ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    เหตุใดกันเล่า ทฤษฏีที่สูงส่ง หลักคำสอนที่สูงสุดจึ่งไม่ใช่
    สิ่งจำเป็นสำหรับ ตันตระ เหตุผลอยู่ที่ว่ายิ่งคุณรู้น้อยเท่าไหร่
    คุณมักจะยิ่งสร้างสรรค์มันขึ้น เพื่อปกปิดความไม่รู้นั้น
    ยกตัวอย่้างความตายคุณไม่รู้ว่า ความตายคืออะไร? หรือคุณรู้จริงๆล่ะ
    บางทีมันอาจจะไม่มีอะไรอยู่หลังจากนั้นไม่มีชีวิตหลังความตาย ไม่มีการเวียนว่าย
    ใครจะรู้แต่คุณก็เลือกที่จะเชื่อว่า มีการเวียนว่ายตายเกิดเกิดขึ้นมาจริง
    ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะวิญญาณของคุณยังคงดำรงอยู่คุณมีกรรมที่ต้องชดใช้
    เป็นต้น นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณเชื่อผิด หรือ เข้าใจผิดในเรื่องนี้
    บางทีอาจจะมีชีวิตหลังความตาย มีการเวียนว่ายก็ได้ใครจะรู้

    แต่คำถามก็ยังคง อยู่ที่คุณรู้จริงๆ หรือ หรือคิดว่ารู้ เสแสร้งดัดจริตว่ารู้
    [FONT=Tahoma, sans-serif]วันหนึ่งในขณะที่ นาโรปะ(ท่านผู้นี้เป็นคุรุที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของธิเบต ท่านได้ชื่อว่ามหาสิทธา [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]อันมีความหมายว่าเป็นผู้ครอบครองญาณทัศนะแห่งปรีชาญาณบ้า) กำลังนั่งอ่านหนังสือเกี่ยวกับหลักปรัชญาและตรรกะ [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]อยู่ภายในมหาวิทยาลัยนาลันทา ท่านผุ้นี้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนาลันทา [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]อันเป็นมหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น [/FONT][FONT=Tahoma, sans-serif]ทุกคนรู้จักนาโรปะในฐานะ[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]มหาบัณฑิตที่เก่งกาจที่สุด[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]แต่ทว่าตัวท่านเองกับสงสัยในความเป็นมหาบัณฑิตนี้[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]ในวันหนึ่งเมื่อ[/FONT][FONT=Tahoma, sans-serif] เงามืดได้ทอดผ่านห้องของนาโรปะ[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]ด้วยเหตุนี้ นาโรปะจึงผละจากหนังสือแล้วหันไปมองเงาอันน่าสะพรึงกลัวนั้น [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]และแล้วเบื้องหน้านี้ เขาก็ได้เผชิญหน้ากับหญิงแก่ [/FONT]
    หล่อนมาจากไหนไม่มีใครรู้
    แต่ทว่าหล่อนก็ได้มาปรากฏแล้ว และแล้วในความเงียบงันนั้นหญิงชรา [FONT=Tahoma, sans-serif]จึงเอ่ยถามว่า "เจ้ากำลังอ่านอะไรอยู่" [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]นาโรปะตอบไปว่าเขากำลังคร่ำเคร่งอยู่กับหนังสือหลักปรัชญาพุทธศาสนาอันลึกล้ำ [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]หญิงแก่จึงถามต่อไปว่า "แล้วเธอเข้าใจตัวอักษรหรือเข้าใจความหมายที่แท้ของมันล่ะ" [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]ท่านนาโรปะจึงตอบไปว่า เขาเข้าใจทุกประโยค เป็นอย่างดี หญิงแก่ได้ยินเช่นนั้นก็ดีใจ [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]พร้อมทั้งเต้นรำควงไม้เท้าไปมาอย่างลิงโลด [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]นาโรปะเห็นเธอมีความสุขเช่นนั้น จึงบอกเธอเพิ่มไปว่า เขาความเข้าใจในความหมายของมันด้วย [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]เมื่อได้ยินเช่นนั้น หญิงแก่ก็เริ่มร้องไห้ สะอึกสะอื้น [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]นาโรปะเห็นเช่นนั้นจึงถามหญิงแก่ถึงสาเหตุ[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]หญิงชาจึ่งกล่าวว่า [/FONT]

    [FONT=Tahoma, sans-serif]"เมื่อนักปราชญ์มหาบัณฑิตอย่างเจ้ายอมรับว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]เจ้าเข้าใจเพียงความหมายตามตัวอักษรของหลักธรรมะที่เจ้าอ่าน[/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]เจ้าพูดความจริง อันทำให้ข้ามีความสุข [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]แต่เมื่อเจ้าโกหกว่าเจ้าเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งของหลักธรรมนั้นๆ มันทำให้ข้ารู้สึกเศร้าใจยิ่งนัก"[/FONT]

    [FONT=Tahoma, sans-serif]นาโรปะได้ยินเช่นนั้นก็ตกใจจนพูดอะไรไม่ออก เขารู้แก่ใจว่าสิ่งที่หญิงแก่พูดเป็นความจริงทุกประการ [/FONT]
    [FONT=Tahoma, sans-serif]และจุดเล็กๆๆนี้เองที่ได้กลายมาเป็น[/FONT][FONT=Tahoma, sans-serif]แรงบันดาลใจแห่งการออกเดินทางค้นหาความหมายแห่งชีวิตที่แท้ของท่าน[/FONT]
    ท่านละทิ้งทุกสิ่งจนกระทั้งพบกับท่านทิโลปะ(ตำนานเล่าขานว่าท่านผู้นี้เป็นมหาสิทธาคนแรกที่เป็นมนุษย์
    ทิโลปะหมายถึงคนตำงา ในบ้างแง่แล้วท่านนี้คล้ายคลีงกับท่านเล่าจื่อแห่งลัทธิเต๋า ไลคูส์แห่งมุสลิมซูฟีร์ หรือท่านกาบีร์ )
    และ ได้เรียนรู้กับท่านผู้นี้จนกระทั้ง
    ในเวลาต่อมาก็ได้กลายเป็น มหาสิทธาผุ้ยิ่งใหญ่และบิดาแห่งสายธรรมกาคิว

    เรื่องเล่าของนาโรปะ นี้สวยงามแม้ว่ายังจะมีต่ออีกมามายหลังจากนี้
    อย่างไรก็ตามนาโรปะนี้เป็นตัวแทนได้อย่างดี สำหรับพวกคุณ
    นั้นคือ ถ้าคุณได้อ่านเรื่องราวของเขาและเกิดความคิดที่จะตั้งคำถามว่าคุณเข้าใจนัยยะของ
    พุทธธรรมจริงๆ หรือแค่เพียงท่องจำตามตัวอักษร
    หรือแท้จริงแล้วคุณไม่รู้อะไรเลยแต่เสแสร้งว่าคุณรู้
    หากคุณตระหนักถึงสิ่งที่คุณเป็นอยู่จริงๆ
    เช่นนี้นั้นก็เท่ากับว่าคุณได้ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นแล้วและดำรงตนอยู่บนมรรคา
    แต่หากคุณเสแสร้งทำราวกับว่าตัวคุณไม่มีปัญหาทั้งๆที่
    คุณรู้ดีถึงความสับสนที่บังเกิดในเบื้องลึกของคุณ

    อย่าง
    คุณพูดว่าฉันเคยได้ยินมามีคนบอกฉันเช่นนั้นฉันนิมิตเมื่อเข้าสมาธิ
    ฉันเคยไปในโลกอีกโลกมาแล้ว
    ฉันเห็นพุทธภูมิพระพุทธองค์ยิ้มให้ฉัน พร้อมกับยื่นมือมาเพื่อจะใช้จูงฉันข้ามไป
    คุณแน่ใจหรือว่านิมิตนั้นคือความจริง มิใช่คิดไปเอง
    บางที่มันอาจจะเหมือนกับคุณนอนหลับแล้วฝันไป
    หรือ ที่แย่กว่านั้นคุณนั้นแหละคือความฝัน ตัวตนของคุณที่อยู่ตรงนี้
    ที่นี่คือภาพความฝันของคนอีกคนที่คุณไม่รู้จัก
    ที่กำลังนอนหลับฝันอยู่ ดังนั้นเมื่อครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของลัทธิเวทานตะ
    ในศาสนาฮินดุอย่างศังกราจารย์ กล่าวว่า
    "โลกทั้งฝองเปรียบประดุจความฝันของพระป็นเจ้า เป็นเพียงมายา "
    สิ่งนี้มิใช่ถ้อยแถลงทางปรัชญา หรือทฤษฏี
    แต่มันเป็นการหยั้งเห็นสูงสุดของผู้มีดวงตาผู้หนึ่ง
    สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยนั้นจักเป็นสิ่งที่แท้จริงได้อย่างไร?
    เมื่อเหตุนั้นหายไปสิ่งนั้นย่อมหายไป
    แล้วโลกทั้งฝองเล่าหายมันเกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของพระเป็นเจ้า
    แล้วมันจะไม่ใช่เป็นเพียงมายาภาพได้อย่างไร?
    แล้วการตื่นรู้ของคุณเล่าหากมันเกิดจากการสร้างสรรค์ของวิธีปฏิบัติหนึ่ง
    หรือระบบปฏิบัติหนึ่งๆเล่า
    แล้วสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นตามเหตุปัจจัยนี้เล่าจะเป็น
    สิ่งที่จริงแท้ได้อย่างไร?

    ด้วยเหตุนี้นิพพานจึ่งไม่ใช่ผลของมรรคา
    ดังจะเห็นได้ว่า ทำไมพระพุทธองค์จึ่งเลือกใช้คำว่านิพพาน
    ที่แปลว่าความดับ เพื่ออธิบายถึงภาวะของการตรัสรู้
    ทั้งที่พระองค์สามารถใช้ถ้อยคำอื่นได้อย่างมากมาย
    เช่นชีวิตนิรันดร์ โมกษะ แต่พระองค์กับเลือกใช้คำๆนี้
    นิพพานอันแปลว่า ความดับไม่เหลือเชื้อดังไฟที่ดับไปเพราะ
    ปราศจากเชื้อเพลิง

    กลับมาที่ชีวิตและความตายอีกครั้ง
    คุณเคยสอบสวนจริงๆหรือไม่ว่าความตายคืออะไร?
    คุณพร้อมจริงหรือที่จะตายลง
    โอ้......ท่านผู้ขลาดเขลา
    ท่านจะรู้จักความตายได้อย่างไร?
    ถ้ามิใช่ในการดำรงอยู่
    ในชีวิตนี้

    สำหรับตันตระแล้วนี่คือเรื่องน่าหัวเราะมิใช่ว่าสิ่งเหล่านี้จริงหรือไม่จริง
    แต่เป็นเพราะว่า
    สิ่งเหล่านี้คือการเสแสร้งเพื่อ หนีจาก การเผชิญหน้ากับความเป็นจริง
    เป็นการเอาผืนผ้าใบ คลุมพิภพ
    เห็นได้ชัดว่า คุณรู้น้อยขลาดเขลา และพยายามที่จะหนีจากความจริงนี้
    ด้วยเหตุนี้คุณจึ่งวิ่งวุ่นเพื่อหาความมั่นคงหลักคำสอน ความรู้ในพระไตรปฏิก
    ปรัชญาปารมิตา วัด ครู เพื่อให้ได้มาซึ่งความคิด
    ความรู้เพื่อจะใช้มันจัดการกับชีวิตน้อยๆ
    เพื่อปลอบประโลม"

    [​IMG]

    เมื่อคุรุที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งของวัชรยานคือ ท่านมารปะเดินทางกลับสู่ ธิเบต
    หลังจากที่ท่านเดินทางไปศึกษาพุทธธรรมที่ชมภูทวีป(เช่นเดียวกับที่หลวงจีนเหี้ยงจังทำ)
    ซึ่งท่านได้จดบันทึกคำสอนกลับมาเป็นจำนวนมาก
    แต่ทว่า ในขณะที่ท่านกำลังลงเรือข้ามแม่น้ำสายหนึ่ง พร้อมกับสหายผู้ริษยาท่าน
    สหายร่วมทางของท่านก็เริ่มออกอุบายเพื่อที่จะทำลายตำราทั้งหลาย
    บันทึกการเล่าเรียนของท่าน
    ด้วยหวังว่าท่านจะต้องกลับไปธิเบตมือเปล่า จะได้ขายหน้า และแล้วเขาก็ทำได้สำเร็จ
    ดังนั้นมารปะจึงกลับธิเบตด้วยความรู้สึกสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
    ท่านมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการเดินทางและการร่ำเรียนของท่านที่จะเล่า ให้ใครต่อใครฟัง
    แต่ท่านก็ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนที่จะมาพิสูจน์ความรู้ และประสบการณ์ที่ท่านได้รับ
    แม้กระนั้นก็ดี ในท้ายที่สุดท่านก็เริ่มเห็นบางสิ่งบางอย่าง
    ว่า แม้ท่านจะพกเอาตำรับตำราที่สะสมไว้กลับมาได้ แต่ว่าตำราเหล่านั้นมันก็หาได้มีประโยชน์กับ ท่านไม่
    เพราะ ขณะที่ท่านอยู่อินเดีย ท่านเพียงแต่บันทึกบางส่วนของความรู้ที่ท่านไม่เข้าใจ
    เพราะมันไม่ได้มาจากประสบการณ์ของ ท่านเอง มันไม่ได้เป็นส่วน หนึ่งของตัวท่าน
    <O:p></O:p>



     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  2. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ยิ่งคุณมีความรู้มาก สิ่งนี้ยิ่งก่อให้เกิดความยึดติด
    สิ่งนี้มิใช่ หมายความว่า ตันตระ ต่อต้านความรู้
    ทั้งมิได้หมายความว่าให้คุณเลิกแสวงหาความรู้
    เพียงแต่ ต้องการชี้ให้เห็นว่า การแสวงหาความรู้ของคุณ มักต้องแลกมาด้วยการสูญเสีย
    การสูญเสีย
    สูญเสีย สิ่งใดนะหรือ สิ่งนั้นก็คือ ?
    จิตที่ไร้เดียงสา ดุจกระจกเงาที่มิได้เปลื้อนฝุ่นนะสิ ท่านซูซูกิ โรชิ ผู้บุกเบิกนำเอาเซนไปยังโลกตะวันตก
    กล่าวว่า " หากดวงจิตของคุณว่าง มันก็พร้อมเปิดออกสำหรับทุกสิ่ง เนื่องด้วยเป็นจิตที่ไร้เดียงสา ซึ่งเตมไปด้วยความเป็นไปได้ ซึ่งตรงข้ามกันสำหรับดวงจิตของคนรู้มากนั้นย่อมเต็มไปด้วยความคับแคบอย่างไม่ต้องสงสัย"

    นี่จึ่งเป็นเหตุผล่าทำไมพระเยซูจึ่งกล่าวกับนิโคเดมัสว่า

    "เว้นเสียแต่ว่าท่านจะได้เกิดใหม่ หาไม่แล้วท่านจะไมมีวันเขาใจเรื่องนี้(แผ่นดินพระเจ้า)ได้"




    เป็นการง่ายที่คุณจะยึดติดกับความรู้
    แต่เป็นการยากกว่าที่จะยอมรับจริงๆว่า
    ความรู้ไม่ได้ช่วยให้คุณจัดการกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างแท้จริง
    มันเป็นสิ่งที่คุณหยิบยืมมา
    คุณมักโต้เถียงกันด้วยอาศัยความรู้ที่หยิบยืมมา
    แต่คุณไม่เคยเลยที่จะหยุดแล้วรับฟัง
    ความรู้นำมาซึ่ง ภูเขาขนาดใหญ่ ที่ปิดประตูแห่งความลี้ลับ
    เพราะเมื่อ คุณรู้ และ หลงนึกว่าตัวเองรู้แล้ว กระจ่างแล้ว คุณก็หยุดการเรียนรู้นั้น
    คุณไม่อาจจะเลือนไหล หรือ มองเห็นได้อีก
    ดังคนตาบอดทั้งๆที่มีดวงตา หูหนวกทั้งๆที่มีหู

    ยกตัวอย่างเช่น ความตายคุณคิดว่าคุณรุ้ว่ามีอะไรอยู่ เช่นคุณรู้เกี่ยวกับเรื่องเล่าของประสบการณ์อันน่าประหลาด
    ในบาร์โด เมื่อคุณได้อ่านคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต [The Tibetan Book of the Dead]
    หลังจากนั้น เมื่อคุณได้ยินได้ฟังสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากที่คัมภีร์พูด
    คุณก็ปฏิเสธมัน
    เพราะมันไม่ตรงกับที่คุณคิดว่ารู้ ทั้งๆที่มันอาจจะเป็นความจริงก็ได้
    แต่คุณไม่อาจจะยอมรับ คุณปิดประตู
    คุณรุ้สึกโกรธ เมื่อ มีคนพุดว่า พระพุทธองค์เป็นขอทาน
    คุณรุ้ว่าพระองค์เป็นผู้ประเสริฐ เป็นศาสดาผู้บรรลุ เป็นภาพลักษณ์อันสูงส่ง
    แล้วจะมาเปรียบกับขอทานที่ต่ำต้อยได้อย่างไร?
    แต่คุณเคยคิดไหมว่าแล้วพุทธองค์กับขอทานนั้นต่างกันจริงๆหรือ ลึกๆลงไปแล้วทั้งสองต่างกันจริงหรือ?
    ทั้งๆที่บางทีทั้งสองก็ล้วนแต่ยังชัพด้วยวิธีเดียวกันนั้นคือ การดำรงชีพอยู่ด้วยของที่รับบริจาคมา

    อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาดูดีๆ เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ดูเหมือนต่างกันก็มีเพียงสิ่งเดียวก็คือ
    ในขณะที่คนหนึ่งมีดวงตาที่กระจ่างชัดแล้ว ว่าตนนั้นเองคือพุทธะ ดั้งที่เคยเป็น
    แต่อีกคนยังมืดบอดมองไม่เห็นถถึงสิ่งนี้ก็เท่านั้น
    คุณเคยถามตัวเองหรือไม่ว่า พุทธองค์ต่างจากคนวิกลจริตตรงไหน?
    หรือบางทีทั้งสองอาจจะเป็นขั่วตรงข้ามที่อยู่ลึกๆๆลง
    ไปในธาตุแท้ของมนุษย์ทุกคนก็ได้
    เพียงแต่คนหนึ่งจะเข้าใกล้ใครมากกว่ากัน
    คนที่จิตเต็มเปลี่ยนไปด้วยตัญหาเขาก็หาได้ต่างจากคนวิกลจริตไม่
    แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไร? ว่าวันหนึ่ง เมื่อเขาตื่น
    เมื่อเข้าสลัดหลุดจากตัญหา และ แปรเปลี่ยนมันให้เป็นปัญญา เขาจะไม่เข้าใกล้ หรือ กลายเป็นพุทธองค์ไป
    และความเข้าใจเยี่ยงนี้นี่เองที่เป็นแก่นหลักของมหายาน นั้นคือ
    การยืนยันถึงการดำรงอยู่ของสิ่งที่เรียกว่าพุทธภาวะในตัวของคนทุกคน
    มนุษย์ทุกคนสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้แม้แต่ในขณะนี้
    เนื่องด้วยเหตุว่าเมื่อคุณสัมผัสปัจจุบันกาล
    คุณเองก็ได้สัมผัสอนาคตกาล และ อดีตกาล ไปพร้อมๆๆกันด้วย
    หาได้มีเส้นแบ่งระหว่างอนาคตพุทธ อดีตพุทธะ หรือ ปัจจุบันพุทธะ ไม่
    แลนี่แลคือแก่นแท้ของคำสอนในสูตรที่มีชื่อว่า สัทธรรมปุณฑริกสูตร
    [​IMG]
    กล่าวก็คือ พระศากยมุนี หรือ คุรุปัทมสมภพ หรืออริยะบุคคลท่านใดก็ตามที
    นั้นคือตัวแทนของมนุษย์ธรรมดาๆคนหนึ่งที่อาจจะปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นจากการ
    ตระหนักถึง ความทุกข์ และ ความสับสนในชีวิต ได้นั้นเอง

    ในคัมภีร์เอ้อเฉิงเฉวียนซู มีคำจารึกว่า

    "แท้จริงแล้วธรรมะนั้นก็คือจิตวิญญาณ ถ้าแม้เที่ยวค้นหาจิตวิญญาณภายนอกธรรมะ
    หรือค้นหาธรรมะภายนอกจิตวิญญาณ คนผู้นั้นก็มิอาจจะเรียกตัวเองได้ว่าอริยปราชญ์ที่เรียนรู้คุณธรรมแห่งฟ้าได้ไม่
    แท้จริงแล้วจิตวิญญาณนั้นเป็นธาตุแท้อันดีงามจากธรรมะ
    ผู้เข้าถึงธาตุแท้แห่งจิตวิญญาณตน คนผู้นั้นก็ได้เชื่อว่า เข้าถึงธรรมะ เมื่อเข้าถึงธรรมะ ก็เข้าถึงธาตุแท้แห่งดีงามภายในตน"

    คำกล่าวนี้ช่างสอดคล้องกับคำกล่าวของพระพุทธองค์เมื่อครั้งตรัสรู้เสียนี่กระไร? พระองค์ตรัสว่า
    "บัดนี้ตถาคตรู้แจ้งแล้วว่า ทุกสรรพชีวิตคือพุทธะ ดั่งที่มันเป็น และเพราะสรรพชีวิตทั้งหลายนั้นหาได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ไม จึ่งต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ ภพแล้วภพเล่า"



    พระเยซูกล่าวว่า "จงอย่าตัดสินผู้อื่นแล้วผู้อื่นจะไม่ตัดสินท่าน จงอย่ากล่าหาแล้วท่านจะไม่ถูกกล่่าวหา"
    ถ้อยแถลงนี้ดูเพียงคร่าวๆแล้วหาได้มีอะไรข้องอยู่กับพุทธธรรมไม่
    แต่ทว่าสิ่งนี้คือ สิ่งเดียวกับ ทางสายกลาง อย่างไม่ผิดจากกัน อนที่จริงทั้งพระศายกมุนีพุทธเจ้า
    และพระเยซูทั้งสองล้วนพูดถึงถ้อยแถลงแห่งความจริงเดียวกัน หยั่งลึกลงไปในแม่น้ำ หรือ มหาสมุทร ลิ้มรสสัจจะจากสายธาราสายเดียวกัน


    จิตที่แบ่งแยก ตัดสิน ตีความนี้แหละ ที่ทำให้คุณดิ่งไปยังขั่วใดขั่วหนึ่ง
    อย่างขั้วของความสุข และ ขั้วของความทุกข์
    มิได้ดำรงอยู่ตรงกลาง และแล้วมันก็สร้างปัญหา และ ความทุกข์ขึ้น นี่แลคือแก่นแท้ของศาสนาทุกศาสนา
    ไม่ใช่แต่เพียงศาสนาพุทธ ในภัควัทคีตา ศรีกฤษณะ กล่าวแก่นักรบอรชุนว่า

    "อรชุน! จงมีปัญญาเป็นที่พึ่งเถิด บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาย่อมมองเห็นว่า
    ทั้งความดีและเลวล้วนแต่เป็นสิ่งที่พึงสละทิ้งทั้งสิ้น
    ความยึดติดที่ผิดๆ ในตัวตนก็ขอให้ท่านละเสีย
    จงวางใจให้เป็นกลางทั้งในความสำเร็จและล้มเหลวของชีวิต
    ไม่หวั่นไหวในคราวประสบทุกข์และไม่กระหายอยากในการแสวงหาสุขอันจอมปลอมใส่ตน
    คนเช่นนี้เป็นผู้ข้ามพ้นจากความดิ้นรนทะยานอยาก จิตใจเยือกเย็นมั่นคง ถ้าทำได้ดังที่ว่ามา ย่อมได้ชื่อว่า ปฏิบัติครบถ้วนสมบูรณ์ อรชุน! บุคคลผู้ละความทะยานอยากทั้งมวลในจิตใจได้ บุคคลที่มีลักษณะนี้ท่านเรียกว่าผู้มีปัญญา "

    เมื่อใดที่คุณตัดสิน แบ่งแยกคุณก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัญหาของคุณ
    คุณหลงไปยึดมั่นถือมั้น ในสายของปฏิจจสมุปบาท คุณจะเห็นได้ชัดว่าเมื่อใดก็ตามที่มีตัญหา
    เมื่อนั้นก็มีความทุกข์ระทมเกิดขึ้นตามมาเหล่านี้หาได้แยกขาดจากกันไม่
    ในภควัทคีตา ศรีกฤษณะ ตรัสแก่นักรบอรชุนว่า

    "อรชุน สิ่งที่กระตุ้นให้คนกระทำความชั่วคือความกระหายอยากอันจะแปรเป็นความเคียดแค้นเมื่อไม่ได้สมอยากในทันที สิ่งนี้นี่เองที่เป็นศัตรูของความดี ดังควันบดบังความโชติช่วงของเปลวไฟ ฉันใด ความกระหายอยากหุ้มห่อจิตใจให้เศร้าหมองมืดมัวฉันนั้น
    เหตุที่คนเราไม่อาจประจักษ์แจ้งซึ่งสัจจะก็เพราะอำนาจการครอบงำของกิเลส กิเลสทำให้คนไม่รู้จักอิ่มพอ เหมือนไฟไม่เคยอิ่มเชื้อ อันความรู้สึก, จิตใจ และความรู้ เป็นทางเล็ดลอดเข้ามาของกิเลสหากว่าเราไม่รู้เท่าทันมัน เมื่อกิเลสอันได้แก่ความทะยานอยากอันไม่รู้จักจบสิ้นเข้าครอบงำการรู้แจ้ง คนเราย่อมจะหลงทางเป็นของธรรมดา"

    อย่างไม่ต้องสงสัย เมื่ดใดที่คุณมีความยึดมั้นถือมั้น เมื่อนั้น
    สิ่งนี้สร้างความขัดแย้งขึ้นมาระหว่าง สิ่งที่เป็นจริง และ สิ่งที่อยากให้เป็น เป็นช่องว่าง
    และในช่องว่างนั้นก็มีความขัดแย้ง และนี่เองคือเหตุผลว่าทำไม
    ข้าพเจ้าจึ่งนำเอาคำสอนของภควัทคีตา เข้ามาให้ท่านอ่านแทนที่จะหยิบยกพุทธวัจนะในตอนนี้
    ทั้งหมดก็เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั้นของคุณ
    เพื่อชี้ให้เห็นว่าสัจธรรมเป็นของสากล มันไม่ได้ถูกผูกขาดด้วยระบบความเชื่อ ลัทธิใด
    ดังที่ในวัชรยานมีญาณทัศนะซัมบาลา ซึ่งบ่งชี้ถึงปัญญาณแห่งวิธีนักรบที่ดำรงอยู่ในทุกวัฒนธรรม
    และเป็นสากล

    คุณไม่เห็นหรือว่าคำกล่าวของศรีกฤษณะคล้องจองกับพุทธองค์เพียงใด?
    ไม่สิสิ่งนี้สอดคล้องกับสิ่งที่ศาสดาทั้งหลายบ่งชี้ถึง
    เสียด้วยซ้ำ หากคุณเข้าใจถึงสิ่งนี้และหลุดพ้นจากทิฏฐิที่ว่าศาสนา ที่คุณได้รับสืบทอดมาทางวัฒนธรรม
    ความเชื่อของสังคม ลัทธิของคุณคือหนทางเดียวที่แท้จริง
    เมื่อนั้นคุณก็ได้พบปัญญาญาณแห่งกาลจักรตันตระ

    อันที่จริงในสกลจักรวาลนี้ หาได้มีทวิลักษณ์อยู่ไม่ เมื่อมีดีจึ่งมีเลว มีดำจึ่งมีขาว มีอัตตาจึ่งมีอนัตตา
    มีคุณจึ่งมีผู้อื่น
    เหล่านี้หาได้แบ่งแยกออกจากกันไม่
    ในเต๋า เต็ก เก็ง ท่านเหล่าจื่อกล่าวว่า

    "เมื่อใต้ฟ้ารู้ว่างามคืองาม เมื่อนั้นความอัปลักษณ์ก็บังเกิด
    รุ้ว่าดีคือดี นั้นแลความไม่ดีเริ่มมี
    มีกับไม่มี ย่อมสัมพัทธ์กันแต่เกิด ดั่งยากกับง่ายต้องเปรียบคุ่ ยาวแลสั้งต้องเปรียบเทีบย
    สุงแลต่ำเกิดจากการเทียบเคียง หน้ากับหลังเทียบกันจึ่งเป็นลำดับ"

    อันที่จริงคุณไม่อาจจะเข้าใจดำได้หากไม่รู้จักขาว ขาวกับดำนั้นเอง
    คือสิ่งเดียวกัน ดั่งคนตาบอดแต่กำเนิดย่อมไม่มีวันรู้จักแสงสว่าง
    คุณก็คือข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็คือคุณหามีเส้นแบ่งตรงนี้ไม่

    ญะลาลุดิน รูมี่ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งซูฟีร์ได้กล่าวว่า


    "หากว่าตะเกียงสิบใบถูกจุดขึ้นในห้องเดียวกัน
    แม้ตะเกียงแต่ละใบจะแตกต่างกันที่รูปร่าง
    แต่กระนั้น เราก็ไม่สามารถจำแนกแสงสว่าง
    ว่าแสงไหนโชนฉายมาจากตะเกียงดวงไหน

    ในดินแดนของจิตวิญญาณนั้น
    ไม่มีทั้งการแบ่งแยก อีกทั้งก็ไม่มีการดำรงอยู่ของปัจเจกด้วย
    ความงดงามของมิตรหนึ่ง ย่อมคือความงดงามของมิตรทั้งผอง

    การประคับประคองจิตวิญญาณช่วยสลายตัวตนอันดื้อรั้น
    เราสามารถค้นหาความเป็นหนึ่งเดียวที่ซ่อนอยู่ภายใน
    เหมือนเช่นกำลังขุดหาสมบัติล้ำค่าที่ถูกฝังอยู่ข้างในตัวเราทุกคน"



    คุณเห็นอะไรไหม? ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าทวิลักษณ์ ทางสายกลาง หรือ สุญญตามีขึ้นเพื่อช่วยให้คุณไปพ้นจากสิ่งนี้
    ลองดูความรักสิ คุณไม่อาจจะรักได้ถ้าตัวคุณยังคงอยู่ที่นั้น อัตตาตัวตนอยู่ไม่ได้ในหนทางแห่งรัก
    ด้วยเหตุนี้ธรรมวจนะเก่าแก่ของจีนจึงมีคำว่า

    "ภายในมหาสมุทรใหญ่ทั้งสี่ทั่วโลกล้วนเป็นพี่น้องกัน
    ใต้หล้าฟ้านี้คือ ครอบครัวเดียวกัน ทุกคนเหมือนกันตัวตนเดียวกันนั่นคือมหากรุณา ด้วยเหตุนี้พระพุทธะ
    พระโพธิสัตว์ พระอริยเจ้าทุกพระองค์ จึงได้ทรงพากเพียรตักเตือนทุกชีวิต
    ซึ่งล้วนกำเนิดจากธรรมอุทรเดียวกันให้อุ้มชูกัน มิให้เบียดเบียน หรือทำลายล้างกัน"

    ในไบเบิลก็ทรงตรัสไว้ว่า

    "พระเป็นเจ้าก็คือความรัก พระเจ้าทรงรักชาวโลก
    เพราะชาวโลกทั้งมวลคือ พระบุตรของพระองค์
    คุณคงเคยได้ยินว่าพระบุตรนี้ก็คือพระเจ้า"

    คุณเห็นไหมนี่แหละหลักอนัตตาล่ะ คุณจะรักได้อย่างไร
    ถ้าตัวตนของคุณยังอยู่ที่นั้น
    ถ้าความเห็นแก่ตนยังอยู่ที่นั้น คุณจะบ่มเพาะมหากรุณาได้อย่างไร?

    นักคิดที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ศาสนาพุทธคือท่าน ศานติเทวะกล่าวว่า

    "จำเป็นต้องพูดอะไรอีกเล่า เด็กๆล้วนทำเพื่อตนเอง พระพุทธองค์ทำเพื่อผู้อื่น เหล่านี้คือความแตกต่างของทั้งสองหาข้าพเจ้าไม่สละความสุขของตนเองเพื่อปลดความทุกข์ของผู้อื่น
    ข้าพเจ้าก็ไม่อาจจะสามารถบรรลุพุทธภาวะ และ ไม่อาจจะพบกับปิติที่แท้จริงได้
    หากการเบียดเบียนทั้งลาย ความกลัวและความทุกข์ล้วนมีรากฐานมาจากการยึดติดตัวตน
    แล้วข้าพเจ้าจะต้องการสิ่งใดอีกเล่าเพื่อวิญญาณอันชั่วร้ายนี้"

    ตันตระนั้นเป็นอุบายเพื่อให้คุณได้เห็นถึงสิ่งนี้
    เพื่อที่ว่า คุณจะได้กลับมาบริสุทธฺ์ไร้เดียงสาได้อีกครั้ง
    และ จิตเช่นนี้คือจิตที่เต็มเปลี่ยมไปด้วยปัญญาปัญญา

    ชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ได้ให้อรรถาธิบายถึงภาวะจิตเช่นนี้
    ภาวะนี้ที่ในทิเบตเรียกว่า
    ปรีชาญาณบ้า
    และ ปรีชาญาณบ้าก็คือ

    "คือสภาวะอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของดวงจิต
    ซึ่งกอรปไปด้วยคุณลักษณ์ของยามเช้า สดชื่น เจิดจรัส และตื่นรู้อย่างหมดจด"<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  3. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    บัดนี้..... เมื่อพูดถึง ตันตระ มีข้อเท็จจริงหนึ่งที่คุณพึ่งทราบ
    นั้นก็คือ สิ่งที่ยากที่สุดในโลกนี้ก็คือการเผชิญหน้ากับความจริง
    สิ่งนี้ยากเสียยิ่งกว่าการรู้เท่าทัน ความคิดปรุงแต่ง หรือ กลลวงของอัตตา
    ด้วยเหตุที่ว่า เราไม่รู้วิธีที่จะรับมือกับมัน เมื่อสัจธรรมส่งสารตัดผ่าน
    เช่น เมื่อชีวิตนั้นได้เริ่มขึ้นความตายก็อุบัติขึ้นมาด้วย
    แต่มันยากนะ เมื่อเราคิดว่าต้องทำอย่างไรดี เพื่อรับมือกับความตาย
    เราพยายามจะไม่คิดถึง อำพราง เราพูดว่า
    ภาพคนตายนั้นอุจาดตา เมื่อเกิดอุบัติเหตุเราพยายามที่ขนย้ายศพไปไกลๆ ให้เราที่สุดเอาหนังสือพิมพ์มาปิดไว้
    แต่งศพด้วยดอกไม้ ฉีดยา ดองด้วยฟอร์มาลีน
    จัดแต่งหลุมศพด้วยหินสวยๆ เรานำเอาศพไปเก็บไว้ไกลๆ
    ในที่ที่ถ้าไม่จำเป็นเราจะไม่ไปเหยียบอย่างสุสาน
    สิ่งนี้ไม่ต่างจากการ กวาดเอาขยะ ไปซุกใต้พรมซึ่งขยะยังอยู่ที่นั้น จงเผชิญหน้ากับความจริงเพื่อหยั้งเห็นมัน
    เพื่อแปรเปลี่ยนมัน สังสาระกับนิพพานคือสิ่งเดียวกันนี้คือสารของวัชรยาน ไม่สิคำสอนนี้ก็สืบทอดมาจากพุทธองค์นั้นแล
    และนี่คือความจริง

    ญะลาลุดิน รูมี่กล่าวว่า
    "ความมืด คือแสงเทียน..
    อุปมาเหมือนการหลับตานอก ตาในกลับเห็นได้ชัด

    หรืออาจตีความขยายท่อนบนคือ ใช้ความมืด ความทุกข์ ความไม่รู้ ความไม่พึงพอใจทั้งหลาย
    เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่ความเข้าใจและภูมิแห่งแสงสว่าง
    ดั่งประทีปเด่นสว่างได้ ก็เพราะมีความมืด"



