เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกพระพุทธบาทไม้มุก
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชม. ๖๕ จารึกพระพุทธบาทไม้มุก
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช ๒๓๓๗
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ ไม่ทราบจำนวนบรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก ไม้
    ลักษณะวัตถุ แผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าเป็นภาพพระพุทธบาท
    ขนาดวัตถุ ความสูงรวมฐาน ๑๙๙ ซม. กว้าง ๙๑ ซม. หนา ๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น “ชม. ๖๕ จารึกพระพุทธบาทไม้มุก”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    พิมพ์เผยแพร่ วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๑๘) : ๔๙-๕๕.
    ประวัติ พระพุทธบาทนี้เดิมอยู่ที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ คำจารึกบนพระพุทธบาทไม้ปรากฏอยู่ทั้ง ๒ ด้าน แต่เป็นการจารึกขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ จารึกด้านหน้าของพระพุทธบาทถูกเขียนขึ้นก่อน ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. ๒๕๑๘) สันนิษฐานจากรูปแบบของตัวอักษรว่า น่าจะถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนจารึกด้านหลังระบุจุลศักราช ๑๑๕๖ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๗ กล่าวถึงการบูรณะพระพุทธบาทในภายหลัง ลวดลายที่อยู่ด้านเดียวกับพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นรูปใบไม้และดอกไม้วาดด้วยสีทองบนน้ำรัก ส่วนพระพุทธบาททั้งพระองค์ประดับด้วยหอยมุกฝังในชาด จากส้นพระบาทขึ้นไปเป็นภาพแสดงจักรวาล มีเขาพระสุเมรุล้อมด้วยมหาสมุทร มหาทวีปทั้ง ๔ เขาเจ็ดแนว และกำแพงจักรวาล พร้อมทั้งภาพสัตว์และสิ่งอื่นๆ เหนือขึ้นไปเป็นภาพสวรรค์ ๒๒ ชั้นของกามโลกและรูปโลก ท่ามกลางภาพสวรรค์มีรูปจักร ๑ รูป ซึ่งเป็นลักษณะอันหนึ่งใน ๓๒ ลักษณะของมหาบุรุษ ด้านล่างของพระพุทธบาทมีนามพระพุทธกกุสนธ์ โกนาคมน์ และกัสสปะ ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานว่า ผู้สร้างคงตั้งใจแสดงว่า พระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นี้ซ้อนอยู่ใต้พระบาทของพระโคดมเจ้า นอกจากนี้มีชื่อสวรรค์, สัตว์ และสิ่งของอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี ส่วนทางด้านหลังบริเวณใต้ข้อความจารึก มีภาพเขียนด้วยสีทองบนชาด อาจเป็นภาพภูเขาแต่ชำรุดหลายแห่ง ภาพต่างๆที่ปรากฏในพระพุทธบาท เช่น เขาพระสุเมรุ และสวรรค์ หมายถึง มงคลลักษณะ ๑๐๘ ซึ่งตามปกติจะจัดเรียงเป็นแถวหรือวงกลม แต่ผู้สร้างพระพุทธบาทองค์นี้ไม่ได้ทำตามแบบดังกล่าว อาจเพราะมีความคิดว่ามงคลลักษณะ ๑๐๘ เป็นส่วนของจักรวาล (กามโลกและรูปโลก) จึงจัดที่ของรูปมงคลตามความคิดนี้ และผู้สร้างคงต้องการแสดงว่าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าเหนือจักรวาลทั้งมวล ทั้งนี้ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ผู้สร้างนำความคิดดังกล่าวมาจาก “ไตรภูมิพระร่วง” หรือไม่ เพราะในในไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงมงคลลักษณะ ๑๐๘ หลายลักษณะ หรือครบทุกลักษณะ เป็นส่วนสำคัญของจักรวาล
    เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ ๑ พระนามของอดีตพุทธ ได้แก่ พระพุทธกกุสนธ์ กัสสปะ และโกนาคมน์ ชื่อของสวรรค์ชั้นต่างๆและชื่อสัตว์หิมพานต์ เป็นต้น ด้านที่ ๒ กล่าวถึงการบูรณะพระพุทธบาทในจุลศักราช ๑๑๕๖ (พ.ศ. ๒๓๓๗)
    ผู้สร้าง พระเจ้ากาวิละ, เจ้าธรรมลังกาและเจ้าคำฝั้น
    การกำหนดอายุ ฮันส์ เพนธ์ กำหนดอายุจากรูปแบบตัวอักษรธรรมล้านนาที่ปรากฏด้านหน้าของพระพุทธบาท โดยสันนิษฐานว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนด้านหลังกำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึก คือ จุลศักราช ๑๑๕๖ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลพระเจ้ากาวิละแห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๖)


    ชื่อจารึก จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก ศิลา
    ลักษณะวัตถุ รูปรอยพระพุทธบาท
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๖๗ ซม. สูง ๖๙ ซม. หนา ๗ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. ๔๗”
    ๒) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุม”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดศรีชุม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๔๓-๔๖.
    ประวัติ ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดศรีชุมนี้ เป็นจารึกที่ปรากฏรูปอักษรอยู่กลางรอยพระพุทธบาท ซึ่งใช้บอกชื่อสัญลักษณ์อันเป็นพุทธมงคล สำหรับรอยพระพุทธบาทชิ้นนี้ใช้พรหมโลก ๑๖ ภูมิ (ชั้น) เป็นเครื่องหมายแห่งมงคลดังกล่าว เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ๒ แถว แต่เนื่องจากรอยพระพุทธบาทนี้ชำรุด เนื้อศิลาแตกหายไปมากกว่าครึ่ง จึงไม่อาจทราบได้ว่า รูปสัญลักษณ์แห่งมงคลพระพุทธบาทมีอะไรบ้าง นอกจากนั้น การเรียงลำดับชั้นพรหมในจารึก มิได้เป็นไปตามลำดับแถว แต่แบ่งกลุ่มของภูมิต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์เตภูมิกถา ในกลุ่มพรหมโลกรูปภูมิ ๑๖ ดังนี้
    ๑. ปฐมฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ คือ
    ๑.๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ
    ๑.๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ
    ๑.๓ มหาพรหมาภูมิ
    ๒. ทุติยฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ คือ
    ๒.๑ ปริตตาภาภูมิ
    ๒.๒ อัปปมาณาภาภูมิ
    ๒.๓ อาภัสสราภูมิ
    ๓. ตติยฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ คือ
    ๓.๑ ปริตตสุภาภูมิ
    ๓.๒ อัปปมาณสุภาภูมิ
    ๓.๓ สุภกิณหาภูมิ
    ๔. จตุตถฌานภูมิ มี ๗ ภูมิ คือ
    ๔.๑ เวหัปปผลาภูมิ
    ๔.๒ อสัญญีสัตตาภูมิ
    ๔.๓ อวิหาภูมิ
    ๔.๔ อตัปปาภูมิ
    ๔.๕ สุทัสสาภูมิ
    ๔.๖ สุทัสสีภูมิ
    ๔.๗ อกนิฎฐาภูมิ
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงพรหมโลก ๑๖ ภูมิ
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นจารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐


    ชื่อจารึก จารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๑๒ ศิลาจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ, ศิลาจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ พุทธศตวรรษที่ ๒๐
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศักราช ๑๙๗๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๗ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินชนวน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยมสลักรอยพระยุคลบาท
    ขนาดวัตถุ ยาว ๓๖๐ ซม. กว้าง ๒๑๗ ซม. หนา ๒๐ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. ๒๔”
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ กำหนดเป็น “หลักที่ ๑๒ ศิลาจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ”
    ๓) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ พุทธศตวรรษที่ ๒๐”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงนำมาจากเมืองสุโขทัย
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๑), ๑๔๐-๑๔๓.
    ๒) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๒๖๕-๒๖๘.
    ประวัติ รอยพระพุทธยุคลบาท คือรอยพระพุทธบาททั้งเบื้องขวาเบื้องซ้ายนี้ สลักอยู่ตรงกลางแผ่นหินใหญ่ ยาว ๓๖๐ ซม. กว้าง ๒๑๗ ซม. ด้านข้าง ๒๐ ซม. รอบๆ รอยพระพุทธบาทมีรอยสลักเป็นรูปพระมหาสาวก (อสีติมหาสาวก) และจารึกอักษรบอกพระนามพระมหาเถรกำกับไว้ด้วย จารึกอักษรดังกล่าวส่วนมากลบเลือน ที่ด้านข้างแผ่นหินข้างปลายรอยพระพุทธบาท มีคำจารึกภาษาบาลี อักษรขอมสุโขทัย ๗ บรรทัด หนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ ได้กล่าวถึงศิลาจารึกหลักนี้ไว้ดังนี้ “รอยพระพุทธยุคลบาทนี้ ไม่ปรากฏว่าได้มาจากไหน (จากเมืองพิษณุโลก) ก่อนตกมาอยู่ในวังหน้า มีแต่คำเล่ากันต่อๆ มาว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ได้ทรงนำมาจากสุโขทัยจึงได้ประดิษฐานอยู่ในวังหน้า จนได้ย้ายไปวัดบวรนิเวศ คำจารึกหลักนี้ได้เคยมีนักปราชญ์ฝรั่งเศส ชื่อ ม. บาร์ถ แปลและพิมพ์ในหนังสือสยามอองเซียง”
    เนื้อหาโดยสังเขป “คำจารึกนั้นมีใจความว่า ครั้งแผ่นดินพระธรรมราชา (ที่ ๒) (น่าจะเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๓ ไสยลือไทย) พระวิทยาวงศ์มหาเถรได้นำแผ่นหินมายังเมืองสุโขทัย ครั้นมาในแผ่นดินพระธรรมราชาที่ ๔ พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก ผู้เป็นศิษย์ของพระสิริสุเมธังกรสังฆราช ได้สลักรอยพระพุทธบาททั้งคู่ลงบนแผ่นหินนั้น ตามแบบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสมันตกูฏ ในลังกาทวีป เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ พระพุทธศักราช ๑๙๗๐ ข้าพเจ้า (ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์) สงสัยว่า พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก หรือพระสิริสุเมธังกรสังฆราชองค์ใดองค์หนึ่งจะเป็นองค์เดียวกันกับพระมหาเมธังกรเถร ซึ่งในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวไว้ว่า พระมหาเมธังกรนั้นเป็นชาวเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๖ ได้ไปถึงลังกาทวีปพร้อมด้วยภิกษุ ๓๒ องค์ และเวลากลับมาจากลังกาแล้ว ได้ตั้งคณะสิงหลภิกาขึ้นในเมืองไทยทั่วไป”
    ผู้สร้าง พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก
    การกำหนดอายุ จารึกบรรทัดที่ ๒ มีข้อความบอกศักราช คือ “ศุกลปักษ์ จตุตถดิถี” ซึ่งตรงกับ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๑๙๖๙ แบบปัจจุบัน แต่สมัยสุโขทัยนับปีย่าง จึงเรียก พ.ศ. ๑๙๗๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกพระพุทธบาทหนองยาง
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมอีสาน
    ศักราช พุทธศักราช ๒๓๗๘
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินทรายแดง
    ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๑ ซม. สูง ๕๐ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว กำหนดเป็น "จารึกพระพุทธบาทหนองยาง"
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ศาลาพระพุทธบาทหนองยาง สำนักสงฆ์หนองยาง ตำบลหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ศาลาพระพุทธบาทหนองยาง สำนักสงฆ์หนองยาง ตำบลหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
    พิมพ์เผยแพร่ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย - ลาว (กรุงเทพฯ : คุนพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๑๕ - ๔๑๖.
    ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้สร้างคู่ไว้กับรอยพระพุทธบาทศิลา ที่สำนักสงฆ์หนองยาง แต่ผู้ดูแลสำนักสงฆ์คงไม่เข้าใจความหมายในศิลาจารึก จึงนำมาเก็บไว้หลังพระพุทธรูปปางนาคปรก ผู้ที่ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจะไม่เห็นแผ่นศิลาจารึกนี้
    เนื้อหาโดยสังเขป พระเถระองค์หนึ่ง (พระมหาอุตตมปัญญา) ได้อาราธนารอยพระพุทธบาทศิลาทราย กว้างประมาณ ๑.๕๐ ม. ยาว ๑.๖๐ ม. จากกรุงศรีอยุธยาไปไว้ที่สำนักสงฆ์นี้ พร้อมทั้งใส่บรรณศาลาไว้ด้วย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๕ ระบุ พ.ศ. ๒๓๗๘ อันตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)


    ชื่อจารึก จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมอยุธยา
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔๒ บรรทัด (มีอักษรจารึกอยู่ที่ดุม กำ ระหว่างกำ กง ปลาย และข้างพระพุทธบาท)
    วัตถุจารึก ศิลา ประเภทหินชนวน
    ลักษณะวัตถุ รูปรอยพระพุทธบาท
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๕๒ ซม. ยาว ๑๓๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. ๑”
    ๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๐๖) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี”
    ๓) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ กำหนดเป็น “หลักที่ ๘๕ ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
    ๔) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
    ปีที่พบจารึก วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕
    สถานที่พบ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
    ผู้พบ นายจำปา เยื้องเจริญ และนายประสาร บุญประคอง
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) วารสารศิลปากร ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๐๖) : ๕๘-๖๑.
    ๒) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๓), ๖-๑๐.
    ๓) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๑๑๓-๑๑๙.
    ประวัติ จารึกนี้มีอักษรปรากฏอยู่ในบริเวณส่วนต่างๆ ของรูปรอยพระพุทธบาท ได้แก่ บริเวณส่วนปลายนิ้วพระบาท ที่กึ่งกลางพระบาททำเป็นรูปล้อเกวียน มีอักษรจารึกอยู่ที่ ดุม กำ ระหว่าง กำ กง และที่ขอบด้านข้างของพระพุทธบาท
    เนื้อหาโดยสังเขป คำจารึกเป็นคาถานมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกพระอภิธรรม
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกพระอภิธรรม พุทธศตวรรษที่ ๒๐
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๕๗ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๒ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินดินดาน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยม
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๗๑ ซม. สูง ๖๗ ซม. หนา ๕.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. ๑๙”
    ๒) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “จารึกพระอภิธรรม พุทธศตวรรษที่ ๒๐”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ริมแม่น้ำโจน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
    ผู้พบ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
    ปัจจุบันอยู่ที่ หอพระสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๒๘๔-๒๙๘.
    ประวัติ ศิลาจารึกพระอภิธรรม มีผู้อ่านไว้แล้วเป็นบางส่วนที่ยังไม่จบบริบูรณ์ เพราะบางตอนศิลาจารึกชำรุดและลบเลือนมาก แต่ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย ฉะนั้นการอ่านใหม่ครั้งนี้ ได้ค้นหาคำจารึกจากตำราบาลีต่างๆ ที่เป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเท่าที่คิดว่าน่าจะมี ก็ได้พบว่า คำจารึกในศิลาจารึกพระอภิธรรม มีตรงกันกับข้อความเริ่มต้นของพระอภิธรรมปิฎกธรรมสังคณี พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ ๕๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ ภาค ๑ ฉบับอนุสรณ์งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พุทธศักราช ๒๕๐๐ จึงได้นำข้อความที่ชำรุดหักหายไปใส่เป็นเครื่องหมายวงเล็บไว้ในการอ่านการ แปลครั้งนี้ด้วย
    เนื้อหาโดยสังเขป เป็นที่น่าสังเกตว่า การจารึกเป็นบรรทัดของศิลาจารึกพระอภิธรรม มีการตีกรอบเป็น ๒ ชั้น กรอบชั้นใน ใจกลางของด้านที่ ๑ จารึกบทมหาปัฏฐานของพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ กรอบชั้นนอกจารึกพระธรรมสังคณีล้อมรอบบทมหาปัฏฐาน โดยเริ่มต้นบทพระธรรมสังคณีที่บรรทัดในสุดของกรอบชั้นนอก ซึ่งติดกับบทมหาปัฏฐาน แล้วเดินบรรทัดเป็นรูป ๔ เหลี่ยม ตามกรอบชั้นในเมื่อครบ ๔ ด้านของกรอบก็ถือว่าเป็น ๑ บรรทัด ฉะนั้นการเขียนคำอ่านในจารึกนี้ แต่ละบรรทัดจะใส่ ก. ข. ค. และ ง. ไว้เพื่อพิจารณาคำอ่านตามด้านทั้ง ๔ ของกรอบ ข้อความของบทพระธรรมสังคณีในด้านที่ ๑ ยังไม่จบ จึงมีต่อในด้านที่สอง แต่ด้านที่สองนี้ มีการจารึกธรรมดาคือ จากบรรทัดบนลงล่าง ส่วนคำจารึกตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึงกลางบรรทัดที่ ๑๔ มีข้อความซ้ำกันกับตอนกลางบรรทัดที่ ๑๐ จนจบของด้านที่ ๑ คือ ตั้งแต่ “สญฺโชนสมฺปยุตฺตา ฯลฯ โน จ สญฺโชนา” จากลักษณะของการจารึกเป็นกรอบโดยนำบทพระธรรมสังคณีห่อหุ้มเป็นกรอบล้อมรอบพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ บทมหาปัฏฐาน เข้าใจว่าผู้จารึกคงจะแฝงไว้ด้วยความหมายอันลึกซึ้งเกี่ยวกับเนื้อความของอภิธรรม หรือที่เรียกกันว่า แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรม บทมหาปัฏฐานเป็นบทที่กล่าวถึงเหตุ บทธรรมสังคณีกล่าวถึงผลที่มาจากเหตุ ฉะนั้นผู้จารึกจึงถือเอาเหตุเป็นบทสำคัญ ผลจะดีหรือชั่ว อยู่ที่เหตุ เป็นการอธิบายขยายความบทพระพุทธพจน์ “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจโย นิโรโธจ เอวํ วาทีมหาสมโณ” นั้นเอง บทมหาปัฏฐาณอยู่ด้านในใจกลางของกรอบจารึก บทธรรมสังคณีห่อหุ้มไว้เป็นกรอบนอกเพราะผู้จารึกเห็นความสำคัญของเหตุ ประหนึ่งผู้เห็นเพชรเม็ดล้ำค่า จึงเอาผ้าหรือวัสดุอื่นห่อหุ้มถือประคับคองไว้เป็นอย่างดี เพราะกลัวตกหล่นจะได้รับความเสียหาย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐

    มาฟังพระนั่งหอน ง้องแง้ว ง้องแง้ว อะไรก็ไม่รู้


    [ame]https://youtu.be/mvQpRmJJrug[/ame]


    ผู้ที่กล่าวว่า พระอภิธรรมไม่ใช่พระพุทธพจน์ หรือ กล่าวว่าไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้า คัดค้านพระญาณของพระพุทธเจ้าดังข้อความที่อรรถกถากล่าวไว้ในพระภิธรรมปิฎก



    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 63

    ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร

    บุคคลเมื่อคัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกรวัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรมตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคนกินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้.



