พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 28 มกราคม 2010.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    เสียงต้นๆไฟลล์ จะเป็นเสียง หลวงปู่หล้าครับ ฟังไปเรื่อยๆ จะเป็นเสียงหลวงปู่ บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ฟังให้ จบนะครับ
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อ่อ เป็นการสนทนาธรรมของหลวงปู่ทั้งสองท่าน อนุโมทนาครับ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไหนลอง หยิบ ตรงที่ผมอ้างมาซิ ว่าไปอ้างตั้งแต่เมื่อไร
    ไปฟังมาจากไหนหรือ
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเต้าเจี้ยว อย่าว่าแต่ผมปฏิเสธว่าจิตไม่ใช่นามขันธ์๔เลย
    แม้พระพุทธพจน์เองก็รับรองไว้ว่า
    รูปขันธ์๑และนามขันธ์๔รวมเป็นขันธ์๕นั้น ไม่ใช่เรา(จิต) ไม่เป็นเรา(จิต) ไม่ใช่ตนของเรา(จิต)

    ตอนท้ายพระสูตรยังกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า
    เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย
    เห็นชัดแล้วนะว่า แม้พระพุทธองค์ท่านยังทรงปฏิเสธว่าจิตไม่ใช่ขันธ์๕ และขันธ์๕ไม่ใช่จิต
    จิตจึงหลุดพ้นจากการยึดถือขันธ์๕ได้

    จิตเป็นธาตุรู้ หรือนามธรรม ไม่ใช่นามขันธ์ จึงอบรมชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสได้
    คุณไม่รู้จริงๆหรือแกล้งไม่รู้กันแน่ว่า ที่จิตยึดเอาขันธ์๕มาเป็นตน
    เพราะอวิชชาครอบงำอยู่ ให้เห็นผิดจากความเป็นจริง จึงต้องอบรมจิตให้รู้เห็นตามความเป็นจริงใช่มั้ย?

    คุณเต้าเจี้ยว คุณต้องหัดสนใจพระพุทธพจน์บ้างไม่ใช่รู้แต่ท่องจำอภิธรรมเท่านั้น
    มีพระสูตรรับรองไว้ขัดเจนว่า "วิสังขาร คตัง จิตตัง ตัณหาณัง ขยมัชฌคา
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"

    พระพุทธองค์ต้องทรงรู้อยู่ตลอดสิ
    จึงจะบอกได้ว่าขณะนี้จิตของพระองค์ว่างจากการปรุงแต่งอารมณ์ใดแล้วอย่างสิ้นเชิง
    และต้องรู้ว่า ไม่มีอารมณ์ใดๆให้เข้าไปรู้ด้วยความทะยานอยากอีกแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวนี้ ใช่ทรงรู้เองเห็นเองโดยชอบใช่มั้ย?

    เพราะจิต"ไม่รู้"ตามความเป็นจริง จิตจึงยึดมั่นถือมั่นเอาสิ่งต่างๆมาเป็นของๆตน(จิต)ใช่มั้ย?
    เมื่อ จิต"รู้"เห็นตามความเป็นจริง จิตจึงไม่ยึดสิ่งต่างๆเหล่านั้นมาเป็นของๆตน(จิต)ใช่มั้ย?

    คุณเต้าเจี้ยวหัดยืนอยู่บนหลักเหตุผลบ้างนะ เมื่อก่อนคุณไม่รู้หนังสือ เพราะไม่เคยถูกอบรมสั่งสอนมา
    เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างดี อ่านออกเขียนได้สอนเป็นแล้ว
    คุณจำเป็นต้องโยนความรู้พวกนั้นทิ้งไปหรือจึงจะหายโง่หนะ?
    หรือต้องแกล้งทำเป็นไม่รู้จึงจะหายโง่ได้?

    รู้คือรู้ ไม่รู้(รู้ผิด)คือยึดท่าเดียวแบบที่เห็นๆกันอยู่ทุกวันนี้...

