สัญญา อนิจจัง, สังขารา อนิจจัง , วิญญาณํ อนิจจัง มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
    เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตาม เวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วมันก็ยุติลง

    ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติ วางสมมติได้แล้ว มันก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุตติความหลุดพ้นไป
    เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ แล้วมันมักจะหลง
    ถ้าเราตั้งใจเอาจริงๆ พวกกิเลสมันก็เอาจริงๆ กับเราเหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่นความเพียรไม่ท้อถอย
    ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้มันก็เย็นสงบสบาย


    [​IMG]


    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    นักปฏิบัติเราอย่าเป็นเช่นนั้น...

    [​IMG][​IMG]

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา
    และอัฐิธาตุของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ฯ

    ารทำ สมาธิภาวนาในเบื้องต้นนี่ ต้องพยายามเอาสมาธิให้ได้ แม้แต่เพียงอุปจารสมาธิก็ยังดี แต่มันเป็นอย่างนี้นะญาติโยม หลวงปู่สิงห์อาจารย์ใหญ่ท่านกล่าวว่า "ปลุกใจเพื่อปราบมาร" คาถาปลุกใจก็คือ พุทโธ ๆ ๆ ที่นี้มารนี่ตัวขันธมารนี่เป็นตัวสำคัญ ขันธมารก็เป็นร่างกายของเรานั่นแหละ นั่งไปนานมันปวด มันเมื่อย มันเจ็บ เมื่อเกิดเมื่อยเจ็บขึ้นมาแล้ว ตัวกิเลสมันก็มาแทรก เพื่อรติความไม่ยินดีต่อการปฏิบัติ ทำไมมันจึงเป็นแบบนั้น มันกลัวตายถ้าปฏิบัติมากไป มันปวดหลาย เดี๋ยวแข้งขามันจะมึนชาไปหมด ก็กลายเป็นง่อยเปลี้ยเลยปฏิบัติต่อไม่ได้ ถูกกิเลสมารมันทำลาย
    ทีนี้เวลาขันธมารมันแสดงฤทธิ์ มันคิดอะไร? ถ้ายิ่งในขณะใดที่เราภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ จิตมันใกล้ ๆ จะสงบมากแล้ว ขันธมารมันจะแสดงตัวให้ปรากฏทันที ความ เจ็บปวด ความปวดเมื่อย มันก็บังเกิดขึ้นมาก ประเดี๋ยวปวดต้นคอ ประเดี๋ยวปวดหัว ประเดี๋ยวปวดปาก ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างที่จิตมันจะเข้าสู่สมาธิตัดขาดจากร่างกายนี่แหละ อุปสรรคอันนี้มันจะบังเกิดขึ้น แหมมันอึดอัดรำคาญเหลือทน อยากจะกระโดดโลดเต้น
    ทีนี้ในตอนนี้ถ้านักภาวนาท่านใดอดทน พยายาม เอาชนะมันให้ได้ เลยไม่ยอมแพ้มันง่าย ๆ ต่อสู้กับมันจนสุดวิสัยที่จะสู้ได้ เพียรไม่เปลี่ยนอริยาบถ ฝึกหัดอดทนบ่อย ๆ ทนไม่ได้ก็ทน ทนได้ก็ทน จนเกิดความคล่องตัวชำนิชำนาญ จนกระทั่งเรานั่งได้ตลอดวันยันค่ำไม่พลิกไม่เปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ภายหลังเราจะต่อสู้กับมันได้ ในเมื่อผ่านในขั้นนี้ตอนนี้ไปแล้ว ต่อไปการภาวนาจะสะดวกสบายมาก

    ทำไม? ขันธมารมันจึงแสดงออกมาให้ปรากฏและกิเลสมารก็เข้ามาย้ำเข้าไปอีก กิเลสทั้งหลายนี่ มันกลัวเราจะหนีจากมัน เพราะฉะนั้น มันจึงแสดงฤทธิ์มาขัดขวางเรา เราจะต้องปราบมันด้วยความอดทน ด้วยความอดกลั้น ด้วยความทนทาน ด้วยความมีสติสัมปะชัญญะ จน กระทั่งจิตมันเข้าสู่สมาธิ กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ แถมมีปิติมีความสุข มีความเป็นหนึ่งนั่นแหละ... เราจึงจะปราบขันธมารให้ผ่านพ้นไปได้ นี่ ! ต้องพยายามเอาตรงนี้ให้ได้ ถ้าหากตราบใดที่เราเอาสมาธิในขั้นต้นนี้ไม่ได้แล้ว ก็พูดไม่รู้ภาษากันหรอก ตกลงจะว่าฉันก็เก่ง เธอก็เก่งพอหันหน้าเข้าหากันแล้วทะเลาะกันเถียงกันอุตลุต

    เพราะฉะนั้น ใครยึดหลักปฏิบัติแบบไหนอย่างไร? ก็ให้มันแน่วแน่...
    พุทโธก็พุทโธไป ยุบหนอพองหนอ ก็ยุบหนอพองหนอไป สัมมาอะระหังก็สัมมาอะระหังไป

    วิธีการปฏิบัติไม่มีเฉพาะแต่สามอย่างดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น บาง ทีถ้าขี้เกียจนึกเอา อาจจะนั่งหลับตาทำใจให้มันอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องตั้งใจไปคิดมัน แต่ถ้ามันคิดแล้วกำหนดสติคิดทันที คิดแล้วรู้ทันที คิดแล้วรู้ทันที ไล่ตามมันไปอย่างนี้มันก็สบายดีเหมือนกัน ลองดูซิมันจะสามารถเข้าไปสู่สมาธิได้หรือเปล่า แต่คนทั้งหลายเค้าว่าอย่างนี้...เด้อ หลวงพ่อเคยเทศน์ว่า..."ขณะที่บริกรรมภาวนาอยู่ ให้ติดต่ออยู่กับบริกรรมไป ปล่อยให้มันอยู่ไป แต่ถ้ามันทิ้งบริกรรมภาวนาไปไปคิดอย่างอื่น ก็ควรปล่อยไปบ้าง แต่อย่าลืมทำสติกำหนดรู้ตามรู้มันไปเรื่อย" มีพระองค์หนึ่งบอกว่า "อุ้ย ! ทำอย่างนั้นมันก็ยิ่งฟุ้งใหญ่ซิ" ลองดูมันจะฟุ้งมั๋ย

    ถ้า เราไปคิดว่า "ขณะที่เราบังคับจิตของเราให้หยุดนิ่ง หรืออยู่กับคำบริกรรมภาวนาไม่ได้ ถ้าเราไปคิด เอ้า...แกจะคิดไปถึงไหน ฉันจะตามแกไป แกจะลงห้วยลงเหวขึ้นสวรรค์ลงนรก ฉันจะตามแกไป ไปให้มันจนสุดกำลังนั่นแหละ ลองดูว่า โอกาสที่จิตมันจะสงบเป็นสมาธิ เพราะการตามดูอารมณ์จิตนี่มันจะมีได้มั๊ย... ภาวนาพุทโธ ๆ ๆ จิตจะสงบ สว่าง มีสมาธิ มีปิติ มีความสุข ทั้งที่ตัวเองก็ทำไม่ได้แล้ว ก็ไปยึดอยู่นั่นแหละ...

