ภาวนาธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 28 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ไม่สู้ไม่หนีสร้างความดีเข้าไว้

    [​IMG]

    กรรมฐานนี้สำคัญ ระลึกเหตุการณ์ในชีวิตได้…
    ขอให้ท่านตั้งใจทำ หนักเอาเบาสู้ คนที่เขาร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี
    เขาลำบากมามาก เขาอดทนมามาก
    นี่แหละท่านทั้งหลาย…ความดีความชอบไม่ใช่คนอื่นทำให้ เราทำตัวเอง
    เราได้ดิบได้ดีไม่ใช่สบาย ผู้ใหญ่เป็นโตก็ใช่ว่าสบาย
    ถ้าหากว่ากินแล้วนอน นอนแล้วกิน ไม่ทำอะไรเลยนั้น
    กำลังทำความชั่วโดยไม่รู้ตัว
    หากท่านพบความลำบากเท่าไร ก็จงภูมิใจเถิดว่า
    ..ท่านลำบากเพราะกำลังทำความดี..
    ถึงจะไปทำงานให้คนอื่นก็ถือว่าทำดี
    ความดีที่เราทำไว้จะติดตัวเราไปจนสู่สัมปรายภพ ไม่มีสูญหาย
    การเดินจงกรมก็จะติดตัวเรา
    เราสร้างความดีให้ติดตัวเราไปในอนาคตข้างหน้า
    ขอให้ท่านไม่สู้ใคร ไม่หนีใคร แล้วหมั่นสร้างความดีไว้…ได้ดีแน่นอน


    [​IMG]


    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

    วัดอัมพวัน
    จ.สิงห์บุรี
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ปฏิบัติไม่ได้ผล ทำสมาธิไม่ได้

    [​IMG]
    ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ มักจะคิดว่า ความคิด ความฟุ้งซ่าน ความปวด เมื่อย เวทนาต่างๆ
    เป็นปัญหา เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ พอสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ก็เลยเข้าใจว่า…
    ปฏิบัติไม่ได้ผล ทำสมาธิไม่ได้


    แต่ความเป็นจริงนั้น ถ้าเรารู้จัก พลิกวิกฤติ…ให้เป็นโอกาส
    จับสิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหา เป็นอุปสรรค มาเป็นตัวกำหนด มาเป็นกรรมฐาน
    เราก็จะได้สติจากการทำสมาธิ เราก็จะได้เรียนรู้ในสภาวะธรรมที่เป็นจริง
    เราก็จะได้ปัญญาจากการปฏิบัติธรรม อันเป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องและได้ผล

    ที่สำคัญ
    เราต้องวางจิตให้ถูก อย่าไปยินดียินร้ายในสภาวะธรรมที่กำหนด
    วางใจให้เป็นกลาง ๆ กำหนดให้ต่อเนื่อง
    ปัญหาและอุปสรรคที่ว่า ก็จะทำให้การปฏิบัติของเราก้าวหน้าต่อไปอย่างแน่นอน…สาธุ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    รอยเดียวกัน

    [​IMG]
    ารเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว
    ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำบริกรรม เช่น
    พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน สงบแล้ว คำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง

    แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือ มีวิมุติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง...


    [​IMG]

    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    จิตนี้ฝึกได้

    [​IMG]

    ท่านทั้งหลาย เพิ่งเริ่มเข้ามาปฏิบัติไม่กี่ชั่วโมง
    จึงอาจจะไม่ลึกซึ้งถึงขึ้นที่ดูหน้าดูตาก็จะรู้ได้
    ดูคนให้ดูหน้า ดูโหงวเฮ้ง
    การแนะแนวไม่ใช่มาถึงวัดสอนบุญ บาป
    ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรกเท่านั้น
    ต้องสอนแนะแนวถึงกรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร
    ใครเอาไปใช้ปฏิบัติเป็นประจำ จะแก้กรรมได้จริง ๆ

    ถ้าใช้ไม่จริงก็เหมือนถ้วยชา เขาให้มาแล้วเอาไปใส่ตู้ไว้ ไม่ค่อยใช้ให้เป็นประโยชน์เลย
    ตัวเรานี้มีประโยชน์มาก แต่ใช้ตัวไม่เป็น ไปใช้ในเรื่องไร้สาระเสียมาก ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
    เกิดมาเสียชาติเกิดไม่ประเสริฐล้ำเลิศ ไหน ๆ จะตายจากโลกไปก็จะต้องมีความดีติดตัวไปด้วย
    และทิ้งความดีไว้ในโลกมนุษย์ คือ ความดีเป็นตรา
    ถ้าใครทำกรรมฐานได้ลึกซึ้ง จะรู้เหตุผลของชีวิตได้อย่างดีที่สุด
    เป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน แก้ไขปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าด้วยกรรมฐาน

