ดวงเดียวเที่ยวไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 6 สิงหาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การรู้จักเรื่องจิตผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมทำให้การเรียนรู้
    และการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาผิดตลอดแนวทางไปด้วย

    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
    เช่นเดียวกับบุคคลที่เริ่มติดกระดุมเสื้อเม็ดแรกผิดไปจากความเป็นจริง
    เม็ดอื่นๆต่อไปก็จะติดผิดตามไปด้วยตลอดแนวเช่นกัน

    การเปรียบเทียบนี้จะทำให้เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
    ถึงเหตุแห่งความเข้าใจแบบผิดๆในเรื่อง"จิต"นั้น
    สืบเนืองจากการท่องจำเอาจากตำรา(โลกียปัญญา)เพียงอย่างเดียว
    หรือเชื่อแบบตามๆกันมาจากบุคคลที่ตนเองคิดว่าน่าเชื่อถือแบบผิดๆโดยไม่เคยพิสูจน์
    แต่กลับคิดไปเองว่า สิ่งที่ตนได้เรียนรู้มาแบบผิดๆนั้น ว่าเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว

    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะตนเองก็สามารถติดกระดุมเสื้อได้ตลอดแนวเช่นกัน
    แต่ก็เป็นแถวเป็นแนวที่ผิดรูปผิดร่างไปจากความเป็นจริง และไม่ลงตัวในตอนท้ายด้วยดี
    โดยที่เจ้าตัวเองไม่รู้สึกตัวเลย สืบเนื่องจากตนเองเป็นผู้สวมใส่เสื้อตัวนั้นอยู่
    ทำให้ไม่สามารถมองเห็นถึงความผิดพลาดในสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป
    แต่ก็ไม่ถึงกับไม่รู้เลย เพียงแต่คุ้นเคยคุ้นชินกับสิ่งผิดๆที่กระทำอยู่เป็นประจำลงไป
    ต้องให้บุคคลอื่น ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาอย่างจริงจัง
    มาช่วยชี้แนะโดยเหตุโดยผลให้เข้าใจและรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ จนเกิดทิฐิที่ถูกต้อง

    เนื่องจากผู้ที่เคยผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาอย่างจริงจังนั้น
    ย่อมมีประการณ์ความชำนาญ และสามารถพิสูจน์ให้รู้เห็นตามความจริง
    ในเรื่องของจิตและอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์หรือรูปนามมาแล้วนั่นเอง
    ผู้ปฏิบัติสามารถรู้เห็นถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการติดกระดุมเม็ดแรก
    ย่อมมีวิธีการอันแยบคลายในการพิสูจน์ เพื่อติดกระดุมเม็ดแรกไม่ให้ผิดพลาดได้
    โดยน้อมนำเอาพระพุทธพจน์(พระธรรมและพระวินัย)ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เป็นเครื่องนำทาง
    ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้อย่างชัดเจน เพื่อเปรียบเทียบ เทียบเคียงว่าลงกันได้กับการปฏิบัติอย่างลงตัวหรือไม่


    เราควรน้อมนำเอาพระพุทธพจน์ โดยเฉพาะสูตรในชั้นต้นๆมาเปรียบเทียบ เทียบเคียง
    กับผลของการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ที่ผ่านๆมา ว่าเราหลงทางอยู่หรือไม่

    โดยเฉพาะการเริ่มต้นในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานั้นสำคัญมากๆ
    เมื่อเริ่มต้นผิดจากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ก็จะทำให้ผิดพลาดไปตลอดแนวได้เช่นกัน

    โดยเฉพาะเรื่องจิต ซึ่งเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญ เป็นหัวใจในพระพุทธศาสนาของ “เรา”
    พวกเราชาวพุทธพึงต้องศึกษาเรื่องจิตให้เข้าใจอย่างถูกต้องท่องแท้ ตามพระพุทธพจน์
    จึงจะทำให้การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น
    ได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรงต่อพระนิพพานในเบื้องหน้า

    ในโอวาทปาติโมกข์ในนั้น พระพุทธองค์ท่านทรงกล่าวไว้ชัดเจนถึง"หัวใจพระพุทธศาสนา"
    ให้เราละชั่ว เจริญความดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
    "ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ.ฯลฯ
    เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น
    แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ”(พระพุทธพจน์)

    ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่สำคัญมากอย่างยิ่งยวด
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เพื่ออะไร?
    เพื่อให้จิตหลุดพ้นหรือจิตพ้นวิเศษจากอารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดต่างๆทั้งหลาย
    ฉะนั้นเรื่องการชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
    จึงเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ได้ทรงให้พระภิกษุสงฆ์สาวก๖๑รูป
    ช่วยกันออกไปเผยแผ่ให้กว้างไกล กันคนละทิศละทางในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา
    ล้วนเป็นเรื่องของการปฏิบัติให้รู้ยิ่งเห็นจริงทางจิตทั้งสิ้น

    เมื่อมีความเข้าใจเรื่องจิตผิดไปจากความเป็นจริงซะแล้ว และคิดเองเออเองไปว่า
    จิตเป็นของเหลวไหลไร้สาระ บังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจหวังไม่ได้
    เพราะจิตของตนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    จิตของตนต้องเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา เพียงชั่วรัดนิ้วมือเดียวเกิดดับตั้งแสนโกฏิครั้ง
    จิตของตนมีเป็นร้อยๆดวง ที่เกิดๆดับๆสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
    จิตดวงเก่าต้องดับไปก่อน จิตดวงใหม่จึงเกิดขึ้นมาได้ จิตจะมีขึ้นพร้อมกันทีเดียวสองดวงไม่ได้
    แต่กลับไม่รู้ว่า จิตของตนดวงเก่ากับดวงใหม่ถ่ายทอดกรรมให้กันและกันในตอนไหน
    ทำให้เรื่องหลักการของกรรมในพระพุทธศาสนา ก็จะเกิดเสียหายตามไปด้วย
    *ดวงใหม่ที่ไม่ได้กระทำกรรมชั่วไว้ แต่ต้องมาแบกรับกรรมชั่ว(ดวงเก่าที่กระทำไว้)
    ในสิ่งที่ตนเองไม่ได้กระทำไว้เลย ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าเอาเสียจริงๆ

