จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คุณคือหนึ่งในนั้นหรือไม่?

    ๑.คนหนึ่ง กำลังจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่น บนโลกของความไม่เที่ยงตลอดเวลา
    เป็นผู้ที่วิ่งตามกระแสกิเลสตนหรือโลก เป็นผู้ชนะผู้อื่น เป็นผู้รับ
    เป็นผู้ทำร้ายตนและผู้อื่น เป็นผู้ที่ยึดติดกับสิ่งสมมุติ
    เป็นผู้ที่หาทางออกจากทุกข์ของตนไม่ได้ และยังหนีไม่พ้นวัฎสงสาร

    ๒.คนหนึ่ง กำลังจะเข้า้ไปเปลี่ยนแปลงเฉพาะตนคนเดียว บนโลกใบเดียวกัน
    เป็นผู้ที่วิ่งทวนกระแสกิเลสตนหรือโลก เป็นผู้ชนะตนเอง เป็นผู้ให้
    เป็นผู้ที่ไม่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น เป็นผู้ที่ปล่อยวางกับสิ่งสมมุติ
    เป็นผู้ที่กำลังปฎิบัติเพื่อออกจากทุกข์ของตน และวัฎสงสาร

    คนข้อแรก ก็คือ คนทางโลก โลกมายา
    คนข้อสอง ก็คือ คนทางธรรม โลกสัจธรรม

    พวกเราพอจะมองเห็นจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดหรือเป้าหมายปลายทางกันแล้ว
    ต่างกันราวฟ้ากับเหวเลย ใช่ไหม

    และคุณคนเดียวเท่านั้น ที่จะเป็นฝ่ายเลือก(เอง)
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มีบางคนสงสัย!
    สงสัยว่า..ทำไมคนอื่นปฎิบัติธรรมได้ แต่ทำไม๊ ปฎิบัติธรรมไม่ได้
    ฮั่นแน่ๆ ตาวิเศษเห็นนะ อย่ามัวอ้างว่าเราไม่มีบุญบารมีเก่า หรือกรรมเก่าของเรามันเยอะ
    มนุษย์นี่มีสารพัด หรือ108เหตุผล ศาลฟังไม่ขึ้น!..อิอิ

    คำตอบที่ดีที่สุด ก็น่าจะเป็น..กำลังใจตนมีไม่มากพอ (จบ)
    (ผมจำธรรมะมาจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำว่า..กำลังใจ แปลว่า บุญหรือ บารมี)
    น่าจะเป็นจริงตามนั้น เพราะว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม งานจะสำเร็จได้ ก็ด้วยใจของตนเอง นี่แหล่ะ!
    ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นเลย ใจของเราทั้งนั้น

    สำหรับผู้ที่อยากมีกำลังใจมากพอที่จะเข้าถึงการปฎิบัติธรรม หรืออยากสร้างบุญบารมีของตนเอง
    ต้องรู้จักวิธีทำจิตของตน จากที่เคยหยาบให้เป็นละเอียด หรือ จากจิตที่เคยไม่นิ่ง ให้นิ่งสงบสงัด

    ทำง่ายที่สุด ก็คือ การสร้างบันไดบุญหรือบารมีของตน ดังนี้
    ๑.ทำบุญ ทำทาน
    ๒.สวดมนต์ไหว้พระ ฟังเทศน์ ฟังธรรม
    เมื่อทำข้อหนึ่งได้แล้ว ต่อไปให้เริ่มข้อสอง เพราะ ข้อสองนี้จะทำให้จิตคนที่หยาบเป็นละเอียดปานกลาง(ชั่วคราว)
    การสวดมนต์ไหว้พระหรือฟังเทศน์ฟังธรรมนี้ จะทำให้จิตใจของคนๆนั้น เริ่มเข้าสู่ความนิ่ง ความสงบได้บ้าง
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติขยันหรือเอาจริงเอาจัง กำลังใจหรือบุญบารมีเริ่มจะเต็มที่แล้ว
    เดี๋ยวคนๆนั้นก็จะอยากปฎิบัติธรรมเอง โดยไม่มีผู้ใดไปบังคับให้ทำ

    แต่ก่อนจะลงมือปฎิบัติธรรม เราต้องรักษาศีลหยาบของตนครบ โดยถือเอาตัวเจตนาเป็นหลักก่อน
    ต่อไปศีลจะเอียดหรือธรรมจะเลียดได้ ก็ต่อเมื่อ จิตของเราละเอียดมากหรือน้อย เพียงใด

    ต่อไปจึงเข้าสู่กระบวนการภาวนา
    การภาวนาทุกท่านก็ทราบกันหมดแล้ว โดยการเริ่มต้น ก็คือ การเจริญสติภาวนา จากกรรมฐาน40 กอง
    กรรมฐานมีอยู่ 2 ประเภทก็คือ สมถะและวิปัสสนา

    แต่ถ้าใครรู้ตนเองว่ามาจากสายปัญญา หรือผู้ที่ไม่มีฤทธิ์ทางใจ หรือ อภิญญา
    ก็ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาธรรมโดยตรง โดยตัดลงไตรลักษณ์ไปเลย

    แต่ถ้าหากผู้ที่ทำสมาธิเก่ง ก็ให้ทำสมถกรรมฐาน เมื่อจิตทรงสมาธิหรือฌาน
    เดี๋ยวจิตเขาจะดับหรือตัดกิเลสขนาดหยาบและกลางได้โดยสมาธิหรือฌานเอง
    แต่กิเลสตัวละเอียด จำเป็นต้องอาศัยวิปัสสนา หรือปัญญามาก(ปัญญาญาณ)

    เมื่อผู้ปฎิบัติได้ตัวปัญญาแล้ว ผมจะไม่กล่าวไปมากกว่านี้ เพราะเข้าเขตปัจจัตตัง
    สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการภาวนา โดยเฉพาะฌานเป็นต้นไป จำเป็นต้องมีครูหรือผู้รู้เรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างใกล้ชิด
    เพราะโลกทิพย์ คือโลกฌานสมาบัติ เกิดจากจิตละเอียด ส่วนใหญ่นักภาวนามักจะสอบไม่ผ่าน
    ก็เพราะว่า ๑.มัวไปติดสุขจากฌาน ๒.ไปหลงนิมิตหรือหลงอภิญญา เป็นตัวเป็นตน
    บ้าฤทธิ์ บ้าอำนาจในฌานหรืออภิญญาของตน
    แทนที่ได้ฌานหรือฤทธิ์ทางใจ นำไปดับหรือตัดกิเลสของตน แต่ไม่ทำ
    มีทางเดียวที่ไป ก็คือ หลงไปทางโลกีย์ แทนที่จะไปโลกกุตตระ

    การปฎิบัติธรรม เพื่อความหลุดพ้น ต้องปล่อยวางที่ตนมี รู้หรือรู้สึก และเห็นทั้งหมด
    จิตเราจึงจะเข้าเขตของอริยบุคคลได้ ก็คือ โลกุตตระ หรือพ้นโลก

    โลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ได้แก่
    มรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
    ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล
    นิพพาน ๑ คือ พระนิพพาน

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0
     
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ตามหาคนจริง!
    ใครเบื่อความทุกข์ อยากออกจากทุกข์ อยากมีดวงตาเห็นธรรม ไม่อยากเกิดแล้วตาย
    ต้องนำจิตไปเดินอริยมรรค หรือมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธองค์ เท่านั้น
    นอกนั้นไม่มี
    มีบ้างเหมือนกัน แต่ทางหลงหรือหลงทาง คือ เส้นทางมิจฉาทิฎฐิ ใครจะเอาก็เอาไป

    อย่าลืมนะ การปฎิบัติต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อน ทำยังไงก็ได้ ที่ทำให้จิตตนเอง นิ่ง
    อย่าเพิ่งไปอ่านตำรามาก เดี๋ยวตัวรู้จะไปปิดกั้น มิให้เจริญในธรรม
    เพราะการ)ำิบัติธรรมที่ได้ผลนั้น ไม่เหมือนการเล่าเรียนตามที่โรงเรียน
    นั่นก็คือการปฎิบัติธรรมนั้น จะต้องนำจิตของตนเองไปเรียนรู้ มิใช่กาย
    หรือคนที่เข้าใจผิดกัน ก็คือ ชอบเอาสติไปเรียนแทนจิตตนเอง ซะงั้น!
    จบข่าว! ไม่ทันเลย เนี๊ยๆๆ ผู้ปฎิบัติเริ่มต้นก็ผิดกันแล้ว
    อย่าเพิ่งหลงทางกันนะ..ผมไม่ได้เก่ง แต่เห็นมาเยอะ รวมทั้งผมเมื่อก่อนด้วย

    (จบ..ถ้ำใครถ้ำมัน สงบจังฮู้!)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มีนาคม 2013
  4. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    [๙๖] มุนีปลงเสียได้แล้วซึ่งกรรมที่ชั่งได้
    และกรรมที่ชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุสมภพ
    เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ และได้ยินดีในภายใน
    มีจิตตั้งมั่น ทำลายกิเลสที่เกิดในตนเสีย เหมือนนักรบ
    ทำลายเกราะฉะนั้น ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
  5. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]


    จิตอย่างไร ตายไปก็อย่างนั้น

    จิตสวย จิตหล่อ จิตขี้เหร่ จิตเรียบ จิตยู่ยี่ จิตกล้า จิตขลาด จิตนิ่ง จิตฟุ้ง จิตสบาย จิตข้อง จิตขาว จิตดำ จิตกุศล จิตอกุศล ทุกคนรู้สึกได้ตลอดชีวิตว่ามีจริง เปลี่ยนได้เรื่อยๆจริง

    ทว่าด้วยความไม่รู้ จึงไม่อยากเชื่อว่าจิตเป็นอย่างไร ตายไปก็อย่างนั้น แถมยังเข้าข้างตัวเองว่า เคยมีรูปร่างหน้าตาและฐานะอย่างไร ถ้าชาติหน้ามีจริง ก็คงเป็นเหมือนเดิมอย่างนั้น
    ...