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณศูนย์๕ตัว
    มารู้จักเหตุผลก่อนนะ ง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ทำได้ยากจนอาจจะเป็นบ้าได้เลยหละ
    ที่พระอาจารย์หลวงปู่ดูลย์กล่าวไว้ชัดเจนว่า
    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย(เหตุ)
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์(ผล)

    เมื่อปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เป็นมรรค จนกระทั่งจิตรู้อยู่ที่รู้ จิตไม่ส่งออกนอก ก็อยู่เหนือเหตุผล....

    ;aa24
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ของมันรู้เองและอยู่ในจิตตนเอง นั่นเป็นสิ่งที่รู้อยู่เองตามเหตุปัจจัยที่ตนสร้างขึ้น ไม่เห็นต้องถามว่าไหนเลยที่เคยอ้าง ทุกคำตอบมันอธิบายตัวมันเอง แด่ผู้หลงเช่นกัน คำว่าปฏิเวธ ไม่ใช่เรื่องของการดูและเห็นว่ามันเป็นอะไร เพราะการจะเห็นสิ่งใดนั้น ตามกำลังบารมีของแต่ละคนนั้นควรที่จะเห็นได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่มีที่สั่งสมในตน แต่เรื่องมันไม่ใช่แค่การเห็นเพียงเท่านั้น หรือการรู้เพียงเท่านั้น เพราะอะไรก็พิจารณาเอา เพราะคำว่ายากอาจไม่ได้ขึ้นกับคนหนึ่งคนใด บางคนอาจง่าย ตามกำลังตน แต่สิ่งที่แท้จริงนั้น เมื่อเห็นได้ในทุกสิ่งที่มีในกายในใจตนแล้วนั้น การจะละวางในสิ่งที่เห็นได้นั้นจึงเป็นปัจจัตตัง ไม่ใช่เรื่องของตัวอักษรอีกต่อไป
    การจะเห็นสิ่งใด ยากหรือง่าย นั้นขึ้นกับกำลังอินทรีย์ที่มีในตน แต่การจะเข้าถึงและแจ่มแจ้งในธรรมหรือสิ่งที่เห็นได้ทั้งหลายไปจนถึงละวางสิ่งที่เห็นได้นั้น มันเป็นเรื่องยาก และยากกว่าการเห็นนั้นมากมายนักเพราะอะไร ก็พิจารณาเอา ถ้าเอาตามกิเลสก็ได้ตามที่เห็น ตามที่เป็นนั่นแหละ ส่วนเรื่องจิต ก็เช่นกันการจะเห็นก็เป็นเช่นกัน กิเลสทั้งหลายก็เช่นกัน เหตุแห่งกิเลสทั้งหลายก็เช่นกัน นั่นคือ ตัณหา อุปาทาน และทุกข์ ทั้งหลายก็เช่นกัน การเห็นก็เป็นเช่นเพียงแค่การเห็น แต่สิ่งสูงสุดและเป็นทางแห่งมรรคผล ไม่ได้มีเพียงแค่เห็นแค่รู้เท่านั้น การละวางสิ่งเหล่านั้นด้วยปัญญาอินทรีย์ที่สั่งสมในตนต่างหาก ที่เป็นตัววัดว่าตนเห็นธรรมนั้นแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ข้อความอักษรที่อ่านและรู้ตามกันมาแต่อย่างใด
    อริยะหลงพึงทราบไว้ จะได้ไม่พาผู้อื่นให้หลง จนไม่ลืมหูลืมตา
    อนุโมทนาครับ
     
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    เหนือเหตุเหนือผล....?


    เมื่อไม่ทำเหตุ ผลย่อมไม่เกิด...
    เรียกได้ว่านอกเหตุแห่งการเกิดอุปทาน เหนือผลคือไม่มีอุปทานในขันธ์ทั้งหมด

    เมื่อใดไม่ทำเหตุแห่งอุปทาน เมื่อนั้นท่านมีสัมมาทิฐิ เดินอยู่ในเส้นทางแห่งองค์มรรค
    เหตุถึงพร้อมตามองค์แห่งมรรค นิโรธก็บังเกิด

    ปัญหาคือนอกเหตุนี่สิ มันยากไม่ใช่น้อย ความหยาบและละเอียดของจิตก็สัมผัสการยึดเข้าและผลักออกไม่เท่ากัน...
    มัชฌิมาของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน...

