เรื่องเด่น ‘คนรุ่นใหม่’มุมมอง’พระว.วชิรเมธี’ไม่ได้วัดที่อายุ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 กันยายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    126776_th.jpg

    ‘คนรุ่นใหม่’มุมมอง’พระว.วชิรเมธี’ไม่ได้วัดที่อายุ
    : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

    ช่วงที่ปีกลองการเมืองดังกระหึ่ม กลุ่มการเมืองกำลังเตรียมตัวเข้าสู่สนามเลือกตั้งทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ จึงเกิดวาทกรรมทางการเมืองขึ้นคือคนรุ่นใหม่เสียงดังถี่ขึ้นโดยอ้างว่าตัวเองได้กระโดดออกจากวงวนของนักการเมืองคนรุ่นเก่าแล้ว จึงเห็นมีการขนกลุ่มคนรุ่นใหม่ออกมาโชว์สื่อในช่วงที่ยังห้ามหาเสียงทางสื่อออนไลน์

    ที่นี่มาดูว่าคนรุ่นใหม่นั้นหมายถึงกลุ่มคนรุ่นไหนกันแน่ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “young generation” และยกตัวอย่างประโยคคือ “คนรุ่นใหม่มักจะลืมประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา” พร้อมกันนี้มีการนำไปประกอบในการให้ความหมายของคำว่า “คลื่นลูกใหม่” ว่า “คนรุ่นใหม่มักจะลืมประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติสืบต่อๆ คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาและมีความคิดก้าวหน้าที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ แทนคนรุ่นเก่า”

    อย่างไรก็ตามมีการระบุว่า “เมื่อพูดถึงคน Gen Y เราจะคิดถึงคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต ทำให้คนรุ่นใหม่มีการแสวงหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีความคิด ความเชื่อ ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง การขยายตัวของคนรุ่นใหม่จนเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ทำให้คนรุ่นใหม่กลายเป็นพลังขับสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้บริโภคที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการแตกต่างไปจากสมัยก่อน อันนำไปสู่การเกิดขึ้นอาชีพและไอเดียใหม่ๆ ที่จะเข้ามาตอบสนองพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว หรือในฐานะผู้ประกอบการ แรงงานและนักวิชาชีพที่ต้องพัฒนาทักษะและศักยภาพเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    หรือ “คนรุ่นใหม่” หมายถึง คนซึ่งมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ปัญหาใหม่ ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด มีความขัดแย้งสูง ผู้ควรจะมีบุคลิกภาพใหม่ และแนวคิดใหม่ ที่สามารถจะใช้ชีวิตทั้งในเชิงแข่งขัน และร่วมมือเพื่ออยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ ควรมีบุคลิกใหม่และแนวคิดใหม่ สำคัญกว่าเรื่องอายุ คนวัยหนุ่มสาวที่ยังมีบุคลิกแบบเก่าคิดแบบเก่าจะกลายเป็นคนยุคเก่าที่ล้าสมัย

    “คนรุ่นใหม่” ควรเป็นเป็นอิสระชน ผู้นับถือในสิทธิเสรีภาพทั้งของตนเองและผู้อื่นการเป็นผู้ใฝ่ในการเรียนรู้ และแสวงหาความเป็นจริง กