ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ความแตกต่างระหว่าง "ถอดกาย นิมิต ความฝัน และ ความฟุ้งซ่าน"

    +++ ความแตกต่างระหว่าง "ถอดกาย นิมิต ความฝัน และ ความฟุ้งซ่าน" คือ

    +++ "การถอดกาย" จะมีสติรู้ตัวชัดเจนในขณะที่ "ตัวเราออกมาจากตัวเรา" และ จะต้องเป็น "ตัวเราออกมาจากตัวเรา" เท่านั้น จึงจะนับว่าเป็น การถอดกาย ความ "เป็นตัวของตัวเอง" จะชัดเจน เป็นเรื่องเป็นราว และจะจำได้ "ทั้งหมด ตั้งแต่ เริ่มถอด จนจบ รวมทั้งเจตนารมณ์ในขณะนั้น ๆ" แม้ว่าเวลาจะผ่านไปมากกว่า 20-30 ปีก็ตาม จะจำได้ชัดเจนเสมอ

    +++ "นิมิต" จะรู้และจำได้ตั้งแต่ "เริ่มต้น จนกระทั่ง จบ" เข่นเดียวกับ การถอดกาย ต่างกันเพียงแต่ว่า ไม่มีปรากฏการณ์ของ "ตัวเราออกมาจากตัวเรา" และ ความ "เป็นตัวของตัวเอง" จะต่ำกว่า รวมทั้ง "ไม่มีเจตนารมณ์" ในขณะนิมิต

    +++ "ความฝัน" จะรู้และจำได้แบบ "เป็นท่อน ๆ" เท่านั้น ความ "เป็นตัวของตัวเอง" จะต่ำมากจนแทบไม่ปรากฏ และ ช่วยตัวเองไม่ได้ และ ไม่นาน "ก็ลืม"

    +++ "ความฟุ้งซ่าน" จะ "ไม่รู้และจำไม่ได้" แม้กระทั่งเพียงไม่กี่ "วินาที" ที่ผ่านพ้นไปแล้ว และ "ไม่สามารถ Recall อะไรกลับมาได้เลย" เป็นการ "เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์"

    +++ ทั้งหมดนี้เป็นไปตาม "คุณภาพของ สติ" ในแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถระบุชี้ชัดได้ดังนี้

    +++ การถอดกาย จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ "สติเป็นสมาธิ ในระดับ อัปปนาสมาธิ" เท่านั้น

    +++ นิมิต จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ "สติเป็นสมาธิ ในระดับ อุปจาระสมาธิ"

    +++ ความฝัน จะปรากฏขึ้นได้เมื่อ "สติเริ่มเลอะเลือน" หรือ "มีอยู่ในช่วงสั้น ๆ ไม่ปะติดปะต่อ" อาจจะอนุโลมว่าเป็น สติในระดับ ขณิกะสมาธิ ก็ได้ (แต่ไม่นิยมว่ามีสมาธิเป็น องค์ประกอบ)

    +++ ความฟุ้งซ่าน ปรากฏขึ้นได้ตลอดเวลาที่ "ไม่มีสติ"

    +++ หลักใหญ่ ๆ ก็ใช้เกณฑ์ที่กล่าวมานี้ ก็คงพอที่จะระบุได้ว่า อะไรเป็นอะไร นะครับ
     
  2. *ธรรมดา*

    *ธรรมดา* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +924
    ท่านอาจารย์ ธรรมชาติ ตอบได้ชัดเจนตรงประเด็นดีครับ จากประสบการณ์ผมว่าเป็นแบบนั้นจริงๆ
     
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เวลาทำสมาธิ ก็มีนะนิมิตแบบเบลอๆคล้ายฝันนะ(ถีนะมิทธะเริ่มแทรก) แสดงสติที่อ่อนลงไปอย่างมาก เลอะเทอะและจำไม่ค่อยได้(เคยไปส่งอารมณ์กับครูวิปัสสนา ว่าเป็นภาพนั่นนี่เหมือนฝันๆ ท่านว่าสติอ่อนไป ให้กำหนดดีๆ)
    เวลาฝัน ก็มีนะที่จำได้ชัด มักจะตื่นขึ้นทันทีที่ฝันนั้น ชัดเจนและมักเป็นจริง..สังเกตว่า จะเกิดขณะจิตสงบลงไป(อาจจะภาวนาอยู่)แล้วปรากฏขึ้นมาและมักตื่นขึ้นมา เป็นฝันที่ไม่เลอะเทอะแต่จะว่าเรียกฝันเพราะเกิดขณะนอนอยู่

    ที่เกิดนิมิตขณะทำสมาธิ..สังเกตว่าเพราะเริ่มมีนิวรณ์
    แต่ก็มีนะ นิมิตแทรกมาขณะทำสมาธิที่สติดี บางครั้งก็ทำเอาตามดู ไม่เบลอ แต่มักสั้นๆ
    แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิดนิมิตขณะทำสมาธิเลยหากสติดีอยู่เพราะมาแนววิปัสสนา(ไม่เอานิมิต-ตัดนิมิต) ไม่เคยฝึกกำหนดดูอะไรหรืออยากรู้อะไร(ทำไม่เป็นเลย..) เลยชอบไปเกิดตอนฝัน.. ยิ่งเข้ากรรมฐานจะไปปรากฎเป็นฝันไปมากอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2014
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ การทำงาน และ ปรากฏการณ์ ทางจิตทุกชนิด มีแต่ระดับของ "สติ" เท่านั้นที่เป็นมาตรวัดเพียงอันเดียว นอกนั้นใช้การไม่ได้ทั้งสิ้น นะครับ
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เวลาทำสมาธิ ก็มีนะนิมิตแบบเบลอๆคล้ายฝันนะ(ถีนะมิทธะเริ่มแทรก) แสดงสติที่อ่อนลงไปอย่างมาก เลอะเทอะและจำไม่ค่อยได้

    +++ ภาษาที่ ตรงกับอาการ ตรงนี้ คือ "นั่งฝัน" นั่นเอง และ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับ "นิมิต" แม้แต่น้อย

    เวลาฝัน ก็มีนะที่จำได้ชัด มักจะตื่นขึ้นทันทีที่ฝันนั้น ชัดเจนและมักเป็นจริง..สังเกตว่า จะเกิดขณะจิตสงบลงไป(อาจจะภาวนาอยู่)แล้วปรากฏขึ้นมาและมักตื่นขึ้นมา เป็นฝันที่ไม่เลอะเทอะแต่จะว่าเรียกฝันเพราะเกิดขณะนอนอยู่