    ระหว่างความพอใจและไม่พอใจ อยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น...
    ตรงที่ไม่มีภพคนไม่ค่อยรู้จัก...

    ผมก็มั่วซั่วไปเอาฮา... :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มกราคม 2010
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่มีหิริโอตัปปะในตนเลยหรือ
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คิดอย่างนั้นก็ตามใจท่านอริยะหลง ผมก็ทำไปตามเหตุปัจจัยที่ผมเองสร้างขึ้นเช่นกันครับ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    กรรมพาวนลงนรก

    ขอตัว
     
  11. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    อ้างถึง


    พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้


    จะัเป็นหรือเรียกอย่างไร...ก็ตาม

    แต่หนทางที่ถูกต้อง ต้องมีความเห็นและ ไม่ยึดมั่นความเป็นเรา

    ว่า......มันมี......และมีที่ตั้งอยู่ ทั้งที่ตัวจิตเองหรือที่ใดใดก็ตาม..
     
  12. CottonFields

    CottonFields เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +149
    ท่านที่ยังเห็นว่าวิญญาณกับจิตเป็นคนละอย่างกันก็ไม่เป็นไรนะครับ อย่างน้อยท่านก็เคยได้ผ่านการกพิจารณามาบ้างแล้ว ผมก็ยังมีใจอนุโมทนาอยู่

    บางท่านที่เข้าใจว่าตัวเองว่าเป็นอริยะแล้วนั้น (ไม่ทราบว่ามีท่านใดที่เข้าใจแบบนั้นหรือไม่ ต้องขออภัยนะครับ) ตอนที่โสดาปัตติมัคคจิตเกิด และโสดาปัตติผลจิตเกิด ถ้าท่านพิจารณาตามดูทัน จิตผู้รู้ของท่านก็คือมโนวิญญานที่เป็นตัวรู้เดิมนั่นเอง ไม่ได้แปลกแยกเพิ่มมาจากไหน เป็นอันเดิมเป็นธาตุเดิมแต่มีความรู้หรือตัวรู้หรือความรู้ชัดเกิดขึ้น ( อย่าเพ่งว่าผมเป็นนะครับ )

    ซึ่งก็คือมโนวิญญานเดิมที่อยู่ในขันธ์ห้า ซึ่งเดิมมันก็คืออุปาทานขันธ์นั่นเอง ต่อเมื่อเราเกิดรู้ขึ้นมาเมื่อไหร่ การเป็นอุปาทานขันธ์ก็จะหมดไปตั้งแต่นั้น แต่ขันธ์ทั้งห้าก็ยังอยู่นะครับ แต่ไม่เป็นอุปาทานแล้ว เป็นขันธ์ที่ถูกรู้ และเป็นขันธ์ที่ถูกละวางลงแล้ว นั่นก็หมายถึงการละสักกายะทิฏฐิที่หลงไปว่าขันธ์ห้าเป็นของเราขันธ์ห้าเป็นตัวเป็นตนลงได้อย่างสมุจเฉท

    ซึ่งสิ่งที่มารู้นั้น(หรือเรียกว่าจิต) ก็คือตัวรู้อันเดิมนั่นแหละครับ เป็นตัวที่เราเคยนึกคิดอันนั้นเลยเป็นอันเดียวกับตัวรู้ตัวคิดของเดิมนั่นเอง พอเกิดรู้ขึ้นมาก็เป็นตัวรู้อันนั้นหรือมโนวิญญานอันนั้น ไม่ได้เป็นตัวรู้ใหม่อื่้นใดเกิดขึ้นเลยแต่เป็นตัวรู้ที่มีความรู้ที่ในที่นี้บางท่านไปเรียกว่าจิต จริง ๆ แล้วมันเป็นตัวรู้ตัวเดิม ซึี่งเมื่อถึงที่สุดจิตดวงสุดท้ายที่เกิดขึ้นก็คือ อรหัตตผลจิต ซึ่งเป็นจิตที่เที่ยงแล้วไม่มีการเกิดใหม่ ไม่มีการก่อภพก่อชาติอีกแล้ว ซึ่งนอกเหนือกฏเกณฑ์ของไตรลักษณ์ไปแล้ว เป็นจิตดวงที่ดำรงค์อยู่ในนิพพานนั่นเอง

