พระดี พิธีใหญ่ รับประกันแท้ทุกรายการ!!! เชิญชม บูชา ในกระทู้ได้เลยครับ"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย HMMAmulet626, 4 กุมภาพันธ์ 2022.

  1. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1301. พระผงครึ่งองค์(ฝังจีวร)มหาลาโภ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สร้างปี2517 ปิดรายการครับ


    upload_2023-1-10_17-23-31.png

    -วัดมัชฌันติการาม(วัดน้อย) ได้ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อหาปัจจัยก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล โดยหลวงปู่ได้ปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตินิกายและเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นสาขาหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร
    -กล่องชุดกรรมการจัดสร้างไม่เกิน 100 ชุด ชุดละ 6 องค์มีดังนี้

    1.พระปิดตามหาลาโภเนื้อเงิน
    2.พระปิดตามหาลาโภเนื้อนวโลหะ
    3.พระเนื้อผงรูปเหมือนครึ่งองค์
    4.เหรียญมหาลาโภเนื้อเงิน
    5.เหรียญมหาลาโภเนื้อนวโลหะ
    6.เหรียญมหาลาโภเนื้อทองแดง

    ประวัติวัดมัชฌันติการาม(วัดน้อย)

    วัดมัชฌันติการาม เป็นวัดราษฎร์ เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายหน้าวัดติดกับคลองบางเขนใหม่โดยมีซอยวงศ์สว่าง 11 ผ่านเขตแยกวัดกับโรงเรียนวัดมัชฌันติการามอยู่คนละฝั่งซอย เลขที่วัด 102 วัดมัชฌันติการาม ถนนวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

    เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ได้ให้การอุปถัมภ์ในการสร้างวัด เริ่มต้นนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ในปีพุทธศักราช 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ทรงอุปถัมภ์ต่อการสร้างวัด

    การตั้งชื่อวัดนั้นก็เนื่องมาจาก เจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้อุปถัมภ์ ในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มัชฌันติการาม” ตามชื่อของผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด คือ มัชฌันติก และอารามซึ่งแปลมาตัวว่า เที่ยง และ วัด เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า “วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง” คนส่วนมากชอบเรียกว่า วัดน้อย เพราะง่ายต่อการออกเสียงกว่าคำว่าวัดมัชฌันติการาม

    สันนิษฐานว่าการเรียกวัดน้อยนี้ เพราะเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งให้การอุปถัมภ์ ชาวบ้านทั่วไปถือว่า เป็นนางสนม เพื่อให้เข้าใจง่ายคู่กับวัดหลวง ซึ่งเป็นวัดของภรรยาหลวงให้การอุปถัมภ์เช่นเดียวกัน (อยู่ในซอยถัดไป ปัจจุบันวัดหลวงไม่มี เหลือแต่ที่ดินของวัด ซึ่งสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้ดูแลอยู่)

    เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกในสมัยก่อน จึงมีพระอยู่จำพรรษาไม่กี่รูปต้องไปนิมนต์พระจากวัดอื่นมาอยู่จำพรรษาเช่น วัดราชาธิวาส วัดปทุมวนาราม วัดราชบพิธ และวัดบวรนิเวศวิหาร จนต่อมามีการตัดถนนวงศ์สว่างผ่านด้านหลังวัด ทางวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา มีลุงแม้น-ป้าทองใบ ใบสนและราษฎรผู้มีจิตศรัทธา ช่วยกันบริจาคที่ดินตัดถนนเข้าวัดในสมัยพระครูวิจิตรธรรมสาร (อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 7)

    หลังจากนั้นทางวัดได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลีขึ้น โดยเป็นสาขาของวัดบวรนิเวศวิหาร จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรมและบาลีเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ตลอดมา

    รายละเอียดจำนวนการจัดสร้างในพิธีชุดมหาลาโภมีดังนี้ :
    เหรียญรุ่นมหาลาโภ
    -เนื้อเงิน จำนวนไม่เกิน 100 เหรียญ
    -เนื้อนวโลหะ จำนวน 300 เหรียญ
    -เนื้อทองแดง จำนวน 10000 เหรียญ
    พระปิดมหาลาโภ
    -เนื้อเงิน จำนวนไม่เกิน 100 องค์
    -เนื้อนวโลหะ จำนวน 2000 องค์
    พระเนื้อผง
    -พระปิดตามหาลาโภ จำนวน 1000 องค์
    -พระเนื้อผงรูปเหมือนครึ่งองค์ 1000 องค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2023
  2. thitiwatyu

    thitiwatyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2010
    โพสต์:
    389
    ค่าพลัง:
    +353
    จองครับ วันศุกร์โอนนะครับ
    1301. พระผงครึ่งองค์(ฝังจีวร)มหาลาโภ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สร้างปี2517 ให้บูชา 750 บาท
     
  3. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    รับทราบการจองครับ ขอบคุณมากครับ
     
  4. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1302. สุดยอดพระดี พิธีใหญ่ พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน เนื้อผงผสมผงตะไบ หลังโค้ดตราวัด สระแก้วปทุมทอง “ต้นตำรับสูตรมหาจักรพรรดิ์ชนิดดินผสมผง” สร้างปี 2500 ปิดรายการครับ

    upload_2023-1-11_12-24-36.png



    สมญานานต้นตำรับแห่งพระผงมหาจักรพรรดิ์เมืองสองแควทั้งปวง
    สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ มหาพุทธาภิเษก ๓ พิธีใหญ่

    พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน และ พระผงมหาจักรพรรดิ์ (จอมราชัน) พระครูศีลสารสัมบัน

    1. พระพิมพ์พุทธชินราชพิมพ์อินโดจีน เนื้อผงผสมผงตะไบ หลังโค้ดตราวัด สร้างไว้ ๒๐๐ องค์ สมญานามว่า“ต้นตำรับสูตรมหาจักรพรรดิ์ชนิดดินผสมผง”
    ประวัติพระพิมพ์ พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน
    พระพิมพ์ พระพุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน หลังตราวัด
    จำนวนการสร้าง ๒๐๐ องค์
    เนื้อผง ดินกรุพิษณุโลก ทุกกรุทั่วเมืองพิษณุโลกผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ วัดทั่วประเทศไทย
    ผสมผงตะไบวัดผงตะไบเนื้อเงิน นวโลหะ และทองคำพระกริ่ง (พระพุทธชินราชอินโดจีน) สูตรสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
    เอกลักษณ์พิเศษ มีลายนิ้วมือของท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน)ปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ทุกองค์

    2. รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบันรุ่นแรกพิมพ์ไข่ไก่ เนื้อผงบางขุนพรหม ผสมเกศา สร้างไว้ชนิดละ ๑๐๐ องค์ โดยมี ๒ ชนิด ได้แก่ ลงรักปิดทองและไม่ปิดทอง สมญานามว่า“ต้นตำรับสูตรมหาจักรพรรดิ์ชนิดผง” จำนวนสร้างไว้น้อยมาก เนื่องจากมวลสารมีจำกัด
    เนื้อผง ผงมวลสารสมเด็จวัดบางขุนพรหมกรุใหม่ พ.ศ.๒๔๑๑ – ๒๔๑๓, ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ วัดทั่วประเทศไทย,ผสมเกศาท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน)
    จำนวนการสร้าง เนื้อปิดทอง ๑๐๐ องค์
    มวลสาร ได้รับพระสมเด็จหักจากพระครูอมรคณาจารย์(เส็ง) อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส พระครูบริหารคุณาวัตร รองเจ้าอาวาสเป็นผู้ถวาย
    เอกลักษณ์พิเศษ มีลายนิ้วมือของท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) ปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ทุกองค์

    พิธีพุทธาภิเษก ๓ พิธีใหญ่
    ๑. พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ พ.ศ.๒๕๐๖ พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ๓ วัน ๓ คืน
    เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ และในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ เวลา ๕ โมงเย็น
    พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป ร่วมมหาพุทธาภิเษก ซึ่งประกอบไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่เรืองเวทย์ด้านคาถาอาคมมาร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ เช่น พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม., หลวงปู่นาค วัดระฆัง กทม., หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นต้น

    ๒. พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ไตรภาคี ๓ วาระ) พ.ศ.๒๕๑๕

    วาระที่ ๑ วันพุธ ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕
    พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ ศาลาโรงพุทธาภิเษก วัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก มีพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ๑๙ รูป ตลอดคืน เช่น พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก, พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไซ่) วัดจูงนาง พิษณุโลก, พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก, พระอาจารย์นวล วัดนิมิตรธรรมาราม พิษณุโลก, พระครูอภัยจริยาภิรมณ์ วัดใหม่อภัยยาราม พิษณุโลก, พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว พิษณุโลก, พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา พิษณุโลก, พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ พิษณุโลก, หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ พิษณุโลก, พระครูศีลสารสัมบัน วัดสระแก้วปทุมทอง พิษณุโลก, พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนี) วัดอรัญญิก พิษณุโลก, หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ พิษณุโลก, พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ พิษณุโลก, พระอาจารย์โต วัดสมอแข พิษณุโลก, พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน พิษณุโลก, พระครูวิจารย์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทองวราราม พิษณุโลก, พระครูนิยมสีลาจารย์ (เฮียง) วัดท่ามะปราง พิษณุโลก เป็นต้น

    วาระที่ ๒ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕
    พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้น ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก พระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ๑๐๙ รูป เช่น พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยาหอม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, พระอาจารย์วิริยัง วัดธรรมมงคล, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม, หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงส์, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต เป็นต้น

    วาระที่ ๓ พิเศษ
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) วัดพระเชตุพนฯ กทม., หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงพ่อเกษม เขมโก, หลวงพ่อนาค วัดทัศนารุณสุทธิการาม กรุงเทพฯ, พระอาจารย์วิริยัง สิรินโท วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ, พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงส์ ธนบุรี, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา ธนบุรี, หลวงพ่อโด่ วัดนาตูม จ.ชลบุรี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงพ่อหอม วัดซากหมากป่าเรไร จ.ระยอง, พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์, พ่อท่านเย็น วัดโคกสท้าน จ.นครศรีธรรมราช, พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด วัดพัฒนาราม จ.นครศรีธรรมราช, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, หลวงพ่อสง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เป็นต้น

