ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม เหตุแห่งวิปัสนูปกิเลส

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 4 กรกฎาคม 2020.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,647
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    LpPramojPramocho.jpg
    ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม เหตุแห่งวิปัสนูปกิเลส
    หลวงพ่อปราโมทย์ : ในการปฏิบัติมีตั้งหลายแบบ พระอานนท์สอนเอาไว้มี ๔ แบบ สมาธินำปัญญา ปัญญานำสมาธิ สมาธิและปัญญาควบกัน จริงๆแล้วมี ๓ แบบ แบบที่ ๔ เนี่ย เป็นพวกที่ภาวนาแล้วไปติดความว่าง แบบที่ ๔ ท่านเลยสอนบอกว่า พวกที่มีธัมมุทธัจจะ หมายถึงมีอุทธัจจะในธรรมะ พวกฟุ้งซ่านในธรรมะ

    ฟุ้งซ่านในธรรมะนั้นมี ๑๐ แบบ คือ วิปัสนูฯนั่นเอง (วิปัสสนูปกิเลส – ผู้ถอด) วิปัสนูฯพวกหนึ่งที่พวกเราเริ่มเป็นเยอะขึ้นนะ คือไปติดในว่างๆ ติดในความสว่าง ความว่าง ตัวนี้ท่านเรียก โอภาส ติดโอภาส สว่าง ว่าง สบาย มีแต่ความสุขนะ

    ท่านบอกว่าเบื้องหลังของมันก็คือ ความฟุ้งของจิต ฟุ้งซ่านแบบไหน เวลาภาวนาไปแล้วว่าง เหมือนจิตสงบนะ ฟุ้งตรงที่จิตไม่อยู่ที่ฐาน จิตส่งออกไปนั่นเอง เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เพราะฉะนั้นพวกเราภาวนาแล้วว่างอยู่อย่างนี้ ใจไปเกาะแล้วว่าง พวกนี้เสร็จเลย

    หรือบางคนนะ ไปสอนดูจิต สอนให้ดูแล้วน้อมเข้าหาความว่างเนี่ย เยอะมากนะ ช่วงหลังๆเนี่ย พวกเราเรียนๆไปแล้วเที่ยวไปเรียนที่โน่นที่นี่ เลอะเทอะนะ ไปติดสมถะ ไปติดอยู่ในภพว่างๆ ตัวนี้จริงๆแล้วเป็นวิปัสนูฯอันหนึ่ง เป็น ๑ ใน ๑๐ ของวิปัสนูฯ คือเห็นสภาวะเกิดดับแล้ว แต่เห็นแล้วจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานนี้ หลวงพ่อเรียกว่าจิตไม่ถึงฐาน ในพระไตรปิฎกเรียกว่า อุทธัจจะ หลวงปู่ดูลย์ท่านว่าจิตออกนอก จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปจับความโล่ง ความว่าง ความโปร่ง ความสบาย แล้วก็ไปสบายอยู่อย่างนั้น หลายวันก็ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น ตอนนี้ชักเยอะนะ พวกที่สอนดูจิตน่ะ สอนมาสู่ตรงนี้เยอะมากเลย เพราะตัวเองผ่านไม่เป็น หัดดูเห็นสภาวะเกิดดับได้นิดๆหน่อยๆ แล้วเกิดวิปัสนูฯนะ แล้วมันอยากสอน

    นี่ยังค่อยยังชั่ว บางคนเขาก็แก้ผ่านมาได้ บางคนเป็นหนักนะ ถึงขนาดคิดว่าเป็นพระอรหันต์ วันก่อนมาท่านหนึ่ง ก็ใช้ได้แล้ว มาสารภาพกับหลวงพ่อเลยว่า ไม่ใช่แล้ว หลวงพ่อก็บอกว่า หลวงพ่อก็ห่วงอยู่นะ หลวงพ่อก็บอกไปหลายทีแล้วว่าไม่ใช่แล้ว ไปติดอยู่ในว่าง เกาะอยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่มีกิเลสเลย

    ไม่มีกิเลสเพราะอะไร เพราะว่ามองไม่เห็นกิเลส ทำไมมองไม่เห็นกิเลส จิตขณะนั้นมีอุทธัจจะ จิตมันฟุ้งไปในธรรมะ ฟุ้งไปในหลายอย่างนะ ฟุ้งไปในปีติก็ได้ ปีติมาก วุ้ย..เจอแล้วดื่มด่ำ จิตมันไหลไปเคลิ้มในปีติ นั่นก็เป็นวิปัสนูฯ ๑ ใน ๑๐ นะ

    น้อมไปอยู่ในความสว่าง คือโอภาส โล่ง สบาย ก็เป็นแบบหนึ่ง น้อมไปเดินปัญญานะ ฟุ้งไปในปัญญา นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง มีหลายแบบนะ พวกหนึ่งน้อมไปในทางทำความเพียร เดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ กิเลสไม่เกิดเลย หรือนั่งสมาธิหามรุ่งหามค่ำ นี่ก็เป็นวิป้สนูฯอย่างหนึ่ง

    วิปัสนูฯมี ๑๐ อย่าง ไปหาอ่านเอา หลักมีอันเดียวคือจิตไม่ตั้งมั่น เรียกว่า ธัมมุทธัจจะ ธรรมะ-อุทธัจจะ สนธิกันเรียกว่า ธัมมุทธัจจะ ฟุ้งไปในธรรมะ ๑๐ ประการ จิตไม่ตั้งมั่น

    พระอานนท์ท่านบอกว่า ถ้ารู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่น ตรงนี้บอกเป๊ะเลย แต่เดิมหลวงพ่อพูดปาวๆนะ เราพูดจากประสบการณ์ พอไปเจอตำรา เหมือนกันเปี๊ยบ ท่านบอกว่า ถ้ารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่น แล้วอริยมรรคจะเกิด จะเดินไปสู่อริยมรรคต่อได้ แต่ถ้าลงไปนอนแช่ ฟุ้งไปอยู่ข้างนอกแล้ว จิตไม่ถึงฐาน อริยมรรคไม่เกิดหรอก เนี่ยปริยัติปฏิบัตินะ ตรงกันเด๊ะๆ เป๊ะเลย
    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
    แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
    เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

    :- http://www.dhammada.net/2013/01/19/19292/

    วิปัสสนูปกิเลส
    วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ

    • โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)
    • ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้
    • ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ
    • ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น
    • สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ
    • อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ
    • ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี
    • อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด
    • อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง
    • นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ
    เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่างๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เกิดเป็นวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (หรือตรุณวิปัสสนา เช่น ในช่วงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) ในช่วงนี้ก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา

    วิปัสสนูปกิเลสทั้งสิบนี้ เป็นภาวะที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิด คิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึดเอาคิดว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นเป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้นก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป คือพลาดทางวิปัสสนา แล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

    แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดได้ว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้นไม่ใช่ทาง รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป
    ความยึดถือวิปัสสนูปกิเลส
    อุปกิเลสแห่งวิปัสสนานี้มี ๑๐ อย่าง แต่ละอย่างมีความยึดถือได้อย่างละ ๓ แบบ (รวมเป็น ๓๐) ได้แก่

    • ทิฏฐิคาหะ หมายถึง ยึดถือด้วยทิฏฐิ เช่น ยึดถืออยู่ว่า "โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้ว"
    • มานคาหะ หมายถึง ยึดถือด้วยมานะ เช่น ยึดถืออยู่ว่า "โอภาสน่าพึงพอใจจริงหนอ เกิดขึ้นแล้ว"
    • ตัณหาคาหะ หมายถึง ยึดถือด้วยตัณหา เช่น ชื่นชมโอภาสอยู่
    • :- https://th.wikipedia.org/wiki/วิปัสสนูปกิเลส



     

แชร์หน้านี้

Loading...