พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    5 ประกันสามัญประจำชีวิตที่ควรมี

    <!--lead-->
    [​IMG]
    วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2551

    http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/

    โดยกาญจนา หงษ์ทอง


    "ประกัน" ก็เหมือน "ร่ม" ยามที่ไร้พายุฝน คนเรามักจะคิดว่าร่มเป็นภาระ เกะกะ ไม่คล่องตัว แต่เมื่อไหร่ที่ฝนตกขึ้นมา เราจะนึกทันทีว่าโชคดีนะที่หยิบร่มติดมาด้วย
    วันนี้ คุณอาจจะคิดว่า การทำประกันช่างเป็นภาระทางการเงินเหลือเกิน นั่นทำให้ทุกวันนี้คนไทยทำประกันกันน้อยมาก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดอุบัติเหตุชีวิตขึ้นกับคุณ การมีประกันกับการไม่มีประกัน จะทำให้คุณรู้สึกแตกต่างกันทันที
    แม้ทัศนคติของคนไทยส่วนใหญ่ จะเริ่มมองบวกมากขึ้น และเชื่อว่าประกันจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะใส่ใจทำประกัน
    Fundamentals ฉบับนี้ จะพาไปรีวิวว่ามีประกันประเภทไหนบ้าง ที่เราๆ ท่านๆ ควรจะมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับชีวิตในยุคปัจจุบัน
    *******
    เลือกประกันทุกประเภทที่เหมาะกับเงื่อนไขชีวิต
    อาจจะมีหลากหลายเหตุผลด้วยกัน ที่ทำให้ทุกวันนี้ ถัวเฉลี่ยแล้ว คนไทยยังมีอัตราการทำประกันไม่มากนัก ทั้งที่รอบตัวเราเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ
    ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการไม่จ่ายเงินทดแทนของบริษัทประกัน โดยอาศัยการเล่นแง่ตามกฎหมาย จนบางคนเกิดอาการเข็ดขยาดไม่อยากทำประกันอีกต่อไป
    แต่ปัญหาใหญ่ที่พบกันอยู่บ่อยๆ คือ การขาดความเข้าใจในพื้นฐานของการทำประกันชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเข้าใจอย่างคลุมเครือ ก็ทำให้ถูกตัวแทนประกันที่พูดเก่ง กล่อมจนคล้อยตามให้ซื้อประกันในแบบและวงเงินที่อาจจะไม่เหมาะหรือตรงต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่ต้องการทำประกัน
    อย่างไรก็ตาม ในชีวิตจริงที่เผชิญกันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อต้องดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่สูงขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรจะมีประกันในรูปแบบต่างๆ แล้วประกันประเภทไหนบ้างที่คุณควรจะมี เพื่อรับมือกับความเสี่ยงในปัจจุบัน ลองมาฟังข้อแนะนำของ "พจนี คงคาลัย" คอลัมนิสต์ประจำเซคชั่น Fundamentals ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประกัน ให้ข้อคิดว่าประกันประเภทไหนบ้างที่คุณควรจะมี
    O ประกันชีวิต
    เมื่อรู้ว่ารอบตัวเต็มไปด้วยความเสี่ยง พจนีแนะว่าคุณน่าจะให้ความสำคัญกับการทำประกันชีวิตมากเข้าไว้ เพราะการทำประกันชีวิตก็คือการวางแผนป้องกันความเสี่ยงภัยด้านรายได้ในอนาคตข้างหน้า ที่ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน จริงอยู่วันนี้คุณอาจจะยังมีหน้าที่การงาน มีเรี่ยวแรงเพียงพอที่จะทำมาหากิน มีรายได้ที่เลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่วันข้างหน้าอาจจะเกิดอุบัติเหตุชีวิตขึ้นกับคุณ การทำประกันชีวิตจึงช่วยรับมือกับเรื่องร้ายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ข้อสำคัญช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
    ลองนึกดูว่า ถ้าวันดีคืนดี เกิดมีเหตุไม่คาดฝันกับครอบครัวของคุณ คุณซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ยังมีภาระทางการเงินอีกเป็นจำนวนมาก อย่างน้อยก็เรื่องเรียนของลูกที่อาจกระทบกระเทือนหากขาดหัวหน้าครอบครัวอย่างคุณ เพียงแค่นี้เราคงเห็นภาพแล้วว่า ถ้าไม่วางแผนสร้างหลักประกันไว้ตั้งแต่วันนี้ วันข้างหน้าเราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าชีวิตบั้นปลายจะอยู่ดีมีสุข หรือจะอุ่นใจได้อย่างไรว่า ถ้าเราไม่อยู่ พ่อ แม่ ลูก เมีย จะไม่ลำบาก ฉะนั้น การทำประกันชีวิต คือการวางแผนการสร้างหลักประกันความเสี่ยงในอนาคตนั่นเอง
    ก่อนจะตัดสินใจทำประกันชีวิต พจนีแนะว่า ควรดูให้ถ้วนถี่ก่อนว่าประกันชีวิตแบบไหน ที่เหมาะกับคุณ เช่นถ้าคุณเป็นพวกที่
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    5 ประกันสามัญประจำชีวิตที่ควรมี

    <!--lead-->
    [​IMG]
    วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2551

