ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Pleased, 30 พฤษภาคม 2009.

  1. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 4 : ศิลปชวา

    ศิลปะชวามีจุดเริ่มต้นที่เกาะสุมาตรา ณ ที่นั้นได้ค้นพบประติมากรรมสมัยโบราณเพียงบางส่วน แต่ศิลปะชวาก็ได้มาเจริญเฟื่องฟูที่เกาะชวา นักโบราณคดีได้แบ่งศิลปะชวาแบ่งออกได้เป็น 2 สมัยใหญ่ๆ คือ

    สมัยอินเดีย-ชวา หรือชวาภาคกลาง เป็นศิลปะสมัยชวาภาคกลาง ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะของอินเดีย โดยได้รับการผสมผสานกับศิลปะชวาพื้นเมือง ศาสนสถานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะ และระยะเวลาก็อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 หรือ 13 จึงถึงพุทธศตวรรษที่ 16 แม้ว่าอิทธิพลของศิลปะอินเดียมีอยู่มากมาย แต่ศิลปะชวาก็ยังมีลักษณะเป็นของตนเอง<O:p</O:p

    สำหรับสถาปัตยกรรม ได้แก่ อาคารเล็กๆ ก่อนด้วยศิลา มีหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ อย่างชัดเจน ศาสนสถานที่มีรูปร่างสมบูรณ์ที่สุดคงเป็นจันทิปะวน (Candi Pavon) นอกจากนี้ ก็มีจันทิส่าหรี (Candi Sari) จันทิเมนดุต (Candi Mendut) จันทิกะละสัน (Candi Kalasan) จันทิกะละสัน จันทิเซวู (Candi Sewu) และศาสนสถานที่ราบสูงเดียง (Dieng) คำว่า จันทิ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้บรรจุอัฐิธาตุ และใช้เรียกศาสนสถานในชวาทุกแห่ง บางก็กล่าวว่าเป็นพระนามของเจ้าแม่กาลีหรือทุรคาเทวี เทพธิดาแห่งความตายก็ได้<O:p</O:p

    ผนังของอาคารศาสนาสถานมีลวดลายเครื่องประดับตกแต่งอย่างมากมาย ลาดลายตรงกลางมักเป็นรูปต้นไม้จำหลักอย่างคร่าวๆ อยู่ระหว่างบุคคล 2 คน หลังคาก็ประดับไปด้วยรูปจำลองอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสถูปเล็กๆ อาคารนี้ ตั้งอยู่เหนือฐานสูง มีบันไดอยู่ทางด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองบันได้ก็ได้รับการสลักเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะเป็นศาสนสถานขนาดเล็ก ขนาดใหญ่มีอยู่ 2 แห่ง ในศิลปะชวาภาคกลาง ที่มีชื่อเสียงที่สุด ก็คือ ศาสนสถานทางพุทธลัทธิมหายาน ชื่อ บุโรพุทโธ และเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ชื่อ ปรัมบะนัม (Prambanam) ซึ่งสร้างขึ้นหลังบุโรพุทโธเล็กน้อย

    สมัยชวาภาคตะวันออก เป็นศิลปะที่สืบต่อจากสมัยแรก แต่มาเจริญถึงขีดสูงสุดในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 20 สมัยนี้ศิลปะเจริญขึ้นทางด้านตะวันออกของเกาะ และได้แผ่ไปจนกระทั่งถึงเกาะบาหลี ศิลปะชวาสมัยนี้ หลังจากเจริญขึ้นแล้วก็มีความงามตามอุดนคติลดน้อยลง และมีลักษณะเป็นของตนเอง ยิ่งกว่าศิลปะชวาภาคกลาง เกิดมีอิทธิพลของท้องถิ่นและอิทธิพลจากภายนอกเพิ่มขึ้น<O:p</O:p

    ศาสนาสถานที่สำคัญที่สุด ก็คือ เทวสถาน ปะนะตะรัม (Panataram) สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมในศิวปะชวาภาคตะวันออก ก็มีมาแล้วตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานอื่นๆ เช่น จันทิกิดาล (Candi Kindal) ชาวี (Javi) สุระวะนา เกดาตน (Kedaton)<O:p</O:p

    อาคารมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป มีรูปร่างแคบเข้าและสูงขึ้น ชั้นของหลังคามีจำนวนเพิ่มขึ้น และหลังคาทั้งหมดก็มีเส้นเอียงสอบเข้าหากัน ฐานสูงขึ้นและแผนผังก็ได้สัดส่วนน้อยลง ส่วนลวยลายเครื่องประดับมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น หน้ากาลหรือกะลา มีริมฝีปากล่างและมือเข้ามาประกบกัน ตัวมักกะราหายไป ส่วนรูปเคารพมักสลักอิงอยู่เหนือแผ่นหลัง ลำตัวตั้งตรง หนักไปทางเครื่องทรงและเครื่องประดับ และภาพสลักนูนต่ำมักจะแสดงให้เห็นด้านข้างคล้ายกับตัวหนังตะลุง ดูชวนขบขัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2009
  2. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    อนุโมทนาด้วยคนจ้า...ตามอ่านอยู่และน่าทึ่งมากสำหรับศาสนสถานแห่งนี้....

    อ่านไปอ่านมาทำให้นึกถึงสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่คล้ายๆๆ กัน ที่ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของชาวคริสต์หลังจากได้เผยแพร่ศาสนาภายหลัง อยู่ห่างจาก อินเดีย ธิเบต จีน เคยใช้ทางเชื่อมต่อโดยเส้นทางสายไหม ส่วนจุดเชื่อมต่อก็ต้องลงไปดูเอาเองเพราะจมอยู่ใต้สมุทรไปแล้ว งดพาทัวร์ ...เหอ..เหอ..

    ลักษณะของศาสนสถานเปนการสกัดก้อนหินอันมหึมาและจัดเรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ 7 ชั้นและเปนต้นแบบของมหาพีรามิดในกีซา
    จุดเชื่อมต่อนั้นเรียกว่า "แอตแลนติส"
    ชาวเผ่าที่รอดมาสร้างเมืองมายาก็คือ "บรรพบุรุษของชาวอียิปต์"
    ส่วนภาษามายาอ่านจากอักษรตัวแรก ของกษัตย์เทพใช้ "A" หรือ "อ"
    มองภาพจากมุมสูงจะเห็นผังเมืองคล้ายคลึงกับ " Kalachakra Mandala" โดยใช้ปิรามิดมหาวิหารเปนศูนย์กลาง แทนรูปฐานดอกบัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2009
  3. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ธรรม 8 ประการ

    พอดีเมื่อวันเสาร์ไปวัดเล่งเนี่ยยี่ 2 มา สวยงามมากค่ะ

    แล้วไปเห็นข้อความในบอร์ดของวัดเรื่องธรรม 8 ประการ

    เลยนำมาให้อ่านกันนะคะ

    ข้อที่ 1
    กำหนดให้รู้แจ้ง สากลจักรวาลไม่เที่ยง โลกธาตุมีแต่ความเสื่อมสลาย
    ธาตุทั้ง 4 เป็นทุกข์เป็นอนัตตาขันธ์ทั้ง 4 ปราศจากตัวตนเป็นสิ่งหลอกลวงมายา
    ไม่มีแก่นสารจิตเป็นสมุฏฐานแห่งบาป ร่างกายเป็นที่สถิตแห่งกองทุกข์
    เมื่อพิจารณาตรึกตรองธรรมดั่งนี้ก็จะพ้นจากวัฏสงสารเป็นลำดับ
     
  4. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ข้อที่ 2
    กำหนดให้รู้แจ้ง มักมากในตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    ความตรากตรำอยู่ในสังสารวัฏ ย่อมเกิดจากความโลภอยากในกามคุณเป็นเหตุ
    การลดละตัณหาไม่กระกอบโลกียะกิจ ทำให้กายและจิตเป็นอิสระ

