จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙


    จิตผ่องใส คือ อวิชชา

    ปกติ จิตเป็นสิ่งที่ผ่องใส และพร้อมที่จะสัมผัสสัมพันธ์กับทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เสมอ สภาพทั้งหลายเป็น “ไตรลักษณ์” ตกอยู่ในกฎแห่ง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตาด้วยกันทั้งนั้นไม่มีเว้น แต่ธรรมชาติของจิตที่แท้จริงนั้นไม่ได้อยู่ในกฎนี้ เท่าที่จิตเป็นไปตามกฎของ “อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา” ก็เพราะสิ่งที่เป็นไตรลักษณ์ คือสิ่งที่หมุนเวียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับจิต จิตจึงหมุนเวียนไปตามเขา แต่หมุนเวียนไปด้วยธรรมชาติที่ไม่แตกไม่สลาย หมุนไปตามสิ่งที่มีอำนาจให้หมุนไป แต่ที่เป็นอำนาจของจิตอยู่โดยหลักธรรมชาตินั้น คือ “รู้และไม่ตาย” ความไม่ตายนี้แลเป็นสิ่งที่เหนือความแตก ความไม่แตกสลายนี้แลเป็นสิ่งที่เหนือกฎไตรลักษณ์และ “หลักสากลนิยม” ทั้งหลาย แต่ที่ไม่ทราบก็เพราะธรรมชาติที่เป็นสมมุติเข้าไปเกี่ยวข้องรุมล้อมจิตเสีย หมด จิตจึงกลมกลืนกับเรื่องเหล่านี้ไปเสีย

    ที่เราไม่ทราบว่าการเกิดตายเป็นของมีมาดั้งเดิมประจำจิตที่มีกิเลสเป็นเชื้อ ก็เพราะความไม่ทราบเป็นเรื่องของกิเลส ความเกิดตายเป็นเรื่องของกิเลส เรื่องเราจริงๆ เรื่องเราล้วนๆ คือเรื่องจิตล้วนๆ ไม่มีอำนาจเป็นตัวของตัวเองได้ อาศัยของจอมปลอมมาเป็นตัวของตัวเรื่อยมา การแสดงออกของจิตจึงไม่ตรงตามความจริง มีการแสดงออกต่างๆ ตามกลมารยาของกิเลส เช่นทำให้กลัว ทำให้สะทกสะท้าน กลัวจะเป็นกลัวจะตาย กลัวอะไรกลัวไปหมด แม้ทุกข์น้อยทุกข์ใหญ่อะไรมาปรากฏก็กลัว อะไรกระทบกระเทือนไม่ได้เลยมีแต่กลัว ผลที่สุดในจิตจึงเต็มไปด้วยความหวาดความกลัวไปเสียสิ้น นั่น! ทั้งๆ ที่เรื่องความหวาดความกลัวเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของจิตโดยตรงเลย แต่ก็ทำให้จิตหวั่นไหวไปตามจนได้

    เราจะเห็นได้เวลาที่จิตชำระจนบริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้ว ไม่มีอะไรเข้าไปเกี่ยวข้องได้แล้ว จะไม่ปรากฏเลยว่าจิตนี้กลัว กล้าก็ไม่ปรากฏ กลัวก็ไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ธรรมชาติของตัวเองอยู่โดยลำพังหรือโดยหลักธรรมชาติตลอดเวลา “อกาลิโก” เท่านั้น นี้เป็นจิตแท้ จิตแท้นี้ต้องเป็น “ความบริสุทธิ์” หรือ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ของพระอรหันต์ท่านเท่านั้น นอกจากนี้ไม่อาจเรียก “จิตแท้” อย่างเต็มปากเต็มใจได้ สำหรับผู้แสดงกระดากใจไม่อาจเรียกได้

    “จิตดั้งเดิม” หมายถึงจิตดั้งเดิมแห่ง “วัฏฏะ” ของจิตที่เป็นอยู่นี่ ซึ่งหมุนไปเวียนมา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลักธรรมว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตเดิมแท้ผ่องใส” นั่น! “แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลสหรือกิเลสจรมา จึงทำให้จิตเศร้าหมอง” ท่านว่า

    “จิตเดิมแท้” นั้นหมายถึงเดิมแท้ของสมมุติต่างหาก ไม่ได้หมายถึงความเดิมแท้ของความบริสุทธิ์ เวลาท่านแยกออกมา “ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ภิกฺขเว” “ปภสฺสร” หมายถึง ประภัสสร คือความผ่องใส ไม่ได้หมายถึงความบริสุทธิ์ นี่หลักเกณฑ์ของท่านพูดถูกต้องหาที่แย้งไม่ได้เลย ถ้าว่าจิตเดิมเป็นจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะมีที่ค้านกันว่า “ถ้าบริสุทธิ์แล้วมาเกิดทำไม?” นั่น แน่ะ!

    ท่านผู้ชำระจิตบริสุทธิ์แล้วท่านไม่ได้มาเกิดอีก ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วชำระกันทำไม มันมีที่แย้งกันตรงนี้ จะชำระเพื่ออะไร? ถ้าจิตผ่องใสก็ชำระ เพราะความผ่องใสนั้นแลคือตัว “อวิชชา” แท้ไม่ใช่อื่นใด ผู้ปฏิบัติจะทราบประจักษ์ใจของตนในขณะที่จิตได้ผ่านจากความผ่องใสนี้ไปแล้ว เข้าถึง “วิมุตติจิต” ความผ่องใสนี้จะไม่ปรากฏตัวเลย นั่น! ทราบได้ตรงนี้อย่างประจักษ์กับผู้ปฏิบัติ และค้านกันได้ก็ค้านกันตรงนี้ เพราะความจริงนั้นจะต้องจริงกับใจของบุคคล เมื่อใครทราบใครรู้ก็ต้องพูดได้เต็มปากทีเดียว

    ฉะนั้นจิตของพวกเรากำลังตกอยู่ในวงล้อม ทำให้หวาดให้กลัว ให้รักให้ชัง ให้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างชื่อว่าเป็นอาการของสมมุติ เป็นอาการของกิเลสโดยสิ้นเชิง ตัวเราเองไม่ได้พลังจิตเป็นของตนเอง มีแต่พลังของกิเลสตัณหาอาสวะ มันผลักมันดันอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเราจะหาความสุขความสบายมาจากที่ไหน เมื่อธรรมชาตินี้ซึ่งเป็นของแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ยังมายั่วยุจิตให้เป็นไปตามอีกด้วยโดยที่เราไม่รู้สึก

    โลกนี้จะหาความสุขที่ไหน หาไม่ได้ ถ้าไม่ได้ถอดถอนธรรมชาติเหล่านี้ออกจากจิตใจโดยสิ้นเชิงเสียเมื่อไร จะหาความทรงตัวอยู่อย่างสบายหายห่วงไม่ได้เลย จะต้องกระดิกพลิกแพลงหรือต้องเอนโน้นเอนนี้ ตามสิ่งที่มาเกี่ยวข้องยั่วยวนมากน้อย ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ชำระจิต ซึ่งเป็นการชำระความทุกข์ทรมานของตนนั้นแล

    ไม่มีผู้ใดที่จะหยั่งถึงหลักความจริงได้อย่างแท้จริงดั่งพระพุทธเจ้า มีพระองค์เดียวที่เรียกว่า “สยัมภู” โดยไม่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดเลย ในการแก้กิเลสออกจากพระทัยของพระองค์ ทรงทำหน้าที่ทั้งเป็นนักศึกษาทั้งเป็นครูไปในตัวลำพังพระองค์เดียว จนได้ตรัสรู้ถึงขั้น “ยอดธรรม ยอดคน ยอดศาสดา”

    ส่วนทางสมาธิด้านความสงบนั้น ท่านคงได้ศึกษาอบรมมาบ้างเหมือนกันกับดาบสทั้งสอง ไม่ปฏิเสธ แต่นั่นไม่ใช่ทางถอดถอนถึงความเป็น “สัพพัญญู” ได้ เวลาจะเป็น “สัพพัญญู” ก็เสด็จออกจากดาบสทั้งสองไปบำเพ็ญลำพังพระองค์เดียว และทรงรู้เองเห็นเองโดยไม่มีครูสั่งสอนเลย แล้วนำธรรมนั้นมาสั่งสอนโลก พอได้รู้บุญรู้บาป รู้นรกสวรรค์ ตลอดนิพพานมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ หากไม่มีใครมาสั่งสอนเลย สัตว์โลกก็จะแบกแต่กองเพลิงเต็มหัวใจไม่มีวันเวลาปล่อยวางได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะเห็นคุณค่าแห่งธรรมที่ท่านนำมาสอนโลกได้โดยยาก ไม่มีใครในโลกสามารถทำได้อย่างท่านเลย

    เวลานี้อะไรเป็นเครื่องหุ้มห่อจิตใจ หาความ “ผ่องใส” และ “ความบริสุทธิ์” ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เราต้องการหาความบริสุทธิ์ด้วยกันทุกคน อะไรเป็นเครื่องปิดบังอยู่เวลานี้? ถ้าพูดตามหลักธรรมชาติแล้ว ก็มีขันธ์ห้าเป็นที่หนึ่ง ส่วน “จิตอวิชชา” นั้นยกไว้ก่อน เอาแต่ที่เด่นๆ คือขันธ์ห้านั้นเป็นที่หนึ่ง และที่เป็นสหายกันนั้นก็คือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ซึ่งติดต่อสื่อสารกันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย และเข้าไปประสานกับใจ จากนั้นก็เป็น “ความสำคัญ” ขึ้นมาอย่างนั้นอย่างนี้จากรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส แล้วนำเอาอารมณ์ที่ผ่านไปแล้วนั้นแล เข้ามาผูกมัดวุ่นวาย หรือมาหุ้มห่อตัวเองให้มืดมิดปิดตาไปด้วยความรัก ความชัง ความเกลียด ความโกรธ และอะไรๆ เต็มไปหมด ซึ่งได้มาจากสิ่งดังกล่าวทั้งนั้น

    ส่วนที่ฝังอยู่ลึกก็คือขันธ์ของเรานี้ เราถือว่าเป็นตัวเป็นตนของเรามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์กาลไหนๆ ทุกชาติทุกภาษา แม้จะเป็นสัตว์ก็ต้องถือว่าเรานี้เป็นของเรา นี้เป็นสัตว์ เป็นตัวของสัตว์ เป็นตัวของเรา จะเป็นกายทิพย์ ร่างกายทิพย์ก็เป็นตัวของเรา จะเป็นเปรต เป็นผีเป็นอะไรก็ตามเถอะ สิ่งที่อาศัยอยู่ร่างหยาบร่างละเอียด ต้องถือว่าเป็นเราเป็นของเราด้วยกันทั้งนั้น จนกระทั่งที่มาเป็นมนุษย์ที่รู้จักดีรู้จักชั่วบ้างแล้ว ก็ยังต้องถือว่า “นี้เป็นเราเป็นของเรา” ในขันธ์ห้า รูปก็เป็นเรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นเราเป็นของเรา เหล่านี้ยังฝังอยู่อย่างลึกลับ

    ฉะนั้นท่านจึงสอนให้พิจารณา การพิจารณาก็เพื่อจะให้รู้ชัดเจนตามความจริงของมัน แล้วถอนความยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดว่าตน เพื่อความเป็นอิสระนั่นเองไม่ใช่เพื่ออะไร ตามปกติของเขาแล้วจะพิจารณาเขาทำไม? รูปก็เป็นรูป เสียงเป็นเสียง กลิ่นเป็นกลิ่น รสก็เป็นรส เครื่องสัมผัสต่างๆ เป็นธรรมชาติของเขาอยู่ดั้งเดิม เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นข้าศึกอะไรต่อเราเลย ไปพิจารณาเขาทำไม?

    การพิจารณาก็เพื่อให้ทราบความจริงของสิ่งนั้นๆ ตามความเป็นจริงของเขา แล้วทราบความลุ่มหลงของตนด้วยการพิจารณานี้ และถอนตัวเข้ามาด้วยความรู้ การที่จิตเข้าไปจับจองยึดขันธ์ว่าเป็นตนเป็นของตน ก็เพราะความลุ่มหลงนั่นเอง

    เมื่อพิจารณาเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรอย่างชัดเจนแล้ว จิตก็ถอนตัวเข้ามาด้วยความรู้ความเข้าใจด้วยปัญญา หมดกังวลกับสิ่งเหล่านั้น การพิจารณาอันใดที่เด่นชัดในบรรดาขันธ์ห้านี้ ไม่ต้องไปสำคัญมั่นหมาย คือคาดคะเนว่าเราไม่ได้พิจารณาขันธ์ห้าโดยทั่วถึง คือทุกขันธ์ไปโดยลำดับ ไม่ต้องไปทำความสำคัญ ขอแต่ว่าขันธ์ใดเป็นที่เด่นชัดซึ่งควรพิจารณาในเวลานั้น และเหมาะสมกับจริตนิสัยของเรา ก็ให้พิจารณาค้นคว้าในขันธ์นั้นให้ชัดเจน เช่น รูปขันธ์ เป็นต้น

    ในรูปขันธ์ มีอาการใดเด่นในความรู้สึกของเรา ที่เกิดความสนใจอยากจะพิจารณามากกว่าอาการอื่นๆ เราพึงจับจุดนั้น กำหนดพิจารณาให้เห็นความจริงของมันว่า “ทุกฺขํ คืออะไร?”