    http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/

    โดยกาญจนา หงษ์ทอง


    O ประกันสุขภาพ
    ประกันสุขภาพเป็นอีกอย่างหนึ่งที่พจนีแนะว่าทุกคนควรมีไว้ แม้ทุกวันนี้บริษัทหลายแห่งจะมีสวัสดิการที่ดูแลค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานไว้อยู่แล้ว แต่ก็อาจไม่เพียงพอที่รับมือกับภาระค่าใช้จ่ายที่มีโอกาสเกิดขึ้น ยิ่งคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรจะทำประกันสุขภาพ
    ซึ่งการทำประกันสุขภาพนั้น น่าจะประกอบด้วยความคุ้มครองหลายอย่าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ตรงนี้เป็นตัวหลักที่ควรมีไว้ ค่ารักษาพยาบาลควรจะครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ และเกิดจากอุบัติเหตุ จะประกอบไปด้วย ค่าห้อง ค่ายา ค่าอาหาร ค่าเอกซเรย์ ค่าแล็บ ค่าห้องผ่าตัด ค่าผ่าตัด และค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกรณีอุบัติเหตุและเป็นคนไข้นอก (ไม่ได้นอนโรงพยาบาลจะมีกำหนดวงเงินสูงสุดต่อครั้ง)
    นอกจากนี้ ก็ควรมี ค่าชดเชยรายวัน เป็นค่าเสียเวลาหรือค่าเสียโอกาสที่เราต้องสูญเสียไปในกรณีที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล บริษัทจะจ่ายให้ตามจำนวนวันที่นอนรักษาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนเงินตามแผนที่เราซื้อไว้ แต่จะมีการกำหนดว่าจ่ายสูงสุดไม่เกินกี่วัน ซึ่งเงินส่วนนี้อาจนำมาจ่ายเป็นค่ารักษาส่วนเกินหรือเป็นเงินสำรองของเราได้
    อีกอย่างที่พจนีคิดว่าควรจะครอบคลุมคือ โรคร้ายแรง เป็นการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมกรณีเป็นโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรง เช่น ตับแข็ง ถุงลมปอดโป่งพอง ฯลฯ จะได้รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือค่ารักษาพยาบาลจากการเป็นโรคร้ายดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เงินในการรักษาสูง ค่ารักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การจ่ายค่ารักษาพยาบาล บริษัทจะจ่ายเป็นค่าชดเชยรายวันตามจำนวนวันที่เรานอนรักษาในโรงพยาบาล เช่น วันละ 3,000 บาท โดยทั่วไปจ่ายสูงสุดที่ประมาณ 500 วัน (ขึ้นอยู่กับกำหนดของแต่ละบริษัท) ลองคิดดูว่าคนที่เป็นโรคมะเร็ง โอกาสนอนโรงพยาบาลมีมากแค่ไหน เพราะฉะนั้นเงินส่วนนี้ก็จะช่วยเสริมได้ กรณีที่เกินวงเงินหรือเป็นเงินสดสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ คนที่ซื้อประกันโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะเน้นผลประโยชน์ค่ารักษามากกว่าการสูญเสียชีวิต
    ทั้งหมดนี้เป็นประกันสุขภาพหลักๆ ที่เราควรมีไว้ สำหรับใครที่บริษัทมีสวัสดิการให้ค่ารักษาพยาบาลที่ดีอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพ ที่คุ้มครองแค่ค่ารักษาพยาบาลเล็กน้อย ยกเว้นในบางรายที่มีงบประมาณเพียงพอและไม่มีสวัสดิการใดๆ รองรับ
    "เวลาจะซื้อประกันสุขภาพ ไม่ควรซื้อค่ารักษาพยาบาลซ้ำซ้อน เพราะการเบิกต้องใช้ใบเสร็จตัวจริง ไม่สามารถเบิกซ้ำได้ ยกเว้นกรณีที่เบิกได้ไม่ครบถ้วนตามค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงตามใบเสร็จ จึงจะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือได้จากประกันค่ารักษากรมธรรม์อื่นหรือจากสวัสดิการได้ การจะซื้อเพิ่มน่าจะพิจารณากรณีที่คิดว่าค่ารักษาพยาบาลที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ หรือซื้อเป็นค่าชดเชยรายวันที่สามารถเบิกจ่ายโดยใช้เพียงสำเนาใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ ซึ่งปัจจุบันมีบางบริษัทที่มีกรมธรรม์ประเภทนี้ขายอยู่ ซึ่งเวลาจะซื้อต้องดูว่าเรามีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ หากเรามีสวัสดิการรองรับแต่อาจไม่เพียงพอ หรือไม่แน่ใจว่า จะได้ตลอดหรือไม่ ก็อาจจะซื้อเพิ่มไว้ ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่ โดยอาจซื้อเพิ่มเป็นค่าชดเชยรายวันที่ค่าเบี้ยประกันจะถูกกว่าค่ารักษาพยาบาล ข้อสำคัญคือต้องบอกอย่างตรงไปตรงมาห้ามปกปิด เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการขอเบิกค่ารักษาพยาบาลในอนาคต" พจนีแนะนำ
    ข้อคิดอย่างหนึ่งคือ เราควรทำประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่มีสุขภาพแข็งแรงดี คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงการทำประกันสุขภาพก็ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หรือเป็นแล้ว ผลก็คือบริษัทประกันไม่รับ หรือรับแต่ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นอยู่ หรือบางคนรอให้อายุมากก่อนค่อยทำ ซึ่งเมื่ออายุมาก โรคภัยก็เยอะ ค่าเบี้ยประกันก็แพง โอกาสที่บริษัทจะรับก็น้อย หรือบริษัทอาจจะรับ เนื่องจากเราปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพ แต่ตอนเคลมค่ารักษา บริษัทตรวจพบว่าเป็นโรคที่เป็นมาก่อนและไม่แถลงข้อเท็จจริง ก็เคลมไม่ได้ เพราะฉะนั้นควรทำตั้งแต่เรายังมีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจทำในวงเงินที่พอสมควรไม่ต้องสูงมากเกินไป เพราะความเสี่ยงยังน้อยอยู่ และปีต่อๆ ไปก็สามารถเพิ่มได้ตามความเหมาะสม
    O ประกันบ้าน
    แค่ได้ยินคำว่าประกันภัยบ้าน คนส่วนใหญ่ก็นึกถึงภาระที่ต้องจ่ายขึ้นมาทันที แต่เมื่อความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน วันดีคืนดี เคราะห์หามยามร้ายอาจจะมาเคาะประตูบ้านคุณ ทำไมไม่เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันด้วยการทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองบ้านหรือที่อยู่อาศัยของคุณ
    เพียงคุณใช้เงิน 1% ของทรัพย์สินที่คุณมีอยู่ มาสร้างหลักประกันไว้ เพียงเท่านี้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน บ้านที่คุณสร้างมาก็จะได้รับความคุ้มครอง
    เพราะบ้านเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่มีค่าและสำคัญมาก แต่ไม่ว่าเราจะมั่นใจแค่ไหน มันอาจจะถูกบุกรุกคุกคามได้หลายรูปแบบ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหวัง, ลมพายุ, อุบัติเหตุจากยานพาหนะ, อัคคีภัย เป็นต้น
    เมื่ออะไรก็เกิดขึ้นได้ คุณก็ควรหาความคุ้มครองจากประกัน เพื่อที่จะได้ชดใช้ทรัพย์สินของคุณที่สูญเสียไป ในขณะที่ทรัพย์สินและความทรงจำบางอย่างนั้น ไม่สามารถชดใช้แทนได้ แต่การประกันบ้านที่ดีนั้น สามารถช่วยทดแทนทรัพย์สินที่สูญเสียและเสียหายได้ เพื่อที่คุณจะได้ฟื้นตัวกลับไปดำเนินชีวิตได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
    ประกันภัยบ้านบางประเภท ไม่เพียงแต่คุ้มครองบ้าน แต่ยังครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนบุคคลอีกด้วย คุณสามารถเลือกระดับความคุ้มครองที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับทรัพย์สินของคุณก่อนตัดสินใจทำ
    ปัญหาคือทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามการทำประกันบ้านนอกเสียจากว่าคุณจะถูกบังคับไปโดยปริยายจากธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ให้คุณ ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะหลายคนเชื่อว่า โชคร้ายคงไม่เกิดกับคุณ
    "การทำประกันอัคคีภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของคุณ เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกอุ่นใจและสามารถแก้ปัญหาให้คุณได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันกับบ้านของคุณ จริงๆ แล้วเบี้ยประกันอัคคีภัยบ้าน ที่บริษัทประกันทั้งหลายจะคิดกับคุณ นับเป็นจำนวนเงินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับราคาบ้านของคุณทั้งหลัง ซึ่งอัตราโดยส่วนใหญ่มักจะขึ้นกับประเภทของบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่คุณต้องการทำประกัน และการครอบคลุมประเภทของวินาศภัยที่จะเกิดกับบ้านของคุณ" พจนีแนะนำ
    O ประกันรถยนต์
    ประกันอีกประเภทหนึ่ง ที่ถ้าคุณมีรถยนต์เป็นสมบัติส่วนตัว ก็ควรจะมีไว้ นั่นคือ ประกันรถยนต์ อย่างน้อยเวลาใช้รถสัญจรไปไหนมาไหน คุณจะได้อุ่นใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ ประกันจะช่วยให้คุณคลี่คลายเรื่องยุ่งยากไปได้ระดับหนึ่ง
    ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดในเรื่องการทำประกันรถยนต์ในเมืองไทยและที่ต่างประเทศ ก็คือ ที่ต่างประเทศจะมีทั้งการทำประกันรถและการทำประกันผู้ขับขี่ ซึ่งหมายถึงผู้เอาประกันสามารถไปขับรถคันไหนก็ได้ สัญญาการประกัน จะตามไปรับผิดชอบให้ แต่สำหรับเมืองไทยที่เห็นจะเป็นการทำประกันรถยนต์โดยตรง คือใครมาขับรถคันนี้ขอให้มีใบขับขี่ สัญญาการรับประกันก็จะรับผิดชอบให้
    ปัญหาอย่างหนึ่งของการทำประกันรถยนต์ คือการเลือกบริษัทประกัน ที่ปัจจุบันมีให้เลือกหลายบริษัท จนคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี
    ประการแรกน่าจะดูที่การให้บริการ ผู้ซื้อประกันหลายคนที่ต้องผิดหวังเมื่อโทรศัพท์เรียกใช้บริการหลังจากที่ประสบเหตุ แต่บางรายกลับต้องรอนานหลายชั่วโมง หรือบางคนรอเป็นวัน เวลาที่เจรจาเรื่องค่าซ่อม ฝ่ายเจ้าของรถก็อยากจะซ่อมให้ดีที่สุด ในขณะที่ฝ่ายบริษัทก็อยากจะจ่ายให้ถูกที่สุด จนบางครั้ง เจ้าของรถต้องยอมที่จะจ่ายส่วนต่างเอง
    หากจะเลือกซื้อประกันกับบริษัทไหน จึงขอแนะให้ดูและหาข้อมูลเรื่องการให้บริการของบริษัทนั้นให้ละเอียด ถามผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทำประกันกับบริษัทนั้นมาก่อนก็ได้
    อย่าคิดแค่ว่า ทุกวันนี้คุณขับรถด้วยความไม่ประมาทอยู่แล้ว หรือไม่ได้ใช้รถบ่อยนัก ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เพราะในความเป็นจริง มีโอกาสที่จะเกิดเรื่องร้ายและเรื่องผิดพลาดได้ตลอดเวลา กันไว้ดีกว่าแก้
    O ประกันอุบัติเหตุ
    ขณะเดียวกัน ประกันอุบัติเหตุเป็นอีกอย่างหนึ่งที่พจนีแนะว่าควรจะมี เพราะในกรณีที่คุณเกิดอุบัติเหตุ ประกันจะให้ความคุ้มครองกรณีสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่าชดเชยจากอุบัติเหตุ
    ซึ่งในส่วนของค่าชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุนั้น ยิ่งต้องเลือกที่ดีและสูง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ มักจะทำให้ผู้เอาประกันไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานตามปกติได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือตลอดไป ก็ควรจะเลือกบริษัทที่จ่ายค่าชดเชยให้เป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนวงเงินเอาประกัน โดยมีกำหนดระยะเวลาสูงสุด
    สำหรับประกันทุกประเภทนี้ ล้วนสำคัญทั้งสิ้น ข้อสำคัญคือ เมื่อจะตัดสินใจทำประกัน ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหน ต้องศึกษาให้ถ้วนถี่ และเลือกให้เหมาะกับเงื่อนไขชีวิตของคุณมากที่สุด ทั้งหมดนี้ เป็นประกันประเภทต่างๆ ที่คุณควรจะมีติดตัวเอาไว้ เพราะโลกนี้อะไรก็ไม่แน่นอนทั้งนั้น
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    Financial Intelligence
    http://www.bangkokbiznews.com/fundamental/
    [​IMG]
    วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2551


