ตีสิบ 3 ก.ย. 56 ดอกบัวคู่ และ เณรคำ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย hmu111, 4 กันยายน 2013.

  1. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    คนห่มเหลืองผู้ใดที่ยืมเงินน้องคนหนึ่งไปเติมค่าน้ำมันรถเป็นจำนวนเกิน 300 บาท แล้วบอกว่าจะคืนให้ แต่ภายหลังบอกว่า "คิดว่าทำบุญไปนะ" น้องเค้าไม่ได้เต็มใจจะให้ แต่พูดไม่ออก ท่านคิดว่า ท่านยังเป็นพระอยู่หรือไม่

    rabbit_run_awaydannce_​
    การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม

    ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง เป็นพระปลอม
     
  2. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    โทษ ๕ ประการ ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ ชอบติเตียนพระอริยเจ้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุใดชอบด่า
    ชอบบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
    ชอบติเตียนพระอริยเจ้า

    ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
    ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ
    เธอย่อมต้องอาบัติปาราชิก
    ขาดทางบรรลุโลกุตรธรรม ๑
    ย่อมต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างอื่น ๑
    ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑
    ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุใดชอบด่า
    ชอบบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
    ชอบติเตียนพระอริยเจ้า
    ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล ฯ

    อักโกสกสูตร
    พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๒๒๖/๔๐๗ ข้อที่ ๒๑๑ — กับ อริยสัจ จากพระโอษฐ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493


    เราเจอคนห่มเหลืองคนเดียวกันนะ
     
  4. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    พระขอเกินพอดี

    ผู้ถาม – เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ลูกและสามีได้ไปรู้จักวัดแห่งหนึ่ง ได้ไปทำบุญบ่อย ถวายปัจจัยและกระเบื้องมากพอสมควร เมื่อก่อนก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ไปที่วัดร่มเย็นสงบดี แต่ระยะหลังหลวงพ่อที่นั่นมักจะให้สามีของลูก ซื้อกระเบื้องจะปูโบสถ์ว่าต้องการเท่าไร ใจของลูกก็อยากทำบุญ แต่ต้องการทำด้วยความเต็มใจ บางอย่างที่อยากทำมากกว่าที่จะมาบอก ให้ออกค่ากระเบื้องจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ให้ออกให้ด้วย ซื้อของมาแล้วและให้ไปจ่ายเงินด้วย และบางครั้งเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลก็โทร.มาบอกให้ลูกไปเสียเงินให้ทุกครั้ง บางทีก็ขอให้เอาเงินตามจำนวนที่บอก ให้เอาเข้าบัญชีธนาคารให้ด้วย ตามที่ท่านโทร.บอกมาล้วนแล้วแต่ไม่ใช่เรื่องของวัดเลย ท่านจะโทร.ให้ช่วยทุกครั้งไป ที่ท่านมาบอกสามีของลูก เวลาลูกและสามีได้ถวายปัจจัยทุกครั้งไป จะได้บุญหรือบาปค่ะ ลับหลังท่านแล้วใจไม่อยากทำเลย แต่เวลาท่านมาบอกใจอ่อนทุกครั้ง หรือว่าพระองค์นี้ท่านมีคาถาเป่าให้เราใจอ่อนเจ้าคะ "