    ตามหลักธรรมท่านกล่าวไว้ว่า “ทุกฺขํ” คือความทนไม่ได้ มันไม่ค่อยสนิทใจเราซึ่งเป็นคนมีนิสัยหยาบ จึงชอบแปลแบบลางเนื้อชอบลางยาเป็นส่วนมากว่า “ทุกฺขํ คือความบีบบังคับอยู่ตลอดเวลานี้แล” นี่เหมาะกับใจเราที่หยาบมาก ดังธรรมบทว่า “ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ” นี้ตรงกับคำที่ว่านี้ คือปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมใจก็เป็นทุกข์ เป็นทุกข์คืออะไร? ก็คือบีบคั้นตัวเองนั้นแล หรือเกิดความไม่สบายนั่นแล้ว ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็ไม่สบาย ปรารถนาสิ่งใดแม้ได้แล้ว แต่สิ่งนั้นพลัดพรากจากไปเสียก็เป็นความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์อันนี้เข้ากันได้กับคำว่า “มันบีบบังคับ” ความบีบบังคับนั้นแลคือความทุกข์ความทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ก็เป็นไปตามเรื่องของเขา ไปยุ่งกับเขาทำไม! ความจริงจะเป็นขันธ์ใดหรือไตรลักษณ์ใดก็ตาม ใจของเราไปยึดไปถือเขาต่างหาก จึงต้องมาพิจารณาให้ชัดเจนในขันธ์

    รูปขันธ์ อาการใดดูให้เห็นชัดเจน ถ้ายังไม่ทราบชัดใน “ปฏิกูล” ซึ่งมีอยู่ในรูปขันธ์ของเรา ก็ให้ดูป่าช้าในตัวของเรานี้ให้เห็นชัดเจน คำว่า “เยี่ยมป่าช้า” ให้เยี่ยมที่นี่ แม้เยี่ยมป่าช้านอกก็เพื่อน้อมเข้ามาสู่ป่าช้าในตัวของเรา “ป่าช้านอก” คนตายในครั้งพุทธกาล มันป่าช้าผีดิบทิ้งเกลื่อน ไม่ค่อยจะเผาจะฝังกันเหมือนอย่างทุกวันนี้ ท่านจึงสอนให้พระไปเยี่ยมป่าช้า ที่ตายเก่าตายใหม่เกลื่อนกลาดเต็มไปหมดในบริเวณนั้น เวลาเข้าให้เข้าทางทิศนั้นทิศนี้ ท่านก็สอนไว้โดยละเอียดถี่ถ้วน ด้วยความฉลาดแหลมคมของพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สยัมภู” หรือ “ผู้เป็นศาสดาของโลก” ท่านสอนให้ไปทางเหนือลม ไม่ให้ไปทางใต้ลม จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะกลิ่นซากศพที่ตายเก่าตายใหม่นั้นๆ
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    (อ่านต่อค่ะ)
    เมื่อ ไปเจอซากศพเช่นนี้เข้าแล้ว ความรู้สึกเป็นอย่างไร แล้วให้ไปดูซากศพชนิดนั้นๆ ความรู้สึกเป็นอย่างไร ให้ประมวลหรือ “โอปนยิโก” น้อมเข้ามาสู่ตัวเองซึ่งเป็นซากอันหนึ่ง ท่านสอนให้พิจารณาอย่างนี้ เมื่อเราได้สักขีพยานคือตัวเราเอง ว่าซากศพที่อยู่ในป่าช้าภายนอกนั้นเป็นอย่างไรแล้ว น้อมเข้ามาสู่ป่าช้าภายในคือตัวเราเอง เมื่อได้หลักเกณฑ์ที่นี่แล้ว การเยี่ยมป่าช้านั้นก็ค่อยจางไป ๆ แล้วมาพิจารณาป่าช้านี้ให้เห็นชัดเจนขึ้นโดยลำดับ คือกายนี้เป็นบ่อปฏิกูลน่าเกลียด ต้องชะล้างอาบสรง ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา

    ทุก สิ่งทุกอย่างที่มาเกี่ยวข้องกับทุกส่วนของร่างกายเรานี้ มีอะไรที่เป็นของสะอาด แม้เครื่องอุปโภคบริโภคเมื่อนำมาบริโภคก็กลายเป็นของปฏิกูล นับแต่ขณะเข้าทางมุขทวารและผ่านลงไปโดยลำดับ เครื่องนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ มันก็สกปรก ต้องไปชะล้างซักฟอกยุ่งไปหมด ที่บ้านที่เรือนก็เหมือนกัน ต้องชะล้างเช็ดถูปัดกวาดอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นป่าช้าขึ้นที่นั่นอีก เพราะความสกปรกเหม็นคลุ้งทั่วดินแดน มนุษย์ไปอยู่ที่ไหนต้องทำความสะอาด เพราะมนุษย์สกปรก แน่ะ! ในตัวเราซึ่งเป็นตัวสกปรกอยู่แล้ว สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับตัวเรามันจึงสกปรก แม้แต่อาหารหวานคาวที่มีรสเอร็ดอร่อยน่ารับประทาน สีสันวรรณะก็น่าดูน่าชม พอเข้ามาคละเคล้ากับสิ่งสกปรกที่มีอยู่ภายในร่างกาย เช่น น้ำลาย เป็นต้น ก็กลายเป็นของสกปรกไปด้วย อาหารชนิดต่างๆ ที่ผ่านมุขทวารเข้าไปแล้ว เวลาคายออกมา จะนำกลับเข้าไปอีกไม่ได้ รู้สึกขยะแขยงเกลียดกลัว เพราะเหตุไร? ก็เพราะร่างกายนี้มีความสกปรกอยู่แล้วตามหลักธรรมชาติของตน อันใดที่มาเกี่ยวข้องกับร่างกายนี้จึงกลายเป็นของสกปรกไปด้วยกัน

    การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า “พิจารณาป่าช้า” “พิจารณา อสุภกรรมฐาน”

    เอ้า กำหนดเข้าไป ในหลักธรรมชาติของมันเป็นอย่างไร ดูทุกแง่ทุกมุมตามความถนัดใจ คือปกติเมื่อเราดูในจุดนี้แล้ว มันจะค่อยซึมซาบไปจุดนั้นๆ โดยลำดับ ถ้าสติกับความรู้สึกสืบต่อกันอยู่แล้ว ปัญญาจะต้องทำงานและก้าวไปไม่ลดละ จะมีความรู้สึกซาบซึ้งในการรู้จริงเห็นจริงโดยลำดับ นี่เป็นปัญญาระดับแรกของการพิจารณา

    เมื่อพิจารณาในขั้น “ปฏิกูล” แล้ว พิจารณาความเปลี่ยนแปรสภาพของร่างกาย คือความปฏิกูลก็อยู่ในร่างกายนี้ ป่าช้าผีดิบก็อยู่ในร่างกายนี้ ป่าช้าผีแห้งผีสดผีร้อยแปดอะไรก็รวมอยู่ในนี้หมด เวลานำไปเผาไปต้มแกงในเตาไฟ ไม่เห็นว่าเป็นป่าช้ากันบ้างเลย แต่กลับว่า“ครัวไฟ” ไปเสีย ความจริงก็คือป่าช้าของสัตว์นั่นแหละ และขนเข้ามาเก็บเอาไว้ที่นี่ (ท้องคน) ในหลุมในบ่ออันนี้เต็มไปหมด นี่ก็คือที่ฝังศพของสัตว์ต่างๆ เราดีๆ นั่นแลถ้าคิดให้เป็นธรรม คือให้ความเสมอภาค เพราะศพใหม่ศพเก่าเกลื่อนอยู่ที่นี่ เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วจะไม่เกิดความสะอิดสะเอียน ไม่เกิดความสังเวชสลดใจแล้วจะเกิดอะไร? เพราะความจริงเป็นอย่างนั้นแท้ๆ

    พระ พุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงความจริง เพราะความจริงมีอยู่อย่างนี้ ถ้าเราไม่ปีนเกลียวกับความจริง ใครๆ ก็จะได้ปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นความสำคัญผิด อันเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนออกได้เป็นลำดับๆ จิตใจจะมีความสว่างกระจ่างแจ้ง ฉายแสงออกมาด้วยความสง่าผ่าเผยองอาจกล้าหาญต่อความจริง ที่สัมผัสสัมพันธ์กับตนอยู่ตลอดเวลา พอใจรับความจริงทุกแง่ทุกมุมด้วยความเป็นธรรมไม่ลำเอียง แม้ยังละไม่ขาดก็พอมีความเบาใจ มีที่ปลงที่วางบ้าง ไม่แบกหามอุปาทานในขันธ์เสียจนย่ำแย่ตลอดไป แบบภาษิตท่านว่า “คนโง่นั้นหนักเท่าไรยิ่งขนเข้า” “ปราชญ์ท่านเบาเท่าไรยิ่งขนออกจนหมดสิ้น!”

    เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว จงพิจารณาความแปรสภาพของขันธ์ ขันธ์แปรทุกชิ้นทุกอันทุกสัดทุกส่วนบรรดาที่มีในร่างกายนี้ แม้แต่ผมเส้นหนึ่งไม่ได้เว้นเลย แปรสภาพเหมือนกันหมด อันไหนที่เป็นเรา อันไหนที่เป็นของเรา ที่ควรยึดถือ?

    คำว่า “อนตฺตา” ก็เหมือนกัน ยิ่งสอนย้ำความไม่น่ายึดถือเข้าไปอย่างแนบสนิท
    อนตฺ ตาก็อยู่ในชิ้นเดียวกัน ชิ้นเดียวกันนี่แหละที่เป็นอนตฺตา ไม่ใช่เรา! และของใครทั้งสิ้น! เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ๆ ที่คละเคล้ากันอยู่ตามธรรมชาติของตน ๆ ไม่สนใจว่าใครจะรักจะชัง จะเกลียดจะโกรธ จะยึดถือหรือปล่อยวาง

    แต่มนุษย์เรานั้นมือไวใจเร็ว อะไรผ่านมาก็คว้ามับ ๆ ไม่สนใจคิดว่าผิดหรือถูกอะไรบ้างเลย มือไวใจเร็วยิ่งกว่าลิงร้อยตัว แต่มักไปตำหนิลิงว่าอยู่ไม่เป็นสุขกันทั้งโลก ส่วนมนุษย์เองอยู่ไม่เป็นสุข ทุกอิริยาบถเต็มไปด้วยความหลุกหลิก คึกคะนองน้ำล้นฝั่งอยู่ตลอดเวลา ไม่สนใจตำหนิกันบ้างเลย “ธรรม” ที่ท่านสอนไว้ จึงเปรียบเหมือนไม้สำหรับตีมือลิงตัวมือไวใจคะนองนั้นแล!