    <!--lead-->

    <!--lead-->บริหารเงิน บริหารงาน บริหารความสุข

    มองไปทางไหนก็เห็นผู้คนตั้งหน้าตั้งตาทำงาน หาเงิน ตั้งใจทำมาหากิน เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันของคนทำงาน ต่างก็หมดไปในที่ทำงาน หมดไปกับการทำงาน เพื่อที่จะทำเงิน หลายคนทำงานหนัก แต่ก็ยังมีเงินไม่พอใช้ ยังชักหน้าไม่ถึงหลังก็เลยเป็นทุกข์ ในทางตรงข้าม หลายคนทำงานหาเงินได้มาก ก็เป็นทุกข์เพราะเงินที่หาได้ยังไม่มากพอ ยังต้องตั้งหน้าตั้งตาหา หา หา หาเงินต่อไป
    นอกจากคนสองกลุ่มนี้แล้ว ยังมีคนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งที่ทำงานหาเงินได้มาก แต่ก็ยังเป็นทุกข์เพราะไม่ชอบงานที่ทำ จะเปลี่ยนงานก็เกรงว่ารายได้จะลดลง เลยต้องทนทำงานที่ไม่ชอบต่อไปแบบเซ็ง เซ็ง
    คงเพราะคนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับทำงาน จึงยุ่งอยู่กับการบริหารงาน จนลืมบริหารมิติด้านอื่นในชีวิต ที่จริงชีวิตยังมีอีกหลายด้าน หลายมิติ ในทางพระพุทธศาสนา คนธรรมดาอย่างเราๆ มีศักยภาพมากมายหลายด้าน มนุษย์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัจจัยในการผลิต มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพียงเพื่อตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินหรือเพื่อหาเงินอย่างเดียว... นอกเหนือไปจากมิติทางด้านเศรษฐกิจ มนุษย์เรายังเป็นส่วนประกอบสำคัญของมิติทางด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ กระทั่งในระดับนานาชาติ
    นอกจากเป็นคนทำงาน เป็นมนุษย์เงินเดือนที่ช่วยเพิ่มผลผลิตในเชิงเศรษฐกิจแล้ว เรายังเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นหลาน เป็นญาติ เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นหมอ เป็นลูกศิษย์ เป็นประชาชน และเป็นอะไรอีกตั้งหลายบทบาทในหลากหลายเวที
    ลองเปรียบเทียบคุณหมอที่ทำงานเพื่อรักษาผู้ป่วย เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ กับคุณหมอที่ทำงานเพื่อหาเงิน... รายได้จากการประกอบวิชาชีพและฐานะทางเศรษฐกิจของคุณหมอสองคนนี้ คงจะแตกต่างกัน เปรียบเทียบในเชิงบุคคล คุณหมอที่ทำงานเพื่อหาเงินอาจจะมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่า แล้วสภาพสังคม ชุมชน ส่วนรวมล่ะ??? คนยากคนจนเจ็บป่วยไม่ได้รับการเหลียวแล หนักๆ เข้าก็ทำงานหาเงินไม่ได้ กลายเป็นภาระของครอบครัว ครอบครัวยากจนลง กลายเป็นภาระของสังคม แล้วประเทศชาติล่ะ
    อาจเป็นเพราะว่าเราถูกปลูกฝังให้ตั้งใจเล่าเรียนหนังสือ ให้เรียนเก่งๆ เรียนสูงๆ จะได้มีวิชาความรู้ไว้ใช้เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพ การเรียน การศึกษา ก็เป็นไปในมิติเดียว เพียงเพื่อรู้วิชาเดียว คือวิชาทำมาหากิน... พอการศึกษาและการทำงานถูกตีกรอบให้แคบลง มุมมองและวิธีการในการบริหารจัดการชีวิตก็พลอยแคบลงไปด้วย คือ เอางานเป็นตัวตั้ง งานกลายเป็นเหตุปัจจัยที่กำหนดทุกอย่างในชีวิต พอทำงานไม่ได้ดั่งใจ หรือหาเงินจากการทำงานได้ไม่มากพอ ก็เลยส่งผลกระทบไปยังมิติชีวิตในด้านอื่นๆ
    ทั้งที่จริงๆ แล้ว เราควรมองงานเป็นเพียงปัจจัยเดียว คือ งานเป็นเงื่อนไขหนึ่งในชีวิตเพื่อให้มีเงินมาเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
    พระพุทธศาสนาสอนให้เราตั้งใจทำงาน รู้จักพัฒนางานเพื่อการพัฒนาตนเอง แล้วเราจะมีความสุขทุกวันที่เราทำงาน ไม่ใช่ทำงานเพียงเพื่อหาเงิน พุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธเงิน แต่สอนให้เรารู้จักวิธีปฏิบัติต่อเงินอย่างถูกต้อง ไม่ลุ่มหลง ตกเป็นทาสเงิน ไม่เห็นเงินเป็นพระเจ้า พระพุทธศาสนาสอนให้เรารู้จักบริหารเงิน ให้รู้จักจัดสรรเงิน ให้ใช้เงินเพื่อดูแลตนเองและครอบครัว ให้เก็บออมเงินไว้เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน กระทั่งให้เรามีความสุขจากการใช้จ่ายเงินที่หามาได้โดยสุจริต
    ตามหลักการบริหารการเงินส่วนบุคคล เราต้องเริ่มต้นที่การสำรวจฐานะทางการเงินและพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเราเองก่อน ในขั้นตอนแรกนี้ คนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังก็จะได้ค้นพบว่าค่าใช้จ่ายรายการใดที่มากเกินไป จะหาวิธีปรับลดลงได้อย่างไรบ้าง ส่วนคนที่หาเงินได้มาก แต่ยังไม่ค่อยมั่นใจว่ามีเงินเพียงพอหรือยัง อาจจะได้พบว่าตนเองมีทรัพย์สินเงินทองมากพอจนคลายความกังวลลงได้บ้าง หรือหลายคนอาจพร้อมที่จะเกษียณได้อย่างสบายๆ แต่เพราะไม่เคยสำรวจฐานะทางการเงินของตัวเองอย่างจริงจัง เลยไม่เคยรู้จักตัวเองสักที
    ในทางตรงกันข้าม หลายคนมีหนี้สินรุงรังก็ไม่กล้าที่จะสำรวจหนี้สินของตนเอง จนปัญหาหนี้สินกลายเป็นหนี้เสียที่แก้ไม่ตก ปัญหาทางการเงินส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ และไม่อยากรับรู้ ที่จริงปัญหาแบบนี้แก้ได้ง่ายๆ ด้วยการเรียนรู้จากเรื่องราวที่ผ่านไปในอดีต แล้วพยายามหาคำตอบให้ได้ว่าทำไมเราจึงมีหนี้สินรุงรัง ทำไมเราจึงมีค่าใช้จ่ายมากมาย ทำไมเราจึงยังหาเงินได้ไม่เพียงพอ แล้วสร้างความรู้ โดยศึกษาจากสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม
    เพราะเราต้องทำงานทุกวัน เพราะ “งาน” สร้าง “เงิน” เพราะงานให้ผลตอบแทนสำหรับเลี้ยงชีวิต เราจึงต้องมีกำลังใจในการทำงาน เราต้องมีศรัทธาต่องานที่เราทำ เพราะศรัทธาจะสร้างกำลังใจที่เข้มแข็ง ซึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่สร้างสรรค์ แล้วรัศมีแห่งการสร้างสรรค์ก็เปล่งประกายสดใสไปในทุกมิติของชีวิต การบริหารงาน บริหารเงิน บริหารความสุข หรือการบริหารชีวิต สงสัยว่าคำตอบสุดท้าย จะหมายถึงการบริหารใจ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีรักษา 'กระดูกสันหลัง' (มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน!)

