ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จักรพรรดิหว่านลี่

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

    <!-- start content --><DL><DD>สำหรับความหมายอื่น ดูที่ จักรพรรดิเสินจง

    </DD></DL>[​IMG]



    [​IMG]
    มงกุฎทองคำของจักรพรรดิหว่านลี่


    สมเด็จพระจักรพรรดิหว่านลี่ (4 กันยายน ค.ศ. 1563 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1620) ทรงประสูติเมื่อวันที่4 กันยายน ค.ศ. 1563 (พ.ศ. 2106) โดยทรงเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิหลงชิ่ง
    เมื่อพระราชบิดาสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1572 (พ.ศ. 2115) องค์ชายจูอี้จุน ขณะนั้นพระชนม์เพียง 9 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิหว่านลี่
    ในรัชกาลของพระองค์ได้มีบาทหลวงคณะเยซูอิตเข้ามาที่ต้าหมิง เพื่อเผยแผ่ศาสนา ในรัชกาลของพระองค์ ตรงกับรัชกาลพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์โชซอน ได้ส่งทูตเข้ามาขอกำลังทหารไปช่วยรบกับญี่ปุ่น
    จักรพรรดิหว่านลี่ ทรงสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1620 (พ.ศ. 2163) หลังจากครองราชย์ยาวนานถึง 48 ปี พระชนม์ได้ 57 พรรษา องค์ชายจูฉางลั่ว พระราชโอรสองค์โตที่เป็นรัชทายาทจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิไท่ชาง

    [แก้] พระบรมวงศานุวงศ์

    <TABLE class=wikitable style="BORDER-RIGHT: #aaa 1px solid; BORDER-TOP: #aaa 1px solid; MARGIN-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: #aaa 1px solid; WIDTH: 100%; BORDER-BOTTOM: #aaa 1px solid" cellSpacing=0><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 25%; TEXT-ALIGN: center" vAlign=center>จักรพรรดิหลงชิ่ง</TD><TD style="WIDTH: 5%; COLOR: #666; TEXT-ALIGN: center"></TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 1em; WIDTH: 40%; PADDING-TOP: 1em; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>จักรพรรดิจีน
    ราชวงศ์หมิง
    (พ.ศ. 2115 - พ.ศ. 2163)
    </TD><TD style="WIDTH: 5%; COLOR: #666; TEXT-ALIGN: center"></TD><TD style="WIDTH: 25%; TEXT-ALIGN: center" vAlign=center>จักรพรรดิไท่ชาง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรียกพระองค์ว่าจักรพรรดิเสินจง เหมือนๆกัน จากคำว่า เซิ๋นจง (神宗, Shénzōng) ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    บังเอิญจังค่ะ วันนี้วันพระราชสมภพท่านด้วย ครบ 446 ปี ขอพระองค์ทรงพระสำราญในสรวงสวรรค์

    ทางสายธาตุมีความรู้สึกว่าพูดถึงใคร แสดงว่าเขามาให้ระลึกถึง พระองค์ท่านทรงมาให้ระลึกถึงในวันพระราชสมภพของพระองค์พอดี
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    ศิลปะการถักทองคล้ายๆกับที่ถักทองบนพระมาลาทองคำองค์นี้เลยค่ะ



    [​IMG]

    แต่ของพระจักรพรรดิสวยกว่าเป็นรูปเป็นทรงมากกว่า พูดง่ายๆ สวยกว่าเนอะคะ
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พี่ที่นับถือกัน เป็นคนสุรินทร์ พี่เขาเข้ามาอ่านแล้วบอกว่าได้ความรู้ดีเหมือนกันสำหรับกระทู้นี้

    ทางสายธาตุก็เกิดเห็นประโยชน์ว่านำบางเสี้ยวของประวัติศาสตร์มาลงไว้ให้อ่านกันก็ดีเหมือนกัน คนอ่านได้กำไรด้วยนะคะ

    ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ราชสำนักไทยส่งราชสาส์นที่เขียนจารบนแผ่นทองคำกับสิ่งของไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ตรงกับแผ่นดินพระจักรพรรดิองค์ที่ 10

    ไม่มีใครอ่านแผ่นทองคำจารจารึกนั้นออกสักคนเดียว จึงต้องขอให้ทูตไทยสักคนหนึ่งหรือสองคน เป็นครูสอนภาษาไทย กรุงจีนมีสอนภาษาไทยมานานแล้วนะคะเนี่ย
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แผ่นดินเจ่งเต็กปีที่ 10 อิดหาย (ตรงปีกุน จุลศักราช 877 พ.ศ. 2058) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊ก นำราชสาส์นซึ่งเขียนอักษรในแผ่นทองคำ กับสิ่งของในพื้นประเทศมาถวาย

    ขณะนั้น ในสถานรับราชทูตนานาประเทศไม่มีเจ้าพนักงานแปลหนังสือเสี้ยมหลอก๊ก อุปราชชื่อเลี่ยงจู (อุปราชเลี่ยงจู คนนี้มีในหนังสือเจ่งเต็กอิวกังหนำ เรียกว่า เนี้ยถุ)

    ทูลขอเลือกเอาชาวเสี้ยมหลอก๊กที่มาด้วยราชทูตไว้สักคนหนึ่งหรือสองคน เพื่อจะให้เป็นครูในโรงเรียนสอนหนังสือเสี้ยมหลอก๊ก พระเจ้าบู๊จงฮองเต้ก็ทรงอนุญาต

    แผ่นดินเกียเจ๋งปีที่ 1 หยิมโหง็ว (ตรงปีมะเมีย จุลศักราช 884 พ.ศ. 2065 เกียเจ๋งนั้นนามแผ่นดินพระเจ้าสี่จงฮองเต้กษัตริย์ที่ 11 วงศ์เหม็ง อยู่ในรัชกาล 45 ปี) เรือพาณิชเสี้ยมหลอก๊กกับเรือพาณิชเจียมเสียก๊กมาจอดอยู่ในแม่น้ำเมืองกวางตง ข้าหลวงกรมเจ้าท่าชื่อ งิวอ์ย้ง ปล่อยให้บ่าวไพร่ลอบซื้อสิ่งของที่ยังไม่เสียภาษี ครั้นพระเจ้าสี่จงฮองเต้ทรงทราบ ก็รับสั่งให้เจ้าพนักงานประหารชีวิต งิวอ์ย้ง ตามกฎหมาย

    แผ่นดิน เกียเจ๋ง ปีที่ 5 เปี๋ยชุด (ตรงปีจอ จุลศักราช 888 พ.ศ. 2069) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊ก มาเจริญทางพระราชไมตรี

    คัดลอกจาก ... จดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

    แผ่นดินเกียเจ๋งปีที่ 32 กุ่ยทิ้ว (ตรงปีฉลู จุลศักราช 915 พ.ศ. 2096) เสี้ยมหลอก๊กอ๋อง ให้ราชทูตนำช้างเผือกกับสิ่งของในพื้นประเทศจะมาถวาย ครั้นมาถึงกลางทางช้างเผือกนั้นตายเสีย ราชทูตก็เอาเพชรพลอยประดับงาช้างเผือก ใส่ถาดทองคำพร้อมกับหางช้างเผือกมาถวาย พระเจ้าสี่จงฮองเต้ก็ยินดี ทรงเห็นว่ามีความตั้งใจจริง จึงรับสั่งให้เจ้าพนักงานเอาสิ่งของตอบแทนให้เป็นอันมาก

    แผ่นดินเกียเจ๋งปีที่ 37 โบ้วโหง็ว (ตรงปีมะเมีย จุลศักราช 920 พ.ศ. 2101) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินเกียเจ๋งปีที่ 38 กีบี้ (ตรงปีมะแม จุลศักราช 921 พ.ศ. 2102) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินเกียเจ๋งปีที่ 39 แกซิน (ตรงปีวอก จุลศักราช 922 พ.ศ. 2103) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊ก มาเจริญทางพระราชไมตรี