    “ไตรลักษณ์” มี อนตฺตา เป็นต้น ท่านขู่ไว้ตบไว้ ตีข้อมือไว้ “อย่าไปเอื้อม!” ตบไว้ตีไว้ “อย่าไปเอื้อมว่าเป็นเราเป็นของเรา” นั่น! คำว่า “รูปํ อนตฺตา” ก็อุปมาเหมือนอย่างนั้นเอง “อย่าเอื้อม” “อย่าเข้าไปยึดถือ!” นั่น! ให้เห็นว่ามันเป็นอนตฺตาอยู่แล้ว นั่นแน่ะ! ธรรมชาติของมันเป็นอนตฺตา ไม่เป็นของใครทั้งหมด “อนตฺตา ไม่เป็นตน” ก็บอกอยู่แล้ว นี่คือการพิจารณาร่างกาย

    เอาละที่นี่กำหนดให้มันสลายไป จะสลายลงไปแบบไหนก็เอาตามความถนัดใจ อันนั้นเปื่อยลง อันนี้เปื่อยลง อันนั้นขาดลง อันนี้ขาดลง กำหนดดูอย่างเพลินใจด้วยปัญญาของตน อันนั้นขาดลง อันนี้ขาดลง ขาดลงไปจนขาดลงไปทุกชิ้นทุกอัน ตั้งแต่กะโหลกศีรษะขาดลงไป กระดูกแต่ละชิ้นละอันเมื่อหนังหุ้มมันเปื่อยลงไปแล้ว เนื้อก็เปื่อยลงไปแล้ว เส้นเอ็นที่ยึดกันขาดเปื่อยลงไปแล้ว มันทนไม่ได้ต้องขาดไป ๆ เพราะมีชิ้นติดชิ้นต่อกันอยู่อย่างนี้ด้วยเอ็นเท่านั้น เมื่อเส้นเอ็นเปื่อยลงไป ส่วนต่างๆ ต้องขาดลงไป ขาดลงไปกองอยู่กับพื้น และเรี่ยราดกระจัดกระจายเต็มบริเวณ มิหนำยังกำหนดให้แร้งกาหมากินและกัดทิ้งไปทั่วบริเวณ ใจจะมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง

    เอ้า กำหนดดู! ส่วนที่เป็นน้ำมันก็กระจายลงไป ซึมซาบลงไปในดินด้วย เป็นไอขึ้นไปบนอากาศด้วย แล้วก็แห้งเข้าไป ๆ จนไม่ปรากฏสิ่งที่แข็ง เมื่อแห้งเข้าไปแล้วก็กลายเป็นดินตามเดิม ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ซอยลงไป อันใดก็ตามในธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟนี้ เป็นสิ่งประจักษ์ในทางสัจธรรมด้วยกันทั้งนั้น เราไม่ต้องคิดว่าเราพิจารณาดินชัด แต่ส่วนนั้นไม่ชัดส่วนนี้ไม่ชัด ไม่ต้องว่าพิจารณาให้มันชัดไปส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม มันต้องทั่วถึงกันหมด เพราะดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นที่เปิดเผยอยู่แล้วในสายตาของเราก็เห็น ภายในร่างกายนี้น้ำเราก็มีอยู่แล้ว ลมคือลมหายใจ เป็นต้น ก็มีชัดๆ เห็นชัดๆ อยู่แล้ว แน่ะ! ไฟคือความอบอุ่นในร่างกายเป็นต้น แน่ะ! ต่างก็มีอยู่แล้วภายในร่างกายนี้ ทำไมจะไม่ยอมรับความจริงของมันด้วยปัญญาอันชอบธรรมเล่า เมื่อพิจารณาหลายครั้งหลายหนมันต้องยอมรับ ฝืนความจริงไปไม่ได้ เพราะต้องการความจริงอยู่แล้วนี่

    พิจารณาลงไป ค้นหาชิ้นใดว่าเป็นเราเป็นของเรา หาดูซิไม่มีเลยแม้แต่ชิ้นเดียว ! มันเป็นสมบัติเดิมของเขาเท่านั้น คือดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสมบัติเดิมของธาตุต่างๆ นี่อันหนึ่ง ดูอย่างนี้ จิตสงบแน่วลงไปได้ และไม่ใช่อารมณ์ที่พาให้จิตฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมคะนอง แต่เป็นธรรมที่ทำให้ใจสงบเย็นต่างหาก ท่านจึงสอนให้พิจารณาเนืองๆ จนเป็นที่เข้าใจและชำนาญ

    เมื่อจิตได้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาแล้ว จิตจะเป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องถอนตัวเข้าไปสู่ความสงบแน่วแน่อยู่ภายใน ปล่อยความกังวลใดๆ ทั้งหมด นี่เป็นขั้นหนึ่งในการพิจารณาธาตุขันธ์!

    เอ้า วาระต่อไปพิจารณาทุกขเวทนา เฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือขณะที่นั่งมากๆ เกิดความเจ็บปวดมาก เอาตรงนี้แหละ ! นักรบต้องรบในเวลามีข้าศึก ไม่มีข้าศึกจะเรียกนักรบได้อย่างไร อะไรเป็นข้าศึก? ทุกขเวทนาคือข้าศึกของใจ เจ็บไข้ได้ป่วยมีทุกข์ตรงไหน นั้นแหละคือข้าศึกอยู่แล้ว ถ้าเราเป็นนักรบเราจะถอยไปหลบอยู่ที่ไหน? ต้องสู้จนรู้และชนะด้วยความรู้นี้

    เอ้า เวทนามันเกิดขึ้นจากอะไร? ตั้งแต่เกิดมาจนเราเริ่มนั่งทีแรกไม่เห็นเป็น แต่ก่อนเรายังไม่เริ่มเป็นไข้ ไม่เห็นปรากฏทุกขเวทนาขึ้นมา นี่เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกขเวทนาจึงปรากฏขึ้นมา แต่ก่อนนี้มันไปหลบซ่อนอยู่ที่ไหน? ถ้าเป็นตัวของเราจริง จิตเรารู้อยู่ตลอดเวลา ทุกขเวทนาชนิดนี้ทำไมไม่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงมาปรากฏในขณะนี้? ถ้าทุกขเวทนาเป็นเรา เวลาทุกขเวทนาดับไปทำไมจิตจึงไม่ดับไปด้วย ถ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจริงๆ ต้องดับไปด้วยกัน จิตยังมีความรู้สึกอยู่ตราบใด ทุกขเวทนาก็ควรจะมีอยู่ตราบนั้น ถ้าเป็นอันเดียวกันแล้วไม่ควรดับไป ต้องพิจารณาดูให้ชัด และแยกดูกายด้วย ขณะที่ทุกข์เกิดขึ้น เช่น เจ็บแข้งเจ็บขา ปวดกระดูกชิ้นนั้นชิ้นนี้ จงกำหนดดูกระดูก ถ้ามันปวดกระดูกเจ็บกระดูกมากๆ ในเวลานั้น

    “กระดูกนี้หรือเป็นตัวทุกข์?” เอ้าถามดู และถามที่ตรงไหนให้จ่อจิตลงที่นั่นด้วยนะ อย่าถามแบบเผอเรอไปต่างๆ ให้ถามด้วย “จ่อจิตเพื่อรู้ความจริง” จ่อจิตแน่วอยู่กับทุกข์ จ้องอยู่กับกระดูกชิ้นนั้นท่อนนั้นที่เข้าใจว่าเป็นตัวทุกข์ ดูให้ดีว่ากระดูกชิ้นนี้หรือเป็นทุกข์ กำหนดดูเพื่อเป็นข้อสังเกตด้วยปัญญาจริงๆ ถ้ากระดูกนี้เป็นทุกข์จริงๆ แล้ว เวลาทุกข์ดับไปทำไมกระดูกนี้ไม่ดับไปด้วย นั่น! ถ้าเป็นอันเดียวกันจริง เมื่อทุกข์ดับไปกระดูกนี้ต้องดับไปด้วยไม่ควรจะยังเหลืออยู่ แต่นี่เวลาโรคภัยไข้เจ็บหายไป หรือเวลาเราลุกจากที่นั่งภาวนาแล้ว ความเจ็บปวดมากๆ นี้หายไป หรือทุกข์นี้หายไป กระดูกทำไมไม่หายไปด้วยถ้าเป็นอันเดียวกัน นี่แสดงว่าไม่ใช่อันเดียวกัน เวทนาก็ไม่ใช่อันเดียวกันกับกาย กายก็ไม่ใช่อันเดียวกันกับเวทนา กายกับจิตก็ไม่ใช่อันเดียวกัน ต่างอันต่างจริงของเขา แล้วแยกดูให้เห็นชัดเจนตามความจริงนี้ จะเข้าใจความจริงของสิ่งเหล่านี้โดยทางปัญญาไม่สงสัย

    เวทนาจะปรากฏเป็นความจริงของมัน ผลสุดท้ายการพิจารณาก็จะย่นเข้ามา ๆ ย่นเข้ามาสู่จิต เวทนานั้นจะค่อยหดตัวเข้ามา ๆ จากความสำคัญของจิต คือจิตเป็นเจ้าตัวการ จิตเป็นเจ้าของเรื่อง เราก็จะทราบ ทุกขเวทนาในส่วนร่างกายก็ค่อยๆ ยุบยอบ ค่อยดับไป ๆ ร่างกายก็สักแต่ว่าร่างกาย มีจริงอยู่อย่างนั้นตั้งแต่ทุกขเวทนายังไม่เกิด แม้ทุกขเวทนาดับไปแล้ว เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ส่วนไหนที่ว่าเป็นทุกข์ ก็เป็นความจริงของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ได้เป็นทุกข์นี่ กายก็เป็นกาย เวทนาก็เป็นเวทนา ใจก็เป็นใจ กำหนดให้เห็นชัดเจนตามเป็นจริงนี้ เมื่อจิตพิจารณาถึงความจริงแล้วเวทนาก็ดับ นี่ประการหนึ่ง

    ประการที่สอง แม้เวทนาไม่ดับก็ตาม นี่หมายถึงเวทนาทางกาย แต่ก็ไม่สามารถทำความกระทบกระเทือนให้แก่จิตได้ สุดท้ายใจก็มีความสงบร่มเย็น สง่าผ่าเผยอยู่ในท่ามกลางแห่งทุกขเวทนาซึ่งมีอยู่ภายในร่างกายของเรานี้ จะเป็นส่วนใดหรือหมดทั้งตัวก็ตามที่ว่าเป็นทุกข์ ใจของเราก็ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงอะไรทั้งหมด มีความเย็นสบาย เพราะรู้เท่าทุกขเวทนาด้วยปัญญาในเวลานั้น นี่คือการพิจารณาทุกขเวทนาที่ปรากฏผลอีกแง่หนึ่ง

    การพิจารณาทุกขเวทนา ยิ่งเจ็บปวดมากเท่าใดสติปัญญาเราจะถอยไม่ได้ มีแต่ขยับเข้าไปเรื่อยๆ เพื่อรู้ความจริง ไม่ต้องไปตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งความสำคัญมั่นหมายขึ้นว่า “ให้ทุกขเวทนาดับไป” ด้วยความอยากของตนนั้น จะเป็นเครื่องช่วยเสริมทุกขเวทนาให้หนักขึ้นโดยลำดับ ความจริงก็พิจารณาให้เห็นความจริงเท่านั้นทุกข์จะดับหรือไม่ก็ตาม ขอให้ทราบความจริงที่เป็นทุกข์หรือเกิดทุกข์ขึ้นมา ด้วยการรู้เท่าทางปัญญาของเราเป็นที่พอใจ เรากำหนดที่ตรงนั้น และสิ่งเหล่านี้มันเกิดมันดับอยู่อย่างนั้นภายในขันธ์

    กายมันเกิดขึ้นมาเป็นเวลาชั่วกาลชั่วระยะก็แตกสลายลงไป ที่เรียกว่า “แตกดับ” หรือ “ตาย” ทุกขเวทนาเกิดร้อยครั้งพันครั้งในวันหนึ่ง ๆ ก็ดับร้อยครั้งพันครั้งเหมือนกัน จะจีรังถาวรที่ไหน เป็นความจริงของมันอย่างนั้น เอาให้ทราบความจริงของทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนด้วยปัญญาอย่าท้อถอย เลื่อนลอยสัญญามันหมายอะไรบ้าง สัญญานี่เป็นตัวการสำคัญมาก พอสังขารปรุงแพล็บเท่านั้นแหละ สัญญาจะยึดเอาเลย แล้วหมายนั้นหมายนี้ยุ่งไปหมด ที่ว่าพวกก่อกวนพวกยุแหย่ให้เกิดเรื่องนั้นให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นมา ก็คือพวกนี้เอง คือพวกสังขารกับพวกสัญญา ที่สำคัญมั่นหมายว่านั้นเป็นเรานั้นเป็นของเรา หรือนั้นเป็นทุกข์ เจ็บปวดที่ตรงนั้นเจ็บปวดที่ตรงนี้ กลัวเจ็บกลัวตาย กลัวอะไรๆ ไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง กลัวไปหมด คือพวกนี้เป็นผู้หลอกให้กลัว จิตก็เลยหวั่นไปตามและท้อถอยความเพียรแล้วแพ้ นั่น! ความแพ้ดีละหรือ? แม้แต่เด็กเล่นกีฬาแพ้ เขายังรู้จักอับอายและพยายามแก้มือ ส่วนนักภาวนาแพ้กิเลสแพ้ทุกขเวทนา ไม่อายตัวเองและกิเลสเวทนาบ้าง ก็นับจะด้านเกินไป

    จงทราบว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอาการหนึ่งๆ ของจิตที่แสดงออกเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับ “สญฺญา อนตฺตา” นั่น ! มันก็เป็นอนตฺตาอย่างนั้นเอง แล้วไปถือมันยังไง ไปเชื่อมันยังไงว่าเป็นเราเป็นของเรา ว่าเป็นความจริง จงกำหนดตามให้รู้อย่างชัดเจน ด้วยสติปัญญาอันห้าวหาญชาญชัย ใจเพชรเด็ดดวงไม่ย่อท้อง้อกิเลสและเวทนาทั้งมวล สังขารความปรุง เพียงปรุงแพล็บๆๆ “ขึ้นมาภายในใจ” ใจกระเพื่อมขึ้นมา “แย็บๆๆ” ชั่วขณะ เกิดขึ้นในขณะไหนมันก็ดับไปขณะนั้น จะเอาสาระแก่นสารอะไรกับสังขารและสัญญาอันนี้เล่า

    วิญญาณเมื่อมีอะไรมาสัมผัส ก็รับทราบแล้วดับไป ๆ ผลสุดท้ายก็มีแต่เรื่องเกิดเรื่องดับเต็มขันธ์อยู่อย่างนี้ ไม่มีอันใดที่จีรังถาวรพอเป็นเนื้อเป็นหนังแก่ตัวเราอย่างแท้จริงได้เลย หาชิ้นสาระอันใดไม่ได้ในขันธ์อันนี้ เรื่องปัญญาจงพิจารณาให้เห็นชัดโดยทำนองนี้ จะเห็น “ธรรมของจริง” ดังพระพุทธเจ้าสอนไว้ไม่เป็นอื่นมาแต่กาลไหนๆ ทั้งจะไม่เป็นอื่นไปตลอดกาลไหนๆ อีกเช่นกัน

    เมื่อพิจารณาจนถึงขนาดนี้แล้ว ทำไมจิตจะไม่หดตัวเข้ามาสู่ความสงบจนเห็นได้ชัดเจนเล่า ต้องสงบและต้องเด่น ความรู้สึกที่จิตนี้ต้องเด่นดวงเพราะหดตัวเข้ามา เพราะความเห็นจริงในสิ่งนั้นๆ แล้ว จิตต้องเด่น เวทนาจะกล้าแสนสาหัส ก็จะสลายไปด้วยการพิจารณาเห็นประจักษ์อยู่กับจิตแล้วตามความจริง ถ้าไม่ดับก็ต่างคนต่างจริงใจ ก็มีความสง่าผ่าเผยอาจหาญอยู่ภายในไม่สะทกสะท้าน ถึงกาลจะแตกก็แตกไปเถอะ ไม่มีอะไรสะทกสะท้านแล้ว เพราะเรื่องแตกไปนั้นล้วนแต่เรื่องของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องผู้รู้คือใจนี้แตกไป ไม่ใช่ผู้รู้คือใจนี้ตายไป! มีแต่สิ่งเหล่านั้นเท่านั้นที่แตกดับสลายลงไป มีความสำคัญมั่นหมายของใจที่หลอกตนเองนี้เท่านั้นทำให้กลัว ถ้าจับจุดแห่งความสำคัญมั่นหมายนี้ว่าเป็นตัวมารยาที่ไม่น่าเชื่อถือแล้ว จิตก็ถอยตัวเข้ามาไม่เชื่อสิ่งเหล่านี้ แต่เชื่อความจริงเชื่อปัญญาที่พิจารณาโดยตลอดทั่วถึงแล้ว

    เอ้า เมื่อจิตพิจารณาหลายครั้งหลายหนไม่หยุดไม่ถอย ความชำนิชำนาญในขันธ์ห้าจะปรากฏขึ้น รูปขันธ์จะถูกปล่อยไปก่อนด้วยปัญญาในขั้นเริ่มแรกพิจารณารูปขันธ์ ปัญญาจะรู้เท่าก่อนขันธ์อื่นและปล่อยวางรูปได้ จากนั้นก็ค่อยปล่อยเวทนาได้ สัญญาได้ สังขารได้ วิญญาณได้ในระยะเดียวกัน คือรู้เท่า พูดง่ายๆ พอรู้เท่าก็ปล่อยวาง ถ้ายังไม่รู้เท่ามันก็ยึด พอรู้เท่าด้วยปัญญาแล้วก็ปล่อย ปล่อยไปหมด เพราะเห็นแต่จิตกระเพื่อมแย็บๆๆ ไม่มีสาระอะไรเลย คิดดีขึ้นมาก็ดับ คิดชั่วขึ้นมาก็ดับ คิดอะไรๆ ขึ้นมาขึ้นชื่อว่าสังขารปรุงแล้วดับด้วยกันทั้งนั้นร้อยทั้งร้อย ไม่มีอะไรตั้งอยู่ได้นานพอจะเป็นสาระแก่นสารให้เป็นที่ตายใจได้เลย

    แล้วมีอะไรที่คอยป้อนหรือผลักดันสิ่งเหล่านี้ออกมาเรื่อยๆ เดี๋ยวผลักดันสิ่งเหล่านี้และสิ่งเหล่านั้นออกมาหลอกเจ้าของอยู่เรื่อย นี่แหละท่านว่า “ประภัสสรจิต” จิตเดิมแท้ผ่องใส ภิกษุทั้งหลาย แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลส หรือความจรมาของกิเลส มาจากรูปเสียงกลิ่นรส จากเครื่องสัมผัสต่างๆ จรมาจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ ไปกว้านเอามาเผาลนตัวเองนี่แหละ ที่มาทำให้จิตเศร้าหมอง เศร้าหมองด้วยสิ่งเหล่านี้เอง

    ดังนั้นการพิจารณา จึงเพื่อจะถอดถอนสิ่งเหล่านี้ออกเพื่อเปิดเผยตัวจิตขึ้นมาด้วยปัญญาอย่าง ประจักษ์ จึงจะเห็นได้ว่า ในขณะจิตที่ยังไม่ได้ออกเกี่ยวข้องกับอารมณ์ใดๆ เพราะเครื่องมือคืออายตนะยังไม่สมบูรณ์ ยังอ่อนอยู่ จิตประเภทนี้ย่อมสงบตัวและผ่องใส ที่เรียกว่า “จิตเดิมเป็นจิตผ่องใส” แต่เป็นจิตเดิมของ “วัฏจักร” เช่นจิตเด็กแรกเกิดนั้นแล ซึ่งความเคลื่อนไหวต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์พร้อมพอรับอารมณ์ต่างๆ ได้เต็มที่ ไม่ใช่จิตเดิมของวิวัฏจักรที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว

    ทีนี้เวลาพิจารณารอบไปโดยลำดับแล้ว อาการของกิเลสที่เคยเพ่นพ่านจะรวมตัวเข้าสู่จุดนั้น เป็นความผ่องใสขึ้นมาภายในใจ และความผ่องใสนี้แล แม้แต่เครื่องมือประเภท “มหาสติ มหาปัญญา” ก็ยังต้องลุ่มหลงความผ่องใสในระยะเริ่มแรกที่เจอกัน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยพบมาก่อนเลย นับแต่วันเกิดและเริ่มแรกปฏิบัติ จึงเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ ดูเหมือนสง่าผ่าเผยไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบได้ในขณะนั้น ก็จะไม่สง่าผ่าเผยยังไง เพราะเป็น “ราชาแห่งวัฏจักร” ทั้งสามโลก คือกามโลก รูปโลก อรูปโลก มาแล้วเป็นเวลานานแสนกัปนับไม่ได้โน่นน่ะ เป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต ครอบครองจิตอยู่ตลอดมา ในเวลาที่จิตยังไม่มีสติปัญญาเพื่อถอนตัวออกจากใต้อำนาจนั้น ก็จะไม่สง่าผ่าเผยยังไง! จึงสามารถบังคับถูไถจิตให้ไปเกิดในที่ต่างๆ โดยไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ แล้วแต่อำนาจแห่ง “วิบากกรรม” ที่ตนสร้างไว้มากน้อย เพราะกิเลสประเภทนางบังเงาเป็นผู้บงการ ความที่สัตว์โลกเร่ร่อนเกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็เพราะธรรมชาตินี้แลทำให้เป็นไป

    เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงต้องพิจารณาให้เห็นชัด ความจริงแล้ว “ความผ่องใส” กับ “ความเศร้าหมอง” เป็นของคู่กัน เพราะต่างก็เป็นสมมุติด้วยกัน ความผ่องใสเพราะการรวมตัวของกิเลสต่างๆ นี้ จะเป็นจุดให้เราทราบได้อย่างชัดเจนว่า “นี้ คือจุดแห่งความผ่องใส” เมื่อมีความเศร้าหมองขึ้นมา ตามสภาพของจิตหรือตามขั้นภูมิของจิต ก็จะเกิดความทุกข์อันละเอียดในลักษณะเดียวกันขึ้นมาในจุดที่ว่าผ่องใสนั้นแล ความผ่องใส ความเศร้าหมอง และความทุกข์อันละเอียด ทั้งสามนี้เป็นสหายกัน คือเป็นคู่กัน เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นความผ่องใสนี้ จึงต้องมีความพะวักพะวนระมัดระวังรักษาอยู่ตลอดเวลา กลัวจะมีอะไรมารบกวนให้กระทบกระเทือน และทำให้จิตที่ผ่องใสนี้เศร้าหมองไป แม้จะเป็นความเศร้าหมองอันละเอียดเพียงใด แต่เป็นเรื่องของกิเลสที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายไม่ควรนอนใจทั้งนั้น จำต้องพิจารณาด้วยปัญญาอยู่ไม่หยุดหย่อน

    เพื่อให้ตัดภาระกังวลลงไปโดยเด็ดขาด จงตั้งปัญหาถามตัวเองว่า “ความผ่องใสนี้คืออะไร?” จงกำหนดให้รู้ ไม่ต้องกลัวความผ่องใสนี้จะฉิบหายวายปวงไปแล้ว “เราที่แท้จริง” จะล่มจมฉิบหายไปด้วย การพิจารณาจงกำหนดลงไปในจุดนั้นให้เห็นชัดเจน ความผ่องใสนี้ก็เป็น “อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ อนัตตลักขณะ” เหมือนกันกับสภาพธรรมทั้งหลายที่เราเคยพิจารณามาแล้วไม่มีอะไรผิดกันเลย นอกจากมีความละเอียดต่างกันเท่านั้น จึงไม่ควรไว้ใจกับอะไรทั้งสิ้นขึ้นชื่อว่า “สมมุติ” แล้ว ปัญญาให้ฟาดฟันลงไป กำหนดลงไปที่ตัวจิตนี่แหละ สิ่งจอมปลอมแท้ๆ มันอยู่ที่ตัวจิตนี้เอง ความผ่องใสนั่นแหละคือตัวจอมปลอมแท้ ! และเป็นจุดเด่นที่สุดในเวลานั้นแทบไม่อยากแตะต้องทำลาย เพราะเป็นสิ่งที่รักสงวนมากผิดสิ่งอื่นใด ในร่างกายนี้ไม่มีอะไรที่จะเด่นยิ่งไปกว่าความผ่องใสนี้ จนถึงกับให้เกิดความอัศจรรย์ ให้เกิดความรักความสงวนอ้อยอิ่งอยู่ภายใน ไม่อยากจะให้อะไรมาแตะต้อง นั่นน่ะ จอมกษัตริย์คืออวิชชา !

    เคยเห็นไหม? ถ้าไม่เคยเห็น เมื่อปฏิบัติมาถึงจุดนี้ ก็จะหลงเองแล้วก็จะรู้เอง ไม่มีใครบอกก็รู้เมื่อสติปัญญาพร้อมแล้ว นี่แหละท่านเรียกว่า “อวิชชา” คือตรงนี้ที่เป็นอวิชชาแท้ ไม่ใช่อะไรเป็นอวิชชาแท้ อย่าพากันวาดภาพ “อวิชชา” เป็นเสือโคร่งเสือดาว หรือเป็นยักษ์เป็นมารไป ความจริงแล้วอวิชชา ก็คือนางงามจักรวาลที่น่ารักน่าหลงใหลใฝ่ฝันของโลกดีๆ นี่เอง อวิชชาแท้กับความคาดหมายผิดกันมากมาย เมื่อเข้าถึงอวิชชาแท้แล้ว เราไม่ทราบว่าอวิชชาคืออะไร? จึงมาติดกันอยู่ที่ตรงนี้ ถ้าไม่มีผู้แนะนำสั่งสอน ไม่มีผู้ให้อุบาย จะต้องติดอยู่เป็นเวลานานๆ กว่าจะรู้ได้พ้นได้ แต่ถ้ามีผู้ให้อุบายแล้วก็พอเข้าใจและเข้าตีจุดนั้นได้ ไม่ไว้ใจกับธรรมชาตินี้ การพิจารณาต้องพิจารณาเช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลาย

    เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาอันแหลมคมจนรู้เห็นประจักษ์แล้ว สภาพนี้จะสลายตัวลงไปโดยไม่คาดฝันเลย ขณะเดียวกันจะเรียกว่า “ล้างป่าช้าของวัฏจักรของวัฏจิตสำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้วใต้ต้นโพธิ์ คือความรู้แจ้งเห็นจริง” ก็ไม่ผิด เมื่อธรรมชาตินี้สลายตัวลงไปแล้ว สิ่งที่อัศจรรย์ยิ่งกว่าธรรมชาตินี้ซึ่งถูกอวิชชาปกปิดเอาไว้ จะเปิดเผยขึ้นมาอย่างเต็มตัวเต็มภูมิทีเดียว นี้แลที่ท่านว่า “เหมือนโลกธาตุหวั่นไหว”กระเทือนอยู่ภายในจิต เป็นขณะจิตที่สำคัญมากที่ขาดจาก “สมมุติ” ระหว่าง “วิมุตติกับสมมุติขาดจากกัน” เป็นความอัศจรรย์สุดจะกล่าว ที่ท่านว่า “อรหัตมรรคพลิกตัวเข้าถึงอรหัตผล” หมายความถึงขณะจิตขณะนี้เอง ขณะที่อวิชชาดับไปนั้นแล! ท่านเรียกว่ามรรคสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ก้าวเข้าถึงอรหัตผล “อันเป็นธรรมและจิตที่สมบูรณ์แบบ” จากนั้นก็หมดปัญหา

    คำว่า “นิพพานหนึ่ง” ก็สมบูรณ์อยู่ภายในจิตดวงนี้ ขณะที่อวิชชากำลังสลายตัวลงไปนั้น ท่านเรียกว่า “มรรคกับผลก้าวเข้าถึงกัน” ซึ่งเป็นธรรมคู่ ถ้าเปรียบกับการเดินขึ้นบันได เท้าข้างหนึ่งกำลังเหยียบอยู่บันไดขั้นสุด เท้าอีกข้างหนึ่งก้าวขึ้นไปเหยียบบนบ้านแล้ว แต่ยังไม่ได้ก้าวขึ้นไปทั้งสองเท้าเท่านั้น พอก้าวขึ้นไปบนบ้านทั้งสองเท้าแล้ว นั้นแลเรียกว่า “ถึงบ้าน” ถ้าเป็นจิตก็เรียกว่า “ถึงธรรม” หรือบรรลุธรรมขั้นสุดยอด ขณะเดียวกับการบรรลุธรรมสิ้นสุดลง” ท่านเรียกว่า “นิพพานหนึ่ง” คือเป็นอิสระอย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีกิริยาใดที่แสดงอีกต่อไปในการถอดถอนกิเลส นั่นท่านเรียกว่า “นิพพานหนึ่ง” จะว่า “อรหัตผล” ก็ได้ เพราะไม่มีกิเลสตัวใดมาแย้งแล้ว “นิพพานหนึ่ง” ก็ได้ แต่เมื่อจะแยกให้เป็นสมมุติโดยสมบูรณ์ตามหลักธรรมชาติ ไม่ให้มีความบกพร่องโดยทางสมมุติแล้ว ต้องว่า “นิพพานหนึ่ง” ถึงจะเหมาะเต็มภูมิ “สมมุติ” กับ “วิมุตติ” ในวาระสุดท้ายแห่งการล้างป่าช้าของ “จิตอวิชชา”

    พระพุทธเจ้าท่านว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ” สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี นี้หมายถึงความเป็นผู้สิ้นกิเลสของผู้ได้ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ซึ่งยังทรงขันธ์อยู่ ดังพระอรหันต์ท่าน

    การปฏิบัติศาสนาคือการ ปฏิบัติต่อจิตใจเราเอง ใครเป็นผู้รับทุกข์รับความลำบาก เป็นผู้ต้องหาถูกจองจำอยู่ตลอดเวลา คือใคร? ใครเป็นผู้ถูกจองจำถ้าไม่ใช่จิต! ใครเป็นผู้จองจำจิตถ้าไม่ใช่กิเลสอาสวะทั้งปวง! การแก้ก็ต้องแก้ที่ตัวของข้าศึกที่มีต่อจิตใจนั้นด้วยปัญญา มีปัญญาอันแหลมคมเท่านั้นที่จะสามารถแก้กิเลสได้ทุกประเภท จนกระทั่งสลายตัวเองไปดังที่กล่าวมาแล้ว หมดปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น !

    เรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่เพียงอาการ ๆ เท่านั้น ไม่อาจมากระทบกระเทือนจิตใจให้กำเริบได้อีกเลย รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ก็เช่นเดียวกัน ต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างว่า “มีก็มี ไม่มีก็ไม่มีปัญหาอะไร มีแต่จิตไปสำคัญมั่นหมายเพราะความโง่เขลาของตน เมื่อจิตฉลาดพอตัวแล้ว จิตก็จริง สภาวธรรมทั้งหลายทั้งในและนอกก็จริง ต่างอันต่างจริงไม่ขัดแย้งกัน ไม่เกิดเรื่องกันดังที่เคยเป็นมา

    เมื่อถึงขั้นต่างอันต่างจริงแล้วก็เรียกได้ว่า “สงครามกิเลสกับจิตเลิกรากันแล้ว ถึงกาลสลายก็สลายไป เมื่อยังไม่ถึงกาลก็อยู่ไปดังโลกๆ เขาอยู่กัน แต่ไม่โกรธกันเหมือนโลกเขาเพราะได้พิจารณาแล้ว

    คำว่า “อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา” ถ้าไม่หมายถึงขันธ์ที่เรารับผิดชอบนี้จะหมายถึงอะไร? เราก็เรียนจบแล้ว คือจบ “ไตรลักษณ์” ไม่ใช่จบพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎกก็คือพระไตรลักษณ์อยู่นั่นเอง เนื่องจากพระไตรปิฎกพรรณนาเรื่องของพระไตรลักษณ์ตลอดเรื่อง

    อนิจฺจํ คือความแปรสภาพ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็ไม่ใช่เราอยู่แล้ว ยังอยู่ก็ไม่ใช่เรา ตายแล้วจะไปยึดอะไร เมื่อทราบความจริงอย่างนี้แล้วก็ไม่หวั่นไหวพรั่นพรึง ทั้งความเป็นอยู่แห่งขันธ์ ทั้งความสลายไปแห่งขันธ์ จิตเป็นแต่เพียงรู้ไปตามอาการที่ขันธ์เคลื่อนไหวและแตกสลายไปเท่านั้น ธรรมชาตินี้ไม่ได้ฉิบหายไปตามธาตุขันธ์ จึงไม่มีอะไรที่น่ากลัวในเรื่องความตาย เอ้า จะตายเมื่อไรก็ตายไปไม่ห้าม ยังอยู่ก็อยู่ไปไม่ห้าม เพราะเป็นความจริงด้วยกัน

    การเรียนให้จบเรื่องความตายเป็นยอดคน คือยอดเรา ผู้เรียนจบเรื่องความตายแล้วไม่กลัวตาย ยังเป็นอยู่ก็อยู่ไป ถึงวาระที่ตายก็ตายไป เพราะได้กางข่ายด้วยปัญญาไว้รอบด้านแล้ว เราจะไม่หวั่นไหวต่อความจริงนั้นๆ ซึ่งรู้อยู่กับใจทุกวันเวลานาทีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์ เอาละ การแสดงธรรมก็เห็นว่าสมควร พอดีเทปก็หมด

    http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1580&CatID=1]Luangta.Com -
    ********************************************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    ผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้มีบุญสูงสุด
    (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)



    ผู้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นผู้มีบุญอย่างยิ่ง แต่ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา คือปฏิบัติให้จริงตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเป็นผู้มีบุญสูงสุด

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประเสริฐสุด ไม่มีที่เปรียบได้ เพราะพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะพาไปให้รู้จักพลังพิเศษ คือ ความคิดที่สามารถทำลายความทุกข์ได้ ตั้งแต่ทุกข์น้อย จนถึงทุกข์ทั้งปวง จนถึงเป็นผู้ไกลทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีเวลากลับมาให้เป็นทุกข์อีกเลย ตลอดไป

    ผู้มีพลังพิเศษพาหนีทุกข์ได้ พาดับทุกข์ได้ พาพ้นทุกข์ได้ คือผู้มีความคิดพิเศษ และความคิดพิเศษนี้เกิดได้จากความรู้จักปฏิบัติพระพุทธศาสนาเท่านั้น

    พลังแห่งความคิดพิเศษ หรือความคิดพิเศษนั่นเอง ที่เป็นผู้ช่วยยิ่งใหญ่ พร้อมที่จะช่วยทุกคนที่รู้ค่าของความพิเศษ ที่ยอมรับยอมเชื่อ ว่าความคิดพิเศษนั้นมีอำนาจใหญ่ยิ่งจริง อาจพาให้พ้นทุกข์ได้จริง ทั้งทุกข์น้อยทุกข์ใหญ่ จนถึงทุกข์สิ้นเชิง

    จะทุกข์หรือไม่ทุกข์ อยู่ที่ความคิดของตนเองนี้เป็นสัจจะ คือเป็นความจริงแท้ ไม่ว่าผู้ใดจะเชื่อหรือจะไม่เชื่อก็ตาม ก็เป็นความจริง ผู้ใดจะทุกข์หรือไม่ทุกข์ อยู่ที่ความคิดของผู้นั้น

    ไม่ มีผู้ใดที่ไม่ปรารถนาความไม่มีทุกข์ ทุกคนล้วนปรารถนาความไม่มีทุกข์ แต่ไม่ทุกคนที่ยอมรับความจริง ว่าการที่หนีความทุกข์ไม่พ้นนั้นเป็นเพราะคิดไม่เป็น ถ้าคิดให้เป็นจะไม่มีความทุกข์ใดใกล้กรายได้เลย เพราะความคิดนั้นแหละคือกำลังสำคัญที่สามารถทำไม่ให้ทุกข์เกิดได้

    ความ คิดไม่เป็น หรือความคิดไม่ถูก ของตนเองเท่านั้น ที่ทำให้ความทุกข์กลุ้มรุมใจตน ไม่มีการกระทำคำพูดของผู้ใดอื่นจะอาจทำให้ความทุกข์กลุ้มรุมใจใคร ถ้าใครนั้นเป็นผู้รู้จักคิดให้เป็น รู้จักคิดให้ถูก ความคิดจึงสำคัญนัก ความคิดจึงมีพลังนัก มีอิทธิพลนัก ต่อชีวิตจิตใจผู้คนทั้งปวง ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ ไม่เลือกสูงต่ำ ร่ำรวยหรือยากดีมีจนเพียงใดก็ตาม

    ผู้ปรารถนาความเบิกบานสำราญใจไม่เศร้าหมองร้อนรนด้วยความทุกข์ พึงเห็นความสำคัญของความคิดให้มาก เห็นให้จริงใจว่า ความคิดของใครก็ตามที่ถูกต้องเป็นธรรมจะนำไปสู่ความเบิกบานสบายใจแน่นอน สมดังที่ปรารถนาอยู่ทุกเวลานาที


    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    : แสงส่องใจ วัดบวรนิเวศวิหาร ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗
    ******************************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  4. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    กราบคุณครูทุกท่านค่ะ แม้ห่างหายแต่ระลึกถึงครูทุกท่านเสมอค่ะ
     
  5. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]




    @พลังจิต พร้อมใช้งาน

    จะบอกกับพวกเราว่า อันพลังจิตนี้หน๋อ
    ถ้าบุคคลใดมีมาก ทำให้เกิดมากแล้ว
    กำลังใจ ในการตัด การละหรือการปล่อยวาง ก็จักมีกำลังมาก ตามไปด้วย
    เสมือนช้างสารที่มีพละ มีกำลังมหาศาล ฉุดเอาท่อนไม้ใหญ่ๆจากหุบเขา
    หรือห้วยลึกขึ้นมาได้เลย
    นับประสาอะไรกับกิเลสแห่งกองทุกข์มนุษย์ทั้งหลาย
    กิเลสมันมีกำลังมหาศาล มีความร้อนอยู่ในตัว มันหลอกล่อสารพัด
    แค่สติปัญญาของจิตคนเราอันน้อยนิดเช่นนี้ จะไปต้านทานมันไหว ไม่มีทาง...

