ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตลาด IPO ในเอเชียหดตัวลง -73% !
    มูลค่าเสนอขายหุ้นและจำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียนกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในปีนี้เพราะ ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเศรษฐกิจชะลอตัว และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (โดยเฉพาะในจีนที่ Start Up ต้องหนีไป IPO ในต่างแดน)

    Asia's IPO market trails U.S. and Europe as proceeds plunge 73%

    India tops global listings in first half of year, buoyed by strong economy

    https://asia.nikkei.com/Business/Ma...PWbNSf8a8xwhL2dNBI_aem_MAfpk4r4mX0BizyY8Vq3VA

    https://www.facebook.com/share/p/EuYrpS6nbj7Zd7oh/?mibextid=oFDknk
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    1️⃣
    การเปิดบริษัทใช้เงิน 6,650 บาท ในการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งโดยปกติสำนักงานบัญชีจะคิดค่าบริการการจดบริษัทประมาณ 10,000 ถึง 15,000 บาท ซึ่งในยอดนี้จะรวมค่าธรรมเนียมกระทรวงพาณิชย์ ค่าจัดการเอกสาร ค่ากรอกเอกสาร ค่าเดินทางเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

    2️⃣
    ระยะเวลาในการจดจัดตั้งบริษัทใช้เวลาเพียง 1-7 วัน ใช่ค่ะบางกิจการใช้เวลาเพียง 1 วันเท่านั้น ตั้งชื่อบริษัทให้เรียบร้อยเตรียมเอกสารให้ครบ กรอกข้อมูล เซ็นเอกสาร ถ้าเตรียมทุกอย่างทันวันรุ่งขึ้นสามารถขอยื่นจดที่กระทรวงพาณิชย์ได้เลย บางท่านทำออนไลน์ก็สะดวกค่ะ 1 วันจบ

    3️⃣
    การเลิกบริษัท ค่าธรรมเนียมในการจ้างสำนักงานบัญชี เพื่อแจ้งเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์ และชำระบัญชี ปิดกิจการค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000-40,000 บาท

    4️⃣
    กรณีที่บริษัทเปิดมานานตัวเลขในงบการเงินของลูกค้าจะมีตัวเลขที่จำนวนมาก เช่น

    สินทรัพย์ :
    ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ยานพาหนะ
    ต้องมีการขายออกสินทรัพย์เหล่านี้ เมื่อขายออกต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

    หนี้สิน :
    หากมีหนี้สินกับธนาคารต้องชำระให้ครบเต็มจำนวนก่อน หากมีหนี้สินการค้าจะต้องเจรจาและชำระหนี้สินเช่นกัน

    กำไรสะสม:
    หลักการของกำไรสะสมคือเมื่อเปิดมาหลายปีแล้วที่ผ่านมามีกำไร กำไรเหล่านั้นจะถูกโอนเข้าบัญชีกำไรสะสม เพื่อรอปันผล แต่ถ้าหากไม่เคยปันผล เลขบัญชีกำไรสะสมก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆค่ะ

    5️⃣
    การจะปิดบริษัทจะต้องมีการชำระบัญชีให้เป็นศูนย์ทุกรายการ ดังนั้นตัวเลขในงบการเงินต่างๆจะต้องเคลียร์ทั้งหมดให้เป็นศูนย์ ซึ่งแน่นอนหากมีสินทรัพย์ก็ต้องทำการจำหน่ายสินทรัพย์และสินทรัพย์ไหนที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มก็ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ส่วนบัญชีกำไรสะสมก็ต้องมีการจัดสรรเพื่อปันผลและนำส่งหัก ณ ที่จ่าย 10%

    6️⃣
    ยกตัวอย่างการคำนวณ

    เครื่องจักรมูลค่า 1 ล้านบาท
    ยานพาหนะมูลค่า 2 ล้านบาท
    จำหน่ายในราคา 3 ล้านบาท
    ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
    = 210,000

    กำไรสะสม 25 ล้าน
    ต้องดำเนินการปันผล
    นำส่งหัก ณ ที่จ่าย 10% ของ 25 ล้าน
    = 2,500,000

    #รวมทั้งสิ้น
    จ้างปิดงบการเงิน
    40,000 บาท

    ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทรัพย์สิน 210,000 บาท

    นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล 2,500,000 บาท

    รวมทั้งสิ้น 2,750,000 บาท

    ปล. หากคุณมียอดสินทรัพย์ และกำไรสะสมน้อย ยอดที่ชำระก็จะน้อยลงตามลำดับ

    #สรุป
    เรื่องราวที่เล่าในวันนี้ไม่ได้เขียนเพื่อให้คุณต้องกลัวการจดบริษัท

    แต่เป็นการเขียนเพื่อให้คุณได้ทราบถึงปลายทางของบริษัท

    แล้วให้ใส่ใจในการจัดการตัวเลขในงบการเงิน คอยจับตามองเรื่องการเพิ่มขึ้นของทรัพย์สิน และการบริหารในเรื่องของการจ่ายปันผล

    การเปิดบริษัทไม่ใช่แค่เปิดขึ้นมา
    แล้วทำเอกสารส่งสำนักงานบัญชี
    #แต่เจ้าของจำเป็นต้องเฝ้าดูตัวเลข

    -----------------------------

    https://www.facebook.com/share/p/RET61gnaVbFz18Q7/?mibextid=oFDknk
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #เกาะติดประเด็น ปริมาณปลาทูไทยเข้าขั้นวิกฤติ 90% ในตลาดเป็นปลาทูนำเข้า
    .
    ‘#ปลาทู’ เป็นอีกหนึ่งเมนูคู่ครัวไทยมานาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกกะปิปลาทูทอด น้ำพริกปลาทู และอีกหลายเมนูยอดฮิต ซึ่งเรามักจะรู้กันดีว่าปลาทูที่ดีที่สุดของไทย ก็ต้องเป็นปลาทูหน้างอคอหักจากแม่กลอง แต่เราจะแน่ใจได้ยังไง ว่าปลาทูที่ซื้อมากินเป็นของประเทศเรา ?
    .
    ในปัจจุบันปลาทูที่ขายอยู่ตามตลาด ร้อยละ 90 ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมาทั้งจาก ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไปจนถึง อินเดีย หรือปากีสถานเลยก็มี
    .
    #ปลาทูไทยเราก็มี ทำไมจึงต้องนำเข้า ?
    แท้จริงแล้วสถานการณ์ของปลาทูไทย เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติมานานแล้ว ในพ.ศ.2561 เราสามารถจับปลาทูได้เพียง หนึ่งหมื่นหนึ่งพันตัน ซึ่งมีจำนวนลดลงจาก พ.ศ.2554 กว่า 10 เท่า และเมื่อเทียบกับความต้องการในการบริโภคปลาทูของคนไทยที่เฉลี่ยแล้วมากกว่า สี่แสนตันต่อปี ก็เรียกได้ว่าจำนวนปลาทูที่เป็นของไทยเราจริงๆ มีน้อยกว่าความต้องการของตลาดอยู่มาก จึงจำเป็นต้องนำเข้ามาจากประเทศต่างๆ
    .
    #สาเหตุที่ปลาทูไทยลดน้อยลง
    ปัจจัยที่ทำให้จำนวนปลาทูไทยลดลง มีอยู่หลายสาเหตุ มีทั้งเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และพฤติกรรมของมนุษย์ การที่ ‘น้ำทะเลร้อนขึ้น’ ก็มีส่วนทำให้อัตราการเกิดของปลาทูลดลง และทำให้ขนาดของปลาทูเล็กลง เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้กระแสน้ำแปรปรวน จนกระทบต่อวงจรชีวิตของปลาทู ไปจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของห่วงโซ่อาหารในทะเล
    .
    นอกจากฝีมือมนุษย์ทางอ้อมอย่างเรื่องอุณหภูมิทะเลสูงขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยที่มนุษย์เป็นต้นเหตุโดยตรงอย่าง ‘การทำประมงเกินขนาด’ ที่มีการใช้อวนตาถี่ หรือเรือปั่นไฟเพื่อล่อปลาเข้ามาให้ติดอวน ซึ่งทำให้ลูกปลาทูตัวเล็กๆ ติดไปด้วย จึงทำให้มีลูกปลาจำนวนไม่น้อยถูกนำไปบริโภคก่อนจะโตเต็มวัย และทำให้เราจับปลาที่โตเต็มวัยได้ไม่มากเท่าที่เคย รวมไปถึงปลาที่จะมีชีวิตรอดไปถึงวัยเจริญพันธุ์ ก็มีน้อยลง จำนวนพ่อ-แม่พันธุ์ก็มีปริมาณไม่มาก อัตราการเกิดใหม่ของปลาทูจึงลดลงไปใหญ่
    .
    และยังมี ‘การทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ทะเล’ หรือการพัฒนาพื้นที่อย่างไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในอดีตจังหวัดชลบุรี มีความสำคัญต่อวงจรชีวิตปลาทูอ่าวไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นจุดวางไข่ของเหล่าปลาทูก่อนที่จะเติบโต แต่ในปัจจุบันบริเวณนั้นกำลังผันเปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ทำให้มีการเดินเรือเข้า-ออก มีท่าเรือขึ้นใหม่ จุดเติมเชื้อเพลิงต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นจุกศูนย์กลางนั้น และเดินหน้าเข้าสู่ความเป็นแหล่งอุตสาหกรรม โดยมีการวางแผนการเติบโตของแหล่งอุตสาหกรรมในแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือวิถีชีวิตของสัตว์น้ำในบริเวณนั้น ทำให้แหล่งที่อยู่และจุดวางไข่ของปลาทูถูกทำลายไปด้วย
    .
    #ยุทธการเพิ่มประชากรปลาทูไทยให้กลับมา
    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าจำนวนปลาทูไทยที่ลดลงนั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติ เพราะไม่ใช่เพียงแค่ว่า เราจะไม่มีปลาทูกิน แต่มันแสดงให้เห็นว่าสัตว์น้ำประจำถิ่นที่แสนอร่อยของเรากำลังจะสูญพันธ์ุ รัฐจึงต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับปัญหานี้ ที่นอกจากการสร้างความเข้าใจเรื่องของการจับปลาให้กับกลุ่มคนทำประมงแล้ว ยังต้องมีการแก้ปัญหาที่มาจากด้านนโยบาย และบังคับใช้กฎหมาย
    .
    ในตอนนี้รัฐก็มีมาตรการ ‘ปิดอ่าว’ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอ่าวไทยรูปตัว ก ไม่ให้มีการทำประมงเชิงพาณิชย์ได้ ในช่วงที่ปลาทูวางไข่และอพยพ เพื่อรักษาจำนวนประชากรไม่ให้ลดลงไปอีก อีกทั้งในปีนี้ยังมีการร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การประมง 8 ร่าง ที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปแล้ว โดยมีร่างที่เสนอให้แก้ไข มาตรา 57 เพื่อให้มีการรับฟังความเห็นจากชาวประมงและทุกฝ่ายก่อนประกาศข้อกำหนดการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก
    #เราทุกคนก็ช่วยอนุรักษ์ปลาทูไทยได้
    สุดท้ายเรายังคงต้องติดตามแนวทางการแก้ไขเชิงนโยบายและมาตราการรัฐต่างๆ ว่าจะมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้ประชากรปลาทูไทยกลับมาอุดมสมบูรณ์หรือไม่
    .
    แต่นอกเหนือจากการแก้ปัญหาจากรัฐแล้ว พวกเราในฐานะประชาชนคนธรรมดาก็สามารถ ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงให้เหล่าปลาทูของเรา ด้วยการเข้าร่วมแคมเปญ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’ กับทาง Pulitzer เพียงนำรูปไปลงในช่องทางโซเชียลมีเดียของคุณ ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ปลาทูไทยได้แล้ว
    สามารถดูวิธีการร่วมแคมเปญได้ทาง : https://docs.google.com/document/d/1q0LUoFNfqe2X4z1CDfPQP6awWL7hHIRNN12sURIoteU/edit

    อ้างอิง
    (I MISS YOU ปลาทูไทย) https://docs.google.com/document/d/1q0LUoFNfqe2X4z1CDfPQP6awWL7hHIRNN12sURIoteU/edit
    (วิกฤตปลาทูไทย เมื่อปลาทูหายไปจะเกิดผลกระทบในด้านใดบ้าง)
    https://www.seub.or.th/bloging/news/2024-192/
    (ในวันที่ปัญหาปลาทูไทยกำลังวิกฤติ ทำไมลูกปลาทูยังคงถูกจับกิน)
    https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/104427
    https://www.thairath.co.th/spotlight/platu
    (ปลาทูคู่ครัวไทยเดินทางมาจากไหน?)
    https://www.blockdit.com/posts/605b24d7e30917110b55c44d

    https://www.facebook.com/share/fg1dsric15VguzgB/?mibextid=oFDknk
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #POLLUTION ‘สารเคมีตลอดกาล’ สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังมนุษย์ได้ การจำลองในห้องปฏิบัติการชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่ถูกละเลยนี้ มลพิษจากสารเคมีสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของเราผ่านทางผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา
    .
    สารเคมีตลอดกาล หรือ PFAS นั้นเป็นสารเคมีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม มันมีจุดเด่นเรื่องทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีความทนทานต่อความร้อน กันไฟ และมีความแข็งแรงขึ้น ซึ่งถูกใช้ส่วนใหญ่ในสินค้าเช่น หม้อ กระทะ เฟอร์นิเจอร์ กาว หรือเสื้อผ้า
    .
    แต่เมื่อเร็ว ๆ นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มตระหนักถึงผลกระทบของสารดังกล่าว ที่อาจสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงร่างกายของเรา จนทำให้หลายประเทศทั้งในอเมริกาและสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายจำกัดการใช้สารเหล่านี้แล้ว
    .
    เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า PFAS เหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้หลายทาง โดยเส้นทางที่ชัดเจนที่สุดคือการรับผ่านทางอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการสูดดม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อกันว่า PFAS นั้นไม่สามารถผ่านผิวหนังได้
    .
    แต่ในตอนนี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ได้ยืนยันว่าสารเคมีตลอดกาลสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้อย่างแน่นอน
    .
    “ความสามารถของสารเคมีเหล่านี้ในด้านการถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนังก่อนหน้านี้มักถูกละเลย เนื่องจาก(การจะผ่านผิวหนังได้) โมเลกุลจะต้องแตกตัวเป็นไอออน” ดร. Oddný Ragnarsdóttir ผู้เขียนงานวิจัยคนแรก กล่าว “ทำให้พวกมันไม่สามารถข้ามเยื่อหุ้มผิวหนังได้”
    .
    ดร. Ragnarsdóttir และเพื่อนร่วมงานได้ตรวจสอบ PFAS 17 ประเภทที่แตกต่างกันซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นประเภทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมีการศึกษามากที่สุด โดยการใช้แบบจำลอง 3 มิติที่มาจากปลูกเนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์ในห้องทดลอง
    .
    จากนั้นพวกเขาได้ใช้ตัวอย่าง PFAS ว่าถูกดูดซึมผ่านผิวหนังหรือไม่ จากการทดสอบทั้งหมด 17 รายการ มีถึง 15 รายการที่สามารถผ่านผิวหนังเข้าไปได้ในปริมาณอย่างน้อย 5% และเมื่อสัมผัสนานขึ้น ปริมาณสารเคมี 13.5% จะสามารถเข้าไปในเส้นเลือด
    .
    ถึงแม้ตัวเลขจะดูน้อย แต่ทีมวิจัยระบุว่าการสัมผัสที่นานขึ้นจะยิ่งทำให้สารเหล่านี้ผ่าเข้าเส้นเลือดได้มากขึ้น ทำให้สารเคมีเข้าร่างกายได้มากขึ้น ทีมวิจัยได้ยกตัวอย่าง หากครีมกันแดดผสมสารเคมีกลุ่ม PFAS มันก็จะผ่านผิวหนังและเข้าสู่กระแสเลือดได้ตลอดเวลา
    .
    “ในความเป็นจริงแล้ว การดูดซึมผ่านผิวหนังอาจเป็นแหล่งที่มาสำคัญของการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้” ดร. Ragnarsdóttir “มีโอกาสมากที่ส่วนหนึ่งของการดูดซึมจะถูกกระจายจากเลือดไปยังของเหลวและเนื้อเยื่ออื่น ๆ”
    .
    อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ตามมาต่อร่างกายนั้นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเข้าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ที่แน่ ๆ สารเคมีตลอดการจะต้องถูกจับตามองมากขึ้น
    .
    “นี่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเราเห็นการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมที่ทำให้สารเคมีมีความยาวโซ่สั้นลง(โมเลกุลเล็กลง) เนื่องจากเชื่อว่าสารเคมีเหล่านี้มีพิษน้อยกว่า อย่างไรก้ตาม ข้อเสียคือมนุษย์ดูดซับสารเคมีเหล่านี้ได้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง” ศาสตราจารย์ Stuart Harrad ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย กล่าว
    .
    ที่มา
    .
    https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0160412024003581?via=ihub
    .
    https://healthpolicy-watch.news/for...an absorb 'forever,(PFAS) in people worldwide.
    .
    https://www.washingtonpost.com/clim...oxic-forever-chemicals-beauty-products-study/
    .
    https://www.iflscience.com/common-forever-chemicals-can-be-absorbed-through-human-skin-74812
    .
    https://www.sciencealert.com/forever-chemicals-seep-through-human-skin-alarming-study-confirms
    .
    https://www.euronews.com/health/202...enter-our-blood-by-being-absorbed-by-the-skin
    .
    Photo : Waterkeeper Alliance