    ในภควัทคีตา ศรีกฤษณะ ตรัสกับอรชุนว่า

    "โอ้อรชุน..เมื่อเราเกิดก็เป็นธรรมดาที่เรานั้นต้องตาย
    ตายแล้วก็ต้องเกิด นี่คือสภาพอันแน่นอน
    ไม่มีใครหลีกเลี่ยงการเกิดและการตายได้ ก็เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ไฉนท่านจึงมัวหดหู่กับมันอยู่เล่า
    ชีวิตคนเรานั้น ก่อนก่อเกิดเราก็ไม่ทราบว่ามันมาอย่างไร
    ครั้นหลังจากตายไปแล้วเราก็ไม่อาจคาดรู้ว่ามันจะไปอย่างไร มีเพียงปัจจุบันของชีวิตเท่านั้นที่เราพอจะรู้และเห็นตามมันได้เมื่อเป็นเช่นนี้ จงอย่าได้มันแต่กังวลกับชีวิตเลย"


    เมื่อมีภาพเปลือย เผยแพร่ในเว็ปพระพุทธศาสนาเรารู้สึก เจ็บใจ(หรือชอบก็แล้วแต่)เราพูดว่ามันไม่เหมาะสม
    ไม่มีศีลธรรม แต่คงจะหลงลืมข้อเท็จจริงไปกระมั้งว่า เราเองก็มาตัวเปล่าเปลือย
    นอกจากนี้บางทีเราอาจจะ ดัดจริตไปงั้น ทั้งๆที่ในใจเรารู้สึกชอบอย่างบอกไม่ถูก
    เรารับไม่ได้เมื่อคนรักไปเที่ยวโสเภณี มันเหมือนการตอกหน้าเข้าอย่างจัง ฉันสู้ กระหี่ไม่ได้หรือไร?
    เหล่านี้ก็เป็น เช่นเดียวกับการเผชิญหน้าความจริงในแต่ล่ะวันของเรา
    สัจธรรมนั้นส่งสารมาสู่เราเสมอๆ และ มักจะมาในรูปของอุบัติเหตุ
    เราไม่คาดฝัน แต่อยู่ๆมันก็ผลุดขึ้น
    แต่เราไม่มีดวงตา หู มือ ที่พร้อมพอจะรับรู้ ดังนั้นเราจึง งง เมื่อพบเจอมัน
    เราวิ่งวุ่นพยายามไม่คิดถึง หรือทุกข์ร้อนร่ำร้องว่า เราควรจะทำเช่นไรดี ควรยอมรับ หรือต่อต้าน
    ดังชายวัยทองที่ พบว่าตัวเองเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพ
    และ รับมือผ่าน การไม่คิดถึง หรือ ไม่ก็วิ่งวุ่นหาหมอ
    ทั้งๆที่ความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องทำอะไรกับมันเลย
    เราต้องตาย เพียงแต่ตระหนักรู้ว่า ใช่
    และปล่อยให้ความเป็นจริงได้ดำเนินไปอย่างที่มันเป็น
    ด้วยเหตุนี้ ชาวธิเบตจึ่งมันเจริญมรณานุสติ
    และพูดถึงคุณลักษณะหนึ่งของคุรุปัทมสมภพที่เรียกว่าวัชรธร
    ค่อนข้างมาก
    วัชรธรคืออะไร มันคือภาพลักษณ์อันเป็นตัวแทนแต่ไม่ตายตัวขององค์ปัทมสมภพ
    เมื่อท่านมีชัยชนะเหนือความตาย ตำนานเล่าขานว่า
    เมื่อท่านถูกเนรเทศออกไป ท่านได้รอนแรมไปจนกระทั้ง
    พบกับป่าช้าแห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยฝูงแร้ง หมาไน ซากศพ และ ภูติผี
    แต่องค์ยุพราช หาได้หวั้นเกรงกับมันไม่ ตรงกันข้ามพระองค์ใช้มันเป็นที่พัก
    และออกสำรวจตรวจค้น ชีวิตและความตายอย่างที่มันเป็น

    หาไม่เข้าใจในสิ่งนี้ เราก็หนีไม่พ้นที่จะต้องพบกับความยุ่งยาก
    ความขัดแย้ง อันเกิดจากการกระทำของตัวเอง
    เราร่ำร้องที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เราพูดว่าทุนนิยมนี้ชั่วร้าย
    สัมคมไม่มีความชอบธรรม นักการเมืองทุจริต ระบบเศรษฐกิจแย่ วิกฤติสิ่งแวดล้อม
    เราพยายามที่จะล้มเลิกสิ่งหนึ่ง และ เอาสิ่งใหม่เข้าไปแทน
    แต่เบื้องหน้านี้ ชีวิตได้พิสูตรแล้ว ว่ามันไม่มีความหมาย
    การปฏิวัติต่างๆที่ภายนอกล้วนล้มเหลว
    พอๆกับที่เราพยายามจัดการชีวิต ด้วยการสร้างระเบียบและรูปแบบที่ไม่ใช่สิ่งที่เราเป็น
    ยิ่งแก้ปมเชือก เรากับพบว่าปมกลับมิได้คลายออก มันยิ่งพันกันยุ่ง
    ทั้งนี้เพราะเรามิได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงง่ายๆ ว่าโดยไม่ต้องทำอะไร สรรพสิ่งนั้นล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว
    ดังนั้น เหตุใดเราเราจึ่งต้องกังวล
    สรรพสิ่งที่อยู่ภายนอกนั้นเปลี่ยนแปลง
    แต่กระนั้นก็มีสิ่งหนึ่ง ที่หาได้เปลี่ยนแปลงไม่ นั้นคือจิตสำนึกของเรา
    เราเป็นอย่างที่เราเป็นมานาน มนุษย์ที่ชีวิตประกอบไปด้วยความทุกข์ร้อน
    ความเกลียดชัง ความรัก ความสุขที่ผ่านมาเหมือนสายลมพัด โพธิปัญญา
    และ หากเรายังคงไม่ตระหนักถึงความจริงนี้ และ เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวตน ในระดับจิตสำนึก อนาคตของเราก็มีแต่เพียงความพินาศ
    และ นี่คือ จุดมุ่งหมายของอุบายวิธี ทั้งหลายที่สืบทอดกันมา
    ในแก่นคำสอนของ ตันตระ และเรากำลังจะพูดถึงมัน สิ่งที่เรากำลังจะพุดถึงก็คือการฝึกจิต ในวัชรยาน เรียกสิ่งนี้ว่า โลจอง
    ขอท่านทั้งหลายจงสดับฟังเถิด<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2012
  4. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ที่นี้เราจะพูดกันต่อ ถึงสิ่งสำคัญ อีกอย่างหนึ่งนั้นก็คือ
    จิตแห่งศาสนา อันใดคือจิตแห่งศาสนา
    จิตแห่งศาสนานี้มิได้ต่างอันใดไปจาก
    ปรีชาญาณบ้า มันคือจิตที่ไร้เดียงสาเหมือนดังเด็กเล็กๆ
    ในไบเบิล พระเยซูกล่าวว่า มีแต่เพียงคนที่เป็นเหมือนเด็กเล็กๆ ท่านั้นจึ่งจะเข้าไปในแผ่นดินของพระเปนจ้าได้"

    [​IMG]
    ว่ากันว่า คุรุปัทมสมภพนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาจากดอกบัว
    สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า นี่เป็นเรื่องจริงหรือไม่ สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ว่า
    สิ่งนี้ หมายถึงอะไร?
    ในศาสนาคริสต์ นั้น ว่ากันว่าพระเยซู นั้นเกิดขึ้นจากพระวิญญาณบริสุทธิ์
    ราวกับว่ามีความคล้ายคลึงกันระหว่างทั้งสอง
    นั้นคือ ปัทมสมภพ และ พระเยซู
    อย่างไรก็ตาม คุณรู้หรือไม่ว่า คุณเองก็ถือกำเนิดด้วยวิธีนี้เช่นเดียวกัน
    คุณถือกำเนิดขึ้นมาจาก พระวิญญาณบริสุทธิ์ และ ดอกบัว
    ทั้งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และ ดอกบัวล้วนสื่อถึงภาพลักษณ์ของ ความบริสุทธิ์
    ของจิตที่แท้ จิตที่ว่างจากการ ตัดสินหรือ ตีความสิ่งใดๆ
    เมื่อยังเด็กคุณเป็นเช่นนี้ คุณพร้อมสำหรับการเรียนรู้ และความสงสัย
    คุณถามว่าทำไม ปลาถึงว่ายน้ำ ทำไมนกจึงโบยบิน ทำไมดวงดาราถึงทอแสง
    แม้เพียงสิ่งเล็กอย่างใบหญ้า เปลือกหอย
    ก็ทำให้คุณพิศวง ประทับใจ
    แต่ทุกวันนี้สิ่งนี้มิอาจจะ จะเกิดขึ้นอีก
    เพราะ เราได้สูญเสียความสามารถที่จะสัมผัสมันไปเสียแล้ว

    การดำรงไว้ซึ่งจิตที่เป็นเพียงผู้รับ และ พร้อมสำหรับการเรียนรู้
    สิ่งนี้คือ ความเคารพ ที่แท้ สิ่งนี้คือสติปัญญา เพราะเมื่อคุณเปิดรับคุณก็พร้อมสำหรับ
    การเรียนรู้ที่จะมองสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้ง
    และ อย่างที่มันเป็น โดยไม่เอาความคิดเข้ามาสวมใส่มัน
    มีคำกล่าวว่า สาเหตุที่แท้ที่ความศักดิ์สิทธิ์ได้จางหายไป
    จากสังคมพุทธเถรวาท ก็เพราะเหตุที่ว่าความเคารพอย่างแท้จริง
    ได้จางคลายไปจากจิตของชาวพุทธเถรวาท
    ความคิดเชิงตรรกะ ได้ก่อให้เกิดข้อสงสัย สับสนต่างๆนานา
    และแล้วความคิดสงสัยต่างๆนานาเหล่านั้น
    ทำให้สูญเสียความเคารพอย่างแท้จริงไป
    และแล้ว...สิ่งนี้ก็ได้ก่อให้เกิดกำแพงแห่งความคิดตัดสินถูก ผิดเชิงเหตุผล (Rationality)
    ที่ถูกปลูกสร้างให้ปรากฏเป็นความยึดมั่นเชิงหลักการต่างๆภายในใจของคุณขึ้น
    ทั้งๆที่ เมื่อใดที่ใครสามารถข้ามพ้นกำแพงแห่งความคิดเชิงเหตุผล
    เมื่อนั้นเขาจะได้สัมผัสกับสายธารธรรมอันฉ่ำเย็น
    ซึ่งไหลมาอย่างไม่ขาดสายของสัจธรรม และนี่แหละ คือหัวใจของการภาวนา
    เมื่อคุณรับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ นั้นหมายความว่าคุณวางลงซึ่ง
    ตัวตนของคุณแล้วและพร้อมที่จะรับคำสอนจากครูของคุณ น่คือความหมายที่แท้มิใช่อย่างที่เป็นแบบแผนเช่นทุกวันนี้
    ที่นี้เมื่อมองมาที่ วิกฤติการณ์ สิ่งแวดล้อม
    ทุกวันนี้เกิดขึ้นมาได้ เพราะ มนุษย์หาได้เคารพธรรมชาติดังเช่น กาลก่อนไม่
    ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมความสงสัย ตรรกะ ความมั่นใจเกินจริง
    และ การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
    ได้ทำให้เรามองว่า การบูชาธรรมชาติ เป็นเรื่องโง่ๆ
    ดังนั้นเราจึ่งถลุงใช้มันโดย ปราศจากความย้ำเกรง
    เราสร้างความขัดแย้งขึ้นกับโลก ผู้เป็นมารดาของเรา
    และ แล้วตอนนี้เราก็กำลังหวั่นเกรงว่าโลกจะเอาคือ
    สายสัมพันธ์ได้ถูกตัดขาด และ แล้ว ในไม่ช้าเราก็จะถูกทำลาย
    ในพุทธวัชรยาน มักมีทำเนียมที่ศิษย์ ต้องศิโรราบต่อครูอย่างแท้จริง
    ก่อนที่จะมีการอภิเษก
    สิ่งนี้มิได้หมายความว่า ศิษย์ต้องเชื่อฟังครู ทำตัวดั่งทาส
    แต่มีความหมายว่า ศิษย์พร้อมแล้วสำหรับ การน้อมใจไปเรียนรู้สิ่ง ต่างๆด้วย
    ความนุ่มนวลอ่อนโยน โดยปราศจากความขัดขืนอันหยาบกระด้างภายในจิต
    เมื่อใดที่เรามีจิตใจนุ่มนวลอ่อนโยน
    น้อมใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เข้ามาสู่การรับรู้ของจิต
    เพราะ ครูนั้นมิอาจจะสองอะไรกับคุณได้นอกจากว่าสิ่งนั้นจะได้นอนเนื่องอยู่ใน
    ตัวคุณแล้วเท่านั้น
    ครูที่แท้จริงจะช่วยให้คุณหยั้งถึงความลับในดวงใจของคุณเอง
    โดยที่ท่านจะไม่พาคุณล่วงเข้าเข้าสู่เคหะแห่งปัญญาของท่าน
    ด้วยเหตุที่ว่าท่านนั้นรักคุณ และ ไม่อยากที่จะครอบงำคุณ
    ที่นี้หากว่าคุณพร้อมที่จะเปิดรับ ก็แน่แท้ทีเดียวว่า
    เมื่อนั้นคุณก็จะได้พบครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่จะนำพาคุณไปสู่ความรู้แจ้ง ครูที่แท้นั้นอยู่รอบตัวคุณนี่เอง
    หากเกิดทัศนะเช่นนี้ขึ้น ในไม่ช้า คุณก็จะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดท่านทีโลปะจึ่งกล่าวกับท่านมหาสิทธานาโรปะว่า

    "ตั้งแต่วินาทีที่เจ้าตัดสินใจออกเดินทางตามหาคุรุ ข้าได้อยู่เคียงข้างเจ้าตลอดเวลา
    เป็นเพียงเพราะกิเลสตัณหาพรางตาไม่ให้เจ้าเข้าใจความจริงข้อนี้
    แต่กระนั้นเจ้าก็ดูจะเป็นภาชนะที่คู่ควรต่อสายธารธรรม
    ข้าเชื่อว่าเจ้าจะสามารถรับการถ่ายทอดคำสอนสูงสุดได้ ดังนั้นข้าจึงยินยอมที่จะรับเจ้าเป็นศิษย์"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2012
  5. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ก่อนที่เราจะพูดถึง อุบายวิธีของการฝึกจิต หรือ โลจอง
    โดยในที่นี้ผมจะใช้ คัมภีร์ดั้งเดิม ที่ชื่อว่าคัมภีร์บาทฐานทั้งเจ็ดแห่งการฝึกจิต
    (The Root Text of the Seven Points of Training)
    อันสืบต่อมากันในนิกาย คาดัมปะ แห่งทิเบต
    อย่างไรก็ตาม ผมใคร่จะบรรยายในเชิงประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทย
    ด้วยเหตุที่ว่า สังคมนี้ก็มีความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณ
    มิได้ต่างไปจากทิเบต เหตุใดเล่าเราจึ่งไม่สร้างสรรค์หนทางของเราเอง
    วัชรยานในรูปแบบของเราเอง
    คุณไม่อาจจะทำอาหาร ฝรั่งเศส โดยกล่าวว่า อาหารที่คุณทำคือ ต้นตำรับ(ในฐานะที่คุรไม่ใช่คนฝรั่งเศสนะ)
    แต่คุณทำอาหารฝรั่งเศส ประยุกต์ได้นี่

    ที่นี้ในคราวที่แล้ว เราได้พูดถึงว่า
    สรรพสิ่งนั้นล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว
    โดยมิต้องทำสิ่งใด เราจะเห็นได้ว่าทัศนะนี้ปรากฏอยู่ใน แก่นคำสอนของลัทธิเต๋า
    เซน ซูฟส์ และ อื่นๆ
    เฉกเช่น เดี่ยวกับที่ปรากฏอยู่ในแก่นคำสอนของ ตันตระ
    เมื่อความวิปลาสสับสนบังเกิดขึ้น และ สิ้นสุดลง เพียงแต่ตระหนักรู้เท่านั้น
    และแล้วความวิปลาสสับสนนั้นก็จะแก้ไขตัวมันเอง
    เมื่อปรากฏการณ์ดำเนินไป ในที่สุดหากมันมิใช่ความจริงแท้
    มันจะเผยคลวามเขลา ของมันออกมา
    ประดุจดังนักต้มตุ๋นที่ต้องเผยโฉมหน้าที่แท้ออกมาในที่สุด
    ดังเช่น คำสอนที่จอมปลอมทั้งหลาย
    โดยมิต้องทำสิ่งใดในที่สุดมันก็จะต้องสลายหายไปในมิติของประวัติศาสตร์
    ดั่งปราสาททราย
    ในขณะที่คุณมีชีวิตประจำวัน เมื่อมีคนเข้าใจคุณผิด
    คุณพยายามที่จะโต้แย้งด้วยบอกว่า ฉันไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิด
    คุณกรีดร้อง ขู่ตระคอก ขุ่นเคือง
    แต่ทว่ามันก็หาได้ดีขึ้นไม่ เขายังคงเข้าใจผิดเขายังคงมองคุณในแง่ลบไม่ต่างจากเดิม
    หรือมากขึ้น
    คุณจะเห็นถึงความไม่เข้าท่าของสิ่งที่ได้ทำไป
    ในชีวิตประจำวัน ในการเผชิญหน้ากับความจริง
    หรือ โลกแห่งปรากฏการณ์ที่อุบัติขึ้นก็เป็นเช่นนี้
    คุณไม่อาจจะทำความเข้าใจมันโดยฝ่านความคิด ถ้อยคำ ทฤษฏี หรือ คำสอนใด?
    เนื่องด้วยสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนคับแคบ
    ในขณะที่สรรพสิ่งนั้นไพศาล
    แล้วคุณจะเอาสิ่งที่ไพศาลไปใส่ในสิ่งที่เล็กจิ๋วเช่นนั้นได้อย่างไร?
    คุณจะเอาน้ำในมหาสมุทรไปใส่ไว้ทั้งหมดในแก้วใบจิ๋วได้อย่างไร?
    พึ่งรับรู้ไว้เถิดว่า จงเป็นเพียงผู้สังเกตุ และแล้ว ในที่สุดคุรจะพบว่าในที่สุดโลกแห่งปรากฏการณ์นั้น อาจจะถูกจัดการด้วยบางสิ่งที่บังเกิดขึ้นเองภายในตัวคุณได้ เมื่อตัวตนของผู้สังเกตุนั้นหายลับไป