    แต่เรื่องนี้ตอนนี้ไม่รู้จะแก้ให้ได้ยังไง จนปัญญาจริงๆ หมากที่ท่านวางไว้ คึกฤทธิ์ ถือวิสาสะ เอาไปเดินต่อเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ ๑ (เมตเตยยโก)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๑-๑๒
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก ดินเผา
    ลักษณะวัตถุ พระพิมพ์ (ปางสมาธิ)
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “๖๔/๒๕๐๖“ (ใช้เลขทะเบียนเดียวกับ “จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ ๒ (สาริปุตฺโต)”)
    ๒) ในวารสาร Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) กำหนดเป็น “จารึกหลังพระพิมพ์พุทธสาวก 1“
    ปีที่พบจารึก ระหว่างการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ ในวันที่ ๕ สิงหาคม ถึง ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖
    สถานที่พบ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    ผู้พบ นายสมศักดิ์ รัตนกุล (ผู้ควบคุมการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน)
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (พระนคร : ศิวพร, ๒๕๐๙), ๑๖-๑๗.
    ๒) Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14.
    ประวัติ พระพิมพ์องค์นี้ถูกพบในการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ ในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในระหว่างวันที่ ๕ สิงหาคม ถึง ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ นายสมศักดิ์ รัตนกุล ผู้ควบคุมการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน ระบุว่า พบในบริเวณทิศใต้ของเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีการพบโบราณวัตถุอื่นๆ ในบริเวณเจดีย์ดังกล่าว ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ๔ องค์ เสาหินแปดเหลี่ยม และแท่นหินสี่เหลี่ยมจำหลักลวดลาย โดยทั้งหมดถูกกล่าวถึงใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตีพิมพ์เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยในรายงานดังกล่าวมีการอ่าน-แปลจารึกที่ปรากฏด้านหลังพระพิมพ์องค์นี้ด้วย ต่อมาในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์ฯ ดังกล่าว เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี“ ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงพระนามของพระศรีอารยเมตตรัย (เมตไตรยะ) ซึ่งเป็นอนาคตพุทธเจ้าที่กล่าวกันว่าจะลงมาตรัสรู้หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (โคตม) ปรินิพพานไปแล้ว ๕,๐๐๐ ปี เมตไตรยะเป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนทั้งหินยานและมหายาน โดยพบประติมากรรมของพระองค์ในทุกประเทศที่นับถือพุทธศาสนา
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากรูปอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 380_1.jpg
      380_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      132.9 KB
      เปิดดู:
      96
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ ๕ (กังขาเรวัตโต)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ปัลลวะ
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๑๑-๑๒
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก ดินเผา
    ลักษณะวัตถุ พระพิมพ์ (ปางสมาธิ?)
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดเป็น “๒๑/๒๕๑๓“
    ๒) ในวารสาร Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) กำหนดเป็น “จารึกหลังพระพิมพ์พุทธสาวก 5“
    ปีที่พบจารึก พุทธศักราช ๒๕๑๓
    สถานที่พบ เจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    ผู้พบ กรมศิลปากร
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    พิมพ์เผยแพร่ Fragile Palm Leaves no. 7 (December 2545/2002) : 11-14.
    ประวัติ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และศานติ ภักดีคำได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี“ ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึงนามของพระกงฺขาเรวตฺโต ซึ่งเป็นเอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ เดิมชื่อ เรวตะ เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองสาวัตถี วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาก็เกิดศรัทธา จึงขออุปสมบท และศึกษากรรมฐานจนบรรลุโลกิยฌาณ ต่อมาไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ สาเหตุที่ท่านมีนามว่ากังขาเรวตตะ (พระเรวตผู้ชอบสงสัย) นั้น ก็เนื่องมาจากการที่คิดสงสัยก่อนเสมอ ว่าสิ่งที่ท่านจะใช้สอยนั้นถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และสมควรแก่บรรพชิตหรือไม่
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากรูปอักษรปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒


    พระธรรมทายาทจริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 385_1.jpg
      385_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.6 KB
      เปิดดู:
      99
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกหริปุญชปุรี
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ลพ./๑๕, พช. ๒๑, ๓๒๗, หลักที่ ๗๑ ศิลาจารึกวัดพระธาตุ มุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน
    อักษรที่มีในจารึก ฝักขาม
    ศักราช พุทธศักราช ๒๐๔๓
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๕๑ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๓๒ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๙ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินทรายสีแดง
    ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๗.๕ ซม. สูง ๑๔๒ ซม. หนา ๑๑.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. ๑๕”
    ๒) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./๑๕, พช. ๒๑, ๓๒๗”
    ๓) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ กำหนดเป็น “หลักที่ ๗๑ ศิลาจารึกวัดพระธาตุ มุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน”
    ๔) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกหริปุญชปุรี”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), ๑๘๕-๑๙๔.
    ๒) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๓), ๔๕-๔๖.
    เนื้อหาโดยสังเขป ในด้านที่ ๑ บรรทัดแรกใช้คำว่า “ศุภมัศตุ” เป็นคำขึ้นต้นเรื่อง กล่าวถึงสมเด็จบพิตรมหาราชเจ้าตนเป็นอธิบดีในศรีพิงคราษฎร์เชียงใหม่ ได้ฐาปนาเหิงธรรมกับพระกรรโลงรักอัครราชมาดา มีศรัทธาในพระศาสนามากนัก มักให้มั่นคงลงเป็นเค้าเป็นมูงใน “หริบุญชบุรี” อวยไอสวรรย์สมบัติพัศดุฯ ทั้งหลาย มีต้นว่า “สัปตรัตนะ” นำมาบูชาพระมหาธาตุเจดีย์อันเป็นเหง้าเป็นเค้าแก่พสุธา จากนั้นได้พรรณนาสืบไปว่า สมเด็จพระองค์มหาราชเจ้าทั้งสองให้สร้างพระธรรมมณเฑียร อันอาเกียรณ์ไปด้วยคำมาสฯ ให้สร้างพระธรรม ๘ หมื่น ๔ พันพระธรรมขันธ์ และคันถสัตตปกรณ์ สาตถกถา ฎีกา อนุฎีกา คณนาได้ ๔๒๐ คัมภีร์ ให้สร้างสุพรรณพุทธรูปเจ้า แล้วให้นำมาถาปนาไว้ ณ พระธรรมมณเฑียร พ.ศ. ๒๐๔๓ นี้ยังอยู่ในรัชกาลพระเมืองแก้ว จารึกหลักนี้ควรประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญไชยนี้เอง แสดงว่า พระเมืองแก้วกับพระราชมารดาของพระองค์ได้ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่ สถาปนาหอพระไตรปิฎก ซึ่งท่านเรียกของท่านในสมัยนั้นว่า “พระธรรมมณเฑียร” เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก ครบทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันพร้อมทั้ง อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา รวมทั้งสิ้นเป็นคัมภีร์ ๔๒๐ พระคัมภีร์ บรรดาพระคัมภีร์ทั้งนี้ต้องเป็นใบลานทั้งหมด นอกจากนั้นยังทรงสร้างพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานประจำอยู่ที่ “พระธรรมมณเฑียร” จารึกหลักนี้ ถ้อยคำที่จารึกมีลักษณะเป็นร้อยกรองทำนองร่าย เป็นที่น่าสังเกตที่เรียกชื่อเมืองลำพูนโบราณว่า “หริบุญชบุรี” ซึ่งคงจะสืบมาแต่คำว่า “หริภุญชัย” โดยลำดับ
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ ข้อความจารึกด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒ ระบุ จ.ศ. ๘๖๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๐๔๓ อันเป็นรัชสมัยของพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘)


    มีสืบเนื่องมานาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    http://palungjit.org/threads/ศิลาจารึกพุทธทำนาย-ศิลาจารึกที่ไม่เคยมีจริง.545633/


    https://youtu.be/FUeLKpASkRY?list=PL962B3BD96C9EE6D1

    มีดีตรงที่ให้คิดต่างได้โดยไม่บีบบังคับกัน มันแตกต่างกันตรงนี้ หมายถึงว่า เราก็สามารถคิดได้อย่างพวกกลุ่มคนที่ไม่เชื่อ พุทธทำนาย หรือพุทธพยากรณ์ใดๆได้ นี่คือสติปัญญาที่สูงกว่า เป็นพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม รู้เขาแต่เขาไม่รู้เรา การที่เราก็สามารถคิดอย่างที่เขาคิดไม่ได้ด้วยนั้น จริงๆแล้วมันคือความหวัง อันพึงมีพึงเกิดตามสภาวะธรรม ตามบุญกุศลที่สั่งสมมา

    กลุ่มบุคคลที่เชื่อ พุทธทำนาย บุคคลเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่เชื่อและศรัทธาในปาฎิหาริย์ ๓ อันได้และเป็นสามัญผลของปฎิบัติธรรม ซึ่งเป็นญานทัสสนะที่วิเศษ เชื่อในเรื่องบุญและกุศล อันเป็นพลวปัจจัยอุปนิสัยที่สั่งสมมาในแต่ละภพชาติในอดีต เชื่อในพระยมกปาฎิหาริย์ ในสิ่งอัศจรรย์ต่างๆที่บังเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา และก็ด้วยเหตุผลนี้บุคคลเหล่านี้จึงอยู่ในระดับปัจจัยที่เกินกว่า พระอรหันต์ระดับ ท่านสุกขวิปัสสโก ในอนาคตกาล


    เพราะเชื่อในอภิญญาญาณ-ดังกล่าว มีจำนวนมาก จะอธิบายพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

    ๑.จักขุญาณ-เป็น"ตาทิพย์"เกิดขึ้นจากใจโดยตรง อยากเห็นสิ่งใดเพียงกำหนดจิตดู จะสามารถเห็นสิ่งนั้นได้ เช่น อยากดูเทพเจ้า เหล่าเทวดาทั้งหลาย อยู่กันอย่างไร ก็จะเห็นได้ทั้งหมด หรือกำหนดจิตดูหมู่สัตว์นรก หรือหมู่เปรต อยู่กันอย่างไร ก็จะเห็นได้ทั้งนั้น

    ๒.โสตญาณ-มี"หูทิพย์" สามารถกำหนดจิตฟังเสียงเทวดาทุกชั้นฟ้า แม้ผู้ที่ตกนรกมีเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดอย่างไร ก็ได้ยินทั้งนั้น

    ๓.เจโตปริยญาณ-กำหนดจิต"ดูความคิดของผู้อื่นได้"ว่า กำลังคิดเรื่องอะไร คิดในทางดีหรือไม่ดี ที่เรียกว่า"รู้วาระจิตของผู้อื่น"

    ๔.อิทธิวิธีญาณ-"มีฤทธิ์"ดำดิน เหาะเหินบนท้องฟ้าได้ ทั้งพระอริยเจ้าและปุถุชนผู้มีนิสัยทางนี้ มีปรากฏในตำรามากมาย

    ๕.มโนมยิทธิญาณ-เป็น"ฤทธิ์ทางใจ"โดยเฉพาะ อยากจะทำตัวคนเดียวให้เป็นหลายคน หรือกำหนดจิตใช้อภินิหารแปลงรูปร่างเป็นสัตว์ ก็สามารถทำได้

    ๖.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ-กำหนดจิต"ดูชาติอดีต"ของตนเองได้ ในชาติอดีตมีความเป็นอยู่อย่างไร มีใครบ้างที่มีความเกี่ยวข้องกัน สามารถรู้ได้ทั้งหมด

    ๗.จุตูปปาตญาณ-เป็นญาณที่"รู้จิตของผู้ที่ตายไปแล้ว" ว่าขณะนี้จิตเขาไปอยู่ที่ไหน ได้รับกรรมอะไร เมื่อพ้นจากกรรมนี้แล้ว จะได้รับผลของกรรมอะไรต่อไป สามารถรู้ได้ทั้งหมด

    ๘.อดีตังสญาณ-เป็นญาณที่"รู้ในเรื่องอดีต"ที่ผ่านมาทุกๆเรื่อง

    ๙.อนาคตังสญาณ-เป็นญาณที่"รู้ในเรื่องอนาคต"ที่จะเกิดขึ้นกับทุกๆเรื่องเช่นกัน


    สรุป พุทธทำนายนี้ ทำให้คนประมาทเกิดความโกลาหล อยากฆ่าฟันทิ่มแทงทำร้ายกันมากขึ้น หรือทำให้คนสำรวมกายวาจาใจ หมั่นทำกุศล สร้างคุณงามความดี ตั้งใจปฎิบัติธรรมรักษาศีล มีแรงผลักดันดียิ่งขึ้น เป็นส่วนบุญหรือส่วนบาป


    แล้วคำสอนพระพุทธเจ้าท่าน เน้นให้ทำบุญหรือทำบาป ถือเอาส่วนบุญ หรือส่วนบาป และคำทำนายนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อ ลาภ สักการะ สรรเสริญ ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้บุคคลใดๆนำมาใช้ในการทำมาหากิน พิจารณาดูให้ดีๆว่า ผู้ที่แจกจ่ายหรือเผยแผ่ พุทธทำนายนี้ มีแต่แจกแต่ให้ หรือ หาช่องทางทำมาหากินกับพุทธทำนายนี้

    ผู้มีปัญญาย่อมเห็นและสามารถแยกแยะ ผิดชอบชั่วดีได้ตามสติปัญญา คำสอนไม่ใช่เพียงแค่ปริยัติและตัวหนังสือ แต่เป็นเรื่องของการปฎิบัติ อันได้สำเร็จมาซึ่งปฎิเวธแล้ว สูงสุดว่ากันที่ผล หากผู้หนึ่งผู้ใดจะคิดว่าเป็นเดรัจฉานวิชา ขึ้นชื่อว่าเดรัจฉานวิชา นี่เป็นส่วนเป็นเหตุเป็นผลให้คนทำคุณงามความดีได้หรือไม่ เดรัจฉานวิชาสอนให้คนทำดีหรือทำบาป เรื่องนี้เป็นสมมุติที่บุคคลทั้งหลายที่มีสติปัญญาที่ตื้นเขิน ไม่สามารถที่จะมองเห็นได้อย่างง่ายๆ


    ศัพท์คำว่า "ดิรัจฉาน" แปลวว่า " ไปขวาง" หมายความว่าวิชาเหล่านี้ไปขวาง หรือไม่เข้ากับความเป็นสมณะมิใช่หมายความว่าเป็นวิชาของสัตว์เดรัจฉาน เพราะฉะนั้นถ้อยคำที่พระไม่ควรพูดจึงจัดเป็น ดิรัจฉานกถาคือถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป หรือวิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวจึงจัดเป็นดิรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวางหรือขัดกับความเป็นพระ ส่วนสัตว์ดิรัจฉานที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเพ่งกิริยาที่ไม่ได้ตั้งตัวตรง เดินไปอย่างคนแต่เอาตัวลง เอาศีรษะไปก่อน เมื่อไม่ได้ไปตรง ก็ชื่อว่าไปขวาง..


    พระสุตตันตปิฎก
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    _____________
    ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ๑. พรหมชาลสูตร
    ว่าด้วยข่ายแห่งพระสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ
    เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตมาณพ

    ผู้พิจารณาย่อมรู้ลึกรู้ชัดไปมากกว่าอรรถที่แสดง
    http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd09.htm



    ถามกันง่ายๆตรงๆ ชาติหนึ่งที่เกิดและสั่งสมมาในอดีต

    ราโค โทโส จ โมโห จ สทฺธา วิตกฺก พุทฺธิโย
    อิเมสํ ฉนฺนํ ธมฺมานํ วสา จริต สงฺคโห ฯ


    ๑.ราคจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากราคะเป็นพื้นฐานใจ



    ๒.โทสจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโทสะเป็นพื้นฐานใจ



    ๓.โมหจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโมหะเป็นพื้นฐานใจ



    ๔.วิตกจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากวิตกเป็นพื้นฐานใจ



    ๕.สัทธาจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากศรัทธาเป็นพื้นฐานใจ



    ๖.พุทธิจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากปัญญาเป็นพื้นฐานใจ

    บ้างก็มี

    ๑.ราคจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม ชอบสิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน และจิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ
    ๒.โทสจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน วู่วาม หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง โผงผาง เจ้าอารมณ์
    ๓.โมหจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโมหะ เขลา เซื่องซึม เชื่อคนง่าย งมงาย ขาดเหตุผล มองอะไรไม่ทะลุปรุโปร่ง
    ๔.วิตักกจริต หรือวิตกจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนี้ทีเรื่องนั้นที เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่สามารถยึดเกาะกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
    วิตก แปลว่าการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการเพ่งจิตสู่ความคิดในเรื่องต่างๆ ไม่ได้หมายถึงความกังวลใจ วิตกจริตจึงหมายถึง ผู้ที่เดี๋ยวยกจิตสู่เรื่องโน้น เดื๋ยวยกจิตสู่เรื่องนี้ ไม่ตั้งมั่น ไม่มั่นคงนั่นเอง
    ๕.ศรัทธาจริต หรือสัทธาจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสได้ง่าย ซึ่งถ้าเลื่อมใสในสิ่งที่ถูกก็ย่อมเป็นคุณ แต่ถ้าไปเลื่อมใสในสิ่งที่ผิดก็ย่อมเป็นโทษต่างจากโมหจริตตรงที่โมหจริตนั้นเชื่อแบบเซื่องซึม ส่วนศรัทธาจริตนั้นเชื่อด้วยความเลื่อมใส เบิกบานใจ
    ๖.ญาณจริต หรือพุทธิจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางชอบคิด พิจารณาด้วยเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ชอบใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่เชื่ออะไรโดยไม่มีเหตุผล