    ข้อที่ 3
    กำหนดให้รู้แจ้ง จิตไม่สิ้นสุดแห่งความโลภ มีความปรารถนาอยากได้ไม่สิ้นสุด
    เป็นการสะสมทางแห่งบาป พระโพธิสัตว์ไม่กระทำเช่นนั้นตั้งอยู่ในความสันโดษ
    รักษาปฏิบัติธรรมมุ่งหมายแต่ปัญญา

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2152-2.jpg
      2152-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.1 KB
      เปิดดู:
      99
  5. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ข้อที่ 4
    กำหนดให้รู้แจ้งความเสื่อมเกิดจากความเกียจคร้าน
    ความมุ่งหมายแต่พากเพียรเป็นนิจ ตัดกิเลสอกุศลกรรม
    ทำลายมารทั้ง 4 หลุดพ้นจากพันธนาการของขันธ์และโลกธาตุ

    ข้อที่ 5
    กำหนดให้รู้แจ้ง ความหลงแห่งอวิชชาเป็นเหตุวนอยู่ในสังสารวัฏ
    พระโพธิสัตว์ต้องมีสติกำหนดรู้อยู่ทุกขณะหมั่นศึกษาให้รู้แจ้งอย่างกว้างขวาง
    เป็นพหูสูตเพียรเพิ่มพูนปัญญาให้บรรลุปฏิสัมภิทา โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ให้ได้พบกับบรมสุขอันมหาศาล

     
  6. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ข้อที่ 6
    กำหนดให้รู้แจ้ง ทุกข์แห่งความจนทำให้เกิดความเคียดแค้น
    เป็นปัจจัยชักจูงไปสู่บาปธรรม พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทาน
    ย่อมไม่แบ่งแยกศัตรูหรือความเป็นญาติ ปราศจากอาฆาตพยาบาท
    ไม่มีความเกลียดชัง แม้ผู้นั้นประพฤติบาป

    ข้อที่ 7

    กำหนดให้รู้แจ้งโทษ และภัยของกามคุณ 5 ถึงแม้จะอยู่ในเพศคฤหัสถ์
    ก็ไม่หลงใหลความสุขทางโลก ระลึกถึงไตรจีวรเป็นนิตย์
    รวมทั้งเครื่องอัฏฐบริขารทั้งหลายตั้งใจออกบรรพชา
    ปฏิบัติรักษาธรรมให้บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์ที่สูงสุดอันเป็นทางประเสริฐ
    มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งมวล

     
  7. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ข้อที่ 8
    กำหนดให้รู้แจ้ง สังสารวัฏเปรียบเสมือนขุมเพลิงที่ลุกไหม้
    ทุกข์ทรมานหาประมาทมิได้ ควรตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    เพื่อโปรดอนุเคราะห์สรรพสัตว์โลกย่อมรับทุกข์แทนสรรพสัตว์
    ไม่ว่ายากแค้นวิบากเพียงใด เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงเอกันตบรมสุข


    ธรรมทั้ง 8 ประการนี้
    เป็นที่กำหนดแจ้งของพระพุทธเจ้า
    พระโพธิสัตว์และมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเพียร
    ควรตั้งมั่นปฏิบัติธรรม มีเมตตากรุณามานะอบรมปัญญา
    อาศัยพระธรรมนาวาข้ามฝั่งนิรวาณ หากย้อนกลับมา
    สู่สังสารวัฏในความเกิดความตายแล้วละจากเบญจกามคุณ
    อบรมจิตใจในทางอริยมรรคหากพุทธบุตรทั้งหลาย
    หมั่นภาวนาธรรมทั้ง 8 ประการนี้โดยมนสิการแล้วไซร้
    ย่อมฆ่าเสียอกุศลจิตทั้งผองอันนับไม่ถ้วน
    เข้าสู่โพธิธรรมสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยพลัน
    ตัดขาดจากสังสารวัฏ
    สถิตในบรมสุขตลอดนิจนิรันดรแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2009
  8. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    อ่านแล้วประทับใจกษัตริย์องค์นี้กับสองราชวงศ์นี้เพราะมิได้ทำสงครามกันแต่กลับใช้วิธีเชื่อมสัมพันธไมตรีแบบดั้งเดิมเวลาอยากได้อาณาจักรไหน รบเท่าไรก็ไม่ชนะสักกะที หรือชนะก็ต้องเสียไพร่พล เสียเงินเสียทองไปโดยเปล่าประโยชน์ บ้านเมืองและประชาชนก็ต้องอดอยาก