    ในระหว่างแผ่นดิน โล่งเข่ง (โล่งเข่งนั้นนามแผ่นดินพระเจ้ามกจงฮองเต้กษัตริย์ที่ 12 วงศ์เหม็ง พระเจ้ามกจงฮองเต้ครองราชสมบัติปีเตงเป๊า ตรงปีเถาะ จุลศักราช 929 พ.ศ. 2110 อยู่ในรัชกาล 6 ปี) ชาวตงมั่งงิวก๊ก (มอญ) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันกับเสี้ยมหลอก๊ก มาขอบุตรีเสี้ยมหลอก๊กอ๋อง ๆ ไม่ให้ (คงหมายถึง พระเทพกษัตรีย์ ...ทางสายธาตุ) ชาวตงมั่งงิวก๊กโกรธยกกองทัพมาตีเสี้ยมหลอก๊กแตก (เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก...ทศธ) ก๊กอ๋องผูกพระศอสิ้นพระชนม์ (เรื่องนี้ไม่มีปรากฏในหลักฐานของสยาม...ทสธ) สี่จื๊อ (บุตรที่จะได้รับราชสมบัติ คือ พระราเมศวร ถูกชาวตงมั่งงิวก๊กจับเอาไป และเก็บริบเอาดวงตราซึ่งเทียนเฉียว (เมืองสวรรค์ หมายความว่าประเทศจีน) ให้ไปด้วย

    ครั้นฉื่อจื๊อ (บุตรที่ 2 คือ สมเด็จพระมหินทราธิราช) ของเสี้ยมหลอก๊กอ๋องขึ้นครองราชสมบัติ ก็ให้ราชทูตนำสิ่งของในพื้นประเทศมาถวาย เมื่อแผ่นดินบ้วนและปีที่ 1 กุ่ยอิ้ว (ตรงปีเถาะ จุลศักราช 935 บ้วนและนั้นนามแผ่นดินพระเจ้าสินจงฮองเต้กษัตริย์ที่ 13 วงศ์เหม็ง อยู่ในรัชกาล 47 ปี) มีราชสาส์นมาขอความยกย่องกับดวงตรา พระเจ้าสินจงฮ่องเต้ก็ประทานให้

    ตรงบุตรที่ 2 คือ สมเด็จพระมหินทราธิราชนั้น ตรงจดหมายเหตุจีนเห็นจะผิด สำคัญสมเด็จพระมหาธรรมราชาว่าเป็นพระองค์เดียวกับสมเด็จพระมหินทราธิราช

    จุลศักราช 935 ตรงกับปี พ.ศ. 2116 แต่เป็นปีที่ 1 ในรัชสมัยพระเจ้าสินจง อาจจะต้องเป็นจุลศักราช 934 ตรงกับปี พ.ศ. 2115 มากกว่า และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระชนมายุ 17 พรรษา ทรงได้ช่วยงานพระราชบิดาในเรื่องงานต่างประเทศบ้างเป็นแน่

    คัดลอกจาก ... จดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตรงแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร

    แต่นั้นต่อไป ชาวตงมั่งงิวก๊ก (มอญ) ยกกองทัพมาย่ำยีเสมอ สืออ๋อง (เจ้าองค์ที่สืบสมบัติ) ก็มีความมุ่งหมายจะแก้แค้น ไม่ช้านานพวกข้าศึกยกกองทัพมาอีก สืออ๋องก็ตระเตรียมพลทหารยกออกต่อสู้โดยความสามารถ ตีพวกข้าศึกพ่ายแพ้ ฆ่าลูกตงมั่งงิวก๊กอ๋องตาย (คือที่สมเด็จพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราช) พวกข้าศึกก็แตกหนีกลับไปเสี้ยมหลอก๊กมีอำนานมาแต่ครั้งนั้น ก็เลยยกกองทัพไปตีจินละก๊ก (เมืองละแวก)แตก จินละก๊กก็ยอมเป็นเมืองขึ้นตั้งแต่นั้นต่อไป ชาวเสี้ยมหลอก๊กยกกองทัพไปเที่ยวทำสงครามทุกๆ ปี จนมีอำนาจแผ่ไพศาลไปตลอดถึงประเทศที่ใกล้เคียง

    แผ่นดินบ้วนและปีที่ 6 โบ้วอิ๋น (ตรงปีขาล จุลศักราช 940 พ.ศ. 2121) เสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูตนำสิ่งของในพื้นประเทศมาถวาย

    แผ่นดินบ้วนและปีที่ 20 หยิมสิน (ตรงปีมะโรง จุลศักราช 954 พ.ศ. 2135) ชาวแยะป๋าน (ญี่ปุ่น) ยกกองทัพไปตีเฉียวเซียน (เกาหลี) ในปีนั้นเสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูตนำสิ่งของในพื้นประเทศมาถวาย กับมีราชสาส์นมาว่า จะขอยกกองทัพลอบไปตีแยะป๋านก๊ก (ประเทศญี่ปุ่น) ตัดกำลัง ตอนหลังชาวแยะป๋านเสีย พระเจ้าสินจงฮองเต้รับสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่หารือกัน ขณะนั้นจงคี (ขุนนางในที่ว่าการอุปราช) ชื่อ เซกเชงเห็นตามข้อความในราชสาส์นที่มีมา แต่เลี้ยงกวางจงต๊ก (เทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการสองมณฑล คือ มณฑลกวางตงกับมณฑลกวางซี) ชื่อ เซียวเง่น มีหนังสือบอกมายังเมืองหลวงว่า ขออย่าได้ยอมให้ชาวเสี้ยมหลอก๊กยกกองทัพไปเป็นอันขาด พระเจ้าสินจงฮองเต้ทรงเห็นด้วยก็ไม่ยอม

    หมายเหตุท้ายหน้า...ความตรงนี้ที่ปรากฎว่า สมเด็จพระนเรศวรรับจะยกกองทัพไทยไปตีเมืองญี่ปุ่นช่วยจีน ประหลาดหนักหนา

    หลังจากเสร็จศึกใหญ่คือ สงครามยุทธหัตถี แล้วนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็คงทรงต้องการปราบโจรภัย และราชภัยจากประเทศเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นโจรภัยจากสลัดญี่ปุ่น ซึ่งสมเด็จฯท่านจะไปปราบถึงแผ่นดินญี่ปุ่น อันเป็นการตัดกำลังตอนหลังของพวกสลัดญี่ปุ่นเสียให้สิ้น แต่ก็ไม่ได้รับการยินยอมจากพระจักรพรรดิสินจง จึงมิได้ไป

    และต้องการจะปราบพระยาละแวกที่ชอบเข้ามาโจมตีไทยเมื่อไทยติดศึกใหญ่ๆเสมอๆ

    คัดลอกจาก ... จดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตรงแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ

    แผ่นดินบ้วนและปีที่ 39 ซินหาย (ตรงปีกุน จุลศักราช 973 พ.ศ. 2154) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินบ้วนและปีที่ 45 เตงจี๋ (ตรงปีมะเส็ง จุลศักราช 979 พ.ศ. 2160) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินบ้วนและปีที่ 47 กิ๊บี้ (ตรงปีมะแม จุลศักราช 981 พ.ศ. 2162)ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    คิดว่าจดหมายเหตุจีนอาจจะบันทึกรัชสมัยผิดไป ส่วนนี้คงจะตรงกับทั้งแผ่นดิน สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ...ทางสายธาตุ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตรงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

    แผ่นดินเทียนคี้ปีที่ 3 กุ่ยหาย (ตรงปีกุน จุลศักราช 985 พ.ศ. 2166 เทียนคี้นั้นนามแผ่นดินพระเจ้าฮีจงฮองเต้กษัตริย์ที่ 15 วงศ์เหม็ง อยู่ในรัชกาล 7 ปี) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    คัดลอกจาก ... จดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตรงในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    แผ่นดินชงเจงปีที่ 7 กะซุด (ตรงปีจอ จุลศักราช 966 พ.ศ. 2177 ชงเจงนั้นนามแผ่นดินพระเจ้าจ่างเลียดฮองเต้กษัตริย์ที่ 16 วงศ์เหม็ง อยู่ในรัชกาล 17 ปี วงศ์เหม็งลำดับ 16 กษัตริย์ จำนวนปีในรัชกาล 277 ปี ต่อวงศ์เหม็งไปนั้น คือวงศ์เชงในปัจจุบันนี้)...(ปัจจุบันนี้คือ พระเจนจีนอักษร (สุดใจ ตัณฑากาศ) เจ้าหน้าที่ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้แปลจากหนังสือจีน 5 เรื่อง ออกเป็นภาษาไทย โดยแปลเฉพาะตอนที่กล่าวถึงประเทศไทยเท่านั้น แล้วเรียบเรียงขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีระกา เอกศก พ.ศ. 2452) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินชงเจงปีที่ 8 อิดหาย (ตรงปีกุน จุลศักราช 997 พ.ศ. 2178) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินชงเจงปีที่ 9 เปี๊ยจี๊อ (ตรงปีชวด จุลศักราช 998 พ.ศ. 2179) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี

    แผ่นดินชงเจงปีที่ 16 กุ่ยบี้ (ตรงปีมะแม จุลศักราช 1005 พ.ศ. 2186) ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมาเจริญทางพระราชไมตรี แต่ในเสี้ยมหลอก๊กนั้นชาวประเทศสร้างศาลา ซำป๊อทำรูปจงกวาง (ขุนนางในกรมขันที) ชื่อเจียนห้อไว้สักการบูชา (ทางสายธาตุขอออกความเห็นใหม่ เพราะคำว่า เจียนห้อ ออกเสียงตามแบบแต้จิ๋ว ก็อาจจะมาจากนามท่าน เจิ้งเหอ ที่ออกเสียงตามภาษาจีนกลาง แสดงว่า ซำปอกง นั้นสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททองหรือเปล่าคะ สงสัยต้องหาประวัติการสร้างวัดนี้ใหม่ก่อนค่อยมาเสนอต่อไปนะคะ)

    แผ่นดินสูนตี้ปีที่ 9 หยิมสินจับยี่ง้วย (ตรง ณ เดือนยี่ปีมะโรง จุลศักราช 1014 ปี พ.ศ. 2195) เสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ขอเปลี่ยนตรา พระเจ้าสี่โจ๊วเจียงฮองเต้รับสั่งให้เจ้าพนักงานเปลี่ยนให้ตามประสงค์ ตั้งแต่นั้นก็ส่งเครื่องบรรณาการมาเสมอ

    หมายเหตุ ที่ว่าชาวต่างประเทศสร้างศาล ทำรูปจงกวางไว้บูชาในเมืองไทย น่าจะเป็นศาลเจ้าจีนอะไรแห่งหนึ่ง ดูไม่มีเค้าเงื่อนอย่างอื่น

    หมายเหตุที่ 2 ปรากฏตรงนี้ว่า การที่ไปมากับเมืองจีนห่างไปเสียคราวหนึ่ง เพิ่งมาจับสนิทขึ้นอีกเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ความข้อหนึ่งสมกับจดหมายเหตุฝรั่งตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถตลอดมาจนแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฝรั่งไปมาค้าขายทางเมืองจีนยาก ด้วยโปรตุเกสไปทำหยาบคายร้ายแรงให้จีนเกลียดฝรั่งทั่วไป ฝรั่งต้องมาอาศัยไทยเป็นนายหน้าพาไปค้าขายเมืองจีนและญี่ปุ่นด้วย

    คัดลอกจาก ... จดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน

    ตั้งแต่เข้าสมัยพระเจ้าปราสาททองมาได้ไม่นาน กรุงจีนก็เปลี่ยนราชวงศ์ จากราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ชิง สำหรับคัดลอกจดหมายเหตุในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การเจริญพระราชไมตรีกับพระราชวงศ์ต่างประเทศเจริญมากยิ่งกว่ารัชกาลใดๆก่อนหน้านี้ แล้วจะกลับมาพิมพ์ต่อนะคะ เมื่อยมือแล้วค่ะ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2009
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตรงในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    แผ่นดินฆังฮีปีที่ 3 กะสินชิดง้วย (ตรง ณ เดือนเก้า ปีมะโรง จุลศักราช 1026 ปี พ.ศ. 2207) ขุนนางเผ่งหลำอ๋อง ชื่อเสียงคอฮี้ ทุลพระเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้ว่า เสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูตเอาของกำนัลมาให้แต่หาได้รับไม่ และขออนุญาตว่า แต่นี้ต่อไปห้ามไม่ให้ผู้ใดรับของกำนัลต่างประเทศ พระเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้ก็อนุญาต พวกขุนนางเปียนพวน (ขุนนางรักษาปลายเขตแดน) ต๊กบู๊ (เทศาภิบาลและปลัดเทศา) ก็ประพฤติตามรับสั่ง

    แผ่นดินฆังฮีปีที่ 4 อิดจี๋จับอิดง้วย (ตรง ณ เดือนอ้าย ปีมะเส็ง จุลศักราช 1027 พ.ศ. 2208 ปี) เสี้ยมหลอก๊กอ๋องเซียนเลียดพะละเจียวกู๊โล่งพะละม้าฮู้ลกควนเสือเอี่ยวธีย่าพูอาย(สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยาผู้ใหญ่) ให้ขุนนางควนสือสิงลาเย่ไหมติลี้ (ออกขุนสิริราชไมตรี) เป็นราชทูตนำราชสาส์นซึ่งเขียนอักษรในแผ่นทองคำกับเครื่องบรรณาการลงเรือข้ามทะเลมาถวาย ราชสาส์นมีความว่า

    เสี้ยมหลอก๊กอ๋อง เซียนเลียดพะละเจียวกู๊โล่งพะละม้าฮู้ลกควนสือเอี่ยวธีย่าพูอาย ขอถวายคำนับทูลไต้เชงฮองเต้กษัตริย์องค์ใหม่ซึ่งขึ้นดำรงโลกอานุภาพแผ่ไพศาลประหนึ่งพระอาทิตย์ส่องอยู่กลางอากาศ ต่างประเทศทั้งสี่ทิศก็สยดสยองขอพึ่งบุญบารมี ข้อความที่ได้สั่งสอนหมื่นประเทศก็ขอบคุณ ข้าพเจ้าผู้เป็นประเทศน้อยขอบคุณเทียนเฉียว (เมืองฟ้า) ประหนึ่งน้ำที่ประพรมระลึกอยู่ในใจเสมอทุกเวลามิได้ขาด บัดนี้ตั้งใจให้ราชทูตมาถวายเครื่องบรรณาการโดยความเคารพนับถือ ด้วยมิได้หมายแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ตอบแทน จึงแต่งให้ราชทูตอกควนสือสิงลาเย่ไหมติลี้ (ออกขุนสิริราชไมตรีราชทูต) อุปทูตอกควนซิดมุดอัวดิ (ออกขุนสมุทวาที) ตรีทูตอกควนสือเซียะเภาะอัวดิ (ออกขุนศรีศุภวาที) ไถ่ทงสือ (ล่าม) สีเกียดเต้เต๊น กับขุนนางอีกหลายนาย ลงเรือข้ามทะเลนำราชสาส์นซึ่งเขียนอักษรในแผ่นทองคำกับคำแปลเป็นภาษาจีน กับสิ่งของในพื้นประเทศมาก้วงแซ้ (มณฑลก้วงตัง) ขุนนางเจ้าพนักงานนำราชทูตกับสิ่งของมาถวาย ณ เกียซือ (กรุงปักกิ่ง) ถวายความเคารพโดยความตั้งใจ ตามตำแหน่งประเทศที่อยู่ไกล แล้วแต่จะโปรด ข้าพเจ้าผู้น้อยนบนอบเทียนเสี่ย (เจ้าฟ้า) ขอเดชานุภาพเป็นที่พึ่งด้วย จึงได้มีราชสาส์นมาทูลให้ทรงทราบ

    หมายเหตุสำหรับย่อหน้านี้ ... ความที่กล่าวตรงนี้ น่าเข้าใจว่า พระราชสาส์นไทยมีไปแต่ก่อนเป็นภาษาไทย ไปแปลที่เมืองจีน เพิ่งทำสำเนาคำแปลเป็นภาษาจีนส่งไปจากเมืองไทยในชั้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ที่จริงเชื่อได้ว่า ไม่มีไทยที่รู้ภาษาจีนพอจะแต่งหนังสือจีนได้ในครั้งนั้น ต้องวานเจ๊กแต่ง เจ๊กจะแต่งว่ากระไรไทยก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น พระราชสาส์นที่ไทยมีไปเมืองจีน จะเป็นในชั้นแรกเมื่อจีนเอาไปแปลในเมืองจีนก็ดี ที่จีนแต่งให้ในเมืองไทยก็ดี จึงพินอบพิเทาอ่อนน้อมตามอัชฌาสัยของจีนผุ้แต่ง เรื่องนี้พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์บ่นไว้มาก แจ้งอยู่ในหนังสือประชุมพระบรมราชาธิบายที่พิมพ์แล้วหน้า 57)

    พรเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้รับสั่งให้เจ้าพนักงานเอาสิ่งของตอบแทนให้ตามธรรมเนียม

    แผ่นดินฆังฮีปีที่ 7 โบ๊วซินจับอิดง้วย (ตรง ณ เดือนอ้าย ปีวอก จุลศักราช 1030 ปี พ.ศ. 2211) เสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูต อกควนสือสิงลายเย่ไหมติลี้ นำเครื่องบรรณาการมาถวาย

    ขณะนั้นขุนนางผู้ใหญ่หารือกันว่า เสี้ยมหลอก๊กส่งเครื่องบรรณาการมาไม่ถูกต้องเหมือนทุกครั้ง ต้องสั่งว่าคราวหลังจะมาส่งเครื่องบรรณาการให้เอาสิ่งของมาใช้คราวนี้ด้วย

