พระกริ่งปวเรศพรหมมุนีบ่วงสื่อเฮง รับพระสิ้นเดือนกันยายนนี้

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 22 ธันวาคม 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]

    ชนวนสมัยเททองให้วัดเทพศิรินทราวาส จะนำมาเททองในครั้งนี้ด้วย
     
  2. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]

    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2><CENTER>


    </CENTER>
    </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%">ชนวนพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศจะนำมาผสมในพระรุ่นนี้ด้วยนะครับ<HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>
    พระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศ
    เป็นพระที่จัดสร้างขึ้นตามพระตำรับเดิมของสมเด็จพระพันรัต วัดป่าเเก้ว พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งตกทอดมาถึงสมเด็จพระสังฆราชเเพ เจ้าคุณศรี สนธิ์ เเละมาถึงท่าน อาจารย์เทพ สาริกบุตรซึ่งท่านอาจารย์ได้รวบรวมไว้อันประกอบด้วย พระยันต์บังคับ108พระยันต์ เเละนะปถมัง14ครบทุกพระยันต์จารพระยันต์เพื่อการสถาปนาพระกริ่งนี้โดยเฉพาะเเละการจัดสร้างพระกริ่งครั้งนี้ได้จัดสร้างเป็นเนื้อนวโลหะเเท้ๆตามพระตำราของสมเด็จพระสังฆราชอันประกอบด้วยโลหะธาตุบังคับ9ชนิดอันประกอบด้วยทองคำซึ่งได้ใช้ทองคำบริสุทธิ์หนักกว่า40บาทรวมทั้งใส่ยอดพระเกศพระพุทธรูปพระสิงห์สมัยโบราณทองคำ เงินได้นำพระกริ่งเงินเหรียญเงินของพระผู้ทรงวิทยาคมต่างๆจำนวนมากและเหรียญสมัยรัชกาลที่ห้าและมีตราแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งได้เม็ดเงินบริสุทธิ์พร้อมกับขันเงินโบราณรวมเนื้อเงินแท้ๆที่ผสมในการเทพระกริ่งครั้งนี้รวมแล้วประมาณกว่า1กิโลกรัม ทองแดงได้มาจากการรวบรวมเหรียญพระคณาจารย์และพระยันต์ต่างๆรวมทั้งตะกรุดสำคัญของพระต่างๆ อีกหลายองค์ที่ได้ใส่ไปจำนวนมาก รวมแล้วหนักกว่า3กิโลกรัม เรียกว่าแม้เป็นทองแดงก็เป็นทองแดงที่มีค่ายิ่งกว่าทองคำเพราะประมาณค่ามิได้รวมแล้วมูลค่าทองแดงนี้ไม่ต่ำกว่า5แสนบาทหากไปเช่าหากันแบบทั่วไป จ้าวน้ำเงินได้ใส่ของท่านอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา ลงไปหนัก10บาทมีคนเล่าว่าหากว่าคนรู้ว่าแท้มีการซื้อขายกันถึงกรัมละ1หมื่นบาทเลยทีเดียวและคิดดูพระกริ่งรุ่นนี้ใส่ไปก่วา10บาทเป็นมูลค่าเท่าใด ปรอท ได้ใส่พระที่ทำจากปรอทสำเร็จของขนาจารย์ต่างๆแต่ใส่ไปไม่มากเนื่องจากเกรงว่าพระที่ออกมาผิวจะระเบิดและจะทำให้พระขาดความงามของผิดพระไป สังกะสี ดีบุก บริสุทธิ์ ตะกั่ว เหล็กละลายตัว พลวง โลหะต่างๆนี้อยู่ในสูตรนวโลหะบ้างไม่อยู่บ้างแต่ใส่จนครบหมดทั้งสิ้น และใส่เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อลงหินโบราณ และ ยอดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นยอดเจดีย์ ยอดพระเกศ ยอดขุนพล ยอดปราสาท เพื่อให้พระกริ่งนี้ บรรลุถึงความเป็น ยอดสุด นั่นเอง และกระนั้นดูเหมือนจะเป็นการโกหกว่านวโลหะจะครบได้อย่างไร แน่นอนต้องใส่ชนวนแท้ๆของสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เข้าไว้ด้วยจึงจะสมบูรณ์ครบตามตำนานอย่างมิต้องสงสัย นอกจากโลหะธาตุทั้ง 9 ชนิดแล้วรวมกับโลหะธาตุกายสิทธิ์ที่สะสมไว้ผสมในการนี้ด้วยรวมกับเเผ่นพระยันต์จากตะกรุดเเละเเผ่นจากจากพระผู้ทรงวิทยาคมทั่วประเทศ อาทิ
    เเผ่นพระยันต์ของท่านเจ้าคุณนรรัตราชมานิต
    เเผ่นพระยันต์ของหลวงปู่มหาอำพัน
    เเผ่นพระยันต์ตะกรุดพระยันต์จักรพรรดิ์
    แผ่นพระยันต์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น
    ตะกรุดเมตตา ตะกรุดสี่มหาอำนาจ ตะกรุดมหาปราบ ตะกรุดครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ตะกรุดพิสมรของพระอาจารย์ต่างๆมากมายจริงๆ
    ชนวนของสมเด็จพระสังฆราชเเพ วัดสุทัศนเทพวราราม
    ชนวนหล่อองค์พระศรีอาริยเมตไตรของพระครูโสภณธรรมรัต หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ศิษย์ในพระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ
    ชนวนพระกริ่งสมเด็จพระเจ้าตากสิน จากคุณ นพ มรดกมงคล
    ชนวนพระกริ่งหลวงพ่อจิตรฯ เนื้อนวโลหะเข้มข้น จาก นพ. จิมมี่ คงเจริญ
    ชนวนพระเขาอ้อขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นเจ้าพิธี
    ชนวนพระกริ่งและชนวนพระต่างๆหลายๆรุ่นจากคุณสุธัน สุนทรเสวี
    ชนวนพระกริ่งต่างอีกมากมายหลายสำนัก
    ยอดพระเกศสมัยโบราณทองคำ เหล็กยอดพระธาตุพนม เหรียญเงิน ทองแดง จากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ
    พระยันต์สมัยโบราณของล้านนา กังสดารสมัยโบราณ
    โลหะระฆังลงหินของพระอาจารย์สิงค์ ขัตยาคโม วัดป่าสาลวัน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]