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=27310&catid=28

    มนุษย์เงินเดือนใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ทำงานนั่งหลังขดหลังแข็ง จนลืมดูแลตัวเองเกือบหมด ส่งผลให้โครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะ 'กระดูกสันหลัง' ซึ่งเป็นเสาหลักของร่างกายถูกทำร้ายด้วยความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มาดูวิธีถนอม'กระดูกสันหลัง' กัน...!


    คอลัมน์ ส่องโรค ไขสุขภาพ

    มนุษย์เงินเดือน หรือคนทำงานทุกวันนี้ใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ทำงานนั่งหลังขดหลังแข็ง จนลืมดูแลพฤติกรรมตัวเองไปกันเกือบหมดแล้ว ส่งผลให้โครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกสันหลังซึ่งเป็นเสาหลักของร่างกาย เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททุกเส้น ที่ออกไปควบคุมการทำงานของร่างกายในทุกระบบ เพื่อให้ร่างกายไม่ถูกทำร้ายด้วยความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ซีเคร็ท เชพ เวลเนส เซ็นเตอร์ (Secret Shape Wellness Center) แนะนำวิธีการหลีกหนีความเสี่ยงที่จะทำร้ายกระดูกสันหลัง โดยปรับเปลี่ยนท่วงท่าการนั่ง ยืน เดิน นอน เพื่อยืดอายุการใช้งานของกระดูกสันหลัง ดังนี้

    1. การนั่งไขว่ห้างจะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด
    2. การนั่งกอดอก ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรง หรือชาได้
    3. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างเกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา

    4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ
    5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
    6. การยืนแอ่นพุง หรือหลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง
    7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
    8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
    9. การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
    10. การนอนขดตัว หรือนอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

    ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10994
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    สร้างความฉลาดทางอารมณ์ ...สู่ความสำเร็จ
    http://hilight.kapook.com/view/22864



    <CENTER>[​IMG]


    ความฉลาดในการเรียนรู้หรือไอคิว (IQ) ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า เป็นมาตรวัดความสำเร็จของคนเรา แต่วันนี้มันถูกวาดอยู่ด้านข้าง เพื่อเปิดทางให้แก่มาตรวัดตัวใหม่ที่ร้อนแรงกว่านั้นก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence Quotient) หรือ อีคิว (EQ)

    [​IMG]อีคิวคืออะไร

    พูดอย่างง่ายที่สุด ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ตัวเอง แยกแยะมันได้อย่างชัดเจน เข้าใจมัน ควบคุมมันได้ และข้อสำคัญที่สุด มันคือความสามารถในการตัดสินใจ ที่คุณจะยังรู้สึกว่ามันถูกต้องอยู่เสมอ ​

    คอนเซ็ปต์ของอีคิวเกิดขึ้นในปี 1990 ก่อนจะพุ่งขึ้นสู่ความสนใจสูงสุดในช่วงปี 1995 และนับตั้งแต่นั้นมา ก็มีงานวิจัยใหม่ๆ ในเรื่องนี้เกิดขึ้นมากมาย มันหยั่งรากลึกลงไปในด้านจิตวิทยา และแม้แต่ในเรื่องของธุรกิจ มีบริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เชื่อว่าความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดี จะเพิ่มผลผลิตของพนักงาน คนที่มีอีคิวสูงมักจะมีความพึงพอใจมากกว่า ทำงานกับคนอื่นได้ดีกว่า และมองโลกในแง่ดีกว่า ​

    [​IMG]อีคิวสำคัญอย่างไร

    คนเราเคยมองกันว่าการตัดสินใจที่ดีนั้น ต้องปิดสวิตช์อารมณ์และใช้แต่เหตุผลล้วนๆ แต่ความเชื่อนี้ล้าสมัยเสียแล้ว งานวิจัยทางด้านประสาทวิทยาเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่า คนที่มีความเสียหายในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ พบว่ายากมากที่จะตัดสินได้อย่างถูกต้องนั้น เพราะความรู้สึกเป็นกรอบในการวิเคราะห์และใช้เหตุผล ถ้าไม่มีอารมณ์ความรู้สึก คนเราก็ไม่มีปัญญาถ้าไม่มีความรู้สึก เราก็ไม่อาจเลือกได้ระหว่างตัวเลือกสองอย่าง ​

    [​IMG]เพิ่มอีคิวได้อย่างไร

    ที่ไม่เหมือนไอคิวก็คือ อีคิวสามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่คุณจำเป็นต้องจัดระบบความคิดตัวเอง มุมมอง และปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ เสียใหม่ และนี่คือแนวทางการเริ่มต้นแบบคร่าวๆ สำหรับมือใหม่ ​

    [​IMG]1. แยกแยะและชี้ชัดความรู้สึกของตัวเองบอกตัวเองว่าคุณรู้สึกอย่างไร ด้วยประโยคสั้นๆ สามคำ "ฉันรู้สึก..." ให้ได้ ถ้าคุณรู้สึกถึงอารมณ์ที่ผสมปนเปกัน พยายามแยกแยะมันออกมาให้ได้และจัดระดับความรุนแรงของมัน (ฉันหงุดหงิด หรือ ฉันรู้สึกโกรธแค้น) แต่อย่าขยายให้เกินเลยหรือลดระดับมันลง ​

