เรื่องเด่น “อธิการบดีมจร”แนะพระสงฆ์สร้างเครือข่ายแก้ปัญหาสังคมยุคดิจิตอล

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 มีนาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    “อธิการบดี มจร” แนะพระสงฆ์สร้างเครือข่ายแก้ปัญหาสังคมยุคดิจิตอล

    “อธิการบดีมจร”แนะพระสงฆ์ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผสมผสานวิชาการ ตื่นตัวข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์นำมาเป็นอุปกรณ์สอนธรรม สร้างเครือข่ายแก้ปัญหาสังคมในยุคดิจิตอล

    e0b89ae0b894e0b8b5e0b8a1e0b888e0b8a3e0b981e0b899e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c.jpg

    เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2561 ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน อ.เมือง จ.เชียงราย พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. รรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาส เจ้าคณะภาค 2 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ปาฐกถาเรื่อง “คณะสงฆ์ไทยกับความท้าทายยุคดิจิตอล” กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเป็นส่วนร่วมในการสัมมนาในครั้งนี้ ในยุคปัจจุบันเราตั้งคำถามว่า พระสงฆ์มีบทบาทอะไรในสังคมไทย บทบาทของพระสงฆ์มี 2 บทบาท คือ คันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ในยุคปัจจุบันมีการผสมผสานเข้าด้วยกัน ใครจะเรียนมหาจุฬาฯต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถึงจะจบ เป็นการผสมผสาน

    “ยุคดิจิตอลเราจะเห็นการทำงานของพระสงฆ์ เราเรียนกรรมฐานแล้วออกไปช่วยสังคม เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ บวชเณรภาคฤดูร้อน เราเป็นกรรมฐานที่ผสมผสานในการช่วยเหลือสังคมแก้ทุกข์ในสังคมช่วยแก้ปัญหาสังคม เราเรียกพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม พระสงฆ์ต้องไม่ทิ้งสังคม เมื่อเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งเราจะนั่งสมาธิอยู่ได้อย่างไร เราต้องไปช่วยขณะที่เราทำงานเราก็ปฏิบัติไปด้วย ไม่ต้องรอให้บรรลุค่อยออกไปปฏิบัติ ไม่ต้องรอเรียนให้จบค่อยช่วยสังคม เรียกว่า การสงเคราะห์ เราต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ให้มีความสงบ พระสงฆ์ต้องไม่เป็นภาระสังคม” พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า

    b89ae0b894e0b8b5e0b8a1e0b888e0b8a3e0b981e0b899e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c-1.jpg

    ฆราวาสกับบรรพชิตต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน บรรพชิตอนุเคราะห์ด้วยธรรมทาน ฆราวาสอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย 4 จึงเป็นสังคหธุระ ด้วยการเอาใจใส่ความทุกข์ของสังคม ถือว่าศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ก็มีการบูรณาการในการเป็นพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม โดยเราเดินตามครูบาศรีวิชัยในการพัฒนาสังคม ซึ่งยุคครูบาศรีวิชัยพัฒนาก็เกิดความขัดแย้งกับคณะสงฆ์ส่วนกลางในสมัยนั้นเพราะขาดการสื่อสารระหว่างกัน ไม่เหมือนยุคปัจจุบันมีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็ว จะโทษใครก็ไม่ได้ จึงมีคำตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา” เราจึงต้องอนุวัติตามกฎหมายแผ่นดิน คณะสงฆ์ปฏิบัติตามจารีตแต่อย่าลืมปฏิบัติตามกฎหมาย พระสงฆ์จะต้องรู้กฎหมาย เราสามารถศึกษาได้

    เพราะเป็นยุคข้อมูลข่าวสารมีลักษณะ 3 ประการ คือ”รวดเร็ว” ใครไม่รู้จักออเจ้าคืออะไร พระสงฆ์ต้องทราบเพื่อเป็นอุปกรณ์ “ไร้พรมแดน” ไม่มีขีดจำกัด “เครือข่าย” เดี๋ยวออกสื่อออนไลน์กระจายอย่างรวดเร็ว เราขยายเป็นเรื่องบวกเรื่องลบได้เร็วมาก เราจะใช้ประโยชน์อย่างไร มีสร้างสรรค์และทำลาย เราจะต้องตื่นตัวในเรื่องนี้ เราต้องนำดิจิตอลมาเป็นเครื่องมือใช้ในการสอนคุณธรรมให้คนในสังคม ปัจจุบันมีชุปเปอร์ไฮเวย์ข่าวสารโดยไม่มีกฏจราจร