    ทีนี้บางคนจิตก็ว่า...มันยุบหนอ - พองหนอ ๆ จิตเค้าสงบนิ่ง ว่าง มีปิติ มีความสุข พอได้ยินเข้า ตัวไม่เคยยุบ ไม่เคยพองกับเขา ก็ว่าเค้าปฏิบัติไม่ถูกอีกนั่นแหละ

    นัก ปฏิบัติของเราอย่าเป็นเช่นนั้น ให้พยายามทำใจให้มันเป็นกลางต่อวิธีการปฏิบัติ ที่กล่าว ๆ ที่เถียง ๆ กันขัดแย้งกันอยู่นั่นแหละ เป็นแต่เพียงไปยึดที่วิธีการเท่านั้นเอง...

    ก็ อย่างบางทีบางท่านก็ว่า ภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ จิตมันสงบเป็นสมถะเท่านั้นแหละ ไม่ถึงวิปัสสนาแล้ว ภาวนาพุทโธ จิตมันสงบวูบลงนิ่งสว่างโพลงขึ้น เป็นสมถะ แล้วทีนี เมื่อภาวนาสองอย่างนี้ เวลาจิตสงบแล้วมันเป็นเหมือน ๆ กัน นี่จะเรียกว่าอะไร?เป็นสมถะ อะไร?เป็นวิปัสสนา จิตสงบนิ่งรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว แล้วก็รู้อยู่ในสิ่ง ๆ เดียว มันเป็นสมถะซะงั้นหรือ

    ทีนี้จิตที่สงบลงเป็นสมถะนั้น มันก็มีวิปัสสนาอยู่ด้วยกันนั่นแหละ มันมีอยู่ด้วยกันอย่างไร?

    ประการแรก...
    เรา จะได้รู้ว่า สภาพจิตนี่ ถ้าเราฝึกฝนอบรมแล้ว มันเปลี่ยนได้ เปลี่ยนจากความวุ่นวายไปสู่ความสงบเยือกเย็น เปลี่ยนจากความเดือดร้อนไปสู่ความสุขความเยือกเย็น เพียงแค่นี้ก็มองเห็นแล้วว่า...ความเปลี่ยนไป ถ้าจิตไปกำหนดหมายความเปลี่ยนแปลง ก็กำหนดรู้อนิจจังซิ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ถ้าใครมีจิตสงบนิ่งปุ๊ปลงไป สว่างโพลงขึ้นมา ก็รู้ทันทีว่า นี่คือ...สมาธิ ความสงบนิ่งของจิตเป็นสมาธิ คือสมถะ ความรู้ว่าสมาธิเป็นอย่างนี้ จิตสงบเป็นสมถะเป็นอย่างนี้ เป็นสมาธิอย่างนี้ ความรู้แจ้งเห็นจริงหายสงสัย เป็น...วิปัสสนา"

    ที่ไปเที่ยวเถียงกันให้ปวดหัวทำไม? ทีนี้การแก้ปัญหาเรื่องธรรมะต่าง ๆ นี่แก้กันที่ตรงไหนล่ะ แก้กันที่ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

    การ สำรวมตาเป็นการดี การสำรวมหูเป็นการดี การสำรวมจมูกเป็นการดี การสำรวมลิ้นเป็นการดี การสำรวมกายเป็นการดี การสำรวมใจเป็นการดี ภิกษุสำรวมในที่ทั้งปวงรอดพ้นจากทุกข์ มันพ้นอย่างไร? สำรวมตาแล้วสำรวมอย่างไร? มีตาแล้วไม่ดูงั้นหรือ...ไม่ใช่ ดู แต่ต้องให้มีสติ
    อย่าให้มันเป็นตาหาเรื่อง
    หูได้ยินเสียงอย่าให้เป็นหูหาเรื่อง จมูกอย่าให้เป็นจมูกหาเรื่อง ลิ้นอย่าให้เป็นลิ้นหาเรื่อง กายก็อย่าเป็นกายหาเรื่อง

    ประเดี๋ยวยกตัวอย่าง...
    พระเถระกรรมฐานใหญ่เดินมา เขาจัดกุฏิร้าง ๆ ให้ค้าง หือ ทำไมไม่สมเกียรติสมยศเรา แน่ะ..มันกายหาเรื่องมันอยากนอนที่ดี ๆ

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมอยู่ที่การฝึกสติสัมปะชัญญะ ให้รู้พร้อมอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี นั่นแหละคือ...การมีสติปัญญา

    ความ รู้แจ้งเห็นจริง รู้ว่าอะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญ แก้บาปให้มันมาก ๆ เพิ่มบุญให้มันมาก ๆ มันก็เป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่มันอยู่ที่ความตั้งใจนะ พระพุทธเจ้าท่านบอกแล้วว่า พระตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก ใครจะได้ดิบได้ดี ทำเอา...



    ที่มา : เทปเสียงหมวดที่ ๑ การพัฒนาจิต เรื่องวิธีการสร้างพลังจิต
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หลักสำคัญในการเจริญสติ..

    [​IMG]
    วันนี้จะขอนำหลักปฏิบัติในการเจริญสติ มาให้ท่านผู้ปฏิบัติฯทั้งหลาย
    ได้นำไปพิจารณา เพื่อใช้เป็นแนวทาง และเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการประพฤติปฏิบัติ
    ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติในแนวทางใดก็ตาม

    [​IMG]

    ต้องมีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน

    [​IMG]
    ต้องปฏิบัติให้่ต่อเนื่อง กล่าวคือ...มีสติกำหนดรู้ให้ติดต่อกันไป

    ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นั่ง คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก เป็นต้น

    [​IMG]
    ต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๓ ประการ คือ...
    - อาตาปี มีความเพียรที่จะทำ - สติมา มีสติกำหนดรู้ในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น

    - สัมปะชาโน รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

    [​IMG]
    ต้องคอยปรับอินทรีย์พละให้สมดุลกัน อันได้แก่
    - สัทธา (ความเชื่อ) - วิริยะ (ความเพียร) - สติ (ความระลึกได้)

    - สมาธิ (ความตั้งใจมั่น) - ปัญญา (ความรอบรู้)

    ศรัทธามาก ปัญญาหย่อน ก็จะทำให้ โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำได้ง่าย
    ปัญญามาก ศรัทธาหย่อน ก็จะทำให้ เกิดความลังเลสงสัย
    ความเพียรมาก สมาธิหย่อน ก็จะทำให้ นิวรธรรมเข้าครอบงำได้ง่าย
    สมาธิมาก ความเีพียรน้อย ก็จะทำให้ เกิดความเกียจคร้าน
    สำหรับสตินั้น ทำหน้าที่เหมือนเป็นพี่เลี้ยงของจิต เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก

    ควรระลึกรู้ให้มาก

    [​IMG]
    ต้องวางจิตให้เป็นกลาง ๆ

    ในขณะที่สภาวะธรรมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม
    ให้เพียงแต่กำหนดรู้ในธรรมารมณ์ที่มากระทบ หรือเกิดขึ้น เท่านั้น
    ดีใจก็ให้รู้ คิดก็ให้รู้ โกรธก็ให้รู้ เป็นต้น

    ไม่ไปปรุงแต่งยินดียินร้าย ในสภาวะธรรมที่กำหนดรู้

    [​IMG]
    รู้แล้วก็ปล่อยวาง รู้แล้วก็วางเฉย
    ไม่ต้องไปบังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง

    ไม่ต้องไป เพ่ง จ้อง คอย รอ ในขณะที่ตามรู้ (กำหนด)
    ผลที่จะได้รับ ก็คือ การเห็นสภาวะธรรมเหล่านั้นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างแจ่มแจ้ง ทำให้จิตของเรานั้นมีความว่องไวต่ออารมณ์ที่มากระทบ เท่าทันในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง

    จึง ขอฝากให้ท่านผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ได้ทำความเข้าใจในหลักปฏิบัตินี้ วางจิตใจของท่านให้ถูกต้อง แล้วท่านจะประสบกับความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติอย่างแน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย...​
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก..