    อะไรที่เป็นอนัตตา สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้(ไม่ใช่ตน)เช่นกัน
    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า "สิ่งใดที่เป็นอนัตตา เราควรละสิ่งนั้นเสีย"
    เมื่อจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสกลกายที่ตนอาศัยอยู่นี้(รูป) มาเป็นของๆตนแล้ว
    จิตย่อมแสดงอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ออกมา
    ให้ปรากฏขึ้นมาจากช่องทั้ง๖ในการรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในอนัตตลักขณสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วว่า
    รูป(อารมณ์) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์)
    ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตน) ใครเป็นผู้เห็นรูปนาม(ขันธ์๕)เหล่านั้น
    พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า จิตเป็นอนัตตาไปด้วยเลย
    แต่จิตกลับเป็นผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นว่า
    ขันธ์๕เหล่านั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของเรา(จิต) อย่าเดาสวดกันเอาเอง

    เมื่อจิตที่หลงอยู่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอารูปร่างกาย(ภพ)ที่ตนอาศัยอยู่ ว่าเป็นของๆตนนั้น
    ย่อมต้องแสดงอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(รูปนั้น) ออกมาให้เห็นทาง กาย วาจา ใจ
    เป็นเรื่องธรรมดาของจิตที่ยังไม่ได้รับความบริสุทธิ์หลุดพ้น เพราะอวิชชา ตัณหา อุปาธานครอบงำจิตอยู่

    ในท้ายพระสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ชัดเจนว่า เมื่อจิตของตนรู้เห็นตามความเป็นอย่างนี้แล้ว
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป(อารมณ์) ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ(อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์)
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี(อตฺตมนา)
    เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
    จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    อนัตตลักขณสูตร จบ
    ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์".
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ทั้งนี้แสดงว่าจิตที่ได้รับฝึกฝนอบรมดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าขันธ์๕ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์๕ ขันธ์๕ไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง)ของเรา
    เพราะจิตปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ได้แล้ว
    จิตย่อมเป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัยได้แล้ว ไม่ไปทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือ อกุศลธรรมกรรมชั่วทั้งหลาย

    เมื่อเป็นเช่นนี้ นักตำรานิยมทั้งหลาย ก็จะพยายามยัดเยียดให้ว่า แบบนี้แสดงว่า"จิตเที่ยง"สิ
    ซึ่งคำว่า"จิตเที่ยง"ในความหมายทางพระพุทธศาสนาของเรานั้น
    มีความหมายไปในทาง สัสสตทิฐิว่า คือจิตเคยเกิดเป็นอะไรแล้ว เมื่อจุติ(ตาย)ไปก็จะเกิดเป็นอย่างนั้นตลอดไป
    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น เที่ยงแท้ถาวรอยู่อย่างนั้นตลอดไป นี้คือความหมายว่า"จิตเที่ยง" ในครั้งกระนั้น


    คำว่า"เที่ยง"นั้น มีไวพจน์ไว้ใช้แทนกันได้อย่างมากมาย เช่น อมตะ คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรปรวน ไม่กลับกลอกฯลฯ
    พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า อกุปปธรรม(ธรรมที่คงที่) อมตะธรรม(ธรรมที่ไม่ตาย)
    อวิปรินามธมฺมํ(ธรรมที่ไม่แปรปรวน)ฯลฯ จิตพ้นวิเศษแล้วไม่เกิด ไม่ตายอีกต่อไป

    พระพุทธพจน์เหล่านี้ล้วนชี้ชัดว่าจิตไม่ดับตายหาสูญไปไหน
    ไม่ใช่จิตเที่ยงอย่างที่เข้าใจของพวกตำรานิยม ที่ชอบยัดเยียดให้
    ครั้นเมื่อจิตยังไม่ได้รับความบริสุทธิ์หมดจด จนกลายเป็นธรรมธาตุนั้น
    จิตย่อมต้องเปลี่ยนแปลง แปรปรวน ไม่คงที่ กลับกลอกฯลฯ
    ไปตามอารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดที่จิตของตนเองเข้าไปยึดถืออยู่
    เมื่อจิตจุติ(ตาย)ไปตามกิเลส กรรม วิบากที่ตนเองได้เคยกระทำไว้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ์

    เมื่อจิตของตนได้รับการปฏิบัติอบรมอริยสัจจ๔ สติปัฏฐาน๔หรืออริยมรรคมีองค์๘ด้วยดีแล้ว
    จิตของตนย่อมเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

    สรุปได้ว่า จิตไม่ใช่อนัตตา สามารถฝึกฝนอบรมได้
    ให้คงที่(อกุปปธรรม)ไม่แปรปรวนไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบในขณะนั้น
    เมื่อคงที่(อกุปธรรม)แล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงไม่เกิดดับไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    v
    V
    จิตมนุษย์เหมือนคนบ้าหาบหิน (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

