ปฏิบัติธรรมอย่างไร ให้ได้ดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ลุงแก่แล้ว, 9 มิถุนายน 2010.

  1. ^ _ ^

    ^ _ ^ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +50
    ขอขมาพระรัตนตรัย
    ถอนคำอธิฐานที่เป็นมิจฉาทิฎทิ ถอนคำสาป ถอนคำแช่ง
    ยกโทษให้อโหสิกรรมในสิ่งต่างๆที่ร่วมเกิน
    อุทิศบุญกุศลให้ บิดามารดา เจ้ากรรมนายเวร เทวดาอารักษ์ พระภูมิเจ้าที่เจ้าทางอื่นๆ
    แผ่เมตตาให้ตนเอง
    แผ่เมตตาให้สิ่งต่างๆ
    ลองเสิร์ชหาบทคำต่างๆดูครับมีหลายแบบ
    (เวลากล่าวคำต่างๆตอนจิตมีสมาธิหรือหลังทำสมาธิยิ่งดีเลย)
    คงพอช่วยได้บ้างเท่านี้ครับ (มารเขาก็ต้องทำหน้าที่เขานะครับเพื่อทดสอบจิตใจ)


    http://palungjit.org/posts/3422561

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มิถุนายน 2010
  2. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    ต้องลองไปถามเขาก่อนว่า เวลาทำบุญทำทานนั้นได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรหรือเปล่า เพราะส่วนมากคนที่ทำบุญแล้วและได้แผ่เมตตาแล้ว ชีวิตมีแต่ดีขึ้น อย่างแย่ที่สุดก็คือจิตใจปลอดโปร่ง อย่างไรเสียก็ขอเป็นกำลังใจให้เขานะครับ
     
  3. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    เคยเป็นไหมพอเล่นการพนัน ทำอะไรก็ได้เงิน(เพื่อมาเสียพนัน) พอคิดจะเลิกเล่นตั้งใจเก็บเงิน เงินทองกับขัดสน ติดขัดไปหมด เขาเรียกดวงมันจะไม่มีเงินเก็บ มารมาขวาง เร่งปฏิบัติต่อไปเถอะแล้วจะค่อย ๆดีเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2010
  4. ลุงมหา

    ลุงมหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,092
    ปฏิบัติธรรมแล้วแย่ หยุดปฏิบัติกลับดี

    ขออนุญาติครับ
    เคยอ่านมาหลายครังแต่เห็นว่ามีผู้รู้ตอบไปมากแล้วเลยข้ามไป
    โดยปรกติที่เราปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการสร้างบุญบารมีครับ แล้วที่เขาปฏิบัติกันไดันั้นก็เพราะปฏิบัติแล้ว เขาได้รับความสุขในความสงบ ซึ่งแม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่า "สุขเหนือความสงบไม่มี" เมื่อได้รับความสุขในความสงบแล้วก็จะตามด้วยความอิ่มเอมเปรมใจ เมื่อมีความอิ่มเอมเปรมใจอยู่แล้ว การแสวงหาความสุขด้านอื่นๆก็จะลดลง เป็นการขัดเกลาจิตใจตัวเองไปในตัว
    เมื่อเรามีความสุข ความอิ่มเอมเปรมใจ มันก็คือความอิ่มอกอิ่มใจ ซึ่งจะทำให้เราใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นสุข ถ้าคุณขัดสนคุณก็ไม่ต้องไปใช้จ่ายเงินทำบุญก็ได้ การเงินจะได้ไม่ขัดสน อาจจะช่วยแจกซองทำบุญแทน หรือจับแพะชนเกะเหมือนผม ขอพระสมเด็จเพื่อนไปถวายวัดเพราะเขาไปหาปล่อยใหนก็ไม่ได้ราคา
    แล้วมีคนเขามาขอเช่าทำบุญกับหลวงปู่ไป หนึ่งล้านบาท
    ถ้าคุณภาวนาไปอย่างเดียว เงินที่หาได้ก็ยังอยู่เท่าเก่านี่ครับไม่ได้หายไปใหน
    ความอิ่มเอมเปรมใจที่ได้ ก็จะทำให้การงานดีขึ้นเอง ก็คนมีความสุขนี่ครับทำอะไรก็ดีหมด
    หรือคุณไปรับของเดรฉานวิชามาไว้ที่บ้าน พอปฏิบัติมันก็ไปเบียดเบียนเขาก็เลยแย่ พอเลิกปฏิบัติก็เลยดี
    หรือคุณไม่ได้สวดพระคาถาดีๆเช่น พระคาถาชินบัญชร พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นต้น
    ถ้าเราไม่เหลือกินเหลือใช้ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องควักเงินทำบุญก็ได้ อนุโมทนาเอาก็ได้ ธรรมก็เหมือนกัน ถ้าเรายังไม่เก่งพอ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปสนทนาธรรมกับใคร เอาไว้แน่ใจก่อนว่าปฏิบัติดีปฏิบัติถูก แล้วค่อยว่ากันใหม่ ก็พวกแสดงภูมิปัญญาอยู่แถวๆนี้ละครับ เห็นแต่ละท่านมีความรู้มากมายแบกหามสัญญามาจนหลังแอ่น แล้วก็บอกว่าเป็นนักปฏิบัติ
    ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
    ตอบไม่ชัดเจนอย่างไรก็ถามมาใหม่ได้
    ขอบคุณครับ
    ลุงมหา
     