    https://www.facebook.com/share/p/cAtDCeGrL6zX4Xp1/?mibextid=oFDknk
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #LIFE งานวิจัยระบุ ‘ดูเหมือนว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล นม และไขมัน’ จะเชื่อมโยงกับการเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ นักวิทยาศาสตร์แนะถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
    .
    อย่างที่ทราบกันดี สิวเป็นผลมาจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและไขมันไปอุดดันรูขุมขน จนกลายเป็นสิวหัวดำ สิวอักเสบ สิวเสี้ยน และอื่น ๆ อีกมากมายรวมถึงรอยสิวที่กลายเป็นรอยแผลเป็นด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้สิวกลายเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในโลก
    .
    โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในช่วงอายุวัยรุ่นและค่อย ๆ ลดลงในวัยผู้ใหญ่ แต่งานวิจัยใหม่จากประเทศฝรั่งเศสที่ทำการศึกษาคนมากกว่า 24,000 คนพบว่า เกิน 50% มีการกลับมาเป็นสิวใหม่ในช่วงอายุ 25 ปีขึ้นไป ทั้งกลับมาเป็นช่วง ๆ และเรื้อรัง พร้อมกับให้ระบุสาเหตุไว้ว่าอาจเป็นเพราะ ‘อาหารบางประเภท’
    .
    “เรารู้ว่าอาหารที่กินมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพของเราโดยทั่วไป” Joshua Zeichner ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเครื่องสำอางและคลินิกด้านผิวหนังที่โรงพยาบาล Mount Sinai ในนิวยอร์กกล่าวกับ Allure ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มันอาจมีผลกระทบกับการเป็นสิว
    .
    ทีมงานจาก Institut National de la Santé et de la Recherche Médicale จากมหาวิทยาลัยปารีส ได้ประเมินอาหารหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น นม ดาร์กช็อกโกแลต ซีเรียล ผัก เนื้อสัตว์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล จากนั้นจึงแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองตามกลุ่มอายุ ดัชนีมวลกาย สถานะการศึกษา การสูบบุหรี่ เพศ ประวัติทางการแพทย์ และการออกกำลังกาย
    .
    หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ตัวแปรต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะชี้ไปในทางเดียวกันนั่นคือ การกินอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และนมเป็นส่วนประหลักเชื่อมโยงกับการเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ แม้จะยังไม่ทราบเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เบื้องหลังว่าทำไม แต่ทีมวิจัยก็ได้แนะนำเหตุผลบางประการไว้
    .
    อาหารที่มีระดับน้ำตาลสูง จะทำให้ร่างกายมีระดับสารบางอย่างที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่ชื่อ IGF-1 และอินซูลินสูงขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มระดับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบในร่างกาย ดังนั้นท้ายที่สุดก็จะไปเพิ่มการเป็นสิว ทั้งนี้ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป
    .
    “ฉันมักจะแนะนำคนไข้เสมอว่า การรับประทานอาหารเป็นสาเหตุหนึ่งของสิวได้ รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและผลิตภัณฑ์จากนม” Y. Claire Chang แพทย์ผิวหนังที่ได้รับการรับรองจาก Union Square Laser Dermatology ในนิวยอร์ก กล่าว
    .
    แต่สิ่งนักวิทยาศาสตร์เน้นย้ำเสมอคือ สิวนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การดำเนินชีวิต ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม(เช่นมลภาวะ) เครื่องสำอาง ไปจนถึงพันธุกรรม ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ และแม้แต่การสูบบุหรี่ต่างมีผลทั้งหมด
    .
    การเป็นสิวสามารถส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจได้ ทำให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ำลง เกิดการแยกตัวทางสัมคม และอาจถึงขั้นมีภาวะซึมเศร้าจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยบางอย่างที่อาจมีผลกระทบได้ก็ควรหลีกเลี้ยงเท่าที่ทำได้ เช่นการรับประทานอาหารตามที่งานวิจัยนี้ได้กล่าวไว้
    .
    “โดยส่วนใหญ่แล้ว การรับประทานอาหารไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้คนเป็นสิว” Chang กล่าว “แต่การรับประทานอาหารที่ไม่ดีก็สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวในคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นการเปลี่ยนอาหารสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดสิว แต่มันก็จะไม่เปลี่ยนพันธุกรรมของคุณ”
    .
    ที่มา
    .
    https://jamanetwork.com/journals/ja...ign=ftm_links&utm_content=tfl&utm_term=061020
    .
    https://bigthink.com/health/diet-acne/#Echobox=1719333092
    .
    https://www.allure.com/story/acne-fatty-sugar-food-diet-study
    .
    Photo : RossHelen/Envato
    https://www.facebook.com/share/p/mYjV7TS4ia6itw7R/?mibextid=oFDknk
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #CLIMATE การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้ออกซิเจนในมหาสมุทรลดลงได้อย่างไร? เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่าทะเลทั่วโลกกำลัง ‘ขาดอากาศหายใจ’
    .
    นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 โลกมีระดับออกซิเจนในมหาสมุทรลดลงประมาณ 2% แล้ว แม้อาจจะฟังดูไม่มาก แต่ปริมาณที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนี้กำลังให้สัตว์น้ำหลายชนิด ‘ขาดอากาศหายใจ’ และนั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิด ‘หายนะ’ ทางระบบนิเวศ พร้อมกับลดความหลากหลายทางชีวภาพ โดยทั้งหมดนี้มาจากสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    .
    “เรากำลังนั่งอยู่ท่ามกลางออกซิเจนจำนวนมาก และเราไม่คิดว่าการสูญเสียออกซิเจนเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกับเรา” Dan Laffoley ที่ปรึกษาหลักในโครงการทางทะเลและขั้วโลกของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าว “แต่ถ้าเราไปอยู่ใกล้ ๆ ยอดเขาเอเวอเรสต์ที่มีออกซิเจนน้อย เราก็จะอยู่ในจุดที่ว่า การสูญเสียออกซิเจนเพียง 2% จะมีนัยสำคัญมาก”
    .
    การสูญเสียออกซิเจนไม่เพียงแต่จะทำให้ชีวิตในทะเลต้องดิ้นรน แต่ยังส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของธาตุต่าง ๆ ในโลกเช่น ไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัส ซึ่งธาตุเหล่านั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมหาสมุทร และอาจทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ‘โรคกระดูกพรุนในทะเล’
    .
    การศึกษาบางชิ้นในเวลาต่อมาได้รายงานไว้ว่าระดับออกซิเจนอาจลดลงได้มากถึง 40-50% ในบางพื้นที่โดยเฉพาะเขตร้อน ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามข่าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่ปลานับหมื่นนับแสนตัวตายเพราะขาดอากาศหายใจ แต่สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อย่างไร?
    .
    #กิจรรมของมนุษย์
    การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การตัดไม้ทำลายป่า การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล และมลพิษต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และทำให้มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบต่อมาอย่างมีนัยสำคัญ
    .
    เมื่อน้ำร้อนขึ้น ออกซิเจนจะละลายน้ำได้น้อยลง ซึ่งหมายความอย่างง่าย ๆ ว่าน้ำอุ่นจะกักเก็บออกซิเจนได้น้อยกว่าน้ำเย็น ทำให้ปริมาณออกซิเจนถูกใช้หมดเร็วขึ้นและนั่นทำให้กระบวนทั้งหมดเสียสมดุล แต่น่าเศร้านักที่มหาสมุทรโลกเป็นสถานที่ดูดซับความร้อถึงร้อยละ 93 ดังนั้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงมีผลต่อพื้นที่เหล่านี้มากยิ่งนัก
    .
    “สิ่งที่น่าตกใจก็คือ เมื่อระดับออกซิเจนลดลง จะส่งผลต่อวงจรเหล่านั้น” ดร. Laffoley กล่าว “เราลดระดับออกซิเจนเหล่านี้ลงจนตกอยู่ในระดับอันตราย”
    .
    ตามข้อมูลจากศาสตราจารย์ Nancy Rabalais ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุทรศาสตร์และพื้นที่ชุ่มน้ำระบุว่า ความเข้มข้นของออกซิเจนยังบทบาทต่ออัตราการสลายอินทรียวัตถุและการหมุนเวียนขององค์ประกอบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การลดออกซิเจนอาจทำให้ฟอสฟอรัสมีการรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น
    .
    และนั่นทำให้สิ่งมีชีวิตที่จะใช้ฟอสฟอรัสไปสร้างโครงสร้างได้น้อยลง จึงทำให้พวกมันอ่อนแอจนเป็นที่มาของ ‘โรคกระดูกพรุนในทะเล’ ไม่เพียงเท่านั้น อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นยังไปลดคุณภาพและปริมาณของแหล่งที่อยู่อาศัยได้ของสัตว์ทะเล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์และจำนวนประชากรโดยตรง
    .
    นอกจากนี้สัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนอย่างปลาทูน่าและฉลาม ก็จะตัองถูกผลักดันไปยังทะเลที่ตื้นกว่า ซึ่งทำให้พวกมันมีภัยคุกคามมากขึ้นทั้งจากการที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ และยังทำให้ระบบนิเวศแปรปรวน ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การล่มสลายของความอุดมสมบูรณ์
    .
    #อนาคตที่ไม่แน่นอน
    แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะชี้ให้เห็นว่า ระดับออกซิเจนที่ลดลงจะสามารถย้อนกลับได้ในที่สุด แต่เราอาจอยู่ไม่ถึงอนาคตอันไกลนี้ ในการศึกษาล่าที่เผยแพร่เมื่อปี 2023 ในวารสาร Nature ได้ทำการวิเคราะห์มหาสมุทรที่อยู่ในช่วงที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงมาก
    .
    ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกอบอุ่นกว่าปัจจุบันเมื่อประมาณ 16-14 ล้านปีก่อน โดยระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เป็นได้ของมหาสมุทรปัจจุบัน ทีมวิจัยพบว่าพื้นที่ขนาดใหญ่ในมหาสมุทรได้ ‘ตาย’ จากการสูญเสียออกซิเจนไปเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ธรรมชาติจะค่อย ๆ ย้อนกลับมาเป็นปกติเมื่อเวลาผ่านไปราวแสนปี
    .
    แต่ระบบนิเวศทางทะเลของโลกในปัจจุบันได้ถูกรบกวนและได้รับแรงกัดดันจากภัยคุกคามหลายด้าน ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงแสดงความกังวลว่าเราอาจจะไม่มีเวลามากพอให้ธรรมชาติเยียวยาตัวเอง และจะเป็นมนุษยชาติเองที่ต้องจากไป
    .
    “ฉันไม่คิดว่าเราควรจะอยู่รอเพื่อดูว่าการลดออกซิเจนจะกลับคืนมาหรือไม่เมื่อสภาพอากาศยังอุ่นอยู่” Anya Hess ผู้ศึกษาเรื่องออกซิเจนในมหาสมุทรจากมหาวิทยาลัย Rutgers กล่าว “เรารู้ว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับออกซิเจนในมหาสมุทรลดลง ดังนั้นหากเราต้องการหยุดมัน เราก็รู้ว่าควรต้องทำอะไร นั่นคือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”
    .
    ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภาวะโลกร้อน และมลพิษที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเล ทำให้มหาสมุทรของเรากลายเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์จะยังไม่ตระหนักถึงจุดนั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้มหาสมุทรฟื้นตัวได้ยากขึ้น และมันอาจนำไปสู่ความตายครั้งมโหราฬทั้งบนบกและใต้น้ำ
    .
    “มหาสมุทรคือหัวใจสีฟ้าบนโลกนี้ มันเป็นพื้นที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของโลก และเป็นศูนย์กลางของระบบสนับสนุนชีวิตของเรา” ดร. Laffoley กล่าว “และนั่นทำให้ผมคิดว่า เราจำเป็นต้องดูแลมันจริง ๆ เพราะมันคอยดูแลเรา”
    .
    ที่มา
    .
    https://www.science.org/doi/10.1126/science.1153847
    .
    https://www.nytimes.com/2019/12/07/climate/ocean-acidification-climate-change.html
    .
    https://www.nature.com/articles/s41...0515&CJEVENT=0ce57a9536e011ef80ac022f0a18b8f8
    .
    https://www.popsci.com/environment/ocean-deoxygenation-climate-change/
    .
    https://www.scientificamerican.com/article/the-ocean-is-running-out-of-breath-scientists-warn/
    .
    https://news.mongabay.com/2018/01/g...ersize-the-oceans-oxygen-depleted-dead-zones/
    .
    https://www.un.org/en/chronicle/art...ter cannot hold,surface to sink and circulate.
    .
    Photo : David Suggett
    https://www.facebook.com/share/p/8Xc78LQTWFsQpLts/?mibextid=oFDknk
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 3, 2024 ต้องเคลียร์ ! หอการค้าไทย เชื่อผู้ค้าออนไลน์โวย เก็บแวตสินค้านำเข้าต่ำ 1,500 บาท ที่ 7% โกยรายได้เข้ารัฐ แต่ผู้ประกอบการมองไม่เป็นธรรม

    นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต เปิดเผยถึงกรณี กระทรวงการคลังจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับสินค้านำเข้าที่ต่ำกว่า 1,500 บาท เริ่มวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ว่า ในส่วนนี้ไม่ได้มองว่าเป็นการหารายได้เข้ารัฐบาล แต่เป็นการให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากผู้ที่นำเข้าสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ เนื่องจากต้นทุนการนำเข้าจะต่ำกว่าต้นทุนที่ผลิตสินค้าเองพอสมควร

    อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สินค้านำเข้า โดยไม่มีข้อยกเว้นสินค้าตรงนี้อาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับ พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ที่นำเข้าสินค้าเพราะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% อาจไม่เป็นธรรมกับผู้ค้าได้ทั้งหมด

    “หากมองในเชิงจิตวิทยาอาจจะมองว่าสินค้านำเข้าบางอย่างก็ไม่ได้ถูกอย่างที่คิด แถมต้องจ่ายภาษีอีก ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมีการพิจารณาในการอธิบายเพิ่มเติมถึงเหตุผลของการที่ต้องเก็บภาษีสินค้านำเข้าครั้งนี้เพื่อให้เข้าใจกันทุกฝ่าย”นายวิศิษฐ์กล่าว

    #หอการค้าไทย #ร้านออนไลน์ #ภาษีแวต #VAT #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/xWiLyjZQD1xAdcY6/?mibextid=oFDknk
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 3, 2024 จ่อขึ้นอีก! อดีตนายกสมาคมค้าส่ง-ปลีก ชี้แบรนด์กาแฟชื่อดังขึ้นราคา 5-10% ในเดือนนี้ ชี้คนไทยกลุ้มใจกับเศรษฐกิจที่แย่ การเมืองมีปัญหา กำลังซื้อผู้บริโภคห่อเหี่ยว ร้านค้าปลีกขนาดกลางเล็กทำมานานไปไม่รอด

    นายสมชาย พรรัตนเจริญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย และอดีตนายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า หลังจากที่ผงชูรส อายิโนะโมะโต๊ะ ปรับราคาขึ้นแล้ว 4% กาแฟผงสำเร็จรูปยี่ห้อดังออกมาประกาศปรับราคาขึ้นอีก 5-10% ภายในเดือนกรกฎาคมนี้

    ก่อนหน้านี้ หลังจากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยปรับขึ้นค่าขนส่งอีก 3-9% ให้มีผลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนผ่านมานั้น ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ยังคงไม่เคลื่อนไหวที่จะปรับราคาขึ้น เนื่องจากสต๊อกสินค้าเก่าที่ยังขายไม่หมด จนกว่าจะสั่งสินค้าใหม่ นอกจากสินค้าในกลุ่มผงชูรส และกาแฟได้แจ้งจะปรับขึ้นราคาในเดือนกรกฎาคมนี้

    การขึ้นราคาสินค้าในสภาพเศรษฐกิจทุกวันนี้ ย่อมเสี่ยงกับสินค้าขายไม่ได้ จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคทรุดต่อเนื่อง เพราะคนกลุ้มใจกับเศรษฐกิจไม่ดี การเมืองวุ่นวาย ปัจจุบันนี้ คนไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น

    ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีร้านค้าปลีกตามต่างจังหวัดใหญ่ๆ ปิดกิจการลง เพราะภาระค่าใช้จ่ายสูงจนแบกรับไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนที่สั่งสต๊อกสินค้า ค่าไฟ ค่าแรงเพิ่ม ซึ่งปกติแล้วในวงการค้าปลีกมีปิดตัวอยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กในชุมชนเพราะอาจจะแข่งขันกับร้านค้าเป็นแบรนด์ และค้าปลีกขนาดใหญ่ไม่ได้ สินค้าจีนราคาถูกมากที่เข้ามาจำนวนมากก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของค่าปลีกปิดตัวลง

    #ค้าปลีก #ค้าส่ง #ปิดกิจการ #เทคโอเวอร์ #นครราชสีมา #อีสาน #เศรษฐกิจ #ค้าขาย #โชวห่วย #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/meDxBWEQvjA57qEh/?mibextid=oFDknk
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 3, 2024 ดูเลขจริง! ‘เผ่าภูมิ’ โต้ตัวเลขหนี้สาธารณะจริงยังต่ำแค่ 57% ถือว่าไทยมีหนี้ต่ำมาก ส่วนที่เกินมาคือหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลไม่ได้ค้ำ ยันแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทปีนี้แน่

    นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังงานเปิดตัวรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย (Thailand Economic Monitor) ในหัวข้อ “ปลดล็อกศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง (Unlocking The Growth Potential of Secondary Cities)” จัดโดยธนาคารโลก ว่า จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงที่ปัญหานั้น สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือ การกระจายเม็ดเงินให้ลงสู่ประชาชนให้เร็วที่สุด จะเห็นว่าได้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งขณะนี้ถือว่าน่าพึงพอใจ ทำได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะการเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่มีตัวเลขเกินเป้าหมาย

    ขณะที่คาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจปี 2567 ยังออกมาไม่ดีนั้น รัฐบาลก็มีความกังวล เพราะฉะนั้น กระทรวงต่างๆ รวมถึงกระทรวงการคลัง ก็พยายามออกมาตรการภาษี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในเมืองรอง ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (โลว์ซีซั่น) ด้านออมสิน ก็มีมาตรการสินเชื่อซอฟต์โลน 1 แสนล้านบาท ถือเป็นวงเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้สถาบันการเงินไปปล่อยสินเชื่อต่อ ซึ่งอยู่ระหว่างรอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สัปดาห์หน้า พร้อมกับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่จะช่วยให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น โดยมาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามทำ เพื่อให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระหว่างรอโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะออกมาปลายปี 2567 นี้ แน่นอน ส่วนกลางขยายตัวเศรษฐกิจ หรือจีดีพีนั้นรัฐบาลพยายามเร่งให้ได้ 3% ต่อปี
    (มีต่อ หน้า 2/2)

    (ต่อหน้า 2/2)
    ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้นจะออกมาปลายปี 2567 นี้ คาดว่าจะมีผลเล็กน้อยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2567 แต่จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ทั้งมองว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตอาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับปีนี้ ดังนั้น ปลายปี 2567 ถึงต้นปี 2568 รัฐบาลจะออกมาตรการเพิ่มเติมอีก เพื่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนได้เยอะขึ้น มีการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับสินเชื่อ ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้ต้นทุนน้อย แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสำคัญ และยังไม่ตรงจุด โดยเพราะไปไม่ถึงกลุ่มรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้นรัฐบาลจึงทำให้ตรงกลุ่มมากขึ้น และกำลังยกระดับ บสย.ให้ออกมาตรการค้ำประกันสินเชื่อรูปแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม ที่อยู่ระหว่างรอประกาศ

    สำหรับกรณี ครม.เห็นชอบแผนปรับปรุงการบริหารหนี้สาธารณะ ครั้งที่ 2 ปีงบ 2567 ให้รัฐบาลก่อหนี้ใหม่อีก 2.75 แสนล้านนั้น เป็นหน้าที่ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีปัญหา และ สบน.ไม่มีความกังวลอะไรเกี่ยวกับหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นเลย อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงเรื่องหนี้ที่เพิ่มขี้นต้องคุยให้ชัด ที่ผ่านมาชอบพูดกันว่า งบประมาณรัฐบาลขาดดุลเยอะ สร้างหนี้สาธารณะเยอะ เปิดเผยกันตรงนี้เลยว่า นิยามของหนี้สาธารณะไทย ที่บอกว่ามี 64% ต่อจีดีพี ซึ่งเป็นการนับเกินคำนิยามสากล ตามที่ใช้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ใช้ ถ้าปรับคำนิยามให้ตรงกับไอเอ็มเอฟ หนี้สาธารณะปัจจุบันของไทยจะเหลือเพียง 57% ต่อจีดีพีเท่านั้น ซึ่งถือว่าไทยมีหนี้ต่ำมาก

    “จริงๆ หน่วยงาน และสื่อต่างชาติ เข้าใจ เขาไม่ได้ดูหนี้สาธารณะไทยที่ตัวเลข 64% แต่ดูที่ 57% เพราะว่าเขาดูเชิงลึก หนี้สาธารณะที่ตรงตามคำนิยามสากลคือส่วนไหน และส่วนที่เกินมาคือ หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ได้ค้ำประกัน ที่ต่างประเทศเขาไม่ได้นับ เพราะไม่ใช่ภาระของรัฐบาล”

    #โครงการดิจิทัลวอลเล็ต #หนี้สาธารณะ #หนี้ #เงินดิจิทัล1หมื่น #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/21xMyAnf89ZXL8L6/?mibextid=oFDknk
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจอพิษ ศก.ตลาดพระเครื่องส่อแววป่วนหนัก ‘ทุนจีน-พวกฟอกขาว’ แห่ขายคืน ‘เซียนพระ’ หวั่นไม่มีเงินรับคืน!

    “ต้อม สำนักจันทร์” เผยวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อตลาดพระเครื่องอย่างหนัก วัตถุมงคลจากเกจิรุ่นใหม่
    ผลิตจนล้นตลาดขายไม่ออก กระทบพระเครื่องรุ่นเก่าของเกจิดัง ๆ นักธุรกิจจีน-ไทย แห่มาขายคืนเซียนพระ
    แม้ยอมลด 30% ก็ไม่มีใครอยากรับคืน หวั่น นักการเมืองข้าราชการที่สะสมพระเครื่องรุ่นเก่าจะทยอยออกมาขาย
    เพื่อเปลี่ยนเงินสีเทาให้เป็นเงินสะอาด แจงมีการแกะจีวรเพชร ทอง ออกมาขายเช่นกันชี้หากเศรษฐกิจยังคงเป็นแบบนี้ถึงสิ้นปีแผงพระปิดเป็นแถว วงการพระเครื่องปั่นป่วนแน่ บรรดาเซียนพระตายสนิทขณะที่วัตถุมงคลของเกจิรุ่นใหม่ ‘หลวงปู่ศิลา’ มาแรง แต่เซียนพระจำนวนมากไม่สนใจเพราะความวุ่นวายภายในป้ายสีกันจนเซียนพระยังมึน เชื่อตลาดพระเครื่องหลวงปู่ศิลาไม่ต่างจากตลาดพระเครื่องหลวงพ่อคูณ!

    บรรดาเซียนพระ เคยบอกไว้ว่าเศรษฐกิจจะซบเซา ค่าครองชีพจะพุ่งขึ้นอย่างไร แต่วงการวัตถุมงคล พระเครื่อง มักจะไม่ได้รับผลกระทบแต่ยังคงแข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากวงการอื่น ๆ เนื่องเพราะจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังคงช่วยพยุงเศรษฐกิจพระเครื่องให้หมุนเวียนได้ตลอด ด้วยการใช้วงการพระเป็นเวทีในการฟอกเงินสามารถทำให้เงินสีเทา ๆ เป็นเงินที่ถูกต้องได้โดยง่าย

    ดังนั้นหากคนกลุ่มนี้ไม่ปล่อยพระออกสู่ตลาดเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือบรรดานักสะสมยังคงถือไว้ไม่ปล่อยออกสู่ตลาด เซียนพระหรือแผงพระก็จะไม่รู้สึกว่าตลาดพระซบเซา แต่เมื่อไหร่คนเหล่านี้ลงมาร่วมวงกับกลุ่มที่ซื้อมา-ขายไปทั้งคนไทยและต่างชาติ เช่นเคยเช่ามา 1 แสน แต่เมื่อต้นปี2567 ราคาลงมาแค่ 8 หมื่น โดยคนรับซื้อหรือแผงพระรับซื้อไว้ 6-6.5 หมื่นไป เขาก็จะไปปล่อยต่อที่ 75,000 ถึง 80,000 บาท ก็เรียกว่ายังสามารถปล่อยต่อและทำกำไรได้บ้าง

    ปัจจุบันเซียนพระ ยอมรับว่าวันนี้และเวลานี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้วยอมรับว่าตลาดพระซบเซาจริง ๆ ไม่มีเซียนพระ หรือแผงพระ ที่อยากจะรับซื้อไว้ เพื่อไปปล่อยต่อ ราคาพระเครื่อง และเครื่องรางของขลังที่เคยโด่งดังทั้งรุ่นใหม่ และรุ่นเก่าล้วนได้รับผลกระทบทั่วหน้า

    ต้อม สำนักจันทร์ หรือ มานพ จันทร์ศรี หนึ่งในเซียนพระที่คลุกคลีอยู่ในวงพระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ มากว่า 20 ปี มีร้านพระเครื่องที่ใหญ่ ตั้งอยู่อาคารพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน บอกว่าวงการพระเครื่อง วัตถุมงคลเครื่องรางต่าง ๆ ได้รับผลกระทบแน่นอน โดยต้องแบ่งผลกระทบออกเป็น 2 ส่วน

    ส่วนแรก เป็นกลุ่มพระใหม่ ที่มีการไปปลุกเสกและสั่งผลิตพระเครื่อง เหรียญ เครื่องรางออกมาเป็นล็อตใหญ่ ๆ สั่งได้แบบไม่อั้น ซื้อกันยกล็อต จนตลาดพระใหม่เฟื่องฟู จากการไปปั่นกระแสปั่นราคากันจนพระใหม่ติดตลาดราคาก็แพงทันทีจึงไปกระทบตลาดพระเก่า

    “พระเกจิรุ่นใหม่ ถ้าเก่ง ๆ สร้างแรงศรัทธาได้ จะผลิตพระใหม่กันออกมาเยอะ มีกระบวนการปั่นกระแสจนเฟื่องฟู และพระใหม่ ไม่มีเก๊ ไม่มีปลอม จึงมีเสน่ห์ แต่วันนี้คนไม่มีเงินจะซื้อมันก็ติดกันไปหมดทั้งพระใหม่และพระเก่า”

    ส่วนที่สอง ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตอนนี้คือตลาดพระเก่า ซึ่งเป็นพระเครื่องของเกจิอาจารย์ดัง ๆ ที่มรณภาพไปแล้ว อยากจะบอกว่าตอนนี้ได้รับผลกระทบมาก ๆ ปล่อยกันไม่ได้เลย

    “ปัญหาสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นของตลาดพระเก่าซึ่งล้วนมีราคาสูง คนที่เช่าหรือซื้อไปทั้งคนต่างชาติ คนจีน คนไทย ต้องการนำพระมาคืน ซึ่งความจริงก็ไม่ผิดที่เขาจะมาคืน เพราะตอนซื้อมีเงื่อนไขเพื่อเป็นการการันตีว่าเป็นของแท้ คือสามารถนำมาคืนได้ แต่ต้องมีการหักเปอร์เซ็นต์จากราคาที่ซื้อไป10-30%”

    ต้อม สำนักจันทร์ ย้ำว่า เซียนพระส่วนใหญ่ไม่อยากให้คนที่ซื้อไปแล้วนำพระเครื่องมาคืน แม้จะยอมให้เราหักเปอร์เซ็นต์ก็ตาม เพราะจะต้องไปหาเงินจำนวนมากมารับซื้อคืน และถ้าหาเงินมารับซื้อคืนได้ ก็นำไปปล่อยต่อไม่ได้ แต่จะต้องมารับผิดชอบรับซื้อคืนจากลูกค้า ซึ่งเวลานี้มีแนวโน้มปริมาณการคืนพระสูงเช่นกัน

    “พระเครื่องที่นำมาคืนนั้น ล้วนใหญ่เป็นเกจิดัง ๆ ทั้งสิ้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อกวยซึ่งเด่นในเรื่องพุทธคุณสูง ที่ได้รับความนิยมสูงก็เจอภาวะนี้เช่นกัน”

    ทั้งนี้ต้อม สำนักจันทร์ ได้ชื่อว่าเป็นเซียนระดับต้นๆ ในเรื่องวัตถุมงคลสายหลวงพ่อกวย ซึ่งคนจีนนิยมหาซื้อทุกรุ่น
    เพราะสามารถออกใบรับประกันจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยและชมรมพระเครื่องมรดกไทย
    ทำให้ผู้ซื้อเชื่อมั่นว่าเป็นของแท้และหลวงพ่อกวยสร้างและปลุกเสกจะเป็นของดีที่มีพุทธคุณสูง เด่นเรื่องการทำมาหากิน
    เมตตา โชคลาภ ส่วนที่ได้รับความนิยมเช่นพระสมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบพระสมเด็จหลังรูปเหมือน พระแหวกม่าน พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก และเหรียญรุ่นแรก หลังยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าฯลฯ ซึ่งเป็นที่นิยมและแสวงหา วันนี้ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน

    นับตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย 2567 ที่ผ่านมา ตลาดพระเงียบจริง ๆ ราคาซื้อขายก็ตกลงมาเกือบ 50%แล้ว แผงพระในพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน บางแผงเงียบเพราะเจ้าของไม่มาเปิดแผงพระ นักลงทุนจีนที่เคยเข้ามาสั่งผลิตพระใหม่และไปปั่นกระแสจนราคาพระเกจิใหม่พุ่งติดตลาด ตอนนี้ก็เงียบ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่จีนด้วย ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ส่วนพระรุ่นเก่าที่คนจีนเช่าไปในราคาสูง ๆ หวั่น ๆ ทยอยมาขายคืนซึ่งจะส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นไปอีก