    [​IMG]

    บัดนี้ อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย ขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา เพราะว่าเราท่านทั้งหลาย เกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร?
    -หนัก ตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดาหนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับๆ ไป
    -เมื่อ คลอดก็หนักถึงกับตายได้ ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตาย ลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย ลำบากทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้อุ้ยอ้าย
    -เมื่อ เจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้ว ก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนักพอดีพอร้อย หนักกายต้องบริหารมากมาย ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ ๕ นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา
    -ครั้น เจริญวัยวัฒนาตัวของตัว เมื่อหลุดจากมารดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว บางคนถึงกับให้คนอื่นรักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ ๕ ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมายในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ ๕ ของตนเองได้
    -จนกระทั่งรักษาขันธ์ ๕ ของตนได้
    -พอ รักษาขันธ์ ๕ ของตัวได้ ขันธ์ ๕ ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ ๕ ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้างไปโน่นไปนี่ได้บ้าง
    -แต่ หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป ๔ คนนั่นแหละต้องหาม ๔ คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ หนักอย่างทางธรรมน่ะ นั่นลึกซึ้งแบบขันธ์ ๕ นำขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก
    ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ ๕ ไปมากมายนัก ภาระคือขันธ์ ๕ นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้นไม่ใช่เบา ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรกหนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีพ กาฬสูตต สังฆาต โรรุพน มหาโรรุพน ตาป มหาตาป อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก ๔๕๖ ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เปรตอสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ ๕ นี่เป็นของหนัก

    ท่านจึงได้ยืนยันเป็นภาษาบาลีว่า.....
    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก
    ภารหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลผู้นำขันธ์ ๕ ที่หนักนั้นไป
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ สละขันธ์ ๕ ปล่อยขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้เป็นสุข
    นิกฺขิปิตฺวา ครุ ภารํ การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ ๕ เสียง ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้ แล้วได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้

    ..... เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ ไป นี่ถึงเราไม่ทิ้งก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้งแก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ต้องตาย จะเอาไปได้หรือขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ ๕ ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ ๕ ของสามีภรรยากันล่ะเอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปได้อย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือ จะเอาไปบ้างไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนน่ะ…
    พระเทพมงคลมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพ ฯ​
    ที่มา : :: ธรรมะประจำวัน :: - ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ภาวนาให้คุ้นเคยกับความตาย...

    [​IMG]

    "แก่ ชรา มานานเท่าไร? พึงภาวนาให้คุ้นเคยกับความตาย เพราะจะต้องตายอยู่แล้ว
    เตรียมตัวไว้ก่อนตาย รอรถ รอเรือ ที่จะต้องขึ้นไหสวรรค์พระนิพพาน
    หูยิ่งหนวกหนักเข้าทุกวัน ตายิ่งไม่เห็นหน ตีนเท้าอ่อนเพลีย หันไปหาความตายเสมอไป
    ถือ ภาวนาใน ไตรลักษณ์ ทุกขอนิจจัง อนัตตา มีเกิดแล้วย่อมมีตาย เพราะโลกไม่เที่ยงอยู่แล้ว แปรปรวนไปต่างๆ สังขารเราบอกเช่นนั้น เที่ยงแต่พระนิพพานอย่างเดียว"



    หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย

    ที่มา : http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=1778223961590&Page=2
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    บารมี...

    [​IMG]
    บารมี แปลว่า "เต็ม" ซึ่งหมายถึง
    "การทำให้กำลังใจเต็ม ทรงอยู่ในใจให้เต็ม ครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่บกพร่องทั้ง ๑๐ ประการ"​
    1. ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
    2. ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
    3. เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ
      เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น
    4. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
    5. วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
    6. ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
    7. สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
    8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
    9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    10. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ
    องค์สมเด็จพระสวัสดิโสภาคย์ได้แสดงกฎของการปลดทุกข์ คือ...
    ปลดอารมณ์แห่งความทุกข์ สร้างอารมณ์ความสุขให้เกิดขึ้นกับใจ มีอยู่ ๑๐ อย่าง ด้วยกันคือ
    ๑ ทานบารมี
    ๒ ศีลบารมี
    ๓ เนกขัมมะบารมี
    ๔ ปัญญาบารมี
    ๕ วิริยะบารมี
    ๖ ขันติบารมี
    ๗ สัจจะบารมี
    ๘ อธิษฐานบารมี
    ๙ เมตตาบารมี
    ๑๐ อุเบกขาบารมี
    คำว่า บารมี นี่แปลว่า เต็ม เมื่อเต็มแล้วก็ต้องเต็มจริงๆ เป็นอันว่าถ้าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ที่เรียกว่า ปรมัตถบารมี สำหรับพระสาวกนะ ไม่ใช่อันดับขั้นพระพุทธเจ้า สำหรับขั้นพระสาวกนี้ใช้อารมณ์ต่ำ อารมณ์ไม่สูงนัก ไม่ใช่ขั้นพระพุทธเจ้า

    ถ้าหากว่าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็น ปรมัตถบารมี (คำว่า ปรมัตถบารมี หมายความว่า มีอารมณ์ทรงสูงอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่งก็หมายความว่าไม่เคลื่อนไป อารมณ์ที่มีอาการตรงกันข้ามไม่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา)
    ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทุกท่านก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นพระอรหันตผล
    นี่เดิมทีเดียวเราก็สอนกันมา แนะนำกันมาในหลักการทั่วๆ ไป แต่จะเห็นว่ากว้างเกินไปในการปฏิบัติ

    และ เวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัท มีทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่มีกำลังใจคือ บารมีแก่กล้านี้มีอยู่ หรือว่าบางท่านที่ยังอ่อนยังย่อหย่อน ก็จะได้มีความเข้าใจในการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติจริงๆ เพื่อมรรคเพื่อผล ถ้าขาดบารมีทั้ง ๑๐ ประการแล้ว ทำอย่างไรมันก็ไม่มีผล ถ้าผลที่จะมีกับกำลังใจก็ได้แค่ผลหลอกๆ คือ อุปาทาน คำว่าหลอกลวงนี่ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาไปโกหกมดเท็จใคร แต่ว่ากำลังใจมันไม่จริง

    ที่เรียกว่าหยุดได้จากความโลภ ความโกรธ ความหลง อาจจะหยุดไปเพราะอารมณ์สบายชั่วคราว แต่ทว่าข้างหน้าต่อไปคลายไปก็มีทุกข์ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรืออาจจะหยุดได้ด้วยกำลังของฌาน เช่น ฌานโลกีย์ กำลังใจยังดีไม่พอ ก็เอากำลังเข้าไปกดความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่ถ้าหากว่าจะตัดกันตรงๆ ก็ต้องมาพิจารณาขันธ์ ๕ ว่ามันเป็นทุกข์ (ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    นี่ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะว่าเราขาด ทานบารมี ขาดศีลบารมี ขาดเนกขัมมะบารมี ขาดปัญญาบารมี ขาดวิริยะบารมี ขาดขันติบารมี ขาดสัจจะบารมี ขาดอธิษฐานบารมี ขาดเมตตาบารมี ขาดอุเบกขาบารมี
    และที่พูดวันนี้อาจจะมีหลายท่านจะตอบว่า บารมีทั้งหลายเหล่านี้มีครบถ้วนแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าบารมีนี้จัดเป็น ๓ ชั้น คือ
    • บารมีต้น เรามีทานมีศีลเหมือนกัน แต่ว่าทาน ศีลมันบกพร่อง มันไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
    • ถ้าหากว่าบารมีอันดับที่ ๒ ที่เรียกว่า อุปบารมี ทาน ศีล ของเราดีครบถ้วนแต่จิตใจยังไม่สะอาดพอ
      ยังไม่รักพระนิพพาน
    • ถ้าหากว่าเป็น ปรมัตถบารมีแล้ว ไม่มีการหวังผลใดๆ ในโลกีย์วิสัย จะเป็นชาตินี้หรือว่าชาติหน้าก็ตามที
      กำลังใจของเราไม่มีการเกาะ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระนิพพานโดยเฉพาะ ทำด้วยจิตบริสุทธิ์



      พระราชพรหมยานเถร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
      วัดท่าซุง
      จ.อุทัยธานี
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ถาม - ตอบปัญหาธรรม

    [​IMG]

    ถาม คนไข้อาการหนักควรทำจิตอย่างไร ? ให้ระงับความทุกข์ทุรนทุราย


    ตอบ ถ้าคนไข้ที่เคยบำเพ็ญเพียรภาวนา ก็สามารถที่จะระงับจิตคือทำสติรู้อยู่ที่ความทุรนทุรายหรือความทุกข์ แต่คนไข้ที่ไม่ได้บำเพ็ญเพียรภาวนา ไม่ได้ฝึกหัดจิตแม้จะแนะนำอย่างไรก็ไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้น
    ก่อนที่จะตายเราควรที่จะได้ฝึกหัดซะให้มันคล่องตัว ถ้าใครหัดตายเล่นๆก่อนที่จะตายจริง อันนี้ยิ่งดี
    เราจะได้รู้ว่าการตายนั้นคืออะไร เมื่อเกิดตายจริงขึ้นมาเราจะได้ไม่ต้องกลัว

    ถาม การเปิดเทปธรรมะให้ฟังเมื่อจิตสงบนั้นจะช่วยให้ได้สุคติหรือไม่?

    ตอบ การเปิดเทปให้ฟังบางทีคนไข้ถ้าตั้งใจจดจ่อฟังก็มีอานิสงส์ให้สุคติได้ แม้ว่าคำเตือนเพียงคำเดียวว่า
    จง ทำสติระลึกถึงคุณพระคุณเจ้านะ เพียงแค่นี้เขาระลึกพระพุทโธ ธัมโม สังโฆ ในขณะนั้นก็สามารถที่จะไปสุคติได้ เช่น มัฏฐกุณฑลี ซึ่งเจ็บป่วยหนัก บิดาเป็นคนขี้เหนียว ไม่หายามารักษา พระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นแล้วว่า เด็กคนนี้ในวันพรุ่งนี้จะตาย เมื่อตายลงไปแล้วจะตกนรก พระองค์ก็เสด็จไปโปรด พระองค์ทรงเปล่งรัศมีไปเตือนให้รู้ว่าพระองค์เสด็จมาโปรด นายมัฏฐกุณฑลีหันกลับมามองดูพระพุทธเจ้าเพียงแว๊บเดียว แล้วก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมา “โอ้โฮ้ ! พระพุทธเจ้าอัศจรรย์หนอ” แล้วก็ตาย ตายแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร อันนี้เป็นตัวอย่าง

    ถาม การพิจารณาเกสาจะทำอย่างไร?

    ตอบ การพิจารณาเกสาก็เพ่งไปที่ผม เกสาคือผมเกิดอยู่บนศีรษะเป็นเส้นๆ ข้างหน้ากำหนดหมายจากหน้าผาก เบื้องหลังกำหนดหมายท้ายทอย กำหนดหมายหมวกหูทั้งสองข้าง เมื่อน้อยก็ยังมีสีดำ เมื่อแก่ไปก็มีสีขาว เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก เพราะเกิดอยู่ในที่ปฏิกูล ชุ่มแช่ไปด้วยปุพโพโลหิต มีอยู่ในกายนี้ เป็นของปฏิกูล เมื่อเหงื่อไคลไหลออกมาเราก็ต้องทำความสะอาดต้องตกแต่งต้องประดับอยู่เสมอ ถ้าหากว่าของนี้ไม่เป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดแล้วจะไปตกแต่งทำไม? พิจารณาไปอย่างนี้ก็ได้ ซึ่งสุดแท้แต่สติปัญญาของเราจะพิจารณาได้ เพียงใดแค่ไหน หรือเราอาจจะพิจารณาว่าผมของเราตกแต่งแล้ว สวยงามจริงหนอ อะไรทำนองนี้ ทำสติรู้อยู่กับสิ่งนั้น ก็เป็นอุบายพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงเหมือนกัน

    ถาม พิจารณากายแล้วมีอาการเหมือนโลหิตไหลในคอ ทำให้ไอ จาม บางครั้งต้องลืมตาขึ้น
    ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไร?

    ตอบ ในเมื่อพิจารณากายแล้วมีอาการอะไรเกิดขึ้น พยายามทำสติตามรู้สิ่งนั้นๆ ถ้าหากว่ามันจะไอ จะจามจริงๆ แล้วก็จามออกมาซะ ไอออกมาซะ ให้มันสิ้นแล้วก็กำหนดสติพิจารณาไปให้จนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ จนสามารถทำจิตให้สงบเป็นสมาธิได้ การไอจามก็จะหายไปเอง

    ถาม จริงหรือไม่ที่ว่าผู้ที่จะนั่งสมาธิได้ผลเร็วนั้นจะต้องสะสมบารมีมาตั้งแต่ชาติก่อน?

    ตอบ อันนี้ทั้งจริงทั้งไม่จริง ผู้มีบารมีมาแต่ชาติก่อนแต่ว่าไม่ทำจริงมันก็ไม่ได้ผล ผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่มีบารมี
    แต่ ว่าทำจริงมันก็ได้ผลเร็วเหมือนกัน ใครจะไปรู้ว่าเรามีบารมีมาก่อนหรือไม่มีมาก่อน ถ้าใครไม่มีบารมีมาก่อน พอได้ยินเขาว่าสมาธิ เหม็นเบื่ออย่างกะอะไรไม่อยากจะทำ แต่พอได้ยินแล้วเกิดความเลื่อมใสอยากทำ
    ผู้นั้นแหละมีบารมีมาก่อนจึงอยากทำ

    ถาม บางครั้งเคยเห็นสำนักที่สอนนั่งสมาธิ มีการเชิญวิญญาณเข้ามาทรงอย่างนี้ถือว่าผิดแบบแผนทางพระพุทธศาสนาหรือไม่?