    +++ ภาษาที่ ตรงกับอาการ ตรงนี้ คือ "นิมิต" นั่นเอง และ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับ "ฝัน" แม้แต่น้อย

    ที่เกิดนิมิตขณะทำสมาธิ..สังเกตว่าเพราะเริ่มมีนิวรณ์

    +++ ใช่ หากสติอยู่ในระดับ อุปจาระสมาธิ แล้ว นิวรณ์ความปรุงแต่งเข้าแทรก ก็จะเกิดปรากฏการณ์ของ นิมิต ขึ้นได้ แต่ตรงนี้มีภาษาและคำศัพท์แยกออกไปต่างหาก เรียกว่า "ภวังค์จรณะ" ทำให้เกิด ความเพลิดเพลินมึนซึม และนักปฏิบัติมากกว่า 80% จะหลงและติดใจที่ตรงนี้ จนบางรายเข้าใจไปว่าตรงนี้เป็น สภาวะทิพย์

    +++ ผู้ที่ติดอยู่ที่ตรงนี้ มักจะไม่ฟังใคร เพราะตรงนี้เป็น "ที่ชอบ ๆ" ของเขา หากไปแนะนำหรือตักเตือน ให้เขาออกจากที่ ๆ เขาชอบ ก็อาจเกิดภาวะของการ "เป็นศัตรู" ขึ้นได้ (เพราะเหมือนกับการ บุกรุก ชนิดหนึ่ง) ดังนั้้น ส่วนใหญ่แล้ว ก็ควรจะปล่อยไปตามยถากรรม หากเขาไม่มีอะไร สงสัยไต่ถาม ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเขา เว้นไว้แต่ว่า เป็นคนรู้จักกันเท่านั้น

    แต่ก็มีนะ นิมิตแทรกมาขณะทำสมาธิที่สติดี บางครั้งก็ทำเอาตามดู

    +++ หากสติทรงตัวได้ดี นิมิตจะเกิดไม่ได้เลย แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้นคือ "จิตอื่น สื่อสารเข้ามา" ลองสังเกตุดูให้ดี ๆ ก็แล้วกัน

    แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิดนิมิตขณะทำสมาธิเลยหากสติดีอยู่เพราะมาแนววิปัสสนา(ไม่เอานิมิต-ตัดนิมิต)

    +++ ในขณะที่ทำ วิปัสสนา นั้น "อยู่" กับอะไร

    ไม่เคยฝึกกำหนดดูอะไรหรืออยากรู้อะไร(ทำไม่เป็นเลย..) เลยชอบไปเกิดตอนฝัน..

    +++ พอสติอ่อนตัวลง มันก็เกิด ตามธรรมชาติของมัน นั่นแหละ

    ยิ่งเข้ากรรมฐานจะฝันไปมากอยู่

    +++ แสดงว่า อยู่ในฝั่งของ "กรรม" มากกว่า อยู่ในฝั่งของ "ฐาน"

    +++ กรรม-ฐาน เป็นเรื่องของ 2 สภาวะเท่านั้น คือ สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม" (มีการกระทำ มีการทำงาน Dynamic) กับสภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน" (ไร้การกระทำ ไร้การทำงาน Static)

    +++ ตรงนี้เป็น โพสท์แรก ใน หน้าแรก ของกระทู้นี้เลย นะครับ
     
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็อยู่กับรูปนามตามจริง
    แล้วก็ศึกษา วิปัสสนาญาณ16 ไปจ๊ะ

    สภาวะส่วนใหญ่ กายลมภายในสะเทือนมาก ได้ยินเสียงกระดูกลั่นรัวรวดเร็วขนาดแบบว่าเร็วขนาดนี้ทีเดียว?แม้ในอิริยาบถย่อย ขนาดนั่งกินข้าวมือที่จับช้อนที่เคลื่อนข้อนิ้วมือลั่นรัวๆนี่ได้ยินจนน่าแปลกใจ เอ็นกระตุกส่วนไหนรับทราบชัด บางทีดีดหน้ากระเด็น ..กายหยาบเบาคล้ายจะลอย แต่ไม่ลอยหรอก.. คือ ไม่ได้ติดใจ ไม่ได้อยากให้เกิดหรือไม่เกิดนะ เพียงได้แต่ทราบว่า สติ สมาธิ ปัญญา มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ได้เห็นความจริงมากขึ้นเท่านั้น
    อาจจะไม่ได้มาทางสมาธินำ เพื่อนบางคนเขาจะเห็นกายภายในตับไตไส้พุง หรืออดีตชาติอะไรไป.. ก็แอบมีเห็นบ้างอยู่ บางทีเกิดขึ้นมาแว็บเข้ามา..
    แต่ก็มีได้ฌานขณะอิริยาบถย่อยอยู่ คือแข็งนิ่งแทบเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ชั่วขณะ ในภาวะเดินอยู่ ไหว้พระอยู่.. สติคงอ่อนลงกว่าสมาธิเลยเกิดอาการแบบนั้น ถ้าสติดีคงได้ใช้สมาธินั้นไป แต่กลับมีอาการเคลื่อนที่ไม่ได้ สังเกตว่าอาการแบบนี้ บางทีเกิดเพราะจิตอื่นที่เขามาติดต่อด้วย คือเป็นอาการสมาธิสบายๆ(จิตเขาคงสูง)แต่เคลื่อนไหวแทบไม่ได้หรือได้ช้า ไม่ใช่โดนอำหรือครอบงำเหมือนขณะนอน ซึ่งทำให้เกิดการต่อสู้กัน คือไม่ยอมให้ใครมาอำ... เขาอาจไม่ได้มาร้ายแต่อาจจะบารมีไม่มาก..?? คงอยากติดต่อ?? หรือ?? ไม่อาจทราบได้...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2014
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้ บางทีก็ต้องยอมเป็นตัวร้ายกาจอะนะ
    เพื่อภารกิจ เหมือนกันมั๊ง
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ก็อยู่กับรูปนามตามจริง

    +++ รูปนาม เป็นภาษารวมของสรรพสิ่ง แต่จะใช้ระบุชี้เฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่สิ่งที่เรียกว่า "อยู่" นี้ จะมีอยู่ได้แค่สถานะเดียวเท่านั้น หากเป็นภาษาในหมวด มหาสติปัฏฐาน 4 ก็จะเป็น กาย เวทนา จิต ธรรม และคำถามที่ว่า "อยู่" ในที่นี้ หมายถึง "เอาสภาวะใดเป็น กาย"