    [​IMG]

    สิ่งที่ชมรมคนรักหลวงปู่ทวด สร้างเอาไว้เงินจากการทำบุญพระกริ่งดีหลวงเมื่อครั้งหลายปีก่อน
     
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]
    [​IMG]

    ชนวนพระกริ่งหน้าอินเดียที่ผมสร้างเองหลายปีก่อนมีชนวนหลวงพ่อศุขอยู่มากจะนำมาผสมในพระชุดนี้ด้วยนะครับ
     
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2></TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%">ชินะปุตโตจะนำมา

    ผสมในพระกริ่งรุ่นนี้

    ด้วย




    พระกริ่งพุทธลักษณะ พระกริ่งจีนใหญ่ เป็นเอกลักษณ์พิเศษ ด้านหลังมีการอัญเชิญพระยันต์ พุทธนิมิต นะสารพัดนึก ของ สมเด็จพระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวด ที่ท่านมอบให้เป็นยันต์ครูประจำตัวของข้าพเจ้าเเละ ยันต์นี้บังเอิญปรากฏในพระยันต์ของสมุดโบราณของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่ เถื่อนอีกด้วย ก้นพระกริ่งชุดนี้ ทุกองค์ลงเหล็กจาร พระยันต์พุทธซ้อน ของเจ้าคุณศรีสนธิ์ เเละ นะคง ไว้ด้วยเหล็กจารของเจ้าคุณศรีสนธิ์เเท้ๆ

    [​IMG]
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]

    ชนวนพระกริ่งฤาษีผมเองจะนำมาหล่อในครั้งนี้ด้วยนะครับ
     
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->
    พระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘
    หันทะ มะยัง อะนุสสะระณะ ปาฐะ คาถาโย ภะณา มะเส ฯ
    <O:pนะโมฯ 3 จบ