    ท่านครูบาตวงชิ (ฮวงโป,โอบากุ) แห่งนิกายเซนกล่าวว่า
    "คนโง่มันเอาแต่หบลหนีจากปรากฏการณ์ แต่ไม่หนีจากความคิดปรุงแต่ แต่คนฉลาดย่อมหลบหนีจากความคิดปรุงแต่ง แต่มิหลบหนีจากปรากฏการณ์"
    ด้วยเหตุผลของตัวมันเอง
    ด้วยเหตุนี้ธรรมจึ่งไม่ใช่สิ่งที่เอ่ยเอื้อนออกมาได้
    ทั้งไม่มีคุรุใดที่บอกมัน หรือ สำแดงมันต่อคุณได้ หน้าที่เดี่ยวของคุรุคือ
    ช่วยให้คุณมองเห็นมันด้วยตัวคุณเอง
    ชี้บอกให้คุณเห็น ความสับสน วิปลาส ที่เกิดขึ้น
    และหน้าที่เดียวของคุณก็คือ
    การเปิดรับการมาของมัน ศิโรราบ อ่อนน้อม เพื่อพร้มสำหรับ
    การมาของสัจธรรมซึ่งคุณไม่ได้สร้างขึ้น ทั้งจากการเรียนรู้
    หรือ ปฏิบัติใดๆทั้งสิ้น

    ทั้งนี้มิใช่ว่าเหล่านี้มิสำคัญ
    เพียงแต่ว่ามีเพียงการปฏิบัติ ที่มิได้เรียกว่า
    หรือ มีความคิดว่าปฏิบัตินั้นจึ่งเป็นการปฏิบัติที่แท้
    ดังถ้อยคำที่ได้กล่าวไว้ ในวัชรเฉทิกปรัชญาปรามิตตาสูตร
    ด้วยเหตุที่ว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นนั้นมิใช่สิ่งที่เป็นจริง เพราะมีนี่จึ่งมีนั้น
    ทัศนะ
    เช่นนี้ได้บ่งชี้ให้เห็นได้ชัดว่า
    หากปราศจากนั้นเล่านี่ย่อมไม่มี หากไม่มีนี่ก็ไม่มีนั้น
    หากไม่มีเชื้อก็ไม่มีไฟ ไฟมีอยู่เพราะมีเชื้อ และดับไปเพราหมดเชื้อ
    เมื่อมีขาวจึ่งมีดำ แต่หากปราศจากดำเล่า จะมีขาวได้อย่างไร?
    หากปราศจากชีวิตเล่า ความตายก็คงไม่มีความหมาย
    เฉกเช่นหากปราศจากแสงย่อมไม่มีความมืดมิด
    เหล่านี้หาได้ แยกขาดจากกันไม่ เบื้องหลัง อนิจจัง ก็คือ อัตตา
    เบื้องหลังความเป็นเช่นนั้น ก็คือ ความไม่เป็นเช่นนั้น
    เหล่านี้คือสองด้านของเหรียญเดียวกัน
    ในคุณลักษณะทั้งแปดของคุรุปทัมสมภพ มีคุณลักษณะหนึ่งที่เชื่อว่าเซงเก ดราด็อก
    อันมีความหมายว่า เสียงคำรามแห่งราชสีห์
    ตำนานกล่าวว่า เมื่อเหล่าเดียรถีย์ ถกธรรมกับพุทธบัณฑิต ในขณะที่ฝ่ายพุทธบัณฑิตกำลังพ่ายต่อหลัก ปรัชญา และ ตรรกะ
    ปทัมสมภพก็ปรากฏตัวขึ้น ในภาพลักษณ์ของเซงเก ดราด็อก
    แล้วเปล่งเสียงคำรามดั้งพญาราชสีห์
    แผ่นดินก็ยุบ และ กลืนกินเหล่าเดียรถีย์ ทั้ง 500 สิ้น
    และ มันต้องเป็นเช่นนี้ ตรรกะ และ ปรัชญามักปรากฏในรูปของฝ่ายที่ดูเหมือนจะมีชัยเสมอ
    ต่อสัจจะ เช่น เมื่ออาศัย ตรรกะ และ ปรัชญา
    การดำรงอยู่ของวิญญาณ พระเจ้า หรือ อะไรก็ตาม
    ก็หามีทางมีอยู่จริงไม่
    แต่หากปราศจากวิญญาณมนุษย์เล่า จะมิกลายเป็นเช่นวัตถุไร้จิตใจ เช่นนั้นหรือ
    ด้วยเหตุนี้ปกรณัม หรือ บทกวี จึ่งมักเข้าใกล้ความจริงมากกว่า ตรรกะ หรือ ปรัชญา
    หากยึดติดแต่เพียงตรรกะ และ ปรัชญามนุษย์ย่อมเข้าถึง
    สัจจะได้แค่ในมิติแห่งประวัติศาสตร์
    แต่มิใช่มิติแห่งความจริงอันสูงสุด
    การแสดงธรรมจึ่งมักอาศัยวิธีเล่าเรื่อง ในรูปลักษณ์แห่งตำนาน
    เฉกเช่น ชาดก นิทานเซน เรื่องเล่าของเต๋า คำอุปมาของพระเยซู
    หรือ บทกวีอย่างโศลกทางศาสนาต่างๆ
    และ ถึงแม้เราจะพูดว่า ปรัชญาและ ตรรกะดูเหมือนจะมีชัยเสมอ
    แต่ทว่าในที่สุดเราจะเห็นได้ชัดว่า สุดท้ายสัจจะจะเป็นผู้ชนะในที่สุด
    ปทัมสมภพในที่นี้หาใช่บุคคล หรือ เทพเทวาผู้ทรงฤทธิ์ไม่
    แต่เป็นเพียง ตัวแทนของสัจจะ หรือ พูดให้ถูกก็คือ สัจจะ
    ปทัมสมภพปรากฏขึ้น ดั้งราชสีห์ ด้วยเหตุว่าราชสีห์นั้นคือ สัญลักษณ์ แห่งความกล้าหาญ
    มันมิได้เกรงกลัวสิ่งใด
    ด้วยเหตุนี้มันจึ่งพร้อมที่จะกระโดดเข้าเผชิญหน้ากับสถานการณ์
    อย่างไม่หวาดหวั่น และ เปล่าเสียงคำรามแห่งความภาคภูมิแห่งวัชระ
    สัจจะซึ่งในที่สุดแล้วก็จะกวาดล้าง สิ่งจอมปลอมอันเป็นผลพวงที่อัตตาสร้างขึ้น
    เพื่อความมั่นคงของตนจนสิ้น
    .....<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2012
  6. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ขอบพระคุณเสมอครับ อาจารย์คุรุบ้า
    ได้อาจารย์ไล่กระทืบ ไอ้ทึ่มจึงเจริญเติบโต
    ขอนอบน้อมต่ออาจารย์ทุกท่าน
     
  7. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    เรากลัวมาร ยิ่งหนีก็ยิ่งกลัว ยิ่งกลัวก็ยิ่งหนี
    อาจารย์ใช้มารห้อมล้อมเสียจนเราไม่เห็นว่ามารจะต่างจากตัวเราตรงไหน
    เรากลัวอสูร ยิ่งหนีก็ยิ่งกลัว ยิ่งกลัวก็ยิ่งหนี
    อาจารย์ใช้อสูรฟาดฟันเสียจนเราไม่เห็นว่าอสูรจะต่างจากตัวเราตรงไหน
    เรากลัวการตัดสิน ยิ่งเลี่ยงก็ยิ่งตัดสิน
    อาจารย์ก็เข้ามาตัดสินเสียจนเราแหลกเละไม่มีชิ้นดี
    จนเราพบว่าไม่มีสิ่งใดต้องรักษา ไม่มีอะไรจะให้เสีย จึงไม่มีสิ่งใดต้องหวาดกลัว
    ตันตระที่เราได้เรียนรู้คือการเข้าไปเป็นสิ่งนั้นอย่างเต็มที่

    อาจารย์มัญชุศรีเป็นนักดาบทั้งโดยร่างกายและจิตใจ
    อาจารย์ได้รับมอบหมายจากตถาคตให้อบรมพุทธบุตรทุกท่าน
    อาจารย์มีวิธีสอนมากมาย หนึ่งในนั้นคือการโต้วาที
    กิจกรรมนี้ยังคงดำรงอยู่ในวัชรยาน
    หากไอ้ทึ่มไม่เฉียบคมและตื่นรู้ก็ถูกอาจารย์ฟันเหวอะหวะ
    แม้ความบิดเบี้ยวประการเดียวก็ไม่เคยรอดพ้นจากปลายดาบอาจารย์

    นักดาบ...ยิ่งเด็กยิ่งสดชื่นว่องไว
     
  8. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    เมื่อเรามีการจัดกลุ่มความร้อน ว่าต่างจากความเย็นชัดเจน
    และจำแนกไฟว่าร้อน น้ำแข็งว่าเย็น
    เราว่าเรารู้จักไฟดี รู้จักน้ำแข็งดี

    อยู่มาวันหนึ่งมีเพื่อนชี้มาที่ศรีษะเราว่าไฟไหม้
    เราอาจตอบโต้เพื่อนกลับไปว่าเขาโกหก
    เราอาจรีบวิ่งไปเทน้ำราดหัวเพื่อดับไฟ
    เราอาจตระหนักรู้ว่ามันก็ไหม้มาตั้งนานแล้วเราก็อยู่ได้นี่หว่า
    ผู้ที่ตัดสินใจดำเนินการเป็นเราเสมอ
    เพื่อนที่ชี้บอกไม่เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกอาการทั้งสามชนิดนี้เลย
    และทั้งสามอาการนี้ก็ไม่มีสาระอันใด เป็นไปเพื่อให้เรารู้จักธรรมชาติของไฟเท่านั้น

    เราเป็นอิสระและเป็นผู้ตัดสินใจ เป็นอย่างนั้นเสมอมา
     
  9. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    [​IMG]

    (ท่านเกเช เชคาวา เยเช ดอร์เจ)
    ก่อนที่ข้าพเจ้า จะได้กล่าวถึง "คัมภีร์บาทฐานทั้ง 7 แห่งการฝึกจิต
    (The Root Text of the SevenPoints of training the Mind)"
    [​IMG]
    ข้าพเจ้าใคร่เล่าเรื่องสักนิด นั้นคือข้าพเจ้าศึกษาคัมภีร์เล่มนี้ครั้งแรก
    เมื่อครั้งศึกษาอยู่ในโลกตะวันตก ดังจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้คัมภีร์สำคัญ
    ทางพุทธศาสนาได้ถุกแปลจากภาษาธิเบต ไปเป็นภาษาต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
    ความจริงคัมภีร์มากมายเหล่านี้ ก็ไม่ได้เป็นแค่คัมภีร์ที่ชาวธิเบตเขียนขึ้นเองเท่านั้น
    แต่ยังรวมคัมภีร์ดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้า หรือ พระสาวกองค์สำคัญ
    ตลอดจนนักคิดในอินเดีย เช่นท่านนาครชุน ท่านวสุพันธ์ ท่านอสังคะ และ อื่นๆ
    เขียนไว้ด้วย
    อันเป็นผลมาจากการหยั้งเห็นของผู้นำพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในธิเบตยุคแรกๆๆ
    ที่คงจะคาดเดาได้ว่าในไม่ช้า
    พระพุทธศาสนาคงจะต้องหายไปจากถิ่นกำเนิดอย่างชมพูทวีปเป็นแน่
    ด้วยเหตุนี้เองก่อนที่จะสิ้นสุด ในยุคสุดท้ายนั้น
    คำสอนทั้งหลายก็ได้ถูกแปลเป็นภาษาธิเบตและ
    ยังคงถูกรักษาเอาไว้เป็นอย่างดีโดยชาวธิเบตนั้น
    อย่างไรก็ตามเมื่อครั้งจีนคอมมิวนิสต์รุกรานธิเบต
    อันเป็นเหตุให้คุรุทั้งหลายในธิเบตได้ขับเคลื่อนตัวเองเข้าสู่โลกตะวันตก
    ซึ่งทำให้คำสอนทั้งหลายที่ถูกเก็บรักษานี้ได้ถูกขนย้ายไป และ
    ถ่ายทอดไปยังโลกตะวันตก ละแล้วบัดนี้พระอาทิตย์ได้ขึ้นทางทิศตะวันตก

    ความจริงแล้วมีเรื่องที่น่าขบคิดก็คือ
    เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกทำนายไปล่วงหน้าหลายร้อยปี
    โดยคุรุปัทมสมภพ นับตั้งแต่ครั้งที่
    ท่านเดินทางไปยังธิเบตราวๆศตวรรษที่ 8
    ปัทมสมภพกล่าวว่า

    "เมื่อเหล็กหนักกลายมาเป็นนกที่บินได้ และ ม้าง่อยเปลี้ยจนต้องขยับด้วยล้อ
    ชนธิเบตจะกระจัดกระจายราวฝูงมดแตกรังข้ามเข้าไปในอีกซีกโลก และ
    บัดนั้นธรรมะจะเข้าไปยังถิ่นของคนแดง"

    อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ปัทมสมภพได้ทำนายทุกอย่างเอาไว้ตั้งแต่
    การถูกรุกรานจากจีนตลอดจนการตกต่ำลงของธิเบต
    และ การหวนไปเข้าหาความเชื่อที่งมงายของผู้คนชาวธิเบต
    ซึ่งทุกวันนี้คุณจะเห็นได้ว่ามีผู้อ้างตัวว่าเป็นคุรุชาวธิเบตเป็นจำนวนมาก
    คนเหล่านี้เป็นชาวธิเบตแท้ๆ แต่หาได้หยั้งถึงสายธาราแห่งธรรมไม่
    คนเหล่านี้นำเอาคำสอนที่ล้ำค่า เข้าไปปะปนกับความเชื่องมงาย
    เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากผู้คน
    อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าเล่าให้ท่านฟังเยี่ยงนี้ก็เพื่อที่ว่า
    ท่านจะได้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้

    เอาล่ะบัดนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวถึง คัมภีร์บาทฐานทั้ง 7 แห่งการฝึกจิต
    ดังนี้ คัมภีร์เล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาครั้งแรก
    โดยท่านเกเช เชคาวา เยเช ดอร์เจ แห่งนิกายคาดัมปะ
    เนื้อความมีทั้งสิ้น เจ็ดฐาน ห้าสิบเก้าบาทคาถา ซึ่งครอบคลุมหลักคำสอนว่าด้วยบารมีทั้ง6
    ของพระโพธิสัตว์ คือ ทาน สีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และ ปัญญา
    ฐานทั้ง7มีดังนี้

    1.ว่าด้วยการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติธรรม
    2.การบ่มเพาะโพธิจิต
    3.การแปรเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้
    4.การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
    5.การประเมิณผลของการปฏิบัติ
    6.วินัยแห่งการฝึกจิต
    7.แนวทางแห่งการฝึกจิต


    ซึ่งเป็นบทสรุปของคำสอนว่าด้วยการฝึกจิต หรือ โลจอง ของท่าน
    อตีศะทีปังกร ผู้ชึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการเผยแพร่ธรรมในธิเบต และ
    ท่านยังเป็นผุ้แรกที่นำเอาความคิดเกี่ยวกับนางธาราคุ่บารมีพระโพธิสัตว์
    เข้ามาเผยแพร่ด้
    สำหรับการเข้ามาของพุทธธรรมในธิเบตในยุคแรกเริ่มนั้น
    ก็จะมีท่านผู้นี้และท่านศานติรักษิต ท่านปัทมสมภพ นั้นเองที่เป็นผู้บุกเบิก

    จากนั้น ก็มีการเขียนอรรถกถา
    มากมายขึ้นเพื่ออธิบายความในคัมภีร์นี้ แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
    เป็นของท่าน จัมกอน คองตรุล คือ อรรกถาที่มีชื่อว่า ชาชุนชุนลัม (มรรคาพื้นฐานของการตรัสรู้)
    และ อรรกถานี้เองก็ได้ถูกใช้เป็นพื้นฐานคำสอน ว่าด้วยการฝึกจิต ของท่านเชอเกียม ตรุงป้า
    ดังจะเห็นได้ว่ามีงานตีพิมพ์ว่าด้วยเรื่องนี้ ของท่านออกมาแล้วในชื่อว่า
    Training the Mind and Cultivating Loving -
    Kindness

    [​IMG]

    [​IMG]

    Chögyam Trungpa Rinpoche

    เมื่อพิจารณาคัมภีร์นี้ตลอดทั้งต้นจนจบ คุณจะเห็นได้ว่าคัมภีร์นี้มีรูปแบบการนำเสนอ
    เช่นเดียวกับโยคะสูตร ของท่านปตัญชลี (Patanjali)
    ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงข้อเสนอที่สั้นกระชับได้ใจความเท่านั้น
    มันหาได้มีถ้อยคำที่วกวนแบบปรัชญา ทั้งไม่มีการนำเสนอหลักการใด
    มันเพียงแต่เป็นสากลศาสตร์ ที่ศาสนาต่างๆ สามารถนำมา เป็น
    ส่วนหนึ่งในการปฏิบัติเพื่อบรรลุ เป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้นๆ ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่ได้ เป็น
    ศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือนิกายใดนิกายหนึ่ง
    เมื่อข้าพเจ้าอธิบายท่านจะเห็นได้ว่าข้าพเจ้าจะใช้ตัวหนังสือใหญ่ และ
    สีแดงเพื่อชี้ให้ท่านเห็นข้อความดั้งเดิมในคัมภีร์
    ส่วนตัวหนังสือเล็กนั้นคืออรรถกถาของข้าพเจ้าที่ก็ยืนพื้นมาจากความเข้าใจของข้าพเจ้า
    และงานของท่าน ตรุงป้า และ จัมกอน คองตรุลนั้นเอง
    และบัดนี้ข้าพเจ้าจักส่งต่อคำสอนเหล่านี้มายังท่าน