    บางคนชอบไปหาหมอดู หมอดูบอกว่าต้องสอบได้ที่หนึ่ง แต่ปรากฏว่า สอบตก
    หมอดูว่า สอบตกกลับสอบได้ เพราะเราขยัน เราต้องสร้างความดีให้กับดวง
    หาใช่ดวงทำให้เราดีไม่ ต้องสร้าง อยู่เฉย ๆ ดีได้อย่างไร มันต้องเกิดจากการกระทำ
    คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง

    การสร้างความดีให้กับดวง ก็คือ สร้าง ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นแก่ตัวเรา
    แล้วเราจะอบอวล ทวนลม ผู้ที่มีสมาธิจะเป็นคนขยันหมั่นเพียร และเป็นผู้มีปัญญา


    คนที่มีปัญญาแหลมลึก แหลมหลักต้องมีสามคม
    คมกริบ-ไว้ภายในจิต ไม่บอกใคร
    แสดงออกในเมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้
    คมคาย-มันยังเป็นหลุม เป็นบ่อ ไม่เสมอ
    ก็เอาบุ้งมาแทง อย่างนี้เป็นต้น
    คมสัน-มันต้องใช้ขวานตอกย้ำลงไป จึงจะเข้าเรียบร้อยดี

    นี่มันมีในลักษณะศีล สมาธิ ปัญญา ครบ ศีล
    คือ สถาปนิก ออกรูปแบบพื้นฐานให้คนชอบ
    สมาธิ คือ วิศวกร รู้วาระจิต รู้จักน้ำหนัก รู้จักชั่งตวงวัด
    รู้จักวาระจิตของคนในฐานะเช่นไร ควรทำกับเขาอย่างไร
    รู้จักกาลเทศะ รู้จักบาป รู้จักบุญ รู้จักคุณ รู้จักโทษ
    รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ที่วิศวกร
    ปัญญา คือ นายช่าง ลงมือทำทันที มิได้รอรีแต่ประการใด


    ถ้าใครเป็นทั้งสถาปนิก วิศวกรและนายช่างแล้ว
    รับรองคนนั้นเอาตัวรอดปลอดภัยในอนาคต
    บางคนเกิดมาแต่ชาติก่อน
    นิสัยดีมีปัญญาในโลกมนุษย์นี้
    เขาจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
    ถึงจะเกิดในบ้านยากจนก็สามารถเป็นรัฐมนตรี
    หรือเป็นใหญ่เป็นโตได้
    เพราะสติปัญญาที่สร้างมาแต่ชาติก่อน
    คนเราก็มีทั้งถูกและแพง
    มีทั้งเก๊และดี มีทองคำก็มีทองชุบ
    มีหลวงพ่อทวดก็มีหลวงพ่อเทียบ
    คนดีหายากคนเก๊เยอะ
    มีน้อยเหลือเกินที่จะดีเด่นเห็นชัดและเห็นไกล
    อย่างนี้หายาก ต้องอดทน ต้องฝึกฝน
    ท่านทั้งหลายเอ๋ย จิตนี้ฝึกได้
    ขยันก็ได้ฝึกให้ทำงานก็ได้
    ฝึกให้ขี้เกียจก็ได้


    ที่มา : http://www.jarun.org
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ดูใจตนเอง

    [​IMG]
    การเพ่งโทษผู้อื่นเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการทำให้จิตใจตนเองสบาย
    ตรงกันข้าม กลับเป็นการเพิ่มความไม่สบายให้ยิ่งขึ้นเพียงนั้น
    แต่ถ้าหยุดเพ่งโทษผู้อื่นเสีย
    เขาจะพูดจะทำอะไรก็ตาม อย่าไปเพ่งดู
    ให้ย้อนเข้ามาเพ่งดูใจตนเอง
    ว่ากำลังมีความสุขทุกข์อย่างไร มีอารมณ์อย่างไร
    ใจจะสบายขึ้นได้ด้วยการเพ่งนั้น

    กล่าวสั้นๆ คือ การเพ่งดูผู้อื่นทำให้ตนเองไม่เป็นสุข
    แต่การเพ่งดูใจตนเองทำให้เป็นสุขได้
    แม้กำลังโกรธมาก หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก
    ความโกรธก็จะลดลง

    เมื่อความโกรธน้อย หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นว่ากำลังโกรธน้อย
    ความโกรธก็จะหมดไป
    จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะกำลังมีอารมณ์ใดก็ตาม
    โลภหรือโกรธ หรือหลงก็ตาม
    หากเพ่งดูใจตนเองให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว
    อารมณ์นั้นจะหมดไป
    ได้ความสุขมาแทนที่ทำให้มีใจสบาย
    ทุกคนอยากสบาย แต่ไม่ทำเหตุที่จะให้เกิดเป็นความสบาย

    ดังนั้น จึงยังหาผู้สบายได้น้อยเต็มที
    ยิ่งกว่านั้น ทั้งๆ ที่ทุกคนอยากสบาย
    แต่กลับไปทำเหตุที่จะให้ผลเป็นความไม่สบายกันเป็นส่วนมาก
    ดังนั้น จึงได้รับผลเป็นความไม่สบายตามเหตุที่ทำ
    เพราะดังได้กล่าวแล้ว ทำเหตุใดต้องได้รับผลของเหตุนั้นเสมอไป
    เหตุดีให้ผลดี เหตุชั่วให้ผลชั่ว
    เหตุแห่งความสุขให้ผลเป็นความสุข
    เหตุแห่งความทุกข์ให้ผลเป็นความทุกข์
    ต้องทำเหตุให้ตรงกับผล จึงจะได้ผลที่ปรารถนาต้องการ
    ควรมีสติระลึกถึงความจริงนี้ไว้ให้สม่ำเสมอ...



    พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    พัฒนาตัว - รักษาจิต

    [​IMG]

    อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ
    หลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา) บอกว่า
    "ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"
    คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

    กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 %
    ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
    เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
    ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่

    ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
    โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
    มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ
    เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
    เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
    จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
    เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ
    และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ
    แต่ถึงอย่างไรๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

    พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
    ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ
    เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ
    แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ

    ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก
    รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
    เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
    ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ ..... ไม่แน่
    อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
    เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
    สักแต่ว่า ..... สักแต่ว่า ..... ใจเย็นๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

    ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
    เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว
    จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
    พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา

    ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
    ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น
    ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
    ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
    มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน
    ก็สงบๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิดๆ ๆ
    ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ
    พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ..... นั่นแหละ

    เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน
    เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
    ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ
    หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
    มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
    อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวันๆ ก็หมดแรง

    ระวังนะ
    พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
    ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
    แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
    อย่าเอามาเป็นอารมณ์
    อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา

    ดูใจเรานั่นแหละ
    พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
    ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ
    หัด -ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
    ไม่มีอะไรหรอก
    ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
    คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข


    [​IMG]

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    วัดป่าสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ความสุขหาได้ไม่ยาก

    [​IMG]

    สามัญชนทั้งปวงมีความยึดมั่นถือมั่น

    จะให้สิ่งทั้งหลายเที่ยง ให้ไม่แปรปรวนเปลี่ยนแปลง
    ให้เป็นไปตามอำนาจความปรารถนาต้องการของตน
    แต่สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง
    ไม่เป็นไปตามอำนาจความปราถนาต้องการของผู้ใด

    พระพุทธองค์ตรัสรู้ทรงเห็นแจ้งในสัจธรรมนี้
    และได้แสดงไว้ในพระธรรมคำสั่งสอนอันเปรียบเสมือน
    ดวงประทีปส่องโลกให้สว่าง พ้นจากความมืดคืออวิชชา
    หรือโมหะที่หุ้มห่ออยู่ ผู้ที่ต้องการให้จิตใจพ้นจากความมืด
    มีความสว่าง นั่นคือพ้นจากความทุกข์ ได้มีความสุข
    ต้องจำสัจธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ให้แม่นยำ


    เมื่อโมหะความหลงผิดในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแสดงตัวขึ้นในจิตใจ
    สัญญาความจำที่ได้ในสัจธรรมที่ทรงสอนไว้จะเป็นเครื่องช่วย
    ยับยั้งความหลงผิดได้ มากหรือน้อยแล้วแต่กำลังสติปัญญา



    จากหนังสือความสุขหาได้ไม่ยาก

    พระนิพนธ์ สมด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ธรรมนี้เกิดที่ใจ

    [​IMG]
    แสดงออกมาจากใจให้เป็นความร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน
    แล้วยิ่งต่างคนต่างมีธรรมภายในใจ
    ก็ฉายแสงออกมาด้วยความดีงามนี้
    โลกจะชุ่มเย็นไปทั่วหน้ากัน
    เพราะอำนาจแห่งธรรมไม่เคยทำใครให้เดือดร้อนเลย

    นอกจากกิเลส มีมากมีน้อยก่อกวนทุกอย่าง
    เป็นไปได้ไม่มีประมาณสำหรับกิเลส
    นี้เกิดขึ้นจากใจด้วยกันนะ
    กิเลสก็เกิดขึ้นจากใจ
    แสดงฤทธิ์ออกมาจากใจ
    ทำลายตนเองแล้วก็ทำลายผู้อื่น

    แล้วธรรมก็ออกลวดลายหรือออกฤทธิ์ขึ้นมาจากใจ
    ทำความร่มเย็นเป็นมงคลแก่ตนเองและให้ความร่มเย็นและเป็นสิริมงคลแก่ส่วนรวมทั่วๆ ไป ก็คือธรรมที่เกิดขึ้นจากใจ
    นี่ละให้พากันจำเอาไว้ เวลาศึกษาเล่าเรียนแล้วให้ไปปฏิบัติ

    : หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    www.luangta.com/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    พละ ๕ ชนะทั้งศึกนอก-ใน

    [​IMG]


    ลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย​
    การต่อสู้ทางใจคือการต่อสู้กับกิเลสภายในใจของตนเอง
    อะไรเป็นข้าศึกของใจ? ข้าศึกของใจคือกิเลส
    กิเลส ที่บ่อนทำลายใจมีมากนัก ข้าศึกของใจที่บ่อนทำลาย ไม่ให้ผู้อบรมภาวนา บรรลุถึงฌาน สมาธิ ได้โดยเฉพาะ เรียกสั้นๆ ว่านิวรณ์ ๕ คือ
    ๑. กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นเครื่องกีดกันจิตใจมิให้หลุดออกจากอารมณ์นั้นได้
    ๒. พยาบาท จิตใจมุ่งมาด ปองร้าย หมายมั่นในตนเอง และ บุคคลอื่นจนปล่อยวางไม่ได้
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ทำให้ง่วงงุน คิดนึกอะไร ไม่ผ่องใสปลอดโปร่ง
    ๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ จิตใจฟุ้งซ่าน และ ให้เกิดความรำคาญ
    ๕. วิจิกิจฉา ความที่จิตใจลังเล ไม่แน่นอน ตกลงอะไรไม่ได้

    นี้ เรียกว่า ข้าศึก กิเลสภายใน ของผู้จะอบรมจิตใจให้เกิด ญาณ สมาธิ ถ้าเอาชนะข้าศึกเหล่านี้ไม่ได้แล้ว เราก็จะตั้งตัวไม่ติด ตกลงยอมเป็นทาสของกิเลสข้าศึก
    การต่อสู้กับข้าศึก กิเลสภายในเหล่านี้ พระพุทธเจ้าได้แนะวิธีจัดกองทัพไว้ให้พวกเราครบถ้วนแล้ว กองทัพนั้นมีทั้งพลกำลัง และเสบียงอาวุธอย่างดี ทันสมัยด้วย นั่นคืออะไร คือ พละ ๕ อันได้แก่
    ๑. ความเชื่อมั่นในใจ อันที่จะทำความดีเพื่อจะชนะกิเลสให้ได้จริง เพราะธรรมปฏิบัตินี้เป็นทางตรง เมื่อปฏิบัติตามได้แล้วย่อมพ้นทุกข์ได้ และเชื่อความสามารถของตนเองด้วยว่า จะเอาชนะกิเลสความชั่วได้จริง
    ๒.เพียรพยายามไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มีมรรคมีองค์๘ประการเป็นต้น แม้จะมีอุปสรรคถึงแก่ชีวิตก็ยอมสละ
    ๓. ใช้สติระลึกตามจิตให้ใกล้ชิดกันที่สุด จิตจะหยุด หรือ จะเที่ยว ก็ตามรู้อยู่เสมอ ไม่เผลอได้
    ๔. สมาธิ ต่อจากนั้นก็เกิดสมาธิไปพร้อมกันเลย สมาธิ แปลว่า ใจตั้งมั่นในอารมณ์เดียว หรือตั้งมั่นไปพร้อมกับ สติ
    ๕. ปัญญา ความรอบรู้ได้ทุกขณะ ในเมื่อจิตเคลื่อนไหว ประสบกับอารมณ์ใด จะเป็นของหยาบหรือ ละเอียด ดี หรือ ชั่ว ติด หรือ ไม่ติด ปัญญาย่อมรู้รอบคอบ ไม่ยอมหลงหลับติดอยู่ ทั้ง ๕ นี้ ถ้าเปรียบแล้วก็จะได้รูปกระบวนทัพ ดังนี้คือ


    ๑. ศรัทธา เป็น แม่ทัพ
    ๒. วิริยะ เป็น กำลังของเขา
    ๓. สติ เป็น พวกพล
    ๔. สมาธิ เป็น สมรภูมิอันมั่นคง
    ๕. ปัญญา เป็น อาวุธ

    นี่ยุทธวิธีแบบพระมุนีเจ้า เมื่อใครนำมาใช้ให้ถูกต้องตามแบบฉบับนี้แล้ว ย่อมได้รับชัยชนะทั้งสงครามนอก และ สงครามใน....


    ที่มา : www.dhammathai.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ดับทุกข์ด้วยมรรค ๘

    [​IMG]


    มรรคคือการลงมือดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อมรรคเกิดขึ้นก็จะทำหน้าที่ขจัดเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับไป ทุกข์ก็จะดับตามไป ความดับไปของทุกข์ก็จะปรากฏ สัมมาทิฏฐิ จึงทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงาน ส่วนคนงานก็คือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากันมันตะ สัมมาอาชีวะ และผลงานคือสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ซึ่งอธิบายดังนี้ สัมมาสังกัปปะจะต้องเป็นกลาง ในอาการของรูปนามสังขารที่เป็นกลาง ส่วนรูปนามสังขารที่เป็นกิเลสต้องตรึกที่จะให้หายไปไม่ว่าจะเป็นความพอใจ (กาม) ความไม่พอใจ (พยาบาท) หรือความอยาก (วิหิงสา) ก็ตาม นั่นคือสมมติว่าอาการได้ยินเป็นรูปนามสังขารที่มีอารมณ์เป็นกลาง อาการได้ยินปรากฎ จิตรู้ว่าได้ยิน สัมมาทิฏฐิเกิดตรงนี้ และตามรู้ไป เมื่อสติรู้ว่าได้ยิน สัมมาสังกัปปะตรึกที่ได้ยิน และคำกำหนด กำหนด(บริกรรม) ตามอาการคือ "ได้ยิน" บริกรรม ตรงตามอาการคือ สัมมาวาจา วาจาถูกต้อง ในขณะกำหนดไม่เกร็ง ไม่เพ่ง ไม่บังคับ เป็นกลางอยู่คือ สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง สติจับความรู้สึกได้ยิน ตั้งแต่เริ่มรู้สึกจนอาการได้ยินหายไป ดังนี้เป็น สัมมาอาชีวะ การ ดำรงอยู่อย่างถูกต้อง ดังนั้น ความเพียรที่เกิดขึ้น สติที่เกิดขึ้น สมาธิที่เกิดขึ้นจึงถูกต้อง คือปหานะละ และป้องกันโมหะไม่ให้เกิดขึ้น

    ถ้าความพอใจในเสียงเกิดขึ้น เรายังกำหนดที่เสียงอยู่ มรรคจะไม่เข้าเพราะจิตเปลี่ยนไปรับรู้อาการพอใจ ดังนั้นจะให้มรรคเข้า เมื่อสัมมาทิฎฐิ รู้ว่าความพอใจเกิดขึ้น สัมมาสังกัปปะตรึกที่พอใจ เพื่อให้ความพอใจหาย (เนกขัมมสังกัปปะ) และคำบริกรรมที่ใช้ตามอาการคือพอใจ (เหตุแห่งทุกข์) แล้วลงมือกำหนดตามอาการพอใจ โดยไม่มีอัตตาคือ เกร็ง เพ่ง บังคับ ไม่มีความพยายามมากเกินไป เอาใจใส่ตั้งสติจับ ตั้งแต่เริ่มรู้สึก ไปจนกระทั่งอาการพอใจหายไป ด้วยอำนาจของความเพียร, สติ, สมาธิ ที่เกิดขึ้นจากการกำหนด ความรู้สึกพอใจอันเป็นทุกข์ก็ดับตามอาการไป การพรากจากกามคือความพอใจก็ปรากฎแจ้งชัด นิโรธควมดับทุกข์แจ้งขึ้นมา แสดงว่ามรรคเกิดแล้วในขณะนั้นครบทั้ง ๘ องค์ อื่นๆก็เป็นในทำนองเดียวกันนี้

    พระปลัดชัชวาล ชินสโภ
    จากหนังสือดับทุกข์ด้วยวิปัสสนาธุระ
    ศูนย์กลางการศึกษาวิปัสสนาธุระพุทธวิหาร
    ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำจังหวัดนครนายก
    วัดพระธรรมจักรเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิพุทธวิหาร
    ๑๐๐/๑ หมู่ ๑ ต.ดงละคร อ.เมือง จ.นครนายก ๒๖๐๐๐
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ปัญญาคือ...?

    [​IMG]

    ปัญญา คือ ความรอบรู้ในกองสังขาร กรรมทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของเราเท่านี้ พุทธะ คือผู้รู้ มันมีอยู่อย่างนั้น มันดับไม่เป็น สูญไม่เป็น จิตของเรามันไม่หยุด ให้มันนิ่ง มันก็ไม่นิ่ง เที่ยวก่อภพน้อย ๆ ใหญ่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าคนไม่ได้ทำ ไม่ได้หัด ไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา ที่ไหนเล่าจะมีพระอรหันต์ในโลก ให้สติกำหนดที่ผู้รู้ อย่าส่งไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างล่าง อดีต อนาคต กำหนดอยู่ที่ผู้รู้แห่งเดียวเท่านั้นล่ะ


    [​IMG]

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ไม่หมั่นเจริญสมาธิ สมาธิท่านก็หมดไปเอง

    [​IMG]

    ถ้าท่านตั้งใจอย่างนี้ เจริญสมาธิภาวนาวงจรกระแสไฟฟ้า
    ท่านก็จะเข้าสู่ล็อค ท่านจะเก็บไฟในหม้อแบตเตอรี่ไว้ได้
    รักษาหม้อแบตเตอรี่ไว้ดีด้วย หมั่นเติมน้ำกลั่นรถท่าน
    ท่านมีรถหรือขายรถก็ตามต้องรักษารถ
    เอารถมาจอดทิ้งไว้ไม่ใช้ จะสตาร์ทไม่ติด
    รับรองรถท่านเสียแน่ นี่ยกตัวอย่างให้เห็น

    เหมือนเรามีสมาธิไม่หมั่นทำ ไม่หมั่นเจริญสมาธิ
    สมาธิท่านก็หมดไปเอง
    รับรองสมาธิท่านก็ต้องเสื่อมไปตามสภาพ
    ไม่ใช่ว่าเรามานั่งกรรมฐานแล้วกลับไปเลิกเลย
    ไม่เจริญสมาธิภาวนา สมาธิยิ่งทำดียิ่งมีปัญญา
    สามารถจะแก้ไขปัญหาได้