    กรรมขาวสร้างจิตขาว กรรมดำสร้างจิตดำ เมื่อจิตแบบใดตั้งมั่นในขณะมีชีวิต หลังตายย่อมมีชีวิตใหม่สอดคล้องกัน ทั้งรูปร่างหน้าตา ฐานะ ความเป็นอยู่ และชะตาดีร้าย

    ปัญญาเห็นความไม่เที่ยงของจิต เห็นจิตแปรไปตามกรรม ทำให้จิตใสด้วยความฉลาดแบบพุทธ ส่วนโมหะยึดอยู่ว่าจิตเที่ยงที่จะเป็นตน ทำให้จิตขุ่นด้วยความไม่รู้แบบคนทั่วไป แม้เป็นคนดี มีจิตขาว ก็เป็นขาวขุ่น ไม่ใช่ขาวใส

    อย่าช้าเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้อุบัติในทุกชาติที่เราเกิด ท่านเป็นผู้เดียวที่สอนวิธีรู้วาระจิตตนเองเพื่อให้เห็นว่าจิตไม่เที่ยง

    เมื่อจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ (คือ เมื่อติดใจรูปเสียงกลิ่นรสขึ้นมา ก็ให้มีสติยอมรับความจริงว่ามีราคะอ่อนๆ พอราคะหายไป ก็จะเห็นว่าจิตที่ปราศจากราคะเป็นอย่างไร)


    เมื่อจิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    เมื่อจิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    เมื่อจิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    เมื่อจิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    เมื่อจิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น




    เห็นความเป็นจิตของตนบ้าง เห็นความเป็นจิตของคนอื่นบ้าง
    เห็นทั้งจิตตนและจิตคนอื่น (ว่าต่างกันอย่างไร) บ้าง
    เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมรู้สึกว่าเดี๋ยวจิตก็เกิด เดี๋ยวจิตก็ดับกระทั่งเห็นทั้งความเกิดและความดับของจิตเป็นเรื่องธรรมดา
    จึงเลิกยึดมั่นว่าจิตแบบใดแบบหนึ่งเป็นตนเสียได้
    ที่ตรงนั้นจิตย่อมโปร่งเหมือนฟองสบู่ใสๆที่ไร้ความรู้สึกว่ามีตัวของตนเห็นชัดว่าคติที่ไปทั้งสูงและต่ำไม่มี
    นั่นเอง คือความดับทุกข์จากการเกิดและตายด้วยความไม่รู้เสียได้หรือถึงแม้ยังไปถึงความดับทุกข์ไม่ได้ ทุกข์ย่อมลดลง
    ทางแห่งทุกข์ย่อมสั้นลง ความลุ่มหลงติดใจเหตุแห่งทุกข์ย่อมน้อยลง
    กับทั้งจะได้ยินดีในเส้นทางแห่งพุทธะสืบไป


    ดังตฤณ
    มีนาคม ๕๖​
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,537
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร 29JAN55
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=IxWVygBkYDY]หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร 29JAN55 - YouTube[/ame]
    เสียงท่านเพราะที่สุด(ปรากฎว่าท่านเคยเป็นนักร้อง)
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    การภาวนา ของทุกท่าน
    ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
    ขอให้ "ยึดหลักใจ" ไว้ให้ดี
    ผมดำเนินมาแล้ว ได้ผลเป็นที่พอใจ
    จึงกล้ามาสอนหมู่เพื่อน

    "สติ" สำคัญมาก
    เอานี้เลยนะ! เป็นพื้นฐาน
    เราภาวนา ธรรมบทใดก็ตาม
    "สติ-กับ-คำภาวนา" อย่าให้ห่างกัน
    อย่าไปเสียดาย อารมณ์นั้น อารมณ์นี้

    กิเลส มันผลักดันออก
    มาขัด มาแย้งอยู่นั่นล่ะ
    ให้เผลอคิด ตามเรื่องของกิเลส
    มันมีกำลังมาก ดีไม่ดี
    ปัดคำบริกรรมของเรา ออกจากใจ
    ให้สู้กันตรงนี้นะ!
    เอาคำบริกรรม ให้ติดแนบกับใจเลย


    (พระธรรมคำสอน…หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
     
  8. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    [B]มนุษย์และสัตว์ต่างๆมาจากไหน[/B]
    [B]เรื่องมีอยู่ว่า [/B]
    อดีตกาล กาลครั้งโน้นดึกดำบรรพ์โลกเก่าแตกทำลายไป โลกใหม่จะเกิดขึ้น ภายในห้วงอากาศอันมือมิด แสนโกฏจักรวาลประลัยไปหมดสิ้น จึงมืดเป็นอันเดียวกัน หาสัตว์หาแผ่นดินที่ไหนมิได้ เพราะไฟอาทิตย์ ๗ ดวงมาเผาผลาญทำลายโลกเมื่อไฟดวงอาทิตย์ ๗ ดวงเผาโลกไหม้ไปหมดแล้ว แม้ด้วงอาทิตย์ก็ดับตามไปด้วย ห้วงอากาศจึงมืดไปทั่ว หลังจากนั้น ฝนใหญ่ ลมใหญ่บังเกิดขึ้นพัดสวนกันไปสวนกันมา ในห้วงอากาศจึงเต็มไปด้วยน้ำ ฝน ลมตลบกันไปตลบกันมาเป็นเวลานาน ในอากาศน้ำก็รวมตัวเป็นอันเดียว แต่มีอากาศหุ้มห่ออยู่และอากาศนั้นก็ยังเป็นลมพัดสวนไปสวนมาอยู่เสมอ เมื่อนานขึ้นภายในน้ำก็มีตระกอนจับตัวก่อตัวกันเป็นก้อนๆ อยู่ ณ ใจกลางภายในน้ำและที่เป็นก้อนๆนี้เอง ก็กระจายกันเป็นแนวๆ เหมือนเมล็ดทราย ที่เรียงรายไหลไปตามกระแสน้ำภายหลังเมล็ดๆตะกอนเหล่านี้ก็ก่อตัวใหญ่ขึ้นๆ ภายหลังพอน้ำงวดลงก็โผล่เหมือนลอยขึ้นมามีจำนวนหมื่นโลกธาตุ หรือหมื่นจักรวาล
    โลกมนุษย์เรา จึงเป็นหนึ่งในจำนวนเหล่านั้นพร้อมด้วยพรหมโลกเทวโลก
    ในกาลนั้นเมื่อโลกบังเกิดแล้วแต่ก็ยังมืดแต่โดยที่โลกเกิดขึ้นใหม่ๆ นั้นมีกลิ่นหอม มีโป่งน้ำนม มีรสหวาน โอชะ พรหมอาภัสสรายังไม่ปรากฏเพศ ก็มาสู่โลกเรานี้ อาศัยกลิ่นหอมขจรกระจายไป และแล้วพรหมนั่นแหละก็กายเป็นเพศหญิงเพศชายภายหลัง เพราะเหตุที่มาลิ้มรสน้ำนมดินแล้วติดใจ จึ่งปรากฏกายหยาบและรัศมีที่มีในตัวก็หายไปด้วย ฤทธิ์ที่มีมากก็ลดลงไปด้วย แต่ว่าบุญเขายังมีอยู่ความศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นทิพย์ก็ยังมีจึงบรรดลบรรดาล ให้พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวเกิดขึ้น เมื่อพระอาทิตย์เกิดขึ้น ดวงจันทร์เกิดขึ้น ดวงดาวทั้งหมดเกิดขึ้น ก็ทำให้โลกเรานี้ปรากฏอยู่ในกลางอากาศ แล้วอาทิตย์ จันทร์ เป็นต้นก็หมุนรอบๆโลกเรา และแม้โลกเราก็หมุนเวียนไปรอบๆ ไปตามแนวดวงดาวต่างๆ ที่อยู่รอบ สวนกันไปสวนกันมา โลกเรานี้จึงเท่ากับว่าพรหมเป็นเจ้าของ เป็นผู้สร้าง แต่โดยที่พรหมมาอยู่มาครองก่อนเป็นเวลานานแสนนานรู้ต้นรู้ปลาย ผู้มาอยู่ทีหลังจึงยกย่องว่าพรหมเป็นผู้สร้างโลก แต่เพราะพรหมเป็นผู้มีบุญมากจึงเท่ากับว่าท่านได้สร้างบ้านเรือนให้เราภายหลังอยู่สบาย ถ้าเพียงเราผู้เกิดมาทีหลังจะเอาพระอาทิตย์ พระจันทร์ ที่ไหนมาส่องโลก แต่ถ้าย้อนลึกเข้าไปแล้ว โลกนั้นเกิดก่อนที่พรหมจะมาอาศัย แต่ครั้งที่พรหมนั้นมาดวงอาทิตย์ยังไม่มีเท่านั้น
    ว่าถึงมนุษย์เรา ความจริงก็สืบมาจากพรหมนั่นแหละ เพราะฉะนั้นพรหมจึงเป็นบรรพบุรุษของพวกเราทุกคน
    บรรพบุรุษของพวกมนุษย์เรา มิใช่ลิงใช่ค่างที่ไหน ลิงค่างเหล่านั้นเป็นสัตว์เดรฉาน มีชาติต่ำกว่ามนุษย์แต่ ถ้ามนุษย์ไม่มีบุญก็จะต้องตกต่ำไปเกิดเป็นลิงค่างเหล่านั้น และที่ร้ายมากก็คือ ผู้มากไปด้วยบาปจะเกิดนรก ๒๐ กว่าขุมโน้น
    อาภัสราพรหมมาสู่โลกนี้ ปัจจุบันก็หมายรวมถึงจิตวิญญาณทั้งหลายด้วย จิตวิญณาณในยุคนี้แม้จะเป็นพรหม แต่มักเป็นพรหมบุญน้อย เพราะเวียน ว่าย ตาย เกิด มานาน นำเอาบาปเข้าไว้มาก ก็ไม่ค่อยมีอานุภาพอะไร ที่นี้จะย้อนถามว่า ก็เมื่อโลกบังเกิดก่อนพรหมมาอยู่ มาครอง แล้วยังมีพรหมองค์ใด ที่สร้างโลก ขึ้นมาก่อนพรหมมาครองบ้างหรือไม่
    คำตอบก็ต้องตอบว่ามี แต่องค์นี้ท่านสร้างโดยทางเหตุ คือปฏิบัติธรรมแปดประการ คือในความเป็นผู้เห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ๑ เลี้ยงชีพชอบ๑ ทำความเพียรชอบ ๑ ทำสติชอบ ๑ ทำสมาธิชอบ ๑ เมื่อท่านปฏิบัติอยู่ในทางเหตุแปดนี้ โลกก็บังเกิดขึ้นเพื่อท่าน โลกก็จะเป็นสมบัติของท่าน เพราะโลกเกิดขึ้น อาศัยจิตประกอบด้วยธรรมกาลใด จิตขาวเพราะอาศัยธรรมขาว กาลนั้นโลกย่อมจะบริสุทธิ์ กาลใดจิตดำเพราะอาศัยธรรมดำ กาลนั้นโลกย่อมจะดำ กล่าวโดยย่อก็คือโลกเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม เหมือนกับคำพูดว่า ทำดีสวรรค์ก็เกิด ทำชั่วนรกก็เกิด
    เหตุจึงชื่อว่าธรรม ผลจึงชื่อว่าจักร เรียกธรรมจักร ก็เป็นอันได้ความว่า โลกบังเกิดขึ้นก็เพราะธรรมเป็นเหตุ และจะสลายดับไปก็เพราะธรรมนั้นสิ้นกำลังลง
    ย่อโลกอันกว้างใหญ่ลงมา ก็ได้แก่ร่างกายของคนเรานี้ ธรรมก็ย่อลงมาได้แก่ใจของคนเรานี้ ใจไม่มีธรรม โลกคือร่างกายก็แตกสลาย
    บทความหนึ่ง โดย
    ท่านพระคุณเจ้า หลวงพ่อดาบส สุมโน
     
  9. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    "ใครจะอยู่แดนใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่าความทุกข์นี้ย่อมบีบอยู่ที่หัวใจ
    จากนั้นมาก็บีบคั้นหรือรัดตัวให้ดิ้นให้ดีดทางกายทางวาจา
    ทางกิริยามารยาท กระเสือกกระสนกระวนกระวาย
    เพราะจิตใจมันดีดมันดิ้นอยู่ภายใน
    มันบีบอยู่ภายในให้ต้องเสาะให้ต้องแสวงหา
    อันนั้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา อะไรก็มีแต่จะเอา ๆ
    สมหวังบ้างไม่สมหวังบ้าง สุดท้ายก็ตายทิ้งเปล่า ๆไม่เกิดประโยชน์อะไร
    เรื่องของโลกเป็นเพียงเท่านี้แหละ มีแต่เกิดกับตาย"

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    (พระธรรมวิสุทธิมงคล)
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
     
  10. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    กิเลสที่เป็นตัวยุแย่เราๆท่านๆนั้น...ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติเราก็จะไม่รู้ว่าเป็นเรื่องของกิเลสเพราะเรื่องของ"กิเลส"ก็คือเรื่องของเราโดยตรงเพราะทุกอย่างที่เราคิดว่าเป็นเรื่องของเรานั้นๆจริงๆแล้วมันก็เป็นเรื่องของกิเลสแทบทั้งนั้น เพราะอย่างรักตัวกลัวตายนี่ กลัวก็เป็นเรื่องของกิเลสเพราะรักตัวไม่อยากตายนั้นเอง... แต่เรามองไม่เห็นเราก็ไม่รู้มัน แต่พอมาปฏิบัติสิ่งที่คิดว่าเป็นเรื่องของเราๆท่านๆก็เป็นเรื่องของกิเลสนําหน้าเสียทั้งหมด เช่น การรักสวยรักงามในร่างกายที่เรามีอยู่ และการหาอยู่หากินก็เพื่อเรา...เท่านั้นคนจึงมองไม่ค่อยเห็น เพราะมันเป็นเรื่องที่ละเอียดมากคนที่ไม่รู้จะรักตัวมากกว่าคนอื่นและทําอะไรๆก็เพื่อตัวเอง...เพราะยังคิดว่าตัวเป็นใหญ่... แต่พอมาปฏิบัติธรรมได้รู้ได้เห็นเรื่อง"ตัวเรา"เป็นใหญ่นี่ก็จะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆจนไม่มีเราไม่มีเขานั้นเอง...
    ที่มาจากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2013
  11. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    [B]ธรรมจักรมรรคแปด [/B] [SIZE="6"[COLOR="Blue"]]โลกอันเป็นจักรประกอบด้วยองค์ ๘ พระพุทธองค์ ทรงประกาศธรรมแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ มีพระโกณฑัญญะเป็นต้น พระโกณฑัญญะซึ่งมีพื้นฐานศึกษามารู้ดีแล้ว เมื่อมาสดับฟังธรรมที่พระพุทธองค์บอกว่า เราตรัสรู้แล้ว จักขุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราๆพระปัญจวัคคีย์ ซึ่งรู้มาทางโลก แต่ไม่รู้ธรรมคื่อเหตุ ที่พระพุทธองค์แจกแจงโลกได้ถูกต้อง ญาณทัสนะก็บังเกิดขึ้นแก่พระอัญญาโกณฑัญญะทันที คือรู้ผลพร้อมกับเหตุ รู้เช่นนี้เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม หมายถึงเห็นธรรมขั้นต้น จึงเป็นอริยบุคคลขั้นต้น เรียกว่า พระโสดาบัน
    โสดาบัน แปลว่า รู้ทั่วรุถึง เพราะการฟัง อีกความหมายหนึ่ง แปลว่าผู้ตกถึงกระแสธรรม เป็นขั้นต้น มีอันจะถึงธรรมพร้อม ถึงเป็นอรหันต์ขั้นสุดท้าย
    พรหม ๑๘ โกฏิ และเทพยาดาอสงไขยในหมื่นโลกธาตุ ซึ่งมาชุมนุมคอยฟังธรรม ที่พระพุทธองค์จะประกาศธรรมเป็นปฐม ก็ได้สำเร็จผลดวงตาเห็นธรรมด้วยในครั้งนั้น อวสานเทศนา แผ่นดินอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์
    ก็กัมปนาทหวั่นไหว มหาสมุทรกว้างลึก ก็คะนองครึกโครม การชุมนุมฟังธรรมครั้งนี้ นับว่าเป็นประวัติกาลอันสำคัญ ในพระพุทธศาสนา ทั้งพระสงฆ์ก็บังเกิดขึ้น เป็นรัตนะดวงที่สามในโลก คือพระฤาษีอัญญาโกณฑัญญะใน ปัญจวัคคีย์ ๕ เป็นปฐมสงฆ์
    พระธรรมจักร ซึ่งเป็นสูตรธรรมสำคัญวิเศษ เป็นที่รวมแห่งคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า สมจริงแท้กับคำที่ว่าใครๆ ไม่อาจแสดงได้ เพราะฉะนั้นพรหมและเทพในหมื่นจักรวาล แสนโกฏิโลกธาตุ จึงต่างพากันมาชุมนุม ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวันเพื่อฟังธรรมจักรอันวิเศษ
    ธรรมจักร จึงควรแท้เราท่าน พุทธบริษัทจะพึงรู้ จะเป็นผู้ไม่เป็นเหมือนคนตาบอด
    มนับ ๑๐๘ บอกถึงความเป็นจักรของพระพุทธเจ้า ผู้นำมาไว้เจริญภาวนา เป็นที่มาแห่งสติเป็นมงคลวัตถุ จึงมีสาระประโยชน์ หาใช่เป็นเครื่องประดับเพื่อสวยงามทางโลก ควรนำมาเจริญภาวนาตามวิธีการ
    พระคุณเจ้า หลวงพ่อดาบส สุมโน [/SIZE][/COLOR]
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ปฎิบัติไปตามกำลังใจ
    ผู้ที่อยากไปสวรรค์ ต้องทำบุญ ทำทาน หรือรักษาศีลให้มาก
    แต่สำหรับผู้อยากออกจากทุกข์ หรือไม่อยากกลับมาเกิดใหม่ ต้องพากันรักษาศีล และทำภาวนา

    เราคือผู้ปฎิบัติ ตะต้องคอยหมั่นเจริญสติจนกว่าจะละขันธ์หรือตายไป
    ผู้ที่จะเอาดีทางธรรม จะต้องให้ความสำคัญเรื่องสติและจิต เสมือนลมหายใจของตน

    เพราะสติกับจิตนั้นมีความสำคัญกับมนุษย์มาก
    ผู้ใดให้ความสำคัญสติกับจิต ย่อมได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ประเสริฐ
    ย่อมมีแต่ความสุข ความเจริญกับบุคคลเหล่านี้
    ดูตัวอย่างพระอรหันต์ ท่านพากันปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบหรือปฎิบัติตามพระพุทธเจ้า