  5. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    โดยปกติ หากได้ปฏิบัติธรรม มักทำให้ชีวิตดีขึ้น

    จากประสบการณ์ส่วนตัว ก็เป็นเช่นนั้น

    ที่ว่าดีขึ้น ไม่ได้หมายถึงว่า ต้องมีอำนาจวาสนาโชคลาภมากมาย

    แต่หมายถึงว่า จิตเราเรียนรู้ที่จะเข้าใจโลกตามความเป็นจริง

    เมื่อมีสิ่งไม่ดีมากระทบ สติปัญญาจะตามรู้แล้วพิจารณาเพื่อให้ใจเบาขึ้น ไม่กลัดกลุ้มเร้าร้อนกับมันมากนัก

    ส่วนเรื่องดีดี มันก็เกิดขึ้นตามมาเองอย่างน่าประหลาดใจ

    ขอให้มีศรัทธาในธรรม ทำแล้วได้ดีแน่นอน...
     
  6. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    ช่วงที่ผมปฏิบัติธรรมใหม่ๆ ทาน ศีล ภาวนา ไม่ขาด สวดมนต์ทำวัตร

    เช้าเย็นทำมาได้เกือบปี ถูกฟ้องร้องให้ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน(ผู้กู้

    ไม่รับผิดชอบ) 3 รายซ้อนในปีเดียวกัน แต่เป็นเรื่องที่แปลก จิตใจไม่ได้

    ทุกข์มาก คิดว่าใช้เขาไป เงินทองตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ทำใจได้ และก็

    ปฏิบัติภาวนามาเรื่อยๆ เพราะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ใจ

    และขอให้คิดเป็นหลักเลยว่า ..ทำดี ดี ..ทำชั่ว ชั่ว

    อย่าไปตั้งความหวังว่าทำดี ต้องได้สิ่งตอบแทน เสมอไป

    กฏแห่งกรรมมีความซับซ้อนมาก ไม่สามารถรู้ และเข้าใจได้ง่ายๆ

    ให้ดูใจเราเป็นหลัก เมื่อทำความดีทั้งกายและใจ

    ท่านจะสัมผัสสิ่งที่เรียกว่าบุญได้ ด้วยใจของท่านเอง


    อนุโมทนา ครับ..<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2010
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ต้องแยกการสร้างเหตุกับ ผลวิบาก ออกจากกันก่อน

    ผลวิบากที่เกิดกับเราย่อมเกิดจากเหตุในอดีต ไม่ได้เกิดลอยๆเกิดขึ้นเอง ผลจากการทุศีล ผลจากการมีร่างกาย ผลจากกามฉันทะ ตัณหาอุปทาน และเศษแห่งกรรมในอดีตนานนับหลายอสงไขยจนถึงปัจจุบันที่สะสมกันมาทั้งสิ้น พยายามพิจารณาเรื่องกรรมและวิบากกรรมด้วยส่วนนึง


    ส่วนเหตุในปัจจุบัน เรากำลังมีเจตนา สร้างเหตุ เมื่อทำเหตุถึงพร้อมทั้งทาน ศีล ภาวนา ผลย่อมเกิดที่ใจเกิดเป็นอริยะทรัพย์ภายในใจ ใครก็แย่งไปจากท่านได้ ไม่ว่าผลวิบากจากรูป จากวัตถุธาตุ จากบุคคลทั้งหลาย ย่อมมีใจที่สุขจากทาน ศีล ภาวนา ศรัทธาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เป็นหลักยึดมั่นของใจ ไม่ใช่ วัตถุธาตุทั้งหลายเป็นเครื่องยึดมั่นอย่างเดียวเฉกเฉ่นแต่ก่อนเก่า


    การปฏิบัติธรรมก็เพื่อละความยึดมั่นในวัตถุธาตุทั้งหลาย ละกิเลส ละตัณหา ละอุปทาน นำพาซึ่งความสุขใจ มิได้ปฏิบัติเพื่อไม่ยอมรับผลวิบากจากอดีต แต่เพื่อเข้าใจถึงความจริงของโลกธรรม มีใจที่สุขเหนือโลกธรรมที่เข้ามากระทบทั้งหลาย หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด แต่ส่วนเหตุที่เราทำดีในปัจจุบัน ย่อมส่งผลตามกาละเวลาอันเหมาะสม