    การฝึกสมาธิ รวมจิตรวมใจให้เข้ามาภายใน ธรรมดาจิตนี้ ดวงจิตดวงใจจริงๆ *ก็คือดวงจิตดวงใจดวงเดียวเท่านั้น คนๆ หนึ่ง สัตว์ตัวหนึ่ง ไม่ว่าใคร มีจิตดวงเดียว จิตดวงเดียวนี่แหละ* แต่ว่าความอยาก ความดิ้นรน กิเลสมันเยอะ เรียกว่ามีมาก โบราณท่านตัดออกไปจากอายตนะทั้งหลาย ว่ากิเลสนี้มีตั้งพันหน้า ตัณหาร้อยแปด ก็คือว่ามันเยอะแยะ คิดมากไปเท่าไหร่ กิเลสมันก็มากไปตามความคิด

    พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า จงรวมจิตใจเข้ามา ถ้ารวมจิตใจเข้ามา *จิตมันก็มีดวงเดียว จิตดวงเดียวเป็นผู้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในกามภพ ในรูปภพ ในอรูปภพ ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เปรตโลก ยมโลก ไม่ว่าโลกใดก็ตาม จิตดวงเดียวเป็นผู้หลง เป็นผู้ไป เมื่อเกิดในภพใดๆ ตั้งอยู่ภพใดๆ ก็ไปยึดถือว่า ตัวเองอยู่ในภพนั้นๆ จิตดวงเดียว เมื่อเรารวมเข้ามาแล้ว รักษาได้ง่าย เพราะมันเป็นของอันเดียว*

    ที่นี้ถ้าเราคิดมากไป ปรุงแต่งมากไป ตามอำนาจของกิเลสตัณหาในจิตใจนั้น ก็เลยมากเรื่องมากราวไป พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จิตนี้เป็นใหญ่ เป็นประธาน สำเร็จแล้วด้วยดวงจิต เมื่อจิตจะเอาอะไร จะทำอะไร จะพูดอะไร จะทำบุญทำบาป ก็สำเร็จด้วยดวงจิตดวงใจทั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าบำเพ็ญโพธิญาณมาสำเร็จได้ ก็เพราะดวงจิตดวงใจทั้งนั้น พากาย พาวาจา ให้ประพฤติดีทำดี ก็คือจิตดวงนี้แหละ...


    จากที่นี่

    ************************
    ^
    ^
    ท่านพระอาจารย์หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ขอรับ

    ท่านกำลังจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นพวกมิจฉาทิฐิฝ่ายสัสสตทิฐิอยู่ขอรับ

    เพราะท่านพระอาจารย์มีทิฐิว่าจิตมีเพียงดวงเดียวเท่านั้น
    คนๆ หนึ่ง สัตว์ตัวหนึ่ง ไม่ว่าใคร มีจิตดวงเดียว จิตดวงเดียวนี่แหละ

    โดยพวกกลุ่มกบฏที่ร่วมกันเพื่อก่อการร้ายทำลายชาติ ทำลายพระศาสนา
    ทำลายพระสุปฏิปันโนฝ่ายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้หมดไปจากศาสนา

    ทั้งๆที่่ท่านพระอาจารย์เป็นที่เคารพบูชาของชาวพุทธเกือบทั่วประเทศ
    แม้ราชันย์ของพระเทศยังไปกราบท่านเลย

    ส่วนพระที่มีศีล ๕ ยังไม่ครบเลย กลับไปยกยอปอปั้นซะเลิศเลอเพอร์เฟ็ค
    กราบเท้าแล้วกราบอีกโดยไม่ลืมหูลืมตาเลย

    แบบนี้ควรเรียกว่าพวกชาติจั่วไม่พัฒนาชาติไทย ใช่ไหมจ๊ะเอกวีร์ที่รัก
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ฯลฯ

    งานที่จิตขั้นนี้พิจารณาก็มีแต่เรื่องขันธ์เท่านั้น ไม่มีเรื่องอื่นใด แม้แต่รูปซึ่งเคยพิจารณามาจริงๆ เป็นการเป็นงานแต่ก่อนก็ปล่อยวาง พอถึงขั้นปล่อยแล้ว รูปขันธ์ใจก็ปล่อยวาง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์แต่ละอย่าง ๆ ก็ปล่อยวางด้วยการพิจารณารู้ได้ เช่นเดียวกับรูปขันธ์หรือสภาวธรรมทั่วไป ไม่ได้นอกเหนือไปจากวิสัยของสติปัญญา ที่สามารถอาจรู้ได้ด้วยการบำเพ็ญอยู่เสมอนี้เลย

    รูปขันธ์รู้ได้ปล่อยได้ เวทนาขันธ์ก็รู้ได้ เวทนาขันธ์นี่หมายถึง เวทนาที่เกิดขึ้นภายในขันธ์ก็เข้าใจ สัญญาขันธ์ก็เข้าใจ สังขารขันธ์ก็เข้าใจ ขันธ์เหล่านี้จะละเอียดโดยลำดับ จนกระทั่งรวมเข้าไปสู่จิตอันเดียว รูปอันหยาบก็รู้เท่า เวทนาอันหยาบเกี่ยวกับร่างกายก็รู้เท่า สัญญาที่หมายหยาบๆ ก็รู้เท่า สังขารที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ก็รู้เท่า วิญญาณรับทราบสิ่งภายนอกก็รู้เท่า รู้เท่าโดยลำดับ *อาการของขันธ์อาการของกิเลสที่เกี่ยวเนื่องกันก็หดตัวเข้าไป เหลือแต่จิตดวงเดียว*

    *จิตดวงเดียว*ก็ต้องอาศัยอารมณ์ คือสังขารความปรุง สัญญาที่แย็บออกมาหมายนั่นแหละเป็นงานของจิตในขั้นนี้ การพิจารณาก็ต้องหันเข้าไปสู่จิตดวงที่ผ่องใส ดวงที่สง่าผ่าเผยนั้นแหละ สังเกตสอดรู้อาการของจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ปรุงดี ปรุงชั่ว ปานกลาง ก็ดับไปทั้งสิ้น ดับไปแล้วไปอยู่ที่ไหน?