    หลวงพ่อ - (หัวเราะ) เอาแล้ว ๆ ว่าไม่ได้ ฉันต้องไปเรียนกับท่านบ้างแล้ว กำลังจะหาครูอยู่เชียว ความจริงก็...เอ๊ะ! ชักสงสัยเหมือนกันนะ ถ้าพระขอเกินพอดีนี่ ไม่ใช่ลีลาของพระ ฉันก็สงสัยนะ เพราะพระจริง ๆ พระพุทธเจ้าท่านห้ามขอ การขอต้องขอด้วยอาการดุษณีภาพ ถ้าพูดไปเขา เกิดศรัทธาเอง เขาให้เท่าไรพอใจเท่านั้น ใช่ไหม..
    ก็เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าบอกว่า พระต้องทำตัวอย่าง พระโมคคัลลาน์ พระโมคคัลลาน์ทำตัวอย่างแมลงภู่ แมลงภู่ต้องการส้ำหวานจากเกสร ไม่ทำเกสรให้ชอกช้ำฉันใด พระโมคคัลลาน์จะไปที่ไหนก็ตามคนเขาให้ ให้ด้วยศรัทธาแท้ท่านไม่ขอ ถ้าการออกปากขอ ฉันว่าไม่ใช่จริยาของพระ อันนี้ไม่ควรอย่างยิ่ง ลีลาพระไม่ควรจะออกปากขอ มันเป็นการทำลายศรัทธา พระที่ออกปากขอถ้ามีในสำนักของฉัน ไม่ช้าฉันอัปเปหิหมด มันไม่ได้ ต้องให้เขาเกิดศรัทธาเอง ถ้าเขามีศรัทธาเองเขาให้ เป็นเรื่องของเขาใช่ไหม.. เขาอยากจะทราบราคาอันนี้ เราบอกเขาได้ ไม่ใช่ไปเน้นว่า ต้องเอายังงั้นยังงี้ ใช่ไหม..
    ฉันชักสงสัยว่าเป็นพระนิกายไหน นิกายขอละมั้ง มันจะซวย ก็พิจารณาเองก็แล้วกันนะ ผู้ให้ถ้าให้ด้วยศรัทธาก็ไม่เป็นไร ถ้าให้ด้วยศรัทธาต่อมามาเสียดายทีหลัง อานิสงส์มันด้วนไปหน่อย คือว่าการให้มีอานิสงส์ครบ ๑.ก่อนจะให้เต็มใจจะให้ ๒.ขณะให้ก็ให้ด้วยความเต็มใจ ๓.ให้แล้วมีความเลื่อมใส ครบเจตนา ๓ ประการ ถ้าครบอย่างนี้มีอานิสงส์เลิศ ถ้ามันขาดเจตนาจุดใดจุดหนึ่ง อานิสงส์ได้เหมือนกันแต่ลดน้อยลงไป
    การเอ่ยปากขอนี่ไม่ถูกสมณวิสัยนะ ถ้าพูดปรารภให้ฟังของราคาเท่านี้ ๆ ถ้าเขาเต็มใจจะทำเองเขาให้ อันนี้ไม่เป็นไร ถ้าขอ..อันนี้คุณต้องเอาไปนะ นี่เป็นการบังคับศรัทธา นี่น่ากลัวจะบาปนะ พระ อยากได้อย่างนั้นอยากได้อย่างนี้ คุณรับไปทีนะ ต้องการนั้นต้องการนี้ อันนี้มันรบกวน แต่ว่าสิ่งที่เรามีความต้องการจริง ๆ มีความจำเป็นมาก เราปรารภกันเขาจะให้หรือไม่ให้นั่นมันอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็ไม่ควรจะเจาะจงเฉพาะบุคคลนะ"

    ผู้ถาม – พระองค์นี้เมื่อมาถึงที่บ้าน ตอนกลางคืนขึ้นบ้านเอง โดยที่เราไม่ได้นิมนต์ขึ้นไปบนบ้าน ตรงเข้าห้องพระเลย อย่างนี้จะผิดศีลไหมคะ "
    หลวงพ่อ - ก็ยังไม่ผิด เพราะยังไม่ได้ขโมยของนี่ ถ้าโดยมรรยาทพระก็ผิดมากทีเดียว ถ้าโดยศีลยังไม่ขาดนะ"

    หลวงพ่อฤษีตอบปัญหาธรรม เล่ม 9
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2013
  5. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    ผมหมดความโกรธแล้ว


    ใกล้ฤดูเข้าพรรษา หลวงพ่อชาเดินธุดงค์มาถึงวัดป่าแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในป่าช้า เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีพระหลวงตาพำนักอยู่กับพระลูกวัดหลายรูป

    วันนั้น เมื่อกล่าวธรรมปฏิสันถารกันพอสมควร หลวงตาสมภารวัดปรารภถึงภูมิจิตกับตัวเองว่า "ผมหมดความโกรธแล้ว"

    หลวงพ่อชารู้สึกแปลกใจมาก เพราะคำพูดเช่นนี้ไม่ค่อยได้ยินใครกล่าวบ่อยนักในหมู่ผู้ปฏิบัติ จึงอยากพิสูจน์ให้รู้ชัด และช่วงนั้นจวนเข้าพรรษาแล้ว หลวงพ่อตัดสินใจขอจำพรรษาด้วย