    ๓. พิธีพุทธาภิเษก ครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ พ.ศ.๒๕๑๕

    วันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕ อันเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการมรณภาพของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นตามขนบประเพณี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์
    ในพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก คณาจารย์ร่วมพิธินั่งปรกพุทธาภิเษก วาระแรก ๑๐ รูป เช่น พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระโพธิวารคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ, พระพุทธมนตวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ราชวราราม, พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ, พระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, พระครูโสภณกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ, พระครูกัลยาณานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ, พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลาง พระนครศรีอยุธยา, พระครูสุตาธิกา (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร, พระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี เป็นต้น

    วันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕
    พระคณาจารย์ร่วมบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๑๐๘ รูป เช่น
    พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม, พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม, พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร, พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี, พระครูสาทรพัฒนากิจ (ลมูล) วัดเสด็จ, พระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร, พระครูสุวิชงนวรวุฒิ (ปี้) วัดลานหอย, พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทอง, พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง, พระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋) วัดสามง่าม, พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ, พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (ลำยอง) วัดสุนทรประดิษฐ์, พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี, พระครูพิลาสธรรมกิตติ์ (ทวี) วัดโรงช้าง จ.พิจิตร, พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส, พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ, พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, พระอาจารย์กี๋ วัดหูช้าง, พระอาจารย์จันทร์ วัดนามะตูม, พระอาจารย์แสน วัดท่าแทน, พระอาจารย์คง วัดสันพระรส, พระอาจารย์สวน วัดบางกระดาน, พระอาจารย์จำรัสวัดเมืองกาย, พระอาจารย์เกลี้ยง วัดเขาใหญ่, พระอาจารย์โสภาโสภิกขุ วัดเทพนฤมิตคีรีขันธ์, พระอาจารย์ลมูล วัดพุทธวงศา, พระอาจารย์ชาย วัดสังข์ทอง เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2023
  5. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    พระดีที่น่าบูชา พระพิมพ์เข่าบ่วง กรุเรือบรื๋อ...หลวงปู่เอี่ยม วัดสพานสูง หลังสองกา

    upload_2023-1-11_12-34-16.png

    upload_2023-1-11_12-38-20.png

    พระกรุเรือบรื๋อ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี แตกกรุออกมาเมื่อปี 2534 มีทั้งพิมพ์ปิดตานิยมของท่านคือ พิมพ์ชะลูดและพิมพ์ตะพาบ และพระเนื้อผงร่วมกรุอย่างน้อย 7 พิมพ์ เนื้อพระจะเป็นเนื้อปูนเปลือกหอยบดผสมผงพุทธคุณ ออกมาจากกรุบางองค์มีคราบบางๆ บางองค์ก็หนา แล้วแต่พื้นที่ๆพระอยู่ และพระมีความแห้งสูงมาก มีทั้งเนื้อขาวและเนื้อดำพุทธคุณไม่แตกต่างจากพระปิดตา วัดสะพานสูง สำหรับพระกรุนี้เนื้อหาความแห้ง ความคมชัดของตราดอกพิกุลล้อมด้วยตัวอักขระขอมเช่นตัวนะ ซึ่งจะมีมิติความลึกได้ไม่เท่ากัน ความสมบูรณ์ของพิมพ์ทรงเป็นจุดบ่งบอกความแท้ได้เป็นอย่างดี สำหรับ ตราดอกพิกุล บางองค์ก็มี บางองค์ก็ไม่มี พระเนื้อผง หลวงปู่เอี่ยม กรุวัดสะพานสูง เป็นพระเนื้อผงที่ถูกบรรจุกรุเจดีย์ใหญ่ที่สร้างโดยหลวงปู่เอี่ยม แต่สร้างเจดีย์ยังไม่ทันเสร็จ หลวงปู่เอี่ยมก็มรณภาพเสียก่อนเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2430 หลวงปู่กลิ่นซึ่งเป็นศิษย์จึงสร้างต่อแล้วบรรจุพระชุดนี้เข้าไปในเจดีย์ พระชุดนี้หลวงปู่เอี่ยมสร้างรอไว้เพื่อบรรจุกับเจดีย์หรือ หลวงปู่กลิ่นสร้างเพื่อบรรจุเจดีย์ เมื่อเจดีย์เสร็จในสมัยท่าน ในปี 2439 พระชุดนี้ถูกบรรจุโดยหลวงปู่กลิ่น ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่กลิ่นท่านอายุพียง 31ปี พระชุดนี้เสกแล้วโดยหลวงปู่เอี่ยมแน่นอน ผงวิเศษที่ผสมก็น่าจะเป็นผงโสฬสมงคลเช่นเดียวกับที่สร้างพระปิดตาท่าน เมื่อพระแตกออกมาประมาณปี 2534 พระส่วนมาก จะ เนื้อหาและคราบคล้ายกับกรุบางขุนพรหม และกรุวัดเงินคลองเตย พระก็ถูกจำกัดวงแคบอยู่นาน จนปัจจุบันเริ่มแพร่หลาย พุทธคุณเรื่อง เมตตามหานิยม สามารถใช้แทนตะกรุดโสฬสมงคลหรือปิดตาวัดสะพานสูงของหลวงปู่ได้เลยครับเพราะหลวงปู่เป็นผู้ประสิทธิให้เช่นกัน
     
  6. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1303. พระเม็ดน้อยหน่า วัดพระยาญาติ จ.สมุทรสงคราม ปี ๒๕๒๖ ให้บูชาแพ๊คคู่ 650 บาท




    upload_2023-1-11_16-46-33.png

    upload_2023-1-11_16-46-41.png


    upload_2023-1-11_16-45-54.png

    พระเม็ดน้อยหน่า วัดพระยาญาติ
    จ.สมุทรสงคราม ปี ๒๕๒๖
    หลวงพ่อเนื่อง
    หลวงปู่โต๊ะ
    หลวงพ่อเก๋ ฯ
    ร่วมปลุกเสก
    พระดีพิธีใหญ่มวลสารดี น่าบูชา
     
  7. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
  8. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    ###CLOSE
     
  9. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1304. เหรียญวิเศษเรืองปัญญา วัดดอนยานนาวา พิธี เสาร์ ปี 2516 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สวยมาก ให้บูชา 750 บาท


    upload_2023-1-12_9-35-9.png




    วัตถุมงคล วัดดอนยานนาวา พ.ศ. 2516
    ปี 2516 มีฤกษ์ดี คือ ฤกษ์เสาร์ 5 ที่คนโบราณเชื่อกันว่าแข็งที่สุด ในปีนี้เอง ทางวัดดอนได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น
    พระกริ่งฟ้าผ่า รุ่น 2
    เหรียญหลวงพ่อกึ๋น
    สมเด็จโคดมบรมสกลธวัชชัย
    ประเภทพระบูชา
    ประเภทพระกริ่ง
    ประเภทพระเนื้อผง
    เหรียญวิเศษเรืองปัญญา ประกอบด้วย
    เนื้อทองคำ
    เนื้อเงิน
    เนื้อทองแดง รมดำ กะหลั่ยทอง กะหลั่ยเงิน
    กะหลั่ยทองลงยา
    ครั้งนี้ยังได้นำ พระเนื้อผงของหลวงพ่อกึ๋น วัดดอน ซึ่งสร้างเมื่อปี 2489 ที่ตกค้างร่วมพิธีด้วย

    พิธีพุทธาภิเษกยาวนาน 5 วัน 5 คืน ตั้งแต่ 7 เมษายน จนไปถึง 11 เมษายน 2516 โดยมีพิธีกรรมแบบเดียวกับเหรียญจักรเพชรวัดดอน คือ พิธีพราหมณ์ และ พุทธ ฝ่ายพุทธมีเกจิดังๆในสมัยนั้นอย่างคับคั่ง เช่น
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานในพิธี
    พระอาจารย์ท่านพ่อเจ้าคุณมงคลสภิต แห่งกรุงไพลิน พระตะบอง
    พระอาจารย์สุดจินดา แห่งนครเชียงตุง
    พระอาจารย์ศิริรัตนภรณ์ แห่งวัดนารานุสรณ์ ฝั่งแม่น้ำเมียวดี
    พระอาจารย์สว่าง ผู้ทรงอาคมแห่งจังหวัดสุรินทร์
    พระอาจารย์นิสัยจริยคุณ แห่งวัดจันเสน
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
    หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
    หลวงพ่อรอด วัดประดู่พัฒนาราม
    หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก
    หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
    พระญาณโพธิ วัดสุทัศน์เทพวนาราม
    พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
    พระมหาอำนาวย วัดสุทัศน์เทพวราราม
    พระมงคลทิพย์มุนี วัดพระเชตุพน
    พระปรมาจารย์ ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส
    พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม
    พระครูโสภณกัลยาวัตร วัดกัลยาณมิตร
    หลวงพ่อฉาย วัดศรีสาคร
    หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน
    พระอาจารย์แสน วัดท่าแหน
    พระครูพรหมจักรสุนทร วัดธรรมจักร
    หลวงพ่อมิ วัดสิงห์
    หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    หลวงพ่อพรม วัดหนองคุณที
    พระครูสาทรพัฒนกิจ วัดเสด็จ
    หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
    หลวงพ่อไฝ วัดพันอ้น
    หลวงพ่อมุม วัดประสาทเยอรเหนือ
    หลวงพ่อชื่น วัดญาณเสน
    หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์
    พระอาจารย์ใหญ่ วัดคูหาสวรรค์
    พระใบฏีกาคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
    พ่อครูวิมลคุณาทร วัดประสาทนิกร
    พระราชญาณเวที วัดขันเงิน
    พระครูภาวนาวิสุทธิ์ วัดอัมพวัน
    หลวงพ่อดำ วัดตุยง
    หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง
    หลวงพ่อสาลี่ วัดสองพี่น้อง
    หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
    หลวงพ่อนคร วัดเขาอิติ สุคโต
    หลวงเกษ วัดเกาะหลัก
    หลวงพ่อผาง วัดคงคาคีรีเขต
    หลวงพ่อธีร์ จ.ขอนแก่น
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    พระมหาโฮง วัดปทุมวนาราม
    พระอาจารย์สมพล วัดปทุมคงคา ฯลฯ
    ี่รายนามพระคณาจารย์ ผู้ทรงวิทยามนต์เขตใต้ กรุงเทพมหานคร นั่งปรกปลุกเสก งานมหาพิธีพุทธาภิเษก
    พระครูพิพัฒนวรคุณ วัดพระยาไกร
    พระครูสิริธรรมสุธี วัดไผ่เงินโชตนาราม
    เจ้าอธิการจ้อย วัดด่าน ยานนาวา
    พระอาจารย์ถวิล วัดลาดบัวขาว
    หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
    วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2516 พระพิธีกรรม 4 รูป วัดสุทัศน์เทพวนาราม
    สวดพุทธาภิเษก พระพิธีกรรม 4 รูป วัดสุทัศน์ฯ วัดมหาธาตุ
    สวดทิพยมนต์ พระพิธีกรรม 4 รูป วัดราชนัดดา วัดจักรวรรดิราชาวาส
    สวดจักพรรดิราชา พระพิธี 4 รูป วัดสุทัศน์เทพวนาราม
    สวดพุทธาภิเษก ตั้งแต่วันที่ 9 - 11 เมษายน 2516 พระพิธีกรรม วันละ 4 รุป วัดชนะสงคราม
    สวดทิพยมนต์ สวดจักรพรรดิราชา
     