    แล้วก็ศึกษา วิปัสสนาญาณ16 ไปจ๊ะ

    +++ "วิปัสสนาญาณ16" ที่ศึกษาอยู่นั้น มีอาการที่แท้จริง "อย่างไร"

    สภาวะส่วนใหญ่ กายลมภายในสะเทือนมาก ได้ยินเสียงกระดูกลั่นรัวรวดเร็วขนาดแบบว่าเร็วขนาดนี้ทีเดียว?แม้ในอิริยาบถย่อย ขนาดนั่งกินข้าวข้อนิ้วมือลั่นนี่ได้ยินจนน่าแปลกใจ เอ็นกระตุกส่วนไหนรับทราบชัด บางทีดีดหน้ากระเด็น ..กายหยาบเบาคล้ายจะลอย แต่ไม่ลอยหรอก.. คือ ไม่ได้ติดใจ ไม่ได้อยากให้เกิดหรือไม่เกิดนะ เพียงได้แต่ทราบว่า สติ สมาธิ ปัญญา มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งได้เห็นความจริงมากขึ้นเท่านั้น

    +++ เป็นลักษณะของการ "อยู่" กับกายเนื้อ ที่เป็น กายานุปัสสนา แต่ไม่สามารถควบคุม "อาการดู" ได้ สามารถรู้ได้ในอาการ "ขยับแบบย่อย ๆ ของร่างกาย" คล้ายลักษณะ frame ภาพแบบ frame ต่อ frame ในขณะที่เป็น กายานุปัสสนา อาการ "กายเบา" เกิดขึ้นได้ แต่อาการ "จิตเบา" ต้องใช้เวลา

    +++ จริงอยู่ที่ กายานุปัสสนา เป็นการฝึกสติ แต่การทำให้ สติทรงตัวเป็นสมาธินั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะการควบคุม "ตัวดู" จะไม่มีใน รูปกรรมฐาน จะมีได้ก็ต่อเมื่อเป็น นามกรรมฐาน เท่านั้น ดังนั้น สติ ไม่ต่อเนื่องจนเป็น สมาธิ ปัญญา (ญาณ) จึงเกิดไม่ได้ ส่วน วิชชา และ วิมุติ นั้น หากจะเกิดก็ต้องอาศัยบารมีเก่าเข้าช่วย

    +++ กายานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนา เป็น รูปกรรมฐาน ส่วน เวทนานุปัสสนากับธรรมานุปัสสนา เป็น นามกรรมฐาน

    +++ มหาสติปัฏฐาน 4 หากฝึก "กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ได้อย่างถูกต้อง ก็จะรู้ครอบคลุมทั้งกายแบบ "ตะจะปริยันโต" หาก อยู่ กับตรงนี้ได้ ก็จะเกิด "ความรู้สึกทั้งตัว" ซึ่งเป็น "กายในกาย" อยู่ภายใน และ กายทั้ง 2 นี้จะถูกแบ่งมิติออกจากกันด้วย ขอบเขตของหนังที่เป็น "ตะจะปริยันโต" ตรงนั้น

    +++ หากทำตรงนี้ได้เมื่อไร ก็ให้เลือก "อยู่" กับกายที่เป็น "ความรู้สึกทั้งตัว" นี้ ก็จะต่อเข้ากับ การฝึกในกระทู้นี้ได้ไม่ยากเลย

    อาจจะไม่ได้มาทางสมาธินำ

    +++ ตรงนี้เข้าใจได้

    เพื่อนบางคนเขาจะเห็นกายภายในตับไตไส้พุง หรืออดีตชาติอะไรไป.. ก็แอบมีเห็นบ้างอยู่ บางทีเกิดขึ้นมาแว็บเข้ามา..

    +++ ที่กล่าวมานี้ยังอยู่ในส่วนของ "รูปกรรมฐาน" ทั้งหมด

    แต่ก็มีได้ฌานขณะอิริยาบถย่อยอยู่ คือแข็งนิ่งแทบเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ชั่วขณะ ในภาวะเดินอยู่ ไหว้พระอยู่..

    +++ ตรงนี้เป็น นามกรรมฐาน ในส่วนของ "ธาตุดิน" ซึ่งเป็นลักษณะแรกปรากฏของ "กายเวทนา" หากอยู่ในส่วนของ "ความรู้สึกทั้งตัว" ได้ก็จะรู้ได้ว่า "ธาตุต่าง ๆ สามารถแปรสภาพไปเป็นอะไรก็ได้" ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อื่น ๆ

    สติคงอ่อนลงกว่าสมาธิเลยเกิดอาการแบบนั้น ถ้าสติดีคงได้ใช้สมาธินั้นไป

    +++ ตรงนี้ "ขาด" อาการ "อยู่" กับกายเวทนา จึงเกิดอาการนั้นขึ้น หาก "อยู่" ภายในกายเวทนาได้ ก็จะควบคุมได้และพัฒนามาเป็น "สติทรงฌาน" ได้ในแทบจะทันที

    แต่กลับมีอาการเคลื่อนที่ไม่ได้ สังเกตว่าอาการแบบนี้ บางทีเกิดเพราะจิตอื่นที่เขามาติดต่อด้วย คือเป็นอาการสมาธิสบายๆ(จิตคงสูง)แต่เคลื่อนไหวแทบไม่ได้หรือได้ช้า ไม่ใช่โดนอำหรือครอบงำเหมือนขณะนอน ซึ่งทำให้เกิดการต่อสู้กัน คือไม่ยอมให้ใครมาอำ... เขาอาจไม่ได้มาร้ายแต่อาจจะบารมีไม่มาก..?? คงอยากติดต่อ??