    แต่ไม่ง่ายเสียทีเดียว หลวงตาไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ เหมือนกัน เพราะหลวงพ่อเป็นพระ แปลกหน้า และยังจรมาผู้เดียว ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าจะมาดีหรือร้ายอย่างไร หลวงตากับพระ ลูกวัดจึงปฏิเสธไม่ยอมให้พำนักด้วย แต่ผ่อนผันให้ไปจำพรรษาที่ป่าช้านอกเขตวัด

    ครั้นถึงวันเข้าพรรษา หลวงตาให้พระไปนิมนต์หลวงพ่อมาจำพรรษาด้วย เพราะได้รับคำทักท้วงจากพระรูปหนึ่งว่า "พระมีพรรษามากขนาดนี้ ให้จำพรรษานอกเขตวัดเห็นจะไม่เหมาะ บางทีท่านอาจเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ได้ ไม่ควรประมาท" แม้จะได้ร่วมจำพรรษาในสำนัก แต่หลวงตากับลูกศิษย์ก็ตั้งกติกากีดกันหลวงพ่อไว้ หลายอย่างคือ

    -ไม่ให้รับประเคนของจากโยม ต้องคอยรับจากพระรูปอื่นส่งให้
    -ไม่ให้ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ให้บอกปริสุทธิเท่านั้น
    -เวลานั่งฉันอาหาร ให้นั่งต่อท้ายพระพรรษาน้อยที่สุดของสำนัก

    กติกาทั้งสามข้อนี้ หลวงพ่อยินดีปฏิบัติตามทุกอย่าง แม้ท่านจะมีพรรษาสิบแล้วก็ตาม ท่านกลับพิจารณาน้อมเอาประโยชน์จากข้อกีดกันนั้น โดยให้คติแก่ตนเองว่า "หลวงตากับคณะ กำลังทดสอบเรา และการนั่งหัวแถวหรือท้ายแถว ก็ไม่แปลกอะไร เหมือนกับเพชรนิลจินดา จะ วางไว้ที่ไหนก็มีคุณค่าเท่าเดิม และการปฏิบัติตามกติกานี้ จะช่วยลดทิฐิมานะของเราให้เบาบาง ลงด้วย"

    การจำพรรษาร่วมกับหลวงตา ผ่านไปด้วยความสงบ เพราะหลวงพ่อชาวางความรู้สึกนึกคิด ได้ถูกและเป็นปกติ จึงพากเพียรภาวนาอย่างสม่ำเสมอ พยายามพูดน้อย เมื่อได้ยินใครพูดสิ่งใด ก็น้อมมาพิจารณาเป็นปัญญาแก้ไขตัวเอง และเฝ้าสังเกตเลือกเอาแต่สิ่งที่ดีงามจากข้อวัตรปฏิบัติ ที่มีอยู่ในสำนัก เพื่อถือเอาเป็นบทเรียน

    ขณะเดียวกัน หลวงตาและคณะก็จับตามองหลวงพ่ออย่างไม่ให้คลาดสายตาเช่นกัน แต่ ท่านวางเฉย ไม่แสดงกิริยาอาการใดๆ โต้ตอบ กลับคิดขอบคุณเขาว่า "เขาช่วยไม่ให้เราเผลอไปประพฤติบกพร่อง เปรียบเหมือนมีคนมาช่วยป้องกันความสกปรก ไม่ให้แปดเปื้อนแก่เรา"

    ในพรรษานั้น หลวงพ่อชาทำความเพียรภาวนาสม่ำเสมอ เคารพกฏกติกาอย่างไม่บกพร่อง พระเณรร่วมสำนักเริ่มยำเกรงท่านมากขึ้น

    เช้าวันหนึ่ง ชาวบ้านนำข้าวหมากมาถวาย หลวงตากับพระลูกวัดทุกรูปฉันกันอย่าง เอร็ดอร่อย ส่วนหลวงพ่อเพียงแต่รับประเคนแล้ววางไว้ข้างๆ หลวงตาสังเกตดูอยู่จึงถามว่า
    "ท่านชา ไม่ฉันข้าวหมากหรือ... ทำไมล่ะ ?"
    "ไม่ฉันครับ... ผมว่ากลิ่นและรสมันไม่เหมาะแก่พระเท่าไหร่"
    หลวงตาได้ฟังก็หน้าเสีย... ฉันอาหารแทบไม่รู้รส