  10. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1305.ยอดพระเกจิเจ้าตำหรับ เหรียญแทงคอหมู(ไม่เข้า) พระปิดตาหลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ(วัดแปดอาร์) อ.หนองแค จ.สระบุรี ให้บูชา 650 บาท อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ถวายผงปถมังเพื่อเป็นมวลสารหลักและเป็นเจ้าพิธีด้วย


    upload_2023-1-12_9-39-16.png

    เครดิตจากเพจ วิถีไสยศาสตร์ชาติไทย.

    เรื่อง : หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
    ตอน : ทำเป็นล้อเล่นกับท่านไม่ได้
    เรื่อง : เอกลักษณ์ เพริศพริ้ง เพจวิถีไสยศาสตร์ชาติไทย
    เมื่อวันที่๑๔ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ "รายการบันทึกลึกลับ ช่อง๕" ได้มาถ่ายทำประวัติของหลวงพ่อผัน ที่วัดราษฎร์เจริญ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โดยมี"ผู้เขียน"กับ"คุณกาญจนา รอดพงษ์"(ครูตุ๋ย)เป็นผู้ประสานงาน
    ใกล้ถึงเวลานัดหมาย ผู้เขียนโทรศัพท์หาทีมงานเพื่อบอกเส้นทาง เนื่องจากเกรงว่าจะมากันไม่ถูก ทีมงานว่า"กำลังกินข้าวกันอยู่ อยู่ไม่ไกล ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะคนขับรถ(ทีมงานเรียก “ป๋า”) หลวงพ่อผันเป็นอุปัชฌาย์บวชให้"...
    เวลา๐๙.๐๐น. ทีมงานเดินทางมาถึง โดยจอดรถไว้หน้ากุฏิหลวงพ่อผัน ผู้เขียนกับครูตุ๋ยพาทีมงานรายการทุกคน จุดธูปบอกกล่าวหลวงพ่อที่หน้าโลงแก้ว(หลวงพ่อผันมรณภาพแล้วร่างไม่เน่าเปื่อย กลายเป็นหินสีขาว ทำพิธีนำสรีระสังขารบรรจุในโลงแก้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่๒๘พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙) โดยผู้เขียนนำจุดธูปบอกถึงวัตถุประสงค์ของการมาในครั้งนี้ จากนั้นก็เริ่มสัมภาษณ์ถ่ายทำรายการ...
    อนึ่ง วัดราษฎร์เจริญสร้างอาคารเป็นรูปตัวแอลขนานกับถนนหน้าวัด เมื่อลอดซุ้มประตูเข้าไปจะเป็นถนนคอนกรีตยาว๕๐-๖๐เมตร สุดทางเป็นสามแยก หากเลี้ยวซ้ายวิ่งตามถนนจะผ่านศาลา ผ่านเมรุ สุดทางจะเป็นโรงเรียนวัดราษฎร์เจริญ หากเลี้ยวขวาจะผ่านศาลาหอกลอง หอระฆัง สุดถนนเป็นกุฏิหลวงพ่อผัน จากทางเข้าถึงอาคารที่ว่าเป็นลานโล่ง โดยทุกเย็นจะมีตลาดนัดบริเวณดังกล่าวนี้ ตั้งกันเต็มไปหมด...
    เวลา๑๔.๐๐น. เริ่มมีพ่อค้าแม่ค้าทยอยกันมาจับจองพื้นที่ "ป๋า"เห็นว่าหากจอดรถไว้ที่เดิม ตอนกลับจะขับออกไม่ได้ แกจึงขยับรถมาจอดใกล้กับศาลาซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิมไปประมาณ๗๐เมตร พอได้ที่จอดใหม่ ป๋าก็เสียบกุญแจเปิดสวิตซ์ค้างไว้เพื่อเปิดวิทยุ แล้วนอนรออยู่บนรถ...
    เวลา๑๕.๓๐น.ถ่ายทำรายการเสร็จ ผู้เขียนจึงชวนทีมงานทุกคนให้มากราบลาหลวงพ่อ น้องทีมงานคนหนึ่งเดินไปตามป๋า ป๋าไม่มาบอกไหว้หลวงพ่อไปแล้วตอนเช้า จะขอรออยู่ที่รถ พอพวกเราลาหลวงพ่อเสร็จ ต่างก็พากันแยกย้ายโดยผู้เขียนขับรถกลับเข้ากรุงเทพทันที ส่วนทีมงานขอเดินเล่นตลาดนัดกันก่อน...
    เวลา๑๖.๐๐น. พอทีมงานขึ้นรถหมดแล้ว ป๋าก็บิดกุญแจสตาร์ทเครื่อง ปรากฏว่า"กุญแจติดบิดสตาร์ทไม่ได้" ป๋าพยายามบิดกุญแจก็ทำไม่ได้สักที แกลองถอดลูกกุญแจออกแล้วเสียบกลับเข้าไปแล้วบิดใหม่ตั้งหลายหนก็ยังสตาร์ทไม่ได้ จนทีมงานต้องพากันลงจากรถ
    อนึ่ง กุญแจเสียบเข้าดึงออกได้ เปิดสวิตซ์ได้แต่บิดสตาร์ทไม่ได้
    พ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านที่ทราบว่ามีถ่ายทำรายการ(รู้ว่ารถคันนี้เป็นรถกองถ่าย) ต่างเดินมาดู บางคนพูดว่า “มาถ่ายแล้วไม่บอกหลวงพ่อหรือเปล่า ถึงสตาร์ทรถไม่ได้” บ้างก็ว่า “หลวงพ่อเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ป๋า แต่ป๋ากลับไม่ยอมไปลาหลวงพ่อ ท่านจึงไม่ให้กลับ”
    ชาวบ้านแนะให้ป๋าเดินไปลาหลวงพ่อจะได้สิ้นเรื่องสิ้นราวและสิ้นสงสัย แต่ป๋าไม่เชื่อแกไม่ยอมฟังใครทั้งสิ้น แกว่า"เป็นที่รถ ไม่ได้เป็นที่หลวงพ่อ" พูดไปนั่น!!! ระหว่างนั้นแกก็ลองพยายามจะบิดกุญแจสตาร์ทรถอีกหลายครั้ง ก็ยังเป็นอีรอบเดิม คือสตาร์ทไม่ได้
    ระหว่างนั้นทางทีมงานให้คนไปตามช่างมาซ่อม พอช่างมาถึงก็ซ่อมนั่นทำนี่ ใช้เวลาเกือบๆ๓๐นาที สุดท้ายก็ซ่อมไม่ได้ ถึงตอนนี้มีคนมามุงดูอยู่เต็มไปหมด มุ่งอย่างเดียวไม่พอ ยังมีคำพูดหลุดออกมาให้ได้ยินเป็นระยะๆ...
    เวลา๑๗.๓๐น. ซึ่งนับจากเริ่มบิดกุญแจสตาร์ทรถถึงตอนนี้ ก็ชั่วโมงครึ่งเข้าไปแล้ว ทีมงานรายการเริ่มวิตกกังวล ส่วนตัวป๋าเอง ไม่กล้าเดินไปลาหลวงพ่อเพราะกลัวเสียฟอร์ม แกได้ถอดลูกกุญแจออกแล้วเหมารถจักรยานยนต์ไปอำเภอหนองแคเพื่อทำกุญแจดอกใหม่
    เวลา๑๘.๓๐น. ป๋าได้กุญแจดอกใหม่กลับมา พอแกมาถึงแกก็เสียบแล้วบิดสตาร์ททันที และก็ในทันทีอีกเช่นกันที่บิดสตาร์ทไม่ได้ ทีมงานจากวิตกกังวลกลายเป็นกลัว บอกป๋าให้ไปลาหลวงพ่อเถอะ ป๋าทิฐิเยอะบอกคำเดิมว่า"เป็นที่รถ ไม่ได้เป็นที่หลวงพ่อ" แม้ทีมงานจะพูดโน้มน้าวป๋าอย่างไรก็ไม่เป็นผล...
    ระหว่างนี้ครูตุ๋ยโทรศัพท์แจ้งผู้เขียนถึงเรื่องที่เกิดขึ้น(ผู้เขียนอยู่บ้านที่กรุงเทพ) ผู้เขียนบอกครูตุ๋ยไปว่าให้หาอาหารและที่พักให้ทีมงานด้วย ขณะนั้นผู้เขียนรู้สึกผิดที่ดูแลทีมงานรายการไม่ดีเนื่องจากเป็นคนไปเชิญเขามาถ่ายทำ...
    เวลา๑๙.๐๐น. ทีมงานตัดสินใจโทรศัพท์กลับบริษัทที่กรุงเทพ บอกว่ารถตู้เสียขับกลับไม่ได้ แจ้งให้เอารถตู้อีกคันขับมารับ และให้พาช่างบริษัทที่ดูแลรถคันนี้มาด้วย
    เวลา๒๐.๓๕น. รถตู้บริษัทอีกคันมาถึง ช่างที่มาด้วยรีบทำการแก้ไข แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ช่างว่า “รถคันนี้ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน” ช่างว่าหมดปัญญาซ่อม บอกให้เอารถตู้คันที่ขับมา ลากรถตู้คันนี้กลับไป...
    ...ตัดกลับมาที่บ้านของผู้เขียน
    เวลา๒๐.๕๐น. ผู้เขียนตัดสินใจจุดธูป๙ดอก แล้วเดินไปยืนกลางแจ้งหันหน้าไปทางทิศที่ตั้งของวัดราษฎร์เจริญ ผู้เขียนพนมมือบอกหลวงพ่อปากเปล่ากล่าวกับท่านว่า เจตนาที่มาถ่ายทำวันนี้เป็นเจตนาดี เสร็จแล้วกล่าวขอขมาลาโทษแทนทุกคน หากได้ล่วงเกิน และหรือทำสิ่งไม่เหมาะสมใดๆลงไป จากนั้นก็กลั้นใจปักธูปลง
    ไม่ถึง๕นาที ครูตุ๋ยโทรศัพท์กลับมาบอกว่า "รถสตาร์ทได้แล้ว" ผู้เขียนแปลกใจถามว่า"รถติดเครื่องได้อย่างไร" ครูตุ๋ยว่า"มีชาวบ้านแถวนั้นคนหนึ่ง มาขอลองสตาร์ทดู ก็ปรากฎว่าบิดกุญแจชึ่งเดียวติด รถติดเครื่องได้หน้าตาเฉย พอรถติดเครื่องยนต์ได้แล้ว ทีมงานได้พากันเดินไปกราบลาหลวงพ่อผันอีกครั้งหนึ่ง...
    ทีมงานรายการบันทึกลึกลับและชาวบ้านที่ยังเหลืออยู่ ทราบเรื่องที่ครูตุ๋ยโทรบอกผู้เขียนตั้งแต่ต้น และทราบด้วยว่าผู้เขียนเป็นผู้จุดธูปขอขมาลาโทษหลวงพ่อผันแทนทุกคน หลายคนเชื่อว่าด้วยเหตุนี้นี่เองที่ทำให้สตาร์ทรถได้ แต่ผู้เขียนว่าเป็นเรื่องบังเอิญ...
    ถึงตอนนี้ป๋าเชื่ออย่างสนิทแล้วว่า"เรื่องลี้ลับนั้นมีอยู่จริง" ทั้งยังรู้อีกว่า"หลวงพ่อผันท่านเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ทำเป็นล้อเล่นกับท่านไม่ได้" แกจึงเดินคอตกตามทีมงานไปกราบลาหลวงพ่อ เสร็จก็พากันขึ้นรถ โดยตัวป๋าเองคงแหยงไม่กล้าขับรถกลับ แกได้ขอให้ช่างช่วยขับกลับให้ สรุปว่ากว่าจะออกจากวัดกันได้ ก็ปาไป๒๑.๐๐น. โดยมีพยานรู้เห็นตอนสตาร์ทไม่ติดนับร้อยคน ตอนสตาร์ทติดนับสิบคน เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล.
     
