พญานาคราช 4 ตระกูล นครคำชะโนด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Ajarn Pithak, 23 พฤศจิกายน 2009.

  1. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    กระตุ้นปัญญาด้วยการคิดถึงความตาย
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    คราว หนึ่ง...พระผู้มีพระภาคได้สนทนากับภิกษุหลายรูป ในเรื่องเกี่ยวกับความตาย ได้ตรัสถามพระเหล่านั้นว่า...เธอทั้งหลาย ได้เจริญมรณสติอยู่หรือเปล่า

    ภิกษุก็กราบทูลว่า...ได้เจริญอยู่ พระเจ้าข้า
    ตรัสถามต่อไปว่า...เจริญอย่างไร?

    รูปหนึ่งกราบทูลว่า...ชีวิตไม่นานหนอ จะแตกดับภายในวันหนึ่งคืนหนึ่งโดยแท้
    รูปหนึ่งทูลว่า...ได้คิดว่าชีวิตจักแตกดับภายในวันหรือคืน
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า...คิดว่าจะอยู่ได้ไม่เกินเที่ยงวัน
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า...ชีวิตนี้จักดำรงอยู่ไม่เกินสามชั่วโมง
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า...อยู่ไม่เกินชั่วโมง
    อีกรูปหนึ่งทูลว่า
    ...ชีวิตนี้น้อยคงอยู่ได้ไม่เกินขณะลมหายใจเข้าออกเท่านั้น

    ทรง ติทุกรูปว่า ยังประมาทในความตาย ยังคิดว่าตนจักอยู่ได้นานถึงขนาดนั้น ทรงชมเชยรูปที่กล่าวว่าชีวิตนี้มีอยู่ชั่วลมหายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น หาอยู่นานไปกว่านั้นไม่ นั่นแหละถือว่าเป็นการเจริญในความคิดเกี่ยวกับความตายโดยแท้ นี้เป็นบทเรียนอย่างยิ่งสำหรับชีวิตเกี่ยวกับความตาย

    การคิดถึงความ ตายมิใช่เรื่องของความผิด แต่เป็นเรื่องของความถูกต้อง เป็นเรื่องกระตุ้นเตือนให้เกิดปัญญา เกิดความก้าวหน้าในการประกอบกิจการงาน เพราะเมื่อรู้ว่าอายุเราเป็นของน้อย อาจจะแตกดับลงไปเมื่อใดก็ได้ ก็ควรที่จะได้รีบเร่งประกอบคุณงามความดีต่อไปตามโอกาส

    พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า...
    กิจอันใดเราจะต้องทำในวันนี้ จงทำทันทีอย่าช้าอยู่เป็นอันขาด เพราะถ้าขืนช้า...ความตายจะมาถึงแล้ว จะพลาดโอกาสอันงามนั้นไปเสีย

    จึงควรเตือนตนเองเสมอ ๆ ว่า มีอะไรที่จะต้องทำจงรีบทำเสียเถิด ตายแล้วไม่มีโอกาสจะมาทำอีก จงทำเดี๋ยวนี้ ทำทันที ช้าจักเสียการ


    สัจธรรมของชีวิต จาก พระเทพวิสุทธิเมธี
    ที่มา
    http://www.dhammajak.net/</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  2. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    1/10/10 (วันพระ)

    - ทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์จากวัดญานสังวรราม จำนวน 8 รูป
    - ทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณรจากวัดทรงเมตตาวนาราม 3 รูป
    -
    ไปวัดอัมพาราม ทำบุญใส่บาตรถวายอาหารพระสงฆ์ 16 รูป
    - ถวายดอกไม้ ธูป เทียน พระประธานที่ศาลา
    - หยอดปัจจัยใส่บาตรบำรุงวัด
    - หยอดปัจจัยใส่บาตรบำรุงค่าน้ำ
    - หยอดปัจจัยใส่บาตรบำรุงค่าไฟ
    - หยอดปัจจัยใส่บาตรติดกัณเทศน์
    - ทำบุญติดปัจจัยต้นหางกฐินของวัดอัมพาราม
    - ทำบุญเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี วัดทุ่งกุลาเฉลิมราช จ.ร้อยเอ็ด เป็น กรรมการ 100 บาท



    ขอให้ผลจากทานนี้ ทำให้ข้าพเจ้าสละความโลภ ความโกรธ ความหลงได้โดยง่าย ให้มีทรัพย์สินมหาศาลเป็นทานธารณะ ได้สร้างทานบารมีช่วยเหลืองานสืบทอดพระพุทธศาสนาให้สำเร็จงานแล้วงานเล่า อย่างไม่มีที่ประมาณ
    และขอให้ผลแห่งทานนี้จงเป็นปัจจัยนำถึงซึ่งพระ นิพพานในชาตินี้ภพนี้เทอญ


    หาก แม้บุญบารมีที่สั่งสมมายังไม่ถึง ไม่สามารถถึงซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ภพนี้ ด้วยอำนาจทานที่ข้าพเจ้าทำนี้ แม้ข้าพเจ้าจะบังเกิดในภพชาติใดๆ ขอให้สมบัติเกิดขึ้นมาไหลมาเทมาอย่างคลื่นในมหาสมุทร แล้วให้เอาทรัพย์นั้นมาบำรุงพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งแผ่นดิน ใครมาประพฤติปฏิบัติธรรมก็ให้เลี้ยงให้ได้หมด มามากเท่าใด มาเป็นร้อย เป็นล้าน ขอให้เลี้ยงได้หมด พระสงฆ์องค์เจ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมมีมากเท่าไหร่ ให้เลี้ยงให้ได้หมด ให้ได้ช่วยเหลืองานสืบทอดพระพุทธศาสนาสำเร็จงานแล้วงานเล่าทุกชาติทุกภพทุก ภูมิที่ข้าเกิดตราบสู่พระนิพพานเทอญสาธุ
     
  3. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    อนุโมทนา บุญครับพี่อุ้ม ว่าแต่พี่ออกพรรษานี้จะไปชมบั้งไฟพญานาคไหมอะครับ
     
  4. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    ตั้งใจไว้แล้วว่าจะไปจ๊ะ แต่ก็คงต้องรอดูงานด้วย ว่าจะลาได้หรือป่าว เพราะถ้าไปก็คงต้องใช้เวลาหลายวันเหมือนกัน
     
  5. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    เคยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง กล่าวว่า องค์ศรีสุทโธ ท่านเป็นพญานาคคอยรักษาภาคเหนือ และ องค์สุวรรณนาคราช เป็นพญานาครักษาภาคอีสาน จริงหรือป่าวครับ:cool:
     
  6. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    องค์พ่อศรีสุทโธนาคราช รักษาภาคอีสาน และปกครองเหล่าพญานาคราช ของประเทศไทย และส่วนองค์สุวรรณนาคราช ปกครองภาคเหนือ ครับ
     
  7. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center">
    </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    มหาทาน ยิ่งให้ยิ่งได้

    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม


    นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย พระเวสสันดรตัดใจได้หมดทุกอย่าง
    และก็ได้คืนหมดเช่นกัน ขอพรจากพระอินทร์
    ได้อานิสงส์จากพระราชทานสองกุมารหนึ่ง
    สองได้พระราชทานนางมัทรีต่อยาจกคือพระอินทร์
    พระอินทร์ก็อนุโมทนาให้ศีลให้พร
    ทศพรก็มีพร ๑๐ ประการ
    ข้อสำคัญอยู่ข้อ ข้อที่ว่าให้ชาวเมืองที่โกรธเคือง ให้หายโกรธ
    คิดว่าพระเวสสันดรตายไปหมด
    ไปอยู่สิงห์สาราสัตว์กลายเป็นสามัคคี
    ให้สองกุมารสิงห์สาราสัตว์ไม่กัดกิน ไม่ฆ่าสัตว์เห็นไหม
    ทานอันนี้สำคัญมาก เรียกว่า มหาทาน


    มหาทานได้บุญได้ทานการกุศล ทุกคนตัดใจไม่ค่อยจะได้ จะให้ทาน
    อาตมามานึกดู เออยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงอด นี่จริงแน่นอน หมดไม่มาแน่นอน
    ยิ่งไม่ให้ยิ่งไม่ได้ ไม่ให้ใคร ใครเขาจะได้อะไร
    คิดว่าเราจะไม่ตายหรือ ไปอยู่ที่ชาติไหนก็ติดตามเราไป
    พรอันสำคัญ คือ ถูกเนรเทศกลับไม่ได้ คืนคำไม่ได้
    แต่ขอพรจากพระอินทร์ได้
    พระอินทร์ก็บอกให้ขอพรมา
    ขอให้ชาวเมืองที่โกรธเคืองหายโกรธเคือง
    และขอให้ฝนโบกขรพัตร์
    ฝนแก้วฝนเงินฝนทอง ตกมาอย่างที่ให้ทานไป
    ตกหน้าบ้านใครให้บ้านนั้นเป็นเจ้าของ ไม่ต้องเก็บไม่ต้องแย่งกัน
    ทานที่ให้แล้วกลับคืนมาได้แน่นอน ขอฝากโยมไว้

    มารไม่มี บารมีไม่เกิด ประเสริฐไม่ได้
    ถ้าคนไหนไม่มีมาร คนนั้นใช้ไม่ได้
    ไปไหนเอาสบายอย่างเดียว เอาสบายอย่างเดียวไม่มีมาร
    รับรองท่านจะไม่ปลอดภัย
    ท่านจะมีแต่เสนียดจัญไรตลอดรายการ มารนั้นทำให้เราดี


    อาตมาถึงพูดให้โยมฟัง วันไหนโยมถูกด่ามากวันนั้นเป็นมงคล
    วันไหนโดยถูกป้อยอเขาจะล้วงไส้เราโดยไม่รู้ตัว
    หลงเชื่อเราจะประมาท จะเสียท่าเสียทีต่อมารร้าย
    และที่เขามาป้อยอกับเรา ระวังให้ดี เขาไม่ได้รักเราจริง
    เพราะฉะนั้นก็ขอฝากไว้ มีอะไรระลึกเสมอ อย่าขาดสติ ท่องไว้
    อย่าเสียสติกับขาดสติ เสียสติไม่มีสตางค์ เงินทองหมดไม่มีโอกาสดี
    อย่าไปโลภมากอยากได้ของเขา ไม่โลภอยากได้
    ยิ่งให้ยิ่งได้ มิใช่เป็นของเรา ถ้าของเราก็รักษาไว้ไม่ใช่โลภ

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> พระพุทธเจ้าสอน บางคนเข้าใจผิด อยากมีเงินมีทองเป็นของเราเอง
    ถ้าเป็นของเราเองล่ะไม่ใช่เป็นโลภะ
    หากินมาด้วยความสุจริต หากินมาด้วยความเหนื่อยยาก
    อาบเหงื่อต่างน้ำได้มาด้วยปัญญา ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง
    โลภอยากได้ของเราที่ไม่ได้เป็นทุจริต ผิดศีลธรรมก็เป็นใฝ่ดีเป็นกุศล
    โลภอยากได้ของเขามิใช่เป็นของเรา เป็นอกุศลเท่านี้เอง
    ฝากไว้ให้คิด ให้เรามีสติอย่าเสียสติ
    ถ้าขาดสติท่านจะเสียสติ ท่านจะไม่มีโอกาสที่จะคิดดี
    คิดแต่ทางที่เอาแต่ใจตัวเอง
    ถ้าเรามีสติแล้วจะคิดโดยดุลพินิจพิจารณาด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง
    จะแสนลำบากอย่างไรก็ทน
    นี่แหละถึงจะได้เป็นพระเอก นางเอกในเรื่องละครชีวิต
    ในละครเห็นไหม พระเอกลำบากไหม นางเอกลำบากไหม
    ตัวโกง ตัวเลวตัวร้าย มารร้าย มารไม่ดี ไม่มีปัญญา
    ไร้เหตุผลดังกล่าวมาขั้นต้นทุกประการ



    บางคนเป็นชาวพุทธเคยมานั่งเจริญพระกรรมฐาน
    พอไปชอบกับอิสลาม รักเขาจนหมดตัวแล้วทิ้งศาสนา
    เขาบอกว่าถ้ารักเราจริงเอาล็อคเก็ตพระมากระทืบได้ไหม
    เพื่อนอยู่ตรงนั้นก็ถ่ายรูปไว้ แหมสามารถทำได้
    ลูกศิษย์ที่ดีเรียนจบปริญญาโท
    อาตมาเคยให้พระสุโขทัยสวยไปองค์หนึ่ง
    คือ อาตมาไปธุดงค์ได้มา เหยียบเพราะรัก แล้วไม่น่าเหยียบย่ำศาสนา
    หากเป็นไปได้ถ้าจะดีด้วยกัน ต่างคนต่างนับถือไม่ได้หรือ
    แล้วทำไมถึงไปทำกันเช่นนี้ อาตมาไม่เคยเหยียบย่ำศาสนาใด
    เป็นเรื่องที่เราต้องประทับใจจนมาทุกวันนี้


    ขอฝากญาติโยมมีพระกรรมฐาน ก็จะทำให้กำหนดจิตได้ ไม่ไปโกรธเขา
    เขาก็บาปเสียเอง เดี๋ยวนี้ไม่มีงานทำเลยก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน
    ไม่มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมเลย เราสอนไปยังไม่ดี
    อุตส่าห์จบปริญญาโท มาหลายเป็นอย่างนี้ไป
    ถ้าจะให้ดีต่างคนต่างนับถือไม่ได้หรือ ต้องทำกันอย่างนี้ด้วย


    ให้ข้อคิดนะ โม่ง ๓ ตัวช่วยได้
    นั่งเจริญพระกรรมฐานจะรู้ว่าโม่งดำคือใคร
    โมงแดงคือใคร โม่งขาวคือใคร
    ชายประหลาดเราไม่เห็นตัว คือบุญกุศลนั่นเอง...
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  8. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    เจตนาเป็นตัวศีล
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center">
    </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ

    คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ

    ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ

    กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล

    ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย





    คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  9. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    เคยได้ฟังเทศน์ของหลวงปู่เทศน์ท่าสอนว่า ศีลมีมากมาย ไปยึดมั่นกับศีลมาก ปฏิบัติธรรมไม่ถึงไหน มัวแต่กังวล ท่านว่า ให้ถือเจตนาตัวเดียว หากมีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะรักษาศีลตัวเดียวแล้ว ศีลก็สมบูรณ์

    พิจารณาให้ดีนะครับ อย่าด่วนตัดสิน

    เมื่อวานนี้
    ไปทัวร์กราบพระ ไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เจริญสมาธิภาวนา และถวายสังฆทานวัดต่าง ๆ ที่อยุธยามาครับ อาทิ วัดสะแก (หลวงปู่ดู่) วัดบางนมโค (หลวงพ่อปาน) วัดหน้าต่างนอก (หลวงพ่อจง อาจารย์หลวงพ่อปาน) เยื่ยมสงฆ์อาพาธ หลวงปู่เยื่ยม วัดประดู่ทรงธรรม วัดวรเชษฐาราม วัดกล้วย และวัดไชยวัฒนารามครับ ขอให้ทุกท่านได้รับบุญกุศลเฉกเช่นเดียวกับข้าพเจ้าทุกประการด้วยเทอญ สาธุฯ
     
  10. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    ศีลข้อ 4 มุสา ไม่ได้แปลว่าไม่พูดปดเท่านั้น !


    หลัง จากที่ผมบวชเมื่อปลายปี 50 ช่วงวันปีใหม่ ที่วัดป่าเขาน้อย จังหวัดพิจิตรแล้ว ผมก็เปลี่ยนจากการอ่านหนังสือบริหารธุรกิจหรือการตลาด เป็นหนังสือธรรมะ และอ่านเยอะมาเป็นหลายสิบเล่ม และยิ่งได้ศึกษา ก็พบว่ามีหลักธรรมหลายอย่างที่เข้าใจไม่หมด หรือเข้าใจผิด

    และคิดไป ถึงพุทธศาสนิกชนท่านอื่นด้วยว่า เสียดายที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าตั้งแต่เด็กจน โต แต่กลับไม่รู้จริงและมีแค่ส่วนน้อยที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้หลายคนก็ยังมีแต่ความทุกข์

    และสร้างกรรมโดยไม่รู้ตัวว่าผิด ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า มิจฉาทิฐิ หมายถึงความเห็นผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในโลกอย่างไม่น่าเชื่อว่าหนึ่งในนั้นคือการ เข้าใจผิดเรื่องความหมายของศีลข้อที่ 4 มุสาวาทา เวรมณี ที่เรา ๆ ท่าน ๆ ท่องมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งผมก็ลองถามเพื่อนหลายคน แทบจะตอบเหมือนกันหมดว่าหมายถึงไม่พูดปด ซึ่งถ้าเป็นช่วงก่อนบวชผมก็คงตอบอย่างนั้นเหมือนกัน รวมถึงท่านที่ได้อ่านบทความนี้หลายคนด้วย

    แต่จริง ๆ แล้ว ศีลข้อ 4 มุสาวาท ไม่ได้หมายความตื้น ๆ แค่ไม่พูดปด แต่ครอบคลุมถึง 4 อย่างด้วยกัน คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ

    การพูดนินทาผิดศีลหรือไม่
    มาถึงตอนนี้ หลายท่านอาจตั้งคำถามว่า ถ้าอย่างนั้น การพูดนินทาก็ไม่ผิดศีลน่ะสิ เพราะที่ว่ามา 4 อย่างไม่เห็นมีไม่พูดนินทา

    แต่ถ้าคิดดูให้ดีแล้ว ตอบได้ว่า
    การ พูดนินทานั้นแทบจะเป็นการพูดผิดศีลทั้ง 4 แบบ เช่น ถ้าพูดนินทาเมื่อไหร่ก็จะเข้าข่ายเป็นการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์ เพราะถ้าอยากให้เกิดประโยชน์จริง ๆ ต้องกล้าตักเตือนต่อหน้าหรือหาทางอื่น เช่น ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือนแทน

    อย่าง ที่สอง การพูดนินทามักจะเป็นการพูดส่อเสียด และถ้านินทาให้มันส์ก็ต้องใส่สีสันก็คือพูดปดนั่นเอง และร้อยทั้งร้อยก็จะมีคำหยาบคายเข้าไปผสมด้วย ดังนั้น การพูดนินทาจึงเป็นการกระทำผิดศีลข้อ 4 แน่นอน

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> ผลของการผิดศีลข้อ 4
    และ เมื่อเราเข้าใจดีขึ้นแล้วว่ามุสาไม่ได้รวมแค่พูดปดอย่างเดียว ก็ขอให้ลองพิจารณาต่อไปว่า ความทุกข์ที่เราท่าน ๆ เจอหรือปัญหาที่สังคมเจอส่วนหนึ่งมาจากการผิดศีลข้อมุสาวาทนี่เอง เริ่มจากในครอบครัว พ่อแม่มักจะด่าว่าลูกโดยนึกภายในใจว่าสิ่งที่ตัวเองพูดมาจากเจตนาที่ดี

    แต่ ปัญหาคือลูกไม่รู้เจตนาหรือความคิดของพ่อแม่ จึงมักไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ ยิ่งพ่อแม่ใช้คำหยาบคายมากเท่าไหร่ ไม่น่าเชื่อว่าลูกก็จะพลอยติดการใช้คำพูดนั้นอย่างน่ากลัว