    ตอบ การฝึกสมาธิเราพยายามที่จะสร้างจิตของเราให้เป็นอิสระแก่ตัว โดยไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด
    แม้แต่กิเลสเราก็ไม่อยากจะให้เป็นนายเหนือหัวใจเรา การที่จะเชิญวิญญาณเข้ามาประทับทรงนั้น
    ไม่ใช่วิสัยของนักปฏิบัติที่ถูกต้องจะพึงทำ

    ถาม วิปัสสนูปกิเลสคืออะไร? มีอะไรบ้าง?

    ตอบ วิปัสสนูปกิเลสคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาแล้วเราไปหลงยึดถือ เช่น อย่างพวกที่ภาวนาแล้วเห็นนิมิต รูปภาพต่างๆ แล้วก็ไปยึดว่าสิ่งนั้นเป็นของวิเศษ เกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมาแล้ว ก็ไปยึดสิ่งที่รู้ที่เห็นนั้นเป็นเรื่องสำคัญไปกำหนดหมายเอาว่าจิตต้องอยู่ ในฌานขั้นนั้น ต้องได้ฌานขั้นนี้อะไรทำนองนี้ ถ้าหากว่าเราทำไม่ได้มันก็จะทำให้เกิดท้อถอย สิ่งใดที่เกิดเป็นผลงานขึ้นมาแล้วเราไปยึดสิ่งนั้นจนเหนียวแน่นแล้วก็ติดกับ สิ่งนั้นด้วย สิ่งนั้นคือวิปัสสนูปกิเลส แต่ในแบบฉบับท่านว่าอุปกิเลส ๑๖ ประการ ขอให้คำจำกัดความหมายสั้นๆว่า จิตของเรารู้เห็นสิ่งใดขึ้นมาแล้วยึดสิ่งนั้นอย่างเหนียวแน่น ถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีวิเศษถ้าไม่รู้อย่างนั้นเป็นอันว่าเป็นความรู้ ที่ไม่ถูกทางอะไรทำนองนี้ แล้วก็ยึดสิ่งที่มันเกิดขึ้นเป็นวิปัสสนูปกิเลสทั้งนั้น ถ้าไปยึดว่าเราต้องนั่งสมาธิให้ได้ ๔-๕ ชั่วโมง. ให้ได้มากๆ ถ้าไม่ได้อย่างนั้นเป็นอันว่าปฏิบัติไม่ได้ผล หรือเกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมาแล้วยึดติดสิ่งนั้นๆ เป็นวิปัสสนูปกิเลสรักษาศีลติดศีลก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส ทำสมาธิเกิดติดสมาธิก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส เกิดปัญญาความรู้อะไรต่างๆขึ้นมาแล้วไปหลงปัญญาความรู้ของตนเอง ขาดวิชชาสติปัญญาความรู้เท่าเอาทันเป็นวิปัสสนูปกิเลสทั้งนั้น

    ถาม ทำไมถึงว่าสมาธิเกิดในเวลานอนดีที่สุด?

    ตอบ ก็เพราะเหตุว่า แทนที่เราจะนอนหลับทิ้งเปล่าๆ สมาธิเกิดขึ้นในขณะนั้นมันเป็นผลดีในการพักผ่อน เพราะเราพักผ่อนในสมาธิ ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวกและจิตที่เป็นสมาธิในเวลานอนนั้นก็ได้ผลดีไม่แพ้ การนั่งสมาธิ

    ที่ว่าสมาธิเกิดขึ้นในเวลานอนดีที่สุดก็เพราะว่าการมี สมาธิในท่านั่งบางทีมันอาจจะมีไม่นานนัก มีซัก ๕ นาที ๑๐ นาที มันก็ถอน ที่เรามีสมาธิในเวลานอนนี้เราอาจจะมีสมาธิตลอดคืนย่ำรุ่งก็ได้

    ถาม ถ้าเป็นสมาธิเกิดขึ้นในขณะนั่งจะมีคุณค่าน้อยกว่าหรือไม่?

    ตอบ ก็มีคุณค่าพอๆกัน ถ้าจิตอยู่ในสมาธิได้นานๆ รู้ธรรมเห็นธรรมก็มีค่าเท่ากัน ที่ว่าถ้าทำสมาธิให้เกิดขึ้นในเวลานอนได้ดีที่สุดนั้น ก็เพราะว่าเป็นการฝึกทำสมาธิให้ได้ทั้งในท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน อะไรทำนองนี้
    ถ้าทำจนคล่องตัวได้ทุกอิริยาบถยิ่งเป็นการดี เวลาเกิดขึ้นในเวลานั่งมีค่าเท่ากัน

    ถาม พระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลานั่งหรือเวลานอน?

    ตอบ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลานั่ง แต่ว่าเวลาท่านนอนท่านก็ทำสมาธิ พระพุทธเจ้านอนตั้งแต่ ๔ ทุ่ม แล้วไปตื่นเอาตี ๓ ชั่วขณะตั้งแต่ ๔ ทุ่มถึง ตี ๓ ท่านก็ทำสมาธิ ท่านแก้ไขปัญหาเทวดา การแก้ไขปัญหาเทวดาต้องพูดกันทางสมาธิไม่ได้พูดด้วยปาก เอาใจพูดกันถ้าหากใจพระพุทธเจ้าไม่มีสมาธิ ในขณะนั้นสัมผัสรู้เทวดาได้อย่างไร

    ถาม ความปีติที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรจึงจะให้สงบลง?

    ตอบ เมื่อปีติมันเกิดขึ้นไม่ต้องไปทำให้มันสงบลง กำหนดจิตรู้มันอยู่เฉยๆ บางทีมันอาจจะกระโดดโลดเต้น หัวเราะ ร้องไห้ขึ้นมาก็ตาม ทำสติตามรู้มันตลอด ในเมื่อมันไปจนหมดฤทธิ์มันแล้วมันสงบลงเอง ถ้าเราไปบังคับให้มันสงบลง ทีหลังปีติมันจะไม่เกิด เมื่อปีติไม่เกิดการปฏิบัติมันก็ท้อถอย อย่างปัญหาที่ว่า ภาวนาเมื่อก่อนนี้ทำไมมันสงบสบายดี แต่เวลานี้มันขี้เกียจเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายเพราะไม่มีปีติ

    ถาม แต่บางครั้งรู้สึกว่าคล้ายจะสำลัก มีความรู้สึกอิ่ม?

    ตอบ เมื่อปีติเกิดขึ้นแล้ว สารพัดที่มันจะแสดงอาการออกมา บางทีก็ทำให้รู้สึกจะสำลัก บางทีทำให้ร้องไห้ หรือหัวเราะ บางทีทำให้ตัวสั่น บางคนปีติเกิดวางมือจากประสานกันมาตบหัวเข่าตัวเองก็ดี อันนี้เป็นอาการของปีติ ซึ่งสุดแท้แต่นิสัยของใครจะแสดงออกมาอย่างไร

    ถาม การทำสมาธิเวลานอนหมายถึงการท่องพุทโธไปจนหลับใช่หรือไม่?