  11. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1306.พระดีประสบการณ์สูงครับ ๑ ในตำนาน ประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ ดวงเศรษฐีเมืองกำแพงแสน พระผงรูปเหมือน รุ่นแรก พิมพ์เม็ดกระดุม หลวงปู่แผ้ว ปิดรายการครับ



    upload_2023-1-12_20-32-12.png

    upload_2023-1-12_20-34-31.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2023
  12. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1307. พระปิดตา รุ่นแรก รวยทรัพย์ ปี 2539 แช่น้ำมนต์ หลวงพ่อรวย วัดตะโก ปิดรายการครับ


    upload_2023-1-13_11-47-36.png

    upload_2023-1-13_11-40-44.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2023
  13. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1308. พระดีพิธีใหญ่ เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เนื้อทองฝาบาตร บล็อคที่ 1 สร้าง 227 เหรียญ หายากครับ
    ปิดรายการครับ


    upload_2023-1-13_15-35-39.png


    รุ่นภูริทัตโตอนุสรณ์ หรือ "เหรียญลายมือลายเซ็น" ขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ "พุทธวงศ์" ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งนับเป็น รุ่นแรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้อัญเชิญ "ลายเซ็น" และ"ลายมือ" บันทึกธรรม ตลอดจน"อักขระยันต์หัวใจยูงทอง" แท้ๆ ที่หลวงปู่มั่น ได้เขียนไว้ด้วยองค์ท่านเอง มาบรรจุไว้ในเหรียญ"ภูริทัตโตอนุสรณ์" อย่างสมบูรณ์แบบและสวยงามที่สุด อย่างที่ไม่อาจจะหาเหรียญหลวงปู่มั่น รุ่นใดๆ มาเสมอเหมือนได้
    ด้านหน้า จะแกะเป็นรูปหลวงปู่มั่น ครึ่งองค์ แวดล้อมด้วยอักขระยันต์ "นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุติยา" พร้อมด้วยลายเซ็น "พระภูริทัตตเถร" ลายมือดั้งเดิมขององค์ท่านเองแท้ๆ
    ส่วนด้านหลัง ได้อัญเชิญลายมือ "บันทึกธรรม" ของหลวงปู่มั่น ที่ว่าด้วยเรื่อง "ขันธวิมุติสมังคีธรรม" มาประดิษฐานเป็นมหาธรรมมงคลอันสูงสุดไว้จนเต็มเนื้อที่ อย่างสวยงามและได้อารมณ์แห่งความหลุดพ้นอย่างเต็มที่ ชนิดที่ไม่ต้องไปหาอะไรที่จะยิ่งกว่าได้อีกแล้ว
    แม้เหรียญ "ลายมือลายเซ็น" รุ่นนี้ จะมีเนื้อทองคำ, เนื้อเงินเป็นพิเศษก็จริง แต่ก็มีเฉพาะเหรียญเนื้อนวโลหะและเนื้อทองผสม เท่านั้นที่ได้ผสมชนวนเหรียญ "ป.มาลากุล"
    หลวงตามหาบัวท่านจะได้อธิษฐานจิตทำน้ำมนต์ ในมหาพิธีนี้ให้อย่างเนิ่นนานเป็นพิเศษยิ่งกว่าพิธีใดๆ ทั้งสิ้น และท่านก็ยังได้เป่าลมปราณสลับกับการเจริญพุทธคาถาลงในขันน้ำมนต์ศิลา ที่ผูกสายสิญจน์โยงไปถึงพระวิหารปู่มั่น และเหรียญภูริทัตโตอนุสรณ์ นี้ถึง 3 ครั้ง 3 ครา สำทับให้อีกต่างหากด้วย!!!
    ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็นจากที่ใดมาก่อนเลย
    จากนั้น เมื่อถึงคราวยกช่อฟ้าวิหารหลวงปู่มั่น เมื่อหลวงตามหาบัวผูกผ้าสีปิดทองที่ช่อฟ้าแล้ว ท่านก็เรียกหาน้ำมนต์ที่ท่านทำไว้เมื่อกี้ในทันที.........
    เรื่องตอนนี้ เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ในญานหยั่งรู้ขององค์หลวงตามหาบัวโดยแท้ โดยท่านพระครูปลัดสุวัฒนวรคุณ วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (ในขณะนั้น) ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) (ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นและเป็นสหธรรมิกใกล้ชิดกับหลวงตามหาบัวมาแต่เดิม) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า "ตอนแรกนั้น หลวงตาท่านถามหาน้ำมนต์เพื่อมาพรมช่อฟ้า เจ้ารุ่ง(ศิษย์วัด)ไปคว้าเอาขันน้ำมนต์ที่ไหนมาก็ไม่รู้มาให้ หลวงตามหาบัวพอมองดูแล้วก็บอกปัดทันทีเลยว่า นี่ไม่ใช่น้ำมนต์ที่ท่านทำเมื่อกี้ ให้ไปเอาน้ำมนต์ของจริงที่ท่านเพิ่งทำมาให้เสียโดยทันที เลยต้องวิ่งกลับไปเอาขันน้ำมนต์แท้ๆ มาแทนกันแทบไม่ทัน น่าอัศจรรย์ใจแท้ๆ ที่น้ำมนต์ธรรมดาๆ หลวงตามหาบัวก็ยังรู้ได้ว่า นี่ไม่ใช่น้ำมนต์ที่ท่านทำไว้ "ตาใน"อันแจ่มใสของท่านหลวงตามหาบัว ช่างน่าอัศจรรย์โดยแท้
    และตอนที่หลวงตามหาบัว ท่านกำลังยกช่อฟ้าพระวิหาร หลวงปู่มั่นอยู่นั้น ก็ได้ปรากฏเหตุอัศจรรย์ขึ้นอีกครา ภาพๆ หนึ่ง ที่ถ่ายในโอกาสนั้น ปรากฏแสงรัศมีเป็นสีรุ้งพุ่งวาบผ่านช่อฟ้าจากดวงอาทิตย์มา เห็นได้ถนัดตา น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง หากจะว่า เป็นแสงแดดยามบ่ายย้อนมา ก็อาจจะว่าได้ แต่เหตุที่น่าสงสัยก็คือ ทำไม จึงมีประกายสีรุ้งเจิดจ้าแต่เพียงแถบเดียวเท่านั้น บริเวณขอบข้างอื่นๆ ไม่มี
    แต่การดังนี้ผู้รู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวได้ให้อรรถาธิบายในทันทีเลยว่า "นี่คือฉัพพรรณรังสีแห่งพระอรหันตเจ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยแน่แท้"
    สาธุ สาธุ สาธุ
    และเมื่อหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนยกช่อฟ้าวิหารพระอาจารย์มั่นเสร็จ หลวงตามหาบัวถึงกับเทศน์ออกไมค์ต่อหน้าผู้คนนับพันที่มาร่วมพิธีในครั้งนั้นเลยทีเดียว อันมีใจความว่า "ในพิธีอันเป็นมหามงคลในครั้งนี้ ได้มีเทวดามาร่วมอนุโมทนาสาธุการเต็มไปหมด ไม่ต่างอะไรกับตอนที่พระอาจารย์มั่นจะเดินทางจากเชียงใหม่กลับไปยังภาคอีสานบ้านเกิดสมัยนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นก็เคยบอกไว้เช่นกันว่า มีเทวดาเมืองเชียงใหม่มาส่งท่านด้วยความอาลัยอาวรณ์มากมายจนเหลือที่จะคณานับ แม้ในวันนี้ เทวดาก็มาร่วมอนุโมทนาในการยกช่อฟ้าวิหารพระอาจารย์มั่นมากดุจเดียวกัน"
    อนึ่ง เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต "เหรียญลายมือลายเซ็น" รุ่นแรก นี้มี 3 บล็อคหลังด้วยกัน แต่เข้าพิธีวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ พร้อมกันทุกแบบ โดยประดิษฐานข้าง มณฑปบรรจุพระทันตธาตุ ขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตลอดพิธียกช่อฟ้าวิหารหลวงปู่มั่น ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ซึ่งวิหารหลังนี้ได้สร้างทับตรงบริเวณที่พระอาจารย์มั่นเคยมาพำนักปฏิบัติธรรมสมัยที่ตามท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) มาที่วัดเจดีย์หลวง เมื่ออราวปี พ.ศ.2484
    นอกจากหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี จะเป็นองค์ประธานประกอบพิธีแล้ว ยังมี พระสายกรรมฐานหลวงปู่มั่นกว่า 200 รูป ร่วมอธิษฐานจิตด้วย ได้แก่ หลวงปู่จันทร์ หลวงปู่วิริยังค์ หลวงปู่ท่อน หลวงปู่ละมัย หลวงตาบุญหนา หลวงปู่เพียร หลวงปู่ลี หลวงพ่อประสิทธิ์ เป็นต้น
    ("พุทธวงศ์"ออกแบบ และดำเนินการจัดสร้างถวาย)
    จำนวนการจัดสร้าง