    พระพุทธคุณ ๕๖
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

    อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง <O:pอิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง

    ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม <O:pติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง

    ๓. ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม <O:pปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง

    ๔. โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก <O:pโสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง

    ๕. ภะ. ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา <O:pภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง

    ๖. คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง <O:pคัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง

    ๗. วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง <O:pวานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง

    ๘. อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน <O:pอะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง

    ๙. ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน <O:pรัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง

    ๑๐. หัง. หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง <O:pหังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง

    ๑๑. สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง <O:pสังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง

    ๑๒. มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต <O:pมานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง

    ๑๓. สัม. สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน <O:pสังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง

    ๑๔. พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง <O:pพุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง

    ๑๕. โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง<O:pโธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง

    ๑๖. วิช. วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง <O:pวิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง

    ๑๗. ชา. ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต <O:pชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง

    ๑๘. จะ. จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง <O:pจะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง

    ๑๙. ระ. ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา <O:pระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง

    ๒๐. ณะ. นะมิโตเยวะ พรหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา <O:pนะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง

    ๒๑. สัม. สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต <O:pสัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง

    ๒๒. ปัน. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก <O:pปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง<!-- google_ad_section_end -->

    ๒๓. โน. โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง

    ๒๔. สุ. สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน <O:pสุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง

    ๒๕. คะ. คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง <O:pคะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง

    ๒๖. โต. โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร <O:pโตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง

    ๒๗.โล. โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร <O:pโลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง

    ๒๘. กะ. กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน <O:pกะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหัง

    ๒๙. วิ. วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว <O:pวิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง

    ๓๐.ทู. ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาสะติ <O:pทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง

    ๓๑. อะ. อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม <O:pอะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง

    ๓๒. นุต. นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง <O:pนุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง

    ๓๓. ตะ. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง <O:pตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง

    ๓๔. โร. โรเสนโต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ <O:pโรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง

    ๓๕. ปุ. ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปาระมี <O:pปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง

    ๓๖. ริ. ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ <O:pริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง

    ๓๗. สะ. สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน <O:p</O:pสะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง

    ๓๘. ทัม. ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตะวา สะเทวะกัง <O:pทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหัง

    ๓๙. มะ. มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ <O:pมะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหัง

    ๔๐. สา. สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง <O:pสาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง

    ๔๑. ระ. รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง <O:pรัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหัง

    ๔๒. ถิ. ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก <O:p</O:pถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง

    ๔๓. สัต. สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สันตะนิพพานะปาปะกัง <O:pสะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง

    ๔๔. ถา. ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ <O:pถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง

    ๔๕. เท. เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง <O:pเทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง

    ๔๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง <O:pวันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

    ๔๗. มะ. มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา<O:pมะนุสสะเทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

    ๔๘. นุส. นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง <O:pนุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง<!-- google_ad_section_end -->
    ๔๙. สา. สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง

    ๕๐.นัง. นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ <O:pนันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง

    ๕๑. พุท. พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง <O:pพุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง

    ๕๒. โธ. โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน <O:pโธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง

    ๕๓. ภะ. ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก <O:pภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง

    ๕๔. คะ. คะหิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง <O:pคะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง

    ๕๕. วา. วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง <O:pวาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง

    ๕๖. ติ. ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต <O:pติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา


    เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา

    อภิวาท แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น , ผู้มีวิญญาณวิเศษอันหลักแหลมคมกล้า พระพุทธคุณคาถารวม ๕๖ พระคาถา แสดงถึงพระพุทธคุณอย่างลึกซึ้ง ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธคุณทั้งหลาย ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในกาลทั้งปวงตลอดกาลเป็นนิตย์ด้วย เทอญ ..
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระธรรมคุณ ๓๘


    สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก <O:pโอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหีติ

    ๑. สวาก. สวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สวานะยัง ธัมมะเทสิตัง <O:pสวาหุเนยยัง ปุญญะเขตตัง สวาสะภันตัง นะมามิหัง

    ๒. ขา. ขาทันโต โย สัพพะปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร <O:pขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง

    ๓. โต. โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง<O:pโตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง

    ๔. ภะ. ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อนุตตะโร <O:pภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง

    ๕. คะ. คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก<O:pคัจฉันโต พรหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง

    ๖.วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง <O:pวันตัง พาละมิจฉาทีนัง วันตะคันถัง นะมามิหัง

    ๗.ตา. ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมังติรัง<O:pตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง

    ๘. ธัม. ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง <O:pธะเรติ อะมังตัง ฐานัง ธะเรนตันตัง นะมามิหัง

    ๙. โม. โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ <O:p</O:pโมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง

    ๑๐. สัน. สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก <O:pสัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง

    ๑๑. ทิฏ. ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต <O:pทิฏฐี ทวาสัฏฐิ ฉินทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง

    ๑๒. ฐิ. ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตระสะธุตังคะเก <O:p</O:pฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง

    ๑๓. โก. โกกานัง ราคัง ปีเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ <O:pโกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง

    ๑๔. อะ. อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ <O:pอัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตัง วะ นะมามิหัง

    ๑๕. กา. กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย <O:pกาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง

    ๑๖. ลิ. ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปะฏิกัตตะเย <O:p</O:pลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง

    ๑๗. โก. โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ <O:pโก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง

    ๑๘. เอ. เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง <O:p</O:pเอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะตันนัง นะมามิหัง

    ๑๙. หิ. หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคคะติง <O:pหิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง

    ๒๐. ปัส. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก<O:pปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง

    ๒๑. สิ. สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา <O:pสีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง

    ๒๒.โก. โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ<O:p]โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง

    ๒๓. โอ. โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง<O:pโอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ๒๔. ปะ. ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง

    ๒๕.นะ. นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง <O:pนะรานัง กามะปังเกหิ นะมิตันตัง นะมามิหัง

    ๒๖. ยิ. ยิชชะเต สัพพะสัตตานัง ยิชชะเต เทวะพรหมุนา<O:pยิชชิสสะเต จะ ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง

    ๒๗. โก. โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ<O:pโกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง

    ๒๘. ปัจ. ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชะหิตา ปาปะกา จะโย <O:p</O:pปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง

    ๒๙. จัต. จะริตวา พรหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ <O:pจะชาเปนตัง วะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง

    ๓๐. ตัง. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวีริยัง <O:p]ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง

    ๓๑. เว. เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ <O:pวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง

    ๓๒.ทิ. ทีฆายุโก พะหุปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล <O:pทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง

    ๓๓.ตัพ. ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน<O:pตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโต โมกขัง นะมามิหัง

    ๓๔. โพ. โพธิง วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ <O:pโพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง

    ๓๕. วิญ. วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา <O:pวิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง

    ๓๖. ญู. ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคะสะมัปปิตัง <O:pญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง

    ๓๗. หี. หีสันติ สัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ<O:pหีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง

    ๓๘.ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม<O:p ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง



    อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา

    ]พระธรรมคุณ คือ คุณของพระธรรมโดยพิสดาร มี ๓๘ บท เป็นบทที่ได้แสดงคุณของพระธรรมอันลึกซึ้ง ด้วยอานุภาพของพระสัทธรรม ๑๐ ประการนั้น ขอความสุขสวัสดีมีชัย จงบังเกิดมีแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลเป็นนิตย์ด้วย เทอญ
     
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระสังฆคุณ ๑๔

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ



    ๑. สุ. สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐ โย ปะฏิปันนะโก สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง

    ๒. ปะ. ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง

    ๓. ฏิ. ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเนติตถิโย พุทธวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง

    ๔. ปัน. ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโตปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง

    ๕. โน. โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิโนนะตัง พุชฌะติ ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง

    ๖. ภะ. ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง

    ๗. คะ. คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะคะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นามาะมิหัง

    ๘. วะ. วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทังวัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง

    ๙. โต. โตเสนโต เทวะมะนุสเส โตเสนโต ธัมมะเทสะยิโตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง<O:p

    ๑๐ สา. สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินิสาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง

    ๑๑. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง

    ๑๒. กะ. กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง

    ๑๓. สัง. สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โสสังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง

    ๑๔. โฆ. โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรังโฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง

    จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภิรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ สังฆคุณา จะ จุททะสะ อัฏฐตตะระสะเต อิเม ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ.

    พระสังฆคาถา ๑๔ บท แสดงพระสังฆคุณลึกซึ้ง ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆคุณเหล่านั้น ขอความสวัสดี มีชัยจงมีแก่ ข้าพระพุทธเจ้า ในกาลทั้งปวง
    นิพพานะ ปัจจโย โหตุ<O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ประวัติพระกริ่ง ตำนานพระกริ่ง พระชัยวัฒน์
    ตำนานความเป็นมาของ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งนายนิรันดร์ แดงวิจิตร หรือ อดีตพระครูวินัยกรณโสภณ เป็นผู้เขียน มีข้อความที่น่าสนใจมากดังนี้
    ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ "คำว่ากริ่ง" นี้ หมายความว่ากระไร สมเด็จฯ (สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล) คือ เมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว
    ถึงขั้นสุดท้ายจิตเสวยอุเบกขาเวทนา ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา) เปลี่ยนเป็น อเนญชา (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน คือ ฌานที่ 4) เป็นเหตุให้พระโยคาวจรเอะใจขึ้นว่า "กึ กุสโล" นี้เป็นกุศลอะไร เพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้น แปลกประหลาด ไม่เหมือนกับกุศลอื่นที่ผ่านมา ดังนั้น คำว่า "กึ กุสโล" จึงเป็นชื่อของ อเนญชา คือ "นิพพุติ" แปลว่า "ดับสนิท" คือหมายถึงพระนิพพานนั่นเอง"
    มูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้าง พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ นั้นมีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ทรงเล่าว่าเมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯเสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ
    พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศแต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่ น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้ว โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ ส่วนจะเป็นพระกริ่งสมัยไหนพระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้
    สำหรับคำกล่าวว่าตำราสร้างพระกริ่งใน ยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระนพระชัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาสสมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้นพรมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี
    นอกจากนี้การแสวงหาแร่ธาตุที่มีคุณต่างๆ นั้น ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย ตามตำราการ สร้างพระกริ่งเนื้อ นวโลหะสายวัดสุทัศนฯ ประกอบไปด้วย 1.ชินน้ำหนัก 1 บาท (1 บาท = 15.2 กรัม) 2.จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท(แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) 3.เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท 4.บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก4 บาท 5.ปรอท น้ำหนัก5 บาท 6.สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท7.ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท 8.เงิน น้ำหนัก 8 บาท และ 9.ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท มาหล่อหลอมให้กินกันดีแล้วนำมาตีเป็นแผ่นแล้วจารยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 นะ ครั้งได้ฤกษ์ยามดีก็จะพิธีลงยันต์ในพระอุโบสถต่อไป จากนั้นก็กลับนำมาหล่อตามฤกษ์อีกครั้ง
    ด้วยมวลสารพิธีกรรมและฤกษ์ ทำให้พระกริ่งที่ สร้างในยุคก่อนมีความเข้มขลังสามารถแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคได้ แต่การสร้างยุคหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรัด แม้ว่าจะเป็นเนื้อนวโลหะครบตามสูตร แต่การจารยันต์และฤกษ์การเทนั้นไม่เป็นตามตำรา พระกริ่งยุคหลังจึงนำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคไม่ได้ดีเท่าในอดีต
     