    เอาแบบง่ายๆๆ ก็ส่งพระราชธิดาไปแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์กัน วิธีการนี้ทำให้นึกถึงประเทศเนปาลและธิเบตที่ไปเยือน กษัตริย์ธิเบตตีเมืองเสฉวนได้กษัตริย์ถังของจีนก็เลยต้องผูกมิตรโดยยกเจ้าหญิงเหวินเชง พอไปตีเนปาลได้กษัตริย์เนปาลก็เอาบ้างยกเจ้าหญิงทริตซันให้ และเจ้าหญิง 2 พระองค์นี้ (คงจะสวยมาก) เปนพุทธมามกะที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนามากทำให้กษัตริย์ธิเบตสร้างวัดกันเปนการใหญ่:cool:

    กลับมาที่เจ้าผู้ครองนครชวาที่เปลี่ยนไป ..พุทธ..ฮินดู พอเสื่อมอำนาจก็เปลี่ยนเปนอิสลามแทนแต่ก็ไม่คิดที่จะทำลายศาสนสถานของศาสนาอื่นยามตนเองรุ่งเรืองขึ้นมาแทนทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นศิลปะที่แตกต่างกัน ศิลปะที่ผสมผสานกลมกลืนกัน เราได้เห็นบุโรพุทธโธ(พุทธ) ตั้งอยู่ใกล้กับปรามบานัน (ฮินดู) และใกล้ปรามบานันก็ยังมีวัดพุทธตั้งอีก เช่น วัดเมนดุท, วัดลุมบุง และวัดเปนเดม...สาธุ...ชอบจิงๆๆ สันติภาพและภราดรภาพแบบนามแฝงท่านน่านแหละ..เหอ..เหอ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2009
  9. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    คณสมรปราง เก่งจริงๆ เลย ตัวแค่เนี้ยะ ช่างเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกันได้ดีซะเหลือเกิน

    เดี๋ยวคราวหน้าจะให้อธิบายภาพสลักนูนต่ำที่ปรากฏอยู่บนกำแพงหรือระเบียงคด เกี่ยวกับเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า และเหล่ากินรีและมโรนาร์ ช่วงนี้งานเข้า เลยแปลไม่ค่อยจะทัน รอติดตามชมนะครับพี่น้อง
     
  10. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน

    การชนะตนเองนี้เป็นสิ่งชนะยาก
    ชนะคนอื่นง่ายกว่า
    คนที่ชนะตนเองจึงมีน้อย
    แต่ใครสามาระเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด
    โดยไม่กลับแพ้อีก
    เราเรียกว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม
    สงครามชีวิต
    ซึ่งยืดเยื้อยืนนานที่สุดกว่าสงครามใดๆ


    จากหนังสือชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2010
  11. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    คนดีต้องรับฟังได้

    ใครจะพูดสรรเสริญเรา นินทาเรา หรือว่ากล่าวตักเตือนเรา
    เราต้องฟังได้ จึงจะเป็นคนดี เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต
    อันนี้เราต้องพิจารณาดูว่า เรามีลักษณะอย่างนี้หรือไม่

    การปฏิบัติเบื้องต้น เราก็ต้องพัฒนาตนเอง
    ถ้าเรามีลักษณะอย่างนี้ เราก็ต้องแก้ ถ้าไม่แก้ เราก็ปิดทาง

    "ความอยาก" ก็เพิ่มขึ้นๆ
    ก้าว ก็ก้าวไม่ได้ มีแต่หยุดอยู่และถอย
    มีแต่ "ความอยาก" อยากได้ธรรมะ อยากสงบ
    แต่การปฏิบัติก็ไม่ก้าวหน้า