    ต้อม สำนักจันทร์บอกอีกว่า ที่น่ากังวลอีกประเด็นก็คือ มักจะมีการกล่าวถึงนักการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่มักจะมีพระเครื่องเป็นของกำนัลคนเหล่านี้มักจะมีการวางแผนก่อนเกษียณจะกี่ปีก็ตาม ก็จะซื้อหรือสะสมพระเครื่องกันไว้ พอได้เวลาก็จะนำมาขายให้เซียนพระ จากนั้นก็จะได้เงินกลับไป

    “เงินพวกนี้จากสีเทา ๆ ก็จะเป็นเงินขาวสะอาดภาวะเศรษฐกิจแบบนี้เขาก็ต้องเลือกขายคืนเซียนหมด เซียนแต่ละคนก็ต้องรับผิดชอบแผงพระของตัวเองไปโดยเฉพาะเซียนเบอร์ใหญ่ ๆ หากคนกลุ่มนี้ปล่อยของช่วงนี้อันตรายและกระทบเซียนพระหนักเลย”

    ขณะเดียวกันถ้าลูกค้าแผงพระใดก็ตาม หากโทร.มาถามว่าวันนี้เปิดร้านหรือเปิดแผงพระหรือไม่ จงรู้ไว้ว่านี่คือสัญญาณเตือนแล้วว่า ลูกค้าจะนำพระมาคืนและยอมให้หักเงิน 10-30% แน่นอน รวมทั้งสิ่งที่เซียนพระประสบพบเห็นในเวลานี้ก็คือ บรรดาคนที่เช่าพระที่ยังปล่อยพระเครื่องไม่ได้ ก็จะงัดจีวร ที่เป็นทองหรือเพชร ออกมาขายไปก่อน

    ต้อม สำนักจันทร์ บอกทิ้งท้ายว่า ถ้าเศรษฐกิจยังคงเป็นแบบนี้ไปถึงสิ้นปี2567 สิ่งที่จะได้เห็นในวงการพระเครื่อง วัตถุมงคลที่จะตามมา จะเห็นแผงพระปิดตัวกันมาก และบรรดาเซียนพระคงตายกันหมดเพราะคนที่เช่าหรือซื้อพระไปแล้วไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ก็จะทยอยมาขายคืนพระเครื่องกันแน่นไปหมด ถามว่าจะหาเงินที่ไหนมารับซื้อและจะมีลูกค้าที่ไหนมาซื้อต่อไป นี่คือปัญหาที่รอความหวังเพียงเศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น ตลาดพระเครื่องจึงจะฟื้นขึ้นมาได้

    ด้านเซียนพระอีก2-3 ราย ที่มีแผงอยู่อาคารพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน และคลุกคลีอยู่ในวงการพระมา 10 กว่าปี บอกว่า ปัจจุบันวัตถุมงคล พระเครื่องและเครื่องรางของขลังต่าง ๆ ที่เป็นของเกจิอาจารย์รุ่นใหม่ที่มาแรงที่สุดคือที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เป็นพระสงฆ์ชาวไทย และเป็นพระราชาคณะชั้นราช ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาส วัดพระธาตุหมื่นหิน ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เวลานี้เราจะเห็นคลิป วิดีโอ และเพจต่าง ๆ ที่ลงเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่ศิลา และเล่าถึงที่มาของพระเครื่องและวัตถุมงคล รวมทั้งราคาต่าง ๆ ที่ใครสนใจติดตามได้ที่เพจ “ศรัทธาบารมี หลวงปู่ศิลา สิริจันโท” เพจ “ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจันโท” และเพจศูนย์พระเครื่องหลวงปู่ศิลา-พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน

    อย่างไรก็ดีเซียนพระบอกว่า ก่อนหน้านี้วัตถุมงคลทุกชนิดที่เป็นของหลวงปู่ศิลา จะมาแรงมาก ปัจจุบันพวกเราประเมินว่าเริ่มนิ่ง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ว่ารุ่นไหนผลิตออกมาล้วนทำราคาได้ดี พระใหม่รุ่นดัง ๆ ออกจากวัดราคาไม่กี่หมื่น ก็พุ่งเป็นหลักแสนเพียงพริบตาเดียว ทำให้นายทุนที่เห็นช่องทางเข้ามาขอสร้างกันอีก

    “พวกนักสร้างทั้งหลายเข้าไปวุ่นวายก็เริ่มมีปัญหาภายใน ก็ต้องปั่นกระแสรุ่นของตัวเองให้ดัง เริ่มมีวิชามารใส่ร้ายกัน ลูกค้าหรือเซียนพระก็เริ่มดูมันวุ่นวายฟังแล้วมึน งง งง ก็ถอย ๆ กันออกมา ยังมีข่าวลือว่าวัดเรียกเงินก่อน 5 ล้าน ถ้าจะผลิตวัตถุมงคลอะไรก็สร้างไป และกำไรก็ต้องมาแบ่งให้วัดอีกส่วนหนึ่ง เรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวมาก กรรมการวัดและพวกใกล้ชิดหลวงปู่ จึงกลายเป็นเป้า พร้อม ๆ กับทำให้พลังศรัทธาหลวงปู่ลดลงไปด้วย ซึ่งจริง ๆ หลวงปู่ดูใจดี มีเมตตามากนะ”

    เซียนพระ บอกด้วยว่า วัตถุมงคลที่คนแสวงหานั้นจะขึ้นอยู่กับพลังศรัทธาแรงกล้าอยู่ที่เหตุผล 3 ประการ ที่จะสามารถหยิบมาปั่นกระแสและปั่นราคาเพื่อให้ติดตลาดจนคนอยากมีไว้ครอบครอง ประกอบด้วย

    1.มีพุทธคุณ ด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย ประสบอุบัติเหตุ รถชน รถคว่ำ แล้วไม่เป็นอะไร หรือถูกทำร้ายแต่ไม่เป็นอะไร ตรงนี้คือเหตุผลที่ทำให้คนศรัทธา

    2. มีพุทธคุณ เด่นด้านโชคลาภ ช่วยเกื้อหนุน ให้ร่ำรวย แบบ รวยปุ๊บปั๊บ มีเงินก้อนใหญ่เข้ามา แบบรวยทันตาเห็น

    3. มีความชอบ มีความศรัทธา คือ ชอบในรูปแบบ ชอบในพระองค์นั้น ไม่ว่าจะศิลป์ ชอบนิสัยใจคอ พระรูปนี้ดูมีเมตตา ใจดี เป็นต้น

    สำหรับคนที่ต้องการจะลงทุนและสร้างกำไรจากวัตถุมงคลจึงต้องหมั่นติดตามในสื่อต่าง ๆ และส่องดูว่าพระเกจิรุ่นใหม่ จะสามารถสร้างกำไรได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งวันนี้หลวงปู่ศิลา เป็นพระเกจิที่ติดอันดับต้น ๆ และมีความเด่นทั้ง 3 ด้านขึ้นอยู่กับรุ่นต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาว่ารุ่นไหน เด่นเรื่องอะไร จนบรรดาเซียนพระหลายคนที่คร่ำหวอดในวงการพระใหม่และเก่าคาดการณ์ว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่ศิลา จะเป็นแบบเดียวกับในยุคของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา นั่นเอง!!

    https://www.facebook.com/share/p/7JTTNFpzLenK3dz8/?mibextid=oFDknk
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 4, 2024 ไม่มีเงินเที่ยว! ภาคท่องเที่ยวโอดกำลังซื้อประชาชนลด ลูกค้าน้อยลงจากเศรษฐกิจในประเทศถดถอย บวกโลว์ซีซั่น ต่างชาติลด ต้นทุนสูงขึ้นทั้งค่าขนส่ง พลังงานแพงกดดันธุรกิจอ่อนแอ

    นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่าสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนผ่านผลสำรวจ “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาส 2 ปี 2567” จัดทำโดย สทท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ “ระดับ 79” (ค่าปกติคือ 100) ต่ำกว่าไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเล็กน้อยซึ่งอยู่ที่ระดับ 81 และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนการระบาดของโควิด-19 แต่ดีกว่าไตรมาส 2/2566 ซึ่งอยู่ระดับ 72
    จากคาดการณ์ของผู้ประกอบการไตรมาสที่ผ่านมา คาดว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 จะดีกว่าไตรมาส 1/2567 เนื่องจากเม็ดเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ภาครัฐจะได้รับอนุมัติและจะเบิกจ่ายถึงมือประชาชนได้ตั้งแต่ต้นไตรมาส 2 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มพลิกฟื้นและส่งผลให้สถานการณ์ท่องเที่ยวดีขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่เป็นไปตามที่คาดไว้! เม็ดเงินจากภาครัฐยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในไตรมาส 2

    ประกอบกับไตรมาส 2 เป็นช่วงโลว์ซีซัน เนื่องจากเป็นฤดูร้อนของประเทศไทย ปีนี้คนไทยทั่วทุกภูมิภาคต้องเจอกับ “สภาพอากาศสุดขั้ว” และภัยแล้งในเดือน เม.ย. ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 2 ตกลงมาต่ำกว่าไตรมาส 1 และต่ำกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 2 ได้รับแรงส่งจาก “เทศกาลมหาสงกรานต์” ที่จัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวดีกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

    ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 3/2567 อยู่ที่ระดับ 75 สะท้อนการคาดการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจในไตรมาส 3 ว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวน่าจะแย่ลงกว่าไตรมาส 2 แต่ยังถือว่าดีกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 69 โดยไตรมาส 3 ถือเป็นช่วงโลว์ซีซัน มีวันหยุดและเทศกาลสำคัญน้อยกว่าไตรมาส 2 และเป็นเทศกาลที่ไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากนัก

    ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจยังมีปัญหา “กำลังซื้อภายในประเทศ” ที่หดตัว ประกอบกับการปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ “คนไทยตกงาน” เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้ “หนี้ครัวเรือน” มีแนวโน้มการผิดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และส่งผลต่อสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศที่อาจชะลอตัวลงได้อีกในระยะข้างหน้า

    รายงาน สทท. ระบุเพิ่มเติม ถึงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาท เกี่ยวกับแผนการเดินทางในไตรมาส 3/2567 โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 450 คนทั่วประเทศ กระจายตามเพศ ภูมิภาค อาชีพและช่วงรายได้ ผลการสำรวจพบว่า “ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่างจังหวัด” (ไม่รวมค่าเดินทาง) ในไตรมาส 2/2567 เป็นเงินประมาณ “2,683 บาท/คน/ทริป” ลดลงกว่าไตรมาส 1/2567 อย่างมาก! จากค่าใช้จ่ายประมาณ 6,856 บาท/คน/ทริป ส่วนการพักค้างคืนต่างจังหวัดในไตรมาส 2/2567 ค้างคืนเฉลี่ยคนละ 4.79 คืน/ไตรมาส มากกว่าไตรมาส 1/2567 ซึ่งอยู่ที่ 3.38 คืน/ไตรมาส ขณะที่คาดการณ์ไตรมาส 3/2567 อยู่ที่ 4.55 คืน/ไตรมาส
    (มีต่อหน้า 2/2)

    https://www.facebook.com/share/p/x6WcewXDBvRXfVm8/?mibextid=oFDknk
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 4, 2024 ขอแรงอัด! เอสเอ็มอีแบงก์เผยสำรวจ ’เอสเอ็มอี’ แบกต้นทุนเพิ่ม ขาดเงินหมุนเวียน กำลังซื้อลูกค้าลด ยิ่งกังวลธุรกิจ นโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขาดความชัดเจน

    นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs ต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ ครอบคลุมอุตสาหกรรมกว่า 500 ราย ทำโดยศูนย์วิจัยและข้อมูล ธพว. ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ภาพรวมดัชนีเชื่อมั่นฯไตรมาส 2/2567 อยู่ระดับ 52.06 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 1/2567 ที่อยู่ในระดับ 52.36 เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีความกังวลที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะด้านต้นทุนการประกอบการและปริมาณสินค้าคงคลัง

    ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันหลัก คือ ด้านต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว นโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐขาดความชัดเจน กำลังซื้อลูกค้าลดลง และประเด็นอื่นๆ เช่น ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า ลงในรายละเอียด แยกประเภทอุตสาหกรรม พบว่า เอสเอ็มอีด้านการผลิต ประมาณ 55% มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากไตรมาส 2/2567 เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ทำให้ธุรกิจการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่าผลประกอบการและสภาพคล่องของธุรกิจการผลิตจะดีขึ้น และเชื่อมั่นมีการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจการผลิตในภาคการเกษตร เชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มรับเหมาก่อสร้างคงมีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด และต่ำกว่าธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับในไตรมาส 1/2567

    สำหรับการคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (ไตรมาส 3/2567) ดัชนีอยู่ที่ 58.60 สะท้อนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีความเชื่อมั่นโดยภาพรวมเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านผลประกอบการ คำสั่งซื้อ ราคาขาย สภาพคล่อง และปริมาณผลิต เพราะคาดการณ์เศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น แต่มีความกังวลด้านต้นทุนระดับเดิม โดยเอสเอ็มอี ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที โดยมาตรการที่เอสเอ็มอี กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อมและรายย่อยต้องการมากสุด คือ มาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ขณะที่กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง ต้องการมาตรการเงินทุนเพื่อยกระดับมาตรฐานหรือปรับปรุงการผลิต ซึ่ง SME D Bank มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อช่วยลดภาระ เช่น สินเชื่อ Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้ กู้สูงสุด 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 6.50% ต่อปี ผ่อนนานสุด 7 ปี เป็นต้น

    #เอสเอ็มอี #ความเชื่อมั่นเอสเอ็มอี #เงินทุน #กำลังซื้อ #เศรษฐกิจไทย #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/LD6AVqHk6a3zCdnX/?mibextid=oFDknk
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 4, 2024 ไม่ไปด้วยกัน ! ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้ไทยยังมีหลุมรายได้ รายได้ไม่เพิ่ม แต่รายจ่ายสูงจากค่าครองชีพ เศรษฐกิจฟื้นช้า มองจีดีพียากที่จะโตพุ่ง 4-5% เหมือนอดีต 10 ปี ผ่านมา ถ้าไม่ปรับโครงสร้าง จะทยอยโตได้แค่ 3%

    นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าแบบจำลองของ ธปท. มองภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 66-71 คาดว่าจะเติบโตได้แค่ราว 3% ซึ่งเป็นระดับศักยภาพของไทยในปัจจุบันที่ลดลงจากในอดีต และยากที่จะกลับไปเติบโตได้สูงถึง 4-5% อย่างเช่นในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเมื่อมองในภาพรวมเศรษฐกิจไทย แม้จะยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องและเริ่มทยอยกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ แต่เป็นการฟื้นตัวในภาพรวม และยังซ่อนความยากลำบากของประชาชนอยู่อีกไม่น้อยที่เดือดร้อนจากรายได้ที่ยังฟื้นกลับมาไม่เต็มที่ ทั้งลูกจ้างนอกภาคเกษตร, ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แม้รายได้อาจจะกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนโควิด แต่ยังมีหลุมรายได้ ที่เกิดจากรายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นไปตามกาลเวลา แต่กลับมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าครองชีพสูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยรายไตรมาส ในช่วงที่เหลือของปี 67 ไว้ดังนี้ ไตรมาส 2 คาดเติบโตใกล้เคียง 2% ไตรมาส คาดเติบโตใกล้เคียง 3% และไตรมาส 4 คาดเติบโตใกล้เคียง 4% ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ขยายตัวได้ 1.5% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตได้ดีกว่าที่คาดไว้ ส่วนในปี 68 คาดว่าเศรษฐกิจจะทยอยเติบโตได้ราว 3% ในระดับศักยภาพ