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    การสร้างพระกริ่งเเท้จริงเเล้วตำราไม่ใช่ตำราการสร้างพระกริ่งเเต่เป็นการสร้างพระไชย หมายถึงพระชัยวัฒน์ประจำตัวองค์ของเจ้านายชั้นสูงซึ่งเเต่ก่อนมีบัณทึกเก่าเเก่สุดที่ผมเคยเห็นต้นฉบับคือ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีปรากฏชื่อพระโหราจารย์เเละพระยาเดโช ซึ่งเเน่นอนว่าตำราเหล่านี้ถูกคัดลอกออกมาตามสำนักต่างๆผิดเเปลกจากต้นเค้าเดิมบ้างตามเเต่มติเเต่ละสำนัก

    เเละการสร้างนวโลหะสมัยก่อนไม่มีนะครับมีเเรกสุดสมัยสมเด็จพระสังฆราชแพนี้เอง เเละพระยันต์108เช่นกันสมัยก่อนไม่มีเเต่สมเด็จพระสังฆราชแพเป็นคนรวบรวมยันต์ชั้นสูงเอาไว้ด้วยกันจึงกลายเป็นมาตรฐานในการสร้างพระกริ่งในเเต่ละสำนักในเวลาต่อมาว่าต้องผสมยันต์108นะ14 เสมอมานับเเต่ครั้งนั้น
     
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ในบรรดาพระกริ่ง สุดยอดของสยามคือ พระกริ่งปวเรศ พระกริ่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้านายวังหน้าพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระนามเดิมพระองค์เจ้าฤกษ์ ซึ่งท่านเองเดิมเป็นศิษย์กรรมฐานวัดราชสิทธาราม สืบถอดกรรมฐานเเบบมัฌชิมา เเละพระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งที่หล่อจากฐานพระพุทธชินสีห์ เเละผสมโลหะอื่นๆเนื้อสัมฤทธิ์มิใช่เนื่้อนวโลหะเเต่อย่างใด เเละจะบอกว่าเนื้อนวโลหะเป็นเนื้อที่คิดค้นโดยสมเด็จพระสังฆราชแพ พระองค์เเเรก เเละ พระกริ่งปวเรศนี้องค์จริงเเทบจะงมเข็มในมหาสมุทร ดังนั้นพระกริ่งยุคหลังที่เชื่อได้เเน่นอนว่าถอดเค้าพิมพ์ปวเรศได้ดีที่สุดคือรุ่นปี2530 ดังนั้นผมเองจึงถอดพิมพ์พระกริ่งปวเรศจาก2530 อันเป็นพระกริ่งปวเรศที่สวยงดงามมากที่สุด
     
  14. sanyasiri

    sanyasiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +267
    อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับคุณหมอ
    ว่าแต่ว่าคุณหมอพอจะทราบเรื่องที่คนเขาทดสอบโดยอาราธนาพระกริ่งไปตัดรุ้งว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรไหมครับ
    อีกอย่าง การอาราธนาพระกริ่งมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ
     
  15. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    เรื่องการอารธนาพระกริ่งในการทำน้ำมนต์พระกริ่งมีวิธีการไม่ยากอารธนาพระเเล้วจุ่มลงน้ำเเล้วอธิษฐานเอาได้เลยครับ ส่วนเรื่องตัดรุ้งเห็นมีคนชอบไปลองเเต่ผมว่าไม่เหมาะควรเท่าไร
     
  16. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    เมื่อวานพบเข้าพบ พลตรี ละเอียดรัฐ บัวขม เเซ่โค้ว หลาน ก๋งพ้ง บัวขม ศิษย์หลวงปู่ยิ้ม มือเเกะพระเเละกดพิมพ์พระปิดตาสมัยหลวงปู่ยิ้ม ท่านผู้การได้ให้มวลสารโคตรหวงสมัยหลวงปู่ยิ้มตกทอดจากก๋งพ้ง มาหลายอย่างอาทิ

