การปล่อยวางคือ...ธรรมขั้นสูงสุด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ne_ko, 29 มีนาคม 2011.

  1. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ

    ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

    ประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ

    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

    ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า

    ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

    การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่า

    ปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้

    หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อ

    ให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ

    และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมี

    แต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็น

    ประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัย

    หนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัม

    พุทธา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วน

    ที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะ

    ติฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็น

    ไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิต

    คือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี

    ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำ

    ญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้

    กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติ

    อย่างไร?

    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ

    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย

    มี ๘ อย่าง ฯ

    เสยยะถีทัง

    ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

    - สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

    - สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

    - สัมมาวาจา วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

    - สัมมากัมมันโต การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

    - สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


    - สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )

    - สัมมาสะติ การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

    - สัมมาสะมาธิ ฯ การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
    ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )


    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณ

    ะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำ

    ดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง

    เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วย

    ปัญญาอันยิ่ง


    คัดลอกมาจากลิ๊งค์นี้ครับ
    ����ѡ� >> ���Ǵ���

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมบูรณ์)

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.74331/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 เมษายน 2011
  2. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน
    อนัตตลักขณสูตร
    เนื้อความ :
    เนื่องจากมีท่านผู้รู้ในลานธรรมฯ หลายท่าน กล่าวถึงพระสูตรนี้อยู่บ่อยๆ
    จึงคัดลอกพระสูตรและคำแปลไทยสำหรับท่านที่สนใจ เพื่อสดับสติปัญญาตามสมควร ผิดพลาดประการใด ขอได้โปรดอภัยด้วยนะครับ
    อนัตตลักขณสูตร
    ________
    เริ่มอนัตตลักขณสูตร

    ยนฺตํ สตฺเตหิ ทุกฺเขน เ ยฺยํ อนตฺตลกฺขณํ
    อนัตตลักขณะอันใด อันสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ได้โดยยาก
    อตฺตวาทาตฺตส ฺ าณํ สมฺมเทว วิโมจนํ สมฺพุธฺโธ ตํ ปกาเสสิ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงประกาศ อนัตตลักขณะนั้น เป็นธรรมอันปลดเปลื้องอัตตวาทุปาทาน การถือมั่นด้วยอันกล่าวว่าตน และอัตตสัญญา ความสำคัญว่าตนโดยชอบแท้
    ทิฏฺ สจฺจาน โยคินํ
    แก่เหล่าพระโยคี คือพระปัญจวัคคีย์ ผู้มีสัจจะอันเห็นแล้ว
    อุตฺตรึ ปฏิเวธาย ภาเวตุ าณมุตฺตมํ
    เพื่อให้เจริญญาณอันอุดม เพื่อตรัสรู้ธรรมอันยิ่ง
    ยนฺเตสํ ทิฎฺ ธมฺมานํ าเณนุปปริกฺขตํ สพฺพาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ อเสสโต
    จิตของพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ผู้มีธรรมอันได้เห็นแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยญาณ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวงโดยไม่เหลือ ด้วยพระสูตรอันใด
    ตถา าณานุสาเรน สาสนํ กาตุมิจฺฉตํ สาธูนํ อตฺถสิทฺธตฺถํ ตํ สุตฺตนฺตํ ภณาม เส
    เราทั้งหลาย จงสวดพระสูตรอันนั้น เพื่อสำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย ผู้ปรารถนาจะทำคำสอน โดยระลึกตามญาณอย่างนั้น เทอญ

    อนัตตลักขณสูตร

    เอวมฺเม สุตํ
    อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    เอกํ สมยํ ภควา
    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
    พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย
    เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
    ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ
    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์(ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)
    รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    รูป ฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
    นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
    รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
    ลพฺเภถ จ รูเป
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง
    เอวํ เม รูปํ โหตุ เอวํ เม รูปํ มา อโหสีติ
    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยสฺมา จ โข ภิกขเว รูปํ อนตฺตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สํวตฺตติ
    เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    น จ ลพฺภติ รูเป
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง
    เอวํ เม รูปํ โหตุ เอวํ เม รูปํ มา อโหสีติ
    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    เวทนา อนตฺตา
    เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    เวทนา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
    นยิทํ เวทนา อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
    เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
    ลพฺเภถ จ เวทนาย
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง
    เอวํ เม เวทนา โหตุ เอวํ เม เวทนา มา อโหสีติ
    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยสฺมา จ โข ภิกขเว เวทนา อนตฺตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตัวตนของเรา
    ตสฺมา เวทนา อาพาธาย สํวตฺตติ
    เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    น จ ลพฺภติ เวทนาย
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง
    เอวํ เม เวทนา โหตุ เอวํ เม เวทนา มา อโหสีติ
    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ส ฺ า อนตฺตา
    สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    ส ฺ า จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
    นยิทํ ส ฺ า อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
    สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
    ลพฺเภถ จ ส ฺ าย
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง
    เอวํ เม ส ฺ า โหตุ เอวํ เม ส ฺ า มา อโหสีติ
    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยสฺมา จ โข ภิกขเว ส ฺ า อนตฺตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตัวตนของเรา
    ตสฺมา ส ฺ า อาพาธาย สํวตฺตติ
    เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    น จ ลพฺภติ ส ฺ าย
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง
    เอวํ เม ส ฺ า โหตุ เอวํ เม ส ฺ า มา อโหสีติ
    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    สงฺขารา อนตฺตา
    สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    สงฺขารา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสํสุ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
    นยิทํ สงฺขารา อาพาธาย สํวตฺเตยฺยุ
    สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    ลพฺเภถ จ สงฺขาเรสุ
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
    เอวํ เม สงฺขารา โหนฺตุ เอวํ เม สงฺขารา มา อเหสุนฺติ
    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยสฺมา จ โข ภิกขเว สงฺขารา อนตฺตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั้นมิใช่ตัวตนของเรา
    ตสฺมา สงฺขารา อาพาธาย สํวตฺตนฺติ
    เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    น จ ลพฺภติ สงฺขาราสุ
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
    เอวํ เม สงฺขารา โหนฺตุ เอวํ เม สงฺขารา มา อเหสุนฺติ
    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    วิ ฺ าณํ อนตฺตา
    วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    วิ ฺ าณ ฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
    นยิทํ วิ ฺ าณํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
    วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    ลพฺเภถ จ วิ ฺ าเณ
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง
    เอวํ เม วิ ฺ าณํ โหตุ เอวํ เม วิ ฺ าณํ มา อโหสีติ
    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว วิ ฺ าณํ อนตฺตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่ตัวตนของเรา
    ตสฺมา วิ ฺ าณํ อาพาธาย สํวตฺตติ
    เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    น จ ลพฺภติ วิ ฺ าเณ
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง
    เอวํ เม วิ ฺ าณํ โหตุ เอวํ เม วิ ฺ าณํ มา อโหสีติ
    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ
    รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจฺจํ ภนฺเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ทุกฺขํ ภนฺเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปริณามธมฺมํ
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตํ ภนฺเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า
    ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    เวทนา นิจฺจา วา อนิจฺจา วาติ
    เวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจฺจา ภนฺเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ทุกฺขํ ภนฺเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปริณามธมฺมํ
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตํ ภนฺเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า
    ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    ส ฺ า นิจฺจํ วา อนิจฺจา วาติ
    สัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจฺจา ภนฺเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ทุกฺขํ ภนฺเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปริณามธมฺมํ
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตํ ภนฺเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า
    ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    สงฺขารา นิจฺจา วา อนิจฺจา วาติ
    สังขารทั้งหลายเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจฺจา ภนฺเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ทุกฺขํ ภนฺเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปริณามธมฺมํ
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตํ ภนฺเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า
    ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    วิ ฺ าณํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ
    วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจฺจํ ภนฺเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ทุกขํ ภนเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปริณามธมฺมํ
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตํ ภนฺเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า
    ตสฺมาติห ภิกฺขเว
    เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย
    ยงฺกิ ฺจิ รูปํ
    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนํ วา ปณีตํ วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยนฺทูเร สนฺติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สพฺพํ รูเป
    รูปทั้งหมด ก็เป็นสักว่ารูป
    เนตํ มม
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหมสฺมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    น เมโส อตฺตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้
    ยากาจิ เวทนา
    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อชฺฌตฺตา วา พหิทฺธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกา วา สุขุมา วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนา วา ปณีตา วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยา ทูเร สนฺติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สพฺพา เวทนา
    เวทนาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าเวทนา
    เนตํ มม
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหมสฺมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    น เมโส อตฺตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้
    ยากาจิ ส ฺ า
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อชฺฌตฺตา วา พหิทฺธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกา วา สุขุมา วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนา วา ปณีตา วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยา ทูเร สนฺติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สพฺพา ส ฺ า
    สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา
    เนตํ มม
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหมสฺมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    น เมโส อตฺตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น
    เยเกจิ สงฺขารา
    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกา วา สุขุมา วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนา วา ปณีตา วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    เย ทูเร สนฺติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สพฺเพ สงฺขารา
    สังขารทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร
    เนตํ มม
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหมสฺมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    น เมโส อตฺตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น
    ยงฺกิ ฺจิ วิ ฺ าณํ
    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนํ วา ปณีตํ วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยนฺทูเร สนฺติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สพฺพํ วิ ฺ าณํ
    วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่าวิญญาณ
    เนตํ มม
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหมสฺมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    น เมโส อตฺตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้
    เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
    รุปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป
    เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา
    ส ฺ ายปิ นิพฺพินฺทติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัญญา
    สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขารทั้งหลาย
    วิ าณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ

    นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด
    วิราคา วิมุจฺจติ
    เพราะคลายความติด จิตก็พ้น
    วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ
    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้
    ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ
    อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    อิทมโวจ ภควา
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง
    อตฺตมนา ป ฺจวคฺคิยา ภิกฺขู
    พระภิกษุปัญจวัคคีก็มีใจยินดี
    ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ
    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจัา
    อิมสฺมิ ฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภ ฺ มาเน
    ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
    ป ฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ
    จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล


    จบ อนัตตลักขณสูตร

    ที่มา

    http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/009240.htm

    อนัตตลักขณสูตร mp 3

    http://palungjit.org/threads/บทอนัตตลักขณะสูตร-พร้อมบทแปล.3861/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2011
  3. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน

    อาทิตตปริยายสูตร​


    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3.238434/
     
  4. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    ถ้าเราเป็นผู้ที่คิดจะปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ตามวิถีแห่งธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    ก็ควรจะศึกษาวิธีปฏิบัติจากธรรมที่ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้นเถิด โดยเฉพาะ อริยะมรรคมีองค์แปด พระพุทธ

    องค์ทรงตรัสไว้ว่า ถ้าโลกนี้ยังมีผู้ที่ปฏิบัติในอริยะมีองค์แปดอยู่ โลกนี้จะไม่ว่างจาก ผู้ไกลจากกิเลส คือ

    พระอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 เมษายน 2011
  5. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
    เมื่อบัญญติว่ามีเราจะต้องไปพิจารนาธรรมไปปฏิบัติธรรม จิตชนิดนี้ก็ไม่เที่ยงดับตามสภาพโดยตัวมันเองอยู่แล้ว...มันไม่มีอะไรให้พิจารนาให้ปฏิบัติไม่มีอะไรให้ยึดถือยึดติดยึดมั่นหรือปล่อยวางอยู่แล้ว...
     
  6. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    การพูดถึงสภาวะธรรมคือความพ้นทุกข์นั้น อธิบายยังไงก็ไม่ผิด แต่..มันจะเหมือน

    ชี้นกที่อยู่บนยอดไม้ไหม ซึ่งไม่มีวันผิด แต่มันก็ยังห่างใกลความจริงคือสภาวะสิ้นทุกข์อยู่มาก เพราะ

    ฉะนั้นจงเดินตามทางคืออริยะมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วเถิด ถึงพร้อมแล้วสภาวะธรรม

    ที่ปรากฏจะเป็นปัจจัตตัง ผู้ปฏิบัติได้พึงเห็นได้ด้วยตัวเอง ผู้รู้ย่อมรู้ได้เฉพาะตน ไม่มีอะไรเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤษภาคม 2011
  7. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    ดูก่อนเมฆิยะ เธอพึงเจริญอสุภเพื่อละราคะ
    พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท
    พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
    พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ
    ดูก่อนเมฆิยะ ผู้บรรลุนิจจสัญญา ย่อมบรรลุอนัตตสัญญา ผู้บรรลุอนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานนั่นเทียว(ต่อมาพระเมฆิยะ น้อมปฏิบัติตามนี้ ไม่ช้าไม่นานได้บรรลุธรรมคือพระอรหันต์)
    บางส่วนจาก เมฆิยะสูตร สุตตันต.17

    ๘. สังโยชนสูตร

    ว่าด้วยสังโยชน์ และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์


    [๓๐๘] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
    ธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เป็นไฉน ? สังโยชน์เป็นไฉน ?
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
    สังโยชน์ ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจใน
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์.
    จบ สังโยชนสูตรที่ ๘.