    ท่าน ที่ยึดธรรมะเป็นหลักจึงควรใช้สติในการสั่งสอนลูกและใช้ถ้อยคำที่สุภาพ แต่เข้มงวดในเนื้อหาหรือพยายามใช้กุศโลบายต่าง ๆ อธิบายให้เห็นถึงเหตุผล ผมเชื่อว่าเด็กสมัยใหม่ หากพ่อแม่รู้จักเล่าตัวอย่างเหตุการณ์หรือใช้เหตุผล เค้าก็จะเชื่อฟังและนำไปไปฏิบัติได้ดี

    นอกจากเรื่องการสอนลูกแล้ว ผม เชื่อว่าสามีภรรยาที่มีปัญหากันส่วนหนึ่งเกิดจากการพูดส่อเสียด หรือกระแนะกระแหน เช่น ภรรยาก็มักจะส่อเสียดว่าหายไปไหนทั้งวัน มีกิ๊กที่ไหน สามีฟังก็ไม่พอใจก็พูดหยาบคายกลับ และกลายเป็นเรื่องใหญ่โต ทั้ง ๆ ที่สามีอาจจะยังไม่มีกิ๊กเลยก็ได้

    กว้างกว่านั้น ผมพบว่าปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงานก็ล้วนมาจากการผิดศีลข้อ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการพูดหยาบคายของหัวหน้า ทั้ง ๆ ที่เจตนาดีแต่ไม่มีใครรู้ แล้วตามติดด้วยการพูดนินทาในที่ทำงานเพราะไม่พอใจคนโน้นคนนี้ ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้

    และร้อยทั้งร้อย คำพูดนินทาก็จะส่งต่อ ๆ กันไปถึงหูคนที่ถูกนินทาแถมยังถูกเพิ่มเติมสีสันให้มันปาก ก็ทำความไม่พอใจให้ผู้ถูกนินทา และโต้ตอบกันไปมาจนเป็นเรื่องใหญ่และทำงานไม่สนุก องค์กรก็แย่ลงเรื่อย ๆ

    เช่น เดียวกับปัญหาระดับเมืองหรือประเทศ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการพูดปดเพื่อให้เชื่อถือ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าในทางปฏิบัติทำไม่ได้ แต่ไม่ยอมรับความจริง จนในที่สุดประชาชนก็เบื่อหน่ายไม่เชื่อถือและไม่ให้ความร่วมมือกันพัฒนา เมืองหรือประเทศต่อไป

    ผู้หญิงน่าจะเป็นนางฟ้าแต่กลับพลาดสวรรค์ เพราะ...
    มี อีกสิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายมากในความคิดของผมทุกครั้งก็คือ ในการปฏิบัติธรรมหรือการไปวัดทำบุญ จะเห็นได้ว่าผู้หญิงจะให้ความสำคัญและไปร่วมกันมาก ซึ่งในทางธรรมแล้ว คนเหล่านี้ก็มีโอกาสตายแล้วเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้า

    แต่จากการอ่าน หนังสือและดูชีวิตจริงแล้วพบว่า ผู้หญิงมักจะมีปัญหาเรื่องการพูดผิดศีลเมื่อเทียบกับผู้ชาย จึงเห็นเหตุให้ไม่ถึงสวรรค์ ส่วนผู้ชายก็จะมีปัญหาเรื่องศีลข้อกาเมและสุรา จึงทำให้ตกนรกเยอะ

    บทสรุป
    มาถึงตอนนี้ ท่านจะเห็นได้ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าช่างมหัศจรรย์และลึกซึ้ง เพียงแค่ข้อเล็ก ๆ เพียงข้อเดียว มีความหมายลึกซึ้งและครอบคลุมทุกอย่างไม่สามารถหาสิ่งใดมาโต้แย้งได้

    ดัง นั้น ยิ่งศึกษาธรรมะและพยายามปฏิบัติธรรมควบคู่ก็ยิ่งพบว่าตัวเองมีบุญเหลือเกิน ที่ได้เกิดมาเป็นพุทธศาสนิกชนและได้รู้จักธรรมะของพระพุทธเจ้า เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นสิ่งที่เป็นจริงไม่สามารถหาคำค้านได้ ไว้ครั้งหน้าผมขออนุญาตเล่าเรื่องน่าสนุกอย่างนี้อีกครับ
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    กฤตโชค ชัยพัฒนาการ

    ศีลข้อ 4 มุสา ไม่ได้แปลว่าไม่พูดปดเท่านั้น ! : ศาลาธรรม
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  11. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    เ พี ย ร รั ก ษ า ค ว า ม ดี


    ครั้งที่แล้วได้อธิบายธรรมที่เรียกว่า “ภาวนาปธาน”
    เพียรทำความดีให้เกิดมีขึ้นในใจของตน
    แล้ววันนี้จะแสดงธรรมเรื่อง “อนุรักขนาปธาน” ต่อไป

    อนุรักขนาปธาน
    คือ การรักษาความดีที่เกิดมีขึ้นในตนไว้ไม่ให้เสื่อมสูญไป
    อุปมาเหมือนปิดกั้นสระใหญ่ ไม่ให้น้ำไหลออกจากสระนั้น
    พอฝนตกมามันก็จะเก็บน้ำไว้ให้เต็มเปี่ยม
    ผู้สร้างคุณงามความดี คือ สร้างกุศลทั้งปวงนั้น
    เรียกว่า สะสมคุณงามความดี มีน้อยก็เก็บไว้ มีมากก็เก็บไว้
    เหมือนฝนที่ตกลงมา ไม่ว่าห่าใหญ่ห่าน้อย
    ตกลงมากแล้วไม่รั่วไหลไปไหน มีแต่จะมากขึ้น


    การที่จะรักษาคุณงามความดีของตนไว้ได้
    จะต้องเห็นคุณค่าของคุณงามความดีที่เราสร้างนั้นก่อน
    เห็นเป็นของมีค่ามีประโยชน์ยิ่ง
    เมื่อได้มาแล้ว ก็ยินดีพอใจในการที่ได้กุศลนั้น
    เช่น เรายังไม่เคยเข้าวัดฟังธรรม ไม่เคยทำบุญทำทาน
    และไม่เคยรู้จักรสชาติของสัจธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ต่อมาเมื่อเราเข้าวัดจิตใจเบิกบาน แช่มชื่นปลอดโปร่ง
    เพราะได้เห็นได้ฟังแต่สิ่งที่ดีที่งาม
    วัดเป็นที่บำเพ็ญกุศล เป็นที่อบรมจิตใจ
    เป็นที่ระงับดับเสียซึ่งความเดือดร้อนวุ่นวาย เป็นสถานที่ที่สงบ
    เมื่อเข้าไปถึงวัดเห็นคุณค่าประโยชน์อย่างนี้
    เราก็พยายามที่จะรักษาคุณงามความดีไว้ คือ หมั่นเข้าวัด
    บางคนถึงจะไม่หมั่นก็ช่างเถิด
    แต่พอได้รับความเดือดร้อน จนใจเป็นทุกข์ จะต้องดิ่งเข้าวัด
    พอก้าวย่างเข้าไปในเขตวัดเท่านั้น
    ยังไม่ทันทำอะไรเลย จิตใจจะสงบเยือกเย็น
    ถ้าได้ไปคบค้าสมาคมกับพระสงฆ์ผู้มีศีล
    มีธรรมคุณงามความดีของท่านเหนือจากเรา
    เราเห็นแล้วก็อดที่จะละอายความชั่วของเราไม่ได้
    หรือหากเข้าไปหาท่านผู้รู้ผู้ฉลาดครูบาอาจารย์ผู้มีความสามารถ
    ท่านแนะนำให้เราเข้าใจในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ความเดือดร้อนกังวลทั้งหลาย จะหายไปอย่างเด็ดขาด
    ถ้าเห็นคุณค่าประโยชน์เช่นนี้
    เรียกว่า คุณงามความดีได้เกิดมีขึ้นในตนแล้ว

    เมื่อเราทำกุศลแล้ว เกิดความอิ่มอกอิ่มใจ พอใจ ยินดีปีติ
    เราจะรักษาคุณงามความดี คือ รักษาวัตรปฏิปทาของการทำดีนั้น
    เช่น เช้าตื่นขึ้นมาทำบุญตักบาตร
    หรือก่อนจะหลับจะนอนก็ไหว้พระสวดมนต์
    ตื่นขึ้นกลางคืนดึกดื่นสงบสงัด ก็ทำความสงบอบรมสมาธิภาวนา
    พิจารณาสังขารร่างกาย
    หรือจวนจะสว่างก่อนไปทำการทำงานไหว้พระสวดมนต์
    ทำความสงบอบรมสมาธิภาวนา
    จิตใจของเราก็มีความสงบ ได้รับความเยือกเย็น
    หากผู้ใดทำจนเห็นคุณค่าประโยชน์อย่างนี้แล้ว
    ผู้นั้นจะต้องรักษากิจวัตรอันนั้นไว้ประจำในใจของตน
    เรียกว่า “อนุรักขนา” เพียรพยายามรักษาความดีไม่ได้เสื่อม
    เหตุนั้นท่านจึงสอนให้รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักผิด รู้จักถูก
    ให้มันหายจากโมหะ คือ ความหลง อวิชชา คือ ความไม่รู้
    และเห็นความจริงขึ้นมาว่า ดีเป็นของดีจริง ชั่วเป็นของชั่วจริง
    ที่ชั่วก็ละเสีย ที่ดีก็รักษาไว้จริงๆ