    +++ ยังไม่มีอาการของ "จิตอื่นสื่อสาร" แต่มันเป็นอาการของการ "อยู่" ผิดขันธ์ คือ ยังอยู่กับ กายา ไม่อยู่กับ เวทนา ทั้ง ๆ ที่ "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ปรากฏตัวขึ้นมาแล้ว นั่นเอง
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ถ้าอ่านแล้วเข้ามาทะเลาะกันในวัด น่ากลัวจะเป็นการสร้างปัญหา กับนักปฏิบัติที่ยังเพิ่งเริ่มเดินทางในกระทู้นี้้ หากเห็นว่า ใครเป็นคนไม่ดี ก็ให้แจ้ง คสช แบบตรง ๆ ได้ที่ อีเมว ตัวนี้ rfm@mod.go.th ก็แล้วกัน

    +++ ถ้าเป็นไปได้ ให้ลากกันออกไป "ทะเลาะกันนอกวัด" จะดีกว่า นะครับ
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วิปัสสนาญาณ 16

    ญาณ 16 และ วิปัสสนาญาณ 9[แก้]ญาณ 16 ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีโดยตรงทั้งหมด แต่วิปัสสนาจารย์สายพม่าได้เรียบเรียงจากญาณที่ระบุในปฏิสัมภิทามรรคและคัมภีร์วิสุทธิมรรค รวมกัน 16 ขั้น เรียกว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ

    นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
    นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
    สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
    อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
    ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
    ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
    อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
    นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
    มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
    ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
    สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
    สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ )
    โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
    มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
    ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
    ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

    ญาณ - วิกิพีเดีย
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตอนนี้มีภาระต้องไป "งานเปลี่ยนภพย้ายภูมิ" ที่วัด เสร็จแล้วหากมีเวลา จะมาตอบให้นะครับ
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    วิปัสสนาญาณ 16

    +++ อ่านดูแล้ว ตรงนี้ทั้งหมด "เป็นการใช้คำศัพท์ระบุชี้เฉย ๆ" รวมทั้งภาษาที่ใช้ก็จะหนักไปทาง "บาลี" เสียมาก

    +++ การจะเอาภาษาที่ใช้ในกระทู้นี้มา map เข้ากับ "ภาษาบาลี" ในตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผมเองก็ "ไม่ได้เรียนบาลี" แต่อาจจะช่วย map ให้ในส่วนที่เป็นคำแปล "ภาษาไทยเท่านั้น"

    +++ เริ่มที่คำว่า "ญาณ" ก่อน "ญาณ" ของผมหมายถึง "สภาวะรู้" ส่วน "นามรูป" ทั้งหมดเป็น "สภาวะถูกรู้"

    +++ "รูป" ในกระทู้นี้จะรวมถึง "สิ่งที่มีขอบเขต สิ่งที่จัดว่าเป็นภาพ แสง สี ต่าง ๆ" ส่วนคำว่า "นาม" ในกระทู้นี้้หมายถึง "สิ่งที่มีสภาพ"

    +++ ความแปรเปลี่ยนระหว่าง "รูปกับนาม" จะอยู่ที่ "ระดับ สติ ของผู้ฝึก" เป็นหลัก (ปัจจัตตัง) (โพสท์ที่ 4 ของหน้าแรก)

    ญาณ 16 และ วิปัสสนาญาณ 9[แก้]ญาณ 16 ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีโดยตรงทั้งหมด แต่วิปัสสนาจารย์สายพม่าได้เรียบเรียงจากญาณที่ระบุในปฏิสัมภิทามรรคและคัมภีร์วิสุทธิมรรค รวมกัน 16 ขั้น เรียกว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ

    +++ จะเริ่ม map ในส่วนที่เป็นคำแปล "ภาษาไทยเท่านั้น" จากตรงนี้เป็นต้นไป

    นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป

    +++ ตรงนี้ น่าจะอยู่ตรงคำว่า "ดำรงค์สติมั่น แล้วจะทำให้ รู้ธรรมเฉพาะหน้า" (ธรรม คือ รูปนาม) และแม้กระทั่ง "การเดินจิต" เองก็ "ถูกรู้" (โพสท์ที่ 5 หน้าแรก สติระดับ 4. "การกำหนดจิต ทั้งหมด ถูกรู้")

    +++ คำแปลที่ว่า "กำหนดแยกนามรูป" นั้น จริง ๆ แล้ว "นามรูป ไม่สามารถแยกได้ด้วยการกำหนดจิต" แต่วิธีที่จะทำให้เห็น "การแยก" ได้นั้น ขึ้นกับการ "อยู่" ในส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น "อยู่กับ กายานุปัสสนา จน เวทนานุปัสสนา กลายมาเป็น กายในกาย" เป็นต้น จากนั้นจึงเป็น "การ อยู่ กับกายหนึ่ง ย่อมเห็น อีกกายหนึ่งได้" ดังนั้นคำว่า "กำหนดแยกนามรูป" จึงน่าจะเป็น "รู้วิธีเดินจิตที่ทำให้ แยกนามรูป ออกจากกัน"

    นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป

    +++ คำว่า "ปัจจัยแห่งนามรูป" นั้นคือ "เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี" ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของผู้ที่รู้จัก "ตัวดู หรือ วิญญาณขันธ์" แล้ว และสามารถแยกแยะได้ถึง "ความเป็น รูปและนาม ของตัวดู" แต่มั่นใจว่า ผู้แปล คงไม่ได้หมายถึงตรงนี้แน่ เพราะตัวต่อไป "ยังอยู่ใน ภวังค์จรณะ" ซึ่งยังเป็นวังวนของสติระดับ 2. "ระลึกรู้" ซึ่ง ผู้ฝึกในกระทู้นี้เริ่มที่ ระดับ 3. "กำหนดรู้"

    สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้

    +++ หากเป็น "ญาณ" ตัวจริง "วิปัสสนูปกิเลส" จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะ "ญาณ อยู่เลยความปรุงแต่งไปนานแล้ว" และ "ญาณ (ยาน) จะต้องอยู่ใน ฌาน (ชาน) เสมอ" (สติครองฌาน) ไม่มีข้อยกเว้น
    +++ ดังนั้น ตรงที่มี "วิปัสสนูปกิเลส" นี้จึงเป็นเรื่องของ "ผู้ที่ใช้ ความคิด จนถึงระดับ อุปจาระสมาธิ" ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "ผู้ฝึกในกระทู้นี้" เพราะตั้งแต่ "อยู่กับ กายเวทนา" ก็ "เลย อุปจาระสมาธิ" ไปแล้ว

    อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)

    +++ ตรงนี้น่าจะเป็น "การเริ่มเห็นรอยต่อตรงที่ ดับ ไปแล้ว และ ยังไม่ทันเกิด" เช่น ผู้ที่ฝึกมาทาง อานาปานสติ จะเห็น "รอยต่อของลมหายใจ" ในขณะที่ เข้าสุด หรือ ออกสุด แล้ว "เห็นรอยต่อของการหยุดอยู่" ตรงรอยต่อของกองลม ก่อนเปลี่ยนทิศทาง และ "ผู้ที่ถึงตรงนี้" มักจะ "พ้นกระแสน้ำไหล" ไปเรียบร้อยแล้ว "แต่หากยังอยู่ในกระแสน้ำไหล" ก็น่าจะเป็น "ภวังค์จรณะ ของ วิปัสสนูกิเลส" มากกว่า

    ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว

    +++ ตรงนี้เป็นอาการของผู้ที่ "เห็นรอยต่อ" แล้ว และจะพยายาม "อยู่ในจุดหยุด" เพื่อ "ยุติการเกิดของรูปนาม" หรือทำให้มัน slow down ลงมา

    ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด

    +++ ไม่น่าจะแปลอย่างที่กล่าวมา เพราะผู้ที่ "ผ่านตรงนี้มาแล้ว" จะเห็นสังขารเป็น "ศัตรูที่ร่วมทางกันไม่ได้" มากกว่า (หรืออาจเป็น จริต ของผู้แปลก็ได้ แล้วแต่ก็แล้วกัน)

    อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้

    +++ ปกติผู้ที่เห็น สรรพเพธัมมาอนิจจา มาแล้วก็มักจะกลับมา "อยู่กับตน" (สติระดับที่ 5) ก็น่าจะใกล้เคียงกับคำศัพท์ตรงนี้ และสิ่้งที่ตรงที่สุดอยู่ที่ สรรพเพธัมมา "พึ่งไม่ได้"

    นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย

    +++ ตรงนี้มักเป็นเรื่องของผู้ที่เห็น "ตัวพูดมาก หรือ ความคิด" มาแล้ว และเริ่ม เบื่อหน่ายกับความคิด

    มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย

    +++ เป็นธรรมดาของผู้ที่ "เบื่อคิด" ก็จะพยายาม "ออกจากคิด หรือ หยุดคิด" นั่นเอง (เหมือนการผูก ตรรกะ ยังไง ๆ อยู่)

    ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี

    +++ ตรงนี้อยู่ในขั้นตอนของการ "หาวิธีหนีความคิด" (ผูก ตรรกะ อีก)

    สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร

    +++ หากเป็นการฝึกโดยทั่วไปก็จะเป็นการ "ไม่ให้ความสำคัญกับความคิด" แต่หากเป็นผู้ฝึกในกระทู้นี้ก็จะเป็น ขั้นตอนการฝึก "อยู่กับตนเต็มรูปแบบ" ในขณะที่ "อยู่กับตน" สภาวะแห่งความเป็น ตน (สังขาร) จะเป็น "อุเบกขาญาณ" ซึ่งเป็นอาการที่ ตรงไปตรงมา หรือมิฉะนั้นก็ "เห็นกิริยาจิต"

    สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ )

    +++ ตรงนี้จะเป็นสติระดับที่ 6. "ดูตน" หรือมิฉะนั้นก็ "เห็นการกำหนดจิต และ ผลลัพธ์ของมัน" (เห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญา)(รู้สึกว่า ผู้แปล ใช้ตรรกะอีกตรงนี้)

    โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ

    +++ ตรงนี้จะเป็นสติระดับที่ 7. "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน" ผู้ฝึกในระดับนี้ มักจะรู้ได้ว่า "ยามใดที่ตนมีอยู่ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน" และในทางกลับกัน "ยามใดที่ไร้ตน ยามนั้นย่อมไร้ทุกข์"

    มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค

    +++ ตรงนี้ยังอยู่ในการฝึกสติระดับที่ 7

    ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล

    +++ ตรงนี้จะเป็นสติระดับที่ 8. "อยู่กับรู้"

    ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

    +++ หากผู้ที่ ทบทวนแล้ว ก็จะรู้ได้เองว่า "กิเลสทั้งหมด คือ ตัวเดียวกัน" ไม่มีตัวไหนเป็นตัวไหนอีกต่อไป (พ้นตัวดู)
    ============================================================================================

    +++ "เรื่องคำศัพท์แบบนี้ ไม่แนะนำให้เอามาใช้กับการปฏิบัติ" เพราะ "อัตราของการ ปรุงแต่ง สูงมาก" และ "คำแปล" หากสื่อไม่ตรงกับอาการที่เกิดขึ้นจริง ก็จะเป็น "พิษภัยกับผู้ปฏิบัติ" มากกว่าจะเกิดประโยชน์ (ตรงนี้เป็นคำกล่าวของสายพระป่าว่า "ปริยัติงูพิษ")

    +++ ดังนั้นแนะนำว่า "ให้ปฏิบัติโดยตรง" จะดีกว่า เพราะ "ผลลัพธ์ย่อมเกิดขึ้นเอง และได้เองกับตน" ส่วนคำศัพท์ ต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อ "สามารถสื่อสารให้รู้เรื่อง และ ตรงกับอาการได้เท่านั้น" (หลาย ๆ แห่งไม่ตรงกับอาการ)

    +++ และหาก ฝึก กรรม-ฐาน ควบคู่ไปกับภาษาแบบนี้ รับรองได้ว่าเป็นการ ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจยากแน่นอน นะครับ
     
  13. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    :cool: สวัสดีครับ พี่น้อง แวะมาทักทาย
     
  14. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    สาธุ
     
  15. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    กลับจากเที่ยวภูเก็ตแล้วคะ เจอฝนวันไปกับวันกลับ มีแดดออกฟ้าใส 1 วัน แต่วันที่แดดออกลมก็แรงมาก ๆ เมิลเลยถามโอมว่ารู้สึกถึงลมที่มากระทบผิวไหม
    โอมก็พยักหน้า เป็นคำตอบ
    เมิลก็เลยบอกโอมต่อว่า "นั่นเขาเรียกว่าความรู้ตัว อยู่อย่างนั้นไปก่อนนะ แล้วสักพักลองรู้สึกจากข้างในข้างใต้ผิวหนัง เอาผิวหนังเป็นกรอบนะ ข้างนอกรู้ถึงลมกระทบ ข้างในไม่รู้สึกถึงลม"
    โอมก็ถามเมิลว่า "อยู่คืออะไร ทำยังไง"
    เมิลก็เลยตอบว่า "อยู่ก็คือ stay ไง"
    เอวัง...สรุปโอมทำไม่ได้ เมิลก็อธิบายไปต่อไม่เป็น
    ก็เมิลทำได้ ก็เลยไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงทำไม่ได้นะ มันตรงไหนนะที่เขาไม่เข้าใจ

