พระสมเด็จกรุเก่าบางขุนพรหม กทม.

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย รู้ตอนจบ, 27 สิงหาคม 2018.

  1. รู้ตอนจบ

    รู้ตอนจบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +22
    ประวัติ พระสมเด็จฯ บางขุนพรหม

    พระสมเด็จฯ บางขุนพรหมหรือพระสมเด็จฯกรุ วัดใหม่อมตรสนั้น ถูกเข้าใจผิดมานานว่าขึ้นจากกรุวัดอินทรวิหารหรือวัดบางขุนพรหมนอก แต่แท้จริงแล้วพระสมเด็จฯ ดังกล่าวได้ถูกค้นพบที่วัดใหม่อมตรสหรือที่วัดบางขุน-พรหมใน ซึ่งเดิมชื่อว่า ''วัดวรามตาราม''มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี แต่อย่างไรก็ตามพระอารามทั้งสองก็ล้วนแต่มีเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับสมเด็จพระพุฒา-จารย์ (โตพรหมรังสี) และที่ตั้งก็อยู่ใกล้กันจึงจะกล่าวถึงรวมกันไปทีเดียววัดอินทรวิหารหรือวัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่ มีมาแต่โบราณกาล ตั้งอยู่ ณ ตำบลบางขุนพรหม เขตพระนคร ไม่ปรากฏหลักฐานของผู้สร้างวัด แต่เหตุที่ได้นามว่า ''วัดอินทรวิหาร''นั้นเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปีจอพุทธศักราช ๒๓๒๗ เจ้าอินทวงศ์ โอรสของพระเจ้าธรรมเทวาวงศ์ผู้ครองพระนครศรีสัตนาคนหุต เป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังจึงใช้นามตามผู้ปฏิสังขรณ์ว่า ''วัดอินทาราม'' ต่อมาในรัชสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามวัดเสียใหม่จาก วัดอินทารามเป็นวัดอินทรวิหาร เนื่องจากชื่อเก่าไปพ้องกับชื่อวัดอินทาราม(วัดใต้)ส่วนเจ้าอาวาสรูปแรกเท่าที่ปรากฏหลักฐาน เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทวงศ์ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถระ(แก้ว) จากเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งท่านเป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางด้นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านยังเป็นปฐมาจารย์องศ์แรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อีกด้วย เพราะในตอนเยาว์วัยนั้นโยมบิดาและโยมมารดาของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้อพยพจากบ้านท่าหลวงกรุงเก่าลงมาอยู่ยังกรุงเทพฯและได้พำนักอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหมนี้ โยมบิดาและโยมมารดาจึงได้ถวายตัวเจ้าประคุณสมเด็จฯในขณะนั้นให้เป็นศิษย์อยู่กับท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถระ ครั้นต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองศ์เจ้าอินทร์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถอีกครั้งหนึ่ง และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓พระครูอินทรสมาจารย์(เงิน อินทสโร) ได้ชักชวนประชาชนร่วมกันบูรณะพระอุโบสถอีกครั้งหนึ่ง ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนเล่าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนับเป็นการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นอย่างดี
    สำหรับการสร้างพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมนั้น ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องของตรียัมปวาย ได้มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมจากท่านพระธรรมถาวรว่า ''หลังท่านเจ้าประคูณสมเด็จฯ ได้สร้างพระที่วัดระฆังฯได้ ๔ ปี ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๓ เสมียนตราด้วง ผู้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่บางขุนพรหม ก็ได้มาอาราธนาท่านให้สร้างพระสมเด็จฯ เป็นพิเศษขึ้นอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ประธานของพระอารามนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้ลงมือสร้างพระสมเด็จฯ ของท่านให้ตามความประสงค์'' เสมียนตราด้วงเป็นต้นตระกูล ธนะโกเศศ รับราชการอยู่กรมเสมียนตราในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้นำผงวิเศษทั้ง ๕ ประการมาประมาณบาตรหนึ่ง เพื่อนำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จฯ การทำผงวิเศษนั้นคือการเขียนเลขยันต์ต่างๆลงบนกระดาน ในขณะที่เขียนต้องมีการว่าสูตรกำกับทุกครั้ง เมื่อเขียนแล้วก็ลบ เขียนไปลบไปจนกว่าจะจบ ผงบางชนิดลบสองสามชั่วโมงได้ผงไม่ถึงช้อน ดังนั้นผงบาตรหนึ่งจึงต้องใช้เวลาลบเป็นสิบปี ในเรื่องเกี่ยวกับผงวิเศษทั้ง ๕ ประการอันประกอบด้วย ผงปถมัง ซึ่งมีคุณทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดกำบัง ป้องกันภยันอันตรายผงอิธะเจ มีคุณทางด้านเป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลายทำให้เกิดความเมตตารักไคร่ ผงตรีนิสิงเห มีคุณทางป้องกันคุณไสยเวทมนต์ ภูตผีปีศาจทั้งแก้สิ่งอัปมงคลด้วย ผงมหาราช มีคุณทางมหานิยมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองชื่อเสียงเกียรติยศ ผงพุทธคุณ มีคุณทางด้านคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง คัมภีร์ทำผงวิเศษทั้ง ๕ ประการนี้เป็นสิ่งสำคัญถือว่าเป็นหัวใจของผู้ที่ศึกษาพระเวทวิทยาคม มีน้อยคนนักที่จะพากเพียรเรียนจนสำเร็จทั้ง ๕ คัมภีร์ แต่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒา-จารย์โต ท่านมีอัจฉริยภาพสามารถเล่าเรียนจนสำเร็จผงวิเศษทั้ง ๕ ประการ ได้ทำให้พระเครื่องที่ท่านสร้างมีอภินิหารมากมาย
    มีคุณวิเศษเกินพรรณนา การทำผงตามตำหรับโบราณนี้ มีการพิถีพิถันนับแต่ส่วนผสมอันนำมาทำเป็นแท่งดินสอ โดยมากมักเป็นแท่งดินสอพองร่อนละเอียด บางแห่งอาจผสมเครื่องหอมกระแจะจันทน์ และยอดไม้มงคลอย่างเช่น รักซ้อน สวาท กาหลง แต่บางคณาจารย์ใช้ดินเหนียวบริสุทธิ์ เช่นดินขุยปู หรือดินกลางใจนาขุดลึกลงไปสักศอกหนึ่งก็จะได้ดินบริสุทธิ์ ผสมกับสิ่งของอื่นๆ เช่น เกสรดอกไม้ ไคลเสมา ไคลพระเจดี ดินโป่ง ดอกบัวในปลักควาย เป็นต้น ผสมทำเป็นแท่งดินสอเขียนผงตามแต่เคล็ดของแต่ละสำนัก จากบันทึกของเจ้าประคุณพระธรรมถาวร ผู้ไกล้ชิดสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้กล่าวว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กวดขันในการปั้นดินสอพองเป็นอันมาก ทั้งนี้ก็เพื่อหวังจะให้บังเกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์ในกานเขียนคาถาเพื่อลบเอาผงวิเศษไว้ใช้ในการสร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมของแท่งดินสอที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทำขึ้นมีหลายชนิด เรียกว่าแท่งดินสอมหาชัย ประกอบด้วย ดินโป่ง ๗ โป่ง ดินตีนท่า ๗ ท่า ดินหลักเมือง ๗ หลัก ขี้ธูปบูชาพระประทานในโบสถ์ ดอกกาหลง ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ไคลเสมาไคลประตูวัง ไคลเสาตะลุงช้างเผือก ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ใบพลูร่วมใจ พลูสองทาง กระแจะตะนาว น้ำบ่อเจ็ดรส และดินสอพองละเอียด ส่วนผสมทั้งหมดนี้ผสมกันปั้นเป็นแท่งไว้สำหรับเขียนผงตามตำราต่อไป ซึ่งพระสมเด็จฯ ที่สร้างในครังนั้นมีจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ตามจำนวนพระธรรมขัธ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วเสมียนตราด้วงได้บรรจุพระสมเด็จฯ ดังกล่าวในพระเจดีย์องค์พระประธานของวัดใหม่อมตรส