    นี่คือความค้นคว้า ความทดสอบ หรือความสังเกตของจิต เพื่อหาต้นเหตุของมันว่าเกิดที่ตรงไหน มีเท่านี้ที่เป็นงานของจิตขั้นนี้! นอกนั้นจิตรู้เท่าปล่อยวางหมดแล้ว ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น เพราะจิตเข้าใจแล้วและปล่อยวางแล้ว จะเอาความหมายมาจากไหน จิตเป็นผู้ให้ความหมายว่านั้นดีนี้ชั่ว เมื่อจิตทราบชัดทั้งสิ่งนั้นแหละ ทั้งความหมายที่หลอกลวงตัวเองแล้ว จิตย่อมถอยตัวเข้ามา แม้ที่สุดในเรื่องของขันธ์ห้าภายในตัว ก็ยังถอยและปล่อยวางได้ เหลือแต่ความรู้ที่ผ่องใส ที่สว่างไสวอยู่ภายในใจ กายทั้งกายก็เหมือนไม่มี มีแต่ความรู้นี้ครอบไปหมด และสว่างไสวอยู่ภายในทั้งกลางวันกลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถมีความสว่างไสวอยู่เป็นประจำ

    ฯลฯ

    เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙
    จิตบริสุทธิ์

    Luangta.Com - ��ǧ����Һ�� �ҳ����ѹ��

    ******************
    ^
    ^
    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนขอรับ

    ท่านกำลังจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นพวกมิจฉาทิฐิฝ่ายสัสสตทิฐิอยู่นะขอรับ

    เพราะท่านพระอาจารย์มีทิฐิว่า*จิตดวงเดียว*
    ก็ต้องอาศัยอารมณ์ คือ สังขารความปรุง สัญญาที่แย็บออกมาหมาย
    นั่นแหละเป็นงานของจิตในขั้นนี้

    การพิจารณาก็ต้องหันเข้าไปสู่จิตดวงที่ผ่องใส ดวงที่สง่าผ่าเผยนั้นแหละ
    สังเกตสอดรู้อาการของจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ปรุงดี ปรุงชั่ว ปานกลาง
    ก็ดับไปทั้งสิ้น ดับไปแล้วไปอยู่ที่ไหน?

    โดยพวกกลุ่มกบฏที่ร่วมกันเพื่อก่อการร้ายทำลายชาติ ทำลายพระศาสนา
    ทำลายพระสุปฏิปันโนฝ่ายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้หมดไปจากศาสนา

    ทั้งๆที่่ท่านพระอาจารย์เป็นที่เคารพบูชาของชาวพุทธเกือบทั่วประเทศ
    แม้ราชันย์ของพระเทศยังไปกราบท่านเลย

    ส่วนพระที่มีศีล ๕ ยังไม่ครบเลย กลับไปยกยอปอปั้นซะเลิศเลอเพอร์เฟ็ค
    กราบเท้าแล้วกราบอีกโดยไม่ลืมหูลืมตาเลย

    แบบนี้ควรเรียกว่าพวกชาติจั่วไม่พัฒนาชาติไทย ใช่ไหมจ๊ะเอกวีร์ที่รัก
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    มีแต่คนติดขัดเท่านั้น มีแต่คนตีความตามอักษรเท่านั้น ที่ติดขัดอยู่กับอัตตา อนัตตา ผู้ปฎิบัติ ปฎิบัติแล้ว ทำเอง รู้เอง เห็นเอง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่มีอะไรจะต้องเถียงกัน พึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง

    เรียนไปเรียนมา เอากิเลสไปพอกพูน เก่งไปหมด รู้ไปหมด อ่านมาปรุง ตีความมาเก่ง ฟุ้งกันทั้งวัน วุ่นอยู่กับเรื่องคนอื่นทั้งวัน แต่ไม่รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    เที่ยง ไม่เที่ยง สุดท้าย มันก็ของปรุงแต่งทั้งนั้น ของเที่ยงไม่มีในโลก อะไรมันก็ไม่เที่ยง ไปกอดมันไว้ให้ทุกข์ทำไม ไม่เอานิพพานกัน จะเอาของปลอมกันอยู่ได้
     
  8. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ดวงเดียวเที่ยวไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะ
    ทีละดวงเดียวเที่ยวรับวิบากพึงเจริญสติปัฏฐาน๔ไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะ
     
  9. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    ALOHA

    ในความหมายนี้ ธรรมภูติ หมายถึง จิตดวงเดียวนี้ล่ะ กลับสู่จิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์รึเปล่า

    เอาเท่านี้ก่อน

    และลิ้งค์ข้างล่างนี้เป็นทิฏฐิของธรรมภูติถูกไหม

    ซึ่งทั้งหมด ล้วนมีทิฏฐิน้อมไปที่ จิตเที่ยงแท้ ดวงเดียว อัตตาอมตะนิรันกาล ถูกไหม

    ทีนี้ถ้าใครมาอ่านกระทู้ตั้งแต่ต้น ไม่มีปัญญาพิจารณา แยกแยะธรรม

    ก็จะเข้าใจทันทีว่า ทิฏฐิอย่างนี้ถูก ต้อง เพราะไปนำบทความบางตอนของหลวงปู่ หลวงตามาให้ดูว่านี่ไง