    และบุคคลที่ไม่ได้มีจริตนี้อยู่เลยและมีจริตที่ตรงกันข้ามกับจริตเหล่านี้ หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจริต ๖ ที่แสดงไว้นี้ เขาปฎิบัติอย่างนั้นเสมอๆ ตลอดเวลาทั้งชาตินี้ และชาติหน้าและจะเป็นไปอย่างนี้ สลับกันไปมาอีกหลายภพหลายชาติ จนรู้สึกเบื่อหน่าย บางคนเกิดมาเกลี่ยดบางสิ่งบางอย่างทั้งที่เพียงแค่ได้ยิน ไม่ได้สัมผัสเองก็ตาม จนกว่าจะมีพอความใจในสิ่งอื่นมากกว่าสิ่งที่เขาปรารถนา เขาจึงละทิ้งสิ่งเหล่านี้ไป ไม่ใช่เกิดมาชาติเดียวแล้วเข้าสู่หนทางการปฎิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเลย นั่นเป็นโลกของบัวสามเหล่าของสำนักวัดนาป่าพง ที่ไม่มีบัวเหล่าอื่น ที่เป็น นียัตถะ และเนยยัตถะ


    บุคคลที่เชื่อในพุทธทำนาย เขาเหล่านี้เป็นคนชั่วหรือ? เป็นคนเลวหรือ? เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือ? เรากล่าวถึงผลของการปฎิบัติ การดับสิ้นอย่างหมดจดต่างหาก





    ขโมยธรรมไปทำลายธรรม ยังให้เกิดสัทธรรมปฎิรูป ทำให้สงฆ์ให้แตก โดยขาดองคาพยพในปัจจุบัน ก็ส่งผลอย่างนี้

    มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม (ฆ่า บิดามารดา(เป็นต้น) เพราะอนันตริยกรรมยังพอกำหนดอายุที่จะไปอบายได้ เช่น ไปนรก ๑ กัปดังเช่น พระเทวทัตทำสังฆเภท (ทำสงฆ์ให้แตก) ซึ่งเมื่อครบกำหนดอายุกรรมแล้วก็สามารถไปเกิดในสุคติภูมิและบรรลุธรรมภายหลังได้ ดังเช่นพระเทวทัต ภายหลังท่านก็ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตกาล แต่ว่ามิจฉาทิฏฐิไม่สามารถออกจากวัฏฏะได้เลย(ตอวัฏฏะ) และยังเป็นเหตุให้ที่ทำบาปกรรมต่าง ๆ มากมายด้วย มีการทำอนันตริยกรรม เป็นต้น จึงไม่สามารถไปสุคติภูมิได้และไม่มีทางบรรลุมรรคผล จึงมีโทษมากดังนี้ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็น

    ธรรมอย่างหนึ่ง อันอื่นที่มีโทษมาก เหมือน

    อย่างมิจฉาทิฏฐิเลย กระบวนโทษทั้งหลาย

    มิจฉาทิฏฐิมีโทษอย่างยิ่ง.

    และ แม้ความเห็นผิด จะไม่ได้มีกำลังมากถึงกับดิ่ง แต่ความเห็นผิด แม้การเห็นผิดในข้อปฏิบัติ และ อื่นๆ ก็มีโทษมาก เพราะเมื่อมีความเห็นผิดย่อมเป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมอื่นๆ ตามมามากมายและล่วงศีลได้ เมื่อเห็นผิด ย่อมคิดผิด ย่อมมีวาจาผิด(พูดเท็จ พูดหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ) ย่อมมีการงานผิด ประพฤติทางกายผิด(ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม) ย่อมเลี้ยงชีพผิด ย่อมเพียรผิดย่อมระลึกผิด ย่อมตั้งมั่นผิด ย่อมรู้ผิด เป็นต้น สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า



    ๒. ทุติยอธรรมสูตร

    ว่าด้วยบุคคลพึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและตามสิ่งที่เป็นประโยชน์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความ

    เห็นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้น

    เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรม

    มิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย

    เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

    ---------------------------------------------------





    มิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก

    มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม





    ฉนั้น ถ้าคิดว่า พุทธทำนายเป็นเดรัจฉานวิชา เป็นมิจฉาทิฏฐิ มันจะส่งให้เกิดผลของการกระทำบาปและสิ่งที่ไม่ดี

    เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ก็ให้พิจารณาตามสติปัญญาที่สั่งสมกันมาเอาตามความพึงพอใจและสมัครใจกันเอง



    คนมีปัญญาก็รู้อะไรที่ละเอียดอ่อนอย่างนี้ได้ บุคคลเหล่านี้มีสติปัญญาไม่ใช่ธรรมดา อาจจะรู้ได้เองโดยไม่มีใครสอนเสียด้วยซ้ำ

    http://pantip.com/topic/33520925
    [ame]https://youtu.be/E0bk3ro98NQ[/ame]

    สุดท้ายเมื่อสติปัญญาน้อย พิจารณาตื้นเขิน แล้วโอ้อวด ก็จะมีผลอย่างที่เห็น

    คึกฤทธิ์วาทะ "เมื่อพระเครื่องพระพุทธรูปเป็นเดรัจฉานวิชา เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่เมื่อบูชา พระเครื่องบูชาพระพุทธรูป เป็นสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น "



    สภาวะธรรมจึงตีกันเองปะปนอย่างที่เห็น



    ว่าแต่ว่า "อันนี้ไม่เดรัจฉานวิชาเหรอจ๊ะพี่จ๋า หรือว่า แม้แต่จะให้สังกัดเดียวกันกับเดรัจฉานวิชา เขาก็ยังรังเกียจไม่ยอมรับเข้าพวกกันจ๊ะ"

    ไม่รู้จะเรียกอะไร?

    http://pantip.com/topic/33932370



    บทสนทนาทิ้งท้ายกับแอตมินเพจสมาคมต่อต้านเดรัจฉานวิชา

    มันเป็นองคาพยพของศาสนาพุทธ ไอ้แอต ถ้ามิงนั่งอยู่เฉยๆ มิงไม่สู้ ก็จะเรียบเหมือนที่นาลันทา คนที่เขามีศีลมีธรรมอันงดงามไม่ขวนขวายอะไรๆ เขาก็ยอม แต่คนที่เขาไม่ยอมเขาก็จะทำทุกๆวิธีทางเพื่อหาทางรอด เพื่อเอาตัวรอด เพื่อปลุกปั่น เพื่อศรัทธา เพื่ออุดมการณ์ คิดไปจนถึงพระวีระทูนู่น ทำสงครามศาสนาเลย ถ้าไม่ทำเขาก็อยู่ไม่ได้ แต่ไอ้พวกที่มิงเห็นมันก็มีอยู่บ้าง เพราะมันใช้ศาสตร์นั้นไปในทางที่หลงงมงายจนเป็นบ้าเป็นบอก็มีกูรูก็เห็น และยอมรับว่า มันเพี้ยนเสียผู้เสียคนก็มี ความหวัง ว่ะแอต คนทุกคนมีอุดมการณ์และความหวังแตกต่างกัน มิงจะหาดี รักษาพระธรรมวินัย กูรูก็ขอให้มิงบวชเข้ามาแล้วสำเร็จมรรคผลและทำให้เป็นตัวอย่างแก่พวกโง่ๆ ไม่ใช่มีแต่ปากกับปากกานิ้วเคาะแป้นคีย์บอร์ด วิจารย์สาดเสียเทเสียไปวัน ทั้งๆที่ตนบวชเข้าไปแล้วก็ไม่มีสติปัญญามากพอที่จะออกจากจากสิ่งที่ตนกล่าวโทษเขาเอาไว้ได้ การลงทัณฑ์สงฆ์เลวๆก็มีอยู่ ไม่อย่างนั้นพระสงฆ์จะกลัวการทำพระปาฏิโมกข์อย่างในอดีตเหรอ ผิดศีลโกหกพระพุทธเจ้า กระอักเลือดตายสนั่น ขอบอกคืนสิกขาหนีเข้าสู่เพศฆราวาสอีกมากมาย โลกมันก็เป็นแบบนี้ มิงมีอุดมการณ์ที่ดี แต่มิงควรอยู่ในสถานะที่ลงทัณฑ์พวกนั้นได้โดยการบวชแล้วบรรลุธรรม เข้าไปนั่งทำพระปาฏิโมกข์กับพวกเสียศีลเสียธรรม มิงก็จะรู้เองจะเกิดอะไรขึ้น กูรูบอกเลยว่าถึงตาย สโลแกนอย่างเดียว ก็ทำได้เท่านี้ล่ะแอต ยากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทธรไม่มีใครดีพร้อมเสมอสมบูรณ์เหมือนพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯหรอกว่ะ มิงทำใจเถอะ กูรูทำใจมานานแล้ว

    แอตมินมันบ้าพุทธวจนวัดนาป่าพง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  8. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    https://www.facebook.com/permalink....otif_t=feed_comment&notif_id=1476011116628466

    พุทธศาสนายุคมุสลิมยึดครอง พ.ศ. ๑๗๐๐-๒๒๐๐ (Buddhism in Muslim ruler's time B.E. 1700-2200)
    หลังจากราชศ์ปาละได้เสื่อมสลายลงแล้ว ลุ่มแม่น้ำคงคาตอนกลางก็ตกอยู่ภายใต้ปกครองของกษัตริย์ราชวงค์เสนะ ซึ่งก่อตั้งโดยพระเจ้าลาวะเสนะ (Lavasena) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ส่วนมากนับถือศาสนาฮินดู แต่ก็ทรงอุปถมภ์พุทธศาสนาอยู่บ้าง ในตอนปลายราชวงค์นี้อาณาจักรมคธ และอินเดียส่วนเหนือกลางทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองกองทัพมุสลิม

    ใน ขณะที่ลัทธิพุทธตันตระ กำลังได้รับการปฏิบัติอย่างแพร่หลายในอินเดียทางทิศเหนือ กลาง และทิศตะวันออกในหมู่ชนชั้นต่ำพุทธศาสนาดั้งเดิมก็ถึงแก่ความเสื่อม เกิดสัทธรรมปฎิรูปผสมผสานกันเข้าจนหาความบริสุทธิ์ได้น้อย ต่อมากษัตริย์มุสลิมก็เริ่มเคลื่อนกองทัพอันเกรียงไกรเข้ายึดอินเดียทางทิศ เหนือไว้ได้ในครอบครอง โดยเด็ดขาด

    พ.ศ.๑๗๓๗ กองทัพมุสลิมนำโดยโมฮัมหมัด โฆรี (Muhammad Ghori) กลับมาเพื่อแก้แค้นพระเจ้าปฤฐวีราช (Prithaviraj) อีกครั้งพร้อมกองทหาร ๑๒๐,๐๐๐ คน ยกทัพจากอัฟกานิสถาน ก็พิชิตกองทัพอินเดียได้ ณ ทุ่งปาณิพัตร ใกล้กรุงนิวเดลลี แต่คราวนี้พระเจ้าปฤฐวีราชแพ้ราบคาบและสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระมเหสีทราบข่าวก็กระโดดเข้ากองไฟ พร้อมข้าราชบริพารจนกลายเป็นประเพณีสตรีสืบต่อมา พระเจ้าชายาจันทราทรงทราบและเตรียมรบ สุดท้ายก็พ่ายแพ้สิ้นพระชนม์ในสนามรบเช่นกัน

    พ.ศ.๑๗๔๐ โมหัมหมัด โฆรี ก็ได้แต่งตั้ง กุดบัดดิน ไอบัค (Qutbuddin Aibak) นายพลของเขาดูแลกรุงอินทรปัตถ์ (เดลลี) และส่วนอื่น ๆ ของอินเดียที่ยึดได้ และไอบัคก็ได้ขยายจักรวรรดิออกไปเรื่อย ๆ รัฐคุชรตและรัฐอื่น ๆ ในอินเดียตอนกลางก็ถูกผนวกเข้ามาในสมัยนี้ ต่อมาพวกเขาก็เดินทัพไปสู่รัฐพิหาร มีชัยชนะเหนือพระเจ้าลวังเสนา กษัตริย์แห่งเบงกอล จึงเป็นการเปิดทางอย่างสะดวกให้กองทัพมุสลิมรุกเข้าอินเดียเหมือนเขื่อนแตก ได้ทำลายวัดวาอารามและสถานที่สำคัญของพุทธศาสนา ของฮินดูและเชน ฆ่าพระภิกษุสามเณรตายหลายหมื่นรูป

    ต่อมา พ.ศ.๑๗๖๖ อิคเทียขิลจิลูกชายภักเทียขิลจิ แม่ทัพมุสลิมอีกคนก็เข้าทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นอย่างราบเรียบ มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ได้กลายเป็นสุสานของพระภิกษุสามเณร ดังบันทึกของท่านตารนาถชาวธิเบต ได้บันทึกไว้ว่า
    "กองทัพเติร์กมุสลิม หลังจากที่รุกรบจนชนะแล้วได้ปกครองชมพูทวีปส่วนเหนือและแคว้นมคธแล้ว ต่อจากนั้นก็เริ่มทำลายวัดวาอารามปูชนียสถานเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาย ต่อมา พ.ศ. ๑๗๖๖ กองทัพมุสลิมนำโดยอิคเทีย ขิลจิ พร้อมด้วยทหารม้า ๒๐๐ คน ก็ได้ยกทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา"
    พระภิกษุสงฆ์จำนวนมากถูกฆ่า และบางส่วนก็หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศใกล้เคียง ซึ่งโดยมากได้ไปอาศัยอยู่ที่เนปาลและธิเบต ในขณะที่กองทัพมุสลิมยกทัพเข้ามา ๓๐๐ คน ท่านธรรมสวามิน พระธิเบตและท่านราหุลศรีภัทร ไม่ขอหนีแต่จะขอตายที่นาลันทา แต่ต่อมาทั้งสองจึงได้ไปหลบหนีึซ่อนตัวอยู่ที่วัดชญาณนาถ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า รุกขมินิสสถาน ซึ่งห่างจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ๓ กิโลเมตร เมื่อพวกเติร์กมุสลิมกลับไปแล้ว ได้มีผู้ออกมาเพื่อบูรณะนาลันทาขึ้นมาดั่งเดิม โดย มีท่านมุทิตาภัทร (Muditabhadra) ได้จัดแจงซ่อมแซมขึ้นใหม่ ต่อมาเสนาบดีแคว้นมคธ นามว่า กุกฏะสิทธิ ได้บริจากทรัพย์สร้างวัดขึ้นอีก ภายในบริเวณนาลันทานั้นเอง นาลันทาทำทีจะฟื้นอีกครั้ง
    แต่ต่อมามีพราหมณ์ ๒ คนได้มาถึงบริเวณนั้นจะยึดเอาเป็นที่ประกอบพิธีบูชายัญ ด้วยความคะนองสามเณรจึงหยิบภาชนะตักน้ำล้างเท้าสาดพราหมณ์ทั้งสอง พวกเขาโกรธมาก เวลาเลยผ่านไปสิบปีจึงมาเผาซ้ำ ห้องสมุดรัตโนทธิที่เหลือเป็นหลังสุดท้ายก็ถูกทำลายลงหมดหนทางจะเยียวยา จึงถูกปล่อยรกร้างจมดินเป็นเวลา ๖๒๔ ปี
    พ.ศ.๒๔๐๓ ท่านเซอร์คันนี่งแฮมจึงได้ขุดค้นเจอซากของมหาวิทยาลัยตามคำบอกที่พระถังซำ จั๋งเขียนไว้ในหนังสือของท่าน

    ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมและหมดไปจากอินเดียตอนเหนือ และตอนกลาง โดยไม่มีอะไรเหลือให้ปรากฏ นอกจากซากปรักหักพังของสถานที่สำคัญ ของพุทธศาสนา และพระพุทธรูปที่ถูกทำลายเป็นส่วนมาก และสิ่งเหล่านี้ก็ได้ถูกทอดทิ้งลบเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวอินเดียมา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ปี จึงไม่เป็นการแปลกเลยว่า เพราะเหตุใดชาวอินเดียทุกวันนี้ จึงไม่รู้จักพุทธศาสนา ส่วนศาสนาฮินดู และศาสนาเชน นั้นก็ถูกทำลายเช่นกันแต่ไม่ค่อยจะรุนแรงเท่าไรนัก เพราะพระและนักบวชฮินดูมีหลายลัทธิหลายนิกาย บางนิกายไม่ค่อยจะมีความผิดแปลกแตกต่างจากฆราวาสเท่าไรนัก เพราะแต่งตัวเหมือนฆราวาสและมีครอบครัวได้อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน พวกมุสลิมก็รู้ไม่ได้ว่าเป็นพระหรือเป็นฆราวาส ส่วนพระของพุทธศาสนานั้นแปลกจากพระในศาสนาอื่น ๆ การแต่งตัวรู้ได้ง่ายอยู่ที่ไหนก็รู้ได้ง่าย มุสลิมได้เบียดเบียนบังคับให้สึก ถ้าไม่สึกก็ฆ่าเสียเมื่อเป็นเช่นนี้พระในพุทธศาสนาอยู่ไม่ได้ เมื่อไม่มีพระสงฆ์พุทธศาสนาก็หมดไปโดยปริยาย อีกอย่างหนึ่งผู้ที่นับถือพุทธนั้น โดยมากเป็นคนชั้นสูงเมื่อคนชั้นสูงหมดอำนาจ ศาสนาพุทธก็หมดไปด้วย ไม่เหมือนกับศาสนาฮินดูซึ่งผู้นับถือส่วนมากเป็นสามัญชนและศาสนาอยู่ได้ก็ เพราะชนพวกนี้

    พ.ศ. ๑๗๔๕ โมหัมหมัด โฆรีก็เสียชีวิตลง ไอบักจึงสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ (สุลต่าน) แห่งเดลลี พวกเติร์ก หรือตุรกีจึงปกครองอินเดียสืบมา แม้จะเปลี่ยนผู้ปกครองและเชื้อสายบ้างแต่สุลต่านทั้งหมดก็เป็นมุสลิม พวกเขาปกครองอินเดียมายาวนานมากกว่า ๖๐๐ ปี เมื่อไอบัคเสียชีวิตลง บังลังก์ที่เดลลีก็ถูกยึดครองครองโดยอิลตูมิช (Iltumish) เขาเป็นผู้ปกครองที่มีความสามารถคนหนึ่ง แต่กวดขันผู้คนที่นับถือศาสนา และพยายามที่จะบังคับพลเมืองให้เป็นมุสลิม ช่วงนี้ชาวพุทธฆราวาสยังมีอยู่ แต่ถูกบีบคั้นอย่างหนัก บางส่วนหันเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามและฮินดู เมื่ออิลตูมิชเสียชีวิตแล้วจึงให้ลูกสาวขึ้นปกครองแทน คือราซิยา (Raziya) แต่เพราะเจ้าหน้าที่ข้าราชบริพารชาวมุสลิมไม่นิยมในผู้ปกครองที่เป็นหญิง นางจึงถูกลอบสังหาร นาซิรุดดิน (Nasiruddin) จึงขึ้นครองบัลลังก์เดลลี ต่อมาบัลบัน (Balban) ก็ปกครองสืบต่อจากนาซิรุดดินมา ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ๒.ราชวงศ์ทาส (Slave dynasty) พ.ศ.๑๗๔๙ (ตุรกี)
    ๑. กุดบัดดิน ไอบัก (Qutbuddin Aibak) เป็นชาวเติร์กหรือตุรกีเป็นทาสของโมหัมหมัด โฆรี แต่มีความสามารถในการรบ โฆรีเห็นความสามารถจึงถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเดลลีและเป็นผู้รบชนะพระ เจ้าชายาจันทรา หรือไชยจันทร์ได้สร้างหอสูงชื่อกุตับมีน่าร์ที่เมืองนิวเดลลี เขาได้ทำลายโบสถ์และวัดในศาสนาต่าง ๆ มากมาย ปกครองเดลลีจนถึงพ.ศ. ๑๗๖๓

    ๒. อิลตูมิท (Iltulmit) ปกครองบัลลังก์เดลลีเมื่อพ.ศ. ๑๗๖๓ ต่อจากไอบัก เป็นนักปกครองที่มีความสามารถ รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น ช่วงปลายอายุได้ตัดสินใจมอบบัลลังก์ให้กับลูกสาว เพราะบุตรชายอ่อนแอไม่มีความสามารถ ปกครองเดลลีจนถึง พ.ศ. ๑๗๗๙

    ๓. ราซิยา (Raziya) เป็นบุตรสาวของอิลตูมิท แม้เป็นหญิงแต่มีความเข็มแข็ง มักชอบแต่งกายเหมือนบุรุษ ปกครองจนถึง พ.ศ.๑๗๘๓ ก็ถูกโค่นอำนาจลง

    ๔. นาซิรุดดิน (Nasiruddin) เป็นบุตรคนเล็กของอิลตูมิท และเป็นน้องชายของราซิยา เป็นนักการศาสนามากกว่านักปกครองเพราะใช้เวลาส่วนมากอยู่กับคัมภีร์อัลกุระ อ่าน ปกครองจนถึง พ.ศ.๑๘๐๓

    ๕. บัลบัน (Balban) ปกครองเดลลีตั้งแต่พ.ศ.๑๘๐๓ เขาเป็นคนโหดร้าย ปกครองบ้านเมืองด้วยความกลัว และกดขี่ไม่ให้สิทธิ์แก่ผู้นับถือศาสนาอื่นนอกจากมุสลิม ทายาทของบัลบันค่อนข้างอ่อนแอ ปกครองจนถึงพ.ศ. ๑๘๓๓ อำนาจก็ถูกเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ขิลจิ

    ในยุคของอิลตูมิทได้มีนักแสวงบุชาวธิเบตท่านหนึ่งเดินทางมาอินเดียเพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ท่านเป็นศิษย์ชุดสุดท้ายของนาลันทาก่อนถูกทำลายลง จดหมายเหตุที่ท่านเขียนไว้มีคุณค่ามหาศาลต่อชาวพุทธท่านนี้คือ พระลามะธรรมสวามิน

    ๓.จดหมายเหตุพระธรรมสวามิน (Dharmasvamin)
    พระ ลามะธรรมสวามิน (Dharmasvamin) นามเดิมว่า ชัค-โล-จวะ-โซ-เจเป็ล เกิดเมื่อพ.ศ.๑๗๔๐ ในตอนกลางของธิเบต หลังจากบรรพชาและอุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว ได้เดินทางเข้าอินเดีย เมื่อพ.ศ.๑๗๗๗ พร้อมกับคณะในสมัยของอิลตูมิทปกครองเดลลี ได้เดินทางจาริกแสวงบุญจากธิเบตผ่านเนปาลเข้าสู่อินเดีย รวมเวลา ๔ ปี หลังจากกลับธิเบตแล้ว ท่านได้เขียนรายงานบันทึกการเดินทางท่องเที่ยวและศึกษาของท่านที่อินเดีย รายงานการบันทึกของท่านได้รับการเปิดเผยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยท่านราหุลสังกฤษยยันที่เดินทางเข้าธิเบตก่อนจีนยึดครอง รายงานการบันทึกของท่านได้เผยโฉมหน้าของประวัติศาสตร์อินเดียที่มืดดำลง ทำให้เราได้ทราบข้อเท็จจริงหลายประการโดยเฉพาะสถานการ์พุทธศาสนาในยุคที่ มุสลิมเข้ายึดครองมคธ แหล่งพักพิงของพุทธศาสนาแห่งสุดท้ายในยุคนั้น แต่เนื่องจากท่านเดินทางมาอินเดียไม่นานและไม่ได้ท่องเที่ยวไปหลายแห่ง เหมือนพระอาจารย์ฟาเหียน พระถังซำจั๋ง พระอี้จิง ข้อมูลที่เราได้รับจึงมีแค่เฉพาะแคว้นมคธและใกล้เคียงเท่านั้น แต่ทั้งสี่ท่านล้วนเป็นพุทธสาวกที่มีใจเด็ดเดี่ยวพร้อมพลีชีพในการเดินทาง แสวงบุญในแดนพุทธภูมิ แม้จะผ่านอุปสรรคมากมายในการเดินทางแต่ท่านเหล่านั้นก็ทำสำเร็จ
    ก่อนการเดินทางไปอินเดีย ท่านลามะธรรมสวามินได้รับการคัดค้านจากพระอาจารย์ชาวธิเบตและอินเดียใน ธิเบตหลายท่าน ถึงอันตรายต่อชีวิตหากจะดึงดันเดินทางมาอินเดีย เพราะก่อนหน้านั้นท่านธรรมสวามินผู้เป็นลุงได้เดินทางเข้าอินเดียและเสีย ชีวิตที่อินเดียมาแล้ว แต่ปณิธานที่จะเดินทางไปอินเดียยังมั่นคง แม้จะถูกตัดค้านแต่ท่านได้เริ่มเดินทางจากธิเบตพร้อมคณะเข้าสู่เนปาล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    เนปาล (Nepala)

    ขณะมีอายุ ๒๙ ปีท่านได้เดินท่างเข้าเนปาลและพักศึกษาเล่าเรียนที่วัดสวยัมภูวิหาร และธรรมธาตุวิหารกับ พระมหาเถระรัตนรักษิตะ (Ratnarakshita) เป็นเวลา ๘ ปี ไปเดินทางกราบนมัสการพุทธสถานหลายแห่ง เช่น พระเจดีย์พุทธนาถ และสยัมภูวนาถ ธรรมธาตุวิหาร และมหาวิหารพูขาม เป็นต้น ในทุก ๆ ปีของฤดูใบไม้ร่วง ประชาชนจะนำพระพุทธรูปที่วิหารพูขามออกมาแห่เฉลิมฉลองเสมอ ที่นี่เพื่อนร่วมทางได้เสียชีวิตหลายรูป

    ที่ติรหุต (Tirhut)

    หลังสิ้นสุดการเรียนและท่องเที่ยวในเนปาล ท่านตัดสินใจเดินทางเข้าอินเดีย พ.ศ.๑๗๗๗ ขณะอายุ ๓๗ ปี สถานการณ์ืไม่ปลอดภัยสำหรับชาวพุทธและฮินดู พุทธสถานส่วนมากได้ถูกทำลายลงแล้ว ที่นี่มีหญิงวรรณะต่ำพยายามคุกคามชีวิตพรหมจรรย์ แต่ท่านก็รอดตัวมาได้ ตอนกลับท่านต้องผ่านเมืองนี้และได้ป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอด เมื่อหายดีแล้วได้พบกับพระราชาเมืองติรหุตนามว่า พระเจ้ารามสิงห์ (Ramasimha) พระองค์ศรัทธาในตัวท่านแม้พระองค์จะเป็นฮินดู พร้อมกับถวายทอง ยารักษาโรค ข้าวและเสบียงอีกมาก แล้วอาราธนาให้ท่านเป็นพระที่ปรึกษาประจำราชสำนัก แต่ท่านปฏิเสธพร้อมกล่าวว่า เป็นการไม่เหมาะที่ชาวพุทธจะเป็นครูของผู้นับถือศาสนาอื่น พระราชาเข้าใจ ต่อมาท่านจึงลากลับ ระหว่างทางได้ถูกควายป่าโจมตีหลายครั้งแต่ท่านพร้อมเพื่อน ๔ รูปก็รอดมาได้อย่างหวุดหวิด

    ที่ไวศาลี (Vaishali)

    ที่นี้ได้พบกับรูปปั้นของเทพธิดาตาราที่มีชื่อเสียงของเมือง ขณะที่เดินทางไปถึงประชาชานกำลังแตกตื่นสับสนอลหม่านอย่างหนัก เพราะมีข่าวลือว่ากองทหารตุรกีกำลังเดินทางมา รุ่งอรุณวันใหม่ชาวเมืองต่างพากันเตรียมหลบหนี แต่ท่านไม่ไป เมื่อสถานการณ์ปกติแล้วพวกเขาจึงกลับมาอีกครั้งที่ไวศาลี ท่านธรรมสวามินไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องสถานการณ์ของพุทธศานาในเมืองเวศาลี ขณะข้ามแม่น้ำคงคาด้วยเรียกข้ามฟากเพื่อเดินทางกลับ มีทหารมุสลิมสองนายเดินทางมากับเรือด้วย พวกเขาเห็นท่านพร้อมกับทองคำที่พระเจ้ารามสิงห์ถวาย จึงข่มขู่เอาทองคำพร้อมยึดบาตรและทุบตีเพื่อยึด แต่โชคดีที่คฤหัสถ์ชาวพุทธพ่อลูกในเรือขอร้องและมอบสมบัติเขาให้แทน พวกเขากล่าวว่า "พวกเราไม่ต้องการสมบัติคุณ แต่ต้องการพระธิเบตรูปนี้" แต่ท่านอ้อนวอนพร้อมมอบสมบัติบางส่วนให้พวกเขาจึงปล่อยตัว

    ที่วัชรอาสน์ (พุทธคยา) (Buddhagaya)

    ที่นี่ส่วนมากรกร้าง มีพระสงฆ์ฝ่ายหินยานหรือเถรวาทจำพรรษา ๓๐๐ รูป ล้วนแล้วแต่มาจากศรีลังกา แต่ในขณะที่ท่านเดินทางไปถึงพระเกือบทั้งหมดได้หลบหนีไปแล้ว เหลือพระดูแลพระเจดีย์ ๔ รูปเท่านั้น ท่านกล่าวว่า
    "(ที่พุทธคายา) สถานที่ถูกทำลายลง เหลือพระ ๔ รูป เท่านั้นที่พักดูแลอยู่ในพุทธคยา พระภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า "มันแย่มาก พระทั้งหมดได้หลบหนีไปที่อื่นหมดแล้วด้วยความกลัวทหารมุสลิมตุรกีที่รุกราน" พระภิกษุเหล่านั้น ปิดทางเข้าสู่เจดีย์มหาโพธิ์ด้วยอิฐและฉาบมันไว้อย่างดี ใกล้ที่นั่นภิกษุได้บรรจุรูปปั้นอื่นไว้เป็นตัวหลอก บนผิวปูนที่ฉาบนั้นพวกเขาได้วาดรูปพระอิศวร(มเหศวระ) ไว้ภายนอกเพื่อปกป้องพวกนอกศาสนา พระเหล่านั้นกล่าวว่า "พวกเราไม่กล้าอยู่ที่นี่ และจะต้องไปเหมือนกัน"
    "พอรุ่งสาง พวกเขาก็ออกเดินทางสู่ทางเหนือตามร่องของเกวียนที่ผู้คนไปก่อนแล้ว สิบเจ็ดวันต่อมาข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห็นรูปปั่นนั้นอีก เวลานั้นได้มีหญิงชาวบ้านได้นำข่าวดีมาประกาศว่าทหารตุรกีได้ไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงกลับมาแล้วได้พำนักที่นี้เพื่อกราบนมัสการพระเจดีย์"

    เมื่อสถานการณ์คับขัน ท่านก็เข้าไปหลบภัยในป่ากับเพื่อน ๑๗ วัน เมื่อก่องทหารตุรกีกลับไปแล้วและสถานการณ์เป็นปกติ ท่านจึงเดินทางเข้ากราบพระแท่นวัชรอาสน์และพระเจดีย์
    พระสงฆ์ฝ่ายหินยานที่ดูแลพระแท่นวัชรอาสน์กล่าวกับพระลามะธรรมสาวมินว่า ท่านถืออะไรในมือ เมื่อทราบว่าเป็นหนังสือปรัชญาปารมิตา (ฝ่ายมหายาน) พระเหล่านั้นจึงแนะนำให้ท่านโยนทิ้งลงแม่น้ำเสีย พร้อมกล่าวว่ามหายานไม่ได้สอนโดยพระพุทธเจ้า การบูชาเจ้าแม่ตาราหรือพระอวโลกิเตศวรก็เป็นเรื่องงมงาย แต่ท่านก็ไม่สละแนวคิด ที่นี่ท่านได้พบหลายอย่าง เช่น ต้นโพธ์ รูปปั้นเทพธิดาตารา พระพุทธรูป พระพุทธบาท พระบรมสารีริกธาตุ กำแพงหิน วัชรอาสน์ เป็นต้น
    ต่อมาท่านได้พบกับ พระเจ้าพุทธเสน (Buddhasena) แห่งราชวงศ์เสนะที่ปกครองมคธ พระองค์เป็นชาวพุทธ และได้หลบหนีกองทหารมุสลิม เข้าป่าพร้อมทหารราว ๕๐๐ นาย เมื่อเห็นท่านพระองค์ได้กราบแทบเท้าพร้อมกับตรัสว่า "ขอน้อมวันทาต่อบุตร (สาวก) ของพระพุทธองค์" พร้อมกับบูชาท่านด้วยวัตถุสิ่งของมากมาย

    ที่ภูเขาคิชฌกูฏ (Gijhakuta)

    ที่นี่กุฏิของพระพุทธองค์บนยอดเขา เรียกว่า มูลคันธกุฏิ คำว่า "คิชฌกูฏ" แปลว่าภูเขาหัวแร้ง มีนกหลายชนิด งูใหญ่ เสือ หมี ควายสีดำและสีน้ำตาลมากมายอาศัยอยู่ ผู้เดินทางมาคนเดียวจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งจึงต้องมาเป็นคณะพร้อมอาวุธ ดาบ หอกธนู พร้อมอุปกรณ์ให้สัญญาณ เช่น แตร ฉาบ เป็นต้น บนยอดเขาไม่มีต้นไม้ใหญ่ ยังมีสถูปใหญ่ที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้ เพื่อยืนยันว่าพระพุทธเจ้าเคยแสดงพระธรรมเทศนาที่นี่ แม้จะมีสัตว์หลายชนิด แต่ก็มีสิทธะหลายคนอาศัยอย่างสงบบนยอดเขา

    ที่นครราชคฤห์ (Rajgrha)

    ที่นี่มีหมู่บ้านราว ๖๐๐-๘๐๐ หลัง มีสถูปใหญ่ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างไว้ท่างทิศเหนือมีธารน้ำร้อนไหลออกจากภูเขา เรียกว่า ตโปธาราม นอกนั้นยังมีป่าไผ่เป็นจำนวนมาก ท่านได้ศึกษากับพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงในเมืองราชคฤห์ คือ ท่านมหาบัณฑิตยโสมิตร (Mahapandit Yasomitra) ในหลายศาสตร์ ท่านก็ไม่อ้างถึงสถานการณ์ของพุทธศาสนาในเมืองนี้ แต่ได้กล่าวถึงเฉพาะพระเถระที่มีชื่อเสียงในรูปเดียวคือพระมหาเถระยโสมิตร

    ที่นี่มีพระจำพรรษาราว ๑,๐๐๐ รูป ท่านได้ศึกษากับพระมหาเถระผู้เป็นอธิการบดีคนสุดท้ายวัย ๙๐ ปี คือ ท่านมหาบัณฑิตราหุลศรีภัทร (Rahulasri-Bhadra) ในหลายศาสตร์ เช่น ไวยากรณ์ และคุรุปัญจสิกา พร้อมกับศิษย์ของท่านราว ๗๐ รูป ท่านมีศิษย์คนสำคัญดูแลอุปัฏฐากเป็นพราหมณ์นามว่า ชัยเทวะ (Jayadeva) เข้าสู่ พรรษาที่ ๒ ท่าน อธิการบดีบอกให้ท่านธรรมสาวมินกลับธิเบต เพราะมคธมีไข้ระบาด และกองทหารตุรกี เข้าโจมตีหลายแห่งในมคธ พระมหาเถระดุด่าศิษย์ชาวธิเบตว่า "คุณเป็นพระธิเบตจงรีบกลับบ้านเสีย ชาวบ้านและลูกศิษย์ฉันก็ได้หนีไปแล้ว อย่าคิดโง่ๆ ที่จะอยู่กับฉัน ถ้าคุณอยู่ที่นี่ คุณจะถูกฆ่าพร้อมกับฉัน" แต่ท่านยืนกรานไม่กลับพร้อมกล่าวว่า "ผมไม่กลับ ถ้าพระอาจารย์ไม่ไปด้วย" ท่านอาราธนาพระเถระกลับธิเบตด้วย พระมหาเถระตอบไปว่า "ฉันแก่มากแล้ว และธิเบตก็อยู่ไกลเหลือเกิน พวกเราคงไม่ได้เจอกันอีกในชีวิตนี้ แต่คงได้เจอกันที่แดนสุขาวดี แน่" จึงไม่ได้เดินทางไปกับท่าน ต่อมาทหารมุสลิม ๓๐๐ นายก็ปรากฏตัว ขึ้นที่นาลันทา ท่านจึงตัดสินใจอุ้มพระมหาเถระราหุลศรีภัทรบนบ่าพร้อมกับน้ำตาล ข้าวสารและหนังสือบางเล่ม ไปหลบภัยที่วัดชญาณนาถ (Jananath) อันไม่ไกลจากนาลันทา เมื่อกองทหารไม่สามารถค้นเจอจึงได้กลับ ไปพร้อมกับขนหินบางส่วนจากนาลันทาไปสร้างมัสยิดที่โอทันตบุรี (พิหารชารีฟ) ด้วย