    พวกเราจะทำยัง ถึงพอจะชนะกิเลสที่มันลากดวงจิตนี้ไปตามภพภูมิ
    หรือไปตามกฎแห่งกรรม นั่นคือ กฎธรรมดา หรือ
    กฎแห่งธรรมชาติของจิตวิญญาณมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น
    โอ้ อนิจจัง! ดวงจิตอันน้อยนิดนี้หรือ ซึ่งมีกำลังอันน้อยนิด
    จะไปสู้กับกิเลสตัณหาฯ หรือความทุกข์ของตน รู้ทั้งรู้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้
    แพ้กิเลสหรือแพ้ใจตนเองอยู่เรื่อยๆ ยากแท้หน๋อ ที่จะเอาชนะกิเลสหรือใจตน
    แต่พวกเราเราลืมไปว่า ยังพอมีสัตบุรุษ ท่านนึง หมายถึง คนดี คนสงบ
    คนที่พร้อมมูลด้วยธรรม หรือคนที่มีคุณธรรม คนที่เป็นสัมมาทิฐิ
    คนที่ประพฤติธรรมเป็นปกติ เป็นต้น
    นั่นก็หมายถึง พระพุทธองค์ หรือสาวกฯทั้งหลายเหล่านั้น
    ท่านเหล่านั้น ท่านอยู่เหนือ คำว่า กฎธรรมชาติหรือกฎธรรมดา หรือ
    คนเหนือโลก ก็คือ ผู้สามารถอยู่เหนือขันธ์๕ ตน นั่นเอง
    ความบริสุทธิ์แห่งชาติอะไรก็สู้ ความบริสุทธิ์แห่งจิตวิญญาณของมนุษย์ไม่ได้
    เพราะจิตยิ่งมีความบริสุทธิ์มากเพียงใด ก็ยิ่งสั่งธรรมชาติได้ดั่งใจ ฉันนั้นฯ

    ก็เปรียบดั่งคนที่ฝึกจิตมาดีแล้ว นั่นเอง แค่ฝึกตามพระพุทธองค์
    ในเวลาเดียวกันนั้น ก็น้อมจิตรับเอาหัวใจของพระพุทธองค์มาสู่กายใจ
    อย่าไปเอาเฉพาะพระธรรมคำสอน เพียงอย่างเดียว
    เพราะพระธรรมคำสอนฯนั้น ดุจแค่เสี้ยวหัวใจของพระพุทธองค์เท่านั้น
    แต่ทว่า นักภาวนามีสติปัญญาแท้ จึงพอแลเห็น ถ้าเรามัวแต่ตั้งหน้า
    ตั้งหน้าแต่เฉพาะปฎิบัติธรรม หรือจะรู้เข้าใจพระธรรมคำสอนฯถ่ายเดียว
    หรือปฎิบัติเพื่อตน เพื่อพ้นทุกข์ เท่านั้นเองหรือ

    แต่พูดถึงสำหรับนักภาวนาส่วนใหญ่ ที่ยังเข้าไม่ถึง คำว่า พระรัตนตรัย
    โดยเฉพาะ หัวใจของพระพุทธองค์ นั่นก็คือ พระมหาเมตตา
    พระมหาเมตตาฯนี่เอง คือ อาวุธเด็ดของพระพุทธองค์
    พระพุทธองค์ ทรงไม่ปรารถนาใช้อำนาจจากฌานสมาบัติหรืออภิญญาใดๆ
    แต่กลับมาใช้ฤทธิ์ทางใจ ด้านมหาเมตตานี้ เพื่อโปรดมนุษย์ โปรดสัตว์ทั้งหลาย
    ทั้งปวง ซึ่งก็ใช้ได้ผลทีเดียวเลย

    ดุจคนที่ทำงานใช้สมอง แต่ไม่นิยมใช้กำลัง
    แทนที่จะใช้กำลังหรืออาวุธมาห่ำหั่นกันเฉกเช่นทุกวันนี้
    พระพุทธองค์ทรงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับชาวโลก
    มิใช่ เป็นตัวอย่างแค่ นักปฎิบัติธรรม เท่านั้น

    คนกินน้ำ ยังต้องนึกถึงคนขุดบ่อเลย
    คนเกิดมาก็ยังนึกถึงบิดามารดาหรือผู้ที่เลี้ยงดูเรามาเลย
    และนี่ นักปฎิบัติธรรมทั้งหลาย จะเอาแต่เฉพาะ ตัวตนเพียงอย่างเดียวไม่ได้
    นั่นหมายถึง อย่านำเอาพระธรรมมาปฎิบัติแค่ คำว่า หลุดพ้น เพียงถ่ายเดียว
    แต่ความจริงแล้ว น่าจะน้อมนำรับเอาอารมณ์ของพระพุทธองค์ก่อนด้วยซ้ำไป
    เพียงแต่ติดที่ว่า จิตคนเรายังหยาบอยู่ คือ จิตไม่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิ ไม่ละเอียด
    ไม่บริสุทธิ์ หรือไม่สะอาด เท่านั้นเอง

    แต่ถ้าใครทำได้อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ เสมือนจิตตนมีพลังหรือกำลังใจมาก
    เพราะฉะนั้น มิต้องสงสัยเลย ว่า ทำไม คนที่พอจะรับอารมณ์เบื้องสูงนี้ได้
    จึงปล่อยวางได้ง่ายดายนัก เสมือนเราเอาแค่เศษเสี้ยวพลังจิตหรือสติปัญญา
    หรือญาณจากพระพุทธองค์ ในการปล่อยวาง
    เพราะการปล่อยวาง จึงมิใช่หน้าที่ของสติ แต่เป็นหน้าที่ของจิต โดยตรง
    แต่ถ้าสติปัญญาของจิตคนๆนั้น ไม่มีพลัง ไม่มีกำลังใจมาก
    ในที่สุดก็แพ้กิเลสตนเอง

    พูดมาถึงตรงนี้ ใครพอจะมองเห็นทางสว่างกันบ้าง
    เพราะการปฎิบัติธรรมสมัยนี้ ต้องฉับไว ทันใจ
    ขนาดความเจริญทางโลก พวกเรายังตามไม่ค่อยจะทันเลย
    นั่นหมายถึง สะตังค์ที่เราหามาได้ แทบจะตอบสนองความเจริญโลกไม่ค่อยจะทัน
    เอาอย่างมือถือ ก็ยังต้องเปลี่ยนรุ่นใหม่ๆ อยู่เรื่อย เช่น
    จาก iphone4 เป็น iphone5,6 เลย

    แต่ทำไม การปฎิบัติธรรมของพวกเรา ถึงได้ลำบากยากเย็นนัก
    คือ ไม่ค่อยจะก้าวหน้า ก้าวหลังเลย
    หรือว่า จิตคนเรามันแพ้กิเลสโลกไปโดยปริยายเสียแล้ว หรือ
    จิตคนเรามีสติปัญญาน้อยเกินไปกันแน่ (ลองตอบตนเอง)

    สรุปแล้ว เห็นจะไม่ทันการณ์แน่ เพราะร่างกายคนเรามันเสื่องลงทุกวันๆ
    แถมมีกรรมต่างๆ มาริดรอนในการปฎิบัติธรรม อาจเสียชีวตหมดอายุขัยก่อนก็เป็นได้
    เพราะฉะนั้น จงอย่าได้ประมาท รีบๆภาวนา และยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วย

    มิฉะนั้นแล้ว โลกแห่งจิตวิญญาณ หรือโลกทิพย์
    ไม่มีผู้ใด หรือครูตามไปสอนพวกเธอในสมาธิจิตกันนะ
    การเข้าให้ถึงคำว่า พระรัตนตรัย จึงเป็นเรื่องสำคัญมากนัก โดยเฉพาะ นักภาวนา
    ขอให้นักภาวนาทั้งหลาย ได้โปรดสนใจอารมณ์ใจของพระพุทธเจ้าก่อนอื่นเลย
    นั่นก็คือ พระมหาเมตตาจากพระพุทธองค์ ซึ่งหาประมาณมิได้
    เพียงแต่ติดแค่ คำว่า จิตหยาบ เท่านั้น จึงมิอาจรับอารมณ์เบื้องสูงนี้กันได้
    เพราะฉะนั้น ในเบื้อง จึงจำเป็นจะต้องชำระล้างจิตตนให้สะอาดเสียก่อน
    เช่น ฝึกจิตตนให้นิ่งมากๆ เพราะในขณะที่จิตนิ่งมากๆนี้ ถือว่าเป็นจิตสะอาด
    เป็นจิตบุญ หรือ เป็นกุศลจิต เป็นต้น

    ทานอาหาร ยังต้องล้างมือก่อนเลย
    หรือล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำก่อนนอนเลย
    แล้วนักภาวนาจะมารับอารมณ์เบื้องสูง ทันทีทันใด รับส่งเดช
    หรือทำแบบมักง่ายไม่ได้นะ แทนที่เราจะได้บุญ ได้กุศลใหญ่
    แต่กลับกลายเป็นจิตปรามาส เดี๋ยวจะหาว่า ไม่เตือนกัน
    ทำให้ดีนะ อย่ามักง่าย มีอะไรได้มาง่ายๆบ้าง ไม่มีหรอก
    เพราะฉะนั้น ไม่ต้องทำไรมาก ก็แค่เตรียมจิตให้พร้อม หรือ
    ชำระล้างจิตให้สะอาดก่อนรับอารมณ์เบื้องสูง
    มิใช่ เตรียมกายภายนอก นี่กำลังจะบอกว่าเตรียมแค่ภายใน นั่นก็คือ จิตตนเอง..

    โมทนาสาธุ

    ภู ท ย า น ฌ า น
    10/10/14

    Cr..Fb/Group จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ - Buddhist Clips.avi

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=rmW72ntPEho"]ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ - Buddhist Clips.avi - YouTube[/ame]

    สิ้นเดือนนี้ไปวัดท่าซุงกันนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2014
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)
    วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

    พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด

    พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่ พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร" พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

    มรณภาพ
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

    ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อ http://www.sitluangpor.com/
    ********************************************
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อเจ้าค่ะ
     
  8. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    บุญนิพพานขอน้อมนำบุญกฐินมายังครูภู ครูแนท ครูเกษ และคุณครูทุกท่าน ครูน้องเป้ น้องเทอด และพี่น้องทุกท่านนะคะ ขอความถูกต้องและดีงามบังเกิดกับทุกท่านนะคะ สาธุค่ะ
     
  9. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    [​IMG]
    ขอน้อมอนุโมทนาสาธุรับบุญกฐิน ที่คุณ boonnippan และครอบครัวได้กระทำแล้ว ทุกประการ ด้วยค่ะ
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน ยิ่งๆขึ้นไปตามความปรารถนาจงทุกประการ สาธุค่ะ
    พบกันวันสัมมนา 1-2 พ.ย นี้ ...
     
  10. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ~*::การยอมรับกฎของธรรมดา::*~

    มิได้ เกิดขึ้นกับใคร ง่ายๆ
    จนกว่าคนๆนั้น หมายถึง จิตเดินมรรคสุดซอย

    ใครก็ตาม ที่สามารถทำ ศีล~สมาธิ~ปัญญาของตนครบ
    คำว่า ศีล~สมาธิ~ปัญญา รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว
    นั่นก็คือ จิตธรรม คือจิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต หรือเข้าถึงธรรม
    มิใช่ แค่รู้และเข้าใจธรรม เฉยๆ แต่เรื่องปล่อยวาง ยังไม่หมดซะทีเดียว
    จิตธรรม คือ สติสมาธิปัญญาของคนๆนั้น กลายเป็นองค์ธรรมอันเดียวกัน
    เสมือนละอองน้ำมารวมกันกลายเป็นน้ำค้าง
    พอน้ำค้างมีมากเข้าก็จะกลายเป็นหยดน้ำ ตกลงสู่พื้นเป็นที่สุด
    ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

    ๐๐ยามใด มีกำลังใจมาก บางครั้ง ลืมหรือข้าม คำว่า ^ทุกข์กายใจ^ของตนไปเลย

    กว่าที่นักปฎิบัติฯ จะมองเห็นธรรม โดยเฉพาะ คำว่า กฎธรรมดาหรือกฎแห่งกรรม
    จะต้องปฎิบัติจนกว่าอยู่เหนือ คำว่า ^^ขันธ์ ๕^^
    โดยเฉพาะ คำว่า ^สังขารขันธ์^ คือ คิด+ปรุงแต่ง

    ปฎิบัติจนกว่าจะมองเห็นทุกอิริยาบถ หรือ ทุกความเคลื่อนไหวของกายใจตน
    จึงจะพอมองเห็น คำว่า เกิด-ดับ โดยเฉพาะ ความคิดนึกและปรุงแต่งจิตตน
    แต่พอเรามองเห็นการเกิด-ดับ บ่อยๆ หรือชัดเจนดีแล้ว
    ต่อไปฯ เราจึงจะมองเห็นความเป็นธรรมดา เข้าใจ ความเป็นไป เป็นมาของขันธ์๕ ทั้งเรา ทั้งเขา
    หรือการเกิด การตาย ของมนุษย์ ของสัตว์ หรือ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้
    ถ้าเข้าใจจิตตนเพียงอย่างเดียว เราก็จะเข้าใจจิตของคนอื่นหรือสิ่งอื่นๆไปด้วย

    เพราะฉะนั้น นักปฎิบัติจะต้องเจริญสติปัญญามากๆ
    เพื่อทำลาย คำว่า อวิชชา ให้หมด
    อวิชชา คือ ความไม่รู้จริงของจิตตน
    แต่ถ้าละอวิชชาของจิตตนได้ ก็เข้าสู่ความเป็น ^อนัตตา^
    หรือ นิพพานบนดินได้ เมื่อนั้น
    ^^นิพพานบนดิน^^ คือ จิตเข้าถึงนิพพานก่อนขันธ์จะดับลง คืนสู่ธรรมชาติ

    การปฎิบัติ จะต้องมองให้เห็นทุกสภาวธรรม หรือเห็นทุกสภาวะจิต
    แต่ถ้าใครมองไม่เห็น เราก็จะเป็นผู้ดูที่ดีไม่ได้เลย คือ ไม่ดูด้วยใจเป็นกลาง
    คือ รู้ แต่ไม่วาง หรือวางไม่เป็น เพราะ เดี๋ยวก็เผลอใจ ลงไปเล่นจนได้
    หลงตาม หลงเป็นตัวหรือสิ่งที่มากระทบจิต นั้นๆ จนได้
    เช่น มีคนด่าว่านินทาหรือตำหนิตน เราจะแสดงความไม่พอใจอยู่ภายในลึกๆแล้ว
    เพราะสังขารขันธ์ จัดเป็นธรรมละเอียด ยากที่จะตามทัน
    แต่ถ้ามีสติปัญญามากในขณะนั้น ก็จะตามทันได้ แต่ถ้าเผลอสติ ก็แปลว่า เราแพ้
    กรณีนี้ หมายถึง คนที่ยังวิปัสสนาญาณไม่ขาดดิ้น หรือ จิตยังเดินมรรคไม่สุดซอย
    จิตก็เลยเดินไม่ถึงวิปัสสนาญาณข้อสุดท้าย คือ วิปัสสนาญาณ ๙
    คือ การยอมรับกฎแห่งธรรมดา นั่นเอง

    ตราบใด นักปฎิบัติธรรม ยังเดินทางไปไม่ถึง คำว่า วิปัสสนาญาณ๙
    ก็ต้องอาศัย คำว่า สติ อยู่ร่ำไป เพราะฉะนั้น จึงเผลอสติ ไม่ได้เลย
    เพราะถ้าเผลอ เมื่อใด ก็ทุกข์ใจ เมื่อนั้น คอยสังเกตดู

    แต่ถ้าผู้ใด เจริญสติปัญญามากๆ และเจริญให้ได้อย่างต่อเนื่อง
    คงจะมีสักวันนึง คำว่า ^^ปัญญา^^ ก็จะกลายเป็น ^^ญาณ^^
    เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น เมื่อวาระของคนๆนั้น มาถึง...
    บอกกันไม่ได้ เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เวลาปฎิบัติก็อย่ากังวลมากนัก
    ยิ่งใครสนใจ คำว่า มรรคผลนิพพาน ก็จะยิ่งช้าเข้าไปใหญ่ หรืออาจไม่ได้เลย
    คำว่า ญาณ (ขออนุญาตพูด) ปกติพระไม่ค่อยพูด เดี๋ยวจะโดนข้อหาอวดอุตตริฯ
    แต่ข้าพเจ้า มิได้ มีเจตนาอวดอุตตริฯ พูดตามภูมิธรรมตนเท่าที่มีอันน้อยนิด
    เพราะสิ่งที่พูดมานี้ คนปฎิบัติด้วยกันเท่านั้น พอจะเข้าใจ
    เพราะสิ่งที่พูดไปก็ไม่มีผล คือไม่เข้าใจ คนที่พอจะเข้าใจก็คือ จิตธรรม
    จิตธรรม คือกงธรรมหมุน คือสติสมาธิปัญญา รวมเป็นหนึ่งเดียว
    ถึงว่า พระพุทธเจ้าตรัสแค่ คำว่า ปัญญา ส่วนคำว่า ญาณ ไม่เน้น
    เพราะพูดไปก็ไม่มีประโยชน์ ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจอยู่ดี
    ถ้าวงธรรมใครหมุนภายใน ญาณเริ่มเกิดบ้างแล้ว วันนั้นก็ถึงบางอ้อ
    ภาษาจิต คือภาษาปฎิบัติ จิตมีภาษาเดียว ก็คือ รู้ รู้แล้วรู้เลย ไม่มีลืม

    ญาณ ผู้ใดเกิดขึ้นแล้ว คำว่า สติกับจิตจะเป็นตัวเดียวกัน ไม่แยกจากกันง่าย
    คนๆนั้น ก็เลยทรงสมาธิจิต สำรวมจิตเป็นปรกติ หรืออาจจะตลอดเวลาเลย
    เพราะฉะนั้น คำว่า เผลอสติ หรือ จิตตก มักไม่ปรากฎกับสภาวะจิตแบบนี้
    ถึงเผลอสติ ก็ไม่มีผลต่อจิต คือ เฉยๆ เขตนี้ ไม่ต้องเสียเวลาวิปัสสนาใดๆ
    ไม่ต้องทำท่าทำทางว่าจะวางๆ ไม่รู้จะวางอะไร
    เพราะ ไม่ได้ถืออะไร จึงไม่มีอะไรวาง เป็นต้น

    รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ปล่อยวางได้ทันที ทันใด
    ภายในจิตตน คือ เรียกว่า วางอัตโนมัติ
    ส่วนการยอมรับกฎของธรรมดา จึงเกิดขึ้นได้ง่าย สำหรับจิตที่มาถึงตรงนี้
    เสมือนคน ((ไร้))ความรู้สึกนึกคิด((บน))ความรู้สึกนึกคิด ..
    เพราะทั้งความรู้ ทั้งนึกคิด มันเป็นเรื่องของขันธ์๕ เขา

    สัมมาญาณะ มักไม่มีคนเขาพูดถึง คนที่พอจะเข้าใจก็คือ จิตธรรม
    มิใช่ จิตปัญญา คือรู้เข้าใจธรรม แต่บางอย่างวางได้ บางอย่างวางไม่ได้
    จะต้องทำมรรคมีองค์๘ ให้มีองค์ธรรมหมุนรอบตัวให้ได้ก่อน
    หรือปฎิบัติหรือเจริญมรรคให้ครบ คือมีทั้งศีลสมาธิปัญญาเกือบจะเต็ม
    เมื่อใกล้จะเต็มก็เหมือนคนกำลังกินข้าวอิ่ม เตรียมลุก ออกมาจากตรงนั้น
    คนที่ยังกินไม่อิ่ม ก็ลุกไม่ได้ เพราะต้องกินให้อิ่มก่อน ใช่ไหม
    คนกินอิ่มแล้ว ก็เหมือนนักปฎิบัติ ที่มีทั้งสติสมาธิปัญญาเพรียบพร้อม
    แต่ถ้าสติสมาธิปัญญา เพรียบพร้อมดีแล้ว
    เกิดเป็นองค์ธรรม กลายเป็นจิตธรรม ตรงนี้ น่าจะเรียกว่า เข้าถึงธรรม
    มิใช่ รู้และเข้าใจธรรม เฉยๆ พอพูดถึงเรื่องการปล่อยวาง แบ๊ะๆ
    เพราะปล่อยวางทันทีทันใดยังไม่ได้
    การยอมรับกฎธรรมดา จึงไม่ค่อยจะเกิดขึ้นกับจิตปัญญาเท่าใดนัก

    ๐๐จุดอ่อนของฉัน..
    หมายถึงนักภาวนาโดยทั่วไป ก็คือ ขาด คำว่า ^^ต่อเนื่อง^^
    โดยเฉพาะ คำว่า ^^ปัญญา^^ จะต้องเจริญให้ต่อเนื่อง
    ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว อาการ ^^ติดๆ ดับๆ^^ เหมือนหลอดไฟฯ
    ก็จะเกิดขึ้นกับจิต คนๆนั้น
    แต่ถ้าไฟจ่ายตลอดเวลา อาการติดๆ ดับๆ จึงไม่เกิดขึ้นแน่
    จิตคนเราก็เช่นกัน แต่ถ้าจิตมีปัญญาตลอดเวลา
    คำว่า รู้มั่ง ไม่รู้มั่ง จึงไม่เกิด
    อั่ย คำว่า รู้มั่ง ไม่รู้มั่ง เนี๊ย มันไปมีผลต่อการปล่อยวางของจิต
    เพราะการปล่อยวาง เป็นหน้าที่จิต โดยตรง มิใช่ ใครที่ไหน
    แต่จิตที่ปล่อยวาง คือ จิตที่มีคุณภาพ ก็คือ มีทั้งสติและปัญญา

    สรุป จิตปล่อยวาง ด้วยปัญญา ระดับนึง เท่านั้นนะ
    มิได้ หมายถึง ปล่อยวางทั้งหมด
    ดังนั้น คำว่า วางหมดจด เห็นมีแต่เฉพาะ จิตพระอรหันต์

    และท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนอยากให้ทุกท่าน เข้าถึงธรรม
    เมื่อผู้ใดเข้าถึงธรรมแล้ว ต่อไป จึงจะพบ..พระตถาคต
    มิได้พบกายหยาบของพระตถาคตแต่อย่างใด
    แต่จะพบจิตใจของพระพุทธองค์ เช่น พระมหาเมตตาฯ

    ทุกท่านทราบดีว่า พระพุทธองค์ ทรงปรารถนาสิ่งใด
    พระพุทธองค์ ทรงปรารถนาให้ทุกคน เข้าถึง ^^ธรรมปฎิบัติ^^
    พระพุทธองค์ ทรงปรารถนาให้ผู้ปฎิบัติมีสติปัญญาเป็นของตน
    ต่อไปฯ จะได้คิดเป็น ไม่หูเบา ไม่ลังเลหรือสงสัยใดๆ
    และไม่ต้องไปตั้งคำถามกับใครๆเขาอีก
    คนฉลาดจริงๆนั้น จะต้องคอยหมั่นสร้างสติปัญญาให้กับจิตตน เสมอๆ
    เพื่อทำลาย ^^ความสงสัย^^ ให้สิ้นซากไปจากจิตของตน

    ว่าแต่ว่า การเข้าถึงธรรม จึงมิใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับบางคน
    เพราะ นักภาวนา บางคน ยังตามหาจิตตนเอง ยังไม่พบเลย
    เพราะ คนที่พบจิตตนเองนั้น จะต้องอาศัยสติตน
    จิตเป็นนาม เพราะฉะนั้น จะต้องเอานามไปหานาม นั่นก็คือ สติไปหาจิต
    เวลาเรามีสติมาก นั่นหมายถึง สติสัมปชัญญะ
    นอกจากจะมีความรู้สึกตัวเฉยๆ มันยังไม่พอ จะต้องมีความรู้สึกตัว+ทั่วพร้อมด้วย
    พอเรารู้สึกตัวมากๆ บ่อยๆแล้ว เราจะพบจิตตนเอง
    นั่นไง๊ มันนอนนิ่งอยู่ตรงนั้นนี่เอง เห่อๆ หมายถึง จิตเป็นสมาธิ
    พอสมาธิจิตเกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องๆ คำว่า ปัญญา ก็จะคลอดออกมาเอง
    ดั่งคำสุภาษิตโบราณ ว่าไว้ ^^สติมา..ปัญญาเกิด^^
    ถ้าใครพบจิตหรือกระแสจิตตน ต่อไป ค่อยพบธรรมหรือกระแสธรรมของตน
    เพราะคนที่พบธรรม มิใช่ ใครที่ไหน แต่เป็นจิตตนเอง
    ขอให้ทุกๆท่าน เจริญในธรรม..สาธุ

    รักเมตตา ทุกๆท่าน


    ภู ท ย า น ฌ า น
    14.10.14
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    *****************************************
    กราบท่าน อ ภู และ คุณครูเพ็ญ คุณพ่อและคุณแม่ทางธรรมค่ะcatt1
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    คาถาป้องกันตัว
    ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการะณา ฆะเฏสิ อะหังปิ ตังชานามิ ชานามิ

    พระคาถาบทนี้สวดป้องกันตัวได้ทุกขณะ ก่อนนอนให้ภาวนาที่หมอนหนุนทุกคืน ถ้ามีภัยใดๆจะเกิดขึ้นจะทําให้รู้สึกตัวก่อน
    จากหนังสือสวดมนต์ของหลวงพ่อจรัญ
    ขอให้ทุกๆท่านปลอดภัยค่ะ
     
  13. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    กราบครูแนท ครูภูที่เคารพ
    อ่านธรรมะของครูด้วยจิต ธรรมะเข้าถึงจิต จิตน้อมรู้ ละ และดับ อยู่บนโลกแบบเป็นส่วนหนึ่งของโลก ของมนุษย์และสัตว์ ของทุกข์สุขรอบตัว และของความไม่มีอะไรเลย
    ด้วยความเคารพรัก ระลึกถึง และเดินทางอย่างต่อเนื่องค่ะ
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    ภัยพิบัติdelay ก็มาฟังนิยายทางธรรมกันนะคะ(ธรรมะบันเทิง)เรื่อง เด็กข้างถนน
    เด็กข้างถนน 【๓๗】 ▬ กฎแห่งกรรม ชุดที่ ๔ โดย ท.เลียงพิบูลย์
    https://www.youtube.com/watch?v=czTzBMlNIqM

    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  15. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027

    ขอน้อมจิตกราบโมทนาสาธุในบุญกฐินนี้กับพี่อ้อ และครอบครัวด้วยค่ะ สาธุ​

    catt11catt11catt11​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ตุลาคม 2014
  16. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]


    ถ้าเรายังไม่ดีพออย่าคิดว่าเราไม่ติดในบุญ

    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    จงอย่าประมาทในการสร้างความดี
    ยังมีชีวิตอยู่ จงอย่าทิ้งการทำบุญทำทาน
    แม้พระอรหันต์จบกิจแล้ว แต่ชีวิตยังอยู่
    ท่านก็ไม่เว้น การทำบุญทำทาน
    เพราะมีผลเป็นจาคานุสสติ และ
    อุปสมานุสสติ ด้วย
    ท่านทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว
    เพราะท่านไม่ประมาทในความดี
    จงเอาอย่างท่าน