    ธรรมะก็เหมือนผลไม้ ธรรมะต้องปฎิบัติเอง ผลไม้ก็เช่นกัน
    อยากได้ผลไม้ไว้ทานตลอดทุกฤดูกาล เราต้องปลูกต้นผลไม้เอง

    ผู้ปฎิบัติธรรมจะต้องฉลาด คือมีปัญญาเป็นของตนเอง
    เราต้องรู้ แยกแยะให้เป็น สติคืออะไร จิตคืออะไร มีหน้าที่อะไร แค่ไหน อย่างไร
    ต้องปฎิบัติให้มีจุดหมายปลายทางที่เด่นชัด อย่าพายเรือบนอ่างน้ำ
    หรือมหาสมุทร โดยไร้จุดหมายปลายทาง อันนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ เอาไม่จริง
    ผู้ที่ไม่ได้เอาใจมาปฎิบัติ ก็มักจะสำเร็จยาก
    เพราะมัวแต่อ้างเรื่องทางโลก เช่น ต้องทำมาหากิน ต้องเลี้ยงดูครอบครัว
    แต่หารู้ไม่ ถ้าเราหมดลมหายใจไปตอนนี้ กับสิ่งที่เราทำอยู่ มีอยู่นั้น
    มันไม่ได้ไปกับเรา(จิต)เลย โลกหน้า ภพหน้า คือการสิ้นสุดชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น
    การตาย คือการเปลี่ยนชาติ หรือภพภูมิของจิตเรา เท่านั้น
    อย่าลืมนะ เวลาเราลงหรือขึ้นมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น เราก็มาแต่คนเดียว
    แต่ถึงเวลาจะไป เราก็ไปคนเดียวอีก
    แต่ถ้าเรามีสติมาก ก็จะทราบกันดี
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สำหรับผู้ที่มีกำลังใจมาก
    ผู้เจริญทั้งหลาย หรือผู้ที่เป็นอริยบุคคลทั้งหลาย
    ควรปฎิบัติให้มาก คือเน้นเจริญสติให้มาก จนกลายเป็นสัมปชัญญะ
    หรือเป็นมหาสติ ก็ยิ่งดีมาก
    พยายามอยู่กับกายกับใจตนเองให้มาก สนใจเรื่องสติกับจิตของตนเองให้มาก
    อย่ามัวเผลอสติบ่อย อย่าทิ้งสติ
    ผู้ใดไม่สนใจเรื่องสติ ก็เท่ากับเราทิ้งสมาธิ ทิ้งฌาน ทิ้งปัญญาของตนเองไปด้วย
    เพราะปัญญาในทางธรรม เกิดหลังสมาธิหรือเจริญสติภาวนา

    แยกกาย แยกจิตให้เด็ดขาด อะไรหน้าที่ของกาย อะไรหน้าที่ของจิต
    อย่าเอาเรื่องกายมาปะปนกับเรื่องจิต เพราะกายมีแต่จะเสื่อมลงไปทุกขณะ
    แต่ก่อนกายจะเลื่อมลดน้อยถอยลงหรือตายไป เราต้องฝึกจิต คือแยกจิตออกกาย
    ฝึกจิต มิให้ไปยึดติดกับสิ่งสมมุติทั้งปวง หรือมิให้จิตไปยึดติดกับกายหรือความรู้สึกคิดนึกของตน
    เพราะเมื่อเราตายไป จิตก็จะจุติไปตามวาระจิต หรืออารมณ์ของจิต ในขณะที่ยังมีชีวิต
    ไปตามยถากรรม หรือไปตามกฎแห่งกรรมของตนเอง

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่ปฎิบัติธรรม อย่างน้อยที่สุดก็ได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น
    จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า พวกเขาเหล่านั้น ไม่ค่อยจะมีทุกข์เหมือนเมื่อก่อน
    ยิ่งเราปฎิบัติมาก เจริญสติเป็นนิจ สมาธิและปัญญาก็จะมีมากเป็นเงาตามตัว
    แต่ถ้าเรายิ่งเจริญสติเป็นสัมปชัญญะหรือมหาสติได้ ปัญญาก็จะเจริญเป็นปัญญาญาณได้ในที่สุด
    แต่อย่าลืมเหลียวดู ปฎิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ กันด้วย ไม่ว่าท่านจะปฎิบัติกันมาสายใดก็ตาม
    เพราะท้ายที่สุด ต้องเจริญสติหรือเจริญรอยตามมรรคที่กล่าวมานี้กันให้ตลอดสาย
    เพื่อเป็นการทรงสติ ทรงมาธิหรือฌาน ทรงปัญญาหรือปัญญาญาณ
    เพราะปัญญาหรือปัญญาญาณของตนเองนี้ จะเป็นผู้นำจิตไปสู่ วิมุตติ
    หรือเตรียมอนุบาลพระนิพพาน ต่อไปฯ
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เส้นทางแห่งธรรม อันแสนยาวไกล
    ผู้ปฎิบัติที่มีสติหรือจิตยังไม่เสถียร
    ขอให้เจริญสติให้มาก เผลอให้น้อยที่สุด วันนี้เอาแค่สติให้รอดก่อน อย่างอื่นค่อยว่ากัน

    สำหรับผู้เจริญสติมาก เริ่มเข้าถึงความละเอียดแห่งจิตตน
    พึงระวังให้มากๆ เพราะกำลังเข้าเขตปัจจัตตัง!
    เมื่อรู้ เห็น โดยเฉพาะนิมิตต่างๆ หรือพบเจอของเก่า คือ อภิญญาต่างๆ
    ท่านอย่าเพิ่งดีใจหรือหลงตนเอง ว่าข้านี้ คือผู้วิเศษ เดี๋ยวจะบ้า จะเพี้ยน จะออกทะเลไปไกล ใครๆกู่ก็ไม่กลับ

    ขอให้ปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น เพื่อพระนิพพาน แต่อย่าเพื่ออย่างอื่น หรือกลับไปได้อย่างอื่นแทน
    สำหรับผู้ที่พบเจอปัญหานี้ จะต้องแก้ไขด้วยสติปัญญาของตนเองเท่านั้น

     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คนเหมือนกัน แต่วิธีทางผิดกัน
    มิติทางโลกจึงต่างกัน


    ผู้เผลอสติบ่อย อันจะพาลพบแต่ทุกข์ยาก เพราะกำลังจะถูกดึงเข้าโลกแห่งมายาอยู่ทุกขณะจิต
    จิตจะตกไปอยู่ภายใต้อำนาจกิเลสแห่งตนและกิเลสโลก โดยมิรู้ตัว

    แต่ผู้ที่คอยหมั่นเจริญสติเป็นนิจ ย่อมพบแต่ความสุข ความสงบสงัด ความเจริญ
    เพราะกำลังเข้าสู่โลกสัจธรรม แต่เส้นทางนี้จะต้องฝืนความรู้สึก หรือจิตตนเองมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มีนาคม 2013
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สตินะ..สติ
    สติ คือความระลึกได้ หรือความรู้สึกตัว
    สติสัมปชัญญะ ก็คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สติแบบนี้ถึงจะเรียกว่า ปัญญา
    มหาสติ คือผู้ที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมาก เผลอบ้างแต่กลับมาเร็วมาก

    เราเป็นฆราวาส ทำได้แค่นี้ ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว เอาแค่เจริญสติเป็นสัมปชัญญะก็พอ
    แต่สำหรับมหาสติ มหาสมาธิ มหาปัญญานั้น เป็นของพระอริยบุคคลเบื้องสูง

    สำหรับผู้ที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นประจำ จะมีลักษณะอาการทั่วไป
    ขอให้สังเกตดูลมหายใจจะแผ่วเบามากกว่าปกติ เพราะทรงฌานต่ำ
    ยิ่งฌานสูงมาก ก็จะรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจ
    แต่ความจริงเราก็ยังหายใจอยู่เหมือนเดิมปกติ เพียงแต่ลมหายใจจะแผ่วเบามาก
    ระบบประสาททางร่างกายจะถูกตัดขาดชั่วคราว และจะรู้สึกตัวจนกว่าเราจะออกจากฌาน
    เพราะว่า พลังงานของร่างกายจะถูกเผาผลาญน้อย หรือทำงานน้อย
    และส่งผลทำให้เราทานน้อย นอนน้อย ไม่อยากพูด เพราะจิตกำลังอุเบกขา
    อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ เป็นกลาง

    แต่เมื่อไหร่ ถ้าจิตเราต่ำกว่าอัปปนาสมาธิ(ฌาน) หรืออุปจารสมาธิ(เฉียดฌาน) ระบบประสาทต่างๆ
    หรือระบบหายใจจะทำงานเป็นปกติธรรมชาติ ระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายก็เป็นไปตามปกติ
     
  17. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ๒.นิมิตในสมาธิของท่านอาจารย์ใหญ่ (มั่น ภูริทัต)