    ในธิเบต เราเปรียบเทียบจิตของเราเหมือนกับวัวป่า วิ่งต้องฝึกจนเชื่อง
    เพื่อที่ว่าผู้ฝึกจะได้สามารถควบคุมวัวตัวนี้ได้ หากปราศจากการฝึก จิตของคุณย่อมเตลิด
    ในขณะที่คุณฝึกฝนการภาวนาคุณจักเห็นได้ว่า ความคิดของคุณผลุดบังเกิด วิ่งวุ่นวายอยู่เสมอๆ
    บ่อยครั้งมันสร้างภาพมายาที่สมจริงขึ้นมาลวงคุณเสียด้วยซ้ำ
    อันที่จริงแม้แต่ในขณะที่คุณนอนหลับนั้น ความคิดก็หาได้หยุดวิ่งวุ้นไม่
    และบ่อยครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการที่คุณไม่สามารถรู้เท่าทันจิตของคุณนั้นเอง

    ทัศนะเยี่ยงนี้ล้วนสอดคล้อมกันในทุกศาสนา ในโยคะสูตรปตัญชลี ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอันมาก
    ยกตัวอย่างเขานิยามความหมายของโยคพะว่าคือ นิโรธแห่งจิต
    ในสูตรที่สามของโยคะสูตรมีใจความว่า

    "มนุษย์นั้นจะมีปัญญาหยั่งเห็นความจริงได้ก็ต่อเมื่อ
    จิตใจของเขาสามารถหยุดยั้ยการกระเพื่อมไหวได้แม้แต่เพียงชั้งขณะเดียว"

    จิตของเรานั้นแบ่งออกเป็น สองระดับ นั้นคือ จิตใต้สำนึกและจิตสำนึก
    หากเปรียบเทียบกับคำสอนของนิกายโยคาจาระ
    จักกล่าวได้ว่ามันเทียบเท่ากับ อาลัยวิญญาณ และ มโนวิญญาณ
    อันที่จริงก็หาได้มีเส้นแบ่งระหว่าง วิญญาณทั้งสองนี้ไม่
    อันที่จริงแล้ว จิตใต้สำนึกของคุณนี้นี่เองที่ทำหน้าที่ในการเก็บเอาเมล็ดพันธุ์ทั้งหลายเอาไว้
    เช่นเมล็ดแห่งความรัก ความกรุณา ปัญญา อวิชชา ความเกลียดชัง สังสารวัฏ นิพพาน
    เมล็ดพันธ์ที่รอการผลุดขึ้นและแสดงออกมาทางจิตสำนึกของคุณ
    เมื่อปัจจัยเกิ้อหนุนพร้อมสิ่งหนึ่งย่อมบังเกิด และการปฏิบัติภาวนาทั้งมวลก็มีขึ้นเพื่อสิ่งนี้เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดพันธ์ที่ไม่ใช่กุศล
    ได้อุบัติขึ้นมาทางจิตสำนึก และ เพื่อที่จะเกื้อหนุนให้เมล็ดพันธ์ที่เป็นกุศลได้แสดงตัวออกมาเสมอๆ
    และแล้วเมื่อใดก็ตามที่คุณได้สัมผัส
    จิตใต้สำนึกของคุณเอง คุณก็ได้สัมผัสชั่วขณะของความเป็นเช่นนั้นเองไปด้วย
    อย่างไรก็ตาม การที่คุรจักทำเช่นนี้ได้หรือไม่นั้น
    ไม่มีใครสามารถตอบคุณได้นอกจากประสบการร์ของคุณเอง ด้วยเหตุนี้นี่จึ่งเป็นเหตุผลว่า
    ทำไมคุณจึ่งต้องเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับการบังเกิดขึ้นของสมาธิ คุณไม่ได้สร้างมันขึ้นมา
    ทั้งไม่อาจจะสั่งให้มันมาได้ มันมาของมันเอง
    ดังนั้นในการปฏิบัติสมาธิ ภาวนาของคุณสิ่งที่คุณควรฝึกฝน หรือ ฝึกจิตของคุณก็คือ การเฝ้าสังเกตุ และ ระมัดระวังมิให้มีสิ่งใดที่มารบกวนความสมดุลของจิตใจของคุณ
    ในชีวิตประจำวันมีความจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องเฝ้าระวังในการที่จะรับรู้สิ่งที่เป็นอกุศลกรรม
    สิ่งที่ไม่พึงปรารถณา และสิ่งที่ทำลายล้างซึ่งจะนำมาซึ่งการรบกวนความสมดุลของจิตใจ


    เหตุใดท่านจึ่งต้องฝึกจิตของท่าน ในโพธิจรยาวตารอันเป็นคัมภีร์ทางมหายานที่มีชื่อเสียงที่สุดคัมภีร์หนึ่ง
    ท่านศานติเทวะกล่าวว่า


    "อันผู้ไม่ได้ฝึกฝนจิตซึ่งเป็นแก่นแท้และสาระของพระธรรม นั้นย่อมเปรียบเสมือน
    ผู้ที่ท่องไปอย่างไร้จุดหมายในอากาศธาตุ ด้วยเหตุนี้จงควบคุมจิตของท่าน และ ระวังรักษาจิตให้ดี
    เพราะทันใดที่ท่านละทิ้งปณิธานนี้
    ปณิธานอื่นๆทั้งหลายของท่านที่ตั้งมั้นอยู่ย่อมปราศจากประโยชน์ใดๆ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  10. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    [​IMG]

    จิตแต่ละขณะ ล้วนว่างเปล่า
    เมื่อใดที่ปราศจากผู้เฝ้าสังเกต
    การเห็นที่แท้ จึงถูกตระหนัก

    สำหรับการฝึกในกระแสแห่งแสงกระจ่าง
    ไม่มีขั้น ไม่มีตอนให้ค้นพบ
    ยืนหยัดในวิริยะแห่งการฝึก
    ตราบกระทั่งไร้ผู้ฝึก และไร้การฝึก

    ในภูมิแห่งแสงกระจ่างไสว
    ที่ซึ่ง นาม และ รูป รวมกันเป็นหนึ่ง
    ข้ามองไม่เห็นเหตุ ไม่เห็นปัจจัย
    ทั้งหมดคือ ความว่าง

    เมื่อผู้แสดง และการแสดงยุติ
    การณ์ทั้งหมด จักกลายเป็นความถูกต้อง
    ข้อจำกัดทางความคิดทั้งหลายได้มลายไปในพระธรรมธาตุ
    โลกธรรมทั้ง ๘ ไม่สามารถพัดทั้ง ความหวัง และ ความกลัว มาสู่

    เมื่อไม่มีคำสอน และไม่มีผู้เจริญตามคำสอน
    วินัยจึงเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
    ด้วยตระหนักรู้ว่าจิตตนนั้น คือ ธรรมกายา
    เป็นกายแท้แห่งพุทธะ

    ตั้งปณิธานแน่วแน่ ที่จะยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์
    เมื่อข้อควรปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติไม่ปรากฏแล้ว
    ธรรมะจึงบริสุทธิ์อย่างแท้จริง

    .............

    ธรรมคีตา หรือ ลำนำสอนธรรม ของ มิลาเรปะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  11. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    บาทฐานที่หนึ่ง ในคัมภีร์บาทฐานทั้ง 7 แห่งการฝึกจิต
    ว่าด้วยการเตรียมตัวเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติธรรม

    มีใจความว่า

    "แรกสุดคุณพึ่งฝึกฝนในเบื้องต้น"

    ความหมายของบาทคาถานี้ก็คือ ในชีวิตประจำวันคุณพึงตระหนักดังนี้

    1. ตัวคุณนั้นเองคือ คุก
    2. จงสำนึกในคุณค่าของการมีชีวิต และ โอกาสอันดีที่คุณได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อสดับธรรม
    3. จงระลึกไว้เสมอว่าความตายนั้นติดตามคุณอยู่ประดุจดังเงาตามตัวและมันไม่สนใจว่าคุณจะเชิญมันเข้ามาหรือไม่
    4.ไม่ว่าคุณจะกระทำสิ่งใดทั้งที่เป็นกุศลหรือไม่ เหล่านี้ล้วยเป็นโซ่ตรวนแห่งเหตุและปัจจัยที่มัดตรึงคุณอยู่
    5.ความทุกข์ และ ความสับสนนั้นดำรงอยู่เสมอ


    เมื่อคุณเตือนใจตัวเองไว้เสมอเยี่ยงนี้ ก็จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีสติสัมปชัญญะ
    เช่น เมื่อคุณระลึกไว้เสมอว่าความตายนั้นติดตามคุณอยู่ประดุจดังเงาตามตัว
    และมันไม่สนใจว่าคุณจะเชิญมันเข้ามาหรือไม่
    และแล้วในที่สุดเมื่อคุณได้ดำรงตนอยุ่ใน
    เครื่องเตือนใจเช่นนี้ มันก็จะช่วยให้คุณสามารถดำรงตัวอยู่ในความไม่ประมาทได้
    คุณอาจจะตายได้ทุกเมื่อ
    แม้ขณะที่คุณใช้ชีวิตทั้งชีวิตนี้ไปเพื่อสนองตอบความทะเยอทะยาน จนหลงลืม
    ที่จะหันมาดูแลสิ่งที่มีค่าที่สุดของคุณ ณ ตรงนี้
    นั้นคือตัวคุณเอง เพราะถ้าแม้แต่คุณค่าของตัวเอง
    คุณยังมิอาจจะตระหนักถึงมันได้คุณก็ย่อมไม่สามารถตระหนักถึงคุณค่าของผู้อื่นรอบๆตัวคุณได้
    แลนี้ก็คือ เหตุผลว่าทำไมคุณจึงควรเจรฺญมรณานุสติเสมอๆในชีวิตประจำวัน
    พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
    "ในบรรดารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย รอยเท้าช้างนั้นใหญ่ที่สุด เช่นไร ในบรรดาการฝึกสติทั้งหมดมรณานุสติก็ ยิ่งใหญ่ที่สุดเช่นนั้น"

    อันที่จริง พระพุทธเจ้ามักกล่าวเสมอๆ ว่าเป็นไปได้ที่คุณจะสามารถมีความสุขสงบและสันติได้ในทุกๆขณะในชีวิต
    ดังคำที่ท่านรังสรรค์ขึ้นมาเป็นภาษาบาลีว่า ทิฏฐิธรรมสุขวิหาร

    ท่านกาบีร์เองก็กล่าวว่า

    "ไม่ต้องเข้าไปในสวนดอกไม้หรอก เพื่อนเอ๋ย
    ตัวเจ้านั้นเอง คือ สวนพฤกษา
    เลือกที่นั่งเหมาะ ๆ บนกลีบบัวของเจ้าสิ
    แล้วเพ่งพินิจความงามอันนิรันดร์"

    นอกจากนี้การเตือนใจตนเองไว้เยี่ยงนี้ ยังช่วยให้คุณ มีกำลังใจที่จะดำรงตนอยุ่ภายใต้ความเพียรพยายามที่จะปฏิบัติธรรมของคุณ
    ไว้เป็นอย่างดี เช่น คุณรุ้ว่าคุณอาจจะตายได้เสมอๆคุณจึ่งเลิกที่จะหาข้อกล่าวอ้างเพื่อหลีกหนีจากการปฏิบัติของคุณ
    เมื่อคุณตระหนักว่าความตายย่อมบังเกิดได้ทุกเมื่อ
    คุณก็ย่อมที่จะสำนึกในคุณค่าการมีชีวิต และ โอกาสอันดีที่คุณได้ถือกำเนิดมา
    ซึ่งจะทำให้คุณสามารถดำรงตนเองไว้ในหนทางของความเมตตากรุณาได้อย่างแท้จริง

    ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อคุณได้ตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิตอย่างแท้จริงแล้วล่ะก็คุณย่อมไม่อาจจะทำลายชีวิตของผู้อื่นได้

    นอกจากนี้อย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วว่า จงตระหนักว่าตัวคุณเองคือ คุก
    ถ้อยคำนี้เป็นคำกล่าวของ เกอร์จิยา ครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก ในศตวรรษที่ยี่สิบ

    หากคุณไม่ตระหนักว่าตัวคุณเองคือคุก
    หรือ ตัวคุณนี่เองที่สร้างสรรค์อำนาจครอบงำตัวเองขึ้น ตลอดจนอำนาจเหล่านี้นี่เองที่เป็นต้นตอของ ความทุกข์ ความสับสนที่ดำรงอยู่เสมอ
    ในชีวิตของคุณแล้วล่ะก็
    การปฎิบัติใดๆก็ตามที่คุณมีก็ล้วนไร้ความหมาย
    เพราะ แก่นแท้ของการปฏิบัติทั้งมวลก็คือการเปิดเผยตัวเองอย่างที่คุณเป็น
    มิใช่สิ่งที่คุณคาดหวังว่าจะเป็น หรือสิ่งที่สังคม คนรอบข้าง
    ต้องการให้คุณเป็น ทัศนะเยี่ยงนี้แลคือคุก
    เมื่อคุณเสแสร้งเป็นในสิ่งที่คุณไม่ได้เป็นคุณก็ถูกร้อยรัดไว้ด้วยคุกที่คุณสร้างขึ้นมา
    คุกอาจจะมอบความรู้สึกมั้นคงนี้ให้คุณ มีรางวัลให้
    แต่มันขัดแย้งกับสิ่งที่เป็นจริงมิใช่หรือ
    และ สิ่งใดที่ขัดแย้งกับสัจจะในไม่ช้าหน้ากากของมันก็จักพินาศ
    เมื่อคุณสถาปนาอำนาจจากสิ่งที่อยู่ภายนอกเหนือคุณอย่างคุรุ
    เมื่อนั้นคุณก็ตกเป็นทาส
    หากไม่ตระหนักถึงสิ่งนี้คุณก็จักไม่มีวันได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่าอิสรภาพ

    ทุกวันนี้ มนุษย์เรามักมีความคิดเราควรเป็นอะไร? และ เราน่าที่จะทำอะไรบ้าง?
    แต่ทว่าตลอดเวลาในความเป็นจริง เรากับทำสิ่งที่ค่อนข้างตรงกันข้าม
    ดังนั้น คุณจะเห็นว่า หลักการ ความเชื่อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่คุณมี
    นำพามาซึ่งกลลวงและความไม่ซื่อต่อชีวิตอย่างที่มันเป็น
    แนวคิดทุกๆๆอย่างสร้างสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง และ มีอิทธิผลครอบงำเราทุกคนโดยที่ไม่รู้ตัว
    อำนาจนี้รุนแรงมากจนกระทั้งคอยบงการชีวิตของเราให้ขับเคลื่อนไปและทำสิ่งต่างๆ
    เพื่อที่จะมองให้เห็นถึงสิ่งนี้ มีความจำเป็นยิ่งที่คุณจะต้องมองให้เห็น
    ว่าทุกวันนี้เราทุกคนถูกเลี้ยงดู และ หล่อหลอมมาในลักษณะของการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เป็นจริง และ ควรที่จะเป็น
    ด้วยเหตุนี้เราจึ่งมีกรอบที่สร้างขึ้นมาสำหรับตัวเองโดยหลอมรวมเอาสิ่งที่ได้รับมาจากภายนอกหรือสังคมภายนอกคาดหวัง
    สิ่งที่เป็นจริง และ สิ่งที่เราอยากให้เป็น กลายมาเป็นภาพของตัวตนของเรา
    ว่าอะไรถูกอะไรผิด? อะไรดีอะไรเลว? อะไรคือสิ่งที่ควรเป็นหรือไม่ควรเป็น? ควรมีหรือไม่ควรมี?
    ยกตัวอย่าง เรารู้สึกไม่พอใจเมื่อรู้ว่ามีการคอรัปชั่นเกิดขึ้นมาในประเทศของเรา เรารู้สึกโกรธคนที่เรารู้ว่าเขาคอรัปชั่น
    แต่คำถามคือ ทำไมเราจึ่งรู้สึกไม่พอใจเช่นนี้ เรารู้สึกเพราะ
    เรามองเห็นภัยของการคอรัปชั่นอย่างแท้จริงหรือ?
    เรารู้สึกว่าเราต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพราะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เป็นผู้เสียหายคนหนึ่ง
    หรือ เราเพียงทำไปอย่างอัตโนมัติ
    เพราะเสียงในหัวของเราบอกให้เราทำสิ่งที่เราถูกปลูกฝังมาทั้งชีวิตว่าสิ่งนี้คือสิ่งผิด
    เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราควรตั้งคำถาม ปัญหาก็คือในกรอบทั้งหมดที่เราสร้างขึ้น เราเคยตรวจสอบมันหรือไม่
    เคยลองที่จะปฏิเสธมันเพื่อดูว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้นหรือไม่

    ข้าพเจ้ามันคุยกับผู้สอนศาสนามากมาย แต่ทว่า
    สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นจากคนเหล่านี้กับเป็นเพียงซากศพที่พูดคุยได้ เขาช่างแห้งแล้งปราศจากชีวิตชีวา
    เมื่อเราคุยกันคนเหล่านี้มันจะพูดถึงถ้อยคำในคัมภีร์ที่เขาเองก็ไม่เข้าใจ
    ไม่ก็พูดถึงคนที่เขาเคารพ ข้าพเจ้าพูดว่า เหตุใดคุณจึ่งไม่วางสิ่งเหล่านี้ลงเล่า
    พวกเขาก็มักกล่าวว่า ถ้าผมไม่พูดถึงเรื่องนี้กับคุณผมก็ไม่รุ้จะพูดอะไร
    ข้าพเจ้าจึ่งกล่าวว่างั้นท่านก็พูดในสิ่งที่อยู่ลึกๆๆลงไปในตัวท่านสิ
    เขาเหล่านั้นกล่าวว่ามันลำบากนะที่จะพูดเพราะ ลึกๆๆลงไปแล้วมันไม่มีอะไรเลย
    จากนั้นเขาก็พยายามที่จะหลีกเลี่ยงจากการตะหนักรู้ถึงสิ่งนี้และหันกลับไปยังสิ่งเดิมๆ