    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    นี่ก็เป็นการปฏิบัติเบื้องต้น ที่เราต้องเข้าใจ
    ถ้าเราเข้าใจธรรมะข้อนี้ ใจเราก็ต้องเข้าสู่ความสงบ
    ถ้าเรารู้สึกอย่างนี้จริงๆ ใจเราก็ต้องสงบ... เพราะอะไร

    เราสังเกตดูจิตใจตัวเองนะ เราคิดอะไรอยู่บ้าง
    เราก็คิดนินทาคนโน้น บ่นว่าคนนี้
    คนนั้นเป็นคนโง่ คนนี้เป็นอะไรๆที่เราก็นึกบ่น นึกว่าอยู่ในใจ
    อันนี้เป็นมโนกรรม..มโนกรรม กายกรรม วจีกรรม
    กรรม คือ การกระทำ
    การกระทำทางกาย เป็นกายกรรม
    การกระทำทางวาจา เป็นวจีกรรม
    การกระทำทางใจ ก็เป็นมโนกรรม คือ คิด คิด คิด

    ถ้าเราเข้าใจว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ใจเราก็สงบ
    ใจที่บ่น นืนทา คนนี้ คนนั้นก็หมดไป

    ถ้ามีใครสักคนหนึ่งทำอะไรไม่ถูกใจเรา
    เราก็นิมิตคนนั้นขึ้นมานินทาอยู่อย่างนั้น
    นึกนินทานึกบ่นอยู่อย่างนั้น ซึ่งก็เท่ากับนินทาตัวเอง

    สิ่งใดที่เราคิดชั่วไปเราก็ต้องรับหมด เราได้ชั่วแน่นอน
    ถ้าเรารู้ธรรมะจุดนี้ แล้วก็เกิดหิริโอตตัปปะ
    ละอาย...ละอายการคิดชั่ว นินทาคนนี้ บ่นว่าคนนั้น
    กลัว เพราะรู้ว่าสิ่งใดที่เรานึกไป ว่าไป ก็ต้องกลับมาหาเราทั้งนั้น
    ถ้าเรารู้อย่างนี้แล้ว เราก็ต้องระวังตัว
    ระวังทั้งกาย วาจา จิต
    ไม่ให้กระทบคนอื่น ไม่ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์

    แม้แต่เราจะไม่ถูกใจก็ตาม
    เราก็มุ่งแต่คิดดี พูดดี ทำดี อยู่อย่างนั้น
    ไม่ถูกใจขนาดไหนก็คิดดีได้
    เพราะเรารู้ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    ไม่ใช่เขาทำถูกใจเราจึงจะคิดดีกับเขา ไม่ใช่นะ
    แม้แต่เราไม่ชอบเขา ไม่ถูกใจ ไม่ชอบ ความรู้สึกลึกๆก็น่าโกรธ น่าโมโห
    แต่ถ้าเราค่อยๆปฏิบัติ จนค่อยๆเข้าใจว่า"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
    ปัญญามันจะบอกว่า "คิดชั่วไม่ได้"
    ถ้าเป็นอย่างนี้ จิตของเราก็ต้องสงบแล้ว
    ความฟุ้งซ่าน วุ่นวายใจ ก็ค่อยๆหมดไปๆ
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

     
  12. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ชนะใจตน คือชนะมาร

    สำหรับพวกเราทุกคน จริงๆแล้วคนที่ตั้งใจ
    จะทำความดีก็มีอยู่มาก บางช่วงเวลาตั้งใจทำความดีเป็นพิเศษ
    ทำความดีถวายในหลวง รักษาศีล8ในวันพระ
    รักษาศีลปฏิบัติธรรมช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น

    แต่หลายคนคงรู้สึกว่า ทำไมการทำความดีทำได้ยาก
    แม้เพียงแค่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก
    ทำใจสงบต่อเนื่องกันสักแค่ 15 นาที 20นาทีก็ทำได้ยาก
    เพราะมีมารมาขวางกั้นการทำดี