    ท่านพระอาจารย์ใหญ่ ท่านได้เล่าให้บันดาลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดฟังคราว ที่ท่านเจริญกัมมัฏฐานภาวนาอยู่ ที่วัดเลียบอุบล เป็นขั้นแรกที่ไม่พบทางจริง และยังบริกรรมภาวนาว่า พุทโธ ๆ อยู่ ท่านได้เริ่มเล่าถึง เรื่องนิมิตดังต่อไปนี้ฯ
    ครั้งแรกเมื่อจิตของเรารวมลง ได้มีอุคหนิมิต ปรากฏร่างศพนอนทอดทิ้งอยู่ข้างหน้า ห่างจากที่เรานั่งราว ๑ วา ผินหน้ามาทางเรา และมีสุนัขตัวหนึ่งมาดึงไส้เอาไปกินอยู่ เมื่อเราเห็นเช่นนั้นก็มิได้หวาดกลัว ท้อถอย คงกำหนดนิมิตนั้นให้มาก แม้จะออกจากที่นั่งนั้นแล้ว จะนอนอยู่ก็ดี ไปเดินจงกรมอยู่ก็ดี หรือเดินไปมาอยู่ก็ดี เราก็รักษานิมิตนั้นให้อยู่อย่างนั้น บางครั้งนิมิตนั้นจะเลือนหายไป เราก็กำหนดหมายให้ชัดอิก จนนิมิตนั้นอยู่ตัวเห็นได้ชัดเจน ครั้นนานวันมา เราก็นึกขยายให้ใหญ่ และพิจาณาเห็นความเน่าเปื่อยผุพัง แหลกลาญเป็นจุณวิจุณไป และได้กำหนดให้มากนึกให้มีทั้งร่างใหม่ร่างเก่า จนกระทั้งเห็นเต็มไปหมดทั้งวัดวา และมีทั้งแร้งกา หมายื้อแย่งกันกัดกินอยู่ เราทำอยู่อย่างนี้จนร่างอสุภนั้น ได้กลายกลับเป็นวงแก้วขาว เลื่อมใสสะอาดคล้ายวงกสิณสีขาว ต่อนั้นเราก็เพ่งพิจารณาอยู่ในวงแก้วนั้นเรื่อยไป ต่อมาเป็นวาระที่ ๓ เราได้แลไปเห็นอะไรอย่างหนึ่ง คล้ายภูเขาอยู่ข้างหน้า เรานึกขึ้นในขณะนั้นว่าอยากไปดู บางทีจะเป็นหนทางปฏิบัติกระมัง จึงได้เดินไปดู ปรากฏว่าภูเขานั้นเป็นพักอยู่ ๕ พักจึงได้ก้าวไปถึงพักที่ ๕ แล้วจึงหยุด แล้วกับคืน ขณะที่เดินไปนั้นตัวเราปรากฏว่า ได้สะพายดาบอาคมกล้าเล่มหนึ่ง และที่เท้ามีรองเท้าสวมอยู่


    สมาธิในคืนต่อมา ก็ปรากฏเป็นอย่างนั้นอีก แต่สิ่งที่คืบหน้าคือเห็นเป็นกำแพงขวางอยู่ ที่กำแพงมีประตู จึงอยากเข้าไปดูว่าข้างในมีอะไรอีก จึงเอามือผลักประตูเข้าไป ปรากฏว่ามีทางสายหนึ่งตรงไป แล้วเราก็เดินตามทางนั้นไป ข้าง ๆ ทางด้านขวามือ เห็นมีที่นั่ง และที่อยู่ของพระภิกษุ ๒-๓ รูป กำลังนั่งสมาธิอยู่ ที่อยู่ของภิกษุนั้นคล้ายประทุนเกวียน แต่เราก็มิได้เอาใจใส่คงเดินต่อไป ข้างทางทั้ง ๒ มีถ้ำและมีเงื้อมผาอยู่มาก ได้เห็นดาบสองค์หนึ่งอยู่ในถ้ำหนึ่ง เราก็มิได้เอาใจใส่อิก ครั้นเดินต่อไปก็ถึงหน้าผาสูงมาก จะไปอิกก็ไปไม่ได้ จึงหยุดแล้วกลับมาที่เก่า

    สมาธิคืนต่อมาอีก ก็ไปอย่างเก่านั้นอีก แต่ครั้งนี้มีสิ่งคืบหน้าคือหลังจากที่ไปถึงที่เก่าก็ปรากฏมียนต์คล้ายอู่ มีสายหย่อนลงมาจากหน้าผาเราจึงรีบขึ้นสู่อู่ พอนั่งเรียบร้อยอู่ก็ชักขึ้นไปสู่บนภูเขาลูกนั้น ครั้นขึ้นไปแล้ว จึงเห็นสำเภาใหญ่ลำหนึ่ง อยู่บนภูเขาลูกนั้น เราได้ขึ้นไปดูในสำเภานั้น เห็นโต๊ะ ๔ เหลี่ยม บนโต๊ะมีผ้าขาวปู เป็นผ้าขาวเนื้อละเอียดมากมองดูรอบ ๆ เห็นประทีปติดสว่างอยู่ ประทีปนั้นคล้ายติดด้วยน้ำมัน ปรากฏว่าเรานั้นไปนั่งบนโต๊ะนั้น ก็ปรากฏว่าได้ฉันจังหันที่นั้นด้วย เครื่องฉันมีแตงกับอีกอะไรหลายอย่าง ครั้งฉันเสร็จได้มองไปข้างหน้า ปรากฏเห็นเป็นฝั่งโน้นไกลมาก จะไปก็ไปไม่ได้ เพราะมีเหวลึก ไม่มีสะพานข้ามไป จึงกลับคืนมาเหมือนหนก่อน



    วาระต่อมาอีก ได้เพ่งและน้อมจิตรติดตามไปตามทางเก่านั้นแล ครั้นไปถึงสำเภาแห่งนั้น จึงปรากฏมีสะพานน้อย ๆ ข้ามไปฝั่งโน้นจึงเดินไป พอไปถึงฝั่งโน้นแล้ว ก็ปรากฏเห็นกำแพงใหญ่สูงมาก ประกอบด้วยค่สายคูประตูหอรบอันมั่นคง ที่กำแพงมีถนนใหญ่ไปทางทิศใต้และเหนือ นึกอยากเข้าไปมากจึงเดินไปผลักประตู แต่ประตูไม่เปิดจึงกลับคืนมาเหมือนหนก่อน



    วาระต่อมาก็ไปอย่างเก่าอีก แต่สะพานข้ามไปฝั่งโน้นใหญ่ก่าวเก่ามาก เดินไปตามสะพานครั้งนี้ไปได้ครึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าเห็นท่านเจ้าคุณอุบาลี(ศิริจันทร์ เถร) เดินสวนทางมา และกล่าวเป็นภาษาบาลีว่า อัฏฐังคิโกมัคโค (แปลว่าทางมีองค์ ๘ ) แล้วต่างก็เดินต่อไปพอเราไปถึงประตู ก็แลเห็นประตูเล็กอิกประตูหนึ่งจึงเดินไปผลักประตูนั้นออกได้ แล้วไปเปิดประตูใหญ่ ได้เข้าไปข้างในกำแพง ปรากฏมีเสาธงทองปักตั้งอยู่ท่ามกลางเวียงนั้นสูงตระหง่าน ต่อไปข้างหน้าปรากฏถนนเป็นถนนสะอาดเตียนราบมีเครื่องมุง มีประทีปโคมไฟติดเป็นดวงไปตามเพดานหลังคาถนน มองไปข้างหน้าเห็นมีโบสถ์หลังหนึ่งตั่งอยู่ จึงเดินเข้าไปในโบสถ์ ภายในโบสถ์นั้นมีทางเดินจงกรมที่สุดของทางเดินทั้งสองข้าง มีดวงประทีปตามรุ่งโรจน์ เรานึกอยากเดินจงกรม จึงได้เดินจงกรมไป ๆ มา ๆ อยู่ต่อมาปรากฏมีธรรมาสน์อันหนึ่งวิจิตล้วนด้วยเงิน เราได้ขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์นั้น บนธรรมาสน์นั้นมีบาตรลูกหนึ่ง เราเปิดดูในบาตร เห็นมีมีดโกนเล่มหนึ่ง จากนี้ก็ไม่ปรากฏมีอะไรอิก และครั้งต่อๆ มาก็มาถึงตรงนี้ทุก ๆ ครั้ง และทุก ๆ ครั้งที่เข้าไป ปรากฏว่าตัวเราสะพายดาบเล่มหนึ่งกับรองเท้าสวมด้วย ปรากฏอย่างนี้อยู่ ๓ เดือน ครั้นต่อมาเราถอดจิตรออกจากสมาธิแล้วเห็นอารมณ์ภายนอกก็ยังรู้สึกหวั่นไหว เห็นสวยก็รัก ไม่ดีก็ชัง เป็นอยู่เช่นนี้ จึงพิจารณาว่า นี้มันยังเป็นนอกอยู่ เห็นจะไม่ใช่ทางเสียแล้วกระมัง จึงพิจารณาแก้อุบายใหม่ ภายหลัง อ้อ จึงได้เกิดขึ้น ฯ
    จบนิมิตในสมาธิของท่านอาจารย์ใหญ่เท่านี้

    นิมิตที่จำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวแก่การปฏิบัตินั้น ก็คือนิมิตในประเภทที่ ๓ เป็นนิมิตที่ใจรู้ใด้โดยทั่ว ๆ ไปก็ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ นี้แหละ ได้ปรากฏเป็นสุบินนิมิตบ้าง และในสมาธินิมิตบ้าง ในเมื่อผู้ปฏิบัติรู้เท่าทัน แม้สุบินนิมิตและนิมิตในสมาธินั้นด้วย อากาศและวิญญาณฯ จะถือเป็นนิมิตได้อย่างไร ในเมื่อไม่ปรากฏเป็นรูปร่างสีสันวรรณะ ที่จัดเป็นนิมิตด้วยในที่นี้ก็โดยที่ใจถือเอาเป็นอารมณ์ด้วย ความรู้สึกที่แท้จริงอากาศและวิญญาณก็เป็นรูปเหมือนกัน เป็นรูประเอียดฉะนั้นผู้ปฎิบัติจะถือว่านิมิตเป็นรูปอย่างเดียวก็ได้ไม่ผิด เพราะรูปกับนามเป็นของคู่กัน อาศัยกันตั้งอยู่ เมื่อรูปไม่ปรากฏในที่ใด นามก็ไม่ปรากฏในที่นั้น ฯ