    หมายเหตุสำหรับย่อหน้านี้ ... จะเห็นได้ตรงนี้ว่า ของบรรณาการที่ไทยส่ง หมายเพียงเป็นของเจริญทางพระราชไมตรี ข้างจีนพยายามจะให้เป็นของส่วยอย่างเมืองประเทศราช

    ในทันใดนั้นขุนนางผู้ใหญ่ได้รับสั่งพระเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้ว่า เสี้ยมหลอก๊กอ๋องเป็นประเทศน้อย เครื่องบรรณาการที่เคยเอามาส่งครั้งก่อนๆ เอามาจากประเทศอื่นก็มี เพราะฉะนั้นจึงคราวนี้ไม่ถูกต้อง แม้ว่าเครื่องราชบรรณาการที่เอามาคราวนี้จะขาดสิ่งใด ก็อย่าให้เอามาใช้อีกเลย แต่นี้ต่อไปให้เอาแต่ส่งของในประเทศมาเป็นเครื่องบรรณาการก็ได้

    แผ่นดินฆังฮีปีที่ 11 หยิมจื๊อซาง้วย (ตรง ณ เดือนห้า ปีชวด จุลศักราช 1034 ปี พ.ศ. 2215) เสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูตนำเครื่องบรรณาการมาถวาย ขุนนางเจ้าพนักงานรับ รับสั่งพระเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้ว่า ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กมีสินค้าจะเอามาขาย ณ เกียซือก็สุดแล้วแต่จะเอามา หรือเขาจะขายที่เมืองก้วงตง ก็ให้ต๊กบู๊จัดขุนนางเป็นผู้ดูแลด้วย

    แผ่นดินฆังฮีที่ 12 กุ่ยทิ้วยี่ง้วย (ตรง ณ เดือนสี่ ปีฉลู จุลศักราช 1035 ปี พ.ศ. 2216) ควนสือสิงลาเย่ไหมติลี้ราชทูตเสี้ยมหลอก๊กนำเครื่องบรรณาการมาถวาย สี่ง้วย (ตรง ณ เดือนหกในปีฉลู) พระเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้ยกย่องเซียนเลียดพะละเจียวกู๊โล่งพะละม้าฮู้ลกควนสือเอื่ยวธีย่าพูอาย เป็นเสี้ยมหลอก๊กอ๋อง ประทานตราทำด้วยเงินกับหนังสือยกย่องให้อกควนสือสิงลาเย่ไหมติลี้นำกลับไป

    ข้อความในคำยกย่องมีว่า อ๋องมาเคารพขอให้ความสุขบริบูรณ์พูนเกิดด้วยธรรมเนียมโบราณเจ้าประเทศน้อยต้องเคารพเจ้าประเทศใหญ่ ตามหน้าที่ผุ้ใหญ่กับผู้น้อย เราผู้เป็นเจ้าประเทศใหญ่ก็เมตตาเจ้าประเทศน้อยที่อยู่ไกลโดยทางชอบธรรม เราได้รับมรดกขึ้นครองราชสมบัติ หวังจะเผื่อแผ่ความเมตตาไปทั่วทั้งสี่ทิศ มาเข้าเป็นสามัคคีเดียวกันจะได้รับความสุขสำราญทั่วหน้า ข้อที่ยกย่องยศศักดิ์ ถ้ามีชื่อเสียงปรากฎอยู่ในหนังสือลำดับเจ้าประเทศที่มีทางพระราชไมตรีแล้ว เราก็ยกย่องให้ตามธรรมเนียม บัดนี้เสี้ยมหลอก๊กท่านเซียนเลียดพะละเจี่ยวกู๊โล่งพะละม้าฮู้ลกควนสือเอี่ยวธีย่าพูอาย ถือความซื่อสัตย์ตามขนบธรรมเนียม ยอมตั้งพระทัยเป็นไมตรีกับประเทศเราโดยสุจริต ให้ราชทูตข้ามทะเลมาขอเป็นมิตอยู่ในขอบเขตขัณฑเสมา ปลายเขตแดนของเรามั่นคงประหนึ่งหินต่อเนื่องแม่น้ำของเรายาวออกไปประหนึ่งเชือก รักษาขนบธรรมเนียมเจ้าประเทศที่มีราชไมตรีโดยชอบธรรม การที่ท่านตั้งใจให้ราชทูตมาเคารพ เรายินดีมาก บัดนี้ยกให้ท่านเป็นเสี้ยมหลอก๊กอ๋อง และส่งคำยกย่องมาให้ด้วย ท่านต้องถือเอาทางยุติธรรมปกครองอาณาเขต รับเอาความยกย่องนี้ไว้ด้วยเป็นชั้นสูง จะได้ระงับสุขทุกข์ในขอบเขต ตามหน้าที่อ๋องอยู่ปกครองราษฎร รักษาประเทศซึ่งมีอยู่ในโลกนี้อย่าให้มีเหตุเกิดขึ้นได้ ยศที่เรายกย่องนั้นจงรุ่งเรืองตามความนิยม ท่านจงรับเอาพรนี้ไว้ อย่ากระทำผิดถ้อยคำของเรา

    หมายเหตุสำหรับย่อหน้านี้ ... ความทำนองเป็นหนังสือของเมื่อแรกราชาภิเษก แต่ศักราชอยู่ระหว่างกลางรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผ่านพิภพปีวอก จ.ศ. 1018 สวรรคตปีมะโรง จ.ศ. 1050 เหตุใดพระเจ้ากรุงจีนจึงมีราชสาส์นอย่างนี้ ยังคิดไม่เห็น

    เมื่อครั้งก่อนๆ เรือเครื่องราชบรรณาการงั่วเอี๋ย (ต่างประเทศ) มาถึงแขวงมณฑลก้วงตง เจ้าพนักงานรักษาหน้าที่ตรวจดูถูกต้องแล้ว ก็ปล่อยให้เรือเข้าจอดในลำแม่น้ำ ส่งเครื่องบรรณาการขึ้นไปเมืองหลวง แต่สินค้าขนเข้าไว้ในตึกใส่กุญแจคอยหนังสือบอกลิปู๋ (กระทรวงขนบธรรมเนียม) มาจึงอนุญาตให้จำหน่าย สินค้าก็เปื่อยผุเสียมาก

    แผ่นดินฆังฮีปีที่ 23 กะจื๊อลักง้วย (ตรง ณ เดือนแปดปีชวด จุลศักราช 1046 ปี พ.ศ. 2227) เสี้ยมหลอก๊กอ๋องให้ราชทูตนำเครื่องบรรณาการมาถวาย กับซอ (หนังสือ) หนึ่งฉบับ มีความว่า

    เรือเครื่องบรรณาการมาถึงเมืองก้วงตง ราชทูตชี้แจงต่อเจ้าพนักงานแล้ว จึงเข้าจอดเรือในลำแม่น้ำ ขออนุญาตจำหน่ายสินค้าโดยเร็ว และขออนุญาตซื้อเครื่องใช้สอย ขอประทานโปรดมีรับสั่งไปถึงเจ้าพนักงานออกหนังสืออนุญาตให้ จะได้จ่ายและซื้อสิ่งของ แต่เรือเครื่องราชบรรณาการต้องกลับไปเสี้ยมหลอก๊กเสียก่อน ถึงปีใหม่จึงจะให้เรือมารับหนังสือตอบราชสาส์นและราชทูตกลับไปเสี้ยมหลอก๊ก เจ้าพนักงานก็นำข้อความนี้ขึ้นทูลพระเจ้าเสี่ยโจ๊วหยินฮองเต้ รับสั่งให้เจ้าพนักงานหารืออนุญาตให้ตามความประสงค์

    แผ่นดินฆังฮีปีที่ 24 อิดทิ้วจับยี่ง้วย (ตรง ณ เดือนยี่ ปีฉลู จุลศักราช 1047 ปี พ.ศ. 2228) ขุนนางผู้ใหญ่หารือเพิ่มของตอบแทนเครื่องราชบรรณาการเสี้ยมหลอก๊ก แพรตึ้ง แพรปี๋ รวมห้าสิบม้วน (ชาวประเทศจีนมักชอบใช้เสื้อสองชั้น แพรตึ้งทำชั้นนอก แพรปี๋ทำชั้นใน) สั่งเจ้าพนักงานให้ตอบแทนตามข้อความหารือนี้