    คุณเห็นอะไรไหม? นี่ล่ะคือปัญหา เมื่อข้าพเจ้าพูดกับคนเหล่านี้
    ข้าพเจ้าต้องการเห็นสิ่งที่คนเหล่านี้เป็น
    นั้นคือ ข้าพเจ้าต้องการให้เขาเปิดเผยตัวเองแต่ทว่า
    ก็อย่างที่ข้าพเจ้าพูดไปว่ามันมิได้เป็นไปเช่นนั้น ทุกๆๆครั้งมักมีสิ่งที่ขวางกลาง
    เช่น พระพุทธเจ้า(หรือหลักคำสอนของท่าน ย้ำ ของท่านมันไม่ใช่ของคุณเพราะคุณไม่ใช่ท่าน)
    ชายคนหนึ่ง(เขาเป็นศ.ทางพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของลังกา)พูดกับข้าพเจ้า เมื่อเราทั้งสองถกกันเรื่องสัจจะ
    เขามักกล่าวว่าว่าเรามาพูดเรื่องพระพุทธเจ้าดีไหม?
    ท่านก็นับถือพระพุทธเจ้านี่ผมก็นับถือเช่นกัน ไม่ก็ที่คุณพูดมานี่คุณกำลังพูดถึงหลักธรรมนี้ในพุทธศาสนาใช่ไหม?
    คุณเห็นไหมว่าในสัมพันธภาพของเรามีพระพุทธเจ้าและลักคำสอนของท่านคั้งกลางอยู่แทนที่ เราทั้งสองจะได้สัมผัสถึงกันและกันโดยตรง
    จากจิตถึงจิต แทนที่เราทั้งสองจะได้ร่วมกับสืบค้นและตรวจสอบไปด้วยกันกลับกลายเป็นว่า
    ชายคนหนึ่งพยายามจะดึงให้อีกคนหยุดค้นหา และ
    ยอมรับข้อสรุปที่มีอยู่แล้วราวกับว่าเป็นความจริงที่ตนเองประสบแจ้งแล้วนั้น
    ช่างน่าหัวเราะ คุณเห็นไหม ในที่ตรงนั้นในสัมพันธภาพของเรากับมีพระพุทธเจ้า(ในความคิดของเรา)นั้นคั้นกลางอยู่
    คนเรากลัวที่จะเปิดเผยตัวเอง ดังนั้นเราจึงมักจะซุกหัวเขาไปหลบในความคิดหรืออะไรสักอย่างที่ดูมั้นคง
    แทนที่จะเป็นสิ่งที่เป็นจริง และ เหล่านี้แลคือพันธการที่คอยกั้นกลางไม่ให้เราเป็นอิสระ
    ยกตัวอย่าง พระศากยมุนี ที่อยู่ในใจเรา และ เรามักยึดเอาภาพลักษณ์นั้นมาเป็น
    ภาพลักษณ์อันตายตัวของท่าน เช่น
    พระพุทธเจ้าที่คุณนับถือท่านเป็นครูที่ยิ่งใหญ่จริงๆ หรือเป็นเพียงภาพอันเลือนลางของครูที่ยิ่งใหญ่
    ที่คุณสร้างขึ้นจากการนึกเดาเองเอง หรือ ได้รับการปลูกฝังมาจากสังคม

    เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่คุณควรที่จะถาม มิใช่เพื่อท้าทายเพื่อปฏิเสธหรือยอมรับ
    แต่เพื่อปฏิสัมพันธ์อย่างแท้จริง เพื่อที่จะได้มีประสบการณ์
    หรือพูดง่ายๆก็คือ เพื่อที่จะได้รู้จักพระพุทธเจ้าอย่างที่ท่านเป็น
    และ ตรงจุดนั้นคุณจึ่งจะพูดได้ว่าคุณเป็นสาวกของท่าน คุณรุ้จักท่านอย่างแท้จริง
    คุณอาจจะคิดว่า ถ้าคุณตรวจสอบยังไงคำตอบก็ยังคงเป็นว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ดีพร้อม
    เป็นท่านผู้ยิ่งใหญ่ แต่นั้นเป็นเพียงแค่ความคิดของคุณ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามันไม่ใช่ของจริง
    เพื่อที่จะรักคุณไม่อาจจะจินตนาการได้ว่าความรักเป็นเช่นไร? คุณจะรู้จักมันก็ต่อเมื่อคุณเรียนรู้ที่จะรักใครสักคนจริงๆ
    เห็นไหมว่าประสบการณ์นั้นแหละจึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกกับคุณได้ว่า
    คุณได้สัมผัสสิ่งที่เป็นของจริง ด้วยเหตุนี้ คุณจึ่งต้องตั้งคำถาม และ สืบค้น
    และตรงจุดนั้นนั้นจะทำให้คุณได้หยั้งเห็นและซาบซึ้งกับชีวิตของคุณอย่างแท้จริง


    ท่านอายสื่อ บิดาแห่งนิกายหลินจี้(รินไซ) อนแตกแยกมาจากเซน
    กล่าวว่า "ถ้าเธอพบเห็นพระพุทธเจ้าหรือ ท่านโพธิธรรมระหว่างทางจนฆ่าพวกท่านเสีย"


    อันที่จริงคุณต้องกำจัดความคิดความเห็นใดๆที่ยึดมั้งลงเสีย
    อย่างคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่คุณพยายามจะบีบบังคับให้เป็นหลักอันตายตัวจริงแท้
    เช่น หลักอนัตตา คุณอาจจะพุดว่าหลักอนัตตานี้แหละคือสัจธรรม
    แต่ทว่าคุณกลับหลงลืมไปเสียสิ้นว่า ทันทีที่คุณไปยึดเอาความคิดที่ว่า
    หลักอนัตตานั้นคือสัจจะความจริงแท้ไม่แปรเปลี่ยน
    คุณก็ตกลงอยู่ภายใต้อำนาจของความคิดที่ว่ามีอัตตาที่เที่ยงแท้ไปอีกแล้ว
    นั้นคือหลักอนัตตานี้แลกลายเป็นอัตตาที่ผูกมัดคุณ
    แทนที่จะกลายมาเป็นยาถอนจากการยึดติดของคุณ
    เมื่อความจริงหนึ่งถูกค้นพบขึ้น และ คุณยึดจับมันไว้คุณก็หลงทาง เพราะมนุษย์จะหยั่งเห็นสัจจะก็เพียงในชั่วขณะแห่งประกายแสงของปัจจุบันขณะเท่านั้น

    หากคุณไม่สามารถเข้าใจได้เยี่ยงนี้การปฏิบัติธรรมของคุณก็หามีประโยชนอันใดไม่ ดั่งคำกล่าวของ ท่านหวางยั่น(่ฮ่งยิ้ม) สังฆปริรายกองค์ที่ ห้า แห่งนิกายเซ็นว่า

    "มันเหมือนกับควายทีมุดหน้่าต่าง เขาทั้งสอง และ ขาทั้งสี่ลอดผ่านไปได้ แต่ดันเหลือแต่หางเท่านั้นที่ยังรอดผ่านไปไม่ได้"

    ด้วยเหตุนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึ่งกล่าว่านิพพานคือความดับ
    และ สิ่งแรกที่คุณจำเป็นต้องดับก็คือความคิด

    ณ วันหนึ่งในค่ำคืนที่สงัด ท่านจวงจื่อกำลังข้ามสะพานมาพร้อมกับเล่าจื่อ อาจารย์ของท่าน
    ท่านเล่าจื่อได้กล่าวแก่จวงจื่อว่า "ขอเธอจงหยุดอยู่ที่นี
    แล้วเฝ้ามองจากสะพานลงไปจนมองไปเรื่อยๆจนกระทั้งสายน้ำนี้ที่เธอเห็นนั้นหยุดไหล
    และ สะพานเริ่มไหลหลากแทนสายน้ำนั้น
    เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อนั้นเเหละเราจะได้พบกันอีก"
    และแล้ววันแล้ววันเล่าท่านจวงจื่อก็ได้เฝ้ารออยู่บนสะพาน
    กล่าวกันว่าท่านถึงกับปลูกกระท่อมบนสะพานแล้วค้างอยู่ที่นั่นทีเดียว หลายเดือนผ่านไป
    ท่านได้แต่นั่งบนสะพาน
    และแล้ววันหนึ่งสิ่งนี้ก็อุบัติขึ้นสายน้ำหยุดนิ่ง พร้อมกันนั้นสะพานก็เริ่มไหลหลาก
    และ แล้วท่านเล่าจื่อก็ปรากฏตัวขึ้น

    เรื่องเล่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าที่ค่อนข้างดี คุณจะไม่อาจจะเข้าใจมันได้โดย ใช้เพียงความคิด เพราะ
    มันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้สะพานจะไหลหลายไปได้อย่างไร? แล้วสายน้ำเล่ามันจะหยุดนิ่งได้อย่างไร?
    นี่คือเรื่องที่เห็นๆกันอยู่ อย่างไรก็ตามเพื่อที่ว่าคุณจะได้เข้าใจในเรื่องนี้ คุณต้องทิ้งความคิดเชิงเหตุผลไป
    สะพานจะไหลหลายไปได้อย่างไร? แล้วสายน้ำเล่ามันจะหยุดนิ่งได้อย่างไร?
    ทั้งหมดนี้คือภาพทางความคิดที่ตายตัวมิใช่หรือ? หากความคิดดับสนิทไม่เหลือหลอ
    เมื่อนั้นสิ่งใดก็ตามล้วนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น เพราะจริง ๆ แล้ว
    ภาพตายตัวของสรรพสิ่งที่เรามีนั้นเป็นเพียงอุปาทานความยึดมั่นของความคิดของเราเอง
    ความคิดที่ว่าสายน้ำนั้นหลั่งไหล และสะพานสถิตอยู่กับที่ เรื่องดังกล่าวเป็นผลเทียบเคียง
    เป็นเพียงปัจจัยที่เชื่อมโยงกันเท่านั้น สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์กันทั้งสิ้น
    ที่สายน้ำหลั่งไหลเพราะคุณเองมิใช่หรือ ที่ไปเข้าใจไปว่าสะพานนั้นสถิตนิ่งอยู่กับที่ ลึกลงไปนั้น
    สะพานก็ไหลหลากอยู่เช่นเดียกัน ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดหรอกที่นิ่งอยู่กับที่
    มีอะตอมรวมไปถึงอิเล็กตรอนกำลังโลดแล่นอยู่ไปมา ภายในสะพานนั้นมีความเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดยั้ง
    ด้วยเหตุนี้ภาพตายตัวต่างๆ ที่เราคิดหรือเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
    คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่านั้นคือสิ่งที่เป็นความจริง

    ที่นี้ในการปฏิบัติของคุณ เมื่อคุณปฏิบัติกุศลธรรมเพื่อหวังผลในกุศลธรรมนั้น
    นี่ก็แสดงว่าคุณได้ยึดติดในมัน คุณร่ำร้องว่า
    ดูสิข้าพเจ้าเป็นคนใจบุญข้าพเจ้าดำรงตนอยู่ในกุศลธรรมเสมอๆ เป็นพุทธสาวกทึ่ดี
    เหล่านี้แลคือโซ่ตรวนที่แขวนคอคุณเป็นโซ่ที่ทำด้วยเพชรที่เรียกว่าจริยธรรม
    อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าใคร่กล่าวกับท่านว่าไม่มีการปฏิบัติกุศลธรรมใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่าการปฏิบัติ
    เพื่อละทิ้งความยึดมั่นถือมั้นของท่าน

    เช่นเดียวกันเมื่อคุณนึกถึงตัวคุณเอง คุณเห็นอะไรบ้างเล่า
    คุณเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าท่านเป็นใคร? เมื่อคุณพูดว่าฉันคือนาย ก. แต่นั้นหาใช่ตัวตนที่แท้ของคุณไม่
    มันเป็นแต่เพียงชื่อของคุณ
    คุณพูดว่าฉันเป็นวิศวกรแต่นั้นก็หาได้เกี่ยวกับคุณไม่นั้นเป็นอาชีพของคุณ
    คุณพูดว่าฉันเป็นบุตรของนาย ข. คุณก็แค่พูดถึงวงค์ตระกูล คุณพูดว่าคุณเป็นคนไทย
    คุณก็แค่พูดถึงเชื้อชาติของคุณไม่ใช่ตัวตนของคุณ
    คุณเห็นอะไรไหม?
    คุณ คุณรุ้จริงๆหรือ คุณไม่เห็นหรือว่าคุณสร้างคุกมากมายเพื่อจองจำตัวคุณ
    เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ตายตัว
    ทั้งๆที่ตัวตนที่แท้ของคุณนั้นหาใช่สิ่งที่ตายตัวไม่มันเปลี่ยนแปลงดูสิ
    แม้แต่วินาทีนี้คุณก้เติบโตขึ้น คุณเมื่อวินาทีที่แล้ว ไม่ใช่คุณในวินาทีนี้อีกแต่ไป
    ด้วยเหตุที่ว่าสรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง ฃ

    ดังที่เฮราคิตุส กล่าวว่า
    "คุณไม่อาจจะลงไปในลำธารสายหนึ่งๆได้อีกเป็นครั้งที่สอง"

    อันที่จริง จริงๆแล้วก็มีสิ่งหนึ่งที่หาได้เปลี่ยนแปลงไม่ สิ่งนั้นก็คือสำนึกรู้ของคุณ
    สำนึกรู้ที่ห่อหุ้มกระบวณการการตระหนักรุ้ของคุณ ซึ่งมักจะนำพาเอาสิ่งที่คุณฝังใจในอดีต
    ไปสู่ความเป็นไปได้ในอนาคต ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศและสิ่งนี้เองที่เป็นสิ่งที่สืบต่อต่อเนื่องไป
    ในคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบตได้เล่าขานเรื่องราวของประสบการณ์ใน
    บาร์โด อันเป็นประสบการณ์ที่สื่อถึงสิ่งที่ผลุดบังเกิดขึ้นในช่องว่างรอยต่อระหว่างการมีชีวิตและความตาย
    อย่างไรก็ตามช่องว่างนี้หาได้เกิดขึ้นแค่เพียงเมื่อตอนคุณสิ้นลมเท่านั้นไม่
    มันเกิดขึ้นในทุกๆๆขณะในชีวิตประจำวันของคุณ ซึ่งการแตกดับนั้นดำรงอยู่ในทุกๆขณะ
    ตลอดเวลาเป็นส่วนหนึ่งของการปรุงแต่งทางจิตวิทยาโดยพื้นฐาน
    ในคัมภีร์บ่งชี้ถึงมายาภาพของนิมิต ที่ผลุดขึ้น
    อันอาจจะสื่อถึงปรากฏการณ์ที่ได้บังเกิดขึ้นในการฝึกฝนสมาธิภาวนาของคุณ
    อันเป็นสภาวะพื้นฐานแห่งการเผชิญหน้ากับสิ่งที่คุณเป็นอย่างโดดเดี่ยวแท้จริง
    อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า อดีตคือความทรงจำและอนาคตคือจินตนาการ หากคุณถูกบีบให้อยู่
    ในช่องว่างระหว่างอดีตและอนาคต
    จนสูญเสียควาทมสามารถในการรับรู้โดยตรงต่อสภาพความเป็นจริงนั้นคือที่นี่เดี๋ยวนี้ คุณก็หลงทาง
    เนื่องด้วยว่า การมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะนั้นเองคือหนทางแห่งการมีชีวิต ที่ซึ่งชีวิตเป็นสิ่งที่เข้มข้น
    ดูดดื่มไปด้วยรัก และเป็นแสงสว่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2012
  12. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    [​IMG]


    เมื่อใดที่ปราศจากผู้เฝ้าสังเกต
    การเห็นที่แท้ จึงถูกตระหนัก
    จิตเป็นธรรม


    อนุโมทนาค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  13. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog ขอแจมตันตระที่แสดงโดยพระศิวะ พระอวโลกิเตศวร เล่าจื้อ และอาจารย์ท่านอื่นๆจ้า (ลอกสัญญาขันธ์มาอีกที)

    [​IMG]

    หากว่าเธอกำลังรู้สึกดี ไม่ช้าก็เร็วเธอจะรู้สึกแย่
    อีกทั้งไม่มีจุดให้เธอแวะพักในระหว่างทาง
    จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย
    ยามที่มันแกว่งตัวไปทางซ้าย มันกำลังสั่งสมแรงขับเคลื่อนเพื่อเหวี่ยงไปทางขวา
    ยามที่มันแกว่งตัวไปทางขวา มันกำลังสั่งสมแรงขับเคลื่อนเพื่อเหวี่ยงไปทางซ้าย
    ยามใดที่ใคร่หัวเราะ วินาทีที่เธอจะร้องไห้ฟูมฟายก็อยู่ไม่ไกลแล้ว

    ตามหมู่บ้านชนบทของอินเดีย บรรดาแม่ๆต่างก็รู้ซึ้งถึงสิ่งนี้
    เมื่อใดที่บุตรหลานสุขสบายใจอย่างยิ่งยวด ก้าวต่อไปคือการงอแง
    ดังนั้นเมื่อเด็กๆงอแง พวกเธอจะปล่อยให้เขาระบายอย่างเต็มที่
    ไม่เกลี้ยกล่อม ไม่ติดสินบนให้เลิกร้อง ไม่ตรึงความสนใจเขาไว้ในจุดอื่น
    เพื่อที่เขาจะได้มีแรงขับเคลื่อนเมื่อการร้องไห้ยุติ

    รอยยิ้มคือดวงใจครึ่งหนึ่ง น้ำตาก็คือดวงใจอีกครึ่งหนึ่ง
    ทุกสิ่งทุกอย่างสับสนอลหม่าน

    ป๋องแป๋ง เอย ป๋องแป๋ง
    แกว่งไปทางซ้ายลูกตุ้มด้านขวาก็วิ่งมาตี
    แกว่งไปด้านขวาลูกตุ้มด้านซ้ายก็วิ่งมาตี
    หยุดแกว่งก็ไม่มีเสียง
    หากมีเสียงก็แสดงว่าแกว่ง
    ซ้ายก็เสียง ขวาก็เสียง
    ซ้ายคืออะไร
    ขวามคืออะไร
    เสียงคืออะไร
    ป๋องแป๋งคืออะไร
     
  14. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    ไม่จำเป็นต้องมีโบรถ์และวิหาร ไม่จำเป็นต้องมีระบบปรัชญาอันซับซ้อน
    สมองและดวงใจของเราคือวิหาร ปรัชญาของข้าพเจ้าคือความเมตตา
    ทะไลลามะ
     
  15. หนูฝ้าย^^

    หนูฝ้าย^^ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +0
    โห...กี่วันหนูจึงจะอ่านหมดคะเนี่ย? (หัวเราะ) ขอคารวะท่านครูบาทั้งหลาย ด้วยความเคารพจากหัวใจค่ะ.ช่วงนี้หนูไม่ค่อยได้เข้ามา เหมือนตะก่อน คงใช้เวลาในการอ่าน โมทนา สาธุ
     
  16. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    เห็นด้วยขอรับ ถ้าจะอ่านหมดนี่คงจะต้องใช้สักเดือนมั้งนี่ ขอบคุณครับ
     
  17. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    ขอคารวะท่านคุรุทั้งหลายสักสองจอก อิอิ
    เก่งมากเลยอ่ะ ยากนะที่จะแสดงความไม่มีอะไร ซึ่งเป็นแก่นแท้ได้ยืดยาวขนาดนี้ 555+ นับถือๆ
    ความไม่มีแก่นสาร นั่นแหล่ะคือแก่นสาร
    สุดท้ายแม้ธรรมทั้งปวงก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น... ถึงตอนนั้นคิดดูว่ามันจะสบายสักแค่ไหน ไม่ตัดสิน ไม่ดิ้นรน ไม่ยินดียินร้าย ไม่มีอะไรเลย เมื่อไม่มีตัวตนก็ไม่มีอะไรจะเสีย ใช่ป่าวหล่ะ งุงิ... ก็เอวังด้วยประการฉะนี้(f)
     
  18. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog ชอบดูรูปคุรุทุกแขนงและเจตนาเป็นทานของท่านผู้นำมาโพสต์ทั้งหลาย
    สัมผัสแล้วอิ่มใจจ้า
     
  19. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    เจ้าของกระทู้ หายไปแต่ไหนเสียแล้ว แลข้าเทพอภิบาลจักกระทำการก็อปปี้มาลงต่อไป
    [​IMG]
    คำนำ


    คัมภีร์มรณศาสตร์ เป็นหนึ่งในบรรดาคำสอนว่าด้วยการหลุดพ้นหกประเภท อันได้แก ่การหลุดพ้นโดยอาศัยการระลึกได้ การหลุดพ้นโดยอาศัยการลิ้มรส การหลุดพ้นโดยอาศัยการสัมผัส คำสอนเหล่านี้ถูกรจนาขึ้นโดยท่านคุรุปัทมสมภพ และต่อมาภรรยาของท่านนามเยเซ ซอกยุง ได้จดจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับคัมภีร์สาธนา อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพสันติสี่สิบสององค์ และเทพพิโรธห้าสิบแปดองค์

    คุรุปัทมสมภพฝังคัมภีร์เหล่านี้ไว้ในเทือกเขากัมโป ใจกลางประเทศธิเบต ต่อมาท่านกัมโปปะคุรุท่านหนึ่ง ก็ได้จัดตั้งอารามของท่านขึ้นที่นั่น คัมภีร์และวัตถุศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากจะถูกฝังไว้ทั่วธิเบตและได้รับการขนานนามว่า " มหาสมบัติที่ซ่อนเร้น " ท่านคุรุปัทมสมภพจักถ่ายทอดพลังอำนาจในการค้นพบคัมภีร์เหล่านี้แก่ศิษย์เอกจำนวนยี่สิบห้าท่านด้วยกัน คัมภีร์เล่มนี้ถูกค้นพบโดยท่าน กรรมะ ลิงปะ เป็นหนึ่งในศิษย์ กลุ่มดังกล่าวของคุรุปัทมสมภพที่กลับชาติมาเกิด

    คำว่าการหลุดพ้นในที่นี้หมายความว่า บุคคลใดก็ตามที่ได้รับรู้ถึงคำสอนเหล่านี้ แม้จะมีภาวะจิตอันเคลือบแคลงสงสัยหรือเปิดกว้าง ย่อม สัมผัสกับประพิมประพายแห่งการตรัสรู้ โดยผ่านอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอยู่ในคัมภีร์เล่มนี้

    กรรมะ ลิงปะ เป็นคุรุในนิกายนยิงมา ทว่าสานุศิษย์ของเขาทั้งหมดสังกัดอยู่กับนิกายกาคิว เขาถ่ายทอดคำสอนเหล่านี้ให้แก่ โดกุล ดอร์จี ศิษย์ของเขาเป็นครั้งแรก

    บรรดาผู้ศึกษาคำสอนเหล่านี้ จะทำการฝึกฝนสาธนา และทำความเข้าใจกับเทพทั้ง ๒ กลุ่ม ( มณฑล ) อย่างครบถ้วน จนกลายเป็น ประสบการณ์ของตนเอง ข้าพเจ้าเองได้รับการถ่ายทอดคำสอนนี้เมื่ออายุได้แปดขวบ และถูกฝึกฝนโดยวิปัสสนาจารย์ประจำตัวข้าพเจ้า อาจารย์จะพาข้าพเจ้าไปเยี่ยมเยียนผู้กำลังจะสิ้นใจเสมอประมาณ ๔ ครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ การทำการติดต่อสัมพันธ์กับกระบวนการแห่ง ความตายเช่นนี้ โดยเฉพาะการเฝ้ามองเพื่อนรักและญาติสนิทค่อย ๆ จากเราไปนั้น ย่อมมีความสำคัญต่อผู้ฝึกฝนคำสอนนี้มาก ทั้งนี้เพื่อให้ ความคิดในเรื่องของอนิจจังภาวะ กลายมาเป็นประสบการณ์ชีวิตแทนที่จะเป็นแต่ความนึกคิดทางปรัชญา

    หนังสือเล่มนี้พยายามจะประยุกต์คำสอนดังกล่าวให้เข้ากับผู้สนใจ และบรรดานักศึกษาพุทธธรรมในโลกตะวันตก ข้าพเจ้าหวังว่า คัมภีร์สาธนาจะได้รับการแปลออกมาในกาลต่อไป เพื่อที่ว่าคำสอนแนวนี้ จะได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างครบถ้วน

    เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช

    บทนำ

    โดยอาศัยการอธิบายเค้าโครงย่อ ๆ ของแนวคิดทางพุทธธรรมที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ย่อมก่อประโยชน์ในการเข้าใจถึงรายละเอียดที่มีอยู่ใน ภาคอรรถาธิบาย การยึดมั่นในตัวตนของเรา ( ตัวกูของกู ) จักถูกวิเคราะห์ในระบบของขันธ์ห้า คำว่าขันธ์ แปลว่ารวมความได้ว่า กลุ่มหรือออกอง แต่ความหมายจริง ๆ ของมันคือ " องค์ประกอบทางจิต "

    องค์ประกอบแรกได้แกรูป อันเป็นจุดเริมของความเป็นปัจเจกและการดำรงอยู่อย่างแยกตัวออกมาและจัดแจงประสบการณ์ออกเป็นทั้ง อัตวิสัยและภววิสัย บัดนี้มีตัวตนแต่เดิมที่ใช้รับรู้โลกภายนอก ทันทีที่การรับรู้นี้บังเกิดขึ้น ก็จะบังเกิดปฏิกิริยาตอบโต้อันเป็นขันธ์ที่สอง นามว่า เวทนา เวทนาเป็นอารมณ์ที่ยังไม่อิ่มตัวเต็มที่ เป็นเพียงความรู้สึกรักชอบ หรือไม่แบ่งแยกเราเขา ตามสัญชาตญาณนั้น ๆ แต่แล้วมันเริ่มซับซ้อนขึ้น เมื่อเจ้าตัวตนนี่เริ่มประเมินตัวเอง โดยการเปลี่ยนสภาพจากผู้รับรู้เป็นผู้ลงมือกระทำ อันเป็นสถานะขันธ์ที่สาม นามว่าสัญญา หรือการรับรู้ เป็นความรู้สึกอันเต็มเปี่ยม เมื่อเจ้าตัวตนได้ตระหนักถึงแรงกระตุ้นและทำการตอบโต้โดยพลันต่อสิ่งต่าง ๆ องค์ประกอบที่สี่ได้แก่ สังขาร หรือการปรุงแต่ง อันจะครอบคลุมกิจกรรมทางอารมณ์และกิจกรรมทางปัญญาที่เฝ้าแปลความหมายที่ ตามติดการรับรู้ องค์ประกอบนี้จะผูกองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และเริ่มสร้างบุคลิกลักษณะและกรรม ขั้นสุดท้ายจะเป็นวิญญาณ ที่ได้ผสมรวมทุกสัมผัสรับรู้และจิตใจเข้าด้วยกัน บัดนี้เจ้าตัวตนได้กลายเป็นสากลจักรวาลซึ่งแทนที่มันจะรู้โลกดังที่เป็นอยู่ มันกลับก่อ จินตนาการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

    คำสอนพื้นฐานในหนังสือเล่มนี้ได้แก่การทำความเข้าใจถึงการที่บุคคลได้เกิดความรู้สึกเป็นตัวตนและถอนออกจากความรู้สึกดังกล่าว เมื่อทำได้เช่นนั้น ส่วนประกอบขันธ์ทั้งห้าของจิตซึ่งสับสนหรืออวิชชาจะกลายเป็นปัจจัยแห่งการตรัสรู้ องค์ประกอบทั้งห้าจะกลับสู่ ภาวะอันบริสุทธิ์ ซึ่งจะปรากฏในระหว่างห้าวันแรกของบาร์โดหรืออันตรภพ

    ในระหว่างประสบการณ์ดังกล่าว ภูมิทั้งหกได้ปรากฏขึ้นด้วยเป็นภาวะจิตซึ่งมีอวิชชา ซึ่งจะได้รับการพรรณาอย่างละเอียดในคำสอนนี้ แต่ละภพจะปรากฏขึ้นพร้อมกับทางเลือกอื่น ๆ อันเป็นโอกาสละทิ้งซึ่งความปรารถนาเฉพาะอย่าง ละเลิกการยึดเพื่อความมั่นคงแห่งตัวตน แต่กลับปลดปล่อยตนเองเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับปัญญาซึ่งได้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกับแต่ละภพ

    ปัญญาดังกล่าวเหล่านี้ได้แก่อาณาจักรแห่งตถาคตทั้งห้า คำว่า ตถาคต หมายถึงผู้ไปแล้วด้วยดี ซึ่งอาจให้ความหมายเทียบเคียงได้ว่า เป็นผู้ที่เป็นหนึ่งเดียวกับแก่นสารสาระแห่งสัจธรรมอันเป็นความหมายใกล้เคียงกับคำว่า พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และชินะ ผู้ทรงชัย ตถาคตทั้งห้า เป็นพลังห้าแบบใหญ่ ๆ ของพุทธภาวะ อันหมายถึงปัญญาที่ได้ตื่นขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ ตถาคตเป็นรูปปรากฏของปัญญาห้าประการ ทว่าในสังสารวัฏ อันหมายถึงโลกหรือภาวะแห่งจิตที่เราอาศัยอยู่ พลังงานเหล่านี้ปรากฏในรูปของอกุศลหรืออารมณ์อันสับสนทั้งห้า ทุกสิ่งในโลกหล้า ทั้งสัตว์สถานที่และสิ่งของต่าง ๆ ล้วนมีคุณลักษณ์โดดเด่นที่ข้องเกี่ยวกับหนึ่งในพลังงานทั้งห้า ดังนั้น นามอันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจึงได้แก่ ปัญจสกุล

    ตถาคตองค์ที่หนึ่ง ที่สถิตอยู่ ณ ใจกลางแห่งมณฑล ได้แกพระไวโรจนพุทธ พระองค์เป็นตัวแทนแห่งอกุศลพื้นฐาน อันได้แก่อวิชชา เป็นความโง่งมที่ระมัดระวังตั้งใจอันเป็นที่มาของอกุศลอื่น ๆ พระองค์ยังเป็นปัญญาแห่งธรรมธาตุ อันได้แก่ อากาศอันไม่มีขอบเขต ที่ซึ่งทุกอย่างได้บังเกิดขึ้น เป็นด้านหักล้างแห่งอวิชชา ความที่พระองค์ทรงเป็นต้นเค้าและเป็นศูนย์กลาง สกุลของพระองค์จึงเป็น ที่รู้จักกันในนามของตถาคตหรือพุทธะเป็นด้านตรงข้ามกับอวิชชา

    ตถาคตองค์ที่สอง ได้แก่ พระอักโษภยพุทธ สถิตอยู่ทางทิศตะวันออกแห่งมณฑล ตามคติของชาวอินเดียจะอยู่ด้านล่างสุด ในบางคัมภีร์ พระอักโษภยพุทธอาจปรากฏอยู่ศูนย์กลางมณฑล โดยมีพระไวโรจนพุทธสถิตอยู่ทางทิศตะวันออกแทน อาจทำให้เกิดการสับเปลี่ยนคุณลักษณะพื้นฐานบางประการ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสีขาวและสีครามจึงปรากฏในวันที่หนึ่งและวันที่สอง และมักเกิดความสับสน ในแบบแผนของมณฑล พระอักโษภยพุทธเป็นผู้ปกครองวัชรสกุล อกุศลประจำองค์ได้แก่ความก้าวร้าวและความเกลียดชัง อันได้รับ การแปรเปลี่ยนเป็นปัญญาญาณที่แจ่มใสดุจกระจกเงา ที่สะท้อนทุกสิ่งอย่างแจ่มชัดไม่บิดเบือน

    ในทางทิศใต้แห่งมณฑล ค่อนมาทางซ้าย พระรัตนสัมภวพุทธ ผู้ปกครองรัตนสกุล รัตนะ หมายถึงเพชร และในบางกรณีหมายถึง มณีล้ำค่าที่สนองตอบความต้องการ ดังนั้นยาพิษในที่นี้จึงไก่ มานะ อันเป็นผลมาจากการครอบครองความมั่งคั่งในทุกรูปแบบ ด้านหักล้างของมันได้แก่ปัญญาญาณแห่งความเท่าเทียม และวางเฉย หรืออุเบกขา

    ในทางทิศตะวันตก พระอมิตาภพุทธ อันอยู่ในสกุลปัทมะหรือดอกบัว พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความใคร่และกระหายต้องการเสพทุกสิ่งทุกอย่าง ปัญญาญาณ อันตรงข้ามอกุศลได้แก่ ความไม่แบ่งเขาแบ่งเรา อันก่อให้เกิดความสงบรำงับ และการปล่อยวางต่อความปรารถนา จนเปลี่ยนเป็นการุณย์แทน

    ลำดับสุดท้าย ณ ทิศเหนือ หรือด้านขวาแห่งมณฑล พระอโฆสิทธิพุทธแห่งกรรมสกุล กรรมหมายถึง การกระทำ มีสัญลักษณ์คือดาบหรือ วัชรไขว้ ความริษยาเป็นอกุศลที่ข้องเกี่ยวกับผลกรรม อุบัติจากความทะยานอยากที่ไม่ได้รับการตอบสนองอันก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ นานาติดตามมา กุศลตรงข้ามได้แก่ ปัญญาที่ยังกิจสำเร็จในการณ์ทั้งปวง

    ตถาคตทั้งห้ายังมีคุณลักษณ์อื่นอีกมากมาย ซึ่งได้พรรนาแลอธิบายไว้ในภาคอรรถาธิบาย นอกจากนี้ ตถาคตทั้งห้าแต่ละองค์ยังมาคู่กับ อิตถีภาวะและประกายฉายฉานแห่งโพธิสัตว์ด้วย

    ในขณะที่พระพุทธองค์ทั้งหลายเป็นรูปธรรมของการตรัสรู้ที่ไปพ้นความสับสนวุ่นวายของชีวิต พระโพธิสัตว์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่ง การบำเพ็ญกิจอย่างแข็งขันเพื่อประโยชน์แห่งสรรพสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายคือกิจกรรมภายนอกของปัญญาทั้งห้าร่วมกับพลังงาน แห่งอิตถีภาวะ ที่มอบความอุดมพรั่งพร้อม อันทำให้กิจสำเร็จและปรากฏออกมาอย่างเต็มที่ เหล่าทวยเทพดังกล่าวที่ปรากฏในหนังสือ เล่มนี้ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกของโลกในท่ามกลางความเป็นจริง เทพเหล่านี้เป็นรูปปรากฏของพลังงานที่แตกต่างกันออกไป อันเราจักประสบอยู่เสมอทั้งใจ กาย จิต และอารมณ์ ถึงแม้ว่าเราจะไม่พินิจชีวิตของเราในแง่ของพลังงาน แต่ผลกระทบของมันก็บังเกิด ขึ้นกับเราตลอดเวลา ในภาคอรรถาธิบาย ท่าน เชอเกียม ตรุงปะ ได้ตีความพลังงานเหล่านี้โดยใช้ภาษาที่เราจดจำได้ง่าย ๆ ได้แก่ อารมณ์ คุณสมบัติ สภาพแวดล้อม วิถีชีวิต การกระทำและเหตุการณ์

    ดังนั้น ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเขียนขึ้นสำหรับผู้ตายโดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันก็เป็นเรื่องของชีวิตด้วยเช่นกัน พระพุทธองค์ มิได้ทรงหยิบยกถกเถียงว่าภายหลังจากดับจากโลกนี้ไปจะมีอะไรบังเกิดขึ้นกับเรา นั่นเป็นเพราะว่าปัญหาดังกล่าวหาประโยชน์มิได้ในการแสวงหาสัจธรรมในปัจจุบันขณะ ทว่าแนวคิดเกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิด การดำรงอยู่ในภพทั้งหก และสภาวะระหว่างภพ ล้วนเกี่ยว ข้องกับชีวิตนี้เป็นอย่างยิ่ง ส่วนมันจะเกี่ยวพันกับชีวิตหลังความตายหรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง การตระหนักว่า จุดประสงค์ของการอ่าน คัมภีร์มรณศาสตร์ให้ผู้ตายก็คือการเตือนใจเขาให้ระลึกถึงสิ่งที่เขาได้กระทำยามมีชีวิตอยู่ หนังสือเกี่ยวกับความตายเล่มนี้สามารถบอกเรา ได้ว่าเราควรจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไรในปัจจุบันขณะ


    ฟรานเชสก้า เฟอร์แมนเดิ้ล
     
  20. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    อรรถาธิบาย
    โดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช


    ถ้อยความแห่งคัมภีร์

    ดูเหมือนจะมีปัญหาพื้นฐานบางประการที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกันเป็นเบื้องแรกเมื่อเราพูดถึงคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต หากผู้อ่านศึกษา คัมภีร์เล่มนี้โดยเทียบเคียงกับคัมภีร์ศพแห่งอียิปต์ ในด้านของตำนานและเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับบุคคลผู้ล่วงลับไป อาจทำให้เราคลาดออก จากประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะประเด็นที่ข้องเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในเรื่องของการเกิดและการตายอันดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในชีวิตเรา ซึ่งอาจทำให้เราขนานนามคัมภีร์เล่มนี้ว่าเป็นคัมภีร์ชาตศาสตร์ได้ด้วยเช่นกัน คัมภีร์เล่มนี้ไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่การสิ้นชีพเพียงอย่างเดียว แต่กลับมีมุมมองเกี่ยวกับความตายที่แตกต่างไปจากธรรมดามากทีเดียว มันเป็นคัมภีร์เกี่ยวกับช่องว่างเป็นช่องว่างระหว่างการเกิดและการตาย เป็นภาวะแวดล้อมที่ซึ่งเราจักปฏิบัติหายใจแสดงกิริยาอาการ เป็นสถานที่ที่ก่อแรงบันดาลใจให้เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้น

    วัฒนธรรมบอนที่ดำรงอยู่ก่อนการเข้ามาของพุทธศาสนาในธิเบต มีคำชี้แนะอย่างละเอียดว่าสมควรจักปฏิบัติต่อพลังจิตที่ถูกละทิ้งไว้โดย ผู้ตายอย่างไรดี สิ่งที่ผู้ตายหลงเหลือไว้นั้น ได้แก่ รอยเท้า ระดับอุณหภูมิ อันทำให้คาดคิดได้ว่าทั้งวัฒนธรรมบอนและวัฒนธรรมอียิปต์ ต่างก็มีรากฐานจากประสบการณ์ดังกล่าว คำแนะนำดังกล่าวเป็นในแง่ว่าจะทำอย่างไรดีกับรอยเท้า มากกว่าจะมุ่งความสนใจไปยัง มโนวิญญาณของผู้ตาย ทว่าหลักการสามัญที่ข้าพเจ้าจะพูดถึงในที่นี้นั้น ได้แก่บรรดาความไม่แน่นอนที่ปรากฏในสภาวะเปี่ยมสติและ ความคลุ้มคลั่ง

    คำว่าบาร์โดนั้นหมายถึง ช่องว่าง แต่กลับมิได้หมายเอาถึงช่วงพักในภายหลังการจบชีวิตของเราเท่านั้น หากยังหมายถึงช่องว่าง ในสถานการณ์ชีวิตประจำวันด้วย การแตกดับนั้นปรากฏในสภาวะการดำเนินชีวิตของเราอยู่ตลอดเวลา ประสบการณ์บาร์โดเป็นส่วนหนึ่ง จากการปรุงแต่งทางจิตวิทยาโดยพื้นฐานของเรา ความจริงแล้วประสบการณ์แห่งบาร์โดทุกประเภทอุบัติกับของเรา ทั้งความหวาดระแวง และความไม่แน่นอนแห่งชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นความไม่แน่ใจในสภาพความเป็นอยู่ของเรา เราไม่รู้ว่า ตนกำลังแสวงหาสิ่งใดหรือ มุ่งสู่สิ่งใด ด้วยเหตุนี้คัมภีร์เล่มนี้จึงมิใช่เป็นเพียงถ้อยความสำหรับผู้ที่กำลังจะตายหรือได้ดับสิ้นลงไปแล้ว หากยังเป็นสารสำหรับบุคคล ที่ได้ถือกำเนิดแล้วอีกโสตหนึ่งด้วย การเกิดและการดับเกิดขึ้นกับทุกผู้คนในทุก ๆ ขณะภาวะ

    ประสบการณ์บาร์โดภพสามารถแยกพิจารณาได้เป็นเรื่องราวแห่งภูมิหก แห่งการคุมขังที่เราต้องเผชิญผ่าน เป็นภูมิหกแห่งสภาวะทางจิตใจ ของเรา ในรูปของภูติผีเทวาต่าง ๆ กัน ดังได้พรรณาบรรยายในคัมภีร์เล่มนี้ ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการตายเราจะประสบกับเทพชั้นสูง ส่วนในสัปดาห์สุดท้าย จักปรากฏตถาคตทั้งห้าและเทพเฮรุกามากมาย และหมู่เการิศอันเป็นผู้เชิญสารแห่งตถาคตทั้งห้า เหล่าภูติผีปีศาจ เหล่านี้จักปรากฏตนในรูปแบบน่าหวาดกลัวและแปลกตายิ่งนัก รายละเอียดที่กล่าวถึงในที่นี้เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้หาใช่อาการจิตหลอนหรือนิมิตที่ปรากฏหลังการตายเท่านั้น หากยังเป็นแง่มุมในสถานการณ์แห่งชีวิตที่เราต้องเผชิญหน้า

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาพนิมิตมายาเหล่านี้อาจหมายถึงสิ่งที่ปรากฏในการฝึกฝนสมาธิภาวนา อันเป็นกระบวนการที่จะไม่มีใครช่วยเหลือ เกื้อกูลเราได้ ทุกสิ่งถูกทอดทิ้งให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวอย่างโดดเดี่ยว เป็นการเผชิญหน้าในสิ่งที่เราเป็น อาจเป็นได้ที่คุรุหรือกัลยาณมิตร เป็นผู้ปลุกเร้าส่วนนั้น แต่โดยพื้นฐาน พวกเขาหามีส่วนร่วมด้วยไม่

    แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจริงภายหลังการตายของเรา มีใครเคยกลับมาจากเชิงตะกอนหรือหลุมศพและบอกเล่าถึง ประสบการณ์ที่เขาพานพบมาหรือ ทว่ารอยประทับเหล่านี้กลับทรงพลังมาก จนบุคคลที่เพิ่งถือกำเนิดมาใหม่จักมีความทรงจำในช่วงเวลา ระหว่างการเกิดและการตายอันใหม่สด ทว่าเมื่อเราเติบโตขึ้นเราจักตกอยู่ใต้อิทธิพลแห่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคม อีกทั้งเรายังตกอยู่ ใต้แบบแผนการเลี้ยงดูอันแตกต่างกันไป ดังนั้นรอยประทับอันลึกล้ำจักลบเลือนไป เว้นแต่ในบางครั้งบางคราที่มันจะผุดขึ้นชั่วพริบตา เมื่อนั้นแลเราจักสงสัยใคร่รู้ในประสบการณ์เยี่ยงนั้น และเราจักเริ่มหวาดหวั่นที่จะสูญเสียสิ่งที่จับต้องได้อันได้แก่การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ จนทำให้เราปฏิเสธหรือลังเลต่อสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ การพิจารณาเรื่องราวเหล่านี้จากแนวคิดที่ว่ามีสิ่งใดปรากฏขึ้นภายหลังการตายของเรา ดูออกจะคล้ายกับการศึกษาเรื่องราวในตำนาน แต่จริงแล้วเราจำเป็นต้องมีประสบการณ์บางอย่างในภาวะบาร์โด

    เรื่องราวเหล่านี้เป็นประสบการณ์ขัดแย้งแห่งกายและวิญญาณ ประสบการณ์ต่อเนื่องระหว่างการเกิดและการตาย ประสบการณ์บาร์โดแห่งธรรมดา แสงสุกใส ประสบการณ์ใกล้จุติ บิดามารดาในอนาคตหรือภูมิที่เราจะไปจุติ เราย่อมได้พบเห็นนิมิตแห่งเทพสันติและเทพพิโรธ ซึ่งปรากฏอย่างต่อเนื่องในเวลานั้น หากเราหาญกล้าและเข้มแข็งเพียงพอเราย่อมเฝ้ามองทุกสิ่งอย่างองอาจ ครั้นแล้วประสบการณ์แห่งความ ตายและสภาวะบาร์โดก็จะไม่เป็นเพียงตำนานหรือเรื่องราวที่น่าตื่นตระหนกอีกต่อไป เพราะว่าเราได้เตรียมตัวอย่างพร้อมมูลและ ทำความคุ้นเคยกับทุกสิ่งไว้ก่อนหน้าแล้ว

    [​IMG]



    สภาวะบาร์โดที่ปรากฏก่อนตาย




    ประสบการณ์บาร์โดแรกสุดได้แก่ ความไม่แน่ใจที่ว่าเขากำลังจะตายลงจริง เป็นความรู้สึกในแง่ของการพลัดพรากจากโลกที่เคยอาศัยอยู่ หรือเป็นในแง่ที่ว่าเขาจะมีชีวิตต่อไปได้หรือไม่ ความไม่แน่ใจหาใช่เป็นในเรื่องราวของการละร่างไป แต่เป็นเรื่องของการสูญเสียที่มั่น อันเคยดำรงอยู่ เป็นการก้าวออกจากโลกของความจริงสู่โลกมายา

    เราอาจอ้างถึงโลกของความจริง ในแง่ที่ว่ามันเป็นสถานที่ที่เราประสบซึ่งความทุกข์ทรมาณ ความดีงามและความเลวร้าย มีความเจ้าปัญญา ที่สรรหาบรรทัดฐานสำหรับสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะทวิลักษณ์ ซึ่งหากเราได้ทำการสัมผัสกับความรู้สึกทวิลักษณ์เหล่านี้อย่างจริงจัง จะพบว่า ประสบการณ์อันจริงแท้นั้นปราศจากการแบ่งแยกแม้แต่น้อย ดังนั้นสภาวะทวิลักษณ์นั้นถูกมองโดยทัศนคติอันแจ่มชัดและเปิดกว้างอัน ปราศจากความขัดแย้ง จะไม่มีปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้น มีแต่ความเป็นหนึ่งเดียวที่โอบล้อมทุกสิ่งทุกอย่าง ความขัดแย้งนั้นเกิดจากว่าสภาวะ ทวิลักษณ์ไม่ได้ถูกมองดังที่มันเป็น มันถูกพิจารณาผ่านแง่มุมจนบิดเบี้ยวและโง่งม ในความเป็นจริงแล้วเราแทบไม่เคยรับรู้สรรพสิ่งดังที่มันเป็นเลย เราจึงเริ่มงุนงงสงสัยว่าสิ่งต่าง ๆ เช่นตัวฉัน และภาพเงาฉายแห่งฉันนั้นมีตัวตนอยู่จริงในขณะนั้น ดังนั้นเมื่อเราเอ่ยถึง โลกแห่งทวิลักษณ์ว่าเป็นความสับสนยอกย้อนจริงแล้ว ความสับสนยอกย้อนหาใช่โลกทวิลักษณ์อันสมบูรณ์ไม่ มันเป็นเพียงโลกแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ เท่านั้น อันเป็นโลกที่ก่อให้เกิดความไม่พึงใจและความไม่แน่นอนอย่างมหาศาล มันถูกก่อหวอดจนถึงจุดที่เกิดความรู้สึกหวาดกลัว ว่าจะกลายเป็นคนวิกลจริต เป็นจุดที่อาจพาเราผ่านพ้นโลกแห่งทวิลักษณ์เข้าสู่ความว่างอันบางเบาและอ่อนนุ่ม อันเป็นโลกแห่งความตาย เป็นสุสานที่ดำรงอยู่ในสายหมอก

    คัมภีร์เล่มนี้พรรณาถึงความตายในรูปขององค์ประกอบแห่งร่างกายในภาวะที่ลุ่มลึกลงไปเรื่อย ๆ คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้าเป็นอย่างมากเมื่อ ธาตุดินสลายกลายเป็นธาตุน้ำ และเมื่อธาตุน้ำสลายกลายเป็นธาตุไฟ ระบบหมุนเวียนภายในตัวคุณจะดูหยุดยั้งลง และเมื่อธาตุไฟสลาย กลายเป็นธาตุลม ความรู้สึกอบอุ่นหรือเติบโตก็จบสิ้นลง และเมื่อธาตุลมได้ละลายสู่อากาศธาตุคุณย่อมสูญเสียสายสัมพันธ์สุดท้ายที่มีต่อโลก ในที่สุดเมื่อที่ว่างและมโนวิญญาณแปรเปลี่ยนสู่ศูนย์กลางนาภีย่อมบังเกิดแสงสว่างภายใน สรรพสิ่งจะน้อมลงสู่เบื้องในอย่างสิ้นเชิง

    ประสบการณ์ดังกล่าวนี้อุบัติขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สถานะอันจับต้องได้อ้างอิงได้สูญสลายไป และบุคคลนั้นจักไม่แน่ใจว่าตนเองกำลังเข้าสู่ ภาวะวิมุตติหรือกำลังเสียสติกันแน่ เมื่อใดก็ตามที่ประสบการณ์เช่นนี้บังเกิดขึ้นมักปรากฏขั้นตอนสี่ห้าประการอยู่เสมอในขั้นแรก คุณลักษณ์อันจับต้องได้ ที่มีชีวิตจิตใจจะเริ่มพร่ามัว กล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณได้สูญเสียสัมผัสทางกาย แล้วคุณจะหันมาเพื่อพาสิ่งที่กำลัง ทำงานอยู่อันได้แก่ธาตุน้ำ คุณย้ำเตือนกับตนเองว่า จิตใจคิดนึกของคุณยังทำงานอยู่ ในขั้นต่อไป จิตใจเริ่มเกิดความไม่แน่นอนว่ามันยัง ปฏิบัติงานอยู่หรือไม่ บางจุดในวงจรการทำงานของมันเริ่มชำรุดบกพร่อง หนทางเดียวในการติดต่อสื่อสาร คือ การผลักดันทางอารมณ์ คุณพยายามจะคิดถึงบุคคลที่คุณรักหรือเกลียดชัง บางสิ่งแจ่มชัด ด้วยเหตุที่คุณลักษณ์แห่งธาตุน้ำในระบบไหลเวียนไม่ทำงานอีกต่อไป ดังนั้นอุณหภูมิอันเร่าร้อนของความรักและความเกลียดชังจึงกลายเป็นของสำคัญ และแล้วคุณจะค่อยกลืนหายไปในอากาศ มีความรู้สึก บางเบาของความปลอดโปร่ง มีแนวโน้มว่าคุณจะเริ่มละทิ้งการผูกติดอยู่กับความรู้สึกรัก หรือการพยายามที่จะจดจำบุคคลที่คุณรัก สิ่งทั้งหลายดูจะดำดิ่งลงสู่ภายใน

    ประสบการณ์ต่อไปได้แก่แสงสว่างเรืองรอง คุณมีทีท่าว่าจะปราชัยเพราะคุณได้ดิ้นรนมาเนิ่นนานแล้วและไม่อาจต่อสู้ต่อไปได้อีก ความรู้สึกทอดทิ้งที่ได้บังเกิดขึ้นแล้วในเวลานี้ ดูกับว่าความเจ็บปวดและความสมหวังได้บังเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อนในเวลาเดียวกัน สายธารอันเชี่ยวกรากของผืนน้ำที่เยียบเย็นดุจก้อนน้ำแข็งและผืนน้ำที่ร้อนระอุได้ไหลรินไปทั่วร่างของคุณ เป็นประสบการณ์อันหนักหน่วง เปี่ยมล้นและทรงพลัง ประสบการณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวที่ความทุกข์ทนและปีติสุขไม่อาจแยกขาดออกจากกัน ความพยายามอย่าง แรงกล้าที่จะแบ่งแยกบางสิ่งถูกทำให้สับสนโดยแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่สองประการอันได้แก่ ความหวังที่จะเข้าสู่วิมุตติสุข และ ความหวาดกลัวที่จะเสียจริต แรงยิ่งใหญ่สองประการที่เข้มข้นจนกระทั่งก่อให้เกิดความผ่อนคลาย และเมื่อคุณไม่ทำการดิ้นรนอีกต่อไป แสงสุกใสก็จะปรากฏตนตามธรรมชาติ

    ขั้นต่อไปได้แก่การประสบแสงสุกใสในชีวิตประจำวัน แสงสุกใสคือฉากเบื้องหลัง หรือฉากอันเป็นช่องว่างเมื่อความมืดทึบได้จางลง ปัญญาบางประการได้เริ่มทำการเชื่อมต่อกับภาวะตื่นขึ้นแห่งจิต อันนำไปสู่ประพิมประพายแห่งสมาธิหรือพุทธภาวะซึ่งเรียกขานกันว่า ธรรมกาย ทว่าหากเราไม่อาจทำการเชื่อมต่อกับปัญญาพื้นฐานได้ และพลังแห่งความสับสนยังคงมีอำนาจเหนือกระบวนการแห่งจิต พลังอำนาจอันสั่งสมอย่างสะเปะสะปะจะกลับเป็นพลังงานเจือจางหลายระดับ อาจกล่าวได้ว่าจากพลังงานเปี่ยมล้นแห่งแสงสุกใส แนวโน้มในการยึดติดได้พัฒนาขึ้น จากจุดนี้ภพทั้งหกก็จักเกิดขึ้นโดยมีความเข้มข้นต่างกัน แต่อย่าลืมว่า ความเข้มข้นหรือความบีบรัดนั้นไม่อาจดำเนินไปโดยปราศจากพลังงานเป็นตัวกระตุ้น อีกนัยหนึ่งก็คือพลังงานถูกใช้ไปในการจับฉวย ซึ่งบัดนี้เราจะพิจารณาภูมิทั้งหกซึ่งขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณการประพฤติตน
     

แชร์หน้านี้

Loading...