เรื่องเด่น ‘วิปัสสนากรรมฐาน’ ลดภาวะเครียด-ซึมเศร้าได้

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 10 มิถุนายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8aae0b899e0b8b2e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b890e0b8b2e0b899-e0b8a5e0b894e0b8a0e0b8b2e0b8a7e0b8b0.jpg

    ผศ.ดร.ตวงเพชร สมศรี เลขานุการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคเสาร์-อาทิตย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ ของนิสิตระดับปริญญาเอก โดยพบว่ามีงานวิจัยที่น่าสนใจ คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคล ของพระปลัดสมภาร สมภาโร (ทวีรัตน์) ซึ่งดำนเนินการวิจัยเรื่องดังกล่าว เพื่อ 1.ศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระไตรปิฎกเพื่อการพัฒนาสุขภาพจิต 2.ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาสุขภาพจิต และรูปแบบ วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐานในประเทศไทย 3.ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีต่อสุขภาพจิตของบุคคล โดยวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณกึ่งทดลอง และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามแบบวัดสุขภาพจิตในคนไทย เฉพาะ 3 ด้าน คือ 1.อาการทางกายเนื่องจากความผิดปกติทางจิต 2.ภาวะซึมเศร้า 3.ความวิตกกังวล เพื่อประเมินระดับสุขภาพจิตก่อนและหลังการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเวลา 7 คืน 8 วัน ในกลุ่มตัวอย่าง 50 คน ที่เข้าปฏิบัติธรรมที่ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติ (ศูนย์ 2) จ.ปทุมธานี วันที่ 5-12 ก.พ.2563

    ผศ.ดร.ตวงเพชร กล่าวต่อไปว่า ผลการวิจัยเชิงปริมาณกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่าง 50 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยของภาวะสุขภาพจิตด้านอาการทางกายเนื่องจากความผิดปกติทางจิต และอาการวิตกกังวล มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.004) และ (p-value = 0.031) ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยของระดับสุขภาพจิตด้านภาวะซึมเศร้า ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.072) แต่พบว่ามีแนวโน้มลดลง ส่วนผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตก่อนและหลังการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ก่อนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านอาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลสูงถึงขั้นมีปัญหาสุขภาพจิต แต่หลังการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ค่าคะแนนของภาวะสุขภาพจิตลดลงถึงเกณฑ์ปกติ ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติได้พัฒนาสติโดยกำหนดรู้ในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม สติต่อเนื่องนำไปสู่ความสงบและความตั้งมั่นของจิต(สมาธิ) ที่ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ทำให้เกิดปัญญาที่มองเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงว่า รูปและนามมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้นและดับไป(อนิจจัง), เป็นทุกข์(ทุกขัง), ไม่มีตัวตนและบังคับบัญชาไม่ได้(อนัตตา) ความรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติ ทำให้จิตสงบ เกิดการปล่อยวาง (อุเบกขา) คลายความยึดมั่น ถือมั่น มีปิติ มีภาวะสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงมีหลักฐานเชิงประจักษ์พอสรุปได้ว่า หากบุคคลมีความเครียดสะสมในจิต ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฏฐาน 4) เป็นประจำทุกวัน จะได้รับคุณประโยชน์ คือ มีภาวะสุขภาพจิตดีขึ้น เช่นเดียวกับตัวอย่างในการวิจัยนี้ ดังนั้นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นองค์ความรู้ที่ควรนำมาใช้ในการส่งเสริมป้องกันและลดความตึงเครียดของภาวะสุขภาพจิตของบุคคล ซึ่งจะก่อเกิดประโยชน์ทั้งในบุคคลและสังคมไทย ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/848762
     

แชร์หน้านี้

Loading...