    กลับธิเบต (Return to Tibet)

    หลังศึกษาภาษาสันสกฤต และพุทธศาสนากับพระอาจารย์ราหุลศรีภัทรถึง ๓ ปีแล้วจึงออกเดินทางกลับธิเบต ตามคำแนะนำของพระมหาเถระ เมื่อมาถึงติรหุล ท่านป่วยหนักร่างกายเจ็บปวด ๒ เดือน เจ้าของบ้านที่อาศัยไม่อนุญาตให้ท่านนอนพักแล้วขับล่าให้ไปนอนป่าช้า ต่อมาท่านได้รับการช่วยเหลือจากตันตริก ท่านหนึ่งจึงทุเลาและเดินทางกลับธิเบตได้ เมื่อมาถึงธิเบตแล้ว ท่านได้พบกับ พระทานศรี (Danasri) พระนักปราชญ์ชาวอินเดียที่พำนักในธิเบต พระอาจารย์ ชาวอินเดียกล่าวว่า "ท่านได้ไปศึกษาที่อินเดียเป็นเวลานาน (จนปราดเปรื่อง) ในขณะที่ผมเปรียบเสมือนวัวควายในธิเบต"
    ท่านพำนักอยู่ที่มคธไม่นาน ก็ต้องกลับธิเบตเพราะที่นี่ไม่ปลอดภัยสำหรับชาวพุทธไม่ว่าชาติใด เพราะกองทัพตุรกียึดอินเดียได้ถาวร และสถาปนาราชวงศ์ทาสที่เดลลีเพื่อปกครองอินเดียแล้ว หลังกลับมาธิเบต พ.ศ.๑๗๙๙ ท่านได้รับการอาราธนาจากเจ้าชายกุบไลข่าน เพื่อไปเยี่ยมมองโกเลียและจีน ท่านได้ปฏิเสธในช่วงต้นแต่รับอาราธนา ท่านป่วยหนักที่มองโกเลียจึงขออนุญาตกลับธิเบต ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๗ ขณะอายุ ๖๘ ปี

    ๔.ราชวงศ์ขิลจิ (Khiljis dynasty) พ.ศ.๑๘๓๓ (ตุรกี)

    ๑. ชาลารุดดิน (Jalaruddin) ได้เป็นผู้ปกครองเดลลีโดยยึดอำนาจจากบัลบัน แต่ก็เป็นได้ไม่นานก็ถูกยึดอำนาจจากอเลาดิน ชาลารุดดิน ปกครอง จากพ.ศ.๑๘๓๓ จนถึง พ.ศ.๑๘๔๕ รวม ๑๒ ปี

    ๒. อเลาดิน (Alaudin) ได้อำนาจมาจากการฆ่าชาลารุดดิน พ.ศ. ๑๘๔๕ เป็นนักปกครองที่เข้มงวด ห้ามประชาชนดื่มเหล่า เล่นการพนัน ท่องเที่ยวรื่นเริง นักกวีอาหรับเกิดขึ้นในยุคนี้ เป็นอย่างมาก เขาปกครองจนถึง พ.ศ.๑๘๕๓ ก็ถูกฆาตกรรมโดยมาลิก กาฟูร์ (Malik kafur) นายพลของเขาเอง


    ๕.ราชวงศ์ตุกลัค (Tuglaq dynasty) พ.ศ.๑๘๕๓ (ตุรกี)
    ๑.โมหัมหมัด ตุกลัค (Muhammad Tuglaq) ขึ้นปกครองบัลลังก์เดลลีแทน เพราะเกิดความวุ่นวายหลัง อเลาดิน ถูกสังหาร จึงฉวยโอกาสยึดอำนาจและสถาปนาราชวงศ์ตุกลัค ขึ้นปกครองจนถึง พ.ศ. ๑๘๘๑ เป็นเวลา๒๕ ปี

    ๒. โมหัมหมัด ดาอิล (Muhammad Dail) ปกครองต่อจากตุกลัค มีความคิดย้ายเมืองจากเดลลีไปที่เทวคีรี ใกล้เมืองออรังคบาดปัจจุบัน กล่าวกันว่า มีคนตาบอดเหลืออยู่คนเดียวไม่สามารถเดินทางได้จึงสั่งเอาเชือกผูกขามัดกับ เกวียนลากไปจนตาย เมื่อไปถึงเทวคีรี จึงเหลือแต่ขาท่อนเดียวแต่สุดท้ายต้องย้ายกลับมาเมืองเดลลีเหมือนเดิม

    ๓.ไฟรอสชาร์ (FirosShah) ปกครองต่อจากดาอิลได้สร้างเมืองฟิโรชาห์บาด ใกล้เดลลี สร้างความเจริญให้อินเดีย พอควรโดยเฉพาะการชลประทาน ปกครองจนถึง พ.ศ. ๑๙๔๑

    สถานการณ์ พุทธศาสนาในสมัยนี้อยู่ในช่วงวิกฤติ ที่ใดที่กองทัพมุสลิมไปถึงพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ ของอินเดียก็มักถูกทำลายเสมอ ในขณะที่พุทธศาสนาในภาคส่วนอื่นของอินเดียถูกทำลายลง แต่ที่แคชเมียร์กองทัพมุสลิมยังไม่อาจโจมตีได้ เพราะมีป้อมปราการทางธรรมชาติขวางกั่น คือ เทือกเขาที่สูงชัีน พุทธศาสนายังมีชีวิตอยู่ได้ พระมหากษัตริย์ที่มีส่วนเผยแพร่พุทธศาสนาให้เข็มแข็ง คือ ๑. พระเจ้าอโศกมหาราช ๒. พระเจ้าชโลกะ ๓.พระเจ้ามิลินท์ ๔.พระเจ้ากนิษกะ ๕. พระเจ้านระ ๖.พระเจ้าเมฆวรรณ ๗.พระเจ้ายุธสตระที่ ๒ ๘.พระเจ้าทุรภวรรธนะ เป็นต้น
    ต่อมากษัตริย์ฮินคือพระเจ้าราชาสิงห์เทพ (Raja Singha deva) ขึ้นปกครอง ต่อมาจนกระทั่งถึง พ.ศ.๑๘๕๘ ชาห์ มิรฆา (Shah Mirza) นักแสวงโชคชาวเปอร์เซียได้เดินทางเข้าไปแคชเมียร์ เขาได้ทำความดีความชอบหลายประการ จึงได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักของพระเจ้าราชาสิงห์เทพ กษัตริย์ฮินดูของแคชเมียร์ ชาห์ได้ยึดอำนาจปกครองจากพระราชาสิงห์เทพ ศาสนาอิสลามได้รับการยกย่องให้เป็นศาสนาประจำชาติ พุทธศาสนาและศาสนาอื่นจึงเริ่มถูกกำจัดลง ชาห์ มิรซา จึงเป็นกษัตรย์มุสลิมคนแรกของแคชเมียร์ แม้จะถูกปกครองโดยผู้ปกครองที่เป็นมุสลิม พุทธศาสนาก็ยังไม่ถูกทำลายลงสิ้นเชิง มาถึงกษัตริย์ซามอุดดิน ชาห์ (Shams-uddin Shah) ได้ขึ้นปกครอง ทรงให้อิสระในการเชื่อถือแก่ชาวเมืองพอสมควร พุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ได้ แต่กลายสภาพเป็นศาสนาของคนส่วนน้อยไปแล้ว พุทธศาสนาในแคชเมียร์ยุติบทบาทลงโดยสิ้นเชิง เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๐ เป็นต้นมา


    ๖.ราชวงศ์เซยิด (Sayyad dynasty) พ.ศ.๑๙๔๑ (มองโกล)
    ๑. ติมูร์ (Timur) เชื้อสายมองโกลเข้าโจมตีเดลลีใช้เวลาถึง ๖ เดือน จึงยึดเมืองเดลลีได้ แล้วขนสมบัติกลับเอเชียกลางแล้วให้ ขิซ์ร ข่าน นายทหารคนสนิทปกครอง ส่วนตัวเขาพร้อมกองทัพกลับเมืองสมารกันด์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอุซเบกิสถาน) ข่านจึงสถาปนาราชวงศ์เซยิด ขึ้นแทนที่ราชวงศ์ตุกลัคของตุรกี

    ๒. ขิซ์ร ข่าน (Khiza Khan) ปกครองเดลลีต่อจากติมูร์ เป็นนายทหารคนสนิทของติมูร์มีความเฉลียวฉลาด ต่อมาถูก มาห์โลน โลดี ก่อการกบฎยึดอำนาจ ข่านครองราชย์ได้ ๓๗ ปี จนถึง พ.ศ. ๑๙๙๔

    ๗.ราชวงศ์โลดี (Lodhis dynasty) พ.ศ.๑๙๙๔ (อัฟกัน)
    ๑. มาห์โลน โลดี (Mahlon Lodhi) เป็นเสนาบดีของข่าน เป็นชาวอัฟกานิสถาน ก่อการกบฏสำเร็จ จึงปกครองเดลลีต่อมา ตอนนี้อาณาจักรเดลลีเริ่มลดลง หลายเมืองเริ่มแยกตัวออกไปเป็นอิสระ แม้จะประสบปัญหาการต่อด้านจากคนอินเดียพื้นเมือง แต่โลดีก็ครองราชบัลลังก์เดลลีได้อย่างยาวนานถึง ๗๕ ปี ต่อมาก็ถูกรุกรานโดยกองทัพมุสลิมมองโกล ชื่อ บาบูร์ ในยุคนี้เกิดศาสนาใหม่ ศาสนาหนึ่งขึ้นในอินเดีย ซึ่งถูกเรียกต่อมาว่า ศาสนาซิกซ์ มีความย่อดังนี้

    ๘.ศาสนาซิกซ์ (Sikhism)
    พ.ศ.๒๐๑๒ ได้มีศาสานาหนึ่งกำเนิดขึ้นในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ศาสนาซิกซ์ คำว่าซิกซ์ มาจากศัพท์ว่า ศิกฺษา ในภาษาสันสกฤต และสิกฺขาในภาษาบาลี อันหมายถึงผู้ศึกษาตามคำสอนของศาสดานั้นเอง ก่อตั้งโดย ท่านคุรุนานัก (Guru Nanak) ผู้เป็นศาสดาองค์แรกใน ๑๐ องค์ องค์สุดท้ายนามว่า โควินทสิงห์ (Guru Govinda singh) ท่านคุรุนานักเกิดที่หมู่บ้านตัลวันดี ปัจจุบันอยู่ในเขตปากีสถาน บิดาชื่อ เมห์ตา กัลยาดาส มารดาชื่อ ตริปาต ในช่วงที่ท่านผู้นี้เกิด อินเดียได้ถูกปกครองโดยมุสลิมอย่างเข้มงวด การต่อสู้ระหว่างอิสลามผู้รุกรานกับฮินดูเจ้าถิ่นเป็นไปในวงกว้าง ท่านเป็นนักการศึกษาและต้องการสมานฉันท์ระหว่างชาวมุสลิมกับฮินดู และประกาศศาสนาใหม่นี้ขึ้น ได้รับการเคารพนับถือจากชาวฮินดูและมุสลิมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่รัฐปัญจาป ทางเหนือของอินเดีย คำสอนของคุรุนานักมีอยู่ในคัมภีร์ คือครันถะสาหิบ พระเจ้าสูงสุดคือ กรฺตาปุรุข
    ศาสนาซิกซ์ เป็นศาสนาที่ต้องการรวมศาสนาอิสลามและฮินดูเข้าด้วยกัน แต่ไม่สำเร็จ จึงกลายเป็นศาสนาใหม่ ปัจจุบันศาสนานี้มีศูนย์กลางอยู่ที่สุวรรณวิหาร เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาปศาสนา ซิกซ์นับเป็นศาสนา เดียวที่ไม่มีประวัติ เบียดเบียนพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน อาจจะเป็นด้วยว่าเมื่อศาสดาคุรุนานักเกิดนั้นพุทธศาสนาได้เสื่อมไปเกือบหมดแล้ว

    พ.ศ.๒๐๔๑ นักเดินเรือชาวโปรตุเกสนามว่า วาสโก ดา กามา (Vascoda Gama) ก็ขึ้นฝั่งที่อินเดียเป็นครั้งแรก นักเป็นชาวยุโรป คนแรกที่เข้ามาค้าขายกับอินเดียอย่างเป็นทางการ เขาพักอยู่อินเดีย ๖ เดือน จึงเดินทางกลับพร้อมกับสินค้าเป็นจำนวนมากที่นำกลับไป การค้นพบอินเดียและเส้นทางการค้าใหม่ดึงดูดให้ชาวยุโรปเริ่มเดินทางเข้าสู่อินเดียตามลำดับ



    ๙.ราชวงศ์โมกุล (Mughal dynasty) พ.ศ. ๒๐๖๙ (มองโกล)
    คำว่า โมกุล มาจากคำว่า มองโกล อันเป็นชื่อเรียกชนเผ่าผิวเหลืองปัจจุบันชาวเอเชียตะวันออกเช่น จีน เกาหลี มองโกเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว เขมร ไทย พม่า จัดว่าเป็นเผ่ามองโกลเช่นกัน ชาวมองโกลที่สืบเนื่องมาจากจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เข้าไปรุกรบและยึดครองทวีปยุโรปบางส่วนและเอเชียเกือบทั้งหมดไว้ได้ หัวหน้ามองโกลที่ปกครองเอเชียกลางหันกลับไปนับถือศาสนาอิสลามตามชนพื้นเมืองและกลายเป็นเคร่งจัด ถือว่าการรุกรานเพื่อศาสนาเป็นภารกิจที่จำเป็นและเป็นกุศลมหาศาล ดังนั้นพวกเขาจึงรุกรบเข้าอินเดียโดยไม่เกรงกลัวอันตรายและตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้น แต่การรุกเข้ายึดอินเดียตอนนี้มองโกลต้อง โค่นจักรวรรดิมุสลิมด้วยกันเอง แต่คนละเชื้อสาย

    ๑. บาบูร์ (Babu) เป็นปฐมวงศ์ของราชวงศ์นี้ยึดอำนาจได้จากโลห์ดีกษัตริย์เดลลีชาวอัฟกัน บาบูร์เป็นหลานเจ็งกิสข่าน จักรพรรดิ์มองโกลผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีญาติเป็นตุรกีทางบิดา ได้ปกครองอินเดีย พ.ศ.๒๐๖๙ สืบต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามบิดา ในขณะที่กุบไลข่านที่ปกครองจีนเป็นพุทธศาสนิกชน บาบูร์ปกครองอยู่ได้ไม่นานก็เสียชีวิตลง เมื่อพ.ศ.๒๐๗๓ รวม ๔ ปี ศพของพระองค์นำไปฝังที่เมืองคาบูล อัฟกานิสถาน

    ๒. หุมายุน (Humayun) เป็นบุตรของบาบูร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบาบูร์ พ.ศ.๒๐๗๓ ถูกเสรชาห์ยึดอำนาจได้ ใช้เวลาหาสมัครพรรคพวกนานจึงยึดบัลลังก์กลับมาได้สำเร็จ เป็นนักปกครองที่เข้มงวด ไม่ให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๐๙๙ รวม ๒๖ ปี

    ๓. อักบาร์ (Akbar) เป็นบุตรของหุมายุน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดา พ.ศ.๒๐๙๙ ขณะอายุ ๑๓ ปี เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เคยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลัคเนาว์ ๑๓ ปี มีเสนาคู่ใจเป็นฮินดูนามว่า ราชามานสิงห์ ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ได้บีบบังคับชาวฮินดู พุทธ เชนหรือซิกซ์ให้มานับถือศาสนาอิสลามเหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ พยายามจะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่แต่ไม่สำเร็จ ปกครองจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๘ รวม ๔๙ ปี
    ในสมัยของจักรพรรดิอักบาร์พ.ศ. ๒๑๔๓ พ่อค้าชาวอังกฤษได้เข้ามาอินเดียเพื่อค้่าขายและก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก (East Indian Company) ขึ้นซึ่งต่อมาก็กลายเป็นบริษัทที่เข้ายึดครองอินเดียทั้งหมดในสมัยต่อมา

    ๔. ชาห์ฮังคีร์ (Jahangir) เป็นโอรสของพระเจ้าอักบาร์ ขึ้นครองบัลังก์เดลลีต่อจากอักบาร์ พ.ศ. ๒๑๔๘ เมื่ออายุ ๓๗ ปี เคยก่อการกบฏต่อบิดาหลายหครั้งแต่ก็ได้รับการให้อภัย มีมเหสีนามว่านูรชาหัน ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๑๗๐รวม ๒๒ ปี

    ๕. ชาห์ ชาฮัน (Sha jahan) เป็นโอรสของชาห์ฮังคีร์ ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ โดยการฆ่าพี่น้องหลายคน ต่อมาแต่งงานกับ มุมตัส มาฮาล มีลูกด้วยกัน ๑๔ คน เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล เป็นอนุสาวรีย์ความรักมอบให้แก่มเหสี ปกครองจนถึง พ.ศ.๒๒๐๒ รวม ๓๑ ปี

    ๖. ออรังเซบ (Aurangzeb) เป็นโอรสของ ชาห์ ชาฮัน ขึ้นครองบัลลังก์เดลลีต่อจากบิดา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๒ โดยจับบิดาขังคุกเพราะกลัวว่าราชสมบัติจะหมดไปจากการสร้างทัชมาอาล จึงขังจนบิดาตายในคุก แต่พยายามทำดีเพื่อลบล้างความชั่วของตน ได้ทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้นอื่น ๆ ครั้งที่สำคัญที่สุดคือการรบระหว่างพระเจ้าออรังเซบกับพระเจ้าศิวจี กษัตริยฺฮินดู แห่งแคว้นมหาราษฎร์ภาคใต้ ทั้งสองฝ่ายได้เสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลการรบนั้นพระเจ้าออรังเซบกำชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด นอกนั้นยังมีสงครามระหว่างชาวซิกซ์กับอิสลาม เป็นต้น ต่อนนี้อังกฤษเริ่มรุกอินเดียทีละน้อย จักวรรดิโมกุลเริ่มลดลงตามลำดับออรังเซบปกครองจนถึง พ.ศ. ๒๒๕๑ รวม ๔๙ ปี