    ความว่างเปล่านั้นอย่างไร เราจะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ในสูญญตสูตรนี้ ใช่ศัพท์ว่า อนิมิต ซึ่งแปลว่าไม่มีเครื่องหมาย อันเป็นคำที่ชี้หมายสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่านิมิต ที่แปลว่าเครื่องหมายคำว่าไม่มีเครื่องหมายในคำต้นนั้น ฟังดูตามสำนวนแล้ว ก็คงหมายถึงการปฎิเสธเครื่องหมาย คล้ายกับคำที่ชาวบ้านพูดกันว่าไม่มีเงิน ไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้เป็นต้น ฯ แต่สำหลับคำว่านิมิต ไม่มีเครื่องหมายในสูตรนี้นั้นจะหมายความว่าไม่มีนิมิต ยังไม่ถูกพอ ต้องหมายถึงความว่างเปล่าจึงจะถูกถ้วน เมื่อหมายถึงความว่างเปล่าก็กลับเป็นคำรับว่ามีอยู่แทนคำปฎิเสธ คือมีความว่างเปล่าอยู่ อันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ และความว่างเปล่าอันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่มีอยู่นี้ ก็ไม่มีนิมิต คือเครื่องหมายด้วยถ้าตามภาษาโลกแล้ว เขาถามเราว่า ท่านมีเงินหรือไม่ถ้าเราไม่มีแล้วตอบเขาไปว่าเปล่า ดังนี้ ผู้ถามจะเหมาเราว่าเป็นบ้าหรือเกือบจะบ้า หรือเกือบจะเป็นบ้าไปก็ได้ แต่มันกลับเป็นความถูกต้อง และเป็นจริงอย่างดิ้นไม่ได้ ฯ

    คำว่าว่างเปล่านี้ ตรงกับคำบาลีว่า สูญญํ และก็พ้องกับสูตรนี้ทีเดียว สูญญัง ทั่วไปมักเพ่งหมายกันว่าหายสูญ สิ้นสูญ ดับสูญ ก็เช่นเดียวกับคำว่าอนิมิตที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สุญญัง เราแปลเอาความหมายใหม่ว่ามีความว่างเปล่าอยู่ ก็อยู่อย่างไรเล่า ก็อยู่ในที่สุดนั้นแล คือสุดในความเป็นเครื่องคู่ โดยนับคี่ที่จิตร นับคู่ที่อารมณ์เมื่อใดแลจิตรเปลื้องจากอารมณ์ เมื่อนั้นแลจิตรก็บรรลุถึงที่สุด คือความว่างเปล่าฯ

    ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน ได้กล่าวถึงสุญญตาสูตร
    ในอาศรมไผ่มรกต.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    พรหมวิหารเป็นกรรมฐานเย็น

    จาก หนังสือ พรหมวิหาร ๔
    หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

    คำแนะนำเนื่องในการเจริญพระกรรมฐาน สำหรับการแนะนำในการเจริญพระกรรมฐานในวันนี้ ก็ขอนำเอาเรื่องของ พรหมวิหาร ๔ มาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท

    สำหรับพรหมวิหาร ๔ นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เป็นพระกรรมฐานกลางจริง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พรหมวิหาร ๔ ย่อมเป็นกำลังของฌาน เป็นอาหารของศีล เป็นอาหารของฌาน และเป็นอาหารของวิปัสสนาญาน ทั้งนี้ก็เพราะว่า พรหมวิหาร ๔ เป็นกรรมฐานเย็น คือ ต้นเหตุของพรหมวิหาร ๔ ก็คือ

    ๑. ความรัก เมื่อเรามีความรักที่ไหน ต่างคนต่างรักกัน ใจก็เย็น

    และข้อที่ ๒. พรหมวิหาร ๔ ที่เรียกกันว่า กรุณา มีความสงสาร ถ้าทุกคนต่างสงสารเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สงเคราะห์ซึ่งกันและกันก็เป็น อารมณ์เย็น ความเร่าร้อนมันก็ไม่มี

    ประการที่ ๓. มุทิตา พรหมวิหาร ๔ มีปัจจัยให้เกิดความไม่อิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน มีการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และก็มีใจดี คือ ยินดีในบุคคลอื่นได้ดี เมื่อเห็นใครเขาได้ดีแล้วเราก็ยินดีด้วย ดีใจด้วย พร้อมรับเอาความดีของผู้ที่ทรงความดีแล้วมาปฏิบัติเพื่อผลของความดีของตน อันนี้อีกประการหนึ่งเป็นปัจจัยให้มีความเยือกเย็น

    และก็ประการที่ ๔. พรหมวิหาร ๔ มีอุเบกขา คำว่าอุเบกขาในที่นี้แบ่งเป็นหลายชั้น แต่จะขอพูดสั้นๆ ไว้ก่อน นั่นก็คือ มีอาหารวางเฉยต่ออารมณ์ ที่เข้ามากระทบใจ หมายความว่า ใครเขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทา เราก็เฉย จิตสบาย ใครจะชม ใครจะสรรเสริญ เราก็เฉย ไม่รู้สึก คำว่าไม่รู้สึกลอยไป ตามถ้อยคำของบุคคลนั้น จิตใจมีความเป็นปกติไม่ขึ้นไม่ลง ไม่หวั่นไหว อย่างนี้มันเป็นอาหารของความสุข

    รวมคำว่าพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข นี่การบำเพ็ญบุญในพุทธศาสนา เราทำกันเพื่อความสุข คือ มีสุขทั้งที่มีชีวิตอยู่ ตายไปเกิดที่ไหนก็ตามมันก็มีความสุข ฉะนั้น พรหมวิหาร ๔ นี้จึงชื่อว่า เป็นอาหารใหญ่สำหรับใจในด้านของความดี


    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ย่อมมีศีลบริสุทธิ์

    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ย่อมมีฌานสมาบัติตั้งมั่น

    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

    เมื่อพูดเพียงเท่านี้ หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทที่มีกำลังใจใช้ปัญญา ก็จะได้ทราบชัดว่าพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นพื้นฐานแห่งความเป็นพระอริยเจ้าแน่นอน แต่ว่าก่อนที่จะพูดอะไรอย่างอื่น ก็ขอเตือนพุทธบริษัทไว้ก่อนว่า การเจริญสมาธิ คำว่า สมาธิ ก็คือ การตั้งใจ จงตั้งใจไว้ในเขตของความเป็นพระอริยเจ้า อย่าตั้งใจส่งเดช มันจะเสียเวลา ขาดทุนเปล่า การตั้งใจไว้ในเขตความเป็นพระอริยเจ้า ก็คือ

    ๑. คิดไว้เสมอว่าชีวิตของเราจะต้องตาย และความตายไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีวันเวลาแน่นอนคนเกิดก่อนตายทีหลัง คนเกิดที่หลังตายก่อน ก็ถมไป คนเขาเกิดก่อนเราเขาตายก่อนเราก็ถมไป จงคิดว่าความตายจะมีแก่เราในวันนี้ แล้วก็พยายามสั่งสมความดี นั่นคือ ใช้ปัญญาพิจารณา ความดีของ พระพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระอริยสงฆ์ พิจารณาดูว่าควรเคารพนับถือไหม แล้วก็ต่อไปตั้งใจทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

    สำหรับศีล ๕ นี่เป็นศีลของพระโสดาบันกับสกิทาคามี สำหรับพระเณรต้องทรงศีลตามฐานะของตนให้บริสุทธิ์ แล้วก็มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ จุดที่เราจะรู้ว่าเราเป็นพระโสดาบันหรือไม่ ก็อยู่ที่กำลังใจทรงศีลหรือเปล่า ถ้าศีล ๕ ของเราไม่บกพร่อง ใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ท่านเป็นพระโสดาบัน

    ทีนี้การทรงสมาธิจิตนี่จะต้องทรงไว้ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าไปนั่งภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ อิติปิ โส ภควา ส่งเดช อย่างนั้นน่ะเป็นของดีไม่ใช่ไม่ดี แต่ว่าดีไม่มาก หมายความว่าดีอย่างนั้น เราก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด จงเอาจิตจับจุดที่เราจะเกาะเข้าถึงพระนิพพานไว้

    อันดับแรกอย่างน้อยที่สุดในชีวิตนี้ก็ควรจะได้ พระโสดาบัน ถ้าจิตใจของบรรดาท่านทั้งหลายคิดว่า การทรงความเป็นพระโสดาบันตามที่กล่าวมาแล้วเมื่อกี้นี้มีอยู่ในกำลังใจของท่าน หลังจากนั้นก็ก้าวไปจับจุดอรหันต์เลย คือ มีกำลังใจคิดว่าเราจะตัด กามฉันทะ ความพอใจในเพศ ด้วย อสุภกรรมฐาน กับ กายคตานุสสติ เราจะตัด ความโกรธด้วยอำนาจพรหมวิหาร เราจะไม่ยึดถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลก คือ ร่างกายของเรา ร่างกายของชาวบ้าน และก็วัตถุธาตุต่าง ๆ ว่าเราเป็นของเรา

    เมื่อยังทรงชีวิตอยู่เราต้องหาเราต้องใช้ ตายไปแล้วก็เลิกกัน ไม่ต้องการอะไรกับมัน ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งใจไว้อย่างนี้ จึงจะสมกับเจตนาที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งใจบำเพ็ญบารมีมาเพื่อสอนเรา ต้องใช้เวลาถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัป

    สำหรับวันนี้ก็จะได้พูดถึง พรหมวิหาร ๔ ความจริงสิ่งนี้เป็นของไม่ยาก พรหมวิหาร ๔ หรือว่าอะไรก็คามความจริงจิตของเรามันคบกับความเลวมามาก ที่ว่าคบกับความเลวมามากน่ะ มันไม่ได้หมายความว่าจะคบแต่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว เราเกิดกันมานับชาติไม่ถ้วน ถ้าจะใช้เวลาเป็นอสงไขยกัป มันก็นับอสงไขยกัปไม่ได้แน่นอน เพราะเวลานี้การเกิดการตายเราผ่านมาแล้วทุกระยะ มันไม่มีการสิ้นสุด เกิดเป็นมนุษย์มันก็เป็นทุกข์ เกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิมันก็เป็นทุกข์ เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ยังมีอารมณ์ไม่หมดทุกข์ เพราะว่าถ้าสิ้นบุญวาสนาบารมีก็จะต้องกลับมาเกิดเป็นคน หรือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน วนไปเวียนมา อย่างนี้มันก็ไม่มีอาการหมดทุกข์ นี่เราทุกข์กันมาหาที่สิ้นสุดมิได้แล้ว เวลานี้มาพบศาสนาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ทรงชี้ทางให้เราหมดทุกข์ คือ ก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน แล้วก็เริ่มต้นอย่าลืม อย่าทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นการควบคุมอารมณ์ให้ทรงตัว แล้วก็อย่าลืมความตาย อย่าลืมเคารพในคุณพระรัตนตรัย อย่าลืมทรงศีลบริสุทธิ์ อย่าลืมนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ว่า เราจะตายคราวนี้เราจะไปนิพพาน ใครเขาจะหาว่าเราบ้าบอก็ช่าง การบ้าเพื่อแสวงหาความดีก็เป็นการสมควร ถ้าบ้าเพื่อแสวงหาความชั่วไม่ควรบ้า ถ้าจะบ้าไปนิพพาน นี่พยายามบ้าให้มาก มันจะได้มีความสุข

    ทีนี้ดินแดนแห่งพระนิพพานที่เราจะไป จุดสำคัญจุดใหญ่อยู่ที่พรหมวิหาร ๔ ต้องฝืนกันหน่อยนะสำหรับกำลังใจ เพราะใจเรามันชั่วมานาน ชั่วเพราะอำนาจกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลธรรม

    กิเลส คือ อารมณ์วุ่นวายที่ไม่ตั้งอยู่ในความดี

    ตัณหา มีความทะยานอยากแบบโง่ ๆ อยากลักอยากขโมยเขา อยากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยากแย่งคนรัก อยากโกหกมดเท็จ อยากดื่มสุราเมรัย ตะเกียกตะกายหาที่สุดมิได้ด้วยความโลภ นี่มันอยากเลว ตัณหามีกิเลสเข้ามาช่วยมันก็เลยอยากแบบนั้น

    อุปาทาน ยึดมั่นด้วยกำลังใจว่าทำอย่างนั้นเป็นของดี จึงเกิดการกระทำความชั่วขึ้น ที่เขาเรียกว่า อกุศลธรรม คือ ทำด้วยความไม่ฉลาด เราจึงมีความลำบาก มาถึงวันนี้

    ต่อไปนี้เราตัดมันทิ้งเสียเถอะ อานาปานุสสติกรรม ฐานพยายามทรงไว้ ให้จิตอยู่ในขอบเขตที่เราต้องการ มาพิจารณาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร นั่นก็คือ เมตตา ความรัก ในพรหมวิหารข้อที่หนึ่ง ความจริงเป็นของง่ายนะ แต่ว่าการแผ่เมตตา ความรัก เรามีความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอว่าเราไม่เป็นศัตรูกับใครในโลกนี้ โลกหน้า โลกผี โลกเทวดา โลกนรก โลกสวรรค์ โลกพรหม เราไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งหมด คิดเสียว่าอะไรก็ตามที่มันเกิดขึ้นกับเราทั้ง ๆ ที่เราทำความดี แต่ว่าผลสนอง ให้กับเราเป็นปัจจัยแห่งความเร่าร้อน นั่นถือว่าเราใช้หนี้กรรมเขาไป ชาตินี้เราไม่ได้ทำเขา ชาติก่อนเราคงทำเขา เมื่อเขาจะมารับผลของเขาคืน ก็คืนให้เขาไปตาม อัธยาศัย ใครเขาจะด่าเราก็เฉย ... ยิ้ม ... ว่าเราได้มีโอกาสใช้หนี้แล้ว ใครเขาจะนินทาเราก็ยิ้ม ใครเขาจะกลั่นแกล้งก็ช่าง ตั้งหน้าตั้งตาทำความดี และนอกจากนั้นก็มีจิตน้อมไปในเมตตา ว่า โอหนอ ... คนทั้งหลายเหล่านี้ ทำไมจึงได้โง่อย่างนี้ ถ้าเขาด่าเราแล้วเราก็ด่าตอบ เขาจะมีความสุขหรือความทุกข์ เราเป็นมิตรกับเขา เขามีความสุข เพราะเรากับเขารักกัน แต่ว่าถ้าเขาประกาศตนเป็นศัตรูกับเรา เราก็ไม่ประกาศตนเป็นศัตรู แต่ว่าตัวเขาเหล่านั้นเขาจะมีความสุขไหม เขาก็มีความทุกข์ เพราะว่าเขาคิดว่าเราเป็นศัตรูกับเขา เขาจะต้องระแวงอันตรายที่เราจะทำกับเขา นั่นแสดงว่าเขาสร้างความทุกข์ของเขาเอง คนเลวกินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะว่าการประกาศตนเป็นศัตรูกับคนอื่น บางทีคนอื่นยังไม่คิดว่าจะทำอันตรายเขา แต่เขาคิด เขาคิดว่าคนที่เขาด่าไว้ เขาว่าไว้ เขานินทาไว้ เขากลั่นแกล้งไว้ จะทำอันตรายกับเขา คนประเภทนี้ ใจของเขาไม่มีความสุข ใจเรามีความรู้สึกอย่างไร เราไม่เกลียด เราถือว่าเขาเป็นทาสของความชั่ว ความชั่วเป็นนายของเขา คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม แทนที่เราจะเกลียด เราก็รัก เมตตา คือความรักมีอยู่ ในด้านของกรุณา สงสารเขาว่าเขากับเราเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน เขาเกลียดทุกข์รักสุข แต่ว่าทำไมเขาจึงทำเหตุของความทุกข์ ก็เพราะว่าเขาเป็นคนโง่ หรือดีไม่ดีเขาก็เป็นคนบ้า โบราณท่านบอกว่า อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา ไม่ถือคนบ้า เราไม่ว่าคนเมา เราไม่โกรธเขาถึงแม้ว่าเขาจะโกรธ เราก็ยังมีความเมตตาปรานีเขา แต่ทว่าจงระวังในขณะใดที่เราไม่สามารถจะสงเคราะห์ให้เขาเข้าใจในความดีได้ ตอนนั้นเราต้องงดเว้นอย่าไปแนะนำ อย่าไปสรรเสริญ อย่าไปให้การช่วยเหลือ เพราะว่าอารมณ์ของเขาเศร้าหมอง ถ้าเราไปทำอย่างนั้นเขาจะคลั่งมาก เขาจะหาว่าเราประชดประชัน ตอนนี้ที่โอกาสที่เรายังช่วยเขาไม่ได้ เราก็วางตัวเฉยด้วยอำนาจของอุเบกขา ใจเราก็เป็นสุข ถ้าเขาด่ามา เขาแกล้งมาใจเราไม่โกรธ เราก็ควรจะภูมิใจว่าคุณธรรมสำคัญที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงให้กับเรา เราทรงได้แล้ว นั่นคือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร และก็อุเบกขา ตัวความวางเฉย นี่ด้านของอารมณ์

    ทีนี้สำหรับตัว กรุณา นี่ก็เหมือนกัน เมตตาตัวความรักที่เรามี แต่กรุณานี่ถ้าดีไม่ดีมันก็เกินขอบเขต เราจะสงสารเราจะเกื้อกูลเขา นี่ต้องดูให้เป็น การสมควร ไม่ใช่เกินพอดี ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ พระเทวทัต รับฟังคำสั่งสอนของพระองค์ พระองค์ก็ทรงให้ การแนะนำสั่งสอนด้วยความเมตตาปรานีอย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อพระเทวทัตเกิดความหยิ่งยะโส คิดทรยศจะกบฏต่อพระองค์ ตอนนี้พระพุทธเจ้าหยุดสอน เพราะว่าถ้าขืนสอนขืนสงเคราะห์ พระเทวทัตก็ไม่รับ พระองค์ก็ทรงอุเบกขาวางเฉยไว้ นี่ตัวกรุณานี่ต้องวางใจให้มันเหมาะสม คือ ความสงสารมีอยู่แต่โอกาสไม่สมควรนี่เราต้องเว้น

    ข้อที่ ๓. มุทิตา การไม่อิจฉาริษยา เขาเป็นของดี จิตใจเราเป็นสุข เห็นใครเขาได้ดีก็ไปนั่งพิจารณาว่าฐานะเขาเสมอกับเรา ในขั้นเดิมมีความรู้เช่นเดียวกัน มีร่างกาย มีอาการ ๓๒ เหมือนกัน แต่ทำไมกิจการงานเขาจึงก้าวหน้าไปไกล เขาดีมาได้เพราะอะไร เขาดีเพราะความขยันหมั่นเพียร