    พระอัฐิธาตุ หลวงปู่เฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในพระอาจารย์สำคัญของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    ผงเหล็กไหลจากภูเขาควาย ลาว ที่หลวงปู่ยิ้มท่านได้ไปเก็บมาเอง
    ผงว่าน108สำคัญที่หลวงปู่ยิ้มให้ หลวงพี่เงิน วัดบางคลาน หลวงน้องบุญ วัดกลางบางเเก้ว หลวงน้องศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เสกไว้ให้หรือจะเรียกว่าผงสี่ปรมาจารย์ก็ไม่ผิดเพราะผงนี่มีอายุนับร้อยๆปี
    ผงไพลดำของหลวงปู่เฒ่ายิ้ม
    ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ ที่ขุดพบจากนครวัต ประเทศเขมร
    ขันสัมฤทธิ์เเละลงหินโบราณ
    ผงทองคำสมัยหลวงปู่ยิ้ม

    ไว้จะถ่ายรูปให้ชมนะครับ

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9858.JPG
      IMG_9858.JPG
      ขนาดไฟล์:
      81.7 KB
      เปิดดู:
      3,576
    • IMG_9861.JPG
      IMG_9861.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.5 KB
      เปิดดู:
      2,576
    • IMG_9862.JPG
      IMG_9862.JPG
      ขนาดไฟล์:
      82 KB
      เปิดดู:
      3,560
    • IMG_9864.JPG
      IMG_9864.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72 KB
      เปิดดู:
      3,564
    • IMG_9867.JPG
      IMG_9867.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.2 KB
      เปิดดู:
      3,546
    • IMG_9870.JPG
      IMG_9870.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78 KB
      เปิดดู:
      82
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2012
  17. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    ผมเองเมื่อวานเข้าไปกราบ อาจารย์พีรณัฐ กิจนาคะเกศ ผู้สืบทอดวิชชาสายตรงหลวงพ่อศุข ศิษย์เอกหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ
    ท่านอาจารย์เมตตามอบมวลสารดังนี้

    1.ผงพระพุทธคุณลบจากกระดานสมัยหลวงพ่อมหาโพธิ์บวชอยู่กับหลวงพ่อบุญยัง วัดหนองน้อย ชัยนาท
    2.ผงใบลานเผาสมุดตำราพระเวทของหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ตกทอดมาถึงหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ
    3.เกสาธาตุ ของหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ
    4.ลูกสะกดหลายร้อยปีจากกรุเเถวอุทัยที่หลวงพ่อมหาโพธิ์เสกเอาไว้
    5.น้ำมันงาเสกตำรับหลวงพ่อศุข ของหลวงพ่อมหาโพธิ์เสกไว้กว่าสามสิบปี
    6.ดิน7โป่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9924.JPG
      IMG_9924.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.1 KB
      เปิดดู:
      85
    • IMG_9925.JPG
      IMG_9925.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86 KB
      เปิดดู:
      85
    • IMG_9926.JPG
      IMG_9926.JPG
      ขนาดไฟล์:
      80.5 KB
      เปิดดู:
      78
    • IMG_9927.JPG
      IMG_9927.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.8 KB
      เปิดดู:
      86
    • IMG_9928.JPG
      IMG_9928.JPG
      ขนาดไฟล์:
      27 KB
      เปิดดู:
      68
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มกราคม 2012
  18. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    วันนี้มีคนจองอีก 1 ชุดรวมเป็น 14ชุดแล้วครับ เหลือ 94ชุด

    บางท่านโทรมาตอนหมดแล้วก็ไม่มีพระให้เช่า

    อีกหน่อยก็ไม่มีให้เช่าบูชาแล้วครับ
     
  19. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    จะทะยอยลงมวลสารให้ชมกันรับรองว่าครั้งนี้ทุ่มเทเเบบสุดๆล่าสุดผมคุยกับศิษย์หลวงพ่อดู่เเกยินดีจะมอบตะกรุดสมัยหลวงพ่อดู่ วัดสะเเก ให้มาหลอมเป็นชนวนพระกริ่งในครั้งนี้นะครับ
     
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    วันนี้มีคนจองชุดกรรมการ1ชุด เเละชุดปกติ1ชุดตอนนี้พระชุดกรรมการเหลือชุดสุดท้ายเเล้วนะครับเเละยอดจองพระกริ่งเนื้อนวโลหะมีคนจอง14ชุดเเล้วครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...