    เชื่อแบบนี้ ตรงกับทิฏฐิตน ถูกต้องตามพุทธพจน์ คนไม่รู้อะไร ก็เออออเห็นดีตามนั้น

    ทิฏฐิอย่างนี้ จิตดวงเดียว เที่ยงแท้ อมตะนิรันกาล


    ส่วนเพียรจนเหลือ จิตดวงเดียวนั้น

    เคยนำเรื่อง ปรมัน อาตมันในศาสนาพราหม์มาให้ศึกษานานแล้วนี่คร้บ

    คือเพียรดับ จนเหลือจิตเดิมที่บริสุทธิ์ แล้วไปเข้าใจโมษะนั้นเป็นนิพาน

    เพราะอะไร รูป เวทนา สังขาร ไม่มี สัญยาจะว่ามีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่

    ไปสำคัญว่า จิตบริสุทธิ์นี้เที่ยงหนอ จิตบริสุทธิ์นี้เที่ยงหนอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2011
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เลิกดื่มแอลกอฮอล์หรือยังคนเก่ง

    หรือว่ารู้สึกเหงาๆก็เอาบ้าง

    ถ้ารู้ไปหมด ก็ไม่ต้องกระทำให้ตื้นแล้วสินะ

    เพราะยังต้องสดับ ยังต้องกระทำให้ตื้นอยู่เลย
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่ละดวงเที่ยวไป ดวงไหนไปทางไหนบ้างละ

    หรือต้องเดาเอาเอง ตามประสามีจิตหลายดวง
     
  12. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    นายหลงออกตัวว่ายังเป็นผู้ศึกษา

    ยังไม่เตยรู้เลยว่า จิตกับวิญญาณเป็นคนละส่วนกัน

    ต้องให้จินนี่ลำบาก ออกมาบอก

    ถึงไม่เห็นด้วยกับธรรมภูติไง

    มีที่ไหน จิตเที่ยง เมื่อวิญญาณดับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2011
  13. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    "ธรรมและวินัยใดที่เราตถาคตแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว"

    พระไตรปิฎก
    ๑)พระวินัยปิฎก (ศีล)
    ๒)พระสุตตันตปิฎก (สมาธิ)
    ๓)พระอภิธรรมปิฎก (ปัญญา)

    การเรียนอภิธรรมเป็นการเรียนการเจริญสติปัฏฐานเก็บเอาปัญญา เพื่ออ่านพระสุตตันตปิฎก(พระสูตร) แล้วพอจะเข้าใจว่า พระพุทธองค์ทรงสอนอะไร เพราะธรรมในพระสูตรนั้นเป็นธรรมที่กล่าวเฉพาะบุคล เฉพาะเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง (ไม่ใช่อุคคติตัญญูบุคคลล, วิปจิตัญญูบุคคล, เนยยะบุคคล) จะไม่สามารถตีความพระธรรมได้
     
  14. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    เข้าใจคำว่า สิ่งหนึ่งนำไปสู่อีกสิ่งหนึ่งไหมครับ
    หรือ เคยมีแล้วไม่มี เคยไม่มีแล้วมี นั่นแหละ ไตรลักษณ์
    จิต หรือ วิญญาณ หรือ มโน ก็ไม่พ้นกฏความเสื่อม ตั้งอยู่ได้ไม่นานนี้ เช่นกัน
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ไม่ต้องทำเนียนก้ได้ อยากจะโชว์หรือเสนออะไร เต็มที่

    ถ้าเห็นว่าไปถูกต้องตรงไหนก็ชี้แจง

    การพูดลอยๆแบบนี้ไม่ช่วยให้ดูเท่ขึ้นหรอกนะ

    และก็ไม่เคยพูดที่ไหนเลยว่า จิตเที่ยง จะยัดเยียดอะไรหลักฐาน

    อย่าเอานิสัยถาวรแบบมนุษย์ร้อยชื่อมาใช่ กล่าวหาว่าร้ายไว้ก่อน

    จะเพียรหรือไม่เพียร มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม

    ล้วนมีจิตคนละดวงเท่านั้น ของใครของมันใช่มั้ย

    หรือโชแปงมีหลายดวงเหมือนคนหลายใจ

    ถ้าคิดจะสนทนาธรรมควรมีความจริงใจ ถามมาตอบไปแต่ต้องมีหลักฐาน

    หรือไม่ถูกต้องตรงชี้แจงมา หรือเอาหลักฐานมายันกัน ไม่ใช่พูดเอาดีใส่ตัวเท่านั้น

    ปล. เล่นเป็นเวลา อาจมีการตอบช้าไปหน่อยคงไม่ว่ากัน
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก็ปิฏก ๓ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่าสุตตะ ในปกิณณกะมีสุตตะเป็นต้น.
    ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ *ชื่อว่าสุตตานุโลม. *อรรถกถา ชื่อว่าอาจริยวาท.
    ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ *ชื่อว่าอัตตโนมัติ.


    *ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้
    เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
    ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    *แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
    ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด. แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.



    ก็สังคีติมี ๓ เหล่านี้คือ ปัญจสติกสังคีติ (สังคายนาครั้งที่ ๑) สัตตสติกสังคีติ (ครั้งที่ ๒) สหัสสิกสังคีติ (ครั้งที่ ๓).
    แม้สุตตะเฉพาะที่มาในสังคีติ ๓ นั้น ควรถือเอาเป็นประมาณ.
    นอกนั้นเป็นที่ท่านตำหนิ ไม่ควรถือเอา.