    ขอฝากท่านสาธุชนไว้ กระแสไฟมันหมดง่ายเหลือเกิน
    จิตมันตก ไปเชื่อคนโน้นคนนี้
    อย่าไปเชื่องมงาย อย่าไปเชื่อหมอดู
    เราก็เหมือนหม้อแบตเตอรี่หมดไฟ
    ระวังนะ หม้อแบตเตอรี่หมดไฟนี้จะไปไม่รอด
    จะไม่ปลอดภัย จะมีแต่เสนียดจัญไร
    จิตใจก็ตก จิตใจก็ไม่สบาย ทำอะไรไม่ได้
    มันเป็นเสนียด มันไม่มีปัญญา ไม่รอบรู้ในกองการสังขาร
    คิดแล้วคิดเล่าเฝ้าแต่คิด
    เราจะไม่สามารถประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใดได้

    การเจริญกรรมฐานเป็นการรวบรวมจิตตั้งสติปัญญา
    เจริญสติปัฏฐาน ๔ กายานุปัสสนา ตัวนี้
    ท่านจะเดิน จะยืน นั่ง นอน เหลียวซ้ายแลขวา
    เอาสติจับเข้าไป ตั้งเข้าไว้ตลอดเหมือนเติมน้ำกลั่น
    น้ำกลั่นอย่าให้แห้งเหมือนจิตใจ
    ท่านจะไม่แล้งน้ำใจ ก็จะมีแต่อัธยาศัย
    มีแต่น้ำใจโอบอ้อมอารีเป็นต้น นี่แหละกระแสไฟ
    มันมีแสงสว่างเท่าไรเกิดเมตตามากเท่านั้น
    ถ้าท่านมืดท่านจะมีแต่อกุศล จะไม่ได้ผลงานแต่ประการใด
    เมตตาจะไม่มีกับคนที่ไร้สาระ คือ ขาดกระแสไฟ
    คนที่ไม่มีกระแสไฟน่ะคนโง่ คนโมหะมันต้องคลำไป
    มองไม่เห็นของจริง มองไม่เห็นของที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต
    แก่ครอบครัวแต่ประการใดเลย
    กลายเป็นคนไร้สาระ ไม่มีสติปัญญาแต่ประการใด

    การที่มีกระแสไฟทำให้เกิดแสงสว่าง บัดนี้ทำให้มันมืดแล้ว
    เราก็ใช้กระแสไฟฟ้า ท่านมีรถแต่ขาดไฟ หน้ารถก็ไม่มีไฟ
    ท้ายรถก็ไม่มี แล้วท่านจะวิ่งไปได้หรือ วิ่งไปไม่ได้หรอก
    เหมือนตัวเราก็เช่นเดียวกัน ขาดแสงสว่าง ก็คือ ขาดปัญญา
    คนเราขาดปัญญาแล้วจิตมันตก ไม่มีโอกาสตะเกียกตะกาย
    ขยันหมั่นเพียรได้ คนที่ขาดแสงสว่างขาดปัญญา
    ส่วนมากจะขี้เกียจ ไม่อยากจะเอางานเอาการ
    ไม่อยากจะรับผิดชอบแต่ประการใด
    ขอฝากไว้อย่างนี้เป็นต้น


    [​IMG]

    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
    ข้อมูล : ไม่หมั่นเจริญสมาธิ...สมาธิท่านก็หมดไปเอง (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ) - PaLungJit.com
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    อาการของทุกข์เกิดขึ้น ต้องกำหนดรู้

    [​IMG]

    นการดำเนินชีวิตอยู่ในโลก ก็มีโอกาสที่จะหลงและผิดพลาดมาก ซึ่งเราควรจะมองเป็นความท้าทายสติปัญญาของเรา เราควรจะเรียนรู้จากการผิดพลาดของตนอยู่เรื่อย ๆ ว่า ทำไมมันจึงเกิดอย่างนี้ ทำไมเราชอบหลงอย่างนี้ ด้วยเอาหลักว่า ถ้าเราเป็นทุกข์ ไม่ใช่เพราะคนอื่น ไม่ใช่เพราะสิ่งอื่น ทุกข์ย่อมเกิดเพราะเราคิดผิด เรามีความยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้น พออาการของทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ต้องกำหนดรู้ว่านั่นคือทุกข์ ก็ หยุดอยู่ตรงนั้นสักพักหนึ่ง แล้วมาดูว่า ตอนนี้เรากำลังยึดมั่นถือมั่นอะไรอยู่ เพราะว่าถ้าเราอยู่ด้วยสติ อยู่ด้วยปัญญา ไม่มีสิ่งใด ไม่มีผู้ใด ที่จะสามารถบังคับให้เราเป็นทุกข์ได้ อาจจะมีผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เราลำบากทางกายก็ได้ แต่สำหรับจิตใจนี้ เป็นสิ่งที่เรารับผิดชอบได้เลย เป็นสิ่งที่เราต้องหาอุบายฝึกฝนอบรมให้มีความมั่นคง ให้มีความหนักแน่น