    นอกจากนี้ ผู้ว่า ธปท.มองว่า การจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มากกว่านี้ จะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างแรงงานให้มีประสิทธิภาพ มีการลงทุนมากขึ้น มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย ซึ่งคงไม่ใช่เพียงแค่การใช้มาตรการกระตุ้นแต่เพียงเท่านั้น หากไม่มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการยกระดับประสิทธิภาพแรงงานอย่างจริงจัง ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็จะเติบโตอยู่ได้ในระดับที่ 3% ไม่สามารถเติบโตได้มากกว่านี้ ทั้งนี้มองว่าการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

    ผู้ว่าฯ ธปท. ยังคงยืนยันว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้เหมาะสมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพการเงิน แต่ ธปท.ก็ไม่ได้ปิดประตูการปรับลดดอกเบี้ย หาก Outlook มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ การขยายตัวของเศรษฐกิจ พร้อมมองว่าการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ ไม่ใช่การใช้เครื่องมืออัตราดอกเบี้ยเพียงเครื่องมือเดียว แต่ต้องมีเครื่องมืออื่นเข้ามาช่วยเสริมด้วย เช่น มาตรการการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน

    "ศักยภาพของเรา ถ้าปล่อยไปแบบนี้ก็จะได้แค่ 3% ถ้าจะให้มากกว่านี้ ต้องปรับโครงสร้าง ไม่ใช่แค่การกระตุ้น เพราะกระตุ้นแล้ว สักพักก็กลับมาเท่าเดิม เรากระตุ้นกันมาเยอะแล้ว ซึ่งมันไม่ได้ยั่งยืน ไม่ได้ยกระดับศักยภาพที่แท้จริง เราต้องยกระดับประสิทธิภาพแรงงาน ซึ่งก็จะนำมาซึ่งการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานของทั้งรัฐและเอกชน ลงทุนด้านเทคโนโลยี เพิ่มคุณภาพแรงงาน ด้าน R&D เหล่านนี้ จะช่วยยกระดับจาก 3% ขึ้นได้" "หากกระตุ้นให้ตาย แต่เทคโนโลยีได้แค่นี้ ศักยภาพการฟื้นตัว ก็ได้แค่ 3%"

    #แบงก์ชาติ #เศรษฐกิจ #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย #รายได้ #ดอกเบี้ย #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/1yKQ5raRKMDgWbwX/?mibextid=oFDknk
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'เอกชน' ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท หวั่นโรงงานปิด-เลิกจ้างพุ่ง!
    .
    "กกร." ค้านนโยบายปรับค่าแรงเป็นวันละ 400 บาท ส่งหนังสือถึงผู้ว่า 77 จังหวัด ยื่นข้อเสนอปรับค่าแรงตามคุณภาพฝีมือแรงงาน ชี้ไม่มีประเทศไหนในโลกขึ้นค่าแรง 3 ครั้งใน 1 ปี
    .
    การประชุมคณะกรรมการภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2567 ได้หารือเกี่ยวกับการปรับค่าแรงเป็นวันละ 400 บาท ทั่วประเทศ
    .
    ทั้งนี้ กกร.ส่วนกลางได้มีการประสานกับ กกร.กลุ่มจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหนังสือเสนอผู้ว่าราชการของแต่ละจังหวัดเพื่อแสดงจุดยืนของ กกร.ต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้าง
    .
    นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้ว 53 จังหวัด โดยภายในสัปดาห์นี้จะครบทุกจังหวัด เพื่อแจ้งถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและท่าทีของ กกร.ที่ขอไม่ให้มีการปรับขึ้นค่าแรงงาน 400 บาท ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ขอให้มองถึงศักยภาพของแรงงานพัฒนาฝีมือแรงงาน
    .
    “ภาคเอกชนพร้อมที่จะเข้าไปช่วยดูแลในเรื่องของการพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรีสกิลแรงงานให้กับตอบโจทย์ ซึ่งคาดว่าจะทยอยทำจดหมายจนครบ 77 จังหวัดภายในวัน 5 ก.ค. 2567” นายพจน์ กล่าว
    .
    นายพจน์ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรง ไม่ใช่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่จะเป็นการซ้ำเติมประเทศมากกว่า โดยไม่ควรจะมาปรับขึ้นทั่วประเทศในปีนี้ และส่งผลกระทบต่อนักลงทุนเพราะผู้ประกอบการได้มีการวางแผนงานและงบประมาณประจำปีไว้ล่วงหน้าแล้ว
    .
    รวมทั้งการปรับขึ้นค่าแรงแบบนี้จะส่งผลกระทบกับแผนงานและต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำ ก็คือทำให้เกิดการจ้างจ้างงาน และดูว่าค่าแรงของประเทศไทยเท่าไหร่ สามารถสู้และแข่งขันกับต่างประเทศได้หรือไม่
    .
    นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจภายในประเทศแย่และปัจจัยภายนอกก็มากดดัน ซึ่งหากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ วันที่ 1 ต.ค. 2567 ตามนโยบายรัฐบาล ถือเป็นการขึ้นค่าแรงครั้งที่ 3 ในรอบปี ไม่มีประเทศใดที่จะปรับขึ้นค่าแรง 3 ครั้งต่อปี เพราะตามกฎหมายให้แค่ 1 ครั้งต่อปี ทำให้ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก
    .
    “รัฐบาลกดดันอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ยิ่งตอนนี้โรงงานปิดโรงงานไปแล้วใกล้ๆ จะพันแห่ง เลิกจ้างไปจำนวนมาก การขึ้นค่าแรงทั่วประเทศจึงนับว่าเป็นสัญญาณอันตราย เพราะจากการสำรวจเรื่องค่าแรงวันนี้เอกชนเกิน 70% ไม่ต้องการให้มีการปรับขึ้นอีก ขอการเมืองอย่ามากดดันภาคเอกชนเลย ซึ่งทางส.อ.ท. จะยังคงยืนยันในจุดยืนเดิม” นายทวี กล่าว
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

    https://www.facebook.com/share/p/X6Tq9rs5VoeVPDVZ/?mibextid=oFDknk
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แบกราคาน้ำมันต่อไม่ไหวแล้ว ประเทศในอาเซียนหั่นงบอุดหนุน กองทุนน้ำมันไทยติดลบ 1 แสนล้าน
    .
    สื่อนอกชี้ ‘ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย’ กำลังเผชิญแรงกดดันด้านงบประมาณ จนต้องลดหรือยกเลิกเงินอุดหนุนราคาน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้ประชาชนไม่พอใจและกระทบต่อเงินเฟ้อ
    .
    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แรงกดดันด้านงบประมาณที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการอุดหนุนราคาพลังงาน กำลังเป็นตัวบีบให้รัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ต้องทบทวนนโยบายนี้ใหม่ โดยอาจเป็นการลดเงินอุดหนุนมากขึ้น หรือยกเลิกแทน จนอาจทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชน รวมถึงกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อในประเทศ
    .
    ไม่นานมานี้ เนื่องด้วยราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งสูงขึ้น รัฐบาลไทยและมาเลเซียต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวสูงขึ้นตามในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อบรรเทาภาระทางการคลังของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลอินโดนีเซียก็ยังพิจารณาที่จะปรับลดเงินอุดหนุนพลังงาน เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปใช้กับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม การลดเงินอุดหนุนลงมักจะได้รับแรงต่อต้านจากประชาชน เนื่องจากกังวลว่าจะส่งผลต่อการเพิ่มราคาสินค้าจำเป็น ตั้งแต่ค่าขนส่งไปจนถึงราคาอาหาร
    .
    เมื่อ “ภาวะเงินเฟ้อ” ยังคงเป็นความเสี่ยงใหญ่สำหรับประเทศเหล่านี้ การลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และแก๊สหุงต้ม อาจส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล เพราะค่าครองชีพอาจพุ่งสูงขึ้น รัฐบาลกำลังเผชิญบททดสอบที่หนักหน่วงว่า จะเดินหน้ากับแผนลดเงินอุดหนุนพลังงานต่อไปหรือไม่ เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและดึงดูดนักลงทุน
    .
    หากดูในไทย นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน มีคะแนนนิยมลดลงอย่างรวดเร็ว และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งเขาเรียกร้องให้ธนาคารกลางทำ ยิ่งดูมีเหตุผลน้อยลง
    .
    ล่าสุด “ม็อบรถบรรทุกไทย” เตรียมบุกกรุงเทพฯ เพื่อประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลนำเพดานราคาน้ำมันดีเซลกลับมาอยู่ที่ 30 บาทต่อลิตร เช่นเดียวกับในมาเลเซีย ที่แม้แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่ายรัฐบาลก็ออกมาวิจารณ์การลดเงินอุดหนุนน้ำมัน โดยระบุว่าเป็น “ตัวบีบ” ให้เหล่าธุรกิจต้องปิดตัวลง
    .
    แม้จะเกิดการกระท้วงขึ้น แต่หนี้สินมูลค่า 1.1 แสนล้านบาทของกองทุนน้ำมันของไทย ได้ผลักดันให้รัฐบาลต้องทยอยปรับขึ้นเพดานราคาน้ำมันดีเซลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    .
    “ด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังเผชิญกับแรงกดดันและรายได้จากงบประมาณที่ต่ำกว่าเป้าหมายตั้งแต่ต้นปี เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธการปรับขึ้นราคาดีเซลเพิ่มเติมหลังจากการจำกัดราคา 33 บาทต่อลิตรจะสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม” คริสตัล ตัน นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กล่าว
    .
    ในขณะนี้ ราคาน้ำมันแพงขึ้นกว่า 10% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี เนื่องจากการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปค+ ที่ยังคงควบคุมปริมาณน้ำมันดิบทั่วโลก ส่วนเงินอุดหนุนน้ำมัน แม้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนได้ แต่ราคาน้ำมันเหล่านี้มักจะปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบโลก
    .
    “ด้วยราคาดีเซลที่สูงขึ้นของไทย ซึ่งตรงกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและโครงการแจกเงินของรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจเพิ่มขึ้นเป็น 0.9% ตลอดปี 2024 จาก -0.1% ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม” ฮาน เต็ง ชัว นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารดีบีเอสกล่าว
    .
    ชัวเสริมต่อว่า สิ่งนี้อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลังเลที่จะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินในขณะนี้ และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปี
    .
    อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/world/1134373?anm=
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

    https://www.facebook.com/share/p/MULD1Q1zHbUfv7Ld/?mibextid=oFDknk
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘เศรษฐพุฒิ’ ชี้ศักยภาพเศรษฐกิจไทยลด ต้องเร่งปรับโครงสร้าง
    04 ก.ค. 2024 เวลา 19:16 น.

    ผู้ว่าแบงก์ชาติ ระบุศักยภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 3% อัดมาตรการกระตุ้นไม่ช่วยเศรษฐกิจโตกว่าเดิม ชี้ต้องเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง เพิ่มลงทุนและเทคโนโลยีใหม่ ระบุไม่ปิดประตูปรับดอกเบี้ยนโยบาย หากมีการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ อย่างมีนัย
    นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโลกถือว่าฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้าอย่างเห็นได้ชัด แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวและทยอยกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ ขณะที่ความเห็นจากหลายฝ่ายมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมองเศรษฐกิจดีเกินไปและไม่เห็นความลำบากของคน

    “การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นเพียงตัวเลขภาพรวม โดยค่าเฉลี่ยของคน แต่เราเข้าใจดีว่าที่ซ่อนอยู่คือความลำบากและความทุกข์ของประชาชนอีกหลายกลุ่ม”

    โดยเฉพาะเมื่อดูจากตัวเลขรายได้ของลูกจ้างนอกภาคเกษตร กลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระ ภาคการบริการ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทำให้ตั้งแต่ผ่านช่วงโควิดมาต้องเผชิญกับหลุมรายได้ที่หายไป ขณะที่ค่าครองชีพมีแต่จะเพิ่มขึ้น

    ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำไม่ได้หมายความว่าราคาสินค้าต่ำลง ปัจจุบันราคาสินค้าเมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นมา ทั้งสินค้าพลังงาน ไข่ไก่ เนื้อหมู รวมทั้งการซ้ำเติมจากหนี้ครัวเรือนของประชาชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ยากและความลำบากของคน

    ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังได้รับผลกระทบเชิงโครงสร้างที่หนักขึ้น จากการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นไม่ใช่เพียงอุปสงค์ที่หายไปแต่ยังได้รับการซ้ำเติมจากอุปทานจากต่างประเทศ ขณะที่ความสามารถในการแข่งการผลิตในประเทศที่เคยเป็นพระเอกไม่ตอบโจทย์กระแสใหม่ของโลกที่กำลังก้าวไปสู่เอไอ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปิโตรเคมี และเหล็ก

    นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ดังนั้นต้องปรับจูนความคาดหวังต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่มองว่าจะกลับมาฟื้นตัวถึง 5% เพราะศักยภาพของเศรษฐกิจไทยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3%

    ”การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะกลับมาที่ศักยภาพที่ประมาณ 3% ซึ่งไม่ได้เป็นตัวเลขตายตัว หากอยากให้ขยายตัวมากกว่านี้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง มีการลงทุนและเทคโนโลยีใหม่ แต่ไม่ได้มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะหากความสามารถเราเท่าเดิมจะกระตุ้นให้ตายก็กลับมาที่ศักยภาพเท่าเดิมคือ 3%“

    ทั้งนี้ ความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจต้องขึ้นอยู่กับการขยายตัวของแรงงานและประสิทธิภาพของแรงงานด้วย ซึ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยซึ่งทำให้การขยายตัวของกำลังแรงงานลดลง ขณะที่ประสิทธภาพการผลิตยังเท่าเดิมกับที่ผ่านมา ซึ่งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ 3% ไม่ถือเป็นตัวเลขที่เพียงพอ เมื่อเทียบกับระดับรายได้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ

    เงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบ แต่ไม่ลดดอกเบี้ย?
    นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินให้อยู่ในกรอบเงินเฟ้ออย่างยืดหยุ่น ดังนั้นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงไม่ได้พิจารณาแค่เงินเฟ้อเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงการเติบโตของเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน จึงไม่ได้เป็นสูตรตายตัวว่าเงินเฟ้อต่ำและจะต้องลดอัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ไม่อย่างนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ใช้เอไอตัดสินใจได้แทน

    ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จะต้องชั่งน้ำหนักในหลายมิติและดูผลข้างเคียง และมองไปข้างหน้าว่าเทรนด์เป็นอย่างไร ซึ่งเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรกใกล้ศูนย์ แต่ในครึ่งปีหลังจะขยายตัว 1.1% ทำให้ทั้งปีคาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 0.6% รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการกำหนดดอกเบี้ยยโบบายในระดับที่ต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้เสถียรภาพด้านการเงินเสื่อมลง

    “ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเพื่อมองแนวโน้มในระยะข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามที่ ธปท.คาดการณ์ แต่ถ้าคาดการณ์นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัย ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ การฟื้นตัวเศรษฐกิจ ก็พร้อมที่จะปรับดอกเบี้ย ไม่มีการปิดประตูอะไรทั้งนั้นท่ามกลางความเสี่ยงความไม่แน่นอนของโลกที่มีอย่างมหาศาล“

    ถกคลังปรับกรอบเงินเฟ้อ
    นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า การหารือเรื่องกรอบเงินเฟ้อระหว่างธปท.และกระทรวงการคลังจะมีการประชุมร่วมกันในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่หารือร่วมกันและรับข้อเสนอของกระทรวงการคลังมาพิจารณา อย่างไรก็ตามการปรับกรอบเงินเฟ้อเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และคาดการณ์ต่อเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะส่งสัญญาณไปที่ตลาด ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น และผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น

    “เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำไม่ได้เกิดจากการกำหนดกรอบเงินเฟ้อ แต่เกิดจากปัจจัยด้านอุปทาน การอุดหนุนพลังงาน และการแข่งขันของธุรกิจทำให้ไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าได้ ธปท.ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์ที่จะไปบังคับให้ผู้ประกอบการห้ามขึ้นราคา”