    ดังนั้นตามที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้ถกกันมาจนถึงบัดนี้ ผู้อ่านก็คงได้แง่คิดมุมมองของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามขอท่านอย่าเพิ่งได้ปักใจเชื่อ ให้ปฏิบัติไปจนเห็นชัดด้วยจิตของตนแล้วท่านจะไม่ต้องไปถามใครอีก
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ประโยคนี้ นิยมกันมาในการใช้กล่าวปรักปรำ คนที่กล่าวถึง "จิต ในมุมของ วิญญาณ"

    เพราะเพียงแค่เขากล่าวไม่ครบ ทำกริยาตัดแปะคำคนที่พูด "จิต ในมุมของ วิญญาณ"
    ไว้ในส่วนที่ชอบใจ ก็จะเป็นอันว่า สามารถเป็นขี้ปากเขาได้

    เรามาดูกันว่าการกล่าว "จิต ในมุมของ วิญญาณ" อย่างไรถึงจะยังคงความถูกต้อง

    ก็เอาง่ายๆ ไม่ได้ยากอะไรเลย หากผู้กล่าว "จิต ในมุมของ วิญญาณ" ยังปรารภอยู่ว่า
    วิญญาณเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เขาย่อมพูดลำบาก ปรักปรำลำบาก เพราะหากพูด
    "จิต ในมุมของ วิญญาณ" โดยต่อด้วยคำว่า "วิญญาณเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์" ผล
    ของคำกล่าวนี้จะสอดคล้องกับพุทธพจน์ได้ เป็นไปเพื่อความจางคลายได้

    กลับกัน

    คนที่ชอบปรักปรำคนที่กล่าวว่า "จิต ในมุมของ วิญญาณ" ว่าผิด พวกนี้จะเลี่ยงบาลี
    ไป คือ ไม่กล่าวว่า วิญญาณ เพราะโดยหลักของศาสนานั้นรู้กันอยู่แล้วว่า สอนว่า
    วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อาศัยเหตปัจจัยในการเกิดเท่านั้น จะไม่อาศัยปัจจัยในการ
    เกิดวิญญาณหามีไม่ คนพวกนี้จะเลี่ยงไปกล่าวว่า จิตเป็นตัวสะสมบุญธรรมกรรมแต่ง
    แทน เพราะจนปัญญาแล้วที่จะกล่าวว่า อะไรเป็นตัวสะสมบุญและกรรม อาศัยปัจจัย
    ในการเกิด ก็เลยอาศัยคำว่า จิตแทน แล้วยกว่า จิตเป็นตัวอาศัยบุญทำกรรมแต่ง
    เป็นปัจจัย จึงทำให้สามารถเลี่ยงการพูดหน้าที่ สะสม หรือ อาศัยเป็นปัจจัยในการเกิด
    จากคำว่า วิญญาณเที่ยง ไปเป็น จิตเที่ยง สมใจอยากธรรมอันลามก

    เรามาดูกันว่า การกล่าวว่า จิตเที่ยง เป็นธรรมลามกอย่างไร

    1. จิต เป็นธาตุรู้ ทำหน้าที่ รู้ เพียงอย่างเดียว ตรงนี้เราได้ยินเป็นปรกติ

    แต่ผู้ที่กล่าวว่า จิตเที่ยง จะเกิดความลามกต่อธรรมนี้อย่างไร

    --> ย่อมบัญญัติเพิ่มเติมเข้าไปว่า จิตไม่ได้เป็นเพียงธาตุรู้อย่างเดียว แต่มัน
    กักเก็บเอาสิ่งที่รู้เข้าไปด้วย เกิดการบัญญัติคำว่า อุปทานจิต มาแทน อุปทานขันธ์
    เพิ่มเติม