    [​IMG]2. รับผิดชอบต่ออารมณ์ของตัวเอง อย่ามองหาคำอธิบายจากภายนอกต่อความรู้สึกของคุณ หรือทำให้ตัวเองกลายเป็นเหยื่อรับรู้มันเป็นความรู้สึกของตัวคุณเอง และพยายามเข้าใจว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนี้ ​

    [​IMG]3. คาดเดาอารมณ์ตัวเองล่วงหน้า เรียนรู้ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรหลังเกิดเหตุการณ์ หรือการกระทำบางอย่าง หลีกเลี่ยงการทำสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้ว่าจะทำให้เกิดอารมณ์ในแง่ลบ ทำแบบนี้กับตัวเองและคนอื่นด้วย ​

    [​IMG]4. ถามคนอื่นว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร คุณต้องสามารถบอกได้ว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร โดยไม่ต้องถามพวกเขา อย่างไรก็ตามในตอนแรกคุณต้องเข้าใจพวกเขา ก่อนที่คุณจะสามารถเข้าใจเขาได้ฟังพวกเขา โดยไม่ตัดสินใดๆ อย่าพยายามละเลยหรือเพิกเฉยต่ออารมณ์ของพวกเขา ​

    [​IMG]5. ปกป้องตัวเองให้น้อยลง ถ้าบางคนพูดบางอย่างเกี่ยวกับตัวคุณที่คุณไม่เห็นด้วย อย่าปกป้องตัวเองหรือโจมตีพวกเขากลับไป มันแสดงให้เห็นว่าคุณไม่อาจรับมือกับคำวิจารณ์ได้ แทนที่จะทำเช่นนั้น จงขอบคุณพวกเขาในความจริงใจ และชี้ให้เห็นว่ามันมีความเป็นไปได้อย่างไร ​

    [​IMG]6. เอาปัญหามาใคร่ครวญ เมื่ออุปสรรคเกิดขึ้น และคุณรู้สึกถึงความโกรธที่แล่นขึ้นมา ลองใคร่ครวญอย่างจริงจังว่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วซีเรียสแค่ไหน มันจะเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมั้ยในอีก 10 ปีข้างหน้า ใน 10 สัปดาห์หรือ 10 นาที ​



    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
    ประจำวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2551 ​
    </CENTER>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เคยสงสัยไหมว่า ชื่อเดือนใครเป็นคนตั้ง

    ชื่อเดือนของไทย ใครเป็นคนตั้ง?

    http://blog.eduzones.com/nuihappy/3396?page2=5&page=&page3=

    <CENTER>
    [​IMG]

    เคยสงสัยหรือไม่ว่าชื่อเดือนแต่ละเดือนที่คนไทยใช้กันทั้ง 12 เดือน คือ มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน...ไปจนถึงธันวาคมนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร? ใครช่างอัจฉริยะตั้งมาได้? คำตอบได้มาว่า สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ คืออัจฉริยะผู้นั้น ​

    เริ่มต้นมาจากทรงสนใจและทรงได้ศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับปฏิทิน ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนทุกคน เพราะคนเราต้องอาศัยปฏิทินตั้งแต่ลืมตาเกิด ในการดูวัน เวลา นัดหมาย และเป็นสิ่งเตือนความจำในวันสำคัญได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญทางโลก กระทั่งวันหยุดต่างๆ

    นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจในราชการแผ่นดินที่ได้ทรงปฏิบัติจนเกิดประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างอเนกอนันต์ในเรื่องของการต่างประเทศแล้ว สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สนพระทัยเรื่องของโหราศาสตร์มาตั้งแต่แรก ​

    เมื่อเสด็จไปราชการต่างประเทศในยุโรป ปี 2430 ทรงซื้อหนังสือที่เป็นตำราโหราศาสตร์ว่าด้วยสุริยุปราคาจากกรุง เบอร์ลินมา 1 เล่ม ภายในเล่มนี้มีแผนที่ทางสุริยุปราคาอยู่เกือบเต็มทั้งเล่ม ​

    การที่ทรงสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์นี้ อาจเป็นเพราะทรงได้รับอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับโหราศาสตร์จาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระราชบิดา ความชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จึงต้องเกี่ยวพันไปกับการตรวจตรา ตรวจสอบดูปฏิทินด้วย เพราะต้องเรียนรู้การคำนวณ วัน เดือน ปี โดยตรง เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับปฏิทินโดยตรง จึงทำให้เกิดที่มาของชื่อเดือน ดังที่กล่าวมา ​

    คำว่า "ปฏิทิน" ที่เราใช้ในปัจจุบัน สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษาสันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้

    การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ"

    เมืองไทยประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แม้เราจะใช้ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน" ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้ ​

    สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน ​

    ทั้งนี้แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจนด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม" ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง"

    อีกทั้งกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน 4 ทางสุริยคติ แต่เป็นเดือน 5 ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นวันที่ 1 มกราคม 2484 จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 และทรงใช้คำว่า "ปฏิทิน" แทน "ประติทิน" มาโดยตลอด ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455

    สำหรับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้นี้ ในหนังสือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย บอกเล่าไว้อย่างละเอียด แต่ขอสรุปมาเล่าต่ออย่างคร่าวๆ คือทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 42 ในรัชกาลที่ 4 ส่วนสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา นั้นเดิมคือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม เกิดในสกุลสุจริตกุล เป็นธิดาของหลวงอาสาสำแดง และท้าวสุจริตธำรง (นาค) ซึ่งเป็นต้นราชนิกุล "สุจริตกุล" ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับสถาปนาพระอัฐิเป็น "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา" ในรัชกาลที่ 6 ​

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงมีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงษ" ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาแรกเริ่มเยี่ยงลูกหลานเจ้านายทั่วไป โดยศึกษาขั้นต้นเขียน อ่านภาษาไทยในสำนัก พระองค์เจ้าหญิงมณี และพระองค์เจ้าหญิงกฤษณา (พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 3) ทรงศึกษาภาษามคธ แล้วเข้าชั้นมัธยมศึกษาในสำนัก พระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) จนกระทั่งโสกันต์ จึงผนวชเป็นสามเณร ไปประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นภายในกรมทหารมหาดเล็ก ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งลาผนวช และเข้ารับราชการ

    สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงมีคุณูปการอย่างล้นเหลือต่อชาติบ้านเมือง ทรงบริหารราชการแผ่นดินถึง 3 รัชกาล จากรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 ด้วยพระปรีชาสามารถ สุขุมคัมภีรภาพ ทรงเป็นแบบฉบับแห่งข้าแผ่นดินผู้เทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ไว้ตลอดพระชนม์ชีพ ​

    ทรงเป็นพระบิดาแห่งการต่างประเทศของไทย ทรงดำรงหลายตำแหน่งที่สำคัญทางราชการ และทรงมีบทบาทสำคัญด้านการทูต เป็นผู้เจรจาข้อพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. 112 ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานพระนิพนธ์หนังสือหลายเล่ม ​

    เพื่อเป็นการสดุดีและถวายพระเกียรติคุณ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้บูรณะตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ ไว้เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แก่แผ่นดินและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย



    จากบทความเรื่อง "กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อเดือนของไทย" โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์

    ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10205 ​

    </CENTER>

    Posted by : P_nui_so_happy
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    http://th.wikipedia.org/wiki/รัชกาลที่_5