    สำหรับความกังวลเรื่องการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่ไม่ได้สูงไม่ได้เป็นปัญหาถ้าไม่ได้นำไปสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งสะท้อนจากราคาของสินค้าที่ลดลงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การบริโภคและอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง ขณะที่เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำของไทยไม่ได้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะเงินฝืด เนื่องจากการบริโภคที่ยังขยายตัว 7% ในปีที่แล้ว และยังโตต่อเนื่องในปีนี้

    ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือการแข่งขันจากสินค้าจีนที่จะเข้ามา เนื่องจากกำลังการผลิตของจีนที่มีอยู่มาก แต่อุปสงค์ในประเทศยังไม่โต ทำให้สินค้าจีนส่งออกมามากขึ้น ผนวกกับการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ และยุโรปลำบาก ก็จะส่งมาในอาเซียนมากขึ้น อาทิ สินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง

    สถานะการคลังระยะยาว
    นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ภาวะภายหลังจากวิกฤติโควิด มุมมองขององค์กรระหว่างประเทศอยากจะเห็นประเทศมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสถียรภาพด้านการคลังซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเสถียรภาพโดยรวม โดยเฉพาะการมีสถานะการคลังในระยะยาวให้กลับมาเข้มแข็ง ซึ่งไทยมีการขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องมาก 20 ปี และมีแนวโน้มหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่สูงขึ้น อยู่ในระดับ 64-65% ซึ่งเรื่องเหล่านี้ควรต้องใส่ใจ


    https://www.bangkokbiznews.com/busi...J7DfgF8lIOO1mHW1XY_aem_lYIeMkjbhIFHMwR_Xrfucg
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สภาพอากาศสุดขั้วทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละ 5 ล้านคน โดยการเสียชีวิตจาก "ความหนาวเย็น" มีจำนวนมากกว่าการเสียชีวิตจาก "ความร้อน" และส่วนใหญ่เกิดจากสภาพอากาศที่ "ปานกลาง" มากกว่าอากาศที่เย็นจัด

    อ่านฉบับเต็ม: https://www.igreenstory.co/extreme-temperatures/
    https://www.facebook.com/share/p/DpEzRXjg59JgKpcG/?mibextid=oFDknk
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Jul 5) เศรษฐพุฒิ : ศก.'โตต่ำ-ฟื้นช้า'ซ่อนทุกข์ปชช.-'แบงก์'ไม่อยากเป็นตัวร้าย โทษ'ธปท.'คุมสินเชื่อ: “…ถ้าเราอยากทำให้มันโตมากกว่านี้ ต้องทำอะไรในเชิงโครงสร้าง ต้องมีการลงทุน มีเทคโนโลยีใหม่ ต้องมีอะไรใหม่ มันได้มาจากการไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าผลิตได้แค่นี้ จะกระตุ้นให้ตาย ก็จะกลับมาเท่านี้อย่างเดิม ถ้าเราอยู่อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ศักยภาพก็ประมาณ 3% และการฟื้นตัวก็คือ การฟื้นตัวกลับไปที่ศักยภาพ 3% แต่ถามว่าพอไหม ถ้าเทียบกับระดับรายได้ที่เป็นอยู่ ความยากจน และความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ ก็ไม่ใช่ตัวเลขที่พอ…”

    ....................................

    หมายเหตุ : เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทย และแนวการดำเนินนโยบายของ ธปท. ในงาน ‘Meet the Press : ผู้ว่าการพบสื่อมวลชน’ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2567

    @เศรษฐกิจภาพรวมฟื้น แต่ซ่อน‘ความทุกข์’ประชาชน

    เศรษฐกิจตอนนี้ ภาพที่ออกไป อาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน คนโน้น คนนี้ บอกว่า ธปท.มองเศรษฐกิจดีเกินไป ไม่เห็นเรื่องความลำบากของคน ธปท.ดูแต่เรื่องตัวเลข ไม่ได้รู้สึก หรือเห็นในสิ่งที่หลายกลุ่มกำลังเผชิญกันอยู่ อันนี้ต้องเรียนว่า เราเองทราบดีว่า เศรษฐกิจไม่ได้ดีขนาดนั้น

    จริงๆแล้ว ถ้าเราดูตัวเลขการฟื้นตัวของเราเทียบกับโลก เป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด และสิ่งที่เราบอก คือ เศรษฐกิจมีการฟื้นตัว มันโต และโตอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ค่อยๆทยอยฟื้นตัวกลับเข้าสู่ศักยภาพ แต่เราไม่ได้บอกว่า โตดีเด่นอะไร

    ที่สำคัญ เราเห็นชัดว่า การฟื้นตัวที่เราพูดถึงตอนนี้ เป็นการฟื้นตัวในแง่ภาพรวม เป็นการฟื้นตัวในแง่โดยเฉลี่ยของคน ในแง่ตัวเลขรวม ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขจีดีพี หรืออะไรต่างๆ เราเข้าใจดีว่า ในการฟื้นตัวในภาพรวม ตัวเลขรวม หรือตัวเลขเฉลี่ยนั้น มันซ่อนความลำบากและความทุกข์ของประชาชนไม่น้อยในหลายกลุ่มด้วยกัน

    จากกราฟ เป็นการโชว์ว่า ตัวที่มีนัยยะจริงๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนมากกว่าตัวเลขจีดีพี คือ รายได้และรายจ่ายของเขา เพราะสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ โดยลูกจ้างนอกภาคเกษตร ก่อนโควิด รายได้อยู่ที่ 100 ตอนนี้รายได้มาอยู่ที่ 108.9 หรือโตมา 9% ส่วนคนที่อยู่อาชีพอิสระกลับมาอยู่ที่ 109.2

    ถ้าดูตัวเลข ผ่านๆ ผิวๆ เราจะบอกว่ารายได้เขาฟื้นมาแล้ว มันกลับมาสูงกว่าระดับที่เคยอยู่ก่อนโควิด แต่มันเป็นตัวเลขที่ซ่อนความลำบาก ความทุกข์ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จากกลุ่มคนที่มีอาชีพอิสระ ถึงแม้รายได้จะกลับมาในระดับที่สูงกว่าจุดเริ่ม แต่มี ‘หลุมรายได้’ มหาศาลที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

    bot 05 07 24 1

    พูดง่ายๆ คือ มีรายได้ที่หายไปผิดปกติ เหมือนเขามีหลุมรายได้ แต่ตัวเลขภาพรวม ไม่ได้สะท้อนความลำบากของประชาชนจากรายได้ต่างๆที่หายไป ในขณะที่รายจ่ายที่วัดจากค่าครองชีพมีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะถ้าเราดูในแง่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะเห็นว่าจากเดิมที่อยู่ที่ 100 วิ่งมาที่ 107.2 และวิ่งมาอย่างต่อเนื่อง

    จากผลสะสมที่เกิดขึ้นระหว่างทาง จะเห็นว่าลูกจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนทำงานตามออฟฟิสหรือมีรายได้ประจำ กลุ่มนี้ยังโอเคอยู่ เพราะเขาทำงานต่างๆได้ ทำให้ค่าสะสมรายได้อยู่ที่ 5,296 ส่วนค่าสะสมรายจ่ายอยู่ที่ 5,287 จึงเห็นได้ว่าการเพิ่มของรายได้ยังสูงกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น แต่กลุ่มที่เห็นชัดว่ามีปัญหา คือ กลุ่มอาชีพอิสระที่รายได้หายไปเยอะ

    ถ้าไล่เป็นกลุ่มคนต่างๆ จากแรงงานของเรา 40 ล้านคน จะเห็นว่า หลายกลุ่ม การฟื้นตัว (รายได้) ยังกลับมาไม่ครบ (บริการที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว 3 ล้านคน ,อุตสาหกรรม 1 ล้านคน ,บริการที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว 1.5 ล้านคน และอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง 0.6 ล้านคน) คิดแล้วเป็นสัดส่วนของแรงงานไม่น้อย

    โดยเฉพาะกลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระ และถ้าเป็นลูกจ้าง ก็จะเป็นลูกจ้างที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เพราะเป็นที่ทราบดีว่า การท่องเที่ยวยังไม่กลับมาเหมือนเดิม บวกกับพวกกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ประสบกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ถ้าบวกไปทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีแรงงานไม่น้อยที่ประสบปัญหารายได้ที่ยังไม่ได้กลับมาฟื้น

    bot 05 07 24 2

    ตอนที่พูดเรื่องเงินเฟ้อ บอกว่าเงินเฟ้อต่ำแล้ว ทำไมยังไม่ลดดอกเบี้ย เป็นคำถามสไตล์อย่างนี้ แต่ตอนที่บอกว่า เงินเฟ้อต่ำๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า ราคาของกลับมาถูกลง เพราะราคาของขึ้นไปแล้ว มันไม่ลง ถ้าถามคนทั่วไป ถามว่ามีใครที่รู้สึกว่า เงินเฟ้อที่เราประสบในแง่ของค่าครองชีพ มันต่ำเกินไปหรือไม่ และของถูกลงไหม ก็คงไม่มี

    “ใช่ อัตราเงินเฟ้อมันลดลง แต่ราคาของ (สินค้า) เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน มันเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นไม่น้อย พวกพลังงาน น้ำมัน นี่ชัด ของที่เราต้องใช้บ่อยๆ อย่าง ไข่ไก่ เดิมฟองละ 4 บาท ตอนนี้ฟองละ 5 บาทแล้ว เพิ่มขึ้น 25% ไก่ หมู ก็เพิ่มขึ้น แล้วตอนที่เงินเฟ้อเกิดขึ้น ราคาของมันขึ้นไปแล้ว และมันไม่ลง

    แต่ด้วยเศรษฐกิจ และจีดีพีที่โต อาจทำให้คนไม่รู้สึก ส่วนหนึ่งเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่ทุกอย่างมันแพงขึ้นเยอะ อันนี้เราเห็นทั่วโลก ไม่เฉพาะในไทย แต่ถามว่า คนรู้สึกดีขึ้นไหม ก็ตอบว่า ไม่ บวกกับบ้านเรา ถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาเรื่องหนี้ ซึ่งเดี๋ยวต้องคุยว่าการที่หนี้มันสูง และสร้างภาระกับคน มีนัยยะอย่างไรต่อนโยบายของเรา”

    bot 05 07 24 3

    @ต้องลงทุน-มีเทคโนโลยีใหม่ ดันจีดีพีไทยโตเกิน 3%

    ถ้ามองตัวเลขในภาคการผลิตต่างๆ จะเห็นคล้ายๆกันว่า ภาคบริการ ซึ่งได้รับอิทธิพลไม่น้อยจากการท่องเที่ยวนั้น ตอนนี้ภาคการท่องเที่ยวฟื้นกลับมาช้ากว่าเซ็กเตอร์อื่นๆ และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่าชาวบ้าน ในขณะที่การส่งออกในเซ็กเตอร์สำคัญๆของเรา เจอปัญหาเชิงโครงสร้างที่หนักขึ้น

    ความลำบากในเชิงการทำธุรกิจ ไม่ได้มาจากเฉพาะปัจจัย จบโควิดแล้วอุปสงค์ไม่มา แต่มาจากภูมิทัศน์ของการแข่งขันที่เปลี่ยนไปด้วย ในหลายเซ็กเตอร์เจอการแข่งขันที่เข้มขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ โดยเฉพาะที่มาจากจีน ตัวนี้มาซ้ำเติม ไม่ได้มาแต่เฉพาะฝั่งอุปสงค์อย่างเดียว แต่มาจากฝั่งอุปทาน สภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น และหนักกว่าเดิมเยอะ

    “ดูไปข้างหน้าก็ยังเหนื่อย ส่วนของที่เคยเป็นพระเอกเก่าๆของเรา เจอแรงกดดัน อย่างเซ็กเตอร์ที่เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ มันไม่ได้รับอานิสงส์จากกระแสใหม่ๆของโลก เช่น อะไรที่โยงกับ AI ตัวนี้ เป็นตัวถ่วงอีกอันของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”

    bot 05 07 24 4

    นี่เป็นการจูนความหวังเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจ คือ ที่เราบอกว่าเศรษฐกิจของเรา ค่อยๆฟื้น เป็นการฟื้นแบบช้าๆ แล้วกลับเข้าสู่ศักยภาพระยะยาวของเศรษฐกิจไทย แต่เผอิญว่า ศักยภาพของเศรษฐกิจไทย ก็ไม่ได้สูงขนาดนั้น จากที่เราดูศักยภาพของเศรษฐกิจ ไม่ได้อยู่ที่ 5% มันไม่ได้อยู่ที่ 4% แต่น่าจะอยู่ที่ 3% บวกลบ

    ถามว่าทำไม ถ้าไปดูเศรษฐกิจของประเทศไทยว่า จีดีพีสามารถเป็นเท่าไหร่ได้นั้น เมื่อ จีดีพี หรือผลผลิตมวลรวมของประเทศ มาจากว่าแรงงานที่เรามี มีกี่คน และแรงงานแต่ละคนสามารถผลิตได้เท่าไหร่ ถ้าคิดอย่างนั้น คือ จีดีพี จะเท่ากับแรงงานที่เรามี คูณด้วยแรงงานแต่ละคนว่าผลิตได้เท่าไหร่

    ถ้าแปลงอันนั้น ไปเป็นอัตราการเติบโต จะเห็นว่าความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจ จะขึ้นอยู่กับว่า แรงงานของเราจะโตเท่าไหร่ เพิ่มเท่าไหร่ บวกกับอัตราการเติบโตของประสิทธิภาพของแรงงาน ถ้าแรงงานยิ่งเยอะ เศรษฐกิจก็โตเยอะ ถ้าแรงงานแต่ละยิ่งประสิทธิภาพสูง ก็ยิ่งโตขึ้นได้

    แต่ถ้าดูของประเทศไทย ถ้าถอยกลับไป ปี 2547-56 อัตราการเติบโตของแรงงานอยู่ที่ 1.2% และอัตราการเติบโตของผลิตภาพการผลิตอยู่ที่ 2.6% ถ้าคิดแบบหยาบๆ ง่ายๆ เราจะบอกว่า จีดีของเราจะโตได้ที่ 1.2% บวก 2.6% คือ ประมาณ 3.8% คือ ศักยภาพของเรา แต่ตัวเลขจริงๆที่ออกมาอยู่ที่ 4% ซึ่งไม่ได้ห่างมากขนาดนั้น

    ตัวนี้ มันสะท้อนว่า ท้ายที่สุดแล้ว ถ้าจะทำให้จีดีพีโตอย่างยั่งยืน มาจาก 2 คือ แรงงานเพิ่มขึ้น หรือประสิทธิภาพแรงงานเพิ่มขึ้นได้ แต่ที่เราเห็นจากปี 2547-56 แล้วมาล่าสุดปี 2557-66 สิ่งที่เห็นชัด คือ เราเป็นสังคมที่ประชากรเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุเร็วมาก การเติบโตของกำลังแรงงานลดลงจาก 1.2% เหลือ 0.04%

    หรือถ้าคิดง่ายๆ คือ จีดีพีมันหายไปแล้วกว่า 1% จากแรงงานที่หดตัวลง อัตราการเติบโตของผลผลิต ในช่วงนั้น (ปี 2557-66) ใกล้เคียงเดิม คือ 2.6% ถ้าเอาอันนี้บวกกัน จะออกมาอยู่ที่ประมาณ 2.7% แต่จีดีพีจริงที่ออกมาที่ 2.8% ตรงนี้ไม่ใช่การคาดการณ์จีดีพี

    bot 05 07 24 5

    “ตรงนี้ต้องการโชว์ให้เห็นว่า เหตุผลหลักๆที่ทำให้จีดีพีลดลงจาก 4% ลงมาเหลือ 2.8% มาจากปัจจัยพวกนี้ มันก็เป็นที่มาว่า ศักยภาพของเศรษฐกิจก็ประมาณนี้อยู่ที่ 2% กว่า แต่ถ้าเรารันโมเดลอย่างละเอียดของเรา มีการทำประมาณการสารพัดวิธี ตัวเลขจะออกมาบวกลบ 3% จากเดิมอยู่ที่ 3-3.5%

