กฐินสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ หน้าตัก ๔ ศอก จำนวน ๓๐ องค์ วัดท่าขนุน กาญจนบุรี

ในห้อง 'กฐิน - ผ้าป่า - งานวัด' ตั้งกระทู้โดย chonatad, 17 สิงหาคม 2009.

  1. k.nuch

    k.nuch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +146
    อานิสงส์การสร้างพระชำระหนี้สงฆ์

    การที่เป็นหนี้สงฆ์ในชาติก่อน ๆ รวมทั้งชาติปัจจุบัน เราจะทำอย่างไรจึงจะชำระให้หมดได้ เพราะการเป็นหนี้สงฆ์นี่โทษมาก ...
    ถ้าจะชำระให้หมดได้ต้องสร้างพระพุทธรูปชำระหนี้สงฆ์ หน้าตัก ๔ ศอก โตกว่าได้แต่เล็กกว่านั้นไม่ได้
    แล้วอุทิศถวายสงฆ์ไปเป็นการชำระหนี้สงฆ์ที่เคยติดค้างมาในชาติก่อน
    อำนาจแห่งกุศลที่สร้างพระพุทธปฏิมาส่งผลให้ได้เกิดเป็นคนรูปงามมีบุคลิกสง่าเป็นที่เคารพรักใคร่ของประชาชน
    และมีอิสริยยศ บริวารทรัพย์สมบัติตลอดจนความสุขสถาพร ไม่เป็นโรควิกลวิกาล
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง



    หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
    "การสร้างพระพุทธรูปเหมือนการสร้างธนาคารบุญขอบุญที่ได้สร้างพระพุทธรูปอันนั้นช่วยบังคับโรคต่าง ๆ กรรมต่าง ๆ เวรต่าง ๆ ในตนตัวให้พินาศระงับไป
    สิ่งที่ไม่ดีก็ให้พินาศไปสิ้น สิ่งที่ดีที่สุดที่เป็นบุญกุศลขอให้คุ้มครองรักษาขอให้มูลศรัทธาทั้งหลายที่ได้ร่วมสร้างพระพุทธรูป ได้พบปะพระพุทธศาสนา
    ได้บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาบ่อย ๆ จนกว่าจะถึงพระนิพพานทุกคน ขอญาติโยมอย่าได้พรากจากศาสนาพระพุทธเจ้า ขอให้ได้บำเพ็ญบารมีไปเรื่อย ๆ"

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    สร้างพระ ๑องค์ ได้อานิสงส์ ๕ กัป....ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่สร้างด้วยอะไรก็ตาม หมายความว่าบุญกุศลจะตามหนุนส่งท่านไปทุกภพทุกชาตินานถึง ๕กัป......
    .<O:p</O:p

    หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา <O:p</O:p
    การสร้างพระ เปรียบได้กับธนาคารบุญซึ่งจะเกิดบุญกุศลกับผู้ที่มีส่วนในการสร้าง โดยบุญกุศลนั้น จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีผู้มากราบไหว้สักการะบูชา เท่ากับจำนวนคน และจำนวนครั้ง


    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
    การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทาน ในงานฉลองพระพุทธรูป
    ได้ชื่อว่าเป็นผู้มี"ความเห็นตรง เห็นถูกแท้" เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลยผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าเป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย

    โมทนาบุญกับทุกท่านอีกครั้งค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...