    ผลวิบากที่กระทบย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หินลับสติ ปัญญา ให้คลายความหลงความพอใจใน วัตถุ ธาตุ โลกธรรมทั้งหลาย ถ้าตั้งสติพิจารณาหาเหตุ หาผล กลกรรม


    ถ้าท่านต้องการสิ้นทุกข์ดับเชื้อก็ขอให้ใช้สิ่งกระทบเป็นเครื่องสร้างบารมีเพื่อการหลุดพ้น เพื่อรู้ซึ่งทุกข์ที่หลงว่าสุข หาเหตุแห่งทุกข์ ยิ่งสิ่งกระทบหนักมากเท่าไหร่ บารมี และสติปัญญาย่อมแหลมคมและเพิ่มพูน พยายามมองโลกนี้เป็นดุจดังราชรถที่จะส่งท่านพ้นไปเสียจากวัฏฏะวน




    * กล่าวจากทิฐิและความคิดนึกส่วนตัว โปรดพิจารณาโดยแยบคาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 สิงหาคม 2010
  8. ฟ้ากั้น

    ฟ้ากั้น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +7
    แวะมาอ่านค่ะ แล้วจะแนะนำเพื่อนๆมาอ่านด้วย
     
  9. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    แปลกอ่ะ ไม่เคยได้ยิน สวดมนต์นั่งสมาธิแล้วย่ำแย่ น่าจะเป็นว่ามีปัญหาแล้วหาทางออก แก้ปัญหาได้มากกว่านะ หรือเวลาสวดมนต์คิดไม่ดีกับพระรัตนตรัยหรือเปล่า ผมก็เคยเป็นนะ ให้ขอขมาพระรัตนตรัยบ่อยๆ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่แปลกหลอก บางที่ก็มองได้ว่า เป็นโอกาสจะได้เห็นธรรม

    อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่า การเข้าหาธรรม แล้วจะต้องเจอ สุข เท่านั้น

    เจอ ทุกข์มากขึ้น นั้นก็มีเยอะไป

    เช่น

    พระปฏาจาราเถรี ที่โอกาสจะได้เห็นพระธรรม ก็ต้องประสบเคราะห์กรรม
    ตั้งมากมาย
     
  11. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ปฏิบัติแล้วทุกข์ เหตุแห่งทุกข์มากขึ้นไม่ดี
    ปฏิบัติแล้วทุกข์ เหตุแห่งทุกข์น้อยลงดี
    อนุโมทนากับกุศลจิตทุกท่าน
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย เหตุเพราะ จิตจะมีวิริยะได้ ย่อมอาศัยการเล็งเห็นทุกข์

    การเล็งเห็นทุกข์ใน สังเวควัตถุ 8 หรือ วิริยรัมภวัตถุ8

    สังเวควัตถุ 8 ได้แก่
    - ชาติทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีชาติไม่จบสิ้น

    - ชราทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการต้องมีชราเป็นที่สุด

    - พยาธิทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีโรคภัยเบียดเบียน

    - มรณทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีมรณะเป็นที่สุด

    - นิรยทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีคตินรกเป็นที่ไป

    - เปตติทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีคติเป็นเปรตเป็นที่ไป

    - อสุรกายทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีคตเป็นอสุรกายเป็นที่ไป(พวกอวดดี อวดฉลาด อวดทิฏฐิมานะ)

    - ดิรัจฉานทุกข์ คือ เล็งเห็นทุกข์อันเกิดจากการมีคตเป็นสัตว์เดรัจฉานเป็นที่ไป(พวกอ้างความรักในสัตว์ ,พวกหลงยึดความคิดความรู้ความฝุ้งความฝัน)


    วิริยรัมภวัตถุ8

    ๑. กมฺม เกี่ยวกับการงาน มีอยู่ ๒ อย่างคือ
    ก. การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำสำเร็จลุล่วงไปที่ละน้อย
    ข. การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะลงมือกระทำด้วยความพอใจ


    ๒. มคฺค เกี่ยวด้วยการเดินทางมีอยู่ ๒ อย่างคือ
    ก. การเดินทางที่เพิ่งมาถึง หรือ งานหนึ่งๆที่สำเร็จแล้วทั้งโครงงาน
    ข. การเดินทางที่จวนจะไปถึง หรือ งานหนึ่งๆที่จวนจะสำเร็จละล่วง