    ที่ย้ำตรงนี้ แค่จะบอกว่า การคาดการณ์ของเราที่บอกว่า ตอนที่ (เศรษฐกิจ) ฟื้น น่าจะฟื้นไปได้เท่าไหร่นั้น มันคงไม่ใช่ฟื้นกลับไปที่ 4% หรือ 5% แต่มันจะฟื้นกลับไปที่ประมาณ 3% บวกลบ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งตายตัว หรือปรับเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ถ้าเราอยากทำให้มันโตมากกว่านี้ ต้องทำอะไรในเชิงโครงสร้าง ต้องมีการลงทุน มีเทคโนโลยีใหม่ ต้องมีอะไรใหม่

    มันได้มาจากการไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าผลิตได้แค่นี้ จะกระตุ้นให้ตาย ก็จะกลับมาเท่านี้อย่างเดิม ถ้าเราอยู่อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ศักยภาพก็ประมาณ 3% และการฟื้นตัวก็คือ การฟื้นตัวกลับไปที่ศักยภาพ 3% แต่ถามว่าพอไหม ถ้าเทียบกับระดับรายได้ที่เป็นอยู่ ความยากจน และความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ ก็ไม่ใช่ตัวเลขที่พอ”

    @พิจารณา‘ดอกเบี้ย’ต้องชั่งน้ำหนัก 3 ปัจจัย

    มาที่เรื่องดอกเบี้ย ถ้าเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่ากรอบ ทำไมแบงก์ชาติไม่ลดดอกเบี้ย อันนี้คงคล้ายๆกับตอนที่แถลงของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แต่อยากคลี่ให้ชัดเจนขึ้น อันแรก กรอบเงินเฟ้อที่เราใช้ ซึ่งเป็น Flexible Inflation Targeting เป็นกรอบยืดหยุ่น ความหมาย คือ ตอนที่เราดูว่าดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไหร่ เราไม่ได้ดูแค่เงินเฟ้ออย่างเดียว

    เราดูควบคู่กับอื่นๆด้วย และอื่นๆที่เราดู จะมีเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเงินในหลายมิติ ไม่ได้มีสูตรตายตัวที่ว่า เงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบปุ๊บ ต้องลดดอกเบี้ย มันไม่ได้เป็นสูตรตายตัวอย่างนั้น ประเทศอื่นที่มีกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ก็ไม่ได้มีสูตรตายตัวเช่นกัน เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ต้องมี กนง. ใช้ AI มาตัดสินใจก็ได้

    ตอนเราดู เราดูหลายอย่าง แต่ต้องเข้าใจข้อจำกัดของดอกเบี้ยด้วย ซึ่งก็เข้าใจว่าเรื่องดอกเบี้ยเป็นอะไรที่ทุกคนโฟกัส และมองว่าเป็น Key แต่ดอกเบี้ย เป็นเครื่องมือที่หยาบ มันมาแล้ว ก็กระทบสารพัด และเป็นเครื่องมืออันหนึ่ง ที่ต้องตอบโจทย์หลายโจทย์ ทั้งเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงินหรือต่างประเทศ

    ตอนที่เรา Set ดอกเบี้ยไว้ที่จุดหนึ่ง ถ้ามองจากมุมให้มุมหนึ่ง ก็ดูเหมือนว่า ไม่ตอบโจทย์เต็มที่ แต่เมื่อ (ดอกเบี้ย) ต้องตอบโจทย์หลายโจทย์พร้อมกัน จึงต้องมองในภาพรวม ตั้งชั่งโน่นชั่งนี่ เช่น ถ้าเป็นลูกหนี้ ก็อยากเห็นดอกเบี้ยต่ำๆ แต่คนที่เป็นผู้ฝากเงิน ถ้าดอกเบี้ยต่ำเกินไป ก็ไม่ดี ถ้าเป็นผู้ส่งออก ก็ไม่อยากให้ดอกเบี้ย ไปกระทบอัตราแลกเปลี่ยน

    ส่วนในฐานะผู้บริโภค ก็ไม่อยากเห็นเงินเฟ้อที่สูงเกินไป เพราะเงินเฟ้อตอนที่มันมาแล้ว ราคาของที่ขึ้นไป มันไม่ยอมลง เราจึงต้องจัดการไม่ให้เงินเฟ้อสูง เพราะจะมากระทบทุกคน ถ้าเป็นผู้ผลิต ก็ไม่อยากให้เงินเฟ้อสูง เพราะต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศก็ลดลง

    “กรอบเงินเฟ้อที่เรามีอยู่ ไม่ได้ดูเฉพาะเรื่องเงินเฟ้อ แต่ดูเรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และต้องดูเรื่องเสถียรภาพการเงิน ซึ่งตัวที่ต้องจับตาเยอะ คือ หนี้ครัวเรือนที่สูง...และตอนที่เรา Set ว่า ดอกเบี้ยที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไหร่ เราต้องชั่งทั้ง 3 เรื่องนี้ ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมและสมดุลกัน"

    ถ้าจำได้ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เงินเฟ้อวิ่งขึ้นไปสูงมาก พีคไปที่ 8% ช่วงนั้น แบงก์ชาติถูกต่อว่า ว่า ทำไมไม่ขึ้นดอกเบี้ย ทำไมไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย คนอื่นเขาขึ้นกันเยอะแล้ว ขึ้นเร็วแล้ว และไม่ได้ขึ้นทีละ 0.25% เขาขึ้นทีละ 0.5% แต่ ธปท.ยังไม่ขึ้น ขึ้นช้ากว่าชาวบ้าน และขึ้นทีละ 0.25% ไม่ได้เหมือนชาวบ้านเขา ตอนนั้นใช้ค่าว่า behind the curve คุณล้าหลังเขา

    แต่มันจากการที่เราดูแล้วว่า เศรษฐกิจของเรา เราต้องชั่งกับภาพเศรษฐกิจตอนนั้น เราโดนเรื่องโควิดหนักกว่าชาวบ้าน การฟื้นตัวของเราช้ากว่าชาวบ้าน แล้วจะให้เราทำนโยบายดอกเบี้ยเหมือนชาวบ้าน ก็เป็นอะไรที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นที่มาว่า เราก็ขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไปบาลานซ์กับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่อื่น ถ้าไม่ขึ้นเลย ก็ไม่ได้ เพราะเงินเฟ้อมันขึ้นไปขนาดนั้น

    และตัวที่สำคัญ คือ เราต้องการดำเนินนโยบายการเงินที่ยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต ((inflation expectation) เพราะถ้าตรงนี้หลุดไป ถ้าคนคิดว่าเงินเฟ้อจะวิ่งไปเรื่อยๆ เงินเฟ้อจริงจะวิ่งตามขึ้นไป และด้วยความที่เรายึดการคาดการณ์เงินเฟ้อไว้ได้ดี ทำให้เงินเฟ้อที่พีคไป 8% กลับเข้ามาในกรอบบน 3% ภายใน 7 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วที่สุด ไม่รู้ว่าเร็วที่สุดในโลกหรือเปล่า

    bot 05 07 24 6

    @ย้ำ‘ดอกเบี้ย’เหมาะสมแล้ว แต่พร้อมปรับเปลี่ยน

    ถามว่าแล้วต่อจากนี้ไป (ดอกเบี้ย) จะเป็นอย่างไร ตอนนี้ถ้าดู เราต้องชั่งประเด็นต่างๆพวกนี้ รวมทั้งการดูเรื่องเสถียรภาพในภาพรวม ตอนนี้มันอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน และเมื่อมองไปข้างหน้า เราเห็นตัวเลขต่างๆว่าเทรนด์เป็นอย่างไร Outlook เป็นอย่างไร ไม่ได้ดูเฉพาะปัจจุบัน เพราะการตัดสินใจเรื่องนโยบายจะต้องดูว่าข้างหน้าเป็นอย่างไร

    นโยบายที่ตัดสินใจวันนี้ ไม่ได้มีผลวันนี้ แต่มีผลข้างหน้า ทุกอย่าง ต้องมองไปข้างหน้า ถ้าเทียบกับการเตะบอล ตอนจ่ายลูกบอล ไม่ได้จ่ายลูกไปที่ๆคนอยู่ แต่ต้องจ่ายลูกไปที่ๆคิดว่าคนนั้นจะอยู่ เพื่อให้เขาชู๊ตไปได้ ซึ่งตอนนี้เศรษฐกิจไตรมาส 1/2567 ออกมา 1.5% เงินเฟ้อไตรมาสแรกติดลบ และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง

    ถามว่าถ้าอย่างนี้ ทำไมไม่ลดดอกเบี้ย ก็อีกนั่นแหละ การตัดสินใจจะมาจากพื้นฐานตัวเลข ณ วันนี้ ไม่ได้ ต้องมองไปข้างหน้า ถ้ามองไปข้างหน้า ก็ไม่ใช่เรื่อง data dependent ไม่ใช่ข้อมูลที่ออกมาวันนี้ แต่เป็น outlook dependent ถ้าดูแนวโน้มแล้วว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจน่าจะทยอยฟื้นกลับเข้าสู่ศักยภาพ 3%

    โดยไตรมาส 1/2567 โต 1.5% ไตรมาส 2 น่าจะอยู่ที่ตัวเลขเกิน 2% ไตรมาส 3 น่าจะเห็นตัวเลขใกล้ 3% คือ 2% สูง 3% ลบๆหน่อย และไตรมาส 4 ก็น่าจะเห็นตัวเลขที่ใกล้ 4% คือ 3% สูงๆ เมื่อรูปแบบการฟื้นตัวค่อยๆเพิ่มขึ้นมา และมองไปในปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะโตที่ 3%

    เงินเฟ้อก็เช่นกัน ที่มาของเงินเฟ้อติดลบนั้น คุยกันได้ยาว มันมาจากฝั่งอุปทานบ้าง มาจากการอุดหนุนบ้าง ไตรมาส 1 ลบ 0.8% แต่ล่าสุดล่าสุด (พ.ค.) ออกมา 1.5% และที่จะออกในเดือน มิ.ย. เราคาดว่าจะอยู่ที่ 1% บวกลบ แต่เดี๋ยวมันจะค่อยกลับเข้ามา โดยไตรมาส 4 เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น และครึ่งหลังของปีเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.1% และเฉลี่ยทั้งปี 0.6%

    อีกอย่างที่เราต้องชั่ง คือ หนี้ครัวเรือน ซึ่งเราเป็นห่วงมาก เราพูดเรื่องมานานแล้ว และในการดูดอกเบี้ยที่เหมาะสมในแง่ของหนี้ควรเป็นอย่างไร ก็ต้องดูว่าดอกเบี้ยสูง คนมีภาระเยอะ ดอกเบี้ยก็สูง ก็ไม่ดี แต่ในทางกลับกัน ถ้าดอกเบี้ยต่ำเกินไป การกู้ยืมก็โตไปเรื่อยๆ แล้วยิ่งทำให้เสถียรภาพฝั่งการเงินเสื่อมไป

    ถ้าเรากลับมาตรงนี้ หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 91% ของจีดีพี แต่ถ้ากลับไปหนี้จะอยู่ที่ 60-70% และตอนนั้นที่หนี้เริ่มไต่ขึ้นมาจนถึง 85% เป็นช่วงที่เราลดดอกเบี้ย ดังนั้น การที่ดอกเบี้ยลงหรือการที่ดอกเบี้ยต่ำ เอื้อให้การกู้ยืมเกิดขึ้น และทำให้เสถียรภาพเสื่อมลง แล้วเราก็เก็บดอกเบี้ยไว้ต่ำค่อนข้างนาน หรือ low for long

    เราเพิ่งมาเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้แป๊บเดียว แล้วโควิดก็มา ก็ต้องลดเบี้ยไป ดังนั้น ในการชั่งเรื่องดอกเบี้ย ก็ต้องชั่งระหว่างการดูแลหนี้เก่า และดอกเบี้ยใหม่ก็ไม่ควรอยู่ในระดับที่เอื้อให้การกู้ยืมพุ่งหรือเติบโตเร็วเกินไป

    bot 05 07 24 7

    “ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว จะลดดอกเบี้ยหรือเปล่า คำตอบ คือ เหมือนที่ กนง.พูด ตอนนี้เรามองว่าดอกเบี้ยเรา ที่ กนง. Set ไว้มันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับ outlook dependent ที่เราเห็น แต่ถ้า outlook นั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ เงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงไปจากเส้นทางที่เรามองไว้อย่างมีนัยยะ การฟื้นของเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ

    หรือมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพอะไรต่างๆ ก็พร้อมจะเปลี่ยนเรื่องดอกเบี้ย ไม่ได้ปิดประตูอะไร ตอนนี้ปิดประตูอะไรไม่ได้ เพราะความเสี่ยง ความไม่แน่นอนในโลก มันมีมหาศาล เราไม่ได้ยึดติดอะไร แค่ตอนนี้คิดว่าในภาพรวมแล้ว เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การดูแลเรื่องเงินเฟ้อ และเสถียรภาพเรื่องการเงิน”

    อีกอันหนีไม่พ้นที่เราต้องเหลียวตามอง คือ เสถียรภาพเรื่องต่างประเทศ อันนี้เราก็เห็นว่าที่ผ่านมา ปีที่แล้วเงินทุนไหลออก 9.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีนี้ตอนแรกดูเหมือนว่าเริ่มชะลอลงบ้าง แต่กลายเป็นว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ เงินทุนไหลออกไปแล้ว 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในแง่เสถียรภาพก็ต้องจับตามอง

    “เรื่องดอกเบี้ย ส่วนต่างดอกเบี้ย เป็นอะไรที่ต้องจับตามอง”

    อย่างไรก็ดี วิธีที่เราพยายามใช้เพื่อช่วยไม่ให้ดอกเบี้ยต้องออกแรงอยู่คนเดียว คือ การหาเครื่องมืออื่นมาประกอบ เพื่อช่วยตอบโจทย์พวกนี้ และลดผลข้างเคียง เพราะการใช้ดอกเบี้ยตัวเดียวนั้น ตอนที่เอาขึ้นหรือเอาลง มันมีผลข้างเคียงเยอะ จึงต้องเสริมด้วยมาตรการอื่นๆ

    โดยกรอบอันหนึ่งที่เราใช้ คือ การใช้มาตรการดูแลเสถียรภาพการเงิน หรือ Macro prudential เช่น มาตรการ LTV ,มาตรการกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) ,มาตรการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และมาตรการทางเงิน เช่น การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) รวมถึงช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น

    bot 05 07 24 8

    bot 05 07 24 9

    bot 05 07 24 9 1

    @แจง‘แบงก์ชาติ’ไม่ได้กำหนดเกณฑ์คุม‘สินเชื่อ’เข้มขึ้น

    ส่วนเรื่องสินเชื่อภาพรวมที่ชะลอลง และติดลบเยอะมากโดยเฉพาะในส่วนของ SMEs นั้น จะเห็นว่าตอนนี้มันกลับมาสู่รูปแบบเดิมในช่วงก่อนโควิด คือ คนไม่ค่อยอยากปล่อย SMEs ซึ่งตัวนี้ เราเป็นห่วงเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs มากกว่าเรื่องอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ต้องบอกว่า การชะลอตัวของสินเชื่อนั้น เป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ตามวัฏจักรสินเชื่อ

    เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงตามวัฏจักรสินเชื่อขาลง เนื่องจากในช่วงที่สินเชื่อโตเยอะๆแล้ว ช่วงหลังจากนั้นสินเชื่อจะค่อยๆกลับเข้ามาสู่เทรนด์ และการชะลอตัวของสินเชื่อ ไม่ได้มาจากเกณฑ์ของแบงก์ชาติที่เข้มอะไร บางทีเห็นพาดหัวอะไรก็เจ็บอก บอกว่าสินเชื่อไม่โต เพราะเกณฑ์แบงก์ชาติ แบงก์ชาติออกเกณฑ์เข้ม แบงก์เลยไม่ปล่อย อันนี้เป็นความเข้าใจผิด