    ธรรมดาทุกคนไม่ว่าใคร ถ้าไม่เห็นชัดด้วยตนเอง
    ไม่เห็นคุณค่าประโยชน์ในสมบัติที่ตนได้
    เหมือนไก่เห็นพลอย เหมือนลิงได้แก้ว
    ไก่เห็นพลอยมันจะมีประโยชน์อะไรแก่ไก่
    เพราะนำไปใช้อะไรไม่ได้ ไม่รู้จักคุณค่าของพลอยนั้น
    ลิงเห็นแก้วก็เหมือนกัน
    ลิงจะไปประดับที่ตัวมันตรงไหนกัน ก็ไม่มีคุณค่าประโยชน์อะไร

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> คนเราถ้าหากมีของดี คือ บุญกุศลคุณงามความดี
    ที่เราบำเพ็ญอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนแล้ว ก็ไม่รู้จักจะรักษา
    เมื่อไม่รู้จักจะรักษา ก็หายไปเสื่อมสูญไปอย่างน่าเสียดาย

    เปรียบเหมือนเราทำสวนหรือไร่นา
    เมื่อถากถางและขุดไถให้เรียบร้อยแล้ว จึงปลูกพืชลงไปนั้น
    แล้วจำเป็นจะต้องรักษาโดยทำรั้วกั้น
    ป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปกินไปเหยียบย่ำ จึงจะได้รับผล
    มิใช่ว่าปลูกแล้วทอดทิ้ง
    ถ้าปลูกแล้วทอดทิ้ง ไม่มีหวังได้กินเลย


    เราสร้างคุณงามความดีมาแต่ไหนแต่ไร
    ก็เพราะต้องการคุณงามความดีบุญกุศลเวลาได้ขึ้นมาจริงๆ
    แล้วกลับไม่รู้จักของดีนั้น ทิ้งขว้างไม่รู้จักของมีค่า
    จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้มีการรักษาคุณงามความดีที่มีอยู่
    อย่าให้เสื่อมหายไป


    คนที่ทำทาน แล้วทอดทิ้งปล่อยวาง
    โดยคิดว่า ตนทำทาน แล้วก็แล้วไปหมดเรื่อง
    แบบนี้ก็ได้ผลอยู่ แต่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
    หากหมั่นพิจารณาถึงการทำทาน การสละจาคะของตน
    ฝึกคิดจนเป็นอนุสสติ เรียกว่า จาคานุสสติ
    เห็นประโยชน์ในการทำทาน
    การสละนั้นจริงๆ แล้ว จะได้ประโยชน์มากมาย
    จิตใจจะเบิกบานอิ่มเอิบปลื้มปีติอยู่ตลอดเวลา
    จะมากน้อยเท่าใดเห็นได้ที่ใจของตน
    แม้กาลเวลาล่วงไปแล้ว เมื่อมาระลึกถึงเรื่องเหล่านั้น
    จิตใจก็จะแช่มชื่นยินดีด้วย
    การทานนี่ก็เป็น “อนุรักขนา” เหมือนกัน
    เมื่อผู้รับได้ประโยชน์จากทานนั้น
    เราจึงจะได้รับสุข เป็นอานิสงส์จากไทยทานของตน
    เช่น ให้ข้าว น้ำ หรืออาหารไป
    จากทานนั้นเขาก็จะได้มีชีวิตยืนยาวสืบไป มีสุขภาพดี
    หรือเรามีผ้าผ่อน ผ้านุ่งผ้าห่ม ให้ทานเขาไป
    เขาจะได้หุ้มห่อร่างกาย ปกปิดไม่ให้เกิดความละอาย
    เพื่อกันแดดกันฝน กันร้อนกันหนาว
    เราเห็นคุณประโยชน์เพียงแค่นี้ ก็จะเกิดปลื้มปีติขึ้นในใจว่า
    เราได้ช่วยคนมีทุกข์ ให้พ้นทุกข์ได้ชั่วระยะหนึ่ง
    เราให้ทานความสุขแก่คนอื่นให้ทานชีวิตแก่เขา

    เมื่อเราได้ทำคุณงามความดีให้เกิดมีขึ้น มากน้อยก็ตาม
    มีเท่าไรเราสะสมไว้ ของเล็กของน้อยนานๆ เข้ามันค่อยเพิ่มขึ้น
    ผู้พิจารณาเห็นประโยชน์แล้วรักษาจริยาวัตร
    คือ ประพฤติคุณงามความดีนั้นไว้ให้ติดต่อสืบเนื่องกันไป
    เรียกว่า “อนุรักขนาปธาน”
    ถ้าหากว่านำเอาคุณความดีที่ตนได้ปฏิบัติ
    มาพิจารณากำหนดสติ ก็จะได้ความปีติอิ่มใจ
    จิตสงบเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง


    บุญกุศลจากการทำทานนั้น
    ก่อนหน้าที่จะลงมือทำทานได้
    เกิดคิดนึกที่จะทำทานก่อน
    จึงแสวงหาปัจจัยไทยทานต่างๆ
    เวลานั้นก็เกิดความปลื้มปีติแล้ว จึงเป็นบุญมาตั้งแต่ต้น

    ขณะที่ทำทานอยู่นั้น ถ้าทำแก่ผู้มีศีล เช่น ภิกษุ สามเณร เป็นต้น
    จิตใจเบิกบานอิ่มอยู่ตลอดเวลา ก็เป็นบุญเป็นกุศล
    หลังจากนั้นเสร็จธุระแล้ว
    ก็ยังมีความอิ่มเอิบเบิกบานในการที่ได้ทำทานอยู่อีก
    เป็นการได้กุศลทั้ง ๓ สมัยอย่างเต็มที่
    คือ ก่อนทำทาน ขณะทำ และหลังจากได้ทำแล้ว
    ทำมากหรือน้อยก็อิ่มอกอิ่มใจ
    ทำน้อยกลับกลายได้ผลมากกว่าคนที่ทำบุญมากๆ
    แล้วไม่รักษา ไม่ได้พยายามรักษา

    คนที่เคยสร้างความดีนั้น รู้สึกเป็นของง่าย
    แต่แท้ที่จริงไม่ใช่ของง่าย
    คนที่ไม่เคยสร้างความดี ยิ่งมองไม่เห็น
    แม้คนที่เคยสร้างความดีแล้วก็ตาม
    ถ้าไม่รักษาไว้ให้ดี เมื่อสูญเสียไปแล้ว จะทำใหม่ก็ไม่ใช่ของง่าย
    เช่น คนดื่มสุราพยายามละสุรา พยายามยากแสนยาก
    ร้อยทั้งร้อยเกือบจะไม่ได้
    หากว่าละได้แล้ว ถ้าไม่ตามระวังรักษาความดีนั้นไว้
    ไปคบค้าสมาคมกับเพื่อนนักดื่มกลับติดสุราอีก
    ทีนี้ยิ่งร้ายกว่าเก่า หากคบค้าเพื่อนฝูงอันธพาลยิ่งไปใหญ่โต


    ความดีนั้นเป็นของสร้างได้ยาก ความชั่วสร้างได้ง่ายที่สุด
    ทำเมื่อไรก็ได้ ความชั่วนั้น มีผลให้ได้รับความทุกข์
    ผลของความดีเท่านั้น นำให้เกิดความสุข
    คนไม่ต้องการทุกข์ ต้องการความสุข แต่ไม่อยากสร้างความดี
    คนเราเป็นอย่างนี้ อยากได้แต่ผล ต้นเหตุไม่สร้าง
    ถ้าหากรู้จักว่า ผลของความสุข เกิดจากเหตุที่สร้างความดี
    เราก็มาสร้างความดีผล คือ ความสุขมันเกิดขึ้นเอง
    เราอยากได้แต่ความสุข แต่เราไม่สร้างความดีให้เกิด
    ไปกินเหล้าเมาสุรา เกกมะเหรกใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักประมาณ
    ขี้เกียจขี้คร้าน แล้วจะได้ความสุขมาจากไหน
    เรารู้จักแต่ “อบายมุข” ที่แปลว่า ทางเสื่อม ทางให้ถึงความฉิบหาย
    ให้ถึงความล่มจม ให้ถึงความชั่วนั่นเอง มันเป็นของน่ากลัว
    แต่เราพากันทำชั่วทั้งหมด โดยไม่รู้จักกลัวกัน
    กลับชอบอบายมุขด้วยซ้ำ
    ส่วนอุบายที่ทำให้เกิดความเจริญไม่เอา แต่ว่าชอบความเจริญ

    เมื่อเข้าใจตามนี้และเห็นชัดด้วยตนเอง
    มั่นใจด้วยตนเองด้วย ละความชั่วได้ง่ายที่สุด
    ไม่ต้องมีใครบังคับเลย
    ความดีก็เหมือนกัน บุญกุศลก็เหมือนกัน
    ถ้าหากเราเห็นอำนาจอานิสงส์ของการสร้างความดี
    ว่านำให้เกิดความสุขจริงๆ
    ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนากัมมัฏฐาน
    ทำแล้วจิตใจเบิกบานสงบเยือกเย็น
    เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนด้วยตนเองแล้ว
    มันขยันทำความเพียรอยู่ตลอดเวลา

    สิ่งที่ตนเห็นด้วยตนเองนั้น ไม่ว่าอะไรทั้งหมด
    มันเป็นของสบาย ไม่ต้องมีใครบังคับ
    แต่ถ้าไม่ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว บังคับมันยากเหลือเกิน
    คิดดูตามภาษาคำพูดก็แล้วกัน “บัง” และ “คับ”
    นี่มันบังไว้ไม่ให้เห็น มันคับจริงๆ
    มันไม่ใช่การตักเตือนว่ากล่าวแนะนำเสียแล้ว
    มันเป็นเรื่องบีบคั้นหัวใจของผู้ที่ไม่เห็นด้วย
    ให้กลับเป็นทุกข์จากการบังคับ
    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความสุขจะมาจากไหน
    แต่การเห็นด้วยตนเองไม่ต้องบังคับ
    ทำด้วยความเต็มใจ แล้วจิตใจจะเบิกบาน