    ทำไมคนเราถึงอยู่เฉย ๆ ไม่เป็นนะ ต้องหาอะไรทำตลอดเวลา - อันนี้เป็นข้อสังเกตเวลาเมิล observe คนอื่น
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ปกติในเวลาที่ผม อบรมกรรม-ฐาน ให้กับบุคคลต่าง ๆ ผมจะต้องเดินจิตเข้าไป "อยู่" ในอาการก่อนทุกครั้ง
    +++ การ "อยู่" ในอาการก่อนนี้ จะช่วยให้ผู้ที่กำลังฝึก สามารถเดินจิตได้ง่ายขึ้น เพราะ "สนามพลัง" จากผู้คุมการฝึก สามารถแผ่ครอบคลุมบริเวณที่ทำการฝึกได้ และจะช่วย "ตัดอุปสรรค" รวมทั้งช่วยในการ "นำร่อง" จิตของผู้ที่กำลังฝึกไปในตัว
    +++ การฝึกด้วย "การเดินจืต" นี้จึงไม่ใช่เพียงแค่ "วาจา" เฉย ๆ แต่จะต้องประกอบไปด้วย "การเดินจิต" จากผู้ควบคุมการฝึก ตลอดเวลาอีกด้วย
    +++ ให้สังเกตุในตอนที่เมิล ฝึกกับผม ก็จะรู้ได้ว่า "อุปสรรคในการฝึกทางจิต ไม่ปรากฏ ตลอดเวลาที่ผมคุมการฝึก" เพราะผมเดินจิตไปด้วย ตลอดเวลานั่นเอง
    +++ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม "ผู้ที่ทำ ความรู้สึกทั้งตัวไม่ได้นั้น มีอยู่จริง" แต่ก็ควรพยายามช่วยเขาให้เต็มที่ก่อน หากไม่ได้จริง ๆ ก็ให้เขาปฏิบัติ "อนุสติ" เช่น "อานาปานสติ" ไปก่อนเพื่อเป็นพื้นฐาน หากมีอาการที่เป็นส่วนของ ความรู้สึก เกิดขึ้นเมื่อไร จึงค่อย ๆ ขยับให้มาทางมหาสติในภายหลังก็ได้
    +++ มันเป็นอย่างนั้นเอง อย่าว่าแต่คนเลย สรรพสัตว์ทั้งมวล "อยู่ด้วยความปรุงแต่งทั้งสิ้น ตลอดกาลนาน" ยามใดที่ความปรุงแต่งตรงกัน ก็ชอบพอกันเป็นพวกเดียวกัน และ ยามใดที่ความปรุงแต่งขัดกัน ก็เป็นศัตรูกัน จองเวรกัน ต่างฝ่ายต่างก็ "รักและหวงแหน ความปรุงแต่ง ที่ตนสร้างมันขึ้นมา (อัตตาสูง) โดยไม่รู้ตัวทั้งสิ้น" ทั้งหมดนี้ "เป็นธรรมดาของสัตว์โลก ที่ต้องเป็นไปตามกรรม (ความปรุงแต่ง) นั่นเอง" นอกจากจะหวงแหน ความปรุงแต่งที่ตนสมมุติขึ้นมาแล้ว ก็มักจะหลงยึดเอาเองว่า ความปรุงแต่งที่ตนตั้งขึ้นเองนั้น เป็นความถูกต้องเสมอ นะครับ
     
  17. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    +++ การ "อยู่" ในอาการก่อนนี้ จะช่วยให้ผู้ที่กำลังฝึก สามารถเดินจิตได้ง่ายขึ้น เพราะ "สนามพลัง" จากผู้คุมการฝึก สามารถแผ่ครอบคลุมบริเวณที่ทำการฝึกได้ และจะช่วย "ตัดอุปสรรค" รวมทั้งช่วยในการ "นำร่อง" จิตของผู้ที่กำลังฝึกไปในตัว

    อันนี้ดาวเข้าใจดีเลย สนามพลัง ส่งถ่ายได้ (f) เคยเล่นบ่อย กับคนรอบๆ ตัว บางคนรับได้น่ะ แต่บางคนปฎิเสธที่จะรับ บางคนเราไม่ได้บอกว่าเราทำอะไรอยู่ แต่เขารู้สึกได้ แต่ไม่เคยบอกใครว่าคืออะไร

    วันก่อนฝันว่ามีผู้มีพระคุณมาบอกหวย ตอนแรกคำนวณไว้ว่าจะซื้อเท่าไหร่ แต่ดันลืมไม่ซื้อ หวยดันออกจริงเสียด้วย แต่ปกติไม่ใช่คนเล่นหวยน่ะ (f)(f)

    ช่วงนี้ป่วยบ่อยค่ะ งง ความรู้สึกเวทนานี่มันชัดเจนเกิน รู้สึกว่า มันปวดมาก ร้อนมาก หนาวมาก
    วันก่อนอากาศดี 24 องศา ใส่เสื้อแขนสั้นปกติ ตากลมสักพัก กลายเป็นว่าหัวค่ำน้ำหูน้ำตาน้ำมูกไหลพรากๆ จะว่าหวัดก็ไม่ใช่ เหมือนแพ้อากาศ กำหนดลมหายใจไม่ได้ กินยาแก้แพ้สองเม็ด วันรุ่งขึ้นเป็นปกติ เอ๊ะยังไงเนี่ย แต่ฤทธิ์ยาแก้แพ้ทำให้หลับไปหลายชั่วโมงเลย