    บล็อคที่ 1 "พุทธวงศ์" หลังลายมือใหญ่ (ธรรมขันธวิมุติสมังคีธรรม)
    เนื้อทองคำ 2 เหรียญ *** (มีห่วง ไม่เจาะ ประจุสายสิญจน์หลวงปู่มั่นที่อธิษฐานโดยตรงยุคเก่า)***
    เนื้อเงิน 28 เหรียญ ***(มีห่วง ไม่เจาะ ประจุสายสิญจน์ที่หลวงปู่มั่นอธิษฐานโดยตรงยุคเก่า)***
    เนื้อนวโลหะ 80 เหรียญ ***(มีห่วง ไม่เจาะ)***
    เนื้อทองฝาบาตร 227 เหรียญ ***(มีห่วง ไม่เจาะ)

    บล็อคที่ 2 “สมโภชพระอารามหลวง วัดป่าดาราภิรมย์”
    เนื้อเงิน 50 เหรียญ ****(มีห่วง เจาะ)
    เนื้อนวโลหะ 100 เหรียญ ****(มีห่วง เจาะ)
    เนื้อทองเหลือง 10, 000 เหรียญ **** (มีห่วง เจาะ)

    บล็อคที่ 3 “ที่ระลึกพิธีเททอง วัดป่าศาลาปางสัก”
    เนื้อทองแดงรมดำ 3,000 เหรียญ *** (มีห่วง เจาะ)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2023
  14. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1309. ของดีสายพ่อกวย เชือกเก้าขอดตำราหลวงพ่อกวย หาผู้สำเร็จวิชาที่ทำได้ยาก แคล้วคลาดคงกะพัน เมตามหานิยม หลวงปู่แป๋ว วัดดาวเรือง ปิดรายการครับ


    upload_2023-1-13_17-27-59.png

    ศิษย์เอกผู้หนึ่งของหลวงพ่อกวย ที่ท่านสักมอบวิชาหนุมานเชิญธง ให้หลวงปู่แป๋วแต่เพียงผู้เดียว เวลานี้ท่านมรณะภาพแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย)
    #หลวงปู่แป๋ว วัดดาวเรือง อายุ 85 ปี เสือเมืองสิงห์
    มงคลวัตถุสุดเข้มขลังสร้างตามตำราวิชาสายตรงของหลวงพ่อกวย ชุตินธโร ทำด้วยมือทุกชิ้น มรดกขลังจากพระเกจิชั้นครูฝากไว้ก่อนท่านสิ้น ยุคนี้คงไม่มีใครสืบทอดทำได้อีกแล้ว หายากสุดๆครับ
    เสกหนุมานหมุน ปลัดบิน มีประสบการณ์หนาหู ท่านเป็นศิษย์สายวิชาอาคมแห่ง หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ มารวมกันอยู่ที่หลวงปู่แป๋ว องค์นี้ องค์เดียว
    ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานผ้าไตร น้ำสรง คราวหลวงปู่ทำบุญอายุ ๗ รอบ สมัยนี้หาพระดี พระขลัง อย่าง หลวงปู่ พระครูแป๋ว เป็นไม่มี
    หลวงปู่แป๋วสืบสายวิชาจาก
    1. #สายวิชาหลวงพ่อศรีวัดพระปรางค์ เป็นอาจารย์ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ หลวงปู่แป๋วองค์นี้ ท่านสืบวิชาตำรับโบราณของหลวงพ่อศรี จาก หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์
    2. #สายวิชาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา มนต์จินดามณี หลวงพ่อเฒ่า วัดค้างคาว ยันต์ค่ายกล หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ สารพัดวิชา หลวงปู่แป๋วท่าน #ได้วิชาสืบสายวิชาจากหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค
    3. #สายวิชาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่แป๋ว ได้วิชาจาก หลวงพ่อเชน วัดสิงห์
    คนเมืองสิงห์รู้ดีว่า ของ หลวงปู่ พระครูแป๋ววัดดาวเรือง มีปาฏิหาริย์แค่ไหน
    “หลวงปู่แป๋ว ออกเหรียญ รุ่นแรก ตั้งแต่ ปี ๒๕๒๖ เดี๋ยวนี้ ครึ่งราคาหมื่น”
    “หลวงปู่แป๋ว ทำตะกรุด คงกะพัน แคล้วคลาดชั้น ๑ ของเมืองสิงห์”
    “หลวงปู่แป๋ว ทำปลัด ขยับชนกล่อง อีกครั้ง กระโดดจากพาน
    “หลวงปู่แป๋ว ทำแหวนพิรอด ผ้าขอด หัวตะกร้อ กันเขี้ยวงา งูอ้าปากไม่ขึ้น หมากัดไม่เข้า ตะขาบกัดไม่บวม ปลิงแกะลื่น”
    “หลวงปู่แป๋ว ทำผ้ายันต์ กันไฟ ตอนไฟไหม้โบสถ์ มีคนเห็นยันต์เป็นเส้นสีแดง คลุมวัด
    ประวัติ หลวงปู่ พระครูแป๋ว (พระครูปัญญาวิมล) ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบล เป็น พระอุปัชฌาย์ อายุ ๘๕ปี บวชตั้งแต่ อายุ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กับพระราชสิงหมุนี พระครูรัตนาธาร(หลวงพ่อเยื้อน)
    พรรษาแรก "หลวงพ่อแป๋ว" อยู่กับหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ ร่ำเรียนวิชา ทำตะกรุด ต่อมา #ไปเรียนกับหลวงพ่อกวย สักหนุมาน แผลงฤทธิ์ สักธนูมือ สักมงกุฎพระเจ้า (หลังเหรียญรุ่นแรก) หลวงพ่อกวยป้อนน้ำมันงาเสกให้ท่านเพียงรูปเดียว ตั้งแต่ปี 2498 หลวงพ่อกวยเอ่ยปากยอมรับว่า "อื้อใช้ได้ใช้ได้ทำเหมือนหลวงพ่อแล้วนี่" ปกติหลวงพ่อกวยไม่ยอมรับใครง่ายๆ
    ต่อมาไปหา "หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์" ศิษย์ "หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์" เรียกหลวงพ่อทองว่า "พ่อ" ปี 2513
    ปี 2517 หลวงพ่อกวยมาเสกพระให้ถึงโบสถ์วัดดาวเรือง #หลวงพ่อกวยบอกว่า "ให้พระครูทำบ่อยๆ ทำทุกวันทั้งยืนเดินนั่งนอนกรรมฐานอย่าทิ้ง เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ทำได้ขลังเหมือนข้าฯ ถึงวันนั้น พระครูแป๋วไม่เป็นสองรองใคร
    #วิชาเชือกผ้าขอดนี้ ท่านทำตามตำราของ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม อาจารย์ของท่าน ซึ่งผ้าจีวรของท่านผ่านการครองมาหลายพรรษา ผ่านพิธีมานับไม่ถ้วน นำมาขอดนี้มีเคล็ดว่าจะต้องฉีกเอาเท่านั้น ห้ามใช้ของมีคมตัดเด็ดขาด โดยใช้ผ้า 3 เส้นมาถักโดยลงอักขระในผ้าก่อน ขณะทำก็เสกคาถากำกับลงไป จัดเป็นของดีที่ท่านทำเองกับมือทุกขั้นตอน
    ในอดีตท่านจะทำเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น โดยหลังจากไหว้พระสวดมนต์เย็นเป็นที่เรียบร้อยแล้วดีแล้ว ท่านก็จะถักไปด้วยเสกไปด้วย วันหนึ่งๆ ทำได้ประมาณ 3-6 เส้น ทำเสร็จก็เก็บแขวนราวไม้ไผ่ไว้ในห้อง แจกอีกทีก็ออกพรรษา
    ต่อมามีประสบการณ์และเป็นที่ต้องการกันมาก #มีคนถูกฟันไม่เข้า #ถูกแก๊สระเบิดใส่ไม่เป็นอะไร
    ต่อมาหลวงปู่ท่านจึงต้องนั่งทำเพิ่มให้เกือบทุกวันในตอนท่านว่างๆ ยามที่ไม่มีแขก ส่วนเรื่องจำนวนปมหรือขอดนั้น ระยะหลังๆ จำนวนจะไม่แน่นอนตายตัว 9,10,11 หรือ 12 ก็มี
    #หลวงปู่เล่า ว่าผ้าขอดสำหรับคาดเอวตามตำราจะเป็น 9 ขอด โดยจะขอดเป็น 3 ชุด ชุดละ 9 ปม รวมแล้วมีทั้งหมด 27 ปม
    แบ่งออกเป็น 3 ช่วงๆ ละ 9 ปม (สำหรับคาดต้นแขนจะใช้อีกสูตรหนึ่ง) บางเส้นอาจจะมี 10-12 ขอด (ท่านบอกว่าบางทีทำเพลินเลยขมวดปมเกิน แต่เกินดีกว่าขาดถ้าขาดใช้ไม่ได้)
    ซึ่งขณะทำท่านจะต้องภาวนาคาถากำกับไปด้วยตลอดเวลาจนกว่าจะแล้วเสร็จ
    โดยแต่ละขอดท่านบอกว่าคืออักขระหนึ่งตัว มี 9 ขอด ก็แทนอักขระ 9 ตัว คือ “ นะ-โม-พุท-ธา-ยะ-นะ-ชา-ลี-ติ ”
    ก่อนที่หลวงพ่อจะขอดผ้า 1 ปม ท่านจะว่าคาถาบท อิติปิโสถอยหลัง กำกับปมละ 1 คาบ แล้วก็จะกระตุกเป็นปมจนครบ 3 ห้อง ขอให้จำลักษณะปลายผ้าทั้งสองด้าน ท่านควั่นเก็บปลายอย่างปราณีตตามแบบโบราณ
    #พุทธคุณ ผ้าขอดนี้ดีทางเมตตาค้าขายเยี่ยม เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย #ไปได้กลับได้ มีแต่ได้กับได้ คุ้มครองป้องกันอันตรายได้สารพัด #กันได้แม้กระทั่งเทวดามิจฉาทิษฐิเกเรกลั่นแกล้ง ทั้งหมากัดไม่เข้า งูไม่กัด ส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะนำไปพันไว้กับพวงมาลัยรถ ไปไหนมาไหนแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติภัยทั้งปวง
    เครื่องรางของขลังผ้าขอด 9 ขอด กันได้สารพัด หัวตะกร้อ กันเขี้ยวงา งูอ้าปากไม่ขึ้น หมากัดไม่เข้า ตะขาบกัดไม่บวม ปลิงแกะลื่น กันไฟ
    #เชือกเก้าขอดนี้เป็นวิชาที่สำคัญมาก หลวงปู่ต้องกำหนดจิตปลุกเสกขณะที่ขมวดปมใส่คาถาวิชาในปมที่ขอด จึงจะผูกให้คาถาอยู่ที่ปมไม่ไปไหน เชือกเก้าขอดนี้เป็นวิชาที่คุมครองตนไปที่ไหนภูตผี นางไม้ เจ้าป่าเจ้าเขาเปิดทางให้ และเป็นมิตรรักษาดูแลเราทั้งหมด ไปได้กลับได้ #เคราะห์กรรมที่จะเข้ามาต้องล่าถอยไป เชือกเก้าขอดนี้กันไว้ได้ทั้งหมด
    #บ้านไหนอยู่กันไม่ดีอยู่กันไม่มีความสุข มีเรื่องทะเลาะกันบ่อยๆ ให้เอาเชือกเก้าขอดนี้มัดไว้ที่เสาเอกบ้าน อะไรที่ไม่ดีจะหายไป
    #หรือเดินทางไกลให้เอาเชือกขอดผูกไว้ที่พวงมาลัยรถหรือกระจกรถ แคล้วคลาดปลอดภัย
    #ปมผ้าขอดนี้ดีทางเมตตาค้าขายเยี่ยม เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย ไปได้กลับได้ มีแต่ได้กับได้ การทำเชือกเก้าขอด นั้นกว่าจะทำสำเร็จแต่ละเส้นต้องใช้เวลาขอดผ้าแต่ละปมต้องลงอักขระบนผ้าจีวรเก่าของท่านตลอดการทำต้องภาวนาคาถาและขอดปมด้วยมือข้างเดียวจนครบ และทำการปลุกเสกอีกครั้งจนมั่นใจ..ผ้าขอดใช้คาดเอวผูกรถ..แคล้วคลาดปลอดภัย
    จัดเป็นวิชามหัศจรรย์ของคณาจารย์ที่มีมาแต่โบราณวิชาหนึ่ง วิชาขอดผ้านี้เป็นวิชาโบราณ อาจารย์รุ่นเก่านิยมนำผ้าจีวร,ผ้ายันต์ขาวแดงนำมาผูกเป็นปม เรียกว่าผ้าขอด อาจผูกเป็นเงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ เชื่อกันว่ามีผลทางแคล้วคลาดกันอาวุธปืนได้ #สมัยโบราณนักรบนิยมทำเป็นผ้าประเจียดผูกแขน สำหรับออกรบ ให้แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี จัดเป็นเครื่องรางทรงคุณค่าแต่โบราณที่สมัยนี้หาได้ยาก เป็นมรดกที่หลวงปู่ฝากไว้ในแผ่นดินก่อนท่านมรณะภาพ คงไม่มีใครทำได้อีกแล้ว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2023
  15. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477

