พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก (เสียงสวด พร้อม คำอ่าน)

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 12 ตุลาคม 2004.

  1. ขม

    ขม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +1,521
    อานิสงส์การสร้างและสวด
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นธรรมทาน​
    โบราณท่านว่า ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญตัวอันประเสริฐนัก เมื่อพบแล้วให้พยายามท่องบ่นสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้
    ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้น ได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง
    • ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร
    • กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์
    • ผู้ใดอุทิศบุญกุศล อันเกิดจากการสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ให้ ปู่ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ฯ บุตร หลาน ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง
    • บิดา มารดา จะมีอายุยืน
    • สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี
    • ปฏิสนธิวิญญาณบุตร เกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี
    • วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ
    • เสริมบุญบารมีให้ตนเอง
    • แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ
    • เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ
    ขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ เพื่อความงอกงามในพระบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.
     
  2. ขม

    ขม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +1,521
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม​
    ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง)ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์มณฑลพิษณุโลก
    มีคำกล่าวในหนังสือนำนั้นว่า ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ
    ต่อมามีผู้นิยมสร้างหนังสือนี้ขึ้น โดยเชื่อว่าผู้ใดสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และสวดมนต์สักการะบูชาเป็นประจำ จะมีผลานิสงส์สุดที่จะพรรณ นาให้ทั่วถึงได้ นับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้า ตลอดทั้งบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้
    ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวว่า หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน ก็ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานับปการ ฯ
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตน
    จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ
    ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบ กระดูกลอยน้ำได้
     
  3. yuthapol

    yuthapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +430
    ๒.
    อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
    สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
    โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
    ตกไป1ท่อนครับหนังสือที่พิมพ์แจกส่วนมากก็ผิดครับ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๖.
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ท่อนสุดท้ายคำว่าอากาสะ ต้องเป็นอากาสาครับ

    ๑๙.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
    อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
    ตอ้งเป็นวัตติ วัตติครับ

    ๒๒.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม อิติปิโส ภะคะวา

    ท่อนนะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะในบทนี้ไม่มีนะครับ

    ๒๗.
    นะโม พุทธายะ
    มะอะอุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    ยาวะ ตัสสะ หาโย
    นะโม อุอะมะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    อุ อะมะ อาวันทา
    นะโม พุทธายะ
    นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
    อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

    คำว่านะโมต้องเป็น โมนะ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  4. yuthapol

    yuthapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +430
    ที่ถูกคือวัจจะโส ครับ
     
  5. vorn

    vorn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณมากครับคุณพี่ นี่แหละของแท้ของการดำรงชีพ
     
  6. ธิญาดา

    ธิญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    80
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +582
    เราสวดทุกวันเลยค่ะ สวดแบบท่องเป็นคำๆไม่ได้ท่องเหมือนพระสวดนี่ล่ะค่ะ
    เมื่อก่อนสวด3จบต่อวัน ในหนังสือเขียนว่าดีเราจึงสวดไป แต่ตอนนั้นไม่ได้เป็นพิธีการอะไรมาก คือไม่ได้สวดต่อหน้าพระ และก็ไม่ได้ท่องคำอุทิศส่วนกุศลด้วย สวดก็รีบๆสวดเอาแค่ว่าสวดให้ครบ หลังจากสวดประมาณ 2 อาทิตย์ ไม่น่าเชื่อ เกิดความสุข ใจคิดได้ว่าเราอยากทำทาน เรามีข้าวของพอใช้แล้ว ถึงเอาของในห้องทั้งหมดไปบริจาค เราก็ไม่เสียดาย คิดอยากละความโลภตลอด เห็นผู้คนเกิดเมตตาอยากให้เขาพ้นทุกข์ เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้างหนอ เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา จิตใจมันแผ่เมตตาไปตลอดเวลา
    ไม่น่าเชื่อหลังจากนั้นเจอแต่สิ่งดีๆเข้ามาตลอด โชคลาภไม่คาดฝันประดังเข้ามา กัลยาณมิตรเข้ามาช่วยเหลือ ครอบครัวจากทะเลาะกันก็สามัคคี เทียบกับก่อนสวดจะเป็นคนเครียดง่าย เงินไม่พอใช้ โลภเพราะคิดว่าตัวเองไม่พอ อยากได้อยากมีเป็นในสิ่งที่เกินตัว เป็นทุกข์ตลอด ทะเลาะกับคนในบ้าน เจอเพื่อนไม่ดี ฯลฯ
    ทุกวันนี้ก็เลยยิ่งตั้งใจสวดมากกว่าเมื่อก่อน หลังสวดเสร็จก็ยินดีกล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ทั่วจักรวาล สวดต่อหน้าพระพุทธรูป ยินดีที่จะสวด สวดแล้วรู้สึกมีความสุข สบายใจ
    สวดแล้วเป็นมหามงคลต่อตัวเรา สวดไปเถอะค่ะ<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  7. tiklovely

    tiklovely สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ยอดกันฑ์พระไตรปีฎก

    การสวด คำว่า ธาตุ ออกเสียง ว่า ธาตุ หรือ ธา-ตุ กันแน่คะ ไม่ค่อยแน่ใจ กลัวจะสวดผิดคะ แต่จะให้ดีช่วยลิงค์เสียงสวดให้ด้วยก็ดีนะคะ ขอบคุรคะ
     