    ยังไม่คืบหน้าไปไหนเลย แต่เหมือนกับว่า รู้ทันอารมณ์ตัวเองเร็วขึ้นน่ะ แต่ไม่ใช่ว่ารู้ปุป วางอารมณ์นั้นลงปับ เหมือนกับว่า มันดูอารมณ์ตัวเองอยู่นั่นว่าจะ ยังไงต่อไป รู้ตัวว่าความไม่พอใจเกิดขึ้น ก็ดูมันไปว่าจะเกิดบันดาลโทสะไหม แปลกดี พอตัวดูจ้องอยู่แล้วโทสะไม่เกิด การระเบิดของอารมณ์ไม่มีเกิดขึ้น
    สักพักอารมณ์ไม่พอใจนั้นก็หายไป ไม่มีอะไรเที่ยงจริงๆ กับทุกสิ่ง

    focus ทุกอย่างดีขึ้นมาก บ้าพลังงานเช่นออกกำลังกาย ทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนอย่างต่อเนื่องได้ ปั่นจักรยาน 30 กิโลเมตรได้แบบไม่เหนื่อยเท่าไหร่ คิดเอาเองว่าน่าจะเป็นผลที่เรียกปิติ หรือความรู้สึกตัวบ่อยๆ ถ้าไม่ทำสิ่งเหล่านี้ แล้วพลังงานมันตกค้างเยอะมาก มันจะนอนไม่หลับ เพราะมันไม่ง่วง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2014
  18. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    +++ "ไม่สำรวม ไม่เป็นหัวตอ ไม่ใช่นักปฏิบัติ" ใช่หรือเปล่า หึ ๆ ๆ ๆ... "สูงสุด กลายเป็น สัตว์ประหลาด" หรือ "สูงสุด กลับสู่ สามัญ" อันไหนถูกต้อง ก็เลือกกันเอาเองก็แล้วกัน ง่ายดี แล้วอย่าลืมว่า "ผู้เบิกบาน" หายไปไหน

    สูงสุด กลับสู่ สามัญค่ะ ไม่ได้เลือกนะคะแต่มันเป็นของมันเอง กลับสู่สามัญชนคนธรรมดา เดินดิน กินข้าวแกง ไปไหนมาไหนต้องใช้พาหนะในการเดินทางเพราะเหาะไม่ได้ รู้กาลเทศะ สำรวมใจ ใครพูดอะไรฟังแล้วก็แล้ว มองคนอื่นก็มองแบบรู้กายรู้จิตใจอย่างที่เขาเป็น สำรวมระวังคำพูดคำจา ไม่ใช่คนเก่งอะไร กายที่อาศัยอยู่นี้่ก็ศูนย์รวมเชื้อโรค เต็มไปด้วยขี้ ขี้หัว ขี้หู ขี้ฟัน ขี้มูก ขี้ตา ขี้กลาก ขี้เกลื้อน ขี้ทูด ขี้รังแค ขี้ไคล สารพัดมีแต่สิ่งสกปรกโสโครก ที่อยู่ได้ ไม่สกปรกไม่เน่าไม่เหม็น ก็เพราะทำความสะอาดทุกวันหรอก ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังต้องฝึกฝนไปจนวันตายโน้นแหล่ะ ตอนนี้ยังไม่ถึงครึ่งร้อยเลย ก็ไม่รู้จะอยู่อีกนานแค่ไหน แฮะๆ

    ส่วนผู้เบิกบาน จะเบิกบานตอนที่หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งหลายทั้งปวง บานเมื่ออิสระแล้ว บานโดยไม่เจตนา นี่แหล่ะคือผลของการฝึกสติ ส่วนถ้าเจตนาให้เบิกบานออกมาข้างนอก และบานนานๆ อย่างนี้คงต้องพึ่งจิตแพทย์ช่วยหุบแล้วล่ะค่ะ อิอิ

    +++ มันจะถูกต้องได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่า "สภาวะรู้ ไม่ได้พูด ส่วน สภาวะพูด ไม่ได้รู้" (ไอ้ตัวพูดมาก) ตรงนี้แหละที่ map ตรง ๆ ไปที่ "ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง" เท่านั้น

    เคยลอง map เล่น ตอนนั้นนั่งเงียบๆอยู่กับสภาวะรู้ แล้วได้ยินตัวพูดมากมันพูด มันแยกออกจากเราไปเลย แบบอยู่ใครอยู่มัน เราก็นิ่งฟังมันพูด อาการเหมือนที่เรานั่งฟังเสียงคนอื่นพูดเให้เราฟังเลยค่ะ ตอนนั้นสังเกตเห็นชัดแจ้งแดงแจ๋เลย สภาวะรู้ ไม่ได้พูด หลังจากนั้นเลยลอง map ซ้ำหลายๆรอบ ชัดแจ๋วไม่มีคลื่นแทรก

    ทีนี้ก็เลยลองเปิดเสียงหลวงพ่อเทศนาธรรมให้มัน(ตัวพูดมาก)ฟัง แล้วให้มันพูดอยู่ข้างในไปพร้อมกับเสียงหลวงพ่อเทศน์ ทำได้ดีแฮ๊ะ เสียงดังฟังชัด แต่พอลองให้มันเปล่งเสียงพูดออกมาทางกายหยาบ โดยที่หลวงพ่อเทศน์อะไรให้มันพูดไปพร้อมหลวงพ่อ มันทำไม่ได้ พูดไปคนละทิศคนละทางเลย แฮ่ๆ เพราะกายหยาบมันไม่รู้ว่าหลวงพ่อจะเทศน์อะไร ถ้าให้ฟังก่อนแล้วพูดตามหลังน่ะทำได้ เล่นไปเล่นมาซักจะเริ่มเพี้ยน เหมือนจะไร้สาระ แต่เล่นแล้วเห็นธรรมนะเออ .. เฮ้อ

    ทีนี้(หลายทีแล้ว)ขอรบกวนสอบถามอาการเพิ่มเติมค่ะ คือ ถ้าสมมุติมีใครเอ่ยถึงเราน่ะค่ะ เหมือนเราจะส่งจิตแว๊ปออกไปที่คนนั้นแล้ววูปกลับเข้ามา ตรึงไว้ แล้วจากนั้นเราก็ได้สัมผัสอารมณ์ของคนนั้นน่ะค่ะ แต่ถ้ามีใครส่งจิตมาหาเรา ถ้าเราตรึงไว้ เราจะได้สัมผัสอารมณ์ของคนที่ส่งจิตมาหาเราเลยค่ะ สังเกตุตัวพูดมากมันจะพูดก๊อปปี้ความคิดของคนนั้นให้เราฟังด้วย หรือไม่ก็ได้ยิน ตัวพูดมากมันเอ่ยชื่อ บางครั้งเราไม่สนใจ เพราะหน่าย แต่ก็ยังได้ยินเสียงตัวพูดมากมันเอ่ยชื่อคนนั้นซ้ำๆโดยไม่เจตนาอยู่นั่นแหล่ะ ไม่รู้ตัวพูดมากมันติดใจอะไรเขานักหนา เลย งง น่ะค่ะ
     
  19. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    เวลาที่ตัวดูมันหดตัวแรง ๆ เร็ว จะเกิดอาการที่เรียกว่าใจหาย ใช่ป่าวอะคะ
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    วิธีแยกเวทนา