    คัดลอกจาก ... จดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน

    ทางสายธาตุขอจบเรื่องจดหมายเหตุ เรื่องพระราชไมตรีระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีนและนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน เพียงเท่านี้ค่ะ พอให้เห็นมิติการต่างประเทศในสมัยกรุงศรีอยุธยา เห็นหลายๆมิติทำให้เห็นประวัติศาสตร์มีมุมที่ลึกขึ้นน่าสนใจขึ้นด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ซำปอกง (三寶公/三宝公) สามารถหมายถึง:
    จะหมายถึง
    พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือไม่ จะลองหาประวัติมาลงให้อ่านนะคะ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [​IMG]

    ตามตำนานเล่าว่า ซำปอกง หรือ เจิ้งเหอ เดิมชื่อว่า หม่า เหอ เกิดในครอบครัวชาวมุสลิมที่เมืองคุนหยาง มณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ต่อมาในปี ค.ศ.1381 เกิดสงครามกวาดล้างกองกำลังมองโกลที่ปักหลักอยู่ในแถบยูนนาน ท่ามกลางความวุ่นวายของสงคราม หม่า เหอ วัย11 ปี ได้ตกเป็นเชลยศึก และถูกส่งตัวเข้ามาเป็นขันทีเพื่อทำงานรับใช้ในกองทัพ



    หม่า เหอ ติดตามกองทัพเข้าร่วมสมรภูมิรบจนอายุได้ 19 ปี ก็ได้มารับใช้ เอี้ยนหวังจูตี้ องค์ชายสี่แห่งราชวงศ์หมิงที่ปักกิ่ง นับแต่นั้น หม่า เหอ ก็คอยติดตามอยู่ข้างกายจูตี้ จนกลายเป็นคนสนิทที่ได้รับความไว้วางใจอย่างมาก หม่า เหอได้สร้างความดีความชอบไว้มาก โดยเฉพาะการช่วยให้จูตี้ได้ก้าวขึ้นคลองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ ในที่สุด หม่า เหอ ก็ได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นหัวหน้าขันที และได้พระราชทานแซ่ เจิ้ง จึงกลายมาเป็น เจิ้งเหอ หรือที่รู้จักกันในนาม ซำปอกง



    และเนื่องจากการที่เจิ้งเหอเป็นบุคคลที่จูตี้ให้ความไว้วางใจมากที่สุด ทั้งจากการเป็นขันทีคนสนิท และความดีความชอบในการหนุนจูตี้ขึ้นสู่บัลลังก์ จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการกองเรือขนาดใหญ่ออกเดินทางไปในมหาสมุทรอันกว้างไกล ที่เล่ากันว่านอกจากจะเป็นการเดินทางเพื่อประโยชน์ทางการค้า การเผยแพร่ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรจีนแล้ว ยังแฝงไว้นัยสำคัญทางการเมืองและการสืบราชบัลลังก์ ค้นหาร่องรอยของอดีตจักรพรรดิหมิงฮุ่ยตี้ เพื่อสร้างความมั่นคงและมั่นใจแก่ราชบัลลังก์ของจูตี้ ว่าหมิงฮุ่ยตี้จะไม่มาเป็นหอกข้างแคร่อีกต่อไป


    การเดินทางออกสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ของเจิ้งเหอ 7 ครั้งในรอบ 28 ปี เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว กองเรือและการเดินทางของเจิ้งเหออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์การเดินเรือของโลก นำมาซึ่งความสำเร็จทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวจีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเอเชียอาคเนย์ อินเดีย และแอฟริกา แต่บันทึกเรื่องราวการเดินทางที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยตรงแทบไม่มีหลงเหลืออยู่เลย ความรุ่งเรืองทางทะเลของจีนก็จบสิ้นลงพร้อมกับการจากไปของเจิ้งเหอผู้ยิ่งใหญ่


    จากตำนานที่เล่าขานกันมาหลายร้อยปีกลายมาเป็นซำปอกง หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อโต ที่เป็นที่เคารพสักการบูชาของทั้งคนจีน คนไทย และคนไทยเชื้อสายจีนทั่วประเทศไทย ซึ่งในสยามประเทศมีซำปอกงองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่เพียง 3 วัดเท่านั้น โดยผู้ที่ไปกราบไหว้สักการบูชาซำปอกงส่วนใหญ่นอกจากจะกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังนิยมไปกราบไหว้เพื่อให้รุ่งเรืองทางด้านการค้าพาณิชย์ มีโชคลาภ และประสบแต่โชคดีในการเดินทาง


    ซำปอกงองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน 3 วัดเท่านั้น มีดังนี้
    ซำปอกงองค์แรก อยู่ที่วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูงประมาณ 19 เมตร ถือเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวกรุงเก่าให้ความเคารพนับถือมาช้านานหลายร้อยปี เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตนั้นต่างร่ำลือไกล
    ปัจจุบันที่วัดพนัญเชิงมีนักท่องเที่ยวและผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาแวะเวียนไปนมัสการขอพรไม่ขาดสาย พร้อมทั้งยังนิยมบนบานด้วยการถวายผ้าห่มหลวงพ่อโต โดยมีวิธีการคือ ให้คนของทางวัดโยนผ้าขึ้นไปให้คนที่อยู่ที่ตัก และที่ไหล่ห่มองค์หลวงพ่อโตอย่างที่เห็นในปัจจุบัน



    ซำปอกงองค์ที่สอง อยู่ที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เขตธนบุรี ในกรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างโดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ หรือ โต กัลยาณมิตร ต้นสกุลกัลยาณมิตร น้อมเกล้าฯถวายแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และได้รับพระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร"
    เมื่อแรกสร้างวัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระวิหารหลวง พร้อมกับโปรดให้สร้างพระโต หรือหลวงพ่อโต หรือที่คนจีนเรียกว่า ซำปอกง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.45 เมตร พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง ด้วยพระราชประสงค์ให้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่ริมน้ำในกรุงรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกับที่กรุงเก่า คือที่วัดพนัญเชิง
    หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก ที่วัดกัลยาณมิตรแห่งนี้ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ถือเป็นที่เคารพสักการระของคนไทย และคนจีนในประเทศเป็นอย่างมากโดยเฉพาะช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ ตรุษจีน และวันทิ้งกระจาด



    ซำปอกงองค์ที่สาม อยู่ที่วัดอุภัยภาติการาม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา บนถนนศุภกิจใกล้กับตลาดจังหวัดบ้านใหม่ก็มีซำปอกงหรือหลวงพ่อโต องค์โตให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาเช่นกัน
    สำหรับวัดอุภัยฯ เดิมนั้นมีวิหารลักษณะศาลเจ้า แต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน แต่ว่าก็มีชาวพุทธแวะเวียนไปกราบไหว้ ซำปอกง หรือหลวงพ่อโตกันไม่ได้ขาด โดยส่วนใหญ่ก็จะไปขอให้ทำมาค้าขึ้น กิจการรุ่งเรืองก้าวหน้า

    ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

    ทางสายธาตุยังเกิดความสงสัยเล็กน้อยตรงที่ เจิ้งเหอเป็นมุสลิม แล้วทำไมจึงสร้างเป็นวัดพุทธให้เจิ้งเหอ ง งู 4 ตัว
     
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
    [​IMG]
    รูปวาดเจิ้งเหอในจินตนาการของศิลปินที่ไม่ทราบชื่อ


    เจิ้งเหอ (จีน: 郑和 ; พินอิน: Zhèng Hé ; แต้จิ๋ว: แต้ฮั้ว) เป็นผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง (明 ; Ming)
    มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 และเคยติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาด้วย มีผู้เสนอทฤษฎีว่า เจิ้งเหอน่าจะค้นพบทวีปอเมริกาก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส


    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา</B>

    [ซ่อน]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] ประวัติ

    เดิมทีนั้นเจิ้งเหอมีชื่อว่า "ซานเป่า" , "แซ่หม่า" เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนของมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ. 1371 มีชื่อมุสลิมเป็นภาษาอาหรับว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ เกิดในตระกูลขุนนางมุสลิม เซมูร์ และเป็นลูกหลานชนชั้นที่หกของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร ผู้ปกครองมณฑลยูนนานผู้ลือนาม จากบุคอรอ ในอุซเบกิสถาน แซ่หม่า มาจาก มาสูฮฺ (มาสีหฺ) บุครคนที่ 5 ของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร บิดาของเจิ้งเหอมีนามว่า มีร ตะกีน และปู่มีนามว่า กะรอมุดดีน ได้ไปทำพิธีฮัจญ์ในมักกะหฺ จึงได้พบเห็นผู้คนจากทุกสารทิศ และต้องเล่าเรื่องนี้ให้แก่เจิ้งเหออย่างแน่นอน

    แต่ก่อนแซ่หม่าเรียกว่าหม่าเหอ เจิ้งเหอมีพี่น้อง 5 คนเป็นชาย 1 คน หญิง 4 คน เมื่อหม่าเหออายุได้ 12 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของจักรพรรดิหงหวู่หรือจูหยวนจาง ปฐมราชวงศ์หมิงนำกำลังทัพเข้ามาขับไล่พวกมองโกลที่มาตั้งราชวงศ์หยวนออกจากประเทศจีน ทำการยึดครองยูนานเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จ ในเวลานั้นหม่าเหอได้ถูกจับตอนเป็นขันทีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้ จนได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ช่วงสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเอี้ยนหวังจูตี้กับหมิงฮุ่ยตี้ กษัตริย์ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากหมิงไท่จู่ เจิ้งเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า "หย่งเล่อ" และได้รับการสนับสนุนเป็นหัวหน้าขันที ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า "เจิ้งเหอ" แต่ชื่อที่รู้จักกันดีก็คือ "ซันเป่ากง" หรือ "ซำปอกง" (三寶公/三宝公).




    เจิ้งเหอและประเทศไทย

    ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพ่อซำปอกง" (ซานเป่ากง). วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า 'ซำปอฮุดกง' ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น 'ซำปอกง' จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา ด้วยเหตุนี้มีนักเขียนไทยบางคนคิดว่า เจิ้งเหอได้เปลี่ยนศาสนามาถือพุทธ


    ทว่าการที่เจิ้งเหอทำฮัจญ์และมีสุสานแบบมุสลิมแสดงว่าเจิ้งเหอเป็นมุสลิมจนถึงแก่กรรม แม้ว่าเจิ้งเหอจะไม่มีลูก เพราะถูกตอนเป็นขันทีตั้งแต่เด็ก หากแต่หม่าเหวินหมิงพี่ชายได้ยกลูกชายหญิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานให้ เจิ้งชงหลิ่ง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม เมื่อนักประพันธ์ชื่อดัง เควิน เมนซีส์ ได้แต่งหนังสือชื่อ 1421 : The Year China Discovered the World ขึ้น โดยมีการอ้างอิงทฤษฎีว่า นายพลเรือผู้กล้าหาญชาวจีนผู้หนึ่งได้ล่องเรือสำเภาไม้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก เดินทางมาถึงอเมริกาก่อนหน้าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะค้นพบถึง 71 ปี

    เควิน เมนซีส์ ไม่ได้ตั้งใจที่จะมานั่งลบล้างประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่เขาเกิดไปเจอข้อมูลบางอย่างเข้าโดยบังเอิญขณะเดินทางไปฉลองครบรอบแต่งงาน 25 ปีที่เมืองจีน เมนซีส์ได้รับการบอกเล่าเรื่องราวของกองเรือขนาดใหญ่ ที่นำพาเจ้าผู้ครองนครจากดินแดนต่างๆ ทั่วโลกมาร่วมในงานเฉลิมฉลองการสถาปนาพระราชวังต้องห้าม ในวันปีใหม่เมื่อปี ค.ศ.1421 และนั่นทำให้เขาฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าเหตุใดจึงมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหากว่าไม่ได้มีการติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศมาก่อน

    ก่อนที่หนังสือจะตีพิมพ์เมนซีส์ได้มีโอกาสเห็นแผนที่ซึ่งจำลองพื้นที่ในแถบทะเลแคริบเบียนและหมู่เกาะต่างๆ นอกชายฝั่งอเมริกา ซึ่งถูกตีพิมพ์ก่อนหน้าที่โคลัมบัสจะออกเดินทางสำรวจโลก 70 ปี การที่ได้เห็นเปอร์โตริโกและกัวลาลูปนั้นทำให้เมนซีส์เชื่อว่าผู้ที่มาถึงก่อนโคลัมบัสก็คือพวกโปรตุเกส ซึ่งมีการส่งเรือออกไปค้นหาเกาะซึ่งปรากฏอยู่ในแผนภูมิแม่บทของโลกในเวลาต่อมา

    ไม่เพียงโปรตุเกสที่ยืนยันว่าแผนภูมิแม่บทฉบับนี้มีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงชาวจีนเท่านั้น แต่ชาวยุโรปพวกแรกที่ไปอเมริกาก็พบว่ามีชาวจีนอยู่ที่นั่นแล้วถึง 38 คณะไม่ว่าจะเป็นคณะของวาสเควซ, โคโรนาโด เฟเรลโล, เมเจอร์ เพาเวอร์ส, เปโดร เมเนนเดซ หรืออวิลเลส เวอร์ราซาโน
    หลังจากหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมา เรื่องราวการเดินทางของโคลัมบัส นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ก็มีอันต้องแปดเปื้อน และกลายเป็นที่ถกเถียงถึงประวัติศาสตร์ที่อาจผิดเพี้ยนไป เพราะเมนซีส์ไม่เพียงชี้ชัดลงไปว่า นายพลเช็งฮีและกองเรือของเขาซึ่งบรรทุกสิ่งของมีค่าตามพระราชโองการของจักรพรรดิจูตี้ แห่งราชวงศ์หมิง เมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ค้นพบทวีปนี้ก่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้รวบรวมอเมริกาให้เป็นเมืองขึ้นของจีนก่อนที่โคลัมบัสจะมาถึงด้วย

    “ข้อโต้แย้งที่ผมต้องการจะบอกก็คือ กองเรือของจีนได้เดินทางรอบโลกและได้ทำแผนภูมิการเดินเรือขึ้นก่อนชาวยุโรป และชาวยุโรปได้ค้นพบโลกใหม่โดยใช้แผนภูมิที่คนจีนทำขึ้น นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปทุกคนล้วนออกเดินทางโดยใช้แผนภูมิในการบอกทางที่พวกเขาจะไปทั้งสิ้น” เจ้าของผลงานพลิกประวัติศาสตร์โลกย้ำ

    เพราะขณะที่กัปตันคุกมีแผนที่ของออสเตรเลีย โคลัมบัสมีแผนที่ของแคริบเบียน และแม็คเจลแลนมีแผนที่ของแปซิฟิกนั้น แผนที่ทั้งหมดล้วนมาจากแผนภูมิแม่บทของโลก (Master Chart) ที่ชาวจีนเป็นผู้ทำขึ้น เควิน เมนซีส์ ผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตผู้บัญชาการเรือดำน้ำชาวอังกฤษ ทุ่มเทเวลากว่า 9 ปี ในการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ จนได้หลักฐานและข้อมูลใหม่ๆ จนทำให้เชื่อได้ว่าทฤษฎีที่เขาค้นพบนี้เป็นความจริง

    ชาวโปรตุเกสอ้างว่าพวกเขามีแผนภูมิแม่บท ของโลกในราวปี ค.ศ.1420 ซึ่งเป็นแผนภูมิแม่บทของโลกที่เมนซีส์ค้นพบในเวลาต่อมาเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยัน เช่นเดียวกับเหตุผลที่ว่าทำไมมีคนจีนไปอาศัยอยู่บนแผ่นดินเหล่านั้นก่อนที่ชาวยุโรปจะไปถึง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการพบดีเอ็นเอของชาวจีนอยู่ในสายเลือดของชาวยุโรป

    ที่น่าตกใจไปมากกว่านั้นก็คือ ไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบภาพใบหน้าของเช็งฮีในอเมริกาเหนือโดยสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง และนี่จะเป็นข้อพิสูจน์สำคัญที่ว่า กองเรือของนายพลเช็งฮีได้เดินทางมายังชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือและใต้จริง

    สรุปว่า เจิ้งเหอ (จีน: 郑和 ; พินอิน: Zhèng Hé ; แต้จิ๋ว: แต้ฮั้ว) ส่วนคำว่า เจียนห้อ จะใช่ เจิ้งเหอ หรือไม่ ทางสายธาตุ ไม่ทิ้งธง ^^ (หนีคำว่าฟันธง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2009
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วันที่ระลึกครบ 200 ปีแห่งการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    [​IMG][​IMG]



    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสวรรคต พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาราชนก [หลวงพินิจอักษร (ทองดี)] กับพระอัครชายา (ดาวเรือง) ทรงประสูติเป็นสามัญชนมีพระนามว่า "ทองด้วง" ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา เข้ารับราชการและได้ดำรงตำแหน่ง "พระยายมราช"

    ภายหลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี 2310 ทรงเข้าร่วมกับกองทัพกู้ชาติของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "เจ้าพระยาจักรี" และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ" ภายหลังจากพระเจ้าตากสินฯ สถาปนากรุงธนบุรีจนเริ่มเป็นปึกแผ่นแล้ว ในปี 2324 ก็ได้เกิดการจลาจลคือ พระยาสรรค์ กับพวกได้ก่อกบฏยกพลเข้ามาในกรุงธนบุรี จับกุมพระเจ้าตากสินฯ และพระบรมวงศานุวงศ์รวมทั้งข้าราชการผู้ใหญ่อื่น ๆ เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งกำลังไปทำศึกที่เมืองเขมรได้ทราบข่าวก็ยกทัพกลับมาที่กรุงธนบุรี จับกุมตัวพระยาสรรค์ พระเจ้าตากสินฯ และข้าราชการฝ่ายที่คิดกบฎทั้งหมดนำไปสังหารและสำเร็จโทษ จากนั้นก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรีมาที่ฝั่งตะวันออก แล้วทรงสถาปนา "กรุงรัตนโกสินทร์" โดยทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายนปีเดียวกัน และทรงพระราชทานนามพระนครแห่งนี้ว่า "กรุงเทพมหานครฯ" ทรงครองราชย์จนเสด็จสวรรคตในวันที่ 7 กันยายน ปี 2352
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทางสายธาตุชอบความเห็นของอาจารย์วรณัย พงศาชลากร มากเลยค่ะ

    อาจารย์คิดนอกกรอบได้น่าสนใจมากๆ แม้แต่เรื่องลายดอกไม้ (ดอกโบตั๋น?)

    ที่อาจารย์เขียนไว้ใน Blog ว่าลายดอกไม้นี้ ลายไข่ปลา และศิลปะการดุนลาย

    ก็พบมากในศิลปะอยุธยาในยุคกลาง จนถึงยุคปลาย อาจารย์เดินทางไปดู

    พระมาลาทองคำด้วยตนเองเลยหรือเปล่าค่ะ อยากเห็นลายข้างๆพระมาลาทองคำด้วยคนจังค่ะ

    พออ่านความเห็นเรื่อง วัดพนัญเชิงของอาจารย์ ก็น่าสนใจอีกแล้วค่ะ

    จาก Blog BlogGang.com : : ǃ?т : ?Ð?ط?Ù? ȔŻ͂ظ’ ?çःרͧ ??ը?͂蒧䃠2

    คัดย่อมาส่วนหนึ่งจาก Blog ของอาจารย์วรณัย พงศาชลากร ขออนุญาติที่จะขอขอบคุณสำหรับข้อมูลนอกกรอบของอาจารย์นี้ น่าสนใจมากๆค่ะ


    เป็นไปได้ไหมคะที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงสร้างวัดนี้ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นฉันญาติมิตรระหว่างคนไทยกับคนจีนในสยามเวลานั้นค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล

    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 83

    ศึกกัมพูชา

    เสร็จศึกหงสาวดีแล้วในปลาย พ.ศ. 2136 เดือนยี่ พระนเรศวรให้ชุมนุมพลที่ทุ่งหันตรา กำลังประมาณห้าหมื่นให้พระราชมานูถือพลห้าพันเป็นกองหน้า พระองค์กับพระอนุชาเป็นทัพหลวงยกตามไป

    ขณะนั้นนักพระสัตถาอยู่ที่เมืองละแวก ซึ่งเป็นราชธานีพอรู้ว่าไทยยกไป ก็ให้พระยาแสนท้องฟ้าคุมพลหมื่นหนึ่งไปตั้งอยู่เมืองโพธิสัตว์ ให้พระยาบวรนายกคุมพลหมื่นห้าพันไปตั้งอยู่เมืองพระตะบอง ให้พระยาราชดึงสา พระยามโนไมตรีคุมพลห้าพันไปซุ่มอยู่ในป่าระนาม กองทัพไทยยกข้ามลำน้ำโตนดเข้าป่าระนามซึ่งเป็นช่องแคบ พระยาราชดึงสาเห็นทัพไทยถลำเข้ามาในที่ซุ่มไว้ก็โจมตีทันที ทัพหน้าของไทยจึงแตกถอยลงมาจนถึงหน้าช้างพระที่นั่ง พระนเรศวรเห็นเช่นนั้น ก็แยกทัพส่วนหนึ่งไปตีขนาบข้างช้างขึ้นไปทัพเขมร ถูกตีขนาบข้างเข้าก็แตกรี้พลล้มตายเป็นอันมาก นับว่าพระนเรศวรได้แก้ความพ่ายแพ้กลับเป็นชัยชนะไปได้อย่างหวุดหวิด

    พระนเรศวรทรงพิโรธที่พระราชมานูเป็นกองหน้า แต่นำทัพหละหลวมให้เสียทีแก่ข้าศึก จนถอยร่นลงมาปะทะกับทัพหลวง ดังนี้ให้ลงโทษถึงสิ้นชีวิต แต่พระเอกาทศรถทรงขออภัยโทษไว้โดยอ้างว่า พระราชมานูได้ทำสงครามรับใช้ชาติมามาก และเวลานี้ข้าศึกก็ยังมีอยู่ อย่าเพิ่งฆ่าเสียเลย ขอให้พระราชมานูได้ทำราชการแก้ตัวอีกครั้งหนึ่งเถิด หากทำผิดอีกครั้งจึงค่อยลงโทษ พระนเรศวรเกรงใจพระอนุชาจึงสั่งให้พระราชมานูเร่งเข้าตีเมืองพระตะบอง และเมืองโพธิสัตว์ให้แตกทั้งสองเมืองโดยเร็ว พระราชมานูคราวนี้ระมัดระวังอย่างเต็มที่ ได้ยกไปตีเมืองทั้งสองแตกฉานพ้นโทษไป ได้ผู้คนและศาสตราวุธมาเป็นอันมาก

    พระนเรศวรยกไปถึงเมืองละแวก สั่งให้เข้าล้อมเมืองทันทีและให้ทหารหักค่ายก่อน ชาวเมืองช่วยกันต่อสู้รักษาเมืองอย่างเข้มแข็งมาก หักเข้าไปมิได้ ล้อมอยู่สามเดือนเศษเกิดขัดสนเสบียง อาหาร ให้ออกลาดตะเวนหาก็หามิได้ ข้าวแพงขึ้นไปถึงทะนานละบาท พระนเรศวรตรัสว่า เรายกมาครั้งนี้หมายจะได้ข้าวในนาก็หาสมกับที่คิดไว้ไม่ ทางกัมพูชาฝนแล้ง ข้าวต้นในนาได้ผลน้อย ทั้งทัพเรือก็ไม่ได้เตรียมลำเลียงมา จึงได้เกิดขัดสนอาหารขึ้นในกองทัพ ถึงมิได้เมืองก็ดี แต่ก็พอรู้กำลังศึกว่าหนักเบาเพียงไรอยู่แล้ว จึงให้เลิกทัพกลับพระนครปีหน้าจะยกมาเอากัมพูชาให้ได้ ให้บำรุงช้างม้ารี้พลไว้


    ตามความตั้งใจเดิมจะต้องสานต่อให้สำเร็จค่ะ คือจะพิมพ์ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่หน้า 104 ค่ะ
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 84


    พม่ามาลองหยั่งกำลังดูใหม่

    การรบที่ไทยตีได้เมืองมะริด ตะนาวศรี และทะวายนั้น ฝ่ายพม่าทัพแตกเสียหายล้มตายมากมาย ไพร่พลนายทัพนายกองที่ถูกคาดโทษ่จะเผาเสียทั้งโคตรนั้น พากันหนีเตลิดเปิดเปิงไปไม่กลับหงสาวดี ปีรุ่งขึ้นเดือน 12 ปีมะเมีย พระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรงตรัสปรึกษากับอำมาตย์ราชเสวกว่า ในปีมะเส็งนั้นนเรศวรควรจะยกมาตีหงสาวดีแต่กลับสงบอยู่ในกรุงศรีอยุธยา คงจะมีเหตุการณ์อย่างใดผิดปกติน่าจะแต่งทัพไปตรวจด่านฟังเหตุการณ์ในเมืองไทยดู จึงให้พระเจ้าแปรถือพลห้าหมื่นยกไปตรวจด่านฟังราชการดู แต่ได้ทรงกำชับว่า ถ้ากรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรยังอยู่ก็อย่าให้ล่วงแดนเข้าไปเป็นอันขาด แม้แต่หญ้าเส้นหนึ่งก็อย่าให้เป็นอันตรายเลย