    (เปลี่ยนทางมาจาก รัชกาลที่ 5)
    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --><TABLE class=toccolours><TBODY><TR><TH style="BACKGROUND: gold">พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว</TH></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%; TEXT-ALIGN: center"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD></TR><TR><TD><TABLE style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; MARGIN: 0px auto; WIDTH: 22em"><TBODY><TR><TH style="BACKGROUND: gold" colSpan=3><CENTER>ข้อมูลส่วนพระองค์</CENTER></TH></TR><TR><TD vAlign=top>พระบรมนามาภิไธย</TD><TD colSpan=2>สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร</TD></TR><TR><TD vAlign=top>วันพระราชสมภพ</TD><TD colSpan=2>20 กันยายน พ.ศ. 2396
    วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>วันสวรรคต</TD><TD colSpan=2>23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
    รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระราชบิดา</TD><TD colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระราชมารดา</TD><TD colSpan=2>สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระมเหสี</TD><TD colSpan=2>สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระราชบุตร</TD><TD colSpan=2>77 พระองค์</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TH style="BACKGROUND: gold" colSpan=3>การครองราชย์</TH></TR><TR><TD vAlign=top>ราชวงศ์</TD><TD colSpan=2>ราชวงศ์จักรี</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ทรงราชย์</TD><TD colSpan=2>1 ตุลาคม พ.ศ. 2410</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พิธีบรมราชาภิเษก</TD><TD colSpan=2>ครั้งที่ 1 : 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411
    ครั้งที่ 2 : 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ระยะเวลาครองราชย์</TD><TD colSpan=2>42 ปี</TD></TR><TR><TD vAlign=top>รัชกาลก่อนหน้า</TD><TD colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TD vAlign=top>รัชกาลถัดมา</TD><TD colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TD vAlign=top>วัดประจำรัชกาล</TD><TD colSpan=2>วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. ๒๔๑๑) รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ (๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
    พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน
    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>

    [แก้] พระราชประวัติ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
    พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
    วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ <SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD_1-0>[2]</SUP>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา <SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP> โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
    "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว" <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD_1-1>[2]</SUP>
    เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
    "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา <SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP>

    [แก้] พระราชลัญจกรประจำพระองค์

    [​IMG]
    พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5


    พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง ๒ ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า ๒ ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    การสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ดังนั้น จึงเลือกใช้ พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ <SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP> <SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP>

    [แก้] พระมเหสี พระราชินี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด ๙๒ พระองค์ โดย ๓๖ พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์
    <DL><DD>ดูเพิ่ม พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในพระพุทธเจ้าหลวง </DD></DL>
    [แก้] พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [แก้] การเสียดินแดน

    [​IMG]
    ภาพการรบระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ปากน้ำเมืองสมุทรปราการ ซึ่งนำไปสู่การเสียดินแดนของไทยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก


    [​IMG]
    พระบรมราชนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ปากน้ำเมืองสมุทรปราการ



    [แก้] การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส

    • ครั้งที่ ๑ เสียเขตแดนเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก ๖ เกาะ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐
    • ครั้งที่ ๒ เสียอาณาจักรล้านช้าง (หรือหัวเมืองลาว) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ ๓๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๓๑ ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน ๓ นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ ๒ ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย ๓ ข้อ ให้ตอบใน ๔๘ ชั่วโมง เนื้อหา คือ
      • ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก
      • ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
      • ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ ๒๕ กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๓ สิงหาคม ๒๔๓๖ และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม
    • ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๔๗)
    • ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗
    • วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
    รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๖๖,๕๕๕ ตารางกิโลเมตร
    [แก้] การเสียดินแดนให้อังกฤษ

    [แก้] ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

    [​IMG]
    พระบรมฉายาลักษณ์พระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆในโลก ในยุคสมัยนั้น


    • พ.ศ. ๒๓๙๖
      • ๒๐ กันยายน พระราชสมภพ พระนามเดิม เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
    • พ.ศ. ๒๔๐๔
      • เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ
    • พ.ศ. ๒๔๐๙
      • ทรงผนวชเป็นสามเณร
    • พ.ศ. ๒๔๑๐
      • กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ
    ทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมขุนพิชิตประชานาถ
    • พ.ศ. ๒๔๑๑
      • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
      • ๑๑ พฤศจิกายน บรรดาเชื้อพระวงศ์และขุนนางอัญเชิญ กรมขุนพิชิตประชานาถ ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      • เนื่องจากยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ ที่ประชุมจึงให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนจนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖
      • สถาปนาพระองค์เจ้ายิ่งยศ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระมหาอุปราช
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พ.ศ. ๒๔๒๕
    หัวเมืองไชยบุรี - ปากลาย (ตรงข้ามหลวงพระบาง)
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [แก้] พระราชนิพนธ์

    ทรงมีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง
    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0>^ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, สำนักพิมพ์มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7 <LI id=cite_note-.E0.B8.AB.E0.B8.99.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.B7.E0.B8.AD-1>^ <SUP>2.0</SUP> <SUP>2.1</SUP> วุฒิชัย มูลศิลป์ และคณะ, พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์, อัลฟ่า มิเล็นเนียม, ISBN 974-91048-5-4 <LI id=cite_note-2>^ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หม่อมราชวงศ์, พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สำนักพิมพ์มติชน, 2549 ISBN 974-323-641-4 <LI id=cite_note-3>^ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ง, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๑๗๘๒ <LI id=cite_note-4>^ ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่าง ๆ จากเว็บไซต์ บ้านฝันดอตคอม
    2. ^ สนเทศน่ารู้ : พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    [แก้] ดูเพิ่ม


    <TABLE class=toccolours style="MARGIN: 0px auto; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=1><TBODY><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TD width="30%">รัชสมัยก่อนหน้า:
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD><TD style="TEXT-ALIGN: center" width="40%">พระมหากษัตริย์ไทย
    ราชวงศ์จักรี
    พ.ศ. 2411-2453</TD><TD width="30%">รัชสมัยถัดไป:
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ตำนานเหรียญกษาปณ์ไทย
    http://www.treasury.go.th/webprovice/ratchaburi/oon4.htm

    กรมธนารักษ์มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายรวม 3 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย
    1. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491
    2. พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501
    3. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518

    ตำนานเหรียญกษาปณ์ไทย

    ภาระหน้าที่ของกรมธนารักษ์

    ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้านั้น เป็นเงินกลมที่เรียกกันว่า
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>วิวัฒนาการเงินตราไทย
    http://www.treasury.go.th/template.php?selectedMenuIdx=6&targetURL=/treasury/evolution_text.htm
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left> ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางใน การแลกเปลี่ยนหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับชนชาติไทยสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย เรียกกันว่า เงินพดด้วง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เองเป็นเวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินเหรียญตามแบบสากลเข้ามาใช้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>เงินตราฟูนัน</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left> อาณาจักรฟูนันก่อตัวขึ้นบริเวณทางใต้ของลุ่มน้ำโขง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 และล่มสลายลง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 จากการโจมตีของพวกเจนละ อาณาจักรฟูนันได้รับอารยธรรมด้านการปกครองโดยกษัตริย์ และการนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจากอินเดีย เงินตราที่ใช้จะมีสัญลักษณ์ เกี่ยวกับกษัตริย์ การปกครอง และศาสนา โดยมีลักษณะเป็นเหรียญเงินด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ และมีเครื่องหมายสวัสดิกะซึ่งหมายถึงความโชคดี </TD><TD vAlign=top align=right width=188>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left> </TD><TD vAlign=top align=left>เงินตราทวารวดี</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=188>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=left> อาณาจักรทวารวดีเริ่มมีความสำคัญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 และล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม การปกครองยังคงอยู่ในระบบกษัตริย์ ประชาชนนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน เงินตราที่พบยังคงมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์ และศาสนา เช่น เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ อีกด้านเป็นภาษาสันสกฤตโบราณ อ่านว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ" แปลว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>เงินตราศรีวิชัย</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left> ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บน คาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นตลาดกลางของสินค้าจากทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย ทางฝั่งตะวันตก และสินค้าจากจีน ขอม ทวารวดี ทางฝั่งตะวันออก มีความสำคัญขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดดินแดนแถบนี้จนถึงเกาะสุมาตราได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรศรีวิชัย การปกครองได้ใช้ระบบพระมหากษัตริย์ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เงินตราที่ใช้ทำด้วยเงินและทองคำ มี 2 ชนิด คือ "เงินดอกจัน" ด้านหนึ่งมีลวดลายเป็นรูปสี่แฉก อีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตว่า "วร" แปลว่า "ประเสริฐ" เงินตราอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "เงินนโม" ด้านหนึ่งมีร่องเล็กๆ คล้ายเมล็ดกาแฟอีกด้านหนึ่งเป็น ภาษาสันสกฤตว่า "น" ด้วยเหตุที่ประชาชนในบริเวณนี้นับถือพุทธศาสนา จึงได้ตั้งชื่อเงินตราที่มีอักษร "น" ว่า "เงินนโม" อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงในพุทธศตวรรษที่ 18</TD><TD vAlign=top align=right width=188>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left> </TD><TD vAlign=top align=left>เงินตราสุโขทัย</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=155>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left> ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัยถือกำเนิดขึ้น ได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และกลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนนาน น่านเจ้า และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ โดยที่ ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยังใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี โดยทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากันแล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป ด้วยเหตุที่มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกว่าเงินพดด้วง ขณะที่ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า เงินลูกปืน (BULLET MONEY) เงินพดด้วงถือได้ว่าเป็นเงินที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเงินตราตระกูลใดในโลก ในสมัยสุโขทัย เงินพดด้วงมักมีตราประทับไว้มากกว่า 2 ดวง และเป็นรูปสัตว์ชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>เงินตราสมัยกรุงศรีอยุธยา</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left> ในสมัยนี้ยังคงใช้เงินพดด้วงเป็นเงินตรา แต่หลวงผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงในสมัยนี้ คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับส่วนใหญ่เป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น</TD><TD vAlign=top align=right width=188>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left> </TD><TD vAlign=top align=left>เงินตราสมัยกรุงธนบุรี</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=188>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left> ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงเก่า สันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นใช้เพียง 2 ชนิดคือ เงินพดด้วงตราตรีศูลและตราทวิวุธ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.treasury.go.th/template.php?selectedMenuIdx=6&targetURL=/treasury/evolution_text.htm