    ช่วงนี้ป่วยบ่อยค่ะ งง ความรู้สึกเวทนานี่มันชัดเจนเกิน รู้สึกว่า มันปวดมาก ร้อนมาก หนาวมาก

    +++ หากมีอาการผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น ให้ทำดังนี้

    +++ 1. เข้าฐานความรู้สึกทั้งตัว ไม่น่าเกิน 5 นาที ก็สมควรจะรู้ จุดหย่อม หรือ บริเวณ ที่ผิดปกติได้
    +++ 2. ขณะที่ยังอยู่กับความรู้สึกทั้งตัว (ยังอยู่ในฐานทั้งตัว) จะรู้ถึงความแตกต่างของ ฐานทั้งฐาน (กายทั้งตัว) ที่เป็นปกติ กับ ส่วนบางส่วนที่ไม่ปกติ (หย่อมบริเวณที่เป็นทุกข์)
    +++ 3. ให้ "อยู่" กับฐานทั้งตัว "แต่" ให้สังเกตุ "ขอบเขต หรือ บริเวณ ที่เป็นทุกข์แบบคร่าว ๆ" (ทุกข์ มีขอบเขตจำกัด มันไม่ได้กินบริเวณทั้งฐาน)
    +++ 4. ถึงตรงนี้จะรู้ได้ว่า "ขอบเขตบริเวณที่เป็นความทุกข์ จะมีความหนาแน่นและ ทึบ มากกว่าฐานที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกข์"
    +++ 5. "อยู่กับฐาน ตลอดเวลา" จนกว่า ขอบเขตบริเวณที่เป็นทุกข์ "จะแยกตัวมันเองออกมาจากฐาน โดยสมบูรณ์"

    +++ ปรากฏการณ์ที่ "สภาวะทุกข์ แยกตัวออกมาจาก สภาวะฐาน" ตรงนี้เรียกว่า "แยกเวทนา" และจะ "รู้แจ้งได้เองว่า เวทนาไม่ใช่เรา" (เวทนาอนัตตา ตรงนี้คือของจริง ผิดออกไปจากนี้ เป็นของปลอมที่ คิดเอาเอง เออเอาเอง)
    +++ หากเป็น "การแยกเวทนา ครั้งแรกในชีวิต" ก็ควรจะ "อยู่อย่างนั้น จนกว่า สภาวะทุกข์ จะมลายหายไปด้วยตัวของมันเอง"
    +++ สำหรับ "ผู้ที่ผ่านตรงนี้มาแล้ว" ในขณะที่ "ทุกข์เวทนาแยกตัวออกมานั้น" ให้เดินจิต ทำให้ "เวทนาที่มืดทึบนั้น สลายตัวไปแบบ กองฝุ่นในสายลม" มันก็จะหายทุกข์ได้

    วันก่อนอากาศดี 24 องศา ใส่เสื้อแขนสั้นปกติ ตากลมสักพัก กลายเป็นว่าหัวค่ำน้ำหูน้ำตาน้ำมูกไหลพรากๆ จะว่าหวัดก็ไม่ใช่ เหมือนแพ้อากาศ กำหนดลมหายใจไม่ได้ กินยาแก้แพ้สองเม็ด วันรุ่งขึ้นเป็นปกติ เอ๊ะยังไงเนี่ย แต่ฤทธิ์ยาแก้แพ้ทำให้หลับไปหลายชั่วโมงเลย

    +++ เป็นธรรมดาที่ "ศีรษะโดนความเย็น ก็จะเกิดอาการคล้ายเป็นหวัด" ดังนั้น "ให้ใส่หมวก หรือ หาอะไรคลุมซะ" เมื่ออุณหภูมิที่หัว ปรับตัวเข้าที่แล้ว มันก็จะหายไปเอง

    ยังไม่คืบหน้าไปไหนเลย แต่เหมือนกับว่า รู้ทันอารมณ์ตัวเองเร็วขึ้นน่ะ แต่ไม่ใช่ว่ารู้ปุป วางอารมณ์นั้นลงปับ เหมือนกับว่า มันดูอารมณ์ตัวเองอยู่นั่นว่าจะ ยังไงต่อไป รู้ตัวว่าความไม่พอใจเกิดขึ้น ก็ดูมันไปว่าจะเกิดบันดาลโทสะไหม แปลกดี พอตัวดูจ้องอยู่แล้วโทสะไม่เกิด การระเบิดของอารมณ์ไม่มีเกิดขึ้น สักพักอารมณ์ไม่พอใจนั้นก็หายไป ไม่มีอะไรเที่ยงจริงๆ กับทุกสิ่ง

    +++ หากยามใดที่ "แยกเวทนา" ได้แล้ว ก็จะจัดการกับ "ธรรมารมณ์" ได้ไม่ยาก เพราะทุกอย่าง "ในขั้นตอนที่ยังต้องฝึกอยู่นี้ จะมีการ อยู่-ย้าย เป็นเรื่องหลัก" แล้วจะรู้ได้เองว่า "สภาวะธรรมใดที่สมควรอยู่ และ สภาวะธรรมใดที่ไม่สมควรอยู่" หากทำตรงนี้ได้คล่องและชัดเจนได้เมื่อไร ก็จะรู้แจ้งได้เองว่า "อะไร เรียกว่า วิหารธรรม (เครื่องอยู่)" และ "อะไร คือการ ปิดอบาย" ได้อย่างชัดเจน

    focus ทุกอย่างดีขึ้นมาก บ้าพลังงานเช่นออกกำลังกาย ทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนอย่างต่อเนื่องได้ ปั่นจักรยาน 30 กิโลเมตรได้แบบไม่เหนื่อยเท่าไหร่ คิดเอาเองว่าน่าจะเป็นผลที่เรียกปิติ หรือความรู้สึกตัวบ่อยๆ ถ้าไม่ทำสิ่งเหล่านี้ แล้วพลังงานมันตกค้างเยอะมาก มันจะนอนไม่หลับ เพราะมันไม่ง่วง

    +++ มันจะเรียกว่า อะไร ก็ช่างมันปะไร คำศัพท์มันไม่มีความหมายอะไรหรอก มันเป็นแค่อะไรก็ได้ที่ใช้พูดจา และ สื่อสารกันให้รู้เรื่องเท่านั้น สรรพสิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นและ วิวัฒนาการ อยู่ในขณะนี้ "เป็นผลลัพธ์มาจากการ ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เอามาปฏิบัติได้" เท่านั้นเอง นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...