    upload_2023-1-14_15-13-12.png
     
  16. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1310. ลูกอมหนุมานครองเมือง รุ่นแรก เนื้อผงพุทธคุณ หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม สร้างปีพ.ศ.2544 ปิดทองกรรมการ ให้บูชา 750 บาท หนึ่งในเครื่องรางที่ขึ้นชื่อของหลวงพ่อครับ

    upload_2023-1-14_15-24-47.png

    upload_2023-1-14_15-25-45.png

    เครื่องรางหนุมาน เป็นวิชาที่หลวงพ่อพูลท่านเคยกล่าวไว้ว่าท่านชอบมาก และเป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อปลุกเสกได้เข้มขลังมาก พุทธคุณสูงมาก โดดเด่นทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภัยภยันตราย เมตตามหานิยม โชคลาภเงินทอง ประสบการณ์สูงได้รับความนิยมมาก เป็นที่เสาะแสวงหาของผู้คน มึคุณค่าน่าบูชาสะสมมากครับ
    หลวงพ่อพูล อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว และพระเกจิอาจารย์ 108 รูปนั่งปรกอธิษฐานิตแผ่เมตตาบารมี โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นประธานจุดเทียนชัยและร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีด้วย
    คาถาหนุมาน ตำรับหลวงพ่อพูล ก่อนภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วจึงภาวนาว่า “โอม หะนุมานัง พะพลับพลานัง พุทธัง อำโน พุทโธ กินนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา ธัมมัง กินโน ธัมโม อำนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา สังฆัง อำโน สังโฆ กินนัง จะปาคะรัง จึงมาบังกายา สัพเพชะนา พะหูชะนา เตชะสุเนมะ ภูจะนาวิเว

     
  17. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1311. พระอริยสงฆ์ทายาทธรรมหลวงป่ผางจิตฺตคุตฺโต ล็อกเก็ตปู่หลาน ปี 2560 พระราชภาวนาวชิรคุณ (หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต) วัดเขาตาเงาะอุดมพร จังหวัดชัยภูมิ ด้านหลังตะกนุดเงิน 9 ดอก 1 ใน 500 องค์ องค์นี้หมายเลข 17 ปิดรายการครับ



    upload_2023-1-14_15-31-3.png

    หลวงปู่จื่อเป็นพระวิปัสสนาธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปยังสถานที่ต่างๆเป็นที่เคารพของสาธุชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวอำเภอหนองบัวระเหว
    ท่านเป็นผู้เปี่ยมไปด้วยบารมี ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ นักพัฒนาได้สร้างประโยชน์ให้ส่วนรวมมากมาย ทั้งถนน ฝายกักเก็บน้ำ
    มีอิทธิฤทธิ์ปรากฏ เมื่อท่านสร้างฝายเก็บน้จำนวน ๒ แห่ง ปรากฏว่า ฤดูฝนฝายร้าว ถึงขนาดนายอำเภอต้องซ้อมแผนอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ฝาย ท่านเลยไปดูและเหยียบเหนือรอยร้าว ๓ ครั้ง ฝายทั้ง ๒ แห่งยังอยู่จนปัจจุบันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2023
  18. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1 ในเหรียญหลัก ยอดนิยม ของหลวงปู่ครับ
    เหรียญโภคทรัพย์ เนื้อฝาบาตรพร้อมรอยจาร หลวงปู่อุ้น สุขกาโม วัดตาลกง ปี2544




    upload_2023-1-14_16-46-9.png

    นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่ออุ้น ที่มีชื่อเรียกขานเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล อำนวยลาภผลอันจะนำมาซึ่ง "โภคทรัพย์" ทั้งหลาย จัดสร้างจำนวนไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับเหรียญรุ่นที่ ๑ ถึง รุ่นที่ ๔ ที่ออกมาก่อนหน้านั้น ด้วยจำนวนการจัดสร้าง ๖ เนื้อ ทุกเนื้อรวมกันเพียง ๔,๑๐๒ เหรียญ ดังนี้
    ๑. เนื้อทองคำ จำนวน ๙ เหรียญ
    ๒. เนื้อนาค จำนวน ๑๙ เหรียญ
    ๓. เนื้อเงิน จำนวน ๑๘๕ เหรียญ
    ๔. เนื้อนวโลหะ จำนวน ๕๘๙ เหรียญ
    ๕. เนื้อทองฝาบาตร จำนวน ๑,๗๐๐ เหรียญ