    ฉันทะ รักในงานนั้น

    วิริยะ มีความเพียร

    จิตตะ มีจิตใจจดจ่ออยู่ในการทำงาน

    วิมังสา ก่อนจะทำ ก่อนจะพูด ก็ใช้ปัญญาพิจารณาก่อน

    เมื่อเขาทรงคุณธรรม ๔ ประการอย่างนี้ ความดีพุ่งไปข้างหน้าของเรา เราก็ไม่อิจฉาเขา เราก็มานั่งมองว่า อ๋อ ... เขาทำแบบนี้หรือ ในเมื่อเขาดีได้เราก็ดีได้ เขาเกิดมาเป็นคน มีอวัยวะมีอาการ ๓๒ เราก็มีเท่าเขา มีมือมีเท้าเหมือนกัน มีจิตมีใจเหมือนกัน ถ้าเขาดีได้ด้วยประการดังนี้ เราก็จะดีบ้าง ไม่ใช่อิจฉาเขา หรือไม่ใช่แข่งกับเขา เห็นว่าผลของความดีเป็นปัจจัยของความสุข เราก็ทำตามเขา นี่เราว่ากันถึงการฝึกในเบื้องต้น แล้วความเมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงสอนว่า

    ในอันดับแรก อย่าเพิ่งแผ่เมตตาไปในบุคคลที่เราคิดว่าเป็นศัตรู ต้องยับยั้งไว้ก่อน แผ่เมตตา คือความรัก กรุณา ความสงสาร ไปใน บุคคลกลุ่มเดียวกันที่มีกำลังใจเสมอกัน เป็นกลุ่มคนที่เรารัก และกลุ่มคนที่เราไม่เกลียด ที่คิดว่าไม่เป็นศัตรู เพราะว่าอันดับแรก ถ้ามุ่งหน้าไปหาศัตรูละก็จิตมันจะหวั่นไหว จนเมื่อกำลังใจของเรามั่นคงดีแล้ว

    ต่อไปเราก็มองดูองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไม่เลือกบุคคลใด เพราะกำลังใจเข้มแข็ง ความจริงพระเทวทัตเป็น ศัตรูของพระองค์มานับแสนกัป หรือนับอสงไขยกัป พระพุทธเจ้าก็รู้ แต่ตอนที่พระเทวทัตเข้ามาขอบวชกับองค์สมเด็จพระบรมครู พระองค์ก็ไม่ทรงถือโกรธ กลับให้การอุปสมบท สอนให้ได้อภิญญาสมาบัติ

    นี่น้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ เห็นศัตรูเป็นมิตร มีจิตประกอบไปด้วยความเมตตาปรานี สมเด็จพระชินสีห์ไม่ได้หวงไม่ได้ห้าม ไม่ได้กลั่นไม่ได้แกล้งเขา พระพุทธเจ้าทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น ตอนนี้นะต้องขอให้ใจมันสูงเสียก่อนนะ กำลังใจเข้มแข็งเสียก่อน

    ตอนนี้เราก็มาว่ากันถึงผลของพรหมวิหาร ๔ ถ้าความรักของเรามันทรงตัว ทรงจิตใจเห็นหน้าใครที่ไหนก็ตาม เราก็รักเหมือนกับรักตัวเรา จะเป็นชาติ เดียวกัน ภาษาเดียวกัน คนในชาติ ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างประเทศ ต่างลัทธิ ต่างศาสนา ต่างอะไรทั้งหมดก็ช่าง พอมองเห็นหน้าก็คิดว่าโอหนอ ... เขานี่เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย สำหรับเรา เรากับเขามีสภาวะความต้องการเหมือนกัน คือเกลียดทุกข์ แล้วก็รักสุข จิตเราก็มีความเมตตาปรานี ไม่คิดจะเป็นศัตรูกับเขา และนอกจากนั้น น้ำใจของเราก็คิดไว้เสมอว่าถ้าหากว่าเขามีทุกข์เมือไร ถ้าไม่เกินวิสัยสำหรับเรา เราจะสงเคราะห์ทันที นี่น้ำใจของเราเป็นอย่างนี้ แต่ว่าการสงเคราะห์ต้องดูว่า ควรหรือไม่ควร อย่าดีเกินไป เอาดีแค่พระพุทธเจ้า ใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อน อย่างกับคนที่เราให้การสงเคราะห์อนุเคราะห์ พึ่งพิงอาศัยในสถานที่ใกล้เคียง อาศัยมีอาชีพจากเราเป็นสำคัญ แต่ว่าเขาผู้นั้นยังปะกาศตนเป็นศัตรู อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมครูบอกว่า อย่าเพิ่งเมตตาเขา แต่ว่าเราก็ไม่ประกาศตนเป็นศัตรู จิตสงสารแต่ยังเกื้อกูลอะไรไม่ได้ เพราะว่ากำลังใจของเขายังเลว เขายังไม่ยอมรับ เหมือนกับฝนที่ตกลงมา แต่ทว่าชาวบ้านนำตะกร้าไปรองน้ำฝน ฝนจะเมตตาปรานี กับเขาเพียงใดก็ตามที ตะกร้ามันรับน้ำฝนไม่อยู่ นี่องค์สมเด็จพระบรมครูทรงคิดอย่างนี้

    ทีนี้ถ้าหากว่าความรัก ความเมตตา ความกรุณา คือความสงสาร เมตตา ได้แก่ ความรัก

    กรุณา ได้แก่ ความสงสาร

    มุทิตา ได้แก่ จิตอ่อนโยน

    อุเบกขา ได้แก่ ตัววางเฉย

    ๔ ประการนี้ ถ้าทรงอยู่ในจิต สิ่งที่จะเกิดกับเราก็คือ ๑. ความเป็นพระโสดาบัน ๒. สกิทาคามี ๓. อนาคามีจะมาอยู่กับเราได้ง่าย ๆ ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่า เมตตากับกรุณาทั้ง ๒ ประการ ถ้ามีประจำใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน

    เรารักเราสงสาร เราฆ่าใครได้ไหม

    เรารักเราสงสาร เราลักขโมยเขาได้ไหม

    เรารักเราสงสาร เราแย่งคนรักเขาได้ไหม

    เรารักเราสงสาร เราจะโกหกมดเท็จเขาได้ไหม

    ถ้าเรารักเราสงสารกับคนที่เราอยู่ เราจะทำลายสติสัมปชัญญะของเราให้ฟันเฟือน โดยการดื่มน้ำเมาได้หรือเปล่า ในที่สุด ๕ ประการนี้เราทำไม่ได้ เพราะอะไร เพราะว่าเรารักเราสงสาร คนที่เรารัก สัตว์ที่เรารัก ที่เราสงสาร เราฆ่าเราก็ฆ่าไม่ได้ เราตั้งใจจะทรมานทำร้าย เราก็ทำไม่ได้ เรารักเราสงสาร เราขโมยก็ไม่ได้ ขโมยยังไงก็รักเขานี่ สงสารเขานี่ ขโมยมาเขาก็อด เราก็ทำไม่ได้ เรารักเราสงสารเขา เขารักกันอยู่ เราจะไปแย่งคนรักเขาได้ยังไง รักสงสารแล้วต้องการให้เขามีความสุข ถ้าเราไปโกหกเขา เขาก็มีความทุกข์ เราทำไม่ได้ เป็นอันว่า การดื่มสุราเมรัยใช้ปัจจัยไม่เกิดประโยชน์เราก็ไม่ทำ

    เป็นอันว่าเมตตากับกรุณาทั้ง ๒ ประการ เป็นปัจจัยให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เป็นผู้ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์ ถ้ากำลังใจสูงก็ทรงศีล ๘ บริสุทธิ์ เมื่อศีล ๕ บริสุทธิ์ไม่บกพร่อง จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรื่องความตายเราไม่ต้องพูดกันก็ได้ เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ เพราะคนรู้ตัวว่าจะตายอาศัยความดีของศีล เป็นสำคัญ ถ้าจิตของท่านก้าวไปอีกนิดหนึ่งคิดว่า การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเป็นปัจจัยของความทุกข์ ความสุขจริง ๆ ก็คือนิพพาน จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพียงเท่านี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสว่า ท่านเป็พระโสดา หรือว่าสกิทาคามี เห็นหรือยังบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน พรหมวิหาร ๔ โผล่ขึ้นมาแผล็บเดียวก็ปรากฏก้าวฉับเข้าไปเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาหรือสกิทาคา
     
  19. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจ ให้สะอาด
    มี "พระนิพพานเป็นอารมณ์"

    จงวางภาระ ว่าเรา ของเรา เสียให้สิ้น
    ด้วย ไม่มีอะไรเลย เป็นของเรา
    แม้แต่ร่างกาย ก็มีเจ้าของ
    คือ "มรณภัย" มันมาทวงคืน

    ให้คิดว่า เราไม่มีอะไรเป็นของเรา
    เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก
    เรามี นิพพานเป็นที่ไป


    พระธรรมคำสอน…หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
     
  20. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    การปฏิบัติธรรม

    อย่าอยากได้ อยากเห็น อยากเป็นใด ๆ เลย
    ให้รู้มันอยู่อย่างเดียว มี...อะไรก็ช่าง
    รู้อยู่อย่างเดียว ถ้าอยาก ก็ไม่ไปไหน
    เป็นสมาธิอยู่ ก็หลุดจากสมาธิ
    เราปฏิบัติเพื่อความปล่อยวาง
    เพื่อละความยึดมั่นต่าง ๆ
    เพื่อละความยินดียินร้าย
    เราเป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้บังคับให้มันเป็น

    เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต ดูความคิด ความนึกคิดของตัวตลอด
    ไม่ยอมให้หลุดจากจิต แล้วเราจะเข้าใจสังขาร
    อ๋อ มันเป็นอย่างงี้นี่เอง มันปรุงให้เรา ดีใจ เสียใจ
    ร้องไห้ หัวเราะ โศกเศร้า มันปรุงเราได้


    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
     

แชร์หน้านี้

Loading...