    ชยสาโรภิกชุ ที่พำนักสงฆ์ จ.นครราชสีมา
    ข้อมูล : หนังสือสบาย สบาย สไตส์พุทธ หน้าที่ ๙
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ธรรมชาติภายในจิต

    ธรรมเป็นตัวธรรมชาติภายในจิต และมีเพียรให้รู้ตามธรรมชาติ จึงชื่อว่า"รู้อริยสัจ"

    ราคะ โมหะ โทสะ ต้นไม้ ภูเขา สัตว์ ก็เป็นธรรมชาติของเขา เป็นเช่นนั้น แต่ไหนแต่ไรมา

    เราไม่ควรไปยึดไปแต่งให้เป็นตัณหา ก่อเรื่องทุกข์ให้สัตว์เหล่านั้น กลายเป็นทุคติ นรกไป

    [​IMG]

    หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง อ.สะพุง จ.เลย
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ธรรมกำมือเดียว

    [​IMG]
    หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
    วัดป่าสุคะโต บ้านกุดโง้ง ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ​


    [​IMG]


    ก็ มาเข้าใจ มาเห็นว่านี่แหละคือทางพ้นทุกข์ นี่แหละคือพรหมจรรย์ ภาวะที่ดูนี่ไม่เปรอะเปื้อนกับสิ่งใดเลย เพราะเราไม่ได้เข้าไปเป็น เราได้แต่ดูอย่างเดียวจึงไม่ข้องแวะ สามารถผ่านได้ตลอดด้วยการเห็นอย่างบริสุทธิ์ ​

    ภาวะเป็นกลาง คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ มีแต่เห็น สุข ก็เห็น นอกตัว ในตัวก็เห็น ไม่ได้เข้าไปเป็น แม้มีคนว่า ดุด่า นินทา สรรเสริญ มันจะเกิดอะไรขึ้นก็มีแต่ดู จะร้อน จะหนาว จะหิว ก็มีแต่ดูเท่านั้น


    าวะ ที่ดูนี้จึงทำให้คล่องตัวที่สุดทำให้เราผ่านได้ตลอด ภาวะที่ดู ภาวะที่เห็น ทำให้เรารู้สึกอิ่มรู้สึกพอเพียง ไม่พร่อง ไม่ขาด เราจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อมีคุณธรรมอยู่ในตัวเราทั้งหมด เราก็ไม่หลง เราก็ละชั่วและทำความดี ก็บริสุทธิ์อยู่ ภาวะที่ดูจะช่วยย่นย่อให้ได้เข้าใจ สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้
    ถ้าจะว่าไปก็คือ รมกำมือเดียว

    ข้อมูล : www.dhammajak.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ

    [​IMG]

    คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go and get it out!"
    ก่อนมันจะเกิด ต้อง "Let it go." ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้
    ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่า...
    ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที
    อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ
    ออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว

    เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ
    ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย
    ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี
    เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส
    ต้อง ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่น รื่นเริง เกิดปิติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ "Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น
    <!-- / message --><!-- sig -->


    ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
    วัดเทพศิรินทราวาส
    กรุงเทพ ฯ
    _________________

    ที่มา : http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=9381
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ตบะของผู้ปฏิบัติธรรม

    [​IMG]


    องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าอยากให้พวกเราทั้งหลาย
    เป็นผู้มีขันติ ความอดทน อดกลั้น ทนทาน
    เป็นตบะของนักปฏิบัติธรรม อันจะได้บรรลุผลคุณงามความดี
    ที่เราต้องการให้เกิดให้มีขึ้นแก่ตนเองได้
    เหตุฉะนั้น พวกเราท่านทั้งหลายจึงต้องมีความพากเพียรศึกษา
    ในรายละเอียดของการประพฤติปฏิบัติ ให้ฝึกฝนตน
    เป็นผู้ซึ่งมีขันติความอดทน แล้วผลก็จะออกมาเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ไพศาล
    จนสามารถทำให้บุคคลนั้น บรรลุมรรคผลจนเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด...




    พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    ข้อมูล : www.dhammajak.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

    [​IMG]

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา
    กลับ จากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
    2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
    3. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง





    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรงฺสี
    วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพ ฯ

    ช้อมูล : หนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    กำหนดตัวธรรมแท้

    [​IMG]

    จิตกับธรรมต้องเป็นอันเดียวกัน เดี๋ยวนี้จิตกับกิเลสมันเป็นอันเดียวกัน
    ไม่ค่อยจะรับธรรมเข้ามา ธรรมยังรับไม่ค่อยจะได้ แต่กิเลสไม่ต้องทวง
    เพราะเหตุนั้นเราพยายามถ่ายเทให้หลงลืมเรื่องที่ไม่ตรงกับธรรม
    พยายามใกล้ชิดสนิทกับธรรมให้มาก

    การปฏิบัติไม่ควรให้ลุ่มๆ ดอนๆ สูงๆ ต่ำๆ เป็นคลื่น... คลื่นคืออะไร ?