    2. "จิตผ่องใส เพราะจิตติดอวชิชา ด้วยอวิชชา เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา"
    ประโยคนี้เป็นบาลีเดิมที่ท่านเสถียรโพธินันทะ ได้เข้าไปอ่านชำระความในตำราพระไตร
    ปิฏกที่เก่าแก่ที่สุดที่ประเทศหนึ่งในยุโรปได้เอาไปรักษาไว้ แล้วกล่าวว่า คำกล่าวเกี่ยวกับ
    ประโยคนี้มีการแต่งเติมโดยมหายาน จนเป็นประโยค "จิตเดิมแท้ผ่องใส(ประภัสสร) เพราะ
    จิตติดอวชิชา เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา"

    แต่ผู้ที่กล่าวว่า จิตเที่ยง จะเกิดความลามกต่อธรรมนี้อย่างไร

    ย่อมไม่ยอมรับตำราพระไตรปิฏกฉบับบาลีดั้งเดิม ย่อมเห็นควรสนับสนุนธรรมที่มีการ
    แต่งเติม เพื่อสนับสนุนทิฏฐิตนเรื่อง จิตเที่ยง จิตเป็นตัวสะสมบุญบาป สุดท้ายก็จะ
    กลายเป็นพวกเห็นว่า บุญที่ทำไว้มากๆจะทำให้เต็มจนบรรลุนิพพานได้อย่างแน่นอนขึ้นมา
    เกิดเป็นธรรมลามก เกิดความฝันเฝื้อง ขัดกับหลักธรรมปฏิจสมุปบาทไป กลบธรรม
    ส่วนอกุศลลงไปว่าจะไม่ส่งผล(ปฏิเสธแขกที่จรมาได้) ทั้งนี้เกิดการสำคัญแน่นหนาว่า
    จิตบังคับให้เห็นแต่กุศลได้อย่างแน่นอน แต่ลืมไปว่า กุศลที่เห็นได้นั้นก็แค่นำสุคติมา
    ให้เท่านั้น

    ก็จะเห็นว่า พวกกล่าวว่า จิตเที่ยง นั้น นอกจากจะปฏิเสธความเป็น ปรมัตถ์ธรรมของ
    ธาตุรู้แล้ว ยังเอออวยไปกับคำสอนที่ผิดแผกแหวกแนวเสียเอง

    ดีไม่ดี ก็เกิดการประกาศก้องว่า ผี(วิญญาณ)มีจริงขึ้นมา โดยอาศัยการเพียรปรารภ
    "จิตเที่ยง" โดยไม่รู้ตัว

    ทั้งๆที่ โดยปรกติทั่วไป เราจะไม่กล่าวว่า ผีมีจริง วิญญาณมีจริง เพราะอาศัยความที่
    ว่า มันเกิดจากผัสสะเป็นปัจจัยเท่านั้น หากขาดปัจจัยลงเมื่อไหร่ คำกล่าวว่า ผีมีจริง
    จะกลายเป็นคำเท็จไป เหตุนี้จึงใช้ พยัญชนะคำว่า อนัตตา เข้ามารองรับแทน

    สรุปแล้ว พวกที่กล่าวว่า "จิตคือวิญญาณขันธ์ อันวิญญาณขันธ์มีสภาพอนัตตา" ยังเป็น
    ธรรมะที่เป็นไปเพื่อการละวางได้มากกว่าพวกที่เลี่บงบาลีไปกล่าวว่า "จิตไม่ใช่วิญญาณ
    ขันธ์ และจิตนั่นเที่ยง"

    ธรรมะใดที่กล่าวเป็นไปเพื่อความจางคลาย ไม่ยึดมั่นถือมั่น พระพุทธองค์รองรับว่า นั่น
    เป็นพุทธพจน์ ธรรมะที่ไม่เป็นไปเพื่อความจางคลาย เป็น ธรรมลามก เป็น โมฆะ ว่าง
    เปล่าใช้สอนไม่ได้ บุคคลใดใช้กล่าวก็กลายเป็นโมฆบุรุษไปด้วย