    ตอบ ใช่ การทำสมาธิโดยการท่องภาวนาพุทโธ เราท่องๆ ไปจนกระทั่งใจมันท่องพุทโธเองได้ยิ่งดี นอนหลับมันก็ท่องอยู่ ตื่นมันก็ท่องอยู่ยิ่งดี

    ถาม การ ปฏิบัติเสร็จแล้วได้นอน ขณะที่นอนก็ภาวนาพุทโธต่อไป มีอาการจิตดิ่งลงก็ได้ ตามรู้อารมณ์จิตสักครู่รู้สึกว่าเหมือนกับตัวหมุนไปรอบห้อง บางครั้งรู้สึกว่าตัวพอง ลมจะระเบิดหลังจากนั้นก็ไม่ค่อยสงบ?

    ตอบ อาการอย่างนี้เป็นอาการที่จิตจะเตรียมเข้าไปสู่ความสงบ เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติก็มาเอะใจตกใจกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่างๆ จิตไปยึดอยู่ที่นั่น บางทีมันก็พยายามที่จะระงับไม่ให้เป็นอย่างนั้น บางทีมันระงับได้ บางทีจิตมันดิ่งลงไปแล้วมันระงับไม่ได้ รู้สึกว่าทำให้เกิดมีอาการต่างๆเกิดขึ้น อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดา แต่เราควรจะทำสติรู้อยู่เฉยๆจนกว่ามันจะเกิดความสงบลงไปได้จริงๆ

    ถาม ในการสวดคาถาพระกัณฑ์ไตรปิฎก ได้อานิสงส์อย่างไร?

    ตอบ พระกัณฑ์ไตรปิฎกก็เป็นบทสวดมนต์บทหนึ่ง อานิสงส์ ก็คือเป็นการอบรมจิตและเป็นการทรงจำพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า บางทีผู้ตั้งใจสวดด้วยความมีสติสัมปัชัญญะแล้ว อานิสงส์ของการสวดนั้น จะทำให้จิตมีสมาธิ มีปีติ มีความสุข ตามหลักการทำสมาธิเป็นการอบรมจิต

    พระ กัณฑ์ไตรนี้ก็หมายถึงยอดพระไตรปิฎกอักขระทุกบททุกตัวที่ท่านเอามารวมกันไว้ เป็นหัวใจพระไตรปิฎก ถ้าใครจำหัวใจพระไตรปิฎกได้ก็เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่มีอานิสงส์อย่างมากมาย

    ถาม คฤหัสถ์ต้องทำธุรกิจการค้า วิธีจะรักษาศีลข้อมุสาวาทให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร?

    ตอบ มีวิธีอย่างนี้ ถ้าสมมติว่าเราไปซื้อของมาขาย เราขายของให้ลูกค้า ถ้าลูกค้าว่า “ทำไมขายแพง” “ต้นทุนมันสูง” “ต้นทุนมันเท่าไหร่” คิดค่าเสียเวลา ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง ค่าเสียภาษี ดอกเบี้ย บวกเข้าไป ค่าของที่มาตกค้างอยู่ในร้านค้า ทุนมันก็เพิ่มขึ้นๆ ยิ่งค้างอยู่นานเท่าไหร่มันก็ยิ่งเพิ่มขึ้นๆ ซื้อมาทุน ๑๐ บาท ก็ตีราคาทุนมัน ๑๒ บาทก็ได้ ไม่ใช่โกหก เพราะว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราเดินทางจากโคราชไปเอาที่กรุงเทพฯ ไปก็ต้องเสียค่ารถ เอารถไปเองก็ต้องเสียค่าน้ำมัน ค่าสึกหรอรถ ค่าอาหารการกินของผู้ที่ไป พอได้แล้วก็ต้องเสียค่าขนส่ง มาแล้วก็ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย เราก็คิดรวมเข้าไปซิ นักการค้าต้องเป็นคนฉลาดคนรักษาศีลก็ต้องเป็นคนฉลาด แต่ว่าเรามีเจตนาโกหกเขา มันก็ผิดศีลข้อมุสาวาท มันจะไปยากอะไรการรักษาศีลข้อมุสาวาท

    ถาม ปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้า เกิดความท้อแท้จะมีวิธีแก้อย่างไร?

    ตอบ ปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้าท้อแท้ ปฏิบัติไม่ถึง ไม่ถึงขั้นสละชีวิตเพื่อข้อวัตรปฏิบัติ พอปฏิบัติไปนิดหน่อยเมื่อยก็รำคาญหยุดซะ ขาดความอดทน ถ้าจะให้ก้าวหน้า ต้องให้จับหลักการปฎิบัติให้มั่นคง อย่าเหลาะแหละเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ จะบริกรรมภาวนาพุทโธ เอ้า! ฉันจะภาวนาพุทโธอยู่อย่างนี้จนจิตมันจะสงบ ตั้งนาฬิกาเอาไว้วันนี้จะนั่งสมาธิ ๑ ชม. ๒ ชม. แล้วปฏิบัติให้มันได้ วันหนึ่งจะนั่งสมาธิวันละกี่เวลาก็ปฏิบัติให้มันได้ จะเดินจงกรมวันละกี่เวลา เวลาออกจากที่นั่งสมาธิมาแล้ว ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นอารมณ์ จิตให้มีสติอยู่ตลอดเวลา แม้ว่านอนหลับลงไปแล้วจิตมันคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิดไป ให้มีสติกำหนดตามรู้ไป ในเมื่อมันไปสุดช่วงมัน แล้วมันจะเกิดความสงบเองแล้วจะก้าวหน้าเอง อันนี้ที่เราปฏิบัติไม่ได้ผลเพราะว่าเราขาดความอดทน ทำไม่ถึง แล้วก็ทำไม่ถูกต้อง พอปฏิบัติพุทโธๆ ก็ไปข่มจิตจะให้มันสงบ ทีนี้พอไปข่ม มันก็ปวดหัวปวดเกล้า ปวดต้นคอขึ้นมา ก็ทนไม่ไหว วิธีการที่จะท่องพุทโธ ก็ท่องพุทโธ ๆๆ อยู่เฉยๆ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ ท่องมันไว้ตลอดเวลา เวลาออกจากที่นั่งสมาธิแล้ว เราไม่มีการสำรวม ไม่มีการฝึกสติ วันหนึ่งเรานั่งสมาธิไม่ได้ถึง ๔ ชม. แต่เวลาที่เราปล่อยให้มันไปตามอำเภอใจ ๒๐ ชม. มันไปสกัดกั้นกันได้อย่างไร? เพราะฉะนั้นต้องทำให้มากๆ อบรมให้มากๆ มันถึงจะก้าวหน้า

    ถาม การปฏิบัติที่ก้าวหน้าจะมีวิธีอย่างไร สังเกตได้อย่างไร?

    ตอบ การปฏิบัติเพื่อก้าวหน้าก็ดังที่กล่าวแล้ว สังเกตว่าเราปฏิบัติแล้วได้อะไร เอาศีล ๕ เป็นข้อวัด เมื่อเรามีเจตนาละเว้นโทษตามศีล ๕ ถ้าเราละได้โดยเด็ดขาด นั่นแหละเป็นผลได้ของเรา ถ้ายิ่งจิตใจไม่ต้องอดต้องทนต่อการที่จะทำบาปความชั่ว เจตนาที่คิดจะทำความชั่วผิดบาป ๕ ข้อ นั้น ไม่มีเลย แม้ว่าจิตยังไม่เป็นสมาธิก็ตามก็ได้ชื่อว่าเราปฏิบัติได้ผล

    ถาม ทำอย่างไรคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนจึงจะอยู่อย่างมีความสุข?