    มายุคนี้พุทธศาสนาในภาคเหนือและภาคกลางของอินเดียได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว จากการยึดครองอินเดียของกองทัพมุสลิมที่ยาวนาน คงเหลือแต่ภาคใต้บางส่วน เช่น ที่เมืองท่านาคปัฏฏินัม แต่แม้การะนั้นก็ต้องต่อสู่กับศาสนาฮินดูอย่างรุนแรง ดังเช่น นายเอ.ไอยัปปะ ยืนยันในงานเขียนของเขาว่า
    "เมื่อนักบวชไศวะ และไวศณพของฮินดู เริ่มแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพุทธศาสนาอย่างรุนแรง และนักปราชญ์ชาวพุทธโต้วาทีแพ้ต่อพวกเขา แม้ขณะนั้นเมืองนาคปัฏฏินัมก็ยังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองอยู่ ชาวพุทธที่ถูกรังแก (จากที่อื่น) ก็ทยอยกันเข้าไปกลบภัยอยู่ที่นั่น ชาวพุทธที่เหลืออยู่ในอินเดียใต้ก็ค่อยๆ กลับไปนับถือศาสนาฮินดู จนกระทั่งพุทธศควรรษที่ ๒๑ ยังมีพุทธศาสนิกชนอาศัยอยู่นาคปัฏฏินัม"

    ดังนั้นเมืองท่านาคปัฏฏินัม จึงเป็นที่หลบภัยของพระสงฆ์และพุทธบริษัทจนถึง พ.ศ. ๒๑๐๐ ตามปันทึกของพระถังซัมจั๋ง พ.ศ. ๑๑๐๐ ได้กล่าวสถานการณ์พุทธศาสนาว่ามีวัดที่นาคปัฏฏินัม ๑๐๐ วัด มีพระ ๑๐,๐๐๐ รูป มีวัดที่สำคัญ ๔ วัดคือวัดโศการาม วัดศิลปะแบบจีน วัดคุรุปาลัมปาไล และวัดจุฬามณีวิหาร เป็นต้น

    Suvarnbhumi: พุทธศาสนายุคมุสลิมยึดครอง พ.ศ. ๑๗๐๐-๒๒๐๐ (Buddhism in Muslim ruler's time B.E. 1700-2200)



    กรณีศึกษาสำหรับผู้รวบรวมข่าวสารยิ่งมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางและใจกว้างย่อมเจริญรุ่งเรือง
    https://buddhafacts.wordpress.com/2015/08/24/กษัตริย์แคว้นมคธ/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.png
      1.png
      ขนาดไฟล์:
      744.7 KB
      เปิดดู:
      147
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พบประติมากรรม “พระพุทธเจ้าปางประสูติ” ที่ลำพูน
    ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ลำพูน รายงานใน facebook ของตนเองว่า ได้มีการขุดพบประติมากรรมสำริดรูป พระพุทธเจ้าปางประสูติ บริเวณฐานเจดีย์เชียงยัน วัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน โดย ดร.เพ็ญสุภา เขียนรายงานไว้ ดังนี้
    “…นานๆ ทีจักพบประติมากรรมปางประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ ในลักษณะยกมือชี้ดิน-ชี้ฟ้า เป็นสัญลักษณ์ประกาศแก่โลกว่า พระองค์จะมาประกาศพระศาสนาในชาตินี้ ซึ่งเป็นชาติสุดท้าย ส่วนมากปางประสูติแบบชี้ดินชี้ฟ้านี้มักพบในประเทศจีน เนปาล ญี่ปุ่น กลุ่มพุทธมหายาน ในประเทศไทยเคยพบอยู่ชิ้นเดียวที่สุโขทัย แต่ถูกมือดีขโมยสูญหายไปไหนแล้วไม่ทราบ ภาพที่เห็นนี้พบที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูนค่ะ จาการขุดฐานเจดีย์เชียงยัน ข้าง รร.เมธีวุฒิกร ลึกกว่าเมตรครึ่ง พบประติมากรรมสำริดแปลกๆ หลายชิ้น อยากชมของจริงให้ไปที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุค่ะ…”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha1.jpg
      buddha1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.8 KB
      เปิดดู:
      109
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่อง ” รอยพระหัตถ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ปัจจุบัน” ภายในถ้ำนารายณ์
    ณ.วัดเขาวงษ์(ถ้ำนารายณ์) อ.ท่าลาน จ. สระบุรี

    ก่อนวันมาฆบูชา 1วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ในตอนค่ำผมได้เข้าร่วมสวดมนต์ทำวัตรเย็น และฟังธรรมจากหลวงตา ในขณะที่ฟังธรรมอยู่ อารมณ์จิตก็นึกถึงว่ารอยพระพระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมาก แต่รอยพระหัตถ์ของพระองค์ที่รู้ข่าวว่ามีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่แห่งเดียว ในขณะทรงอารมณ์มโนมยิทธิ ฟังธรรมจากหลวงตา อีกโสตหนึ่งได้กราบพุทธนิมิต และสังฆนิมิต ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ในมโนมยิทธิได้กราบเรียนถามข้อข้องใจ
    *****ถาม = คนเมืองบัว******
    *****ตอบ = หลวงพ่อฤาษี*****
    *********************************************************
    ****ถาม = ข้าแต่หลวงพ่อที่เคารพ กระผมรู้สึกน้อยใจในโอกาสของตนเองนัก ที่สภาพคล่องทางการเงินมิมีมากพอ ที่จะไปกราบรอยพระหัตถ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จ.แม่ฮ่องสอน……แล้วสถานที่ใกล้ๆนี้จะมีบ้างไหมครับ
    ****ตอบ = ท่านยิ้มๆ …… มีสิ….ลูก
    ****ถาม = อยู่ ณ.ที่แห่งใดขอรับ….ไกลไหม
    ***ตอบ = ให้ลูกเดินไปที่หน้าพระประธานกลางถ้ำ หันหน้าเข้าหาพระพุทธรูปนั้น เดินไปทางขวามือ ให้ดูในระดับสายตา จะมีรอยลึกของกลางฝ่ามือที่เป็นที่สังเกต
    *******************************************************
    ……เมื่อหลวงพ่อในนิมิตกล่าวจบลง หลวงตาก็สรุปข้อธรรมเช่นกัน ก็เลยนึกอยู่ในใจว่า แยกจิตเป็น2ส่วน ได้รู้ธรรม 2 อย่าง พร้อมๆกันก็ดีเหมือนกัน
    …….เมื่อกิจแห่งการฟังธรรมจบสิ้นลง
    ……..ผมจึงได้เดินไปดูตามนิมิตที่หลวงพ่อกล่าวไว้ เมื่อไปถึง ณ.รอยผนังถ้ำนั้น เห็นเป็นรอยลึกเหมือนมีผู้หนึ่งผู้ใดได้ดันฝ่ามือลงไปในเนื้อหิน ขนาด 1 เท่าครึ่งของคนปกติ ………..ต่อจากนั้น นิมิตของหลวงพ่อฤาษีปรากฏอีกครั้ง
    *****ตอบ = ตรงนี้แหละคือรอยฝ่าพระหัตถ์ ขอให้ลูกจงนำมือข้างขวาประทับไว้บนรอยนั้น หัวแม่โป้ง และนิ้วทาบไปในรอยหักเหลี่ยมหินเป็นมุมประมาณ 170 องศา เมื่อทาบจนสนิทแล้วลองโยกนิ้วทั้ง 5นิ้ว ซ้ายและขวาดู จะสัมผัสร่องนิ้วเดิมขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอยลึกโดยเฉลี่ย 1000 มิลลิเมตร ครบทั้ง 5นิ้ว
    ******ถาม = ไม่เป็นการปรามาสนะขอรับ
    ******ตอบ= เพื่อเป็นการทดสอบให้เกิดความมั่นใจแล้วจะได้หายน้อยใจเสียที่ว่าต้องเดินทางไกล ไปกราบรอยพระหัตถ์
    ……..เมื่อข้าพเจ้าได้ขอขมาแล้ว จึงได้ใช้มือข้างขวาประทับไปยังรอยดังกล่าว ทุกอย่างเป็นจริงตามที่หลวงพ่อฤาษีกล่าวไว้……จึงเป็นปิติธรรมยิ่งนัก
    ……ในตอนนั้นจึงนำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนหลวงตา และนิมนต์ไปดูแล้วปิดทองเป็นปฐม
    ……..หลวงพ่อปรากฏอีกครั้ง
    *****ตอบ = ควรเชิญท่านหลวงตามา เพราะในสมัยนั้น เขาเป็นผู้ขอรอยพระหัตถ์ไว้เอง แล้วชักชวนเหล่าบริวารฉลองรอยพระหัตถ์ 7วัน 7คืน แล้วสลักบอกการบูชานั้นไว้
    ……เมื่อครบเวลา 5ปี ไปแล้วนับจากวันนี้ กิจที่มารวมกิจกรรมที่วัดนี้ของเธอจะหมดไปให้ออกไปเสีย งานที่เธอต้องทำมีอีกมากนัก
    …….ในขณะนี้ได้ทราบมาว่ารอยพระหัตถ์ที่ปิดทองไว้บางส่วนนั้นได้ถูกลบ เลือนไป เมื่อคราวบูรณะถ้ำครั้งใหญ่เมื่อ2ปีที่แล้ว ท่านที่จะไปกราบคงต้องสังเกตเอาหน่อยก็แล้วกันครับ
    …….เมื่อถึงวาระคงจะได้เป็นของสาธารณะอีกครั้ง ดังโบราณการที่เจ้าเมืองเก่าได้ขอไว้ให้แก่บริวารของพระองค์ท่าน
    ****กุศลนี้ขอท่านจงโมทนา********
    *****คนเมืองบัว********
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 661.jpg
      661.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19 KB
      เปิดดู:
      150
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ประวัติพระพุทธโฆสาจารย์ ผู้ยิ่งไหญ่ด้านคัมภีร์อรรถกถาแห่งพุทธเถรวาท

    พระพุทธโฆษาจารย์ (Buddhaghosacharya)

    พระพุทธโฆษาจารย์
    ท่านนี้เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน เกิดราวพ.ศ. ๙๔๕ ในสกุลพราหมณ์ที่ตำบลพุทธคยา แคว้นมคธ หรือรัฐพิหารในปัจจุบัน แต่มีบางฉบับกล่าวว่า ท่านเกิดที่ไตลังคะ ทางอินเดียตอนใต้ และพม่าเชื่อว่าท่านเกิดที่พม่า แต่มติเบื้องต้นจะมีผู้เชื่อถือมากกว่าสมัยวัยเยาว์ท่านมีความสนใจในทางศาสนามาก มักจะไปชมวัดของพราหมณ์เสมอ และได้เรียนพระเวทอย่างแตกฉาน มีวาทะแหลมคม จนกลายมาเป็นนักโต้วาทีที่มีชื่อเสียงของพราหมณ์ในสมัยนั้นวิหารพุทธคยา ยังอยู่ในความดูแลของพระสงฆ์ลังกา กษัตริย์ลังกา คือ พระเจ้าศรีเมฆวรรณได้รับประทานอนุญาตจากพระเจ้าสมุทรคุปตะ ได้สร้างวิหารขึ้นที่พุทธคยา เพื่อเป็นที่อาศัยของพระสงฆ์ลังกา สมัยนั้นพระเรวตะ พระสงฆ์ลังกาเป็นเจ้าอาวาสดูแลพุทธคยา ต่อมาท่านเรวตะได้ยินพุทธโฆษะ ท่องมนต์จากคัมภีร์ปตัญชลี รู้สึกประทับใจจึงได้สนทนากันแล้วพุทูโฆษะจึงถามท่านว่า ท่านทราบมนต์นี้หรือไม่ พระเรวตะตอบว่าเรารู้สูตรนี้ดีทีเดียว แล้วจึงอธิบายสูตรเหล่านั้น แล้วบอกว่าสูตรนั้นผิดหมดทำให้พุทธโฆษะงงเหมือนมีมนต์สะกด จึงให้พระเถระท่องสูตรเหล่านั้นให้ฟัง พระเถระจึงนำเอาพระอภิธรรมมาแสดง เหลือวิสัยของพุทธโฆษะจึงถามพระเถระว่า นี้เป็นมนต์ของใคร พระเถระตอบว่าเป็นพุทธมนต์ และเมื่อพุทธโฆษะอยากท่องมนต์พระเถระจึงกล่าวว่า ถ้าท่านบวชจักสอนให้ในที่สุดก็ตัดสินใจละทิ้งลัทธิเดิมแล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉาน เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ขณะที่อยู่ที่พุทธคยาได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ญาโณทัย ถัดจากนั้นได้เขียนอัฎฐกถาอัฎฐสาลินีซึ่งเป็นอัฎฐกถาของธัมมสังคณี ต่อมาพระเรวตะได้แนะนำให้พระพุทธโฆษาจารย์เดินทางไปเกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์สำคัญเป็นภาษามคธ

    ท่านได้เดินทางไปยังลังกา สมัยพระเจ้ามหานาม ครองเกาะลังกา และพำนักที่มหาปธานวิหารเพื่อศึกษาอรรถกถาภาษาสิงหล เมื่อเชี่ยวชาญภาษาสิงหลจึงแปลคัมภีร์หลายเล่มสู่ภาษามคธ ต่อมาได้แต่งหนังสือ ” วิสุทธิมรรค” แล้วเดินทางกลับอินเดีย ผลงานของท่านที่ปรากฎ ๑. สมันตปาสาทิกา ๒.กังขาวัตรณี ๓.สุมังคลวิลาสินี ๔. ปปัญจสูทนี ๕. สารัตถปากาสินี ๖. มโนรัตถ ปูรณี ๗. ปรมัตถโชติกา ๘. สัมโมหวิโณทินี ๙. ปัญจปกรณัฏฐกถา ๑๐. วิสุทธิ มรรค ๑๑.ญาโณทัย บางเล่มท่านอาจจะไม่ได้เขียนเอง แต่ท่านก็เป็นผู้ดูแลตลอดจนสุดท้ายท่านก็มรณภาพโดยไม่ ทราบแน่ชัดถึงสถานที่


    ๗. พระพุทธทัตตะ (Buddhadutta)
    ท่านนี้เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายเถรวาท เกิดที่อุรคปุระ ปัจจุบันเรียกว่า อุรัยปุระ ในอาณาจักรโจละ ของอินเดียภาคใต้ราว พ.ศ.๙๔๐ เป็นต้นมา หลังจากอุปสมบทแล้วได้เดินทางไปสู่เกาะลังกา เพื่อศึกษาพุทธศาสนาและรวบรวมคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจากภาษาสิงหลแปลสู่ภาษามคธ ในคราวที่พักอยู่สิงหล ท่านพักที่มหาวิหารเมืองอนุราธปุระ

    เมื่อสำเร็จภารกิจแล้วก็เดินทางกลับสู่อินเดียโดยทางเรือ ระหว่างทางได้พบกับพระพุทธโฆษาจารย์ที่แล่นเรือผ่านมา ท่านทั้งสองหยุดทักทายกัน แล้วท่านพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า
    “ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์มีอยู่ในภาษาสิงหล ผมกำลังไปเกาะลังกาเพื่อแปลสู่ภาษามคธ”
    ท่านพุทธทัตตะกล่าวตอบว่า
    “ท่านผู้มีอายุ ผมไปเกาะลังกามาแล้ว เพื่อจุดประสงค์เดียวกับท่าน แต่ไม่อาจอยู่ได้นาน จึงทำงานไม่สำเร็จ เมื่อท่านรวบรวมอรรถกถาครบแล้วโปรดส่งให้ผมด้วย”
    เมื่ือได้รับปากกันแล้วทั้งสองรูปก็จากกัน ต่อมา เมื่อถึงอินเดียท่านก็ได้จำพรรษาที่วัดกฤษณทาส ที่พราหมณ์กฤษณทาส สร้างถวาย ริมฝั่งแม่น้ำกเวริ ณ ที่นี่ ท่านได้เขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น ๑. อุตรวินิจฉัย ๒.วินัยวินิจฉัย ๓.อภิธรรมาวตาร ๔.รูปารูปวินิจฉัย ๕.มธุรัตถวิลาสินี ผลงานของท่านทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาท่านก็ถึงมรณภาพที่วัดนี้


    ๑๐. พระธรรมปาละ (Dhammapala)

    นักปราชญฝ่ายเถรวาทท่านนี้มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ.๙๕๐ เกิดที่พัทรติตถะ ฝั่งทะเลแห่งอาณาจักรพวกทมิฬของอินเดียภาคใต้ ในรายงานของพระถังซัมจั๋งกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองกาญจีปุรัม เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาดู เกิดหลังท่านพุทธโฆษาจารย์เล็กน้อย

    เมื่ออายุ ๒๐ปีก็ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ แล้วไปศึกษาต่อที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา เมือกลับอินเดียท่านจำพรรษาถาวรที่มหาโพธิ์สังฆาราม พุทธคยา และมรณภาพที่นั่น ผลงานด้านการเขียนชองท่านมีน้อย เมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ แล้วไปศึกษาต่อที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา เมื่อกลับอินเดียท่านจำพรรษาถาวรที่มหาโพธิ์สังฆาราม พุทธคญา และมรณภาพที่นั่น ผลงานด้านการเขียนของท่านมีน้อย แต่ก็มีสำนวนไพเราะ เข้าใจง่าย โดยอาศัยที่เมืองนาคปัฏฏินัม อาณาจักรโจลยะอินเดียใต้ (ปัจจุบันอยู่ใกล้เมืองเชนไนหรือมีทราส) ผลงานคือ อรรถกถาขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี วิมลวิลาสินี อรรถกถา เนตติปกรณ์ ปรมัตถมัญชุสา อรรถกถาวิสุทธิมรรค อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถาและจริยาปิฏกเป็นต้น เป็นต้น