    "มาร" คือ อุปสรรคกีดขวางไม่ให้เกิดความดี
    ตามหลักพระพุทธศาสนา มีมาร 5 อย่าง
    ได้แก่ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร เทวบุตรมาร และมัจจุราชมาร

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     
  13. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    ขันธมาร

    เราเกิดเป็นมนุษย์มีขันธ์ 5 ขันธ์ ร่างกายของเราที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบ
    เรียกว่า รูปขันธ์ ส่วนจิตใจ เรียกว่า นามขันธ์
    ประกอบด้วย เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกทุกข์ สุข เฉยๆ
    สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้หมายรู้ เช่นเห็นแก้วน้ำ ก็จำได้ว่าสิ่งนี้ใช้สำหรับใส่น้ำดื่ม เห็นปากกา ก็จำได้ว่าใช้สำหรับเขียนหนังสือ เป็นต้น
    สังขารขันธ์ คือการนึกคิดปรุงแต่งขึ้นมา เช่น เห็นผู้หญิงสวยๆ แล้วก็คิดปรุงแต่งอยากจะเป็นแฟนกับเขา
    วิญญาณขันธ์ คือการรับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    การที่เราตั้งใจนั่งสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    เพียงแค่ 20 นาที ก็อาจทำได้ยาก เพราะมีขันธมารเป็นอุปสรรค
    เช่น รูปขันธ์ คือ ร่างกายที่หิวข้าว หิวน้ำต้องการจะขับถ่าย หรือบางครั้งก็เจ็บป่วยหายใจไม่สะดวก เป็นต้น
    เวทนาขันธ์ รู้สึกร้อนไป หนาวไป แมลงกัดต่อยรู้สึกคัน นั่งแล้วรู้สึกเมื่อย เป็นต้น
    สัญญาขันธ์ เมื่อตั้งใจทำใจสงบ สัญญาคือความทรงจำต่างๆจากอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่ผ่านมานานแล้ว ทั้งเรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจก็มักเข้ามารบกวนจิตใจ ทำให้ไม่สามารถมีสติระลึกรู้ลมหายใจได้
    สังขารขันธ์ คือจิตที่คิดปรุงแต่งไปต่างๆนานา เช่น พรุ่งนี้จะทำอะไร งานที่ต้องทำให้เสร็จมีอะไร เป็นต้น การนึกคิดเหล่านี้ทำให้จิตใจไม่สงบ และไม่ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ
    วิญญาณขันธ์ เมื่อเราตั้งใจกำหนดลมหายใจเพียงอย่างเดียว แต่การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เข้ามาหมด เช่น ได้ยินเสียง ได้กลิ่น เกิดความรู้สึกต่างๆทางกาย และรับรุ้อารมณ์ทางใจ

    โดยสรุปก็คือ เมื่อจะนั่งสมาธิกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ติดต่อกันต่อเนื่องกันเพียงระยะเวลาสั้นๆก็ทำสำเร็จได้ยาก เพราะเพียงมีขันธ์5เป็นมาร เป็นอุปสรรค


    จากหนังสือชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     
  14. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    กิเลสมาร

    กิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ เช่น เมื่อตั้งใจจะนั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ทำใจสงบสัก 20 นาที
    ก็เกิดโลภะ เช่น จิตใจเกิดนึกคิดปรุงแต่งถึงสิ่งที่รักใคร่พอใจ นึกอยากจะกิน อยากจะไปเที่ยว คิดถึงแฟน ฯลฯ
    เกิดโทสะ เช่น เบื่อหน่ายรำคาญ หรือจิตใจนึกคิดปรุงแต่งไปถึงคนที่เราไม่พอใจ เขาทำไม่ถูกใจเรา เขาพูดไม่ดีกับเรา เขาไม่ให้ความสำคัญกับเรา เป็นต้น
    เกิดโมหะ เช่น คิดลังเลสงสัย หรือเกิดฟุ้งซ่าน หดหู่ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น

    โลภะ โทสะ โมหะ รวมเรียกว่า กิเลสมารนี้จึงเป็นอุปสรรค ทำให้การฝึกสมาธิกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกติดต่อกันแม้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆก็ทำได้ยาก

    จากหนังสือชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     
  15. sakichan02

    sakichan02 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +328
    อภิสังขารมาร

    สังขาร คือ การนึกคิดปรุงแต่ง เช่น เมื่อเราตั้งใจจะนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ แล้วเจตนาคิดปรุงแต่งขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเจตนาที่เป็นกุศล หรือ เจตนาที่เป็นอกุศลก็ตาม
    การคิดปรุงแต่งในทางกุศล (ปุญญาภิสังขาร) เช่น คิดจะพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน หรือคิดชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมจัดผ้าป่าเพื่อสร้างกุฏิ วิหาร เจดีย์ ทั้งๆที่เวลานี้ตั้งใจจะกำหนดรู้ลมหายใจ
    ในทางตรงกันข้าม บางคนก็นึกปรุงแต่งในทางอกุศล (อปุญญาภิสังขาร) เช่น เพื่อนบ้านชอบมาจอดรถขวางหน้าบ้านเรา คิดอยากจะแกล้งอย่างไรดีให้เขาเจ็บใจ ไม่กล้าเอารถมาจอดอีก น่าจะเอาตะปูมาวางให้ยางแตก ซึ่งเป็นการคิดเบียดเบียนผู้อื่น เป็นบาปอกุศล

    เมื่อจิตใจนึกคิดปรุงแต่งไปในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะคิดดี หรือคิดชั่วก็ตาม เวลาก็ผ่านๆไปกับการคิดปรุงแต่ง ไม่ได้กำหนดรู้ลมหายใจเลย

    จากหนังสือชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     
  16. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ตอนที่ 4 สถาปัตยกรรมบุโรพุทโธ

    ศาสนสถานบุโรพุทโธเป็นศิลปะชวาภาคกลาง มีลักษณะเป็นรูปทรงฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ผนังของฐานสี่เหลี่ยมแต่ละชั้นจะใช้เป็นกำแพงด้านนอกของระเบียงสำหรับใช้ต่อๆ ไปยังข้างบน ระเบียงคดทั้งหมดมีด้วยกัน 4 ชั้น แต่ผนังกำแพงมีอยู่ 5 ชั้น หากเดินโดยรอบตามระเบียงแต่ละชั้น ก็จะเห็นภาพสลักนูนต่ำเล่าเรื่องประดับโดยตลอด ภาพสลักนูนต่ำหากปรากฏอยู่บนผนังกำแพงด้านนอกทางด้านซ้ายมือของเรา เรียกว่า “ระเบียงคด” แต่หากภาพสลักนูนต่ำปรากฏอยู่บนผนังกำแพงด้านในทางขวามือเรา เรียกว่า “กำแพงหลัก” ต่อจากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้นไปจะเป็นรูปทรงฐานวงกลม แบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยมีเจดีย์หรือสถูปใหญ่อยู่ตรงกลางบนยอดสุด ดังภาพ

    [​IMG]

    วัชรธาตุมณฑล (Vijarathadu Madala)
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2010
  17. สมรปราง

    สมรปราง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +263
    เปรียบเทียบไปอย่างนั้นแหละท่าน เรื่องจริงนะมันลึกซึ้งข้าพเจ้ามองผิวเผิน + โมเมชั่นเพื่อมีเรื่องให้โต้ตอบหนุกๆๆ ได้ไปวันๆๆ...เหอ..เหอ...
     
  18. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ เปิดรับสมัครนักปฏิบัติธรรมรุ่นที่ 1 ประจำปี 2553

    กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ที่สนใจและตั้งใจจริงทุกๆ ท่าน

    จำนวนที่รับ: 15 ท่าน

    วัตถุประสงค์:
    1) เพื่อพบปะ สนทนา และสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัลยาณมิตร
    2) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และปฏิบัติสมาธิแบบ TM และแบบกรรมฐาน-วิปัสสนา
    3) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักปฏิบัติธรรมให้มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงร่วมกิจกรรมสร้างบุญกุศลและสาธารณประโยชน์แก่สังคม

    กำหนดการ:
    วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 เวลา 10.00 น. - 17.00 น.