    หากศีลยังไม่มั่นคง สมาธิยังไม่ตั้งมั่น
    ปัญญายังน้อยอยู่ ห้ามคิดว่าไม่ติดในบุญ
    ในทาน ในความดี เพราะจิตยังติดบาป
    อกุศลอยู่ แล้วยังคิดไม่เกาะติดบุญด้วย
    จิตจึงมีแต่บาปอกุศล จิตเป็นคนโง่อย่างแท้จริง
    พระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้งการทำบุญ ทำทาน
    เพราะท่านไม่ประมาทในกรรมทั้งมวล

    ที่มา..เฟสบุค ชนะ ศิริไพโรจน์
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
  18. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]


    ทำ จิตให้สงบ นึกถึงพระพุทธเจ้า จิตเราอยู่ที่พระองค์อย่างเดียว

    ทำ จิตให้สงบ นึกถึงพระพุทธเจ้า จิตเราอยู่ที่พระองค์อย่างเดียว ให้เรานึกถึงพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปใหญ่ ให้ใหญ่พอที่เราจะเข้าไปอยู่ในพระองค์ได้ นึกถึงพระองค์ในปางไหนก็ได้

    หายใจเข้าลึก ๆ ค้างไว้ แล้วค่อยปล่อยออกมาเบา ๆ ช้า ๆ ไม่ต้องรีบ

    หายใจเข้าลึก ๆ ใหม่ ค้างไว้ แล้วค่อยปล่อยออกมาช้า ๆ

    หายใจเข้าลึก ๆ ค้างไว้ แล้วค่อยปล่อยออกมาช้า ๆ

    ทำใจแบบสบาย ๆ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน

    ลูกขออาราธนาอัญเชิญองค์สมเด็จพระวิสุทธิพุทธรังสีบรมธรรมบิดา มาประทับอยู่บนศรีษะของลูก ขอเมตตาปกป้องภยันอันตรายต่าง ๆ ควบคุมความคิดควบคุมระบบร่างกายทั้งหมดด้วยเทอญ ขอพระองค์มาพร้อมพลังแสงของพระองค์ แสงแห่งบุญบารมี

    ลูกขออาราธนา อัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธปฐมบรมธรรมบิดา ประทับเต็มใบหน้าและลำตัวของลูก ขอให้ขันธ์ 5 นี้ได้รับบุญบารมีจากพลังแสงของพระองค์ มีฤิทธิ์อำนาจดุจพลังแสงของพระองค์

    ลูก ขออาราธนาอัญเชิญองค์สมเด็จพระกะกุสันโธประทับที่ตาข้างขวา พระโกนาคมประทับที่ตาข้างซ้าย พระพุทธสิกขีทศพลประทับที่ดวงตาที่สาม ขอให้ดวงตาทั้งสามดวงนี้ได้เห็นถึงความจริงของทั้งสามโลก รู้เท่าทันกับทุกสิ่งทุกอย่าง มองเห็นในสิ่งที่สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ ด้วยฤทธิ์อำนาจของพระองค์

    ลูกขออาราธนาอัญเชิญพระพุทธเจ้าพระพุทธกัสสะปะประทับที่ปากของลูก ขอเมตตาให้ลูกเจรจาพาทีด้วยธรรมะบริสุทธิ์
    ลูกขออาราธนาอัญเชิญพระพุทธสมณโคดมบรมอาจารย์ประทับในสมอง ขอลูกเป็นปราชญ์ทั้งทางโลกและทางธรรม ขอพระองค์เป็นอาจารย์สอนลูก ประทับที่อกขอปิดประตูแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทุก ๆ ชาติ ลูกปรารถนาจะไปนิพพานในชาตินี้ ประทับที่หัวใจ ขอให้ลูกเต็มไปด้วยพรหมวิหาร 4 ประทับที่ปอด ขอให้ลูกมีขันธ์ 5 ที่แข็งแรงเพื่อทำงานรับใช้พระศาสนาด้วยเถิด

    ลูกขออโหสิกรรมขอขมาลา โทษแด่องค์สมเด็จพระวิสุทธิพุทธรังสีบรมธรรมบิดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย คุณพ่อคุณแม่ทุก ๆ ชาติ ครูบาอาจารย์ทุก ๆ ชาติ เจ้ากรรมนายเวรทุก ๆ ชาติ ที่ลูกได้ทำผิดพลาดพลั้งไป ด้วยกายวาจาใจ โดยรู้เท่าถึงกาลก็ดี รู้เท่าไม่ถึงกาลก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมให้แก่ลูกผู้มีความรู้น้อยด้อยปัญญานี้ด้วยเถิด
    ข้าแต่องค์สมเด็จพระวิสุทธิพุทธรังสีบรมธรรมบิดา ลูกนี้เป็นผู้มีบุญน้อยไร้ซึ่งวาสนาแต่ลูกขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ลูกไม่ปรารถนาจะเกิดเป็นคนเทวดาพรหมอีกต่อไป ลูกปรารถนาจะนิพพานทันใดในชาตินี้ ขอติดตามองค์พระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอได้โปรดประทานพลังแสงทิพย์อริยธรรมรวมกับแสงฉัพพรรณรังสีพลังแสงบุญบารมี จากพระทุก ๆ พระองค์ เทพทุก ๆ พระองค์ จากคุณพ่อคุณแม่ทุก ๆ ชาติ คุณครูบาอาจารย์ทุก ๆ ชาติ พุ่งเข้ามาที่ดวงจิตของลูก ขอให้ช่วยลบล้างซึ่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรม บาปกรรมเวรกรรมที่ลูกมี ขอได้โปรดให้ลูกมีบุญเพียงพอที่จะลบล้างสิ่งเหล่านี้ให้หมดสิ้น

    พร้อม กันนั้นลูกขอกราบอนุโมทนาสาธุในบุญบารมีขององค์สมเด็จพระวิสุทธิพุทธรังสี บรมธรรมบิดา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย พระอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ พระอริยสัตว์ทุก ๆ พระองค์ พี่น้องของลูกทั้งสามโลกที่ได้ทำคุณงามความดีตลอดเวลา ลูกขออนุโมทนาบารมีความดีของทุก ๆ ดวงจิต ของทุก ๆ ท่าน ไปกับพลังแสงทิพย์อริยธรรม รวมกับแสงฉัพพรรณรังสี รวมกับบารมีของพระทุก ๆ พระองค์ เทพทุก ๆ พระองค์ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
    หายใจเข้านะมะพะธะ หายใจออกนะโมพุทธายะ

    หายใจเข้านะมะพะธะ หายใจออกนะโมพุทธายะ

    หายใจเข้านะมะพะธะ หายใจออกนะโมพุทธายะ

    หายใจเข้านะมะพะธะ หายใจออกนะโมพุทธายะ

    หายใจเข้านะมะพะธะ หายใจออกนะโมพุทธายะ

    ลูกเอ๋ย…จงลองพิจารณาดวงตาของเจ้าเถิด ดวงตาของเจ้านั้นชอบมองในสิ่งใดกัน ?

    จงพิจารณาจากปากของเจ้าเถิด เจ้าชอบใช้ปากในเรื่องอะไรกัน ?

    จงพิจารณาจากหูของเจ้าเถิด เจ้าชอบนำหูของเจ้าไปใช้ฟังเรื่องอะไรกัน ?

    จมูกเจ้าชอบไว้ใช้ทำอะไร ?

    มือทั้งสองข้าง เท้าทั้งสองเจ้าไว้ใช้ทำอะไร ?

    บุคคล ผู้ใดชอบใช้สายตาของตัวเองในสิ่งที่อยากมองและเลือกมองนั้น บุคคลผู้นั้นย่อมไม่ฉลาด แต่บุคคลผู้ใดมองทุกสิ่งทุกอย่างอย่างละเอียดถี่ถ้วนพร้อมพิจารณา บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นปราชญ์

    บุคคลผู้ใดชอบใช้หูในการฟังคำชม มากกว่าคำติชม บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนไม่ทันโลก บุคคลผู้ใดใช้หูในการพิจารณาในทุกเรื่องราว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้เท่าทันในสิ่งสมมุติทั้งหมด

    บุคคล ผู้ใดใช้จมูกในการสูดดมกลิ่นที่ตนเองชอบ บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนพิการทางจมูก แต่หากบุคคลผู้ใดพิจารณาถึงทุกกลิ่น บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนมีปัญญา

    บุคคลผู้ใดใช้ปากในการติฉินนินทา บุคคลผู้นั้นเป็นบ่าว บุคคลผู้ใดใช้ปากในการอวยพรให้กำลังใจคน บุคคลผู้นั้นคือพระ

    บุคคล ผู้ใดชอบใช้มือในการรับ บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า ขอทาน รับเพียงอย่างเดียวไม่คิดให้ตอบ แต่บุคคลผู้ใดรักในการให้ ให้ด้วยความเมตตาสงสารกรุณา บุคคลผู้นั้นคือกษัตริย์

    บุคคลผู้ใด ใช้เท้าในการเดินไปหาในสิ่งที่ตนเองชอบ บุคคลผู้นั้นเดินเข้าสู่อบายภูมิ แต่บุคคลผู้ใดใช้เท้าในการโปรดเวไนย์สัตว์ บุคคลผู้นั้นคือพระอรหันต์

    ลูกเป็นเช่นไร ? จงพิจารณาเถิด

    นะมะพะธะหายใจเข้า นะโมพุทธายะหายใจออก

    นะมะพะธะหายใจเข้า นะโมพุทธายะหายใจออก

    นะมะพะธะหายใจเข้า นะโมพุทธายะหายใจออก

    นะมะพะธะหายใจเข้า นะโมพุทธายะหายใจออก

    นะมะพะธะหายใจเข้า นะโมพุทธายะหายใจออก

    ทำไมดวงตามีหลายสี ผมมีหลากสี ผิวมีหลากสี กลิ่นมีหลากแบบหน้าตามีหลากหลาย เป็นเพราะอะไร

    ก็ เป็นเพราะที่มนุษย์ชอบกันนักหนาในการแบ่งแยกแบ่งชนชั้นกันไม่ใช่หรือ ? แล้วยังจะสงสัยในสิ่งที่มีหลากหลายทำไม ตัวเจ้าเองก็ยังชอบในการแบ่งแยกเลย แต่เมื่อมองในสิ่งที่ลูกทั้งหลายมองไม่เห็น ลูกก็จะรู้ว่าพระวิสุทธิบรมธรรมบิดามิได้แบ่งแยก นั่นก็คือจิตที่เป็นพุทธะประภัสสรของลูกเอง ไร้ซึ่งการแบ่งแยก ไร้ซึ่งพรหมแดน แต่เมื่อเจ้าแบ่งแยก จึงเกิดหลากหลายสีสัน หลากหลายชนชั้น หลากหลายวรรณะ แล้วจะสงสัยกันทำไมลูก ได้รับคำตอบแล้วจงคิดพิจารณาตามเถิด

    ทำไม มนุษย์จึงมีหลากหลายคำถามหลากหลายความไม่เข้าใจ ? ก็เพราะสิ่งนี้เจ้าสร้างมันขึ้นมาเอง เพราะเจ้าสร้างขึ้นมาเป็นเกราะ เกราะนี้จึงเป็นเหตุให้เจ้าไม่สามารถทะลุออกมาเพื่อเจอความจริง
    จงให้อดีตเป็นอาจารย์ในการสอนเจ้า จงให้ปัจจุบันเป็นพระพุทธเจ้าที่เจ้าควรทำตามแบบอย่าง จงให้อนาคตเป็นพระธรรมคำสอนที่เจ้าควรเดินตาม

    อย่า กังวลคิดมากไป เหตุใดเราทำดีแล้วจึงมิได้ดี อย่าได้แปลกใจเลยลูก จงให้อนาคตเป็นเครื่องพิสูจน์ แล้วทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ผลกรรมดีตอบสนองเจ้าอย่างแน่นอน
    ความเสียสละคืออะไรลูก จงคิดพิจารณาเถิด แล้วความเสียสละตั้งอยู่บนพื้นฐานของอะไร จงใช้การพิจารณาและไตร่ตรอง

    แล้วอะไรกันที่มนุษย์ปรารถนา แล้วเจ้าจะให้อะไรแก่มนุษย์เหล่านั้นได้บ้าง

    จงมองดูสิ่งที่ใกล้ตัว จงมองดูสิ่งที่ห่างตัว แล้วลูกจะได้รับคำตอบ

    พระธรรมเทศนาจากหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    ที่มา...��ǧ��������������� �դ����Ӥѭ��;�оط���ʹ�����˹ ���§��? — with ป้อก เก้าแต้ม and Geng Geng.
     
  19. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]

    ที่มา เฟสบุค​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ตุลาคม 2014
  20. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    [​IMG]

    ที่มา เฟสบุค​
     

แชร์หน้านี้

Loading...