    ประวัติพระพุทธโฆสาจารย์ ผู้ยิ่งไหญ่ด้านคัมภีร์อรรถกถาแห่งพุทธเถรวาท
    ในจำนวนพระอรรถกถาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา หากเอ่ยนามของพระพุทธโฆสาจารย์แล้ว นักบาลีทั้งหลายย่อมรู้จักเป็นอย่างดี เพราะคณะสงฆ์ได้กำหนดใช้คัมภีร์อรรถกถาซึ่งเป็นผลงานของท่าน ตั้งแต่อรรถกถาธรรมบทเป็นต้น จนถึงคัมภีร์วิสุทธิมรรคให้เป็นหลักสูตรเรียนบาลี พระพุทธโฆสาจารย์เป็นนักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถาอธิบายข้อความในพระไตรปิฎกที่มีชื่อเสียงมากของฝ่ายเถรวาท ประวัติความเป็นมาของท่านนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในที่นี่จึงขอนำประวัติของท่านซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือต่างๆ และที่ได้มีผู้เรียบเรียงไว้ โดยจะนำในส่วนของประวัติที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ ๒ เล่ม คือ คัมภีร์มหาวังสะ(พงศาวดารลังกา) ซึ่งรจนาโดย พระธัมมกิตติเถระ และในคัมภีร์พุทธโฆสุปปัตติ ซึ่งรจนาโดย พระมหามงคลเถระ ก่อน จากนั้นจะได้นำส่วนที่มีผู้เรียบเรียงไว้มาเสนอ เพื่อเป็นการเสริมความรู้และจะได้ศึกษาเทียบเคียงกันได้ต่อไป

    ในคัมภีร์มหาวังสะ พระธัมมกิตติเถระได้กล่าวไว้ว่า มีพราหมณ์คนหนึ่งเกิดใกล้กับสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีความรู้แตกฉานในไตรเพท ด้วยความหยิ่งผยองในความรู้ของตนพราหมณ์คนนั้น จึงได้เที่ยวไปโต้ตอบปัญหากับนักปราชญ์ทั่วชมพูทวีปจนไม่มีใครเทียบเขาได้ วันหนึ่ง เขาไปพักยังวัดแห่งหนึ่ง ตกกลางคืนก็สาธยายมนต์ชื่อ ปตัญชลี พระเรวตะเถระผู้เป็นสังฆเถระในวัดนั้น ได้สดับเสียงสาธยายมนต์นั้น จึงร้องถามไปว่า “ลาที่ไหนมาร้องอยู่ที่นี่” พราหมณ์หนุ่มได้ยินก็เดือดดาลจึงร้องสวนไปว่า ชิชะ สมณะ ท่านรู้หรือไม่ว่า เสียงลานี้หมายความว่าอย่างไร? พระเถระได้อธิบายความหมายขอมนต์นั้นให้เขาฟังอย่างถูกต้องทุกประการ จึงทำให้เขาเกิดความพิศวง ในที่สุดพระเรวตะเถระได้ยกปัญหาอภิธรรมมาถามบ้าง พราหมณ์หนุ่มตอบไม่ได้ อยากจะได้มนต์นั้น จึงขอบวชศึกษาพระไตรปิฎกอยู่กับพระเรวตเถระ จนมีความรู้แตกฉาน ภายหลังจึงปรากฏนามว่า “พุทธโฆสะ” หรือ “พระพุทธโฆสาจารย์”
    ขณะที่พักอยู่กับพระอุปัชฌาย์นั้น พระพุทธโฆสะ ได้แต่งคัมภีร์ ญาโณทัย เสร็จแล้วจึงได้เริ่มแต่งอรรถกถาพระอภิธรรม ชื่อ อัตถสาลินีและอรรถกถาพระปริตร (พระสูตร) พระอุปัชฌาย์ทราบเข้า จึงแนะนำให้แปลอรรถกถาพระไตรปิฎกที่ลังกาจากภาษาสิงหฬมาเป็นภาษามคธ แล้วนำกลับมาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก ท่านออกเดินทางไปยังเกาะลังกาตามคำแนะนำของพระอุปัชฌาย์เข้าพบกับพระสังฆปาลเถระพระสังฆราชแห่งลังกา แล้วขออนุญาตแปลอรรถกถาพระไตรปิฎก พระสังฆราชจึงตั้งกระทู้คาถาให้ ๔ บาท เพื่อทดสอบสติปัญญาว่าท่านพระพุทธโฆสาจารย์จะสามารถทำงานใหญ่เช่นนี้ได้หรือไม่

    พระพุทธโฆสะได้แต่งหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง พรรณนาพระคาถานั้นโดยพิสดาร ให้ชื่อว่า “วิสุทธิมรรค” ซึ่งนับเป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุด หลังจากพระสังฆปาลเถระตรวจสอบปกรณ์ที่พระพุทธโฆสะแต่งขึ้นถวายแล้ว ก็อุทานด้วยความปลาบปลื้มว่า“ภิกษุหนุ่มรูปนี้เห็นจะเป็นพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์แน่แท้” แล้วได้มอบพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาให้ พระพุทธโฆสะได้ศึกษาจนช่ำชองแล้วจึงได้เริ่มถ่ายทอด (แปล) สู่ภาษามคธ ท่านใช้เวลา ๑ ปี เสร็จแล้วจึงนำคัมภีร์เหล่านั้นกลับไปยังชมพูทวีป

    ส่วนในคัมภีร์ พุทธโฆสุปปัตติ พระมหามงคลเถระกล่าวไว้ว่า มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งนามว่าโฆสะ เกิดในตระกูลเกสีพราหมณ์นายบ้านโฆสะ มีไหวพริบสติปัญญาเป็นเลิศ สามารถเรียนจบไตรเพทแต่เยาว์วัย วันหนึ่งพระเรวตะเถระผู้รู้จักคุ้นเคยบิดาของโฆสะได้ไปเยี่ยมและได้นั่งบนอาสนะของโฆสะทำให้เขาไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงได้ไล่เรียงความรู้กับพระเถระในเรื่องของมนต์ในไตรเพท ด้วยหมายใจจะให้พระเถระได้รับความอับอายและแสดงว่าผู้ที่ไม่รู้ไตรเพท ไม่ควรจะนั่งบนที่นั่งของเขา แต่การณ์หาได้เป็นดังนั้นไม่ พระเถระตอบปัญหาได้ทุกแง่ทุกมุม ในที่สุดได้ย้อนถามปัญหาในพระอภิธรรมบ้าง เด็กหนุ่มจนปัญญาไม่สามารถตอบได้ ด้วยความอยากได้มนต์จากพระเถระ จึงขออนุญาตจากบิดามารดาบวชอยู่กับพระเถระ ปรากฏนามว่าพระพุทธโฆสะ ต่อมาไม่นานพระพุทธโฆสะก็เกิดอคติมานะขึ้นในใจว่าเรากับพระอุปัชฌาย์ใครจะรู้มากกว่ากัน พระเรวตเถระทราบความหยิ่งผยองของศิษย์จึงเรียกไปตักเตือน ภิกษุหนุ่มสำนึกผิดกราบขอขมา พระเถระกล่าวว่า ตราบใดที่ยังไม่แปลอรรถกถาสิงหฬมาเป็นภาษามคธ เธอจะยังไม่พ้นโทษ ภิกษุหนุ่มจึงตกลงเดินทางมาลังกาด้วยเหตุนี้ ก่อนไปได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ไปโปรดบิดามารดาให้กลับเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วจึงเดินทางไปยังลังกาทวีป

    ในขณะที่เรือของพระพุทธโฆสะแล่นไปยังเกาะลังกานั้น ท่านได้สวนทางกับพระพุทธทัตตเถระ ภิกษุชาวชมพูทวีป ซึ่งเพิ่งกลับจากไปแปลอรรถกถาที่ลังกาเช่นเดียวกัน พระพุทธทัตตเถระเล่าว่าท่านได้แต่งคัมภีร์ ชินาลังการ, ทันตะวังสะและโพธิวังสะ เสร็จแล้วพร้อมทั้งได้สวดคาถาบางตอนจากชินาลังการให้พระพุทธโฆสะฟัง เมื่อพระพุทธโฆสะเรียนว่าหนังสือของท่านยากเกินไปกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ ท่านจึงกล่าวว่า “คุณ ผมไปลังกาคราวนี้ตั้งใจจะแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาให้จบ แต่ก็ทำได้แค่นี้ เนื่องจากอายุสังขารไม่อำนวย ขอคุณจงทำให้สำเร็จเถิด” แล้วได้มอบเหล็กจารหินและสมอดีงูสำหรับฝนทาแก้ขัดยอกและแก้โรคต่างๆให้พระพุทธโฆสะแล้วแยกทางกันไป

    เมื่อพระพุทธโฆสะถึงท่าวิชาฐาน ท่านได้พบหญิงคนใช้สองนางกำลังทะเลาะวิวาทโต้คารมกันอย่างถึงพริกถึงขิง นึกสนุกจึงจดบันทึกคำด่าของหญิงคนใช้ทั้งสองไว้หมดทุกคำ นึกในใจว่าถ้าเรื่องไปถึงศาล ท่านคงถูกอ้างเป็นพยานแน่และเรื่องก็เป็นดังคาด เมื่อท่านถูกตามตัวไปเป็นพยานท่านก็ได้มอบคำด่าให้เจ้าพนักงานไป ปรากฏว่าเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินคดีอย่างมากมาย

    ต่อมาพระราชารับสั่งหาตัวให้มาเข้าเฝ้า การณ์ทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธโฆสะมีความเฉลียวฉลาด เชี่ยวชาญและเป็นเลิศในนิรุกติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นพระพุทธโฆสะไปเข้าไปยังวิหารเพื่อนมัสการพระสังฆปาลเถระพระสังฆราชแห่งลังกา บังเอิญเดินผ่านไปได้ยินเสียงพระสังฆราชกำลังสอนพระอภิธรรมอยู่และเกิดขัดข้องไม่สามารถจะให้ความกระจ่างในข้อความบางตอนได้ ภิกษุหนุ่มจึงได้แอบไปเขียนคำอธิบายไว้ วันรุ่งขึ้นพระสังฆราชไปพบเข้าจึงซักไซร้ไล่เลียง รู้ว่าเป็นคำอธิบายของภิกษุหนุ่มและรู้ว่าเธอมาเพื่อแปลพระพุทธพจน์จากภาษาสิงหฬสู่มคธ จึงได้มอบคาถาที่ขึ้นต้นว่า “สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ” ให้แต่งอธิบาย เพื่อทดสอบความสามารถ ภิกษุหนุ่มได้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค เสร็จแล้วนำไปถวาย ปรากฏว่าผลงานชิ้นแรกที่แต่งในลังกานี้ ได้สร้างความเชื่อถือแก่พระมหาเถระจนกระทั่งพระมหาเถระทั้งหลายได้มอบหมายให้แปลพระไตรปิฎกตาม ปรารถนา พระพุทธโฆสะเขียนคัมภีร์อรรถกถาอยู่สามเดือน ออกพรรษาแล้วนำตำราทั้งหมดไปถวายพระสังฆราช ก่อนออกจากลังกามีเสียงพูดว่าพระพุทธโฆสะก็รู้แต่บาลี หารู้สันสกฤตไม่ ท่านกำจัดวิมติกังขาในเรื่องนี้ด้วยการแสดงธรรมเป็นภาษาสันสกฤตฝากลวดลายเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อนำคัมภีร์อรรถกถากลับมาตุภูมิคือประเทศอินเดียแล้ว ท่านได้ไปกราบขอขมาพระอุปัชฌาย์ แต่ตอนท้ายในคัมภีร์ทั้งหลายไม่ปรากฏว่าพระพุทธโฆสาจารย์มรณภาพที่ไหน อย่างไร นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่บ้าง

    กรณีศึกษา
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พบรอยพระบาทของพุทธสาวก
    ที่ ไม่ได้เรียกรอยนี้ว่ารอยพระพุทธบาท เพราะครูบาอาจารย์และฆราวาสที่ได้วิชามโนยิทธิหลายๆท่านได้เข้าสมาธิ พิจารณา แล้วเห็นตรงกันว่าเป็นการแสดงปาฏิหาริย์ของพระอุปคุต(ปัจจุบันท่านอยู่ใน มหาสมุทรสะดือทะเล) ได้เมตตาประทับรอยพระบาทนี้ไว้ที่เกาะแห่งหนึ่งในจ.อาเจะห์ ประเทศอินโดเนเซีย ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง แม้ชาวมุสลิมในประเทศอินโดเนเซียก็ยังแปลกใจกับรอยพระบาทนี้ ต่างก็มาดูมาถ่ายรูปกันอยู่เรื่อยๆ เหตุที่พระอุปคุตท่านมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ก็เพื่อเป็นการยืนยันในบทบาทหน้าที่ของท่านเองตามพุทธพยากรณ์ว่าจะต้องเป็น ผู้ดูแลพระพุทธศาสนาจนกว่าจะครบ 5,000 ปี และท่านยังเมตตากล่าวอีกว่าถ้าใครได้บูชาองค์ท่าน มีการบวงสรวงถึงท่านก็ดี ปฏิบัติธรรมถวายท่านเป็นการเฉพาะก็ดี จะเป็นมงคลแก่ผู้นั้นอย่างยิ่งยวด เนื่องจากพระอุปคุตท่านยังทรงธาตุขันธ์อยู่ จึงสามารถช่วยเหลือผู้ที่บูชาท่านได้อย่างรวดเร็ว


    กรณีศึกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำหรับพระบริขารพุทธบริโภค (เครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า) ทั้งหลายนั้นได้รับอัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูป ๑๑ แห่งตามนครต่าง ๆ ดังนี้

    ๑. พระกายพันธ์ (ประคตเอว,สายรัดเอว) สถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร

    ๒. พระอุทมสาฎก (ผ้าคลุมอาบน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองปัญจาลราฐ

    ๓. พระจัมมขันธ์ (เครื่องหนังต่าง ๆ) สถิตอยู่ที่เมืองโกสลราฐ

    ๔. ไม้สีฟัน สถิตอยู่ที่เมืองมิถิลา

    ๕. พระธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองวิเทหราฐ

    ๖. มีด กับ กล่องเข็ม สถิตอยู่ที่เมืองอินทปัตถ์

    ๗. ฉลองพระบาทและถลกบาต (รองเท้าและถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า) สถิตอยู่ที่เมืองอุสิรพราหมณคาม

    ๘. เครื่องลาด (เครื่องปูนั่งนอน) สถิตอยู่ที่เมืองมกุฏนคร

    ๙. ไตรจีวร (ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ผ้าทาบ, ผ้าห่ม(จีวร),ผ้านุ่งสบง) สถิตอยู่ที่เมือง ภัททาราฐ

    ๑๐. บาตร เดิมสถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร ภายหลังไปอยู่ที่เมืองลังกาทวีป

    ๑๑. นิสีทนะสันถัต (ผ้าปูนั่ง,ผ้ารองนั่ง) สถิตอยู่ที่เมืองกุรุราฐ

    กรณีศึกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระเศียรของพระพุทธเจ้าขณะบำเพ็ญทุกขกิริยา ศิลปะคันธาระ จากราวัลปินดี ทำขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๒ - ๓

    http://www.britishmuseum.org/

    ไปอยู่ต่างประเทศมากมาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภาพเขียนรูป “คนจูงหมา” อายุกว่า 20,000 ปี บนผนังถ้ำ “ภีมะเบตกา” (Bhimabetaka Cave) กลุ่มภาพเขียนโบราณอันมีชื่อเสียงในรัฐมัธยประเทศ ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย และภาพเขียนสีรูป “นายพรานกับสุนัข” อายุกว่า 15,000 ปี บนผาถ้ำหินทราย Tassili n' Ajjer ทางทิศตะวันออกของประเทศแอลจีเรีย ก็ล้วนแต่เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นร่องรอยของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขป่าในช่วงเริ่มแรกครับ

    นี่คือทางประวัติศาสตร์


    แต่ถ้ามามองดูในทางศาสนาพุทธ

    มหากัณหชาดก
    ว่าด้วย คราวที่สุนัขดำกินคน

    พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภความประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กณฺโห กณฺโห จ โฆโร จ ดังนี้.
    ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งในธรรมสภาพรรณนาถึงพระคุณของพระทศพล ที่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกว่า
    ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นจำนวนมาก ทรงละความผาสุกส่วนพระองค์เสีย ทรงประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลกโดยส่วนเดียว จำเดิมแต่บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรงถือบาตรจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จพุทธดำเนินทางสิบแปดโยชน์ ทรงแสดงธรรมจักรแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ตรัสอนัตตลักขณสูตร ประทานพระอรหัตแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด
    แล้วเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไปคยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิลพันหนึ่ง
    เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบทด้วยโอวาทสามข้อ
    ครั้งหนึ่ง เวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต
    ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้าตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์

    ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมาภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัตแก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะและศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการต่างๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.

    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.

    ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุสสินนรราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลื้องมหาชนให้พ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลส ด้วยจตุราริยสัจเทศนา ทำพระนครคือพระนิพพานให้เต็มแล้วเสด็จปรินิพพาน

    ครั้นกาลล่วงมานาน ศาสนาก็เสื่อม ภิกษุทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาไม่สมควร ทำการเกี่ยวข้องกับพวกภิกษุณีจนมีบุตรธิดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและพราหมณ์ ต่างละธรรมของตนเสียสิ้น โดยมากพวกมนุษย์ประพฤติอกุศลกรรมบถสิบ ผู้ที่ตายไปๆ จึงไปอัดแน่นกันอยู่ในอบาย.