    ตอบ สุขเกิดจากความไม่มีหนี้ ถ้าทรัพย์ไม่มีหาความสุขไม่ได้หนี้สินถมหัวก็ยิ่งทุกข์หนัก นี่ปฏิบัติ ๒ ข้อนี้พอ แล้วจะมีความสุข สุขอย่างคฤหัสถ์นี่มันสุขเพราะมีที่ดินอยู่ มีเรือนอยู่ มีเงินใช้ ไม่เป็นหนี้เป็นสินใคร แม้ว่าใจมันจะทุกข์เพราะเหตุอื่นก็ยังได้ชื่อว่าเป็นความสุข ถ้าคฤหัสถ์มีศีล ๕ นั่งสมาธิภาวนาแถมมีเงินมีทองใช้ มีบ้านอยู่ ยิ่งสุขใหญ่ อันนี้คือสุขคฤหัสถ์ สุขเพราะความไม่มีโรค นั่นก็เป็นสุขอันหนึ่ง

    ถาม เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้นจะมีอุบายในการระงับความโกรธได้อย่างไร?

    ตอบ ประการแรก อดทน อย่าให้ความโกรธมันใช้มือไปทุบคนโน้นคนนี้ อย่าให้ความโกรธใช้ปากไปด่าคนโน้นคนนี้ ใช้ความอดทนในเมื่อเรายังไม่มีอุบาย ทีนี้อุบายถ้าเราจะใช้ก็พิจารณาถึงอกเขาอกเรา โกรธแล้วเราไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ข่มเหง ไม่รังแก แม้ในใจมันโกรธอยู่แต่ไม่ทำสิ่งนั้นลงไป มันก็ไม่มีบาปมีกรรมอะไร ในเมื่อโกรธมันไปจนสุดฤทธิ์แล้ว มันก็หมดไปเอง เมื่อเรายังไม่มีอุบาย ถ้าเรามีอุบายพิจารณาว่า ความโกรธมันเป็นทุกข์อย่างนี้ๆ เราไม่ควรโกรธเลยๆ เอาแค่นี้ก็ได้ แต่ประการสำคัญที่สุด โกรธแล้วต้องระวังอดกลั้น อย่าเผลอไปทำความผิดพลาดอย่างรุนแรงขึ้นมา เมื่อทำผิดพลาดลงไปแล้วมันจะเสียใจภายหลัง เช่นพ่อแม่โกรธลูกคว้าไม้เรียวมาเฆี่ยนมันอย่างไม่นับ จนหนังมันแตกเป็นริ้วเป็นรอยเลือดสาด ในขณะที่เราทำอยู่นั้นเราอาจจะคิดว่าเราได้ทำอะไรสมที่โกรธแล้ว แต่เมื่อโกรธมันหายไปแล้ว อะไรมันจะเกิดขึ้น ความเสียใจภายหลังเดี๋ยวก็นั่งร้องไห้กอดเขา “เราไม่น่าทำเลย”

    ถาม การฆ่าเพื่อป้องกันตัว บาปหรือไม่?

    ตอบ การฆ่าเพื่อป้องกันตัวนี่ก็บาป ฆ่าป้องกันตัวนี่ก็บาป ฆ่าเพื่อสนุกก็บาป ขึ้นชื่อว่าการฆ่าบาปทั้งนั้น แต่ว่าฆ่าพ่อฆ่าแม่เป็นอนันตริยกรรม เป็นกรรมหนัก ฆ่าบุคคลผู้มีคุณธรรมไม่เบียดเบียนใครก็เป็นบาปหนัก ฆ่าคนที่มีจิตใจโหดร้าย ฆ่าข้าศึกก็บาป แต่ว่าบาปน้อยกว่าผู้มีคุณมีบุญ จะไม่บาปเลยนั้นเป็นไปไม่ได้

    ทีนี้อย่างตำรวจไปฆ่าโจรผู้ร้าย โจรผู้ร้ายมันก่อความเดือดร้อนให้แก่บ้านแก่เมือง ฆ่าคนวันละ ๑๐ - ๒๐ คน ตำรวจไปฆ่ามันตายเสียได้ทั้งบาปได้ทั้งบุญ ได้บาปเพราะการฆ่า ฆ่าคนที่มีจิตใจโหดร้าย ไม่มีศีลธรรม ไม่มีกฎหมาย มีค่าเท่ากันกับสัตว์เดรัจฉานที่ดุๆ เช่น ฆ่างูพิษ เป็นต้น เพราะว่าจิตใจมันโหดร้าย มีค่าเท่ากันกับสัตว์เดรัจฉาน แต่ว่าจะไม่บาปเลยนั้น เป็นไปไม่ได้ แต่ว่าบุญก็ได้ บุญก็หาบบาปก็หิ้ว ในกรณีที่กล่าวนี้บุญมันได้มากกว่าบาป เพราะคนที่รอวันตายวันละ ๑๐ - ๒๐ คน นั้นก็พ้นอันตรายไป

    ถาม เมื่อมีกามตัณหาเกิดขึ้นเราควรจะระงับอย่างไร?

    ตอบ ระงับด้วยความอดทนอดกลั้น ระวังอย่าทำผิดวินัย ถ้าเป็นพระเป็นสงฆ์ ราคะความกำหนัดยินดีเกิดขึ้นเราก็อดทนอดกลั้น อุบายวิธีถ้าเมื่อมันเกิดขึ้นระงับไม่ไหว ก็ลุกไปเดินจงกรมบ้าง ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิบ้าง พิจารณาอสุภกรรมฐานบ้าง

    ตัณหาโดยทั่วๆ ไป ตัณหาความทะเยอทะยานอยากได้อยากดี อยากมีอยากเป็นเกิดขึ้น ซึ่งยังเป็นวิสัยของผู้ยังต้องการทรัพย์สมบัติ ท่านก็ให้ระมัดระวัง การแสวงหาผลประโยชน์ อย่าให้ผิดศีลข้ออทินนาทาน ในเมื่อเราไม่ผิดศีลข้ออทินนาทาน ก็เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในขอบเขต ปุถุชนจะไม่ทะเยอทะยานนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อความทะเยอทะยานตัณหาเกิดขึ้นให้นึกถึงศีลธรรมและกฎหมายปกครองบ้าน เมือง ถ้าหากว่าตัณหาเกี่ยวกับเพศตรงข้าม พระภิกษุสงฆ์ให้พิจารณาอสุภกรรมฐานให้มากๆ

    ถาม เวลาเราประสบกับเหตุร้ายๆ เกิดความทุกข์ใจ จะมีวิธี หรืออุบายทำใจให้ไม่เป็นทุกข์ได้อย่างไร?