    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>เงินตราสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    ในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี มาอยู่ฝั่งตรงข้ามคือ กรุงเทพมหานคร และสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้น เงินตราที่ใช้ในยุคต้นๆ ยังคงใช้เงินพดด้วง โดยที่ตราประทับบนเงินพดด้วงคือตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล ซึ่งได้แก่
    รัชกาลที่ 1 ตราบัวอุณาโลม
    รัชกาลที่ 2 ตราครุฑ
    รัชกาลที่ 3 ตราปราสาท
    รัชกาลที่4 ตรามงกุฏ
    รัชกาลที่ 5 ตราพระเกี้ยว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 1
    เงินพดด้วงในรัชกาลนี้ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงประจำรัชกาลแล้วประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=188>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=188>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 2
    ตราที่ประทับบนเงินพดด้วย คือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าตราครุฑ มาจากพระนามเดิมของรัชกาลที่ 2 คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 3
    ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ผลิตเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ ประทับตราต่างๆ เช่น ดอกไม้ ครุฑเสี้ยว ใบมะตูม และเฉลว เป็นต้น
    ส่วนการจัดทำเงินเหรียญขึ้นใช้ตามแบบสากลนิยมนั้น มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดเกล้าฯ สั่งจัดทำตัวอย่างเหรียญทองแดงส่งเข้ามา แต่ยังไม่โปรดเกล้าฯ ให้นำออกใช้
    </TD><TD vAlign=top align=right width=188>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left> </TD><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 4</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width=188>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left> ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายมากขึ้นและได้นำเงินเหรียญของตนมาแลกกับเงินพดด้วงจากรัฐบาลไทยเพื่อนำไปซื้อสินค้าจากราษฎร แต่ด้วยเหตุที่เงินพดด้วงผลิตด้วยมือจึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ
    ในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ได้จัดส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย เป็นราชบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า "เหรียญเงินบรรณาการ" </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left colSpan=2>ในขณะเดียวกันคณะทูตก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเงินจากบริษัท เทเลอร์ เข้ามาในปลายปี 2401 พระองค์จึงโปรดเกล้าให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปณ์สิทธิการ" ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแม้ได้ประกาศให้ใช้เงินตราแบบเหรียญแล้วก็ยังโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่เพียงแต่ไม่มีการผลิตเพิ่มเติม จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่มีการนำธนบัตรออกใช้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 5</TD><TD vAlign=top align=left> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left> ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์</TD><TD vAlign=top align=right width=188>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=134>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 6
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ
    ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์, และ 1 สตางค์
    ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้เหรียญที่ผลิตในรัชกาลที่ 5 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 จึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญเงินหนึ่งบาทประจำรัชกาล เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-ไอราพต</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 7
    ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง
    </TD><TD vAlign=top align=right width=134>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 8</TD><TD vAlign=top align=left> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left> เหรียญประจำรัชกาลที่ผลิตออกใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50, 25, 10 และ 5 สตางค์ มี 2 รุ่น คือ รุ่นแรกมีพระบรมรูปเมื่อครั้นเจริญพระชนมพรรษา
    </TD><TD vAlign=top align=right width=188>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=225 height=134>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left>สมัยรัชกาลที่ 9
    เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ใช้ในรัชกาลปัจจุบัน มี 8 ชนิดราคา คือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท
    นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญ อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหน่วยงานต่าง ๆ โดยผลิตทั้งเหรียญประเภทธรรมดาและเหรียญประเภทขัดเงา</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle>;[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle>;[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=body_text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body_text vAlign=top align=right><< กลับหน้าเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <ADDRESS> </ADDRESS><ADDRESS>สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน</SPAN></ADDRESS><ADDRESS>E-mail : bnt@treasury.go.th
    </ADDRESS>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]
    http://www.wangdermpalace.com/exhibition/bencharong/index_thai.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY><TR><TD width=24></TD><TD class=Black-18-Bold-Underline width=626>บทนำ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=brown_text_normal cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=265><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=left width=385> เบญจรงค์

    เบญจรงค์ เป็นชื่อเรียกเครื่องถ้วยชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยตั้งแต่สมัย อยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ประมาณรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่สั่งทำเป็นพิเศษจาก ประเทศจีน โดยช่างไทย เป็นผู้ออกแบบให้ลาย ให้สี ตามรูปแบบของศิลปะไทย ส่งไปให้ช่างจีนผลิตใน ประเทศจีนและช่างไทย ตามไปควบคุมการผลิตด้วยจึงเป็นถ้วยชามที่มีรูปลักษณะ แบบไทย โดยเฉพาะลวดลายสีสันแสดงเอกลักษณ์ของไทยอย่างชัดเจน

    "เบญจรงค์" แปลว่า ห้าสี ชามเบญจรงค์ จึงหมายถึง ชามที่เขียนสีห้าสี แต่ที่ปรากฎใช้สอย มีสีตั้งแต่ 3 สี ขึ้นไปจนถึง 8 สี สีหลักได้แก่ แดง เหลือง ขาว ดำ เขียว หรือน้ำเงิน และสีอื่นๆ ได้แก่ ม่วง แสด น้ำตาล ฯลฯ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=193 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD vAlign=top align=left>ลายน้ำทอง

    "ลายน้ำทอง" จัดเป็นเครื่องถ้วยประเภทเดียวกับเครื่องถ้วยเบญจรงค์ แต่มีการเพิ่มสีทอง หรือแต้มสีทอง ระหว่างสีเบญจรงค์ หรือเขียนเส้นตัดสีทอง เริ่มมีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 2
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.wangdermpalace.com/exhibition/bencharong/thai_bangkok.html
    <TABLE class=normaltext cellSpacing=0 cellPadding=0 width=630 border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>สมัยรัตนโกสินทร์