    ธรรมะใดที่กล่าวออกมาแล้ว สอดคล้องกับธรรมะในพระสูตรอื่นๆ พระพุทธองค์รองรับ
    ว่า นั่นเป็นพุทธพจน์ ธรรมะที่ไม่สอดคล้องกับธรรมะอื่นๆ เป็น ธรรมลามก เป็น โมฆะ
    ว่างเปล่าใช้สอนไม่ได้ บุคคลใดใช้กล่าวก็กลายเป็นโมฆบุรุษไปด้วย
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เนื้อหาในพระไตรปิฏก ที่กลุ่มชอบตัดต่อเพื่อปรักปรำกลุ่มที่กล่าวว่า

    "จิตเป็นวิญญาณขันธ์" แต่อาศัยการกล่าวไม่ครบ โดยจงใจตัดส่วนที่คนกลุ่มนั้น
    จะพูดถึง "วิญญาณขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์" ออกไป ก็มักใช้บุคคลธิษฐาน พระสาติ
    ดังจะยกมาให้ดูประกอบ

    ขอให้ท่านทั้งหลาย ตั้งใจ และน้อมใจให้ดีว่า หากคนที่กล่าวว่า "จิตเป็นวิญญาณขันธ์"
    หรือเป็น มโนวิญญาณก็ดี หากปรารภถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของ วิญญาณขันธ์ หรือ
    มโนวิญญาณ แล้ว เขาเหล่านั้นกล่าวสอดคล้องธรรมะดังที่ยกมาแล้วหรือไม่อย่างไร

    และหากตัด อำพรางลงแล้ว จริงหรือไม่ที่พวกเขาที่ชอบปรักปรำจะสมใจเขา แล้วกลาย
    เป็นผู้กล่าวขัดพระสูตรเสียเอง

     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พวกที่ กล่าวว่าจิตเทียง ก็กล่าวไปแล้วว่า เป็นพวกนิยมธรรมะตัดแต่ง แทน
    ธรรมะจากบาลีเดิม เพราะอาศัยความอยากพูดว่ "จิตเที่ยง" ให้เป็นคำๆเดียวกับ
    คำว่า "จิตเดิมแท้" เป็นพวกกล่าวกลบพุทธพจน์เสียเองนั้น เรามาดูสิ่งที่พระเสถียร
    โพธินันทะได้ให้ความเห็นไว้ หลังจากการศึกษาฉบับบาลีดั้งเดิมมา ว่าท่านได้ให้
    ความเห็นไว้อย่างไร

    ที่มา :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จากอรรถาอธิบายของท่านเสถียรโพธินันทะ คราวนี้มาลองดู อรรถอธิบาย
    ของหลวงตามหาบัวกันบ้าง ลองพิจารณาให้ดีว่า มีความสอดคล้องกัน
    แค่ไหน

    ซึ่งจะเห็นว่า ประโยคที่กำลังกล่าวถึง สภาพธรรมของจิต ตรงนี้เป็นการ
    กล่าวลักษณะของจิตโง่ล้วนๆ ตั้งแต่คุณลักษณะใสกระจ่าง นั้นก็จิตโง่
    มันแสดงอาการสว่าง จิตมันแนบติดอวิชชา คือยังไงเสียงจิตก็ต้องมี
    อวิชชา และ มันเศร้าหมองได้ก้เพราะความโง่อันเป็นสภาพของจิต
    นั่นแหละ มันโง่ แขกจรมาก็ทะลึ่งไปรับ ใช่หรือไม่ใช่ สอดคล้องกัน
    ตามนี้หรือไม่ ก็พิจารณา

    ที่มา : จิตผ่องใส กับจิตบริสุทธิ์ : อาหารสมอง
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เพื่อบันเทิงธรรม ขอยกพระสูตรมาอีกหน่อย เพื่อรับคำสอนที่ปราศจากการ
    ปรารภเรื่อง "จิตเที่ยง"