    อันแรกเลย ถ้าเราดูวัฏจักรสินเชื่อ อันนี้ (อ่านข้อมูลประกอบด้านล่าง) เป็นเทรนด์ของสินเชื่อ ถ้าช่วงไหนที่สินเชื่อโตมากกว่าปกติ ท้ายที่สุดก็จะลง แล้วค่อยๆไต่ขึ้นไป ช่วงหลังปี 2540 ก็จะเห็นว่ามันตกเร็วมาก แล้วก็ค่อยๆฟื้น จากนั้นก็มีมาตรการรถคันแรก บ้านหลังแรก และการฟื้นตัวเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ค่อยๆชะลอลง

    และถ้าว่าไปตามวัฏจักรน่าจะชะลอตัวลงเร็วกว่านั้น แต่ด้วยความที่มีมาตรการออกมาในช่วงโควิด จึงช่วยพยุงการชะลอตัวลงนี้ ไม่ได้เร็วเหมือนในอดีต แต่ประเด็น คือ ตอนนี้วัฏจักรสินเชื่ออยู่ในช่วงขาลง การชะลอตัวของสินเชื่อเป็นเรื่องปกติ และมีโอกาสน้อยมากที่สินเชื่อจะหักหัวขึ้นไป

    bot 05 07 24 9 2

    “อะไรที่โตไปเยอะ ก็ต้องชะลอตัวลงเป็นธรรมชาติของมัน แต่ถามว่าการชะลอตัวลงมาจากอะไร ส่วนหนึ่งมาจากวัฏจักรของมัน แต่ขอย้ำว่า ไม่ได้มากจากเกณฑ์ของแบงก์ชาติ จะมีการพูดกันว่า เกณฑ์ RL (responsible lending) หรือเกณฑ์อะไรของเรา ทำให้สถาบันการเงินต่างๆเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น

    ถามว่า เรามีการกำหนดอัตราส่วนเรื่องการผ่อนชำระต่างๆต่อรายได้ (DSR) หรือเปล่า ก็ตอบว่า ตอนนี้ไม่มี เรามีการกำหนดหรือไม่ว่า Credit Score ขั้นต่ำต้องเป็นอย่างนี้ ถึงจะได้สินเชื่อ ก็ไม่มี ถ้าไล่เกณฑ์ต่างๆไปอย่างนี้ ถามว่า เรามีอย่างนี้หรือเปล่า คำตอบสั้นๆ คือ เราไม่มี

    การตัดสินใจเรื่องการปล่อยสินเชื่อเป็นเรื่องของแบงก์ ไม่ได้เป็นเรื่องว่าแบงก์ชาติไปกำหนดว่า ต้องทำขั้นต่ำอย่างนั้นอย่างนี้ถึงจะปล่อย ไม่มี แต่ปัญหาอันหนึ่งที่เราเจอ และกลายเป็นเรื่อเข้าใจผิดที่อยู่ในตลาด คือ แบงก์ตอนคุยกับลูกหนี้ ก็ไม่อยากเป็นตัวร้าย ไม่ได้บอกว่า ที่ไม่ปล่อย เพราะกลัวว่าคุณจะไม่จ่าย ก็เลยไปโทษแบงก์ชาติ

    บอกว่าปล่อยไม่ได้ เพราะเกณฑ์แบงก์ชาติ จะได้ยินมาบ่อยๆ ต้องขอเรียนว่า ไม่ใช่เกณฑ์ของแบงก์ชาติ แต่เราต้องมานั่งรับเรื่องนี้ตลอด และเรื่องนี้เป็นการตัดสินใจของแบงก์เขา”

    bot 05 07 24 9 3

    @ดูด‘สภาพคล่อง’ดูแล‘ค่าเงิน-ดบ.’ไม่เกี่ยวคุมสินเชื่อ

    อีกทั้ง ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสภาพคล่อง เราจะชอบพูดคำว่า สภาพคล่อง และตอนที่พูดคำว่า สภาพคล่อง เราคิดเหมือนเป็นน้ำ การที่คิดหรือไปเทียบเคียงว่า สภาพคล่อง หรือสินเชื่อ เป็นเหมือนน้ำ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดหลายมุม เช่นว่า คิดว่าสภาพคล่องในระบบมีจำกัดอยู่อย่างนี้ ถ้าไปตรงนี้ ก็ต้องหายไปจากอีกที่หนึ่ง

    หรือถ้ามองในมุมแบงก์ชาติเอง บางทีต้องดูดสภาพคล่องจากระบบ ก็เลยทำให้สภาพคล่องหายไปจากระบบ แบงก์ก็เลยไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ เพราะสภาพคล่องหาย มันมาจากแนวคิดที่ว่าสภาพคล่อง คือ น้ำ และน้ำ มีจำกัด เมื่อไหลไปที่หนึ่ง ก็ต้องหายไปจากอีกที่หนึ่ง แต่เป็นความเข้าใจที่ไม่ค่อยถูก

    เพราะถ้าเราดูสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ จะเห็นว่าโตขึ้นไปได้ต่อเนื่อง ส่วนยอดคงค้าง Bilateral Repo (BRP) ของ ธปท. หรือการที่เราเข้าไปดูดสภาพคล่องเข้า-ออก มันเกิดจากการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย โดยจะเห็นว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้สัมพันธ์กับตัว BRP เลย

    “ภาพที่เหมือนกับเราไปดูดสภาพคล่อง แล้วทำให้แบงก์เหมือนไม่มีสภาพคล่องที่ไปปล่อยต่อ เป็นภาพที่ไม่ใช่ แต่แบงก์ชาติกลับโดนต่อว่า ว่า แบงก์ชาติดูดสภาพคล่องไปจนหมด มันไม่ใช่...การชะลอตัวของสินเชื่อ ไม่ได้มาจากสภาพคล่องที่ขาดอะไร เพื่อที่ว่าถ้าอยากจะแก้ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ ต้องแก้อย่างไร ให้มันถูกจุด”

    เรื่องสินเชื่อ จริงๆไม่ได้มาจากเรื่องสภาพคล่องอะไรต่างๆที่เป็นข้อจำกัด แต่เป็นเรื่องความเสี่ยงด้านเครดิต และเป็นที่มาว่า ถ้าจะเกาให้ถูกจุด ต้องมีกลไกการค้ำประกัน และถ้าจะให้ดี ต้องประเมินความเสี่ยงเป็น มีข้อมูลที่ครบ จึงต้องมีเรื่องการเปิดกว้างในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือ Open data

    Source: สำนักข่าวอิสรา
    FB_IMG_1720334536041.jpg FB_IMG_1720334538013.jpg FB_IMG_1720334539995.jpg FB_IMG_1720334542222.jpg FB_IMG_1720334544387.jpg FB_IMG_1720334546420.jpg FB_IMG_1720334548365.jpg FB_IMG_1720334551744.jpg FB_IMG_1720334553896.jpg FB_IMG_1720334556072.jpg FB_IMG_1720334558001.jpg
    https://www.isranews.org/article/isranews-article/129883-bot-governor-GDP-interest-loans-view.html
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1720334833956.jpg
    (Jul 6) ผู้ว่า ธปท.ชี้ มาตรการกระตุ้นไม่ช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจ แนะลงทุนเพิ่ม : ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวเข้าสู่ศักยภาพ 3% หมดโอกาสโต 4-5% หลังศักยภาพเศรษฐกิจปรับลดลง ยอมรับประชาชนบางกลุ่มลำบาก หลังเผชิญ “หลุมรายได้” หายไปมหาศาล-ค่าครองชีพพุ่ง แม้รายได้จะกลับมาก่อนระดับโควิด ยัน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ช่วยเพิ่มระดับศักยภาพเศรษฐกิจ หนุนเร่งลงทุน-สร้าง R&D-หาธุรกิจใหม่ ชี้ ไม่ปิดประตูลดดอกเบี้ย หากมุมมองเศรษฐกิจเปลี่ยน ส่วนปรับกรอบเงินเฟ้อต้องชั่งน้ำหนัก เป็นเรื่องละเอียดอ่อน

    ศักยภาพเศรษฐกิจไทยลดลงต่อเนื่อง คนไทยเจอหลุมรายได้

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นายเศษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าววในงาน “Meet the Press ผู้ว่าพบสื่อ” ว่า ธปท.ยังมอว่า ภาพรวมเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวและโตต่อเนื่อง และฟื้นกลับเข้าสู่ศักยภาพ แต่เทียบกับโลกเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า โดยการฟื้นตัวในแง่ภาพรวมโดยยอมรับว่าซ่อนความลำบากและความทุกข์ของคนในหลายกลุ่ม ทั้งลูกจ้างนอกภาคเกษตร และกลุ่มอาชีพอิสระ แม้ว่ารายได้จะกลับมาสูงกว่าก่อนโควิด-19 แต่ยังพบว่ามี “หลุมรายได้” ที่หายไปมหาศาล เพราะรายจ่ายมีแต่เพิ่มขึ้นตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังถูกซ้ำเติมด้วยหนี้ครัวเรือน และการแข่งขันจากต่างประเทศ

    โดย ธปท.มองแนวโน้มเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวเข้าสู่ศักยภาพ โดยอัตราการเติบโตจีดีพีรายไตรมาส ซึ่งตัวเลขไตรมาสที่ 1/67 อยู่ที่ 1.5% ออกมาดีกว่าคาด ส่วนไตรมาสที่ 2/67 คาดใกล้เคียงหรือสูงกว่า 2% และไตรมาส 3/67 เห็นใกล้เคียง 3% และไตรมาส 4/67 เติบโตใกล้เคียง 4% และไปข้างหน้าในปี 2568 ขยายตัวได้ราว 3%

    อย่างไรก็ดี หากดูศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจปรับลดลง และคงไม่ได้สูงมากในระดับ 5% หรือ 4% เหมือนในอดีต ซึ่งในแบบจำลองคาดการณ์ของธปท.ระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในช่วง 10 ปีก่อนโควิด-19 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.0-3.5% และคาดว่าปี 2566-2571 คาดว่าศักยภาพจะอยู่ที่ราว 3%.

    ทั้งนี้ ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้มากน้อยขนาดไหน จะขึ้นอยู่กับแรงงาน และผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งจะแปลงเป็นการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งหากดูจากข้อมูลจะพบว่าในปี 2547-2556 กำลังแรงงานอยู่ที่ 1.2% ผลิตภาพ 2.6% คาดจีดีพีขยายตัว 3.8% แต่ตัวเลขจริงอยู่ที่ 4.0% และหากดูในปี 2557-2566 กำลังแรงงานเหลือเพียง 0.04% สะท้อนว่าไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งมีผลให้จีดีพีหายไปเกือบ 1%

    “หากปล่อยไว้แบบศักยภาพขยายอยู่ที่ 3% แต่หากต้องการเพิ่มระดับศักยภาพ จะต้องให้มีการลงทุนใหม่ ในโครงสร้างพื้นฐาน หรือเกิดสิ่งใหม่ๆ จากการศึกษาและวิจัย (R&D) คุณภาพแรงงาน ซึ่งจะยกระดับเกิน 3% ได้ แต่หากมาจากการกระตุ้น จะกระตุ้นได้แป๊บเดียว หรือกระตุ้นให้ตายอีกสักพักก็กลับมาที่ระดับ 3%”

    ยันไม่ปิดประตูลดดอกเบี้ย

    นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า มีคำถามว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ทำไมธปท.ไม่ลดดอกเบี้ยนั้น มองว่า การพิจารณาจะดูองค์ประกอบกอย่างอื่นด้วย เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงิน และกรอบเงินเฟ้อที่ใช้มีความยืดหยุ่น ดังนั้น จึงไม่มีกรอบตายตัวว่า เงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย จะต้องลดดอกเบี้ย แม้ว่าดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือเดียว แต่จะต้องตอบโจทย์หลายโจทย์ ซึ่งจะต้องมองภาพรวม เพราะมีผลกระทบหลายด้าน

    “ไม่มีสูตรตายตัวแบบนั้นว่า เงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบจะต้องลดดอกเบี้ย เพราะถ้ามีสูตรตายตัวแบบนั้น ก็ไม่ต้องมีกนง. ให้ AI มาช่วยทำแทน”

    เช่น ในประเทศที่มีลูกหนี้ ก็ต้องการดอกเบี้ยต่ำ แต่หากเป็นผู้ฝากเงินก็ต้องการดอกเบี้ยที่สูง หรือในฐานะผู้บริโภคก็ไม่อยากเห็นเงินเฟ้อสูงเกินไป เพราะจะกระทบต่อค่าครองชีพ หรือผู้ประกอบการก็ไม่ต้องการเงินเฟ้อสูง เพราะกระทบต่อต้นทุนและความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น ดอกเบี้ยต้องพยายามบาลานซ์ให้สมดุล ซึ่งไม่ได้มองมุมใดมุมหนึ่ง แต่ต้องชั่งน้ำหนักในหลายมิติ โดยสิ่งที่ธปท.พิจารณาจะต้องมองไปข้างหน้า เพื่อตัดสินใจนโยบาย เพราะนโยบายวันนี้จะมีผลในระยะข้างหน้า

    “ดอกเบี้ยตอนนี้เราพิจารณาจาก Outlook Dependent ไม่ใช่ Data Dependent ซึ่งหาก Outlook เปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งเศรษฐกิจ และเสถียรภาพปรับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ เราก็พร้อมจะปรับนโยบาย ไม่ได้ปิดประตูแต่อย่างใด แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยเหมาะสมกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และเสถียรภาพการเงินและระบบการเงิน”

    ชี้ ปรับกรอบเงินเฟ้อเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

    ส่วนคำถามเรื่องกระทรวงการคลังงต้องการให้ปรับกรอบเงินเฟ้อเป็นค่ากลางนั้น มองว่า กรอบเงินเฟ้อจะมีการตกลงร่วมกันในไตรมาสที่ 4/2567 โดยกระบวนการตอนนี้อยู่ระหว่างหารือ และตกลงร่วมกัน ซึ่ง ธปท.ก็รับข้อเสนอของกระทรวงการคลังไว้พิจารณา อย่างไรก็ดี หากดูเหตุผลของกรอบเงินเฟ้อมีไว้ทำไม คือ ยึดเหนี่ยวคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต และความชัดเจนของนโยบาย

    ดังนั้น การปรับกรอบเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องชั่งน้ำหนัก และหากดูต่างประเทศไม่มีใครปรับกรอบเงินเฟ้อ เพราะอาจจะกระทบ Credit Rating และการคาดการณ์เงินเฟ้อจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลให้เงินเฟ้อขยับสูงได้ เพราะหากขยับหรือไม่มีกรอบ จะทำให้ค่าจ้างปรับเพิ่ม ต้นทุนกู้ยืมต่างๆ ปรับขึ้น รวมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยีลด์) เพิ่มขึ้น จึงต้องชั่งน้ำหนักให้ดี

    โดยตัวเลขเงินเฟ้อมิถุนายนที่กระทรวงพาณิชย์ที่กำลังออกมาในวันพรุ่งนี้ (5 ก.ค.67) คาดว่าจะอยู่ที่ระดับใกล้ 1% หรือ 1% บวก,ลบ โดยหากมองอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จะอยู่ที่ 0% หรือทรงตัว และในช่วงครึ่งหลังของปีจะเฉลี่ย 1.1% จึงเป็นที่มาของทั้งปี 2567 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.6%

    “เงินเฟ้อที่ต่ำ 1% ไม่ได้เป็นการกดหรือบังคับให้ต่ำ แต่เงินเฟ้อต่ำมาจากปัจจัยอุปทาน มาตรการอุดหนุน และการแข่งขันต่างๆ ซึ่งธปท.ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์ที่บังคับให้ผู้ประกอบห้ามขึ้นราคา”

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/finance/news-1600725

    ภาพ : ธปท.
     

แชร์หน้านี้

Loading...