    อยู่ต่อมาวันหนึ่งในกลางพรรษา หลวงตาพาพระเณรลงเรือไปเก็บฟืนมาไว้ใช้ เมื่อถึงไร่ร้าง ริมน้ำ พระลูกวัดพากันขึ้นไปขนฟืนมากองไว้ที่ฝั่งห้วย หลวงพ่อทำหน้าที่ขนลงเรือ

    ขณะจัดเรียงฟืน หลวงพ่อสังเกตเห็นไม้พะยุงท่อนหนึ่ง มีรอยถากเป็นทรงกลมยาว ประมาณ 2 เมตร ท่านคิดว่าไม้ท่อนนี้ต้องมีเจ้าของแน่ หากขนลงเรือจะมีความผิดเป็นการลักทรัพย์ ทำให้ขาดจากการเป็นพระได้ จึงไม่ยอมแตะต้อง พอได้เวลาจวนกลับ หลวงตาเดินมาถึง เห็นไม้ท่อนนั้นถูกทิ้งอยู่ริมตลิ่ง จึงร้องถามว่า
    "ท่านชา... ทำไมไม่ขนไม้ท่อนนี้ลงเรือ ?"
    "ผมเห็นว่าไม่เหมาะครับ มันคงมีเจ้าของ เพราะมีรอยถากไว้"

    เมื่อหลวงพ่อตอบเช่นนี้ หลวงตาชะงักงันอยู่ชั่วครู่ แล้วจึงแกล้งร้องบอกแก้เก้อให้พระเณร รีบลงเรือ โดยทิ้งไม้ท่อนนั้นไว้ริมฝั่งนั่นเอง
    ความผิดพลาดของหลวงตา ผู้มีทีท่าว่าเป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัดส่งเสริมให้คุณค่าของ หลวงพ่อสูงขึ้นตามลำดับ เพราะหลวงพ่อไม่ซ้ำเติม หรือดูหมิ่นเหยียดหยามใคร กลับเก็บตัว ภาวนาอยู่เงียบๆ เช่นเดิม

    หลังจากนั้นหลายวัน ชาวบ้านมาเผาข้าวหลามข้างโรงครัว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกุฏิหลวงพ่อ หลวงพ่อกลับจากบิณฑบาตก็ขึ้นกุฏินั่งพักผ่อน สักครู่หนึ่งเห็นหลวงตาเดินผ่านไปทางโรงครัว ขณะนั้นไฟลุกไหม้กระบอกข้าวหลามจนเกรียม เพราะไม่มีใครคอยพลิกกลับ หลวงตามองซ้ายมองขวานึกว่าไม่มีใครเห็น จึงพลิกกระบอกข้าวหลามเสียเอง หลวงพ่อนั่งอยู่ที่หน้าต่างจึงเห็นการกระทำนั้น

    ครั้นถึงเวลาฉัน ชาวบ้านนำข้าวหลามมาถวาย พระเณรฉันกันหมด แต่หลวงพ่อรับแล้ว วางไว้เฉยๆ หลวงตาฉันไปได้สักพัก ก็เหลือบตาสำรวจกิริยาการขบฉันของลูกศิษย์ตามความเคยชิน แต่สายตาต้องสะดุดหยุดลงทันที เพราะเห็นหลวงพ่อไม่ยอมฉันข้าวหลาม จึงถามเบาๆ ว่า "ท่านชา ฉันข้าวหลามหรือเปล่า ?"
    "เปล่าครับ" หลวงพ่อตอบ
    คราวนี้หลวงตาถึงกับสะอึก แล้วพูดอย่างอายๆ ว่า "ผมต้องอาบัติแล้ว" (พระจับอาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ถ้าของที่จับยังไม่เคลื่อนที่ต่อมา มีคนมาประเคน ในภายหลัง หากพระผู้จับฉันอาหารนั้นเป็นอาบัติ ส่วนพระรูปอื่นฉันได้ แต่ถ้าทำให้ของเคลื่อนที่ไป แม้มีผู้มาประเคนใหม่ หากพระรับมาฉันก็เป็นอาบัติด้วยกันทุกรูป)
    หลวงตานึกรู้ทันทีว่า หลวงพ่อต้องเห็นตนพลิกกระบอกข้าวหลามแน่ จึงสารภาพผิดออกมา ครั้นฉันอาหารเสร็จ หลวงตาเข้ามาขอแสดงอาบัติด้วย แต่หลวงพ่อพูดว่า "ไม่ต้องก็ได้ ครับ ให้พยายามสำรวมระวังต่อไป"

    หลวงตากับพระเณรรู้สึกทึ่ง และนึกนิยมในอัธยาศัยของหลวงพ่อมากขึ้น ทั้งที่พวกตน พยายามกีดกันรังเกียจด้วยความไม่ไว้ใจ แต่พระอาคันตุกะรูปนี้ กลับหนักแน่นและใจสูงยิ่งนัก จึงตกลงกันว่าให้ล้มเลิกกติกากีดกันนั้น
    แต่หลวงพ่อตอบด้วยนิสัยที่เคารพต่อกฎระเบียบว่า "ทำอย่างนั้นคงไม่เหมาะครับ ขอให้ถือ ตามกติกาเดิมที่ตั้งไว้ดีกว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยต่อไป ต่อจากนั้นมา พระทุกรูปได้ให้ความสำคัญ และเคารพยำเกรงต่อหลวงพ่อมาก ความรู้สึกอคติ ที่มีต่อกันถูกทำลายลงด้วยคุณธรรม

    แล้ววันหนึ่ง กาลเวลาได้พิสูจน์คำพูดของหลวงตาที่ว่า "ผมหมดความโกรธแล้ว" ให้ได้ ประจักษ์ข้อเท็จจริงขึ้นมาดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ศีล (ความประพฤติ) จะพึงรู้ได้ เมื่ออยู่ ร่วมกันนาน ๆ"

    ท้ายพรรษา พายุฝนพัดกระหน่ำติดต่อกันหลายวัน ท้องทุ่งนาแปรสภาพเป็นทะเลสาบ ขนาดย่อม ชาวบ้านต่างเดือดร้อนกันทั่วหน้าและวุ่นวายไปถึงวัวควาย เพราะไม่มีที่อยู่และหญ้า จะกิน

    วัดหลวงตาตั้งอยู่ที่บนดอน จึงรอดพ้นจากภัยน้ำท่วม วัวควายของชาวบ้านจึงมุ่งหน้า มากินหญ้าริมรั้ววัดประทังชีวิต บางตัวกินเพลินหลงเดินลึกเข้าเขตสำนัก หลวงตาไม่ชอบใจ จึง ให้พระเณรไล่ออกไปบ่อย ๆ

    เจ้าวัวน่าสงสารตัวหนึ่งถูกไล่ต้อนออกไปแล้ว แต่ด้วยความหิวจึงยื่นคอลอดรั้วกลับเข้า มากินหญ้าอีก หลวงตาซึ่งถือไม้รอท่าอยู่แล้วก็ตรงรี่เข้าไปตีวัวหลายที วัวตัวนั้นร้องด้วยความ เจ็บปวด รีบมุดหัวกลับไป แต่กว่าจะหลุดไปได้ ก็ลิ้มรสไม้ตะพดหลวงตาเสียหลายตุ๊บ

    หลวงพ่อชายืนดูอยู่เงียบ ๆ นึกสงสารวัวอย่างจับใจ เพราะสิ่งที่พวกมันควรได้จากวัด คือ ความสุขจากเมตตาจิตของสมณะ แต่นี่กลับเป็นความไร้น้ำใจจากนักบวชผู้ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า "เราหมดความโกรธแล้ว!"


    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.5 KB
      เปิดดู:
      58
  6. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    อนุโมทนาสาธุ กับหลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านเป็นพระสงฆ์ที่น่าศรัทธาอย่างยิ่ง
     
  7. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    คนห่มเหลืองบางคน แค่จะบูชาพระจากวัดอื่นยังลักลอบเปลี่ยนพระที่จะบูชา ทั้งที่ยังไม่ได้ขออนุญาตใคร ทำได้อย่างไร....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...