    ตอบ ปุถุชนไม่มีทาง อดทนทุกข์ไปจนกว่าทุกข์มันจะสร่างไปเอง หรือหากว่าใครสามารถนั่งสมาธิเข้าสมาธิได้เร็ว ถ้าจิตเข้า สมาธิมีปีติความสุขได้ ทุกข์มันก็หายไป สำหรับปุถุชนผู้ยังมีกิเลสอยู่นี่จะไปละทุกข์มันไม่ได้ แล้วตามหลักการพระพุทธเจ้าว่าทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ “ตังโข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว” ทุกข์เป็นธรรมชาติที่พึงกำหนดรู้ ไม่ใช่เรื่องละ เราก็กำหนดว่าทุกข์เราได้กำหนดรู้แล้ว ถ้าทุกข์ใจมันมีอยู่แนวทางปฏิบัติสมาธิภาวนา กำหนดเอาทุกข์เป็นอารมณ์ เราอาจจะท่องในใจว่า ทุกข์หนอๆๆก็ได้ ในเมื่อท่องทุกข์หนอ จิตมันสงบเป็นสมาธิลงไปแล้ว ทุกข์มันก็หายไป ในเมื่อออกจากสมาธิมาแล้วมันทุกข์อีกภาวนามันต่อไป หลักแก้มันก็อยู่ที่ตรงนี้

    ถาม นิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา?

    ตอบ นิพพานเป็นธรรมใช่มั๊ย นิพพานเป็นธรรม “สัพเพ ธัมมา อะนัตตา” ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา พระนิพพานก็ต้องเป็นอนัตตา เพราะผู้ที่บรรลุพระนิพพานแล้วไม่มีอัตตาตัวตน ไม่มีสมมติบัญญัติ เป็นสภาวจิตที่อยู่เหนือสมมติบัญญัติ เหนือกิเลสเพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงเป็นอนัตตา

    ถาม การอโหสิกรรม เมื่อเจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้แล้ว ผู้นั้นยังจะต้องรับกรรมอีกหรือไม่?

    ตอบ อันนี้ต้องทำความเข้าใจ กรรมที่เราทำโดยมีคู่กรณี เช่น ชกต่อยตีกัน ทะเลาะเบาะแว้งกันในเมื่อทำลงไปแล้วต่างคนต่างเจ็บแค้นใจ มันผูกกรรมจองเวรกัน คือคอยที่จะล้างผลาญกัน แก้แค้นกันอยู่เสมอ ทีนี้ในเมื่อปรับความเข้าใจกันได้แล้ว ต่างคนต่างก็ยกโทษให้กัน อโหสิกรรมให้กัน การผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรมันก็หมดไป เพราะเราไม่คิดที่จะทำร้ายกันต่อไปอีก แต่บาปกรรมที่ไปตีหัวเขานั้นมันอโหสิไม่ได้ เพราะมันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ เราไปด่าเขามันก็เป็นบาป มันผิดศีลข้อมุสาวาท ตีเขา ฆ่าเขา มันก็เป็นฉายาแห่งปาณาติบาต ถึงเขาไม่ตายก็ตาม ถ้าเขาตายก็เป็นปาณาติบาต แม้ว่าผู้ที่ถูกทำร้ายจะอโหสิกรรมให้ คือไม่จองเวรกันต่อไป กรรมที่ผู้นั้นกระทำลงไปแล้ว ย่อมแก้ไม่ตก นี่ต้องเข้าใจกันอย่างนี้

    ที นี้เราทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวรเขาได้รับส่วนกุศลของเรา เขาได้เกิดดีถึงสุขพ้นจากที่ที่เขาอยู่ ซึ่งมันเป็นที่ทุกข์ทรมาน เขาดีอกดีใจเขานึกถึงบุญถึงคุณเราเขาก็อโหสิกรรมให้เราได้ แต่กรรมที่เราฆ่าเขานั้นมันก็ยังเป็นผลกรรมที่เราจะต้องสนองอยู่ เพราะฉะนั้น ผู้ใดต้องการตัดกรรมตัดเวรก็ต้องให้มีศีล ๕ ข้อ จึงจะตัดเวรตัดกรรมได้


    โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

    วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

    ที่มา : www.luangpee.net/forum/?topic=3834.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    พัฒนาความหายนะของจิต

    [​IMG]

    .....ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง ยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั้น
    ด้วยใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้ ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้วมันก็อาละวาด
    เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนาสมาธิ นี่แหละที่เราเรียกว่า
    "การฝึกใจ"
    .....ขอให้จำไว้ว่า ถึงจะขี้เกียจ ก็ให้พยายามปฏิบัติไปขยันก็ให้ปฏิบัติไป
    ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่งนี่จึงจะเรียกว่า "การพัฒนาจิต"
    ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนแล้ว ก็จะเกิดความคิดไป
    ความสงสัยไปมากมาย มันจะพาให้คิดไปว่า...
    "เราไม่มีบุญ เราไม่มีวาสนา ปฏิบัติธรรมก็นานนักหนาแล้วยังไม่รู้ยังไม่เห็นธรรมเลยสักที"
    การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ ไม่เรียกว่าเป็น "การพัฒนาจิต" แต่เป็น
    "การพัฒนาความหายนะของจิต"


    [​IMG]

    หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    ที่มา : http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=202
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ภูมิจิต - ภูมิธรรม

    [​IMG]

    ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้
    เป็นแต่เพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่าธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ชั้นสมถกรรมฐาน

    ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติความรู้ไปสู่พระไตรลักษณ์ ถ้าหากมีอนิจจสัญญา
    ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์
    (เพราะตั้งอยู่ไม่ได้) อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

    ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา

    [​IMG]

    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี

    ที่มา : True Monks
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ดับลงที่ตัวสติ

    [​IMG]

    เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ

    รู้ทันมันเดี๋ยวนี้ มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ
    ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุยมันหละ
    ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ รู้ทันก็ดับ รู้ทันก็ดับ คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ
    พอใจไม่พอใจก็ดับลงทันทีที่ตัวสติ


    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

    ที่มา : เว็ปไซด์ ไท 104.75 FM
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้...

    [​IMG][​IMG]
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    ภาพพระธาตุของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ฯ



    การภาวนาก็เหมือนกัน ต้องรู้จักเลือกอุบายภาวนา
    พิจารณาอุบายที่ถูกจริต อาศัยความเพียรอย่างเดียวบ่ได้
    กิเลสมันพลิกแพลงเก่ง ต้องตามให้ทัน
    คนรู้จักพิจารณา ก็บรรลุธรรมเร็ว
    มรณกรรมฐานนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่เพียงคำพูด
    คำพูดหรือตัวหนังสือมันจะละกิเลสอะไรไม่ได้
    แต่ถ้าผู้ปฏิบัติน้อมนึกรำลึกในมรณกรรมฐาน
    ไม่ว่าจะเห็นคน เห็นสัตว์ ป่าไม้ ป่าดงพงพี
    ก็เห็นแตกดับ ความตายของคน ของสัตว์
    ของต้นไม้ใบหญ้า ผลที่สุดที่เกิดมาแล้ว
    ก็ต้องมีแตกดับทำลายตายไปเป็นธรรมดา
    ใครจะมายึดมาถือว่าตัวเราของเราไม่ได้ทั้งนั้น
    ยึดไปเถิด เมื่อถึงความตายแล้วก็ต้องทิ้ง ไม่ทิ้งก็จำใจทิ้ง
    เมื่อจิตใจของผู้ภาวนา ภาวนาเข้าถึงซึ่งมรณกรรมฐานแล้ว
    ไม่ห่วงใคร บ้านก็ไม่ห่วง ลูกเต้าก็ไม่ห่วง
    ลูกหลานเหลนโหลนอะไรก้ไม่ห่วงทั้งนั้น
    เพราะมันเล็งเห็นแจ้งชัดว่า ตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้



    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
     

แชร์หน้านี้

Loading...