เรื่องเด่น “สมเด็จสังฆราช”ทรงเน้นย้ำชาวพุทธยึดสัมมาทิฏฐิพัฒนาสังคม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 25 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b897e0b8a3e0b887e0b980e0b899e0b989e0b899e0b8a2e0b989.jpg

    วันนี้( 25 พ.ค.) ที่หอประชุม มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พล.อ.บัณฑิต มลายอริศูนย์ เป็นผู้แทนพระองค์ เปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2561 และเนื่องในโอกาสสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม ภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” โดยมีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ เข้าร่วม 85 ประเทศ กว่า 3,000 รูป/คน ทั้งนี้ตั้งแต่ช่วงเช้า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(อัมพร อัมพโร)เสด็จในการประชุมพร้อมประทานธรรมกถาความว่า โอกาสอันเป็นมงคลนี้ ขอปรารภข้อคิดบางประการต่อท่านทั้งหลายว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทานหนทางพัฒนามนุษย์ ให้ก้าวสู่การหลุดพ้นจากห้วงทุกข์อย่างถาวรได้ อันเรียกว่า มรรค 8 มีสัมมาทิฎฐิเป็นธรรมะประการต้น

    คำว่าทิฎฐิ หมายถึงความเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นำพาครอบงำต่อชีวิตของแต่ละบุคคลอาจจะเป็นทางรุ่งเรืองหรือทางเสื่อมถอย ถ้าเป็นความเห็นความเชื่อที่ถูกต้อง ก็เรียกสัมมาทิฎฐิ ถ้าเป็นความเห็นความเชื่อที่ผิด ก็เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ หากเปรียบภาษาทางโลกที่ใช้บริหารงาน พัฒนาศักยภาพของมนุษย์ อาจเทียบได้กับคำว่า ทัศนคติ กล่าวคือ การจะพัฒนาตน องค์กร สังคม ให้เจริญรุ่งเรืองจำเป็นต้องมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องเป็นเบื้องต้นก่อน หากมีทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่ผิดพลาดแล้ว ก็ไม่สามารถพัฒนางานไปสู่เป้าหมายได้ถูกทิศทาง ก็เหมือนผู้หมายใจจะพาเรือไปทางทิศเหนือ แต่กลับหันหัวเรือไปสู่ทิศใต้ เรือนั้นก็หลงวนเวียนไม่ไปถึงจุดหมายที่ต้องการ หรือกว่าจะพาให้หมุนกลับมาให้ถูกทิศทางได้ ก็ต้องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ บุคคลที่หวังจะพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องอบรมปัญญาบนรากฐานของสัมมาทิฏฐิ ขอชาวพุทธได้น้อมนำพระพุทธธรรมมาเป็นเครื่องอบรมตนให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิอย่างจริงใจ อันเป็นเป้าหมายของการพัฒนาสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา และจะเพิ่มพูนสันติภาพในโลกนี้ต่อไป

    พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมจร. กล่าวว่า การจัดวิสาขบูชาโลกครั้งนี้เป็นครั้งที่15 มจร.ใช้หัวข้อ“พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติในฐานะ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” และสอดคล้องกับแนวทางของสหประชาชาติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเน้นการพัฒนามนุษย์ ในรูปของปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เมื่อมนุษย์มีคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่อย่างถูกต้องก็จะเกิดระบบการเมือง เศรษฐกิจที่ถูกต้องดีงาม ไปสู้เป้าหมายของความสุข 4 ประการ คือ สุขจากการมีทรัพย์ สุขจาการจ่ายทรัพย์ สุขจากการไม่เป็นหนี้สิน และสุขจากการทำงานสุจริต ไม่คอร์รับชัน เบียดเบียนกัน คุณค่า 4 อย่างนี้ คือ เป้าหมายพัฒนาประเทศของไทย

    พระพรหมบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า ซึ่งในปี 2560 มจร. ได้ดำเนินการจัดทำ พระไตรปิฎกสากล ฉบับแรกของโลกสำเร็จ ถือเป็นพระไตรปิฎกฉบับประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนารวบรวมจาก 3 นิกายหลัก คือ เถรวาท มหายาน และวัชรยาน แปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่ชาวพุทธทั่วโลกใช้อ้างอิงและสามารถศึกษาหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นสากล ซึ่งในวิสาขบูชา ปี 2561 มจร.ได้ดำเนินการแปลเป็นฉบับภาษาไทยสำเร็จแล้ว ชื่อ “วิถีธรรมจากพุทธปัญญา” จัดพิมพ์จำนวน 5,000 เล่ม ความหน้า 1,100 หน้า เพื่อให้ประชาชน นักวิชาการได้ศึกษา เช่น เทียบเรื่องกรรมฐาน สติ ชีวิตและความตาย และเรื่องของกรรม ของแต่ละนิกายตั้งแต่เถรวาท มหายาน และวัชรยาน เป็นต้น นอกจากนี้ชาวพุทธนานาชาติ ยังได้ยื่นเรื่องขอแปลพระไตรปิฎกสากล เป็นภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม สเปน ฮังการี อินโดนีเซีย อีกด้วย

    ด้านนายเชอริ่ง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ได้มาร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมว่า ภูฏานได้ยึดหลักพระพุทธศาสนา รวมทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 มาพัฒนาประเทศ ซึ่งผู้ปกครองยึดหลักทศพิธราชธรรม การบริหารประเทศจะเน้นนโยบายให้นำหลักธรรมะไปใช้ในการบริหารทุกระดับ โดยตนเคยอยู่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)มาก่อน จึงมีความสนใจนำพระพุทธศาสนาไปพัฒนาจิตใจของเด็กในโรงเรียน จึงอยากได้หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาจากประเทศไทย ตั้งแต่ระดับป.1-ม.6 ไปเทียบเคียงเป็นแบบอย่างหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาในประเทศภูฎาณ จึงได้สั่งการให้เอกอัครราชทูต ประสานกับมจร.ขอหลักสูตร และแบบเรียนวิชาพระพุทธศาสนาไปดำเนินการดังกล่าว ซึ่งตนเห็นว่า การศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำคุณค่าของศาสนาไปถึงจิตใจเด็กและเยาวชน รวมทั้งยังได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาจิตใจเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำควบคู่กัน โดยรัฐบาลภูฏานจะเน้นส่งเสริมให้ประชาชนสวดมนต์อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที ซึ่งผู้สูงอายุจะสวดมนต์วันละ 2 ชั่วโมง นี่คือแนวทางพัฒนาจิตใจของภุฎาน นอกจากนี้การบริหารประเทศจะเน้นวัดความสุขของประชาชนเป็นหลักโดยเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยึดหลักธรรมาภิบาล อนุรักษ์วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/645518
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...