    พระไตรปิฎก เล่มที่ 18
    สัปปายสูตรที่ ๓
    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่
    นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอัน
    เป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นอนัตตา
    รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็น
    อนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
    มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ
    จบสูตรที่ ๔
    สัปปายสูตรที่ ๔
    [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ
    แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้น
    เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
    หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
    หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
    พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
    หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... แม้สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง
    หรือไม่เที่ยง ฯ
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
    หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ใน
    สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
    ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ใน
    มโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
    มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ
    สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ให้เข้าใจว่า คำว่า จิต เที่ยงก่อน คำว่า จิตเที่ยงนี้ มันไม่เที่ยง แต่มันไม่สูญ
    คำว่า ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปรปรวน
    ไปตาม กิเลสที่มี

    แต่หากว่า จิตถึงธรรมแล้ว เที่ยง ก็มันจ้าอยู่ มันจะไปไหน ไปดับตามกิเลสหรือ
    นี่แหละ ที่เรียกว่า เข้าถึง อมตธรรม นี่ให้เข้าใจตัวนี้
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ให้หาจิตเที่ยงกันให้เจอ นี่บอกเคล็ดลับให้

    เวลา พิจารณาดูจิต ให้ทำลายสภาวะที่รับรู้อยู่ขณะนั้น ให้ได้ ด้วยการ หันไปดูที่สภาวะอื่น
    เช่น รับรู้ตั้งมั่น ให้ใช้ปัญญาิพิจารณาว่า ตัวตั้งมั่นนี้ไม่เที่ยง แล้ววิ่งไปหาสภาวะอื่น
    สภาวะอื่นที่จิตไปจับ ก็ไม่ตั้งมั่น ให้เอาจิตไปจับสภาวะอื่นอีก
    แล้ว ถ้าบุญญาบารมีดี มันจะถอนการจับทั้งปวงเอง ดับสมมติสิ้นเชิง

    ทั้งหมดนี้ ใครขาดคุณธรรม มันจะไม่มีทางเห็น แม้เข้่าใจมันก็ถูกหลอก ไม่ใช่ของจริง
    อมตะธรรม ไม่ใช่ จะเข้าถึงง่ายๆ ต้องขัดเกลา ทุกทาง
    คุณธรรมต้องสูง พวกโกหก พวกกิเลสหนา ไม่มีทางเข้าถึง

    มันต้องคนที่ กราบพระไปกับพื้น หมดสิ้่นในความอหังการแล้ว นั่นแหละ
    แต่ถ้ายังอวดรู้อวดดี โน่น ไปกราบเทวทัต ไม่ต้องไปกราบพระรัตนไตร
     
  20. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ตั้งแต่ตามอ่านกระทู้มายังไม่เห็นใครกล่าวว่าจิตเที่ยงเลย
    ได้อ่านแต่ว่าจิตไม่เคยสูญ แต่แปรเปลี่ยนตามกรรม เวียนตายเกิด แต่มีสภาวะไม่เคยสูญ

    ขอชี้ประเด็นที่ถกเถียงกันเท่าที่ตามอ่านตามวิจารณ์มาบ้างเล็กน้อย เท่าที่ตามอ่านมาเท่าที่พอมีปัญญาเข้าใจ ในประเด็นที่ถกเถียงอาจจะมีมากกว่านั้น

    1. จิตเกิดดับรวดเร็วแสนแปดหมื่นล้านดวง VS จิตเดมแท้มีดวงเดียว ที่ปรากฏล้วนเป็นอาการของจิต

    2. นิพพานเที่ยงไม่เกิดดับ VS กับนิพพานเกิดดับ

    3. จิตหลุพ้นจากขันธ์ VS ขันธ์หลุดพ้นจากขันธ์ (หรือจิตคือขันธ์)

    3ข้อใหญ่ๆที่มีความเห็นค่อนข้างแตกแยกออกเป็นสองทิฐิ ตัวผมก็เข้ามาติดตามอ่านอยู่เผื่อปรับทิฐิให้ถูกให้ตรงต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...