    ๖. เนื้อทองแดง จำนวน ๑,๖๐๐ เหรียญ

    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ เหมือนกับเหรียญรุ่นแรก แต่แกะใบหน้าหลวงพ่อให้ดูอวบอูมกว่า คล้ายๆ เหรียญรุ่น ๔ ต่างกันที่ไม่มีผ้ารัดอก มีหนังสือเขียนไปตามขอบเหรียญ ถัดจากรูปดอกไม้ที่อยู่กึ่งกลางด้านล่างว่า "หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม วัดตาลกง อายุ ๘๕ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔" ด้านหลัง ประทับยันต์ครูสำนักวัดโตนดหลวง มีหนังสือเรียงรายขอบด้านบนว่า "ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี" ใต้ยันต์ ตรงขอบเหรียญด้านล่างเขียนว่า "โภคทรัพย์"
    หลวงพ่ออุ้นท่านปลุกเสกเหรียญนี้อย่างเข้มขลัง เน้นพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ลาภผล ความสำเร็จต่างๆ นอกเหนือไปจากพุทธคุณด้านอื่นๆ ปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายครบทุกด้าน พร้อมกับ "พระโคนสมอปั๊ม" โดยออกให้บูชาพร้อมกันในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำมาหากินโดยสุจริต และตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ดังพระท่านว่า "สีเลนะ โภคะสัมปะทา" แปลว่า "การรักษาศีล นำมาซึ่งโภคทรัพย์" ส่งผลให้ผู้ที่นำไปสักการะบูชา เจริญรุ่งเรือง พรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์ ไม่อดอยากยากจน หรือขัดสนเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ใดๆ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก และหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว จนทางวัดต้องสร้างรุ่น "มั่งมีทรัพย์" และ รุ่นอื่นๆ ที่เน้นเรื่องลาภผลตามมาอีกหลายรุ่น
    โภคทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ที่มีอยู่ภายนอกตัวเรา ได้แก่ วัตถุสิ่งของ เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต ที่อยู่ที่กิน เครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้าอาภรณ์ ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์ภายนอกทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีไหม? คำตอบก็คือ จำเป็นต้องมี ถ้าไม่มีแล้วจะอยู่อย่างไร? จะอยู่อย่างมีความสุขในโลกมนุษย์นี้ยาก
    พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนว่า สัมมาอาชีโว สัมมากัมมันโต สัมมาสติ สัมมาสมาธิ หมายความว่า ให้มนุษย์ทุกคนได้ประกอบอาชีพได้โดยสุจริต ต้องมีสติ มีปัญญา รักษาทรัพย์สมบัติไว้ได้ ไม่ได้สอนให้นอนรอวาสนา หรือขอพร พระองค์สอนให้ทำงาน หาทรัพย์ได้ แต่ไม่ได้สอนให้หาทรัพย์ที่ไม่บริสุทธิ์ พระองค์ตรัสสอนให้หาทรัพย์อันสะอาด บริสุทธิ์ โดยสุจริต ตามอัตภาพของตนเองอันพึงกระทำได้
    แต่เมื่อเรามีทรัพย์ภายนอกแล้ว ก็ขอให้แปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์ภายใน คือ อริยทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์อันประเสริฐ ได้แก่ บุญกุศลเพื่อให้ติดตามเราไปในภายภาคหน้า หลังจากที่ได้ละสังขาร หรือหมดลมหายใจจากโลกนี้ไปแล้ว อริยทรัพย์ที่เราสั่งสมไว้ เช่น การบริจาคทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา เหล่านี้จะติดตามเราไปได้ เป็นอริยทรัพย์ให้ถึงสุขสุคติภูมิ โลกสวรรค์ เป็นที่อยู่อันประเสริฐยิ่ง
     
  19. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1312. เครื่องรางสายหลักของหลวงปู่ครับ สำหรับคนรักเด็ก จัดสร้างจากตำราหลวงพ่อจง อันโด่งดัง รักยม รุ่นอธิบดี หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน ให้บูชา 888 บาท

    upload_2023-1-14_21-54-20.png

    upload_2023-1-14_21-54-26.png

    เป็นรักยมที่เกิดจากอภินิหารโดยแท้ ท่านอดีตอธิบดีกรมหนึ่ง ตอนเด็กๆ ท่านมีรักยมของหลวงพ่อจง ที่คุณแม่มอบให้ ๑ ขวด ท่านเลี้ยงมาตลอด ตอนเรียนอยู่เตรียมอุดม เข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ท่านก็ยังเลี้ยงอยู่
    รักยมขวดนี้แสดงปาฏิหาริย์กับท่านมาก เคยมาปรากฏให้ท่านเห็นตัวในฝันหลายครั้ง และยังช่วยให้ท่านเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ราชการมาตลอดจนถึงตำแหน่งอธิบดี ปัจจุบันท่านเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านหวนมาคิดถึงอานุภาพรักยมว่ามีจริงๆ จึงอยากจะสร้างไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ของจริงๆ แท้ๆ แบบที่ท่านใช้มาก่อน จึงให้ช่างปั้น “กุมาร” องค์เล็กๆ พนมมือ ถอดเสื้อแต่ใส่เครื่องทรงถนิมพิมพาภรณ์ หล่อจาก “ตะปูเหล็กสังขวานร” ที่คนโบราณยกย่องว่าเป็นยอดเหล็กอาถรรพณ์ นำมาสร้างเครื่องรางจะขลังแรงเป็นพิเศษ จากนั้นได้สั่งขวดรักยมที่เป็นทรงยาวๆ แบบของหลวงพ่อจง จากไต้หวัน นำ “เจ้ารัก” (องค์สีขาว) “เจ้ายม” (องค์สีดำ) ใส่ขวด นำไม้มะยมตายพราย และไม้รักตายพราย ใส่ลงไปในขวดด้วย
    ไม้มะยมและไม้รักธรรมดานั้นหาง่าย แต่ที่ตายพราย (ยืนต้นตายเอง) นั้นหายาก คนโบราณท่านบอกว่ามีอาถรรพณ์อยู่ในนั้น จากนั้นนำน้ำมันจันทน์แท้จากประเทศอินเดียใส่ลงไปในขวด พร้อมทองแผ่นเล็กๆ ผูกปากขวดด้วยด้าย ๗ สี เป็นการรับขวัญ นำไปถวายหลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน ศิษย์เอกของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ผู้สืบวิชารักยมจากหลวงพ่อจง หนึ่งเดียวเท่านั้น ทำพิธีปลุกเสกในอุโบสถ วันเสาร์ห้า วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙ รักยมทั้งหมดใส่พานวางไว้หน้าหลวงปู่ยวง
    ในพิธีนั้นมีพระเกจิอาจารย์ดังร่วมนั่งปรก ๓ รูป คือ หลวงพ่อมี วัดบ้านช้าง, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ และหลวงพ่อผิว วัดประดู่ทรงธรรม พอเสกเสร็จ หลวงปู่ยวง ยกพานรักยมมาเป่า ชักยันต์คลุมพานรักยม (เหมือนกับหลวงพ่อจง เวลาท่านเสกรักยมท่านตั้งจิตแล้วเป่าเพี้ยง!) จากนั้นโปรยดอกไม้และพรมน้ำมนต์ ท่านบอกว่า “มาแล้ว มาแล้ว ดีดีดี” รักยมรุ่น “อธิบดี” นี้ ท่านอธิบดีเป็นผู้สร้าง เจตนาเพื่อสืบวิชาเครื่องรางของขลัง ดังที่ท่านรู้มาและเคยเลี้ยงมาว่าขลัง แรง มีอานุภาพมาก ท่านจึงเอาใบคาถารักยม ที่เป็นของเก่าของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ ไปทำสำเนา และปั๊มตราว่า “รุ่นอธิบดี” ไว้เป็นสัญลักษณ์
    รักยมรุ่น “อธิบดี” สร้างตามตำราหลวงพ่อจง ที่ขลังที่สุด ใครเลี้ยงไว้เป็นได้เรื่องทุกราย พ่อค้าแม่ขายร่ำรวย ขายของดี นักเสี่ยงโชคจะมีโชคลาภเสมอๆ ขโมยขึ้นบ้าน หรือคนแปลกหน้าเข้าบ้าน รักยมจะดูแลรักษาให้ตลอดเวลา มีรักยมติดตัวเข้าหาเจ้านายจะได้รับความเมตตาเสมอ คนที่เป็นศัตรูจะกลายเป็นมิตร
    เรื่องรักยม ที่มีประสบการณ์ขอยกตัวอย่างดังนี้
    รักยม : พ่อค้าขายข้าวหมูแดงลงเรือขายท่าช้างนครปฐม บอกรักยม เดินหัวเรือยังไม่ถึงท้ายเรือ หมดแล้ว เจ้าอื่นร้องขายเหมือนกัน ลงเรือ 4-5 ลำยังไม่หมด นี่รักยมแน่ขนาดนี้
    รักยม : หวย บอกรักยมแล้วเอาน้ำมันหอมทาตัวรักยม เขามาเข้าฝันให้ถูกหวยติดๆ กัน เว้นก็ไม่เกิน 2 งวดถูกอีกแล้ว นี่แหละรักยมช่วย
    รักยม : หนุ่มไปจีบผู้หญิง เดือน 4 หน้าน้ำ มีรักยมไปด้วย สาวพายเรือผ่านมาร้องทักกันแค่นั้น บัดนี้เป็นผัวเมียกันแล้วมีลูก ตั้ง 7 คน นี่แหละอำนาจของรักยม
    รักยม : ขโมยขึ้นบ้าน หรือคนแปลกหน้าเข้าบ้าน ถ้าไม่บอกรักยม นอนไม่ได้ เขาลากหล่นเตียงเลย เจอกันมาเยอะ ขนาดว่าเป็ดไก่ขึ้นบ้านไม่ได้เลย รักยมเขารักษาดูแลอยู่
    รักยม : ใช้เป็นเมตตา เข้าหาเจ้านาย ศัตรูกลายเป็นมิตร ขนาดเสือปล้นจะปล้นบ้านที่มีรักยม เสือยังปล้นผิดบ้านเลย (เกิดขึ้นเลยอำเภอสองพี่น้องไปหน่อย)
    รักยม :ลูกจ้างเถ้าแก่โรงสี เลี้ยงรักยม แค่ลูกจ้างแบกข้าว เท่านั้นได้เป็นถึงเสมียนโรงสี
    รักยม : แม้แต่เด็กเก็บตั๋วเรือยนต์ใช้รักยม ได้ดิบได้ดีเป็นเจ้าของเรือยนต์ถึง 3 ลำ วิ่งสายสุพรรณ
    รักยม รุ่นอธิบดี หลวงพ่อยวง วัดหน้าต่างใน จ.พระนครศรีอยุธยา จัดสร้างปี ๒๕๕๙ จัดสร้างจำนวน ๘๙๙ ขวด ปลุกเสกพิธีเสาร์ ๕ มีโค้ดดอกจันที่กลางหลังส่วนบน

     
  20. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    สวัสดียามเช้าครับ
     
  21. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,696
    ค่าพลัง:
    +477
    1313. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ ปี ๔๙ ให้บูชา 1550 บาท



    upload_2023-1-15_9-13-24.png



    เหรียญรุ่นแรกของ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    เป็นการขออนุญาติจัดสร้างโดยพระสงฆ์
    (ไม่ใช่ฆราวาส) โดยท่านเจ้าคุณอำนวย
    วัดบรมนิวาส เพื่อหาปัจจัยบูรณะกุฎปัทมราช
    โดยได้นำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก
    ในงานบำเพ็ญกุศล ๑๕๐ ปี ชาตกาล
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
    เมื่อวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๔๙

    รายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมอธิษฐานจิต
    ๑. สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทราวาส
    ๒. พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๓. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน
    ๔.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์
    ๕.หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม ยโสธร
    ๖. หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น
    ๗. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน เลย
    ๘. หลวงพ่อสมศักดิ์ ปัณฑิโต วัดบูรพาราม สุรินทร์
    ๙. หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปุญโญ วัดใหม่บ้านตาลสกลนคร
    ๑๐. หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม สระแก้ว
    ๑๑. หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค อุทัยธานี
    ๑๒. หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง อุดรธานี
    ๑๓. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
    ๑๔. หลวงปู่ทอง ปัญญาปทีโป วัดรังสีสุทธาวาส
    ๑๕. หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก อยุธยา
    ๑๖. หลวงพ่อจ้อย พุทธสโร วัดหนองน้ำเขียว ชลบุรี
    ๑๗. หลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ ระยอง
    ๑๘. พระครูสมุห์เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว
    ๑๙. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนทโร)วัดบรมนิวาส
    ๒๐. หลวงพ่อวิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    ๒๑. พระอาจารย์สมพงษ์ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

    โดยยังนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก
    อีกหลายวาระ และ หลวงปู่บุญฤทธิ์ เมตตาอธิษฐานจิต ปิดครั้งสุดท้าย
    ณ กุฏิที่พักสงฆ์สวนทิพย์ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

    จำนวนการสร้าง
    * เนื้อเงิน ๑๐๐ เหรียญ
    * เนื้อนวะ ๒๐๐ เหรียญ
    * เนื้อโลหะผสม ๔,๐๐๐ เหรียญ


    มหาชนวนมวลสาร
    ๑.ชนวนสำคัญ
    - พระยันต์ ๑๐๘ พระยันต์
    - นะ ๑๔ พระยันต์
    - แผ่นจาร พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป
    (สมเด็จพระญาณสังวร,หลวงตาพวง, หลวงพ่ออุ้น,หลวงพ่อตัด,หลวงพ่อเจือ.หลวงพ่อเอียด, หลวงพ่อเพิ่ม,หลวงพ่อพูน,หลวงพ่อเพี้ยน,หลวงพ่ออั๊บ,หลวงปู่แย้ม เป็นต้น)
    - ชนวนพระนาคปรกแสงอรุณ วัดบรมนิวาส ปี ๒๔๙๕
    - ชนวนช่อพระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส ปี ๐๘, ปี ๑๒, ปี ๑๗
    - ชนวนพระแก้ว ปี ๒๔๗๕
    - ชนวนวัตถุมงคล ๒๕ พุทธศตวรรษ
    - ชนวนพระกริ่งคุ้มเกล้า ปี ๒๒
    - ชนวนวัตถุมงคล รุ่นฉลอง ๒๐๐ ปี กทม.
    - ชนวนพระกลีบบัวหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดเขาอ้อ ปี ๓๙ และแผ่นจาร
    - ชนวนพระชัยหลังช้าง ภปร สก ปี ๓๐
    - ชนวนพระกริ่งรักษาดินแดน (เจ้าคุณนรฯ)
    - ชนวนพระกรุท่ากระดาน กาญจนบุรี
    - ชนวนเหรียญหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ปี ๙๒
    - ชนวนเหรียญ ๕ อาจารย์วัดสุปัฏฏนาราม อุบลฯ ปี ๑๖
    - ตะกรุดหลวงพ่อป่าน วัดบางนมโค
    - ชนวนหลวงปู่ทวด วัดโพธิ์ฯ ปี ๑๓
    - ชนวนวัตถุมงคล วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี ปี ๒๑
    - ชนวนวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร ปี ๓๖
    - ชนวนพระกริ่งตากสินทร์
    - ชนวนวัตถุมงคลหลวงพ่ออิ่มตลอดกาล
    - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๕
    - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๗
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดแก้วพิจิตร ปราจีนบุรี
    - ชนวนหลวงพ่อหก วัดสะแกซึง
    - ชนวนวัตถุมงคลพระธาตุดอยสุเทพ ปี ๑๘
    - ชนวนพระกริ่งสีลวุฒโฑ (หลวงปู่เส วัดบูรพาราม) ปี ๔๗
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดสิริจันทรนิมิตร (เขาพระงาม) ลพบุรี
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดนิมมานนรดี ปี ๑๔
    - ชนวนวัตถุมงคลพระทิพย์อำนาจ ปี ๓๘
    - ชนวนวัตถุมงคล ๗๐๐ ปี ลายสือไทย
    - ชนวนพระกริ่ง ๖๐ ปี ธรรมศาสตร์
    - ชนวนพระกริ่ง พระสมเด็จจอมสุรินทร์ ปี ๑๓
    - ชนวนพระพุทธปริต ปี ๑๔
    - ชนวนวัตถุมงคลพระเจ้าใหญ่อินแปลง อุบลฯ ปี ๑๖
    - ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ ปี ๘๕
    - ชนวนพระนาคปรกนาสีดา
    - ชนวนพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศ
    - ชนวนวัตถุมงคลบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์
    หลวงปู่ธรรมรังษี ปี ๔๕

    ๒.แผ่นทองชนวน ๑๕๐ พระคณาจารย์
    - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่) วัดสระเกศ
    - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน) วัดมกุฏฯ
    - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น) วัดโพธิ์ฯ
    - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาส)วัดราชบพิธฯ
    - สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ) วัดมหาธาตุฯ
    - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) วัดพระศรีฯ
    - สมเด็จพระธีรญษณมุนี (สนิท) วัดปทุมคงคา
    - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต) วัดสัมพันธวงศ์
    - หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปญฺโญ
    - หลวงปู่ชอบ หลวงปู่อ่อนศรี
    - หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม
    - หลวงปู่สาม
    - หลวงปู่คำคะนิง
    - หลวงปู่หลุย
    - หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    - หลวงพ่อคง วัหนองกระจาย
    - หลวงปู่ขาว อนาลโย
    - หลวงปู่มหาปิ่น
    - หลวงปู่วัน
    - หลวงพ่อเต๋ คงทอง
    - หลวงปู่เปลี้ย
    - หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย
    - หลวงปู่เจ๊ก
    - หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า
    - หลวงพ่อตาบ
    - หลวงปู่กว่า
    - หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    - หลวงปู่หุ่น วัดบางขวด
    - หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร
    - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    - หลวงปู่หลอด
    - หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    - หลวงปู่หลวง
    - หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    - หลวงปู่บุญมี สิริธโร
    - หลวงพ่อเกษม เขมโก
    - หลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    - หลวงปู่หงษ์
    - หลวงปู่อ่อน
    - หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม
    - หลวงปู่ธรรมรังษี
    - หลวงปู่ชม วัดเขานันทาราม
    - หลวงปู่เมตตาหลวง
    - หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล้อง
    - หลวงปู่จวน
    - หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
    - หลวงปู่บัวพา
    - หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    - ครูบาพรหมจักรสังวร
    - หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิพพลี
    - หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    - หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู
    - หลวงปู่บุญมี วัดอ่างแก้ว
    - หลวงปู่บุดดา
    - หลวงปู่จันทร์โสม
    - หลวงปู่จันทร์ วัดบึงเขาหลวง
    - หลวงปู่เส วัดบูรพาราม
    - หลวงพ่อสมบูรณ์
    - หลวงพ่อสายหยุด วัดอดิสร
    - หลวงปู่ปราโมทย์ วัดป่านิโคธาราม
    - หลวงปู่แสง
    - หลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน
    - หลวงปู่ต้น
    - หลวงปู่กิ
    - หลวงปู่ผ่าน
    - หลวงปู่คำพอง
    - หลวงปู่มา ญาณวโร
    - หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
    - หลวงพ่อทองบัว ตนฺติกโร
    - พระเทพวรคุณ(สิงห์)
    - หลวงปู่ศรีจันทร์
    - เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
    - หลวงปู่ซามา
    - หลวงพ่อคง วัดอินทาราม
    - หลวงพ่อแพ หลวงปู่โง่น
    - หลวงปู่ผล วัดดักคะนนท์
    - หลวงปู่ห้อม วัดคูหาสวรรค์
    - หลวงปู่ท่อน
    - หลวงปู่สีทน สีลธโน
    - หลวงปู่พวง
    - หลวงปู่สังข์ วัดท่าช้างใหญ่
    - หลวงปู่ชา
    - หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
    - หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
    - พระศรีสัจจญาณมุณี วัดสุทัศน์
    - หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว
    - หลวงปู่ดูลย์
    - พ่อท่านกลั่น วัดเขาอ้อ
    - หลวงปู่สาย เขมธมฺโม
    - หลวงปู่มหาโส
    - หลวงปู่บุญหนา
    - หลวงปู่จันทา
    - หลวงปู่จ้อย วัดหนองน้ำเขียว
    - หลวงพ่อมหาสนธ์ วัดพุทธบูชา
    - หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    - หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
    - พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณโณ)
    - หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
    - หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ
    - หลวงพ่ออุตตมะ
    - หลวงปู่พรหมา เขมจาโร
    - หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ
    - หลวงปู่เพียร
    - หลวงปู่อ่ำ
    - หลวงปู่ขาน
    - หลวงพ่อคำบ่อ
    - หลวงพ่อหยอด
    - หลวงปู่แว่น
    - หลวงปู่ถิร
    - หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    - หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
    - หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    - หลวงพ่อสินทร์ วัดบ้านนาโพธิ์
    - หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
    - หลวงปู่เทสก์
    - หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง
    - ครูบาอินคำ วัดทุ่งฟ้าผ่า
    - ครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง
    - หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
    - หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่
    - หลวงปู่เปรื่อง
    - หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช
    - หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    - หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าฯ
    - พ่อท่านคล้าย
    - หลวงพ่อเชิญ
    - พ่อท่านนอง วัดทรายขาว
    - หลวงพ่อทองพูล
    - หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    - ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
    - หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
    - หลวงปู่กรอง
    - หลวงปู่เขียน วัดสำนักขุนเณร
    - หลวงปู่ไสว วัดปรีดาราม
    - หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    - หลวงพ่อโอภาสี บางมด
    - หลวงพ่อบุญเรือน วัดยางสุทธาราม
    - หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    - พ่อท่านสีนวล วัดเกวียนหัก
    - พระครูประสานนรกิจ วัดพระนอนจักรสีห์
    - พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) วัดบรมนิวาส
    - พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์)
    - หลวงตาแตงอ่อน
    - หลวงพ่อไพบูลย์
    - หลวงปู่ทา
    - หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม
     

แชร์หน้านี้

Loading...