    จริงอยู่ บทพยัญชนะแม้ที่ลงกันได้ในสุตตะนั้น
    พึงทราบว่าลงกันไม่ได้ในพระสูตรและเทียบกันไม่ได้ในพระวินัย.
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    -มีหลักฐานกำหนดลงได้ว่าในสมัยพระพุทธเจ้ายังไม่มีคำว่า “พระไตรปิฎก”
    มีแต่คำว่า “ธรรมวินัย”
    �����������ͧ�����ûԯ�

    พระสาวก ๔ รูป ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก คือ
    ๑. พระอานนท์
    ๒. พระอุบาลี
    ๓. พระโสณกุฏิกัณณะ (ประวัติของท่านมีส่วนเป็น หลักฐานในการท่องจำพระไตรปิฎก)
    ๔. พระมหากัสสป


    พระพุทธเจ้า ยังได้เคยแนะให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์และทำสังคายนา
    เพื่อไม่ให้เกิดความแตกกัน เมื่อคครั้งสาวกนิครนถนาฏบุตรแตกกัน


    การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
    ครั้งที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งทำในอินเดีย อันเป็นของฝ่ายเถรวาท
    (กับอีกครั้งหนึ่งในอินเดียภาคเหนือ ซึ่งพระเจ้ากนิษกะทรงอุปถัมภ์
    อันเป็นสังคายนาผสม รวมเป็น ๔ ครั้ง
    แต่ฝ่ายเถรวาทมิได้รับรู้ในการสังคายนาครั้งที่ ๔ นั้น เพราะการสืบสายศาสนานั้นแยกกันคนละทาง ตลอดจนภาษาที่รับรองคัมภีร์ทางศาสนาก็ใช้ต่างกัน
    คือเถรวาทหรือศาสนาพุทธแบบที่ไทย พม่า ลังกา เขมร ลาว นับถือใช้ภาษาบาลี
    ส่วนของฝ่ายมหายาน หรือศาสนาพุทธแบบที่ญี่ปุ่น จีน ทิเบต ญวนและเกาหลีนับถือ ใช้ภาษสันสกฤต)


    -ครั้งที่ ๑พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
    -ครั้งที่ ๒ กระทำที่วาลิการาม
    -ครั้งที่ ๓ กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย พระโมคคลี บุตรติสสเถระเป็นหัวหน้า

    หลังจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ พระมหินทเถระ ก็เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ลังกา
    และในปี พ.ศ. ๒๓๘ ก็ได้ทำสังคายนาในลังกา นับเป็นสังคายนาครั้งแรกในลังกา
    เหตุผลที่ อ้างในการทำสังคายนาครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้พระศาสนาตั้งมั่น
    แต่เพราะการสังคายนาครั้งนี้ห่างจาก ครั้งที่ ๓ ในอินเดีย ประมาณ ๓-๔ ปี
    บางมติจึงไม่ยอมรับเป็นสังคายนาลังกา
    ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเช่นเดียวกับประเทศไทย
    ได้รับรองการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้งแรกใน อินเดีย
    แต่ไม่รับรองสังคายนาครั้งที่ ๔ การสังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกา กระทำเมื่อ พ.ศ. ๔๓๓
    เพื่อจารึกพระพุทธวจนะลงใน ใบลาน
    มีจารึกว่าสังคายนาครั้งนี้กระทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเลชนบท
    การสังคายนาครั้งนี้ได้ รับการรับรองโดยมติทั่วไป
    การสังคายนาครั้งที่ ๓ ในลังกา กระทำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ ที่รัตนปุระ ในลังกา การ สังคายนาครั้งนี้
    น่าจะไม่มีใครรู้กันมากนัก นอกจากเป็นบันทึกของชาวลังกาเอง

    ไปละ
     
  18. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    อธิบายหน่อยสิ หมายความอย่างไร

    ส่วนประโยคที่เน้นสี
    ขอปรับธรรมภูติ ด้วยเหตุว่า พุทธพจน์ ไม่ว่าคำภีย์ใดในพระไตรปิฏก ล้วนเชื่อมสัมพันธ์
    ไม่มีการขัดแย้งในธรรมเลย มีแต่จะขยายออกไป จำแนกตามความละเอียด สุขุมในธรรม

    ก็ในข้อพระวินัยนั้น เป็นขั้นศีล ข้อวัตร เนื้อแท้เป็นเรื่องขัดเกลากิเลส
    แล้วจะเข้ากันไม่ได้กับพระสูตรได้อย่างไร ครับ
     
  19. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    เวลาคนมันโง่ แล้วอาศัย ความโง่นั้น มาบอกสอนคนอื่น มันก็คือ สอนให้คนอื่น
    ทำตัวให้โง่อย่างตน โดยที่ไม่รู้เลยว่า เหตุผลของคนที่ไม่โง่ มันคืออย่างไร

    การกลัดกระดุม ลองพิจารณาอย่างคนไม่โง่ ดูก็ได้ว่า "จิต" เป็นเรื่องกระดุม
    เม็ดแรก ที่คนโง่จะพึงเห็นได้ในครั้งแรก กลัดกระดุมได้ในเม็ดแรกกระนั้นหรือ

    คนมันจึงโง่ ที่เอาเรื่อง "จิต" อันเป็นเรื่องที่เห็นยากยิ่ง มากล่าวว่า การเข้าใจ
    เรื่อง "จิต" ให้ถูกต้อง คือการกลัดกระดุมเม็ดแรก

    คนที่ไม่โง่ จึงทราบว่า หากจะมีสักคนสักคน แสดงความโง่ว่า "จิต" เที่ยง สู้มา
    เห็น "กาย" ที่เห็นได้ง่ายๆ ก่อนไม่ดีกว่าหรือ เพราะอย่างน้อย จะรู้ได้ว่า ความไม่
    เที่ยงนั้นเป็นอย่างไร