    พระสงฆ์จะต้องเตือนสติสังคม ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารชนกันเพราะเราไม่ได้คุยกันเรื่องจริยธรรมยุคดิจิตอล ปัจจุบันเราเป็นสังคมก้มหน้าจะหาทางสายกลางอย่างไร เราจะบริโภคข้อมูลข่าวสารอย่างไรให้เกิดมัชฌิมา เรามีการทำร้ายกันในยุคดิจิตอล ด้วยการใช้ข้อมูลเท็จ ในตะวันตกมี “วันหยุดทำร้ายรังแกหยุดว่าร้ายกันในยุคดิจิตอล” มีเทคโนโลยีสูงแต่ขาดจริยธรรม ทรัพย์สินทางปัญญาในยุคดิจิตอลระวังการไปลอกข้อมูล ในปัจจุบันระวังเรื่องการลอกวิทยานิพนธ์

    b89ae0b894e0b8b5e0b8a1e0b888e0b8a3e0b981e0b899e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c-2.jpg

    พันธกิจของพระพุทธเจ้า 4 ประการ 1) ศึกษาธรรม เราสามารถใช้นำดิจิตอลมาใช้เพื่อการศึกษา ในยุคดิจิตอลเรียนรู้ได้หมด การเรียนควรเรียนทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง ขั้นสูง เรียนอาจจะไม่ได้ใช้ตอนนี้แต่เรียนไว้สักวันต้องได้ใช้ เป็นคันถธุระ ที่ไร่เชิญตะวันมีการเรียนชาวนาแบบออนไลน์ 2)ปฏิบัติธรรม 3)เผยแผ่ธรรม 4)ปกป้องธรรม เราต้องเอาจุดเด่นของดิจิตอลมาใช้ คือ การสร้างเครือข่าย เราอย่าทำงานคนเดียว เราต้องสร้างเครือข่ายในการศึกษา ปกครอง เผยแผ่ เราต้องจับมือกับชุมชน เอาญาติโยมที่ทำเป็นมาช่วยพระพุทธศาสนา เครือข่ายจะขยายกันไปเอง เราต้องทำงานแบบเชื่อมโยง สิ่งที่เราเผยแผ่นำไปไว้ในออนไลน์

    ปัจจุบันจะต้องมีการเชื่อมโยงกัน ที่วัดประยุรวงศาวาสมีการจัดงานลอยกระทง มีเครือข่ายเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพราะมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 วัด คือ วัดโพธิ์ วัดอรุณ วัดประยูร วัดกัลยา และอาศัยชุมชน 6 ชุมชน เรียกว่า 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ ชุมชนมีส่วนร่วม คืนกำไรให้คนในชุมชน มีการประกวดอาหาร 3 ศาสนา เราจะทำงานในยุคดิจิตอลต้องสร้างเครือข่าย และบริหารวัดให้เป็นแบบธรรมาภิบาล เป็นระบบการบริหารจากสหประชาชาติ เราต้องบริหารวัดแบบธรรมาภิบาลในยุคดิจิตอล

    “ดังนั้น เราต้องใช้ดิจิตอลในการศึกษา ในการปกครอง ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เราต้องจัดการความรู้สู่รุ่นหลังหรือ กระบวนการของ KM เป็นการจัดการความรู้ สิ่งสำคัญต้องมีสติและโยนิโสมนสิการ” อธิการบดี มจร กล่าวในที่สุด

    b89ae0b894e0b8b5e0b8a1e0b888e0b8a3e0b981e0b899e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c-3.jpg
    b89ae0b894e0b8b5e0b8a1e0b888e0b8a3e0b981e0b899e0b8b0e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c-4.jpg
    …………….

    (หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/105728
     

แชร์หน้านี้

Loading...