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พ.ศ. 2325 - 2352

    เครื่องถ้วยในสมัยนี้ มีลวดลายหลากหลายและมีสีสันสวยงามกว่าสมัยอยุธยา ลวดลายที่พบได้แก่ลายดอกไม้ ก้านต่อดอก และพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มสีทองในการตกแต่งลวดลาย สำหรับลวดลายที่เป็นที่นิยมกันในสมัยอยุธยา ซึ่งได้แก่ เทพนม-นรสิงห์ เทพนม-ครุฑ ไม่เป็นที่นิยมในสมัยนี้


    </TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=117 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=113>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 1
    เครื่องถ้วยเบญจรงค์ลายประจำยาม

    </TD><TD><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=133 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 1
    เครื่องถ้วยลายน้ำทองลายก้านต่อดอก</TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พ.ศ. 2352 - 2367

    สมัยนี้เป็นสมัยที่เครื่องถ้วยเฟื่องฟูที่สุด ทั้งเบญจรงค์และลายน้ำทอง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรี สุริเยนทราบรมราชินี ทรงสนพระทัยในเครื่องถ้วย ได้ทรงคิดรูปแบบและลวดลายด้วยพระองค์เอง แล้วส่งไปผลิตในประเทศจีน พร้อมช่าง ศิลป์ไทย ลวดลายที่เป็นที่นิยมได้แก่ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายนกไม้ ลายก้านแย่ง ลายก้านต่อดอก และลายกุหลาบน้ำทอง สำหรับลายครุฑยุดนาค ถือเป็นลายประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


    </TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=160 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 2
    เครื่องถ้วยลายน้ำทองลายกุหลาบ</TD><TD vAlign=center>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 2
    เครื่องถ้วยเบญจรงค์ลายก้านขด
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>


    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พ.ศ. 2367 - 2394

    ในรัชกาลนี้ ยังมีการสั่งเครื่องเบญจรงค์และลายน้ำทองจากประเทศจีน เครื่องถ้วยบางชิ้น มีเครื่องหมายอยู่ที่ก้นชามทำให้ทราบว่าเป็น ของที่สั่งมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ลวดลายที่นิยมกัน ก็คล้ายๆ กับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ไม่งดงามเท่า เนื่องจาก แหล่งเตาเผาในประเทศจีนเสื่อมโทรม สำหรับสีพื้นของเครื่องถ้วยนิยมใช้เป็นสีขาว


    </TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD vAlign=top><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=107 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 3
    เครื่องถ้วยลายน้ำทองเขียนลายในช่องกระจก

    </TD><TD><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 3
    เครื่องถ้วยเบญจรงค์เขียนลายครุฑบนพื้นขาว
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พ.ศ. 2394 - 2411

    ในสมัยนี้เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง ได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากมีการนำเข้า เครื่องถ้วยและเครื่องแก้วจากประเทศทางยุโรป นอกจากนั้นยังนิยมสั่งเครื่องลายครามแบบจีน รวมทั้งเครื่องลายครามที่เขียนลายไทยจากประเทศจีนด้วย



    </TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=168 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 4
    เครื่องถ้วยลายครามลายนกไม้นำเข้าจากประเทศจีน

    </TD><TD>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=163 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 4
    เครื่องถ้วยเบญจรงค์ลายดอกไม้
    วาดลวดลายและเคลือบทับบนชามลายคราม
    ที่นำเข้าจากประเทศจีน </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=2>


    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ. 2411 - 2453

    เป็นยุคสุดท้ายของเครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง เป็นสมัยที่นิยมเครื่องถ้วยที่สั่งเข้าจากประเทศทางยุโรป จีน และญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีการสั่งชามขาวเข้ามาเขียนลายเอง โดยเผาที่เตาเผาของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ส่วนลายที่นิยมเขียนมักเป็นเรื่องราวตามวรรณคดี ไทย พระอภัยมณี มัจฉาณุ อุณรุท เป็นต้น


    </TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=165 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 5
    เครื่องถ้วยเบญจรงค์ลายเทวดา
    ผลิตในประเทศญี่ปุ่น </TD><TD><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=163 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยรัชกาลที่ 5
    เครื่องถ้วยเบญจรงค์ลายเทพนม-นรสิงห์
    ส่วนฝามีรูปกระต่าย ผลิตในประเทศจีน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปาฏิหาริย์ วาจาสิทธิ์ดั่งพระร่วง ของรัชกาลที่ 5
    <SUP>http://gotoknow.org/blog/vatin-historys/161710</SUP>

    ปาฏิหาริย์ วาจาสิทธิ์ดั่งพระร่วง ของรัชกาลที่ 5
    คุณชาลี กระเอี่ยมสินธ์ เป็นนักเขียนฉกาจฉกรรจ์คนหนึ่งของประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องป่าและเรื่องทางประวัติศาสตร์ ท่านได้เล่าเรื่องราวที่สำคัญที่คนไทยน้อยคนนักที่จะได้รู้ไว้ในงานของท่าน หนังสือที่อ่านแล้วสนุกที่สุดและคนไทยสมควรที่จะอ่านมากที่สุดเล่มหนึ่งคือหนังสือ สยามยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเกร็ดประวัติศาสตร์ในยุคนี้ไว้อย่างมากมายและไม่ซ้ำแบบใคร ลองหาอ่านกันดูครับ

    เรื่องวาจาสิทธิ์ดังพระร่วงของรัชกาลที่ 5 นี้ ผู้เขียนก็อ่านมาจากเล่มนี้ เห็นว่าแปลก และ ทึ่งในพระปรีชาญาณไปพร้อมกัน จึงขออนุญาตเล่าตามที่หนังสือเขียนไว้ดังนี้

    เรื่องนี้มาจากคุณพิศาล สุริยศักดิ์(เทอญ บุญนาค) มหาเล็กใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้เล่าว่า
    วันหนึ่ง ร.5 ทรงเสด็จตรวจการสร้างพระที่นั่งอนัตสมาคมพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้งนั้นพระองค์ทรงตรัสขึ้นมาว่า​
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระร่วงวาจาสิทธิ์ นั้นเปรียบเทียบว่า เป็นคำตรัสขององค์พระมหากษัตริย์ที่ตรัสคำไหน คือคำนั้น ในสมัยสุโขทัย พระร่วงเจ้าคือผู้ที่เป็นองค์พระมหากษัตริย์นั่นเอง
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู
    หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

    http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/...nk_biography/lp-parn-wat-bang-hea-hist-01.htm
    ข้อมูลจาก เวปพระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม กระทู้ที่ 01083 โดย คุณ : คนรู้น้อย 17-05-2003
    เนื้อความ :
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 426.1pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568>วันนี้กระผมขอนำเรื่องเกี่ยวกับ พระผู้ทรงอภิญญา(จากเค้าโครงเรื่องของนักเขียนหลายท่าน เช่นคุณสุรสีห์ ภูไท ฯลฯ) และเรื่องจากประสบการณ์จริงของนายตำรวจมือปราบผู้หนึ่ง คือท่าน พ.ต.ท.อรรณพ กอวัฒนา (ยศเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕) มาเรียนเสนอ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง คือเรื่องต่างๆ ก็มักจะมีธรรมะแทรกอยู่ เพราะตัวละครแต่ละท่านนั้น ก็ย่อมมีการทำความดี และความชั่ว ก็ขอให้ท่านพิจารณาตามไปด้วยว่า ท่านนั้นๆ ทำความดีด้วยคุณธรรมอะไร หรือทำความชั่วด้วยกิเลสข้อใดบ้าง และเหตุการณ์ต่างๆ นั้นมีความเป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างไรบ้าง เรียนเชิญติดตามได้แล้วครับ ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมืองสมุทรปราการ เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่ง มีวัดพุทธศาสนาอยู่ ๑๐๐ กว่าวัด มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายสำนัก เท่าที่ผ่านมา พระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม แก่กล้าด้วยพระเวทย์ ในย่านบางบ่อเห็นจะไม่มีใครเกิน หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปได้ (ความจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...