    ๓. เคลญฺญ เกี่ยวด้วยสุขภาพมี ๒ อย่างคือ
    ก. มีร่างกายที่เริ่มสบาย เป็นการเล็งเห็นว่า กายอันบริบรูณ์นี้ได้มาโดยยาก ให้รีบขวนขวาย
    ข. มีร่างกายที่เริ่มไม่สบาย เป็นการเล็งเห็นว่า กายอันนี้จวนจะแตกสลายแล้ว ให้รีบขวนขวาย


    ๔. บิณฺฑ เกี่ยวด้วยอาหารมี ๒ อย่างคือ
    ก. มีอาหารไม่สมบูรณ์ เป็นการเล็งเห็นว่า การได้อาหารมานี้แม้นมีน้อย พรุ่งนี้อาจไม่ได้มาอีกเลย ให้ทานแล้วรีบขวนขวายก่อนจะหมดแรงตายไป
    ข. มีอาหารบริบูรณ์ เป็นการเล็งเห็นว่า การได้อาหารมาอย่างบริบูรณ์ ก็ให้บริโภคอย่างรู้คุณค่า และแปรเป็นกำลังให้ถึงที่สุด [ เช่น พระมหาชนก ที่เลือกทานเนยนม ก่อนลงว่ายน้ำ ]

    สรุปคือ

    เราไม่ควรตั้งเป้าอย่างงมงายว่า ปฏิบัติแล้วทุกข์ อุปสรรค ขวากหนาม ต้องน้อยลง

    เราควรตั้งเป้าในการเล็งเห็นในทุกข์อย่างบัณฑิต อย่างผู้เข้าใจ ผู้พร้อมนำมา
    ปรารภความเพียร การก้าวข้ามทุกข์ได้เพราะเราเพียรมาอย่างไรจึงเป็นสิ่งที่
    ควรยกกล่าว ไม่ใช่การปรารภถึงการมีทุกข์น้อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2010
  13. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ถูกแล้วตามที่ท่านได้กล่าวมา และ
    หมายถึง
    ปฏิบัติแล้วไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ ไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วสะสมมากขึ้นไม่ดี

    จึงว่า
    ปฏิบัติแล้วทุกข์เหตุแห่งทุกข์มากขึ้นไม่ดีอย่างนี้
    ด้วยปฏิบัติแล้วยังไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์เป็นเหตุแห่งทุกข์อย่างแท้ จึงสะสมทุกข์เหตุแห่งทุกข์ได้มากต่ออย่างนั้น

    อุปมา
    บุคคลเมื่อรู้ภัย รู้เหตุแห่งภัย ย่อมถอยห่าง ย่อมอยู่ไกล ย่อมได้รับผลจากภัยนั้นน้อย ไม่มาก

    อนุโมทนา
     
  14. สีฆะสีฆัง

    สีฆะสีฆัง บุญเป็นเรื่องด่วนต้องรีบทำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +428
    ผมเคยเจอปัญหาถูกตามทวงหนี้แบบคุณนะ ยิ่งปฏิบัติยิ่งตามทวง แต่ผมก็ใช้ให้เขาไปเพราะถ้าผมมีศีล 5 ไม่บริสุทธิ์ ปฏิบัติธรรมไปก็ไม่ก้าวหน้า อาศัยใจสู้เพราะเป็นเวรกรรมที่เราทำมาเอง สร้างหนี้มาเองก็ต้องใช้หนี้เอง เขาตามทวงหนี้ผมก็ตามใช้หนี้แถมยังต้องใช้หนี้ให้ญาติเราอีกด้วยเพราะเราไปค้ำให้ แล้วธรรมะก็ช่วยทำให้ผมเกิดปัญญาหาเงินมาใช้หนี้ได้หมดถึงจะไม่ได้เป็นเงินก้อน แต่ผมก็ผ่อนส่งไปจนหมดหนี้อ่ะครับ ทุกวันนี้จึงสบายใจมากขึ้นว่าเราไม่ผิดศีลข้อ 2 จึงไม่ต้องกลัวใครมาลักขโมยฉกชิงวิ่งราวทรัพย์ของเรา(แต่ก็ไม่ประมาทครับ) เด๋วนี้ผมจึงเริ่มเก็บเงินอยู่แบบพอมีเหลือบ้าง(เล็กน้อย)ตามประสาคนยากอ่ะครับ

     
  15. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    กิเลส ตัณหา อุุปทาน ความดิ้นรนปรุงแต่งทั้งหลาย เป็นตัวทุกข์ เป็นเหตุแห่งทุกข์
    ปฏิบัติแล้วทุกข์มากขึ้น เหตุแห่งทุกข์มากขึ้นไม่ดี
    ปฏิบัติแล้วทุกข์น้อยลง เหตุแห่งทุกข์น้อยลงดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...