    การรักษาศีลก็เหมือนกัน เมื่อเห็นด้วยปัญญาของตน
    ว่าศีลเป็นของดีมีค่า ระลึกถึงศีลแล้ว จิตใจจะเบิกบาน
    เปรียบเหมือนเวลาที่หิว จะนึกถึงอาหารที่เคยรับประทานเคยชอบ
    พอนึกแล้วจิตใจมันเบิกบาน นำลายมันฟูออกมาแล้ว
    รสชาติมันเอร็ดอร่อยขึ้นมาแล้ว

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พวกเรา
    เข้าใจหลักในการสร้างคุณงามความดี ให้มันเจริญให้มีขึ้นมา
    ถ้าสิ่งที่ตนต้องการและปรารถนามากที่สุด คือ ความดี
    และผล คือ ความสุข แล้วก็ต้องมีอนุรักขนาปธาน
    การรักษาคุณงามความดีที่เกิดขึ้นแล้วในตนของตน
    เพียรให้เกิดมีอยู่เสมอ


    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  12. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    เถียงพ่อแม่ มีแต่ตกต่ำ


    "คนเถียงพ่อเถียงแม่จะเอาดีไม่ได้ ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่ไม่ดีก็ทำมาหากินไม่ขึ้นแล้ว ต้องแก้ปัญหาก่อนคือถอนคำพูด ถอนความคิด ไปขอขมาลาโทษ กรรม ใดที่ลูกได้ล่วงเกินคุณพ่อคุณแม่ ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ขอให้คุณพ่อคุณแม่ อโหสิกรรมให้แก่ลูกด้วย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่"

    ข้อความนี้คัดลอกมาจาก
    ที่มา หนังสือวิธีทำบุญ สร้างบารมี ทำดีสนองคุณพ่อแม่
    โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ)
    สุดยอดแห่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้สอนวิธีปฏิบัติกรรมฐานแก้กรรม

    คน ที่เคยเถียงพ่อเถียงแม่ก็นำเทียนแพไปขอขมาท่านนะคะ ดิฉันทำมาแล้วแต่เป็นการขอขมาผ่านทางโทรศัพท์เพราะอยู่คนละที่กับท่านทำแล้ว รู้สึกดีคะ
     
  13. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ความตื่น
    ท่าน ก.เขาสวนหลวง


    ความเอ๋ย ความตื่น
    จิตสดชื่น แจ่มใส ไกลตัณหา
    ตื่นอยู่ด้วย สติ ผลิปัญญา
    มีดวงตา เห็นธรรม รู้ความจริง

    ตื่นอยู่ด้วย โมหะ อกุศล
    จิตร้อนรน วุ่นวาย คล้ายผีสิง
    คิดฟุ้งซ่าน หวั่นไหว ไปชังชิง
    ตื่นสองสิ่ง ตรวจดู ให้รู้เอย

    ผู้ชนะ มีพระ ในตัวเอง
    ไม่ไปเพ่ง ภายนอก หลอกหลงไหล
    ผู้เข้าถึง องค์พระ รัตนตรัย
    จิตผ่องใส บริสุทธิ์ วิมุติเอย
     
  14. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ชาวนครแห่งนี้ไปไหนกันหมดอะ :'(
     
  15. Pompaka

    Pompaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +351
    [​IMG]



    สวัสดีครับทุกๆคน ไม่ได้เข้ามาซะนาน สบายดีกันบ้างรึเปล่าครับ...
     
  16. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    สบายดี ครับน้องบอม พี่ยาก็ว่าอยู่บอมหายไปนานเลย เป็นไงมั้งช่วงนี้ มาช่วยพี่ยาหน่อยดิ พี่พูดไม่เก่งอะ มันเลยดูเงียบๆ อะ
     
  17. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ๓๐ คำคมจากธรรมะโมบาย โดย ว.วชิรเมธี
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center"> </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    ๑. หนึ่งครั้งที่แม่ตบลงไปบนหน้าลูก
    อาจก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนลึกลงไปสุดใจของลูก ทั้งชีวิต
    หนึ่งอ้อมกอดที่แม่บรรจงหยิบยื่นให้ลูก อาจก่อให้เกิดความพันผูกข้ามกาลเวลา
    ทุก ๆ ปฏิสัมพันธ์เป็นได้ทั้งบาดแผล และ ดอกไม้สำหรับลูก

    . คนใกล้ชิดเป็นศัตรู แม้กำแพง ๗ ชั้น ก็ป้องกันไม่ได้

    ศัตรูที่มาจากภายนอกต่อให้ยกมาถึง ๙ ทัพ เราก็มองเห็นและเตรียมตัวทัน
    แต่ศัตรูที่มาจากคนในด้วยกัน คือศัตรูที่อันตรายที่สุด
    เพราะเรามักมองไม่เห็น และไหวตัวไม่ทัน

    . เวลาเรือเอียงเรามักจะมองเห็นและแก้ไขได้ทันท่วงที

    แต่ความลำเอียงในใจคนมักถูกปกปิดอย่างมิดชิดและแสดงออกอย่างแยบยล
    กว่าจะรู้ว่าคนที่เรารักมากด้วยความลำเอียง
    บางครั้งมันก็สายเกินไป

    . ไม่มีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม

    แรงฟ้ามนุษย์แก้ได้ด้วยสายล่อฟ้า
    แรงน้ำมนุษย์แก้ด้วยการเปลี่ยนเส้นทาง หรือสร้างกำแพงกั้นน้ำ
    แรงพายุมนุษย์แก้ได้ด้วยการปลูกป่า
    แต่แรงกรรมมีแต่ต้องก้มหน้ารับโดยส่วนเดียว

    . อยู่คนเดียวจงระวังความคิด อยู่กับมิตรจงระวังวาจา

    อยู่กับมารดาบิดาจงระวังการปฏิบัติตน
    ถ้าคิดไม่ระวังจะกลายเป็นคิดฟุ้งซ่าน
    ถ้าพูดไม่ระวังมิตรจะเข้าใจผิด
    ถ้าปฏิบัติไม่ดีต่อมารดาบิดาจะเป็นการสร้างบาปให้ตนเอง

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    ๖. ทำบาตรแตก ถ้วยแตก ชามแตก แก้วแตก ยังดีกว่าทำให้คนแตกกัน
    เนื่องเพราะวัตถุที่แตกแล้วสามารถประสานให้ดีดังเดิม ได้อย่างง่ายดาย
    แต่ถ้าคนแตกสามัคคีกันเป็นฝักฝ่ายแล้ว
    บางทีทั้งชีวิตก็ไม่สามารถสนิทสนมกันได้อีก

    . สิ่งที่เราให้คนอื่น แท้จริงแล้วคือของที่เราฝากให้แก่ตนเองในวันข้างหน้า

    เช่น วันนี้เราด่าเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาด่า
    วันนี้เราโกงเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาโกง
    วันนี้เราเนรคุณเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาเนรคุณ

    . ความดีที่ทำไว้ในหมู่คนพาล ถึงมากมายมหาศาลก็สูญเปล่า

    การทำสิ่งดี ๆ ให้แก่คนที่ไม่เห็นคุณค่า ก็ไม่ต่างอะไรกับการเทน้ำลงกองทราย
    ถึงเทอย่างไรก็ซึมหายหมด ดังนั้นจะทำดีกับใคร ควรใช้ปัญญาคิดให้รอบคอบ

    . การมีความสุขที่ก่อความทุกข์ให้คนอื่นนั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้

    มันเป็นได้แค่ความสุขจากการเกาขอบแผลที่กำลังคัน
    ยิ่งเกาดูเหมือนยิ่งสุข แต่แท้ที่จริงมันคือความทุกข์ที่แฝงมาอย่างแนบเนียน

    ๑๐. ดูข่าวการเมือง ยิ่งดูยิ่งวุ่นวาย ยิ่งดูยิ่งฟุ้งซ่าน

    แต่หากกลับมาดูใจของตนอย่างมีสติ
    รู้เท่าทันทุกเรื่องที่คิด ทุกจิตที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว
    ความทุกข์มากมายจะดับลง ดูจิตวันละนิดจิตแจ่มใส

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    ๑๑. น้ำขุ่นที่ใส่สารส้มลงไป น้ำที่ขุ่นนั้นก็ใสได้เหมือนกัน
    ใจขุ่นหากใส่สารแห่งความรู้สึกตัวลงไป
    ไม่นานเท่าไรใจนั้นก็แจ่มกระจ่างเหมือนกัน
    น้ำขุ่นแก้ได้ฉันใด ใจขุ่นก็แก้ได้ฉันนั้น

    ๑๒. คนที่ทำงานผิดพลาด แล้วป่าวประกาศว่าเป็นความผิดของคนอื่น

    คือคนที่มีแต่จะผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    ส่วนคนที่ทำงานผิดพลาด แล้วลุกขึ้นมายอมรับอย่างองอาจเปิดเผย
    คือคนที่ไม่มีโอกาสผิดพลาดซ้ำอีกเลยในชีวิต

    ๑๓. ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย

    ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
    ผู้ไม่ประมาทไม่มีวันตาย ผู้ประมาทไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว
    กวีบทนี้ทำให้พระเจ้าอโศกเปลี่ยนจากกษัตริย์ที่ดุร้ายมาเป็นชาวพุทธชั้นนำ

    ๑๔. คนไทยไปงานศพแทบทุกเย็น

    โดยไม่เคยรู้สักนิดว่าวันหนึ่งตัวเราจะเป็นศพ
    ดังนั้นเราควรฝึกไปงานศพตัวเองทุกวัน
    ด้วยการบอกกับตัวเองว่า ความตายอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก

    ๑๕. อยากโชคดี ไม่ใช่ไปหาวิธีลอดท้องช้าง

    แต่อยากโชคดี เริ่มกันที่การมีสติปัญญาในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    ขอเพียงมีปัญญา โชคดีก็ไหลเข้ามาไม่ขาดสาย
    แต่ถ้าไร้ปัญญา โชคร้ายจะไหลเข้ามาเหมือนห่าฝน



    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    ๑๖. อ่านหนังสือเล่มนอกมากมาย อาจทำให้รู้จักใครทั่วทั้งโลก แต่ไม่รู้วิธีดับทุกข์ในใจตัวเอง
    ส่วนการอ่านหนังสือเล่มใน แม้ทำให้ไม่รู้จักใครอย่างกว้างขวาง
    แต่นำไปสู่การรู้จักตนอย่างลึกซึ้ง ดับทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด

    ๑๗. ในตัวเรามีทั้ง ๓ ฤดู

    เมื่อความโกรธเข้าครอบงำจิต ใจร้อนเป็นไฟดั่งฤดูร้อน
    เมื่อใดความโลภเข้าครอบงำอยากได้ จิตใจก็เพลิดเพลินเหมือนฤดูฝนเย็นฉ่ำ
    เมื่อใดความหลงเข้าครอบงำจิตใจ ก็มืดมนไหวสะท้านเหมือนเดินอยู่กลางฤดูหนาว

    ๑๘. แม้ประตูคุกปิดล็อกอย่างแน่นหนา แต่คนพาลมากมายทยอยสู่ที่คุมขัง

    ความเลวร้ายประดาในชีวิตเรา ไม่ได้เกิดจากมือที่มองไม่เห็นดลบันดาลให้เป็นไป
    แต่เกิดจากตัวเราพาตัวเข้าไปแส่หาด้วยความขลาดเขลาเบาปัญญาทั้งสิ้น

    ๑๙. ชีวิตแสนสั้นอยู่กันไม่นานก็ลาจาก

    ชีวิตเหมือนน้ำค้างสดใสในยามเช้า พอยามสายก็หายไป
    ชีวิตเหมือนพยับแดด มองไกล ๆ เหมือนมีตัวตนน่าสนใจ
    แต่พอเข้าไปใกล้กลับเหมือนแต่ความว่างเปล่า

    ๒๐. นิ้วทั้ง ๕ ไม่เท่ากันฉันใด ความสามารถของแต่ละคนมีไม่เท่ากันฉันนั้น

    ธรรมชาติต้องการสอนให้เราอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย
    บางสิ่งที่เขาขาด เราอาจมี บางสิ่งที่เขาดี เราอาจด้อย
    เราเกิดมาเพื่อเติมเต็มกันและกัน



    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    ๒๑. ในใจเรามีทั้งตัวสร้างและตัวเสื่อม ตัวสร้างคือธรรมมะ ตัวเสื่อมคือกิเลส
    เวลาอยากทำอะไรดี ๆ นั่นคือบทบาทของตัวสร้าง
    แต่ในขณะที่เราอยากทำดีกลับรู้สึกว่าไม่ควรจะทำ นั่นคือบทบาทของตัวเสื่อม

    ๒๒. วิกฤตมีเพื่อพิสูจน์ปัญญา ปัญหามีเพื่อพิสูจน์ความสามารถ

    สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราล้วนมีความหมาย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาอย่างว่างเปล่า
    ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะเห็นคุณค่าของทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต

    ๒๓. น้ำที่ไหลแรงที่สุดคือน้ำใจ

    น้ำใจที่ปรารถนาจะช่วยคน ทำให้คนจำนวนมาก
    ข้ามน้ำข้ามทะเลไปช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ตกยากได้อย่างไม่กลัวเหนื่อยล้า
    พรมแดนของประเทศก็ไม่สามารถขัดขวางน้ำใจคน

    ๒๔. ไฟจากเตาเผาไหม้มีแค่บางเวลา แต่ไฟกิเลสเผาไหม้อยู่ในใจตลอดเวลา

    ไฟที่ร้ายแรงที่สุดจึงเป็นไฟแห่งกิเลส
    กล้องที่ส่องได้ไกลที่สุดคือ กล้องปัญญา
    ที่ส่องทะลุทะลวงไปถึงอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต

    ๒๕. นัยอันลึกล้ำของคำว่าขอบคุณ

    ขอบคุณความไม่มี ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้
    ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ
    ขอบคุณความล้มเหลว ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ



    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    ๒๖. คนที่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ตกเป็นทาสของความโกรธ ต่อให้นอนบนเตียงราคาแพงลิบลิ่ว ปูด้วยพรมขนสัตว์ที่มีลวดลายบุปผชาติประดับไปทั้งผืน
    ก็ไม่อาจทำให้หลับตาลงอย่างเป็นสุขได้เลย ตลอดรัตติกาลอันยาวนาน

    ๒๗. นัยอันลึกล้ำของคำว่าขอบคุณ

    ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม
    ขอบคุณความริษยา ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่
    ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ

    ๒๘. แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน ต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืนก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำ

    คนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืน ก็ยังคงโง่เท่าเดิม

    ๒๙. นัยอันลึกล้ำของคำว่าขอบคุณ

    ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้จักครูที่ชื่อประสบการณ์
    ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นใหม่
    ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ

    ๓๐. อยู่ให้คนเขารัก จากไปให้คนเขาอาลัย ล่วงลับไปให้คนเอ่ยอ้างถึง

    อยู่ให้คนรัก คืออยู่อย่างผู้ให้
    จากไปให้คนอาลัย คือก่อนจาก สร้างสรรค์แต่สิ่งมีคุณค่า
    ล่วงลับไปให้คนระลึกถึง คือเวลามีชีวิต ทำแต่คุณงามความดีจนเป็นที่จดจำ
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  18. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ความเป็นกลาง : ศิยะ ณัญฐสวามี <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center">
    </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top">
    ค ว า ม เ ป็ น ก ล า ง
    ศิยะ ณัญฐสวามี

    • ถาม

    มีอะไรบ้างครับที่เป็นกลาง

    • อาจารย์

    ธรรมชาติเป็นกลาง วัตถุทั้งหมดเป็นกลาง
    ไม่มีความดีความชั่วใดใดในวัตถุทั้งปวง


    เงินก็เป็นกลางและทำหน้าที่เป็นตัวกลางด้วย
    เงินไม่มีความดีความชั่วใดใดเลย
    เป็นสมมติตามที่คนสมมติให้เป็น ไม่สมมติมันก็ไม่เป็น

    แต่ความดีความชั่วอาจได้มาซึ่งการได้เงิน วิธีการรักษาเงิน
    รวมทั้งความหลงมันเกินจริง หรือดูหมิ่นมันมากเกินไป
    และหรือวิธีการที่ใช้เงินที่มันไม่ถูกต้อง

    เหล่านี้ต่างหากที่อาจดีหรือชั่ว
    ในเมื่อมันเป็นเพียงกระดาษหรือโลหะ
    ไม่รู้อิโหน่อิเหน่กับใครหรอก

    อีกอย่างหนึ่งที่เป็นกลางและสำคัญมากคือความเป็นธรรม
    ความเป็นธรรมเป็นกลางระหว่างความดีบวกความชั่ว กับความบริสุทธิ์


    • ถาม

    อาจารย์หมายความว่าอย่างไรครับ

    • อาจารย์

    หมายความว่าความดีกับความชั่วมันเป็นเรื่องของโลก
    ส่วนความบริสุทธิ์เหนือดีเหนือชั่วนั้น เป็นเรื่องของโลกุตตระ
    ความเป็นธรรมนั้นอยู่ตรงกลาง


    เรื่องนี้อาจเข้าใจยากสักหน่อย ลองทำใจอย่างนี้

    หากเรารักใครสักคนหนึ่งจริงๆ เราจะอยากให้ทุกสิ่งกับเขา
    ไม่อยากอะไรตอบแทนเลย
    นั่นเป็นความดีใช่ไหม
    เอ้าตอบ ยอมรับไหมว่านั่นเป็นความดี

    • ถาม

    ครับ

    • อาจารย์

    ถามว่าความดีอย่างนั้นเป็นธรรมไหม
    เวลาลูกจะให้อะไรก็ไม่รับ เพราะไม่ต้องการได้อะไรตอบแทน
    ลูกก็จะกลายเป็นคนเนรคุณไปใช่ไหม
    แล้วพอลูกเนรคุณแล้วลูกเจริญไหม คงไม่เจริญอาจลำบากด้วย

    รวมทั้งพ่อแม่ที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกๆ ก็เช่นกัน
    ก็จะทุกข์ระทมไปตลอดกัลป์ความบาดหมางของลูกๆ
    จนกว่าจะปรับเช้าสู่ความเป็นธรรมได้

    ดังนั้น การบ้าดี หลงดี นั่นแท้ที่จริงเป็นความชั่ว

    คนเมาดีก็จะหลงตนคิดว่าตัววิเศษ และดูหมิ่นผู้อื่น
    พอดูหมิ่นกล่าวร้ายผู้อื่นก็ชั่วแล้ว

    สงครามทั้งหลายในโลกก็เกิดเพราะคนประเภทนี้แหละ
    เมาดีจนลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น จริงไหมลองวิเคราะห์ดูสิ


    คนที่บ้าดี อยากดี อยากให้ใครเข้าใจ
    ว่าฉันเป็นคนดีก็จะเบียดเบียนตนเอง เพื่อบำเรอกิเลสคนอื่น
    เหมือนพ่อแม่ที่ตามใจกิเลสลูกตลอด
    จนทำให้ลูกทรพีหรือเป็นโจรได้ในที่สุด