    กิจกรรม:
    09.30 น. พบปะ แนะนำ สนทนา แบบพี่ๆ น้องๆ
    10.00 น. บรรยายเรื่อง: โครงการจิตอาสา
    11.00 น. นั่งสมาธิแบบ TM
    12.00 น. พักทานอาหารกลางวัน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
    13.00 น. บรรยายเรื่อง: แก่นธรรม
    14.00 น. นั่งสมาธิแบบกรรมฐาน-วิปัสสนา
    15.00 น. สอบอารมณ์

    สถานที่:
    98/318 หมู่บ้านลัดดารมย์ ปิ่นเกล้า ถนนวงแหวนรอบนอก ต. บางคูเวียง อ. บางกรวย จ. นนทบุรี แผนที่ตามแนบ

    [​IMG]

    สถานที่ตั้ง
    1) เส้นทางหลัก คือ ถนนกาญจนาภิเษก หรือวงแหวนรอบนอก
    2) อยู่ตรงข้ามกับ เทสโก โลตัส บางใหญ่
    3) ก่อนถึงที่หมาย สังเกตุ ป้ายปั้มน้ำมัน ปตท. (ปั้ม jet เดิม) ถัดจากปั๊ม ปตท. ประมาณ 100 ม. จะถึง หมู่บ้านพฤกภิรมย์ก่อน ถัดไปอีก 200 เมตร ก็จะถึง หมู่บ้านลัดดารม์ ปิ่นเกล้า (จะมีป้ายตัวโตๆ บอกไว้)
    4) อย่าลืมบอก บ้านเลขที่ แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย: 98/318 ซอย 2/18


    หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ คุณภราดรภาพ 081-808 6695
     
  19. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    การรับสมัครคนรุ่นใหม่ในครั้งนี้
    รับจำนวนจำกัดครับ เพียงแค่ 15 ท่าน เท่านั้น
    เนื่องจากมีรุ่นเก่าตั้งแต่ รุ่นที่ 1 - รุ่นที่ 5 มาสมทบร่วมด้วย
    โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ

    ดังนั้น ผู้สมัครต้องมั่นใจนะครับ ว่าสามารถเข้าร่วมได้
    เดี๊ยวจะกลายเป็นว่า ทำให้ผู้อื่นเสียโอกาส
     
  20. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    สมาธิแบบ TM (Transcendental Meditation)

    เทคนิคการทำสมาธิแบบ TM คือ การท่อง "มนตรา" (Muntra) ซึ่งจะท่องซ้ำ ๆ ในใจ ทำให้เกิดความผ่อนคลาย และถือเป็นอุบายในการทำให้จิตนิ่ง ซึ่งการท่องมนตรานี้จะไม่มีการเปิดเผยให้ทราบ ขึ้นอยู่กับครูผู้ฝึกสอนจะเป็นผู้กำหนดให้ บ้างก็จะใช้วิธีการเปิดเพลงบรรเลงเกี่ยวกับธรรมชาติหรือมนตรา ให้ผู้ปฏิบัติได้รับฟัง จากนั้นก็จะใช้วิธีการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่ภวังค์เพื่อการบำบัดความเครียด บ้างก็เรียกสมาธิแบบนี้ว่า "สมาธิแห่งดุลยภาพ" หรือ "สมาธิแห่งความเป็นนิรันดร"


    ประโยชน์ที่จะได้รับ
    1) ได้วิธีการบำบัดความเครียดแบบฉับพลัน
    2) ได้พื้นฐานให้กับการรวมกายและจิตเป็นเป็นหนึ่งเดียว
    3) เสริมสร้างสติปัญญา

    ข้อควรคำนึงสำหรับคนมีองค์
    - มนตรานี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เมื่อบริกรรมและกำหนดรวมกับจิตจนถึงสภาวะหนึ่ง อัตลักษณ์ต่างๆ ก็จะปรากฏให้เห็น

     

แชร์หน้านี้

Loading...