    คือ...เราปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ เวลาเคร่งภาวนาก็ข่มจิตข่มใจเคร่งเพื่อให้สงบ
    เวลาออกจากภาวนาเราก็ปล่อยจิตให้ฟุ้งไป ไม่ระวัง ไม่รักษา ไม่ค่อยจะรู้ตัว
    ไม่ค่อยจะกำหนดเข้ามา...

    เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายพึงรู้ตัว ที่เราปฏิบัติสงบยากเพราะเรารักษาไม่ได้
    จิตที่มันลุ่มๆ ดอนๆ เวลาเคร่งก็เคร่ง เหมือนกับจะเอาให้ได้พระนิพพานในวันนั้น เวลานั้น
    เวลาหย่อน ก็หย่อน ปล่อยให้ความมัวเมาในอารมณ์ ที่ตาเห็น หูได้ยิน... มาจากที่นี้แหละ

    เราทั้งหลายเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว บัณฑิตทั้งหลายมาคัดค้านไม่ได้
    เพราะเราได้กำหนดตัวธรรมแท้ คือ อนิจจัง เราจะเห็นอยู่ในกายนี้
    อริยสัจธรรมทั้ง ๔ จะได้เห็นอยู่ในกายนี้ ทุกขัง จะได้เห็นอยู่ที่นี้
    ไม่ได้เห็นที่อื่น

    ถ้าเรามาเจริญความเห็น (สัมมาทิฏฐิ) ในสิ่งเหล่านี้ให้มากๆ
    ผลจะปรากฎขึ้นแก่เราเอง เมื่อผลบังเกิดขึ้นมาแล้ว ธรรมชาติก็รู้เอง
    ไม่ต้องบอกก็ได้... อย่าไปหลงคนนั้นพูดอย่างนั้น คนนี้พูดอย่างนี้



    หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์


    ข้อมูล : http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=9640
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    พิจารณา มหาพิจารณา

    [​IMG]

    ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลที่ 5
    ที่บ้านสมเด็จพระยามหาสุริยวงศ์(ช่วง)


    มี การประชุมนักปราชญ์ทุกชาติทุกภาษาเพื่อถกปัญหาธรรม สมเด็จเจ้าพระยาได้ให้คนไปอาราธนาท่านมาแสดงธรรมเผยแพร่ความรู้ในทางธรรมของ สยามประเทศ เพื่อถกร่วมกับนักปราชญ์จากชาติและศาสนาอื่นๆ พอถึงวันกำหนด นักปราชญ์ทั้งหลายก็ขอให้นักปราชญ์ไทยแสดงธรรมก่อน


    สมเด็จได้รับอารธนาก่อนท่านแสดงธรรมเพียง สองคำคือ...

    ิจารณา มหาพิจารณา

    ้ำๆซากๆอยู่ตลอดเป็นชั่วโมง

    เมื่อให้ขยายความท่านขยายว่า...
    การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่ควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี
    กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันแลข้างหน้าก็ดี เสร็จกิจดีงามได้ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้น
    พิจารณาเป็นเปราะ ๆเข้าไปตั้งแต่หยาบๆและกลางๆและชั้นสูงชั้นละเอียด
    พิจารณาให้ประณีตละเมียด เข้าถึงที่สุดแห่งเรื่องถึงที่สุดแห่งอาการถึงที่สุดแห่งกรณี
    ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึง
    แล้วทุกๆคนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้า
    จะ รู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดประโยชน์แก่คน ก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติปัญญาน้อยถ่อยปัญญา
    ิจารณาเหตุผลเรื่องราวกิจการงานงานของโลกของธรรมแต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ
    ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง
    ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆอย่างสูงสุด
    ม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตนประจักษ์แท้แก่ตนดังปริยายมาทุกประการ “

    ครั้นจบแล้วท่านลงจากบัลลังก์ก็ไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆภาษาอื่นมีแขกและฝรั่งเป็นต้น
    ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้านได้ ได้แต่อัดอั้นกันไปหมด
    ต่าง คนต่างแหยงแม้จะเตรียมข้อความมาก็จริง จะเอาโวหารของศาสดาตนมาแสดงก็ชักจะเก้อ เพราะไม่อาจจะเหนือคำพิจารณามหาพิจารณาของสมเด็จได้เลย
    ทุกคนเห็นจริง ตามบรรยายของการพิจารณา ซึ่งรู้ได้ตามชั้นตามภูมิตามกาลตามบุคคลที่ยิ่งและหย่อนอ่อนและกล้าจะรู้ได้ ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณาก็หาความรู้ไม่ได้เลย
    ถ้าพิจารณาน้อยก็มีความรู้น้อย ใครพิจารณาได้มากก็มีความรู้มาก
    จริงของสมเด็จทุกประการวันนั้นจึงเลิกประชุม ปราชญ์ต่างคนต่างลากลับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...