    การตกพระสมเด็จฯ กรุบางขุนพรหมได้เริ่มกระทำกันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๕ เนื่องจากเกียรติคุณของพระสมเด็จฯ ขจรขจายเกี่ยวกับการรักษาโรคห่าที่ระบาดอย่างหนักในปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ การตกพระกระทำโดยใช้ไม้ไผ่ที่มีเชือกสอดเอาไว้ติดก้อนดินเหนียวตรงปลายเชือก แล้วสอดลำไม้ไผ่เข้าไปในช่องระบายอากาศของพระเจดีย์ หย่อนเชือกให้ลูกตุ้มดินเหนียวกระทบองค์พระ พระสมเด็จฯจะติดดินเหนียวขึ้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้มีการตกพระสมเด็จฯ ครังใหญ่อีก เนื่องจากกรณีที่ฝรั่งเศสรุกรานไทยประชาชนต่างเตรียมตัวที่จะอาสาสมัครเข้าเป็นทหารเพื่อปกป้องประเทศชาติ ซึ่งต่างก็อยากได้ของดีเอาไว้คุ้มตัว จึงพากันมาตกพระสมเด็จฯกันที่วัดอินทรวิหาร และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้มีกลุ่มมาตกพระสมเด็จฯ อีกแต่ครั้งนี้ไม่ค่อยได้พระไปจะเป็นด้วยพระสมเด็จฯ ในกรุมีจำนวนลดน้อยลงก็เป็นได้ จึงมีผู้คิดอุบายใช้น้ำเทกรอกลงไปในช่องระบายอากาศจำนวนหลายร้อยปี๊บเพื่อให้น้ำชะล้างดินที่ปกคลุมพระออกไป ทำให้พระที่อยู่ด้านไต้ลงไปผุดขึ้นมา ก็ปรากฏว่าได้พระขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่ง

    จวบจนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีการลักขุดพระเจดีย์โดยพวกมิจฉาชีพถึงสองครั้ง ทางคณะกรรมการวัดในสมัยนั้นจึงมีมติให้เปิดกรุพระสมเด็จฯ อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสบูชากันโดยทั่วถึง และจะได้นำปัจจัยมาบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม การเปิดกรุพระเจดีย์กระทำกันในช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งในครั้งนั้นได้พระออกมาประมาณ ๒,๙๐๐ องค์เท่านั้น ไม่รวมองค์ที่หักชำรุด มีทั้งหมด ๙ แม่พิมพ์ได้แก่ พิมพ์ทรงพระประทาน พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงเส้นด้าย พิมพ์ทรงฐานคู่ พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร อัตราค่าบูชาในสมัยนั้นสูงถึงองค์ละ ๑,๕๐๐-๒,๕๐๐ บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนมากทีเดียว แต่พระสมเด็จฯ ถูกบูชาจนหมดไปภายไนเวลาอันรวดเร็ว

    เสมียนตราด้วงเป็นต้นตระกูล ธนะโกเศศ รับราชการอยู่กรมเสมียนตราในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประสงค์จะสร้างพระจำนวนเท่ากับพระธรรมขันธ์(๘๔,๐๐๐ องค์)เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์องค์ประธานของวัดใหม่อมตรส ในครั้งนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้นำผงวิเศษทั้ง ๕ ประการมาประมาณบาตรหนึ่ง เพื่อนำมาผสมสร้างเป็นพระสมเด็จฯ ภายหลังได้รับการขนานนามว่า พระสมเด็จฯ กรุวัดไหม่อมตรสหรือพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม

    ด้านพุทธคุณของพระสมเด็จฯ บางขุพรหมนั้นเรียกได้ว่าครบเครื่องทั้งเมตตามหานิยม อำนวยโชคลาภวาสนา แคล้วคลาด ที่สำคัญครั้งหนึ่งยังเคยได้ยินอภินิหารของพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมไนทางคงกระพันชาตรีอีกด้วย โดยในสมัยก่อนเคยมีคนถูกยิงด้วยปืนอาก้า ลูกปืนเจาะคาผิวชั้นนอกแต่ไม่สามารถทะลุทะลวงได้มากกว่านั้น จนเป็นที่โจษขานกันมากมาจนทุกวันนี้ครับ

    องค์นี้เป็นพระสมเด็จฯ กรุเก่า พิมพ์พระประธาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 32.jpg
      32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.3 KB
      เปิดดู:
      360

แชร์หน้านี้

Loading...