    เห็นไหม อันตรายของคนที่บ้าดี เมาดี จนเกินดีตกขอบไปสู่ที่ชั่ว
    ถ้าการเสียสละส่วนเดียวเป็นความดีจริง
    ทำไมสร้างความชั่วล่ะ ถ้าดีจริงต้องสร้างความดีสิ

    นี่คนจำนวนมากยังหลงผิดเมาดี บ้าดีจนสร้างชั่ว
    บางคนจึงหลอกตัวเองด้วยความดีที่ชั่ว
    คือฉันจะให้อะไรอย่างเดียวไม่รับอะไรจากใคร

    หรือบางคนที่ชั่วเลยอ้างความดี
    มาหลอกให้คนอื่นทำดีเพื่อตนจะได้เอาเปรียบผู้อื่น
    คุณเป็นคนดีคุณต้องให้โดยไม่รับสิ นี่หลงแล้วทั้งคู่

    ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ความดีไม่ดีนะ

    ความดีน่ะดี แต่การทำความดีให้ดีจริงนั้น ต้องทำอย่างพอดี
    หากหลงดีบ้าดีเมา ดีน่ะมันเกินดี และจำตกไปเขตความชั่ว


    ตัวความชั่วก็เช่นกัน
    เพราะชั่วจึงหวังดีต่อตนเอง ไม่หวังดีต่อคนอื่นอยู่เลย
    จึงเอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น

    ดังนั้นในความบ้าดีนั้น มันสร้างความชั่ว
    คนที่ชั่วก็เพราะเขาจะทำความดีเพื่อตนเอง จึงเบียดเบียนคนอื่น
    และมักไปทำดีกับคนดีๆ นั่นแหละ

    โจรน่ะมันอยู่ได้เพราะใคร
    มันอยู่ได้เพราะคนไม่เป็นโจรให้มันบีฑาใช่ไหม
    ถ้าโลกนี้มีแต่โจรหมด
    มันก็จะฆ่ากันตายหมด ไม่มีใครเหลือให้มันเบียดเบียน
    ด้วยเหตุนี้ดีกับชั่วมันจึงอยู่ด้วยกัน

    แต่ถ้าไม่บ้าดีไม่มีชั่ว
    ก็จะเป็นกลางและเห็นระบบความเป็นธรรมได้


    ลองมาพิสูจน์กันดู ลองเพิกความอยากดีออกจากใจซิ
    เพิกออกทีละชั้นๆ จนไม่อยากดี
    เอ้าลองทำดู ทำจริงๆ นะ จะได้เห็นจริงๆ

    แล้วเพิกความชั่วออกไปไม่เหลือแม้เสี้ยนอันเล็กน้อย
    เอ้าทำ เมื่อไม่ดี ไม่ชั่วแล้ว คราวนี้จะทำอะไรล่ะ

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="center" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> • ถาม

    อยู่เฉยๆ

    • อาจารย์

    นี่แสดงว่าความบ้าดีมัวชั่วใช่ไหมที่ดึงชีวิตไปทำสิ่งต่างๆ
    และหากไม่อยากดี ไม่อยากชั่วแล้ว
    และจำต้องทำไปตามกิจแห่งชีวิตล่ะ จะทำอย่างไร

    • ถาม

    เข้าใจแล้วครับ

    • อาจารย์

    เข้าใจอะไร

    พอเราไม่อยากดี ไม่อยากชั่วแล้ว
    ก็คงเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นธรรม
    เพราะเราก็ไม่อยากให้ใครมาคิดว่าเราเป็นคนดี
    และเราก็ไม่อยากชั่วแล้ว

    • อาจารย์

    ความเป็นธรรมนั่นแหละ คือรากฐานของความเจริญ

    ด้วยเหตุนี้ลูกที่กตัญญูต่อพ่อแม่จึงเจริญ ใช่ไหม

    เพราะมันสมดุลกัน มีการรับและให้ ธรรมจักรจึงหมุนได้

    ถ้าความดีล้วนๆ ทำให้ใครเจริญจริง
    ก็จงให้แล้วอย่ารับสิ เพื่อให้เขาได้ทำความดีให้เต็มที่
    ในที่สุดจะพังทั้งคู่

    ด้วยเหตุนี้ แม้พระก็ยังต้องสนองคุณโยม

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า

    ภิกษุผู้ฉันข้าวของญาติโยมแล้ว
    ไม่รักษาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    และแผ่จิตแผ่ธรรมให้ญาติโยมแล้วไซร้

    ทุกคำข้าวที่กลืนกินไป
    คือเหล็กก้อนแดงที่จะแผดเผาชีวิตให้หมองไหม้ จิตใจตกต่ำ


    ดูสิ พระก็ยังต้องอยู่ในความเป็นธรรม

    หากที่ใดไร้ความเป็นธรรม
    บอกได้เลยว่าที่นั่นมีการเบียดเบียนกันอยู่
    โดยใช้ความดีเป็นเครื่องมือก็ตาม
    โดยอารมณ์เป็นลูกล่อลูกชนก็ตาม
    หรือโดยใช้อำนาจใดอำนาจหนึ่งบีบบังคับก็ตาม


    ดูซี ประเทศที่ยิ่งใหญ่ หากไม่เป็นธรรมต่อประเทศอื่นก็ต้องถูกทำร้าย
    แม้ประเทศเล็กน้อยที่ไม่เป็นธรรมกันเองก็เช่นกัน ก็ต้องหายนะในที่สุด

    ดังนั้น ความเป็นธรรมเป็นสิ่งสำคัญมาก

    • ถาม

    แล้วความไม่เป็นธรรมมันเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ

    • อาจารย์

    เพราะความลำเอียงเข้าข้างตน (โมหคติ)
    ความลำเอียงเข้าข้างคนที่เรารัก (ฉันทาคติ)
    ความลำเอียงเข้าข้างคนที่ตนกลัว (ภยาคติ)
    หรือความลำเอียงไม่เข้าข้างไม่เป็นกลางต่อคนที่ตนโกรธ (โทสาคติ)

    เห็นไหมตัวลำเอียงอยู่ที่ไหน ก็สร้างความไม่เป็นธรรมที่นั่น

    หรืออีกนัยยะหนึ่งเพราะความเมาดีเมาชั่วนั่นแหละ จึงไม่เป็นธรรม

    คือพยายามดีเกินพอดี หรือชั่วโดยอาศัยความดีของคนอื่น
    จึงสร้างความไม่เป็นธรรมนานาประการขึ้นมาทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
    พอความไม่เป็นธรรมอยู่ที่ไหน หายนะก็มาถึงที่นั่น

    ดังนั้นอยู่กับความเป็นธรรมปลอดภัยที่สุด
    ในความเป็นธรรมไม่เป็นความชั่วแน่
    และไม่มีความอวดดีที่เกินพอดี


    ในความเป็นธรรมเป็นกลางเสมอ
    แต่เป็นที่อาศัยของความดีและคนดีทั้งหลาย
    เสมือนนิวตรอนเป็นกลางเสมอ
    แต่เป็นที่อยู่ของโปรตรอนทั้งหลาย
    เมื่อเป็นเช่นนี้จงอยู่กับความเป็นธรรม
    ซึ่งเป็นกลางเสมอโดยธรรมชาติ


    อย่าไปทำในสิ่งที่ไม่เป็นธรรมกับใคร
    และอย่าเปิดโอกาสให้คนอื่นมาทำในสิ่งที่ไม่เป็นธรรมกับตน
    และอย่าไปยินดีหรือไปยอมรับกับความไม่เป็นธรรมใดใด
    ในโลกจะพัวพันกรรมชั่ว

    กระนั้นเมื่อมีจุดยืนอยู่ที่ความเป็นธรรม
    ทำทุกอย่างอย่างเป็นธรรมเสมอ
    ก็อย่ายึดความเป็นธรรมจนบ้าความเป็นธรรมขึ้นมา

    เพราะพอติดความเป็นธรรม
    ยามเจอกับสิ่งที่ไม่เป็นธรรมแม้เล็กน้อย มันจะเดือดร้อนจัด
    จริงๆแล้วยังมีระดับให้ไต่ต่อไปอีก

    หากวางความเป็นธรรมได้ก็เข้าถึงความบริสุทธิ์ได้
    ความเป็นธรรมนั้นเป็นฐานที่แข็งแรงที่สุด
    ที่จะส่งสู่ความบริสุทธิ์ได้โดยง่าย


    พอถึงความบริสุทธิ์ ครานี้จะเหนือความเป็นธรรมแล้วนะ...เหนือทุกสิ่ง



    (ที่มา : “ความเป็นกลาง” ใน สั่งอารมณ์ให้ได้ดังใจปรารถนา
    (Remoting Emotion) โดย ศิยะ ณัญฐสวามี, หน้า ๓๓๖-๓๔๐)

    http://variety.teenee.com/saladharm/30038.html
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  19. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    วิธีทำความดีหนีกรรม


    <hr size="1">ถาม : จะทำอย่างไรเกี่ยวกับการชดใช้กรรมที่ส่งผลมาชาตินี้คะ ?

    ตอบ : ไม่มีใครใช้หมดจ้ะ ควรทำความดีหนีกรรม การทำความดีที่มีกุศลมาก ๓ อย่างคือ

    ทาน คือ การให้ อันนี้เสียของเสียเงิน

    ศีล คือ การรักษาศีล มีอานิสงส์มากกว่าให้ทาน เป็น ๑๐๐ เท่า

    ภาวนา คือ การหัดทำสมาธิ มีอานิสงส์มากกว่าการรักษาศีล เป็น ๑๐๐ เท่า

    เพราะฉะนั้นถ้าหากจะชดใช้กรรม มันเป็นความคิดที่ดี คือ ให้มันหมดหนี้หมดสินไปเลย มันเป็นไปไม่ได้ เพราะทำไว้เยอะเหลือเกิน

    ถาม : ถ้าเป็นพ่อถ้าเป็นลูก ช่วยได้ไหมคะ ?