    พระเจ้าแปรยกมาถึงด่านต่อแดน สืบได้ความว่าพระนเรศวรยังอยู่ แต่ชายแดนนี้เงียบเชียบ น่าจะเข้าไปกวาดต้อนผู้คนมาก็จะเป็นความชอบ จึงยกทัพข้ามแดนเข้ามาตั้งอยู่ตำบลสงขลา เจ้าเมืองกาญจนบุรีรู้ข่าวเข้าก็บอกเข้ามายังกรุง พระนเรศวรได้ทราบก็ตรัสว่าเราคิดจะไปเล่นตรุษ ที่เมืองละแวก สิ สงกรานต์มอญชิงมาก่อนเล่า จำจะยกออกไปเล่นสงกรานต์กับมอญให้สนุกก่อน แล้วก็เกณฑ์คนแสนหนึ่ง ชุมนุมทัพที่ทุ่งภูเขาทอง ครั้นเดือนอ้ายก็ยกไปทางสุพรรณบุรีทั้งสองพระองค์ ครั้นถึงเมืองกาญจนบุรีก็ประทับแรมให้พระมหาเทพถือพลห้าพันไปซุ่มอยู่ในเส้นทาง ที่ทัพพระเจ้าแปรจะยกมา สั่งว่าถ้าข้าศึกถอยแตกไป ก็ให้ยกออกโจมตีซ้ำเติมให้ยับเยินจงได้ พระมหาเทพก็ยกไปจัดการตามรับสั่ง

    พระนเรศวรกับพระอนุชายกออกจากกาญจนบุรี ถึงตำบลสงขลาก็ตั้งค่ายประชิด แล้วให้ทหารไปตะโกนด่าที่หน้าทัพข้าศึกว่า อ้ายมอญเหล่านี้ไม่เกรงกลัวพระบรมเดชานุภาพหรือไร บังอาจล่วงแดนเข้ามาไย บัดนี้พระกาฬเสด็จมาจะประหารชีวิตเอ็งทั้งปวงแล้วละ ขณะนั้นทั้งสองพระองค์ก็แบ่งทัพออก ขับช้างนำทะแกล้วทหารเข้าโจมตีทั้งซ้ายขวาหน้าหลังทันที ฆ่าฟันพม่ามอญแตกฉานล้มตายลงก่ายกอง พระเจ้าแปรเห็นเหลือกำลัง จะต้านทานได้ก็รุดหนี ทหารไทยก็ไล่ตามตีติดๆไป พอผ่านที่พระมหาเทพซุ่มอยู่ก็ออกโจมตีแทงฟันข้าศึกบาดเจ็บล้มตายเกลื่อนไป ตามชายดงชายป่า จนถึงด่านเจดีย์สามองค์จึงหยุด จับได้ผู้คนช้างม้าศาสตราวุธมาเป็นอันมากทั้งสององค์ก็เลิกทัพกลับพระนคร

    พระเจ้าแปรแตกหนีไปถึงหงสาวดี เหลือช้างม้ารี้พลราวกึ่งหนึ่ง พระเจ้าหงสาวดีแสนจะพิโรธที่พระราชนัดดาขัดคำสั่ง ทำให้เสียรี้พลช้างม้าเป็นอันมาก ให้ประหารชีวิตเสียแต่ท้าวพระยามุขอำมาตย์ช่วยกันเพ็ดทูลขอชีวิตไว้ พระเจ้าหงสาวดีจนใจถึงให้ถอดเสียจากยศศักดิ์ทั้งหมด
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 85


    ปราบพระยาละแวก

    รุ่งขึ้นปีมะแม พระนเรศวรให้เกณฑ์ทัพเมืองนครราชสีมาหมื่นหนึ่งให้ยกตีลงมาทางสะพานทิพสะพานแสง ไปยึดเมืองเสียมราฐและตีฟากตะวันออกของทะเลสาบไปตั้งที่พงสวาย เกณฑ์ทัพเมืองปักษ์ใต้ เรือรบ 250 ลำ ให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพ เกณฑ์เรือลำเลียงเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ไชยา 200 ลำ บรรทุกข้าวให้ได้สองพันเกวียน ทั้งทัพเรือและเรือลำเลียงเป็นคนสองหมื่นให้ไปตีเอาเมืองป่าสัก ให้กองทัพอาสาจาม กองทัพเมืองจันทบุรีคุมเรือรบ 150 ลำ พลรบพลแจวหมื่นหนึ่ง พระยาราชวังสันเป็นแม่ทัพไปตีทางปากน้ำพุทไธมาส ทัพเหล่านี้เดือนอ้ายขึ้นห้าค่ำให้ยกทัพพร้อมกันกับทัพหลวง

    ครั้นเดือนอ้ายขึ้นหนึ่งค่ำ ก็ชุมพลที่ทุ่งหันตรา พระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกพลทหารบกถึงตำบลค่ายทำนบ ให้แต่งกองออกลาดตะเวน แล้วยกต่อไปถึงทางร่วมที่จะไปเมืองพระตะบองกับเสียมราฐสั่งพระราชมานูเป็นกองหน้า คุมพลสองหมื่นห้าพันยกไปตีเมืองพระตะบองและเมืองโพธิสัตว์

    ข้างพระยาละแวกพอถึงเดือน 11-12 ก็ส่งคนมาสอดแนมถึงกรุงศรีอยุธยา รุ้แน่ว่าพอน้ำแห้งเท้าม้าแล้วจะยกมาตีกัมพูชาทั้งทัพบกและทัพเรือ จึงจัดแจงสร้างค่ายคูหอรบให้มั่นคงทุกเมือง ให้พระยามโนไมตรีเป็นแม่ทัพถือพลหมื่นหนึ่งไปรักษาเมืองพระตะบอง ให้พระยาสวรรคโลกเจ้าเมืองเองเป็นแม่ทัพถือพลสองหมื่นรักษาเมืองโพธิสัตว์ ให้พระศรีสุพรรมาธิราช น้องชายถือพลสามหมื่นตั้งรับที่เมืองบริบูรณ์ แต่ม้าเร็วม้าใช้ผลัดเปลี่ยนกันสืบข่าวมิให้ขาด ทางเรือแต่งกองทัพขึ้นสองกอง ให้พระยาวงศาธิราชคุมเรือ 150 ลำ พลรบพลแจวหมื่นหนึ่ง ไปรักษาเมืองป่าสักให้พระยาพิมุขวงศาคุมเรือ 150 ลำ พลรบพลแจวหมื่นหนึ่งไปรักษาเมืองจัตตุรมุขดักกองทัพไทยที่จะไปทางพุธไธมาส ให้พระยาจีนจันตุเอาพลจากเมืองสักโรงทองเมืองเชิงกะชุม เมืองกำปอด เมืองกะโพงโสม ถือพลห้าพันไปรักษาเมืองปากน้ำพุทไธมาส ก็แปลว่าทั้งสองฝ่ายต่างรู้ตื้นลึกหนาบางเตรียมการอย่างพร้อมเพรียงทั้งคู่ ยังแต่คอยดูว่าฝีมือใครจะเหนือกว่าเท่านั้น

    ...(มีต่อ)

    ศึกปราบพระยาละแวกมีทั้งหมด 7 หน้า มีต่อแต่ขอเป็นวันพรุ่งนี้นะคะ พิมพ์วันละ 3 หน้าก็ตาลายแล้ว อิอิ

    ศึกนี้ใครว่าเขมรจะปราบง่ายๆเนอะ ที่ว่า "ทั้งสองฝ่ายต่างรู้ตื้นลึกหนาบางเตรียมการอย่างพร้อมเพรียงทั้งคู่ ยังแต่คอยดูว่าฝีมือใครจะเหนือกว่าเท่านั้น"

    แสดงว่าเขมรก็เตรียมตัวดีเหมือนกัน สมเด็จฯท่านก็ยังมีชัยชนะเหนือพระยาละแวกในที่สุด ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก ท่านทรงเป็นเทพเจ้านักรบ แก้ไขสถานการณ์ที่เป็นรองให้พลิกกลับมาชนะได้แบบหวุดหวิด พระทัยท่านแกร่งเกินร้อย ขอพระองค์ทรงสถิตย์ในใจคนไทยทุกคน เพื่อให้คนไทยนี้รักชาติให้มากๆ
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,902
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วันนี้ตั้งแต่ 19.00 - 21.00 อินเตอร์เนตอืดมากเลย

    ความรู้สึกคืออยากจะเอามือยื่นเข้าไปในจอช่วยดึงเวปเพจขึ้นมา ^^

    ต่ออีกสามหน้านะคะ หวังว่าขณะโพสนั้นอย่า Hang เด้อเวปบอร์ด เด้อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...