    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชไม่เห็นเทวบุตรใหม่ๆ จึงตรวจดูมนุษยโลก ก็ทรงทราบว่า พวกมนุษยโลกไปเกิดในอบาย ทรงเล็งเห็นความที่ศาสนาของพระศาสดาเสื่อมโทรม ทรงดำริว่า จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงเห็นอุบายมีอยู่อย่างหนึ่ง จึงตกลงพระทัยว่า เราจักต้องทำให้มหาชนกลัว สะดุ้งหวาดเสียว แล้วค่อยปลอบโยนแสดงธรรม ยกย่องพระศาสนาที่เสื่อมแล้วให้ถาวรต่อไปได้อีกพันปี รับสั่งให้มาตลีเทพบุตรแปลงเพศเป็นสุนัขดำใหญ่เท่าม้าอาชาไนย มีรูปร่างดุร้าย มีเขี้ยวโตเท่าผลกล้วย มีรัศมีร้อนเป็นไฟ พลุ่งออกจากเขี้ยวทั้งสี่ รูปพิลึกน่าสะพรึงกลัว หญิงมีครรภ์เห็นเข้าอาจแท้งลูก มีเชือกผูกอยู่ห้าแห่งคือที่เท้าทั้งสี่และที่คอ บนศีรษะประดับพวงดอกไม้แดง

    ท้าวสักกะแปลงเพศเป็นนายพรานป่า นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มุ่นผมข้างหน้าไว้ข้างหลังแล้วประดับพวงดอกไม้แดง มือขวาถือปลายเชือกที่ผูกสุนัข มือซ้ายถือธนูใหญ่มีสายมีสีดังแก้วประพาฬ กวัดแกว่งวชิราวุธด้วยพระนขา เหาะลงในที่ห่างพระนครโยชน์หนึ่ง ส่งเสียงขึ้นสามครั้งว่า มนุษย์ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักพินาศทำให้มนุษย์ทั้งหลายหวาดเสียว แล้วไปชานพระนครส่งเสียงขึ้นอีก

    พวกมนุษย์เห็นสุนัขนั้นก็หวาดเสียวพากันเข้าพระนคร กราบทูลความเป็นไปให้พระราชาทรงทราบ พระราชารับสั่งให้ปิดพระนครโดยด่วน ท้าวสักกะได้โดดข้ามกำแพงสูงสิบแปดศอก เข้าไปข้างในพระนครพร้อมกับสุนัข พวกมนุษย์กลัวสะดุ้งหวาดเสียว ต่างก็หนีเข้าเรือนปิดประตู ฝ่ายสุนัขดำใหญ่ก็วิ่งไล่พวกมนุษย์ที่ตนได้เห็น ทำให้พวกมนุษย์หวาดเสียวไปพระราชนิเวศน์.
    พวกมนุษย์ที่พระลานหลวงพากันหนีไปด้วยความกลัวเข้าพระราชนิเวศน์แล้วปิดพระทวาร แม้พระเจ้าอุสสินนรราชก็พานางสนมทั้งหลายขึ้นปราสาท สุนัขดำใหญ่ยกเท้าหน้าขึ้นเกาะบานประตูแล้วเห่าลั่น เสียงที่สุนัขเห่าดังสนั่นเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัครพรหม สกลจักรวาลสะเทือนทั่วถึงกันหมด
    เสียงดังเช่นนี้ได้มีในชมพูทวีปสามครั้ง คือ
    เสียงของพระเจ้าปุณณกราช ใน ปุณณกชาดก ครั้งหนึ่ง
    เสียงของพระยาสุทัศนนาคราช ใน ภูริทัตชาดก ครั้งหนึ่ง และ
    เสียงในมหากัณหชาดกนี้ครั้งหนึ่ง
    ชาวพระนครพากันกลัวสะดุ้งหวาดเสียว แม้บุรุษคนหนึ่งก็ไม่อาจมาเจรจากับท้าวสักกะได้.
    พระราชาเท่านั้นดำรงพระสติไว้มั่นคง เยี่ยมพระแกล เรียกท้าวสักกะมาตรัสว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขของท่านเห่าเพื่ออะไร.
    ท้าวสักกะตอบว่า เห่าด้วยความหิว
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักให้ข้าวแก่สุนัข แล้วรับสั่งให้ให้ข้าวที่หุงไว้สำหรับคนในราชสำนักและสำหรับพระองค์ทั้งหมด สุนัขได้ทำข้าวทั้งหมดนั้นเหมือนกะเป็นข้าวคำเดียว แล้วก็เห่าขึ้นอีก
    พระราชาตรัสถามอีก ทรงสดับว่า บัดนี้สุนัขของเรายังหิวอยู่ จึงรับสั่งให้นำอาหารที่หุงไว้สำหรับช้างม้าเป็นต้นทั้งหมดมาให้ สุนัขได้กินคำเดียวหมดเหมือนกัน รับสั่งให้ให้อาหารที่หุงไว้สำหรับพระนครทั้งสิ้น สุนัขได้กินอาหารนั้นโดยทำนองนั้นแหละ แล้วก็เห่าขึ้นอีก
    พระราชาทรงตกพระทัยสะดุ้งกลัว ทรงดำริว่า นี่เห็นจะไม่ใช่มนุษย์ ต้องเป็นยักษ์โดยไม่ต้องสงสัย เราจะถามเหตุที่มาของนายพรานนี้
    เมื่อจะตรัสถามได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า

    ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้ดำจริง ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อนพุ่งออกจากเขี้ยว ท่านผูกไว้ด้วยเชือกถึง ๕ เส้น สุนัขของท่านจะทำอะไร.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺโห กณฺโห ความว่า เปล่งเสียงซ้ำด้วยอำนาจความกลัว หรือด้วยอำนาจกรรมอันมั่น. บทว่า โฆโร ได้แก่ ให้เกิดความกลัวแก่ผู้ได้พบเห็น. บทว่า ปตาปวา ความว่า มีแสงร้อน ด้วยความร้อนแห่งรัศมีที่พลุ่งออกมาจากเขี้ยวทั้งหลาย. บทว่า กึ วีร ความว่า พระราชาตรัสอย่างนั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวดุร้ายของท่านเห็นปานนี้นั้น ทำอะไร มันจับมฤคกินหรือจับอมิตรให้ท่าน ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยสุนัขตัวนี้ จงปล่อยมันไปเถิด.

    ท้าวสักกะได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า
    ดูก่อนพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มาเพื่อต้องการกินเนื้อ แต่เพื่อจะกินมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อใดจักมีมนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนั้นสุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินมนุษย์.

    คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ก็สุนัขตัวนี้มิได้มาในที่นี้ด้วยหวังว่า จะกินเนื้อมฤค เพราะฉะนั้นจะไม่มีประโยชน์สำหรับพวกมฤค แต่มาเพื่อจะกินเนื้อมนุษย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะทำความฉิบหายความพินาศให้แก่มนุษย์เหล่านั้น เมื่อใด ผู้นั้นทำพวกมนุษย์ให้ถึงความพินาศ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้ย่อมหลุด คือจักหลุดจากมือของเราไปกินผู้นั้น.

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขดำของท่านจักกินเนื้อมนุษย์ทุกคน หรือว่าจักกินแต่ผู้ที่มิใช่มิตรของท่านเท่านั้น
    ท้าวสักกะตอบว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ สุนัขจักกินเนื้อมนุษย์ที่มิใช่มิตรของเราเท่านั้น.
    คนเช่นไร ที่มิใช่มิตรของท่านในที่นี้.
    คนที่ไม่ยินดีในธรรม มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ชื่อว่าผู้มิใช่มิตร.
    ขอท่านจงกล่าวลักษณะคนเหล่านั้นให้เราทราบก่อน.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสบอกแก่พระราชา ได้ตรัสพระคาถาสิบคาถาว่า

    ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะมีบาตรในมือ มีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ ทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพ คนเหล่านี้เป็นคนทุศีล มิใช่มิตรของเรา สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อได้เมื่อใด สุนัขดำจะหลุดจากเชือกห้าเส้นไป เมื่อนั้น.

    เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่ามีตบะ บวชมีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ เที่ยวบริโภคกามคุณอยู่ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.

    เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว มีฟันเขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลีเที่ยวภิกขาจาร รวมทรัพย์ไว้ให้กู้ ชื่นชมยินดีด้วยดอกเบี้ยเลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิลเหล่านั้น.

    เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือสาวิตติศาสตร์ ยัญญวิธีและยัญญสูตร แล้วรับจ้างบูชายัญ เมื่อนั้น สุนัขดำเหล่านี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.

    เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดูมารดาบิดาได้ แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าวดูหมิ่นมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็นคนโง่เง่า เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจะคบหาภรรยาของอาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้าและน้าเป็นภรรยา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่และดาบ คอยดักอยู่ที่ทางฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.

    เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสีผิวกายบำรุงร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้จักหาทรัพย์ ร่วมสังวาสกับหญิงหม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของหญิงหม้ายนั้นหมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิงอื่นต่อไป เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลงหญิงเหล่านั้น.

    เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน เปิดเผยโทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอยู่ในโลก เมื่อนั้น สุนัขดำจะหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้นไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณกา ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้โดยโวหารว่าละอายเพียงปฏิญาณตนว่า เราเป็นสมณะ. บทว่า กสิสฺสนฺติ ความว่า คนเหล่านั้นย่อมทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพอย่างเดียว แม้ในเวลานั้น ก็ท้าวสักกะทำเป็นเหมือนไม่รู้จึงกล่าวอย่างนี้. จริงอยู่ ท่านมีประสงค์ดังนี้ว่า คนเหล่านี้ คือเห็นปานนี้ เป็นคนทุศีล ไม่ใช่เป็นมิตรของเรา เมื่อใด สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อคนเหล่านี้ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ ย่อมหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้นนี้.
    ด้วยอุบายนี้ พึงทราบประกอบอธิบายในคาถาทั้งปวง.
    บทว่า ปพฺพชิตา ได้แก่ เป็นผู้บวชในพระพุทธศาสนา. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า เที่ยวบริโภคกามคุณ ๕ ในท่ามกลางเรือน. บทว่า ทีฆุตฺตโรฏฺฐา ความว่า ชื่อว่า มีริมฝีปากสูงยาว เพราะมีเขี้ยวโต. บทว่า ปงฺกทนฺตา ได้แก่ ฟันประกอบด้วยมลทินดังเปือกตม. บทว่า อิณํ โมทาย ความว่า รวบรวมทรัพย์ด้วยภิกขาจารประกอบหนี้ด้วยความเจริญ ยินดีการทำเช่นนั้น เลี้ยงชีพด้วยทรัพย์ที่ได้มาจากภิกขาจารนั้นไปในกาลใด. บทว่า สาวิตฺตึ ได้แก่เรียนเวทคือสาวัตติศาสตร์. บทว่า ยฺํ ตตฺรฺจ ได้แก่ เรียนยัญญวิธี และยัญญสูตรในที่นั้น. บทว่า ภติกาย ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเข้าไปหาพระราชาและราชมหาอำมาตย์ แล้วบูชายัญเพื่อต้องการค่าจ้างอย่างนี้ว่า เราจักบูชายัญเพื่อท่าน ท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา. บทว่า ปหุสนฺตา ความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพอกเลี้ยง.
    บทว่า พาลา ตุมฺเห ความว่า คนพาลทั้งหลายกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้อะไร. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า จักไปด้วยอำนาจการเสพโมกขธรรม. บทว่า ปนฺถฆาฏํ ความว่า ยืนอยู่ในทางเปลี่ยว แล้วปล้นฆ่าพวกมนุษย์ ยึดเอาสิ่งของๆ พวกมนุษย์เหล่านั้น. บทว่า สุกฺกจฺฉวี ความว่า นักเลงหญิงทั้งหลายตบแต่งด้วยการขัดสีด้วยจุณน้ำฝาดเป็นต้น มีผิวพรรณขาว. ในบทว่า เวธเวรา ที่ชื่อว่านักเลงหญิงเพราะอรรถว่าประพฤติเป็นเวรกับหญิงหม้าย คือหญิงผัวตายเหล่านั้น. บทว่า ถูลพาหุ ความว่า มีร่างกายอ้วนพีด้วยการบำรุงร่างกายเป็นต้น มีการนวดขยำเท้าเป็นต้น. บทว่า อปาตุภา ความว่า เพราะไม่ปรากฏ คือเพราะไม่ทำทรัพย์ให้เกิด.
    บทว่า มิตฺตเภทํ แปลว่า ทำลายมิตร. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อใดนักเลงหญิงเห็นปานนี้คิดว่า หญิงเหล่านี้จักไม่ละพวกเรา จึงเข้าไปหาหญิงหม้ายผู้มีเงินร่วมสังวาสกัน เคี้ยวกินทรัพย์ของหญิงเหล่านั้น จักทำลายมิตรกับหญิงเหล่านั้น ทำลายความคุ้นเคยไปหาหญิงอื่นผู้มีทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นโจร.
    บทว่า อสปฺปุริสจินฺติกา ความว่า มีปกติคิดอย่างอสัตบุรุษ คือคิดทำร้ายผู้อื่น.
    เมื่อนั้น สุนัขดำหลุดออก ฆ่าพวกเหล่านั้นหมด กัดกินเนื้อแล.

    ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะได้ตรัสว่า ดูก่อนมหาราช คนเหล่านี้ไม่ใช่มิตรของเรา แล้วทรงแสดงสุนัขทำเป็นอยากจะวิ่งไปกัดพวกอธรรมนั้นๆ ขณะนั้น มหาชนมีจิตหวาดกลัว ท้าวสักกะทำเป็นฉุดเชือกรั้งสุนัขไว้ แล้วละเพศนายพราน เหาะขึ้นไปในอากาศดังดวงอาทิตย์แรกขึ้น รุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วตรัสว่า
    ดูก่อนมหาราช เราคือท้าวสักกเทวราช มาด้วยเห็นว่าโลกนี้จักพินาศ เพราะเดี๋ยวนี้ มหาชนพากันประมาทประพฤติอธรรม ตายไปๆ แออัดอยู่ในอบาย เทวโลกดุจว่างเปล่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักรู้สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ไม่ประพฤติธรรม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิดพระมหาราช
    แล้วทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาที่มีค่าตั้งร้อยสี่พระคาถาให้มนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมและศีล ทำพระศาสนาที่เสื่อมโทรมให้สามารถเป็นไปได้อีกพันปี แล้วพามาตลีเสด็จไปยังพิมานของพระองค์.

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดง แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราประพฤติประโยชน์แก่โลก แม้ในกาลก่อนอย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า
    มาตลีเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์
    ส่วนท้าวสักกะได้มาเป็น เราตถาคต แล.

    จบอรรถกถามหากัณหชาดกที่ ๖


    กรณีศึกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192ac30.jpg
      7192ac30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.4 KB
      เปิดดู:
      182
    • 71929401.jpg
      71929401.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.5 KB
      เปิดดู:
      154
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธรูป “อนาคตพุทธะ เมตไตรย” หินตะกอนเนื้อละเอียดสีเข้ม ประทับนั่งห้อยพระบาทแบบกรีก
    ถูกเคลื่อนย้ายไปจากซากวิหารร้างกลางทุ่งพระเมรุไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระมหาธาตุกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ถูกเคลื่อนย้ายไปซ่อมแซมแล้วประดิษฐานในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ ในสมัยรัชกาลที่ 3
    ถึงจะถูกรื้อถอนทำลายมาหลายยุคสมัยจนแทบไม่มีหลักฐานหลงเหลือมากนัก แต่การขุดค้นทางโบราณคดีในปี 2481 ได้พบหลักฐานสำคัญคือ ชิ้นส่วนแตกหักส่วนล่างของพระวรกาย ของ ”พระประธานศิลาขนาดใหญ่” ที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในท่า “ประทับนั่งห้อยพระบาท” ที่ตรงแกนกลางซากอาคาร เป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถนำไปเชื่อมต่อ - โยงถึงซากชิ้นส่วนพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่ อีก 3 องค์ ที่วัดพระยางกงและวัดขุนพรหม นอกเกาะเมืองอยุธยาทางทิศใต้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192ad9a.jpg
      7192ad9a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      164.4 KB
      เปิดดู:
      230
    • 7192bf91.jpg
      7192bf91.jpg
      ขนาดไฟล์:
      115.3 KB
      เปิดดู:
      241
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในคติทางพุทธศาสนา รูปแบบการประทับนั่งห้อยพระบาท แสดงมุทธา “วิตรรกะ” ที่เอานิ้วชี้มาประกบกับนิ้วโป้งในรูปวงกลม มีความหมายถึง “วงล้อแห่งธรรมจักร” แสดงการ “สั่งสอน” หรือ “เทศนา” (Teaching) แต่หากแสดงท่าวิตรรกมุทราทั้งสองมือ ทั้งในท่าประทับห้อยพระบาทหรือขัดตะมาด อาจมีความหมายถึง “การสั่งสอนอย่างละเอียด เคร่งเครียดและหนักแน่น” หรือ “การสั่งสอนครั้งแรก” ที่เรียกว่า “ปางปฐมเทศนา (First Teaching) แต่หากเป็นการเทศนาสั่งสอนทั่วไป ในศาสนสถานอันสงบ พระหัตถ์ซ้ายจะเปลี่ยนลดลงมาวางที่พระชานุเป็นท่า “ประทานพร (ความเข้าใจ)” (วรทมุทรา)หมายถึง “ให้จงเข้าถึงในคำสอน” หรืออาจปล่อยวางพระหัตถ์ซ้ายที่หน้าตักในท่าสมาธิ หมายถึง “ทำใจให้ว่างจึงเข้าใจในคำสอน”

    ซึ่งการแสดงท่า (ปาง) “การสั่งสอนอย่างละเอียดและหนักแน่น” บนพุทธบัลลังก์นั้น ปรากฏอยู่ในพุทธประวัติ 2 เรื่องในคติแบบเถรวาท คือ ตอนปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และตอนแสดง “มหา - ยมกปาฏิหาริย์” ที่สาวัตถี เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของ “พระพุทธเจ้า”เหนือเหล่าเดียรถีร์ (พวกที่ไม่นับถือศาสนาพุทธ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71922cda.jpg
      71922cda.jpg
      ขนาดไฟล์:
      159.6 KB
      เปิดดู:
      448
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รูปสลักของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย น่าจะเป็นรูปสลักบนผนังถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่แสดงภาพของพระพุทธเจ้าประทับนั่งแบบ “ปรลัมภาปทาสนะ” (ห้อยพระบาทแบบกรีก) บนบัลลังก์ภัทรอาสน์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะของการจีบนิ้วจับชายจีวรที่ตกลงมาเป็นเส้นโค้งเส้นเดียวและพาดผ่านพระเพลาทางด้านซ้าย ลักษณะของภาพเป็นการแสดงธรรมขั้นสูง ที่มีละเอียดอ่อนและเคร่งเครียด ต่อเหล่าเทพเจ้าของฮินดู (พระศิวะและพระวิษณุ) คล้ายแบบแผนของคติมหายาน (มหาสังฆิกะ) ในตอนเทศนา “พระสัทธรรมปุณฑริกสูตรบนยอดเขาคิชกูฎ” อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 12
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719222c6.jpg
      719222c6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.9 KB
      เปิดดู:
      223

แชร์หน้านี้

Loading...