    ตอบ : ก็ช่วยตรงที่ ต้องแนะนำให้ท่านทำ จ้ะ เรื่องของกรรมที่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ใครทำใครได้ ไม่ใช่ว่าพ่อทำแล้วถึงลูก หรือลูกทำแล้วจะไปถึงพ่อ แต่ว่ามีอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้าทำแล้วบอกท่านๆ พลอยยินดีด้วยท่านจะมีส่วนในผลบุญอันนั้น

    ถาม : แล้วถ้าหากผลบุญมากว่า จะพอช่วยได้ไหมคะ ?

    ตอบ : ถ้า หากผลบุญมากกว่ามันจะหนีห่างไปได้ชั่วคราว เหมือนกับหมาไล่กัดแล้วเราวิ่งหนี แต่ถ้าหากว่าเราประมาทชะลอฝีเท้าลง มันอาจจะไล่ทันอีก เพราะฉะนั้นเราทำความดีเราต้องเสริมมันให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หยุดไม่ได้ ต้องเป็นคนบ้าในสายตาขของเพื่อน สมัยนี้ถ้าหากเข้าวัดเข้าวาทำบุญใส่บาตรส่วนใหญ่เขาว่าบ้า ไปห้างเดินแฟชั่นดีกว่า

    ถาม : อาจหนักเป็นเบาใช่ไหมคะ ?

    ตอบ : จากหนักจะเป็นเบา จากเบาจะเป็นหาย แต่ว่าไม่สามารถจะชดเชยแก้กันได้ เพียงแต่ว่ามันหนีห่างออกไปได้ พระ อรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เข้านิพพานไปแล้วจนนับไม่ได้ ไม่มีใครใช้หนี้กรรมเก่าหมด มีแต่ทำดีจนถึงที่สุดแล้วหลุดพ้นไป ในเมื่อหลุดพ้นไปเจ้าหนี้เขาอยู่ที่นี่ ท่านอยู่ที่โน่น ตามทวงท่านไม่ได้ ก็จบแค่นั้น

    ถาม : เคยสวดมนต์ แล้วรู้สึกไม่ค่อยดีกำลังจะใช้กรรม แล้วสักพักหนึ่งก็รู้สึกเกิดเหตุร้ายๆ ค่ะ

    ตอบ : ไม่ใช่จ้ะ นั่นคือโชคดีที่เราสวดมนต์ไหว้พระ ถ้าหากว่าส่วนของความดีเราไม่ได้ทำอยู่ มันจะร้ายกว่านั้นอีก เมื่อกี้บอกแล้วมันผ่อนหนักเป็นเบานะจ้ะ ถ้าเราไม่ได้ทำมันจะหนักกว่านั้นอีก

    ถาม : พอสักระยะหนึ่งมันก็จะดีขึ้นค่ะ

    ตอบ : เพียงแต่ว่าของเราไม่ค่อยทำต่อเนื่อง พอรู้สึกตัวก้าวไปถึงไม่ดีก็เลิก ดีก็เลิกเหมือนกัน ตกลงจะดีหรือไม่ดีตูก็ไม่ทำต่อทั้งนั้น แย่ล่ะสิ เหมือนกับเราหิวข้าววันละ ๓ มื้อ แต่เราไปกินทีแล้วเราก็พอแล้ว ไหวไหมล่ะ อีก ๓ วันก็ไส้แขวนขึ้นมาบนคอหอย

    การสวดมนต์ถ้าทำเป็นอานิสงส์มหาศาล เพราะว่าเป็นทานได้ เช่น เราตั้งใจจะไม่โกรธไม่เคืองใคร ไม่ฆ่าใคร ไม่ลักขโมยใคร ไม่ผิดลูกผิดเมียใคร เราเป็นผู้หญิงก็ไม่ผิดลูกผิดผัวใคร ไม่โกหกใคร ไม่กินเหล้า อันนี้เขาเรียกว่า อภัยทาน เราตั้งใจทำทานตรงจุดนี้ด้วยการนั่งสวดมนต์ คุณนั่งสวดมนต์อยู่ก็ได้แค่คิดเท่านั้น ไปทำไม่ได้ เป็นอันว่าส่วนนี้ได้

    คราวนี้พอเราอยู่ตรงนั้นให้เราตั้งใจว่า ส่วน ของอภัยทานทุกข้อที่เราว่ามาก็คือ ศีล เราตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ส่วนของศีลเราก็ได้ ขณะเดียวกันถ้าเราสวดด้วยความตั้งอกตั้งใจจริงๆ ใจจะตั้งมั่นเป็นสมาธิ ส่วนของสมาธิเราก็ได้ ตกลงบุญใหญ่ ๓ ตัวเราได้ครบเลย

    ดัง นั้นว่าเราทำเป็นไหม ? ถ้าเราทำเป็นไม่ใช่แค่สวดมนต์ไหว้พระ แต่เป็นเรื่องทาน ศีล ภาวนา ไปในตัว พอเราทำแล้วหาจังหวะดีๆ บอกคุณพ่อคุณแม่ บอกอย่างไรอย่าให้ท่านคิดว่าเราเพี้ยนไปแล้ว บอกท่านว่า เราได้ทำความดีตรงนี้ ขอให้ท่านโมทนาด้วย โมทนาคือพลอยยินดี ถ้าท่านไม่ด่าคืนมาก็เป็นอันว่าโอเคล่ะ ท่านจะได้มีส่วนในผลบุญนั้นด้วย

    แต่คนที่คอยโมทนาผลบุญของคนอื่นถึงเวลาเขาทำเราก็สาธุ มันมีจุดอ่อนอยู่นิดหนึ่งที่ว่า ตัว คนทำต้องได้ผลก่อน คนๆ นั้นถึงจะได้รับเพราะว่าไปอาศัยเขา ดังนั้น หากคนนั้นยังไม่ได้รับผลเมื่อไหร่ ตัวของคนที่คอยโมทนาบุญเขาก็จะไม่ได้รับผลตามนั้น สู้ทำเองไม่ได้

    ดัง นั้น มีวิธีไหนบ้างที่จะแนะนำให้ท่านทำเป็นต้นว่า อาจจะเปิดเทปธรรมะ วีซีดีธรรมะ หรือว่าหนังสือธรรมะเอาวางๆ ทิ้งๆ ให้มันเกะกะลูกตาท่านเล่น ถ้าวันไหนท่านหยิบขึ้นมา เออ! ค่อยยังชั่วหน่อย ถ้าวันไหนท่านไม่หยิบขึ้นมาอ่านก็ไม่ต้องไปเคี่ยวเข็ญท่าน แต่ใช้วิธีทำที่ตัวเรา ถ้าตัวเขาตั้งใจปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา แล้วมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเห็นได้ชัดเจน เป็นอันว่าไม่กลับบ้านดึก มากเอาแค่ตี ๒ ก็พอ ถึงเวลาท่านว่าก็ไม่เถียง รู้จักเก็บออมถนอมคำ ไม่โกรธใคร ไม่ว่าใครง่ายๆ พอมันมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเห็นได้ชัด เดี๋ยวท่านสนใจถามขึ้นมา ถ้าท่านสนใจแล้วถามขึ้นมา อีตอนนั้นเสร็จเราแน่ๆ เลยจะจูงไปทางไหนก็ไปแล้ว

    แต่คราวนี้ตัวเราสามารถทำได้ไหมว่า ให้มันมีผลที่ดีที่ท่านเห็นอย่างชัดเจน ตรงจุดนั้นมันต้องอาศัยความอดทน แล้วก็ให้ทำสม่ำเสมอ ถ้าเป็นภาษาพระต้องมี ขันติบารมี คืออดทนพอ มี สัจจบารมี คือความตั้งใจจริงมากพอ ไหวไหมล่ะ ?

    ถาม : ทำก่อนนอนได้ไหมคะ ?

    ตอบ : ก่อนนอนได้จ้ะ และตื่นนอนเอาอีกนิดหนึ่ง ตั้งใจว่าตอนนี้เราจะนอนแล้ว ถ้าเหตุร้ายใดๆ จะพึงมีพึงเกิดขึ้น ขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ช่วยปกปักษ์รักษาปัดเป่าให้ผ่านพ้นไป ขอให้ครอบครัวของเรามีความสุข ขอให้คุณพ่อคุณแม่มีความสุข ก้าวเข้ามาในทางธรรมะเร็วๆ

    พอตื่นนอน ก่อนจะไปทำงานก็เหมือนกัน สวดมนต์ไหว้พระเสียหน่อย เราจะไปทำการทำงานแล้วอันตรายใดๆ ที่จะพึงมีพึงเกิดก็อย่าให้เกิดขึ้นเลย ด้วยอำนาจของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ ขอให้ปัดเป่ามันพ้นจากเราไป ขอให้ประสบแต่สิ่งที่ดีๆ ขอได้จ้ะ เพียงแต่ว่าต้องทำให้พอ ถ้าทำพอเมื่อไร สิ่งที่เราขอมันจะได้ ถ้าทำไม่พอยังไม่ได้หรอกจ้ะ หาสตางค์ได้ ๒,๐๐๐ แล้วไปซื้อเบนซ์ไม่ได้หรอก ต้องรอให้ครบล้านแปดก่อน ต้องขยันสะสมความดีไว้เรื่อยๆ จ้ะ


    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ (ต่อ)
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

    วิธีทำความดีหนีกรรม : ศาลาธรรม
     
  20. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    แวะมาเยี่ยมกระทู้ครับ

    อยากไปเที่ยวอุดร อยากไปคำชะโนดบ้างจังครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...