  8. tiklovely

    tiklovely สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ดิฉัน มี หนังสือสวดมนต์ ที่มี บทสวด ยอดพระกัณฑ์ ๆ 2 เล่ม ซึ่งก็เขียนว่าเป็นต้นฉบับเดิม แต่ไม่เหมือกับ ที่ ลง ใน เวป เลยคะ ฉันใช้สวด อยู่ทุกวัน เลยไม่แน่ใจว่าจะสวดผิดไหม
     
  9. AURAWAN

    AURAWAN สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2011
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +7
    สวัสดีค่ะ ท่านสมาชิกทุกท่าน..
    หนูท่องบทสวดตามเสียงที่พี่ๆ ให้มาแต่ทำไมมันไม่ค่อยเหมือนกันตั้งหลายที่คะ
    เช่น-บทที่2ในเสียงสวดว่าอะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
    สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
    โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
    ตรงสีแดงเป็นบทที่มีเพิ่มในเสียงสวด

    หรือบทที่11-อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคา(...)อะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน ตรงวงเล็บสีแดงหนูฟังเหมือนมีคำอีกคำหนึ่งแต่ฟังไม่ชัดว่าอะไร
    หรือบทที่14-อุ อุ ยาวะตาวะติงสา พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตาวะติงสา อิสสะโร
    ตรงตัวหนังสือสีแดงไม่เห็นได้ยินพระสวดเลย

    และสุดท้ายบทที่19-วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ ตกลงจิตติว่า 2 ครั้งหรือ 3 ครั้งคะใบเสียงสวดมี 3 ครั้งค่ะ
    ที่จริงหนูไม่ได้จับผิดหรือลบหลู่นะคะแต่อยากสวดให้ถูกที่สุดเผื่อจะได้บุญกุศลเยอะ ๆและผู้ที่หนูอุทิศส่วนกุศลให้ก็จะได้รับเยอะ ๆ ด้วยค่ะ
     
  10. ธิญาดา

    ธิญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    80
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +582
    สวดผิดหรือถูกไม่ต้องไปกังวลค่ะ ได้บุญเหมือนกันทั้งนั้น แค่สวดตามบทสวดมนต์นั้นๆและสวดด้วยความเคารพศรัทธาในบทสวด
    จากประสบการณ์สวดบทนี้มาได้ 3เดือน สวดเสร็จจิตสงบ นั่งสมาธิดีขึ้น ใจเย็นขึ้นมาก จิตใจดีกว่าแต่ก่อนมาก สวดด้วยศรัทธาทุกครั้ง รู้สึกปิติ ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมมาก ตอนนี้รักความดีมาก อยากรักษาศีล5 กรรมบท10ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ทุกวันนี้พยายามให้จิตใจเกาะอยู่แต่กับความดี พระคาถาบทนี้ทำให้เราเปลี่ยนไปโดยแท้จริง
     
  11. ohmegaboy

    ohmegaboy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +9
    สวัสดีครับ
    ผมมี version หนึ่งซึ่งเอามาจากหนังสือที่ด้านหน้ามียันต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกด้วยครับ ซึ่งเป็น version ที่ผมจำได้ตั้งแต่เด็ก ๆ ผมลองค้นในเว็บดูปรากฎว่ามีหลายเว็บตกหล่น และสลับกันไปมามากมาย
    สำหรับ version นี้ผมได้นั่งตรวจดูแล้วครับ มีบางที่ที่คนอาจจะสงสัยเช่น
    วัจจะโส หรือว่า วะตะโต อันนี้ก็คงเนื่องจากภาษาบาลีจริงๆ ไม่ภาษาเขียน ดังนั้นเวลาเขียนก็อาจจะใช้อักษรขอม อักษรพม่า ในการเขียน ซึ่งแต่ละภาษาก็มีข้อจำกัดของตัวเอง แต่โดยส่วนตัวก็คิดว่าอันไหนก็น่าจะได้
    แล้วก็มีตรงคำว่า ธาตุ อันนี้จะอ่านว่า ธา-ตุ
    แล้วก็ มิตติ มิตติ มิตติ วิตติ วิตติ วิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ คือ จะเป็น 3-3-2-2
    ถ้าใครสวดอันนี้แล้วรู้สึกว่าถูกจริตก็เชิญนะครับ ขออนุโมทนาครับ
    ๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา
    อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ อะระหันตัง สิระสา นะมามิ สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.
    ๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา
    อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ อิติปิ โส ภะคะวา ฯ
    ๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ-ปาระมิ จะ สัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะ-ณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะปารมิ จะ สัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน.
    ๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา เตโชธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโยธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    ๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    ๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุสะมาธิ-ญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    ๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    ๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
    ๙. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมพู ทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ
    นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ, ที มะ สัง อัง ขุ, สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ, อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ
    โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว,อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ, อิสวาสุ, สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ.
    ๑๐. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญ จะ อิสสะโร ธัมมา.
    กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
    จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
    ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
    ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
    ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
    นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
    ๑๑. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
    อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติ-สาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.
    สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
    ๑๒. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา.
    นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะ-ขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.
    นโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะ-ขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
    นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัต-ตา อุอะมะอะ วันทา นะโม พุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ
     
  12. njetsada

    njetsada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +151
    โมทานาสาธุ

    ผมหาคำแปลพระคาถานี้อยู่ ได้เข้ามาอ่านแล้ว ทำให้เข้าใจมากขึ้น ขอบพระคุณครับที่กรุณานำมาโพสต์ไว้ โมทนาสาธุ..สาธุ.. สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...