    ลองตรึกดูแบบคนไม่โง่ หากเรากล่าวว่า ในโลกนี้มีสิ่ง "เที่ยงแท้" แน่นอนอยู่
    คนโง่เหล่านั้นได้ยินแล้วจะพึงทำตนอย่างไร จะใส่ใจในประโยชน์ที่จะได้จากการ
    พิจารณา "ไตรลักษณ์" หรือ

    มันก็จะมีแต่คนโง่ ทำทุกอย่าง ทำอะไรนิดๆหน่อยๆ ก็ปักใจถามว่า เที่ยงหรือยัง ใช่
    หรือยัง ดีหรือยัง เหมาะหรือยัง เพื่อเติมเต็ม ความเที่ยงที่ถูกฝังเป็นทิฏฐิโดยคนโง่
    ที่อย่างแสดงตัวว่าไม่โง่ในการสอน

    * * * *

    มาคุยแบบคนฉลาดบ้าง หาก บทความข้างบน คนโง่มาอ่านแล้ว งง

    * * * *

    การที่คนยกเรื่องว่าการเข้าใจ จิตให้ถูกต้อง คือ การกลัดกระดุมเม็ดแรก นี่มัน
    ชัดว่า อวดโง่ เพราะว่า จิตนั้นเห็นยาก ไม่ใช่บงคับให้เห็นกันได้ง่ายๆ ดังนั้น
    การกล่าวว่า จิตเที่ยง จิตบังคับได้ เป็นความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิด มิจฉาทิฏฐิ
    มากกว่า จะทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ

    การที่กล่าวไว้ถึง "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" มันเป็นหัวใจหลัก เครื่องมือหลักใน
    การศึกษา นี่ต่างหาก กระดุมเม็ดแรก ที่ทุกคนต้องรู้วิธีกลัด วิธีศึกษา เอาเข้าศึกษา
    กับทุกสิ่งที่ "รู้" ในปัจจุบันขณะนั้นๆ ไมว่าจะเป็น การฟัง การปฏิบัติ หรือ แม้แต่
    ผลของการรู้ การปฏบัติ ก็ให้กลัดเข้าด้วยการเห็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ไว้

    คนนอกศาสนานั้น ยิ้มหวานมาก หากมีใครสักคนกล่าวถึง ความเที่ยง ชี้เรื่องความเที่ยง
    เพราะเขาจะนำไปสู่การปฏิบัตินอกศาสนาอื่นๆ ที่ดูดี แต่ ให้ปัญญาไม่ได้เลยทันที เพราะ
    "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" จะถูกกลบเกลื่อนออกจากสิกขาทันทีนั่นเอง

    เราต้องเข้าใจ ความอ่อนแอของพุทธศาสนา ที่คนสอน ไม่ได้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณ
    แม้แต่อรหันต์ชั้นเลิศสุดที่เป็นต้นธาตุต้นธรรมสมัยนี้ ก็มีการกล่าวชี้กันว่า ไม่ได้บรรลุ
    ปฏิสัมภิทาญาณ มีการระบุว่า เป็น อนุปฏิสัมภิทาญาณ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร เพราะ
    ในพระไตรปิฏกไม่มี คงจะเป็นความอยากยกย่อง จึงบัญญัติขึ้นมาใหม่

    กลับมาอีกครั้ง หากพุทธศาสนาขาดปฏสัมภิทาญาณ แปลว่า พุทธศาสนาขาด ธรรมกถึก
    ไปด้วย ตรงนี้ทำให้เกิด ธรรมกถึกแบบที่บัญญัติขึ้นเอง เช่น การเทศนาเสียดัง ใครเอา
    อะไรไปถามเป็นตอบอดไม่ได้ ใครเอาอะไรที่เป็นสงฆ์ต่างวัดไปให้ก็เป็นอันตัดสินคดี
    อธิกรณ์ได้ไปหมด หรือแม้บางครั้ง กล่าวสอนพระไตรปิฏก พลางเอามือจับอย่างอื่นไป
    ด้วยก็มี ล้วนแต่เป็น ธรรมกถึกทีบัญญัติขึ้นใหม่

    เราจึงต้องหวังพึ่ง พระไตรปิฏก อย่างมาก เพราะ เป็น ธรรมกถึกเดียว ที่มีฐานะ แม้จะพูด
    ไม่ได้ สอนคนไม่ได้ แต่ การปรากฏอยู่ของพระไตรปิฏก ย่อมหมายถึง มีธรรมกถึกอยู่แน่
    นอน แม้แต่สงฆ์ชั้นเลิศที่เป็นต้นธาตุต้นธรรมร่วมสมัย ก็อาศัยการปรากฏของ พระ
    ไตรปิฏกจึงทำให้ ได้รับโอกาสบรรลุธรรม

    คนระยำเท่านั้นที่ปฏิเสธว่า พระไตรปิฏก ที่สอนคนไม่ได้ พูดไม่ได้ สอนคนไม่ได้ เพราะว่า
    ตำราพระไตรปิฏกไม่อาจสอนตัวเองได้ ถ้าบวกจิตกบฏ ก็จะพูดว่า ตำราใครเขียนขึ้นมา
    ก็ได้ ตำรามันไม่รู้ว่าตวเองผันแปรอย่างไร เพราะมันสอนตัวเองไม่ได้ ในขณะที่ ธรรมฤทธิ์
    ที่ทุกคนอาศัยว่ามีพุทธศาสนาปรากฏอยู่ ย่อมอาศัย พยัญชนะที่เป็น พุทธวัจนะ เพียงคำ
    เดียว กถาเดียว ก็ยังชื่อว่ามี ผล มีธรรมฤทธิ์ทำให้คนให้บรรลุธรรมได้ ให้จำใส่กระโหลก
    หนาๆเอาไว้ให้ดี

    คนนอกศาสนา จึงมุ่งทำลาย มุ่งพูดบิดเบือนคุณของพระธรรมให้เป็นอื่น เพื่อให้ ตน กลาย
    เป็นกรรมกถึกแบบกลองจัญไรที่ตีดังได้อีกครั้งหนึ่งขึ้นมา

    อภิธรรม เป็นเรื่องของ ไวยากรณ์ภาษาธรรม เปรียบเหมือน วิชา Gramma ในวิชา ภาษา
    พูดทั่วๆ ไป

    แน่นอน ทุกคนจะพูดว่า คนเราทุกคนพูดได้โดยไม่ต้องเรียนไวยากรณ์ หากลงมือพูดๆกัน
    ไปเลย คนๆนั้น ย่อมพูดภาษาอะไรก็ได้ ต่อให้เอาคนไทย หย่อนลงไปในอเมริกา ก็จะ
    พูดภาษาอังกฤษได้ หรือแม้แต่ เอาเด็กหย่อนลงไปในกลางฟูงหมาป่า ผลเขาก็พิสูจน์
    แล้วว่าเด็กคนนั้นจะพูดภาษาหมาป่าได้ ไม่จำเป็นเลยต้องเรียนไวยากรณ์ หรือ Gramma
    หรือ การสร้างคำ หรือ วิชาว่าด้วยการสร้างประโยคำพูดก่อน

    แต่ เชื่อไหมว่า บทมาติกา อัน ลัทธินอกศาสนากลัวอย่างมาก เพียงบทแรก ก็ตกกระใจ
    กันแล้วว่า ปล่อยให้ อภิธรรม อยู่ในโลกไม่ได้ เพราะคำว่า "อัปปนา" นั้นท่านให้แปลว่า
    "พึงเกิด" "ที่เกิดขึ้น"

    "อัปปนาสมาธิ" จึงหมาย ธรรมที่พึ่งเกิดขึ้น พึ่งมี ซึ่งก็หมายถึง การที่ใครคนใดคนหนึ่ง
    สามารถเข้าถึง อัปปนาสมาธได้ นั่นแปลว่า คุณพึ่งได้สมาธิเป็นครั้งแรก

    นี่เอง ที่ลัทธินอกศาสนายอมไม่ได้ ทนเห็นไม่ได้ เพราะว่า เขาต้องการให้ สมาธิกิ๊กก๊อก
    ที่เขาทำอยู่ได้ชื่อว่า ทำสมาธิเกิดขึ้นแล้ว แต่หาก อภิธรรม ยังอยู่ จะตีหัวเดียรถียทันที
    ว่า อย่ามาอ้างว่ามีเด็ดขาด

    จึงไม่แปลกเลย ที่ ไวยกรณ์การสร้างภาษามคธ ไวยกรณ์การสร้างภาษาบาลี อันเป็น
    ภาษาที่ตายแล้ว(ขาดคนสืบสานการนำมาใช้เป็นภาษาปาก) จะเป็นเป้าหมายทำลาย

    อภิธรรมหายเมื่อไหร่ ภาษามคธ หายเมื่อนั้น สัทธรรมอันตรธานทันที เพราะ คำเหล่า
    อื่นย่อมไม่ชื่อว่า คำของพระตถาคต

    ดังนั้น เราอย่าโง่ อย่าให้ กบฏศาสนา มาทำเป็นคุยโวว่า รู้เรื่อง กระดุมเม็ดแรก

    อย่าให้ กบฏศาสนา ทำลาย ไวยากรณ์ภาษามคธ คือ อภิธรรมปิฏก

    อย่าให้ ชาวพุทธที่อินทรีย์อ่อน อ่อนแอ ไม่รู้ว่าอะไร คือ กระดุมเม็ดแรก สร้างสิ่ง
    ใหม่ขึ้นมาด้วยความอ่อนแอ เช่น กล่าวว่าไปทำสมาธิให้มันเที่ยงเสียก่อน ให้มัน
    แน่นเสียก่อน ไปเห็นจิตเดิมแท้ด้วยฌาณเสียก่อน หรือ ทำสมาธิเถอะนะเพราะว่า
    ยังดีกว่าปฏิบัติแล้วไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือ ตายไปเสียก่อน หากทำสมาธิไว้บ้างก็
    นับได้ว่ามีของดี นี่ล้วนแต่เป็นความอ่อนแอในการสอนทั้งสิ้น

    ให้ทุกท่าน กลัดกระดุมเม็ดแรกให้ดังๆ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" นั้นแหละ คือ
    สิ่งที่พูดได้ทุกวัน กบฏศาสนาจะดิ้นพล่านไปเอง เพียงแค่ เราปรารภกระดุมเม็ด
    แรกถูกต้องไว้เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2011
  20. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    "สัพเพ ธรรมา อนัตตา" ตะโกนให้ดังๆ ให้ พวกอินทรีย์อ่อนทั้งหลาย ได้สดับไว้จนเต็ม

    กุศลา ธรรมมา
    อกุศลา ธรรมมา
    อัพยากตา ธรรมมา

    ไวยกรณ์ภาษา มคธ มาติกา บทแรก รักษาไว้ให้ได้ รักษา ภาษาพูดของพระพุทธองค์
    ไว้ให้ได้ อย่าให้ใคร มาสับขาหลอก ด้วย การแปลความ หมาย อภิธรรม คือ คำศัพท์
    ที่ไม่มีในพุทธวัจนะ แต่ จงทราบว่า ไวยกรณ์ภาษามคธ(อภิธรรม) คือ สิ่งเดียวที่จะ
    ทำให้ พุทธพจน์ที่แท้ อยู่กับ สาธุชน ย่ำยีพวกเดียรถียได้ ตลอดอายุที่คุณ ไม่ดูถูกตำรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...