    ๙. อุปาทานสูตร

    ว่าด้วยอุปาทาน และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

    [๓๐๙] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลาย จงฟัง


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน ? อุปาทานเป็นไฉน ?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน


    ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน.
    จบ อุปาทานสูตรที่ ๙


    http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=2700356
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2011
  8. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์

    ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน

    ถามว่าใครบ้างที่ไม่มีความกำหนัดด้วยความพอใจใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    จริงอยู่ ความกำหนัดด้วยความพอใจใน ขันธ์ ห้า นี้ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปในตัวของมัน

    เอง แต่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในตัวของมันเองนั้น มันไม่มีวันจบสิ้น ที่เรียกว่า หมุนวน

    ซ้ำๆ ไม่มีที่สิ้นสุด


    แต่สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองนั้น คือวิธีปฏิบัติเพื่อ

    ตัดวงจรเหล่านี้ต่างหาก จะเรียกว่าปฏิบัติเพื่อตัดวัฏฏสงสารก็ได้ จะเรียกว่าการปฏิบัติเพื่อ

    ตัดความกำหนัดด้วยความพอใจในขันธ์ ห้า ก็ได้

    จะเรียกว่าการปฏิบัติเพื่อตัดสังโยชน์ก็ได้

    จะเรียกว่าการปฏิบัติเพื่อตัดอวิชชาก็ได้

    จะเรียกว่าอริยะมรรค ก็ได้

    ซึ่่งผู้ศึกษาเพื่อนำมาปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ตามวิถีแห่งพุทธธรรม

    พึงศึกษาว่า.............

    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างไร ในวิถีแห่งความพ้นทุกข์ตามที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ชอบ

    ได้โดยพระองค์เอง แล้วนำมาแสดง

    ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดก็ในการแสดงธรรมครั้งแรกในโลกโปรด ปัญจวัคคีย์ ฤาษีทั้ง ห้า

    ได้แก่ธรรมจักกัปปวัตตนสูตรนั่นแหละ ค่อยๆศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีๆเถิด ค่อยๆ

    ฝึกหัดปฏิบัติให้ได้ตามนั้นทีละเล็กละน้อย ตามกำลังแห่งตนเถิด ถ้าเรามีความประสงค์จะ

    นำตนของตนให้พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงตามวิถีแหงพุทธ




    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วน

    ที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ

    อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ

    ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี

    และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิต

    คือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ



    บางส่วนจากธรรมจักรกัปปวัตตนสุตร
     
  9. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    อนุโมทนา สาธุ อยากให้ทุกคนได้อ่าน...
     
  10. Seventh Heaven

    Seventh Heaven สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +0
    จริงๆแล้ว
    คำสอนของพระพุทธองค์
    แยกเป็นบัวหลายเหล่า
    เปรียบเหมือน ระดับปัญญาบารมีไม่เท่ากัน







    สำหรับบัวเหล่าสุดท้ายกำลังจะบาน
    พระพุทธองค์พึงสอนว่า

    จริงๆแล้ว
    โดยธรรมชาติแห่งธรรม
    มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว
    แบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุ
    ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ
    ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งแปรปรวนไปอยู่แล้วตามธรรมชาติ
    ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไปอยู่แล้วตามธรรมชาติ

    ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    มันคงสภาพมันอยู่อย่างนั้น
    มันเป็นเช่นนั้นเองมันอยู่อย่างนั้น
    ไม่มีใครสร้างภาวะให้ธรรมชาติมันเกิดขึ้นได้
    ไม่มีการเข้าอยู่ในธรรมชาติ

    เมื่อตระหนักชัดถึงธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว
    ย่อมเป็นเนื้อหาเดียวกันตลอดกับธรรมชาตินั้นเอง



    ........................................................


    หากไม่เข้าใจคำสอนข้างบน
    คุณก็คงเป็นบัวเหล่าที่พึ่งโผล่พ้นน้ำ
    พระพุทธองค์พึงสอนบัวเหล่านี้ว่า



    จริงๆแล้ว
    โดยธรรมชาติแห่งธรรม
    มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว
    แบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุ
    ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ
    ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งแปรปรวนไปอยู่แล้วตามธรรมชาติ
    ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไปอยู่แล้วตามธรรมชาติ

    หากยังหลงไม่เข้าใจด้วยอำนาจแห่งอวิชชาคือความไม่รู้......
    ยังหลงว่า
    มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น


    พระพุทธองค์
    ทรงตรัสว่า
    สิ่งที่เกิดขึ้นตามอำนาจแห่งอวิชชาความหลงนั้น
    มันย่อมไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมดาตามธรรมชาติโดยสภาพของมันอยู่แล้ว



    .......................................................

    หากยังไม่เข้าใจคำสอนข้างบนนี้อีก
    แสดงว่าคุณเป็นบัวใต้น้ำ
    พระพุทธองค์ทรงแนะนำบัวใต้น้ำนี้ว่า


    ให้รักษาศิลบ้าง
    ทำสมถะกรรมฐาน 40 กองบ้าง
    ให้ศึกษาเรื่อง อริยสัจจ์ 4 บ้าง
    ให้ทำทานบ้าง
    ให้มีหิริโอตตัปปะบ้าง



    ....................................................

    หากยังไม่เข้าใจในข้อความข้างต้นอีก
    แสดงว่าคุณเป็นบัวใต้โคลนตม


    พระพุทธองค์จะไม่ทรงแสดงธรรมอะไร
    พระองค์จะทรงเป็นผู้นิ่งเฉยอยู่
    หรือ
    ขับไล่ออกไป
    หรือแสดงธรรมอันลดทิฐิมานะของบุคคลผู้ที่เป็นบัวใต้โคลนตมที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์



    [​IMG]
     
  11. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

    ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่ สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมบูรณ์)
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.74331/

    ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่ สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย

    ท่านได้ฟังธรรมอะไรหนอแล จึงเป็นเหตุปัจจัยทำให้ท่านเกิดธรรมจักษุนี้ ถ้าเราใคร่ครวญพิจารณาในธรรมนั้นบ้าง ธรรมจักษุนี้จะบังเกิดมีกับเราบ้างไหมหนอ?



    อิมสฺมิ ฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภ ฺ มาเน
    ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
    ป ฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ
    จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล
    (ท้ายอนัตตลัขณสูตร ธรรมกัณฑ์ที่ ๒ ที่ทรงแสดง)

    จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล

    ทำไฉนสภาวะธรรมเช่นนี้จึงจะปรากฏชัดแก่เราได้?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 เมษายน 2011
  12. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    พระอัสสชิ ๑ในพระปัญจวัคคี แสดงธรรมแก่พระสารีบุตร​


    [๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-
    ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
    เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ
    ทรงสั่งสอนอย่างนี้.


    สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม
    [๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด
    สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่
    สารีบุตรปริพาชก
    ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทง
    ตลอดบทอันหาความโศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้
    พวกเรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์.

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑
     
  13. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    ลำดับต่อมา พระสารีบุตรได้ฟังธรรมคือทีฆนขสูตร จากพระพุทองค์แล้วบรรลุอรหันต์

    [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็น
    แดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย
    เป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น
    ดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า
    เป็นของมิใช่ตน. เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม
    เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความ
    อยู่ในอำนาจของกายในกายได้.

    [๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
    สุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
    ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
    สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
    สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
    เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
    อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็
    ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
    เป็นธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
    สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
    เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
    ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
    แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนี้มิได้มี. อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ
    โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ.


    [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
    พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วย
    ปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    แก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
    ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข-
    *ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.



    ๔. ทีฆนขสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤษภาคม 2011
  14. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย
    ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน


    ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนข-
    *ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.


    ไม่ปรากฏว่า พระพุทธองค์จะบรรยายสภาวะธรรมที่บรรลุถึงไปมากกว่านี้เลย เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะว่าผู้ปฏิบัติได้ย่อมรู้ได้เฉพาะตน และเมื่อรู้ได้เฉพาะตนแล้ว ย่อมชี้แต่ทางอธิบายแต่ทางที่ทำให้ตนเข้าถึงความรู้นั้นเท่านั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามรู้ได้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกัน อย่าพยายามอธิบายสิ่งที่ตนบรรลุ อย่าพยายามอธิบายสิ่งที่ตนรู้เลย อย่าพยายามอธิบายสิ่งที่ตนมีความรู้สึกว่าได้ รู้สึกว่าใช่ รู้สึกว่าถึงเลย มัีนจะเหมือนกับการชี้นกที่ปลายไม้นั่นแหละ มันไม่ผิดหรอก แต่มันยังห่างไกลความจริงอยู่มาก และที่สำคัญ โวหารที่ว่าปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องทำอะไรเลยนี้ อย่ามาเผยแพร่เป็นสาธาระณะเลยนะ เอาไว้รู้ได้เฉพาะตนของท่านและกลุ่มของท่านนั่นแหละดีที่สุด ตัดความอยากในการอยากเผยแพร่ออกไปเสียบ้างก็น่าจะดีนะ การแสดงอัตตาว่าตนเข้าถึงธรรมรู้ธรรม เข้าใจในธรรมว่ามีสภาวะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้นั้น ไม่จำเป็นต้องแสดงเป็นสาธาระณะอย่างนี้ก็น่าจะได้หรืออย่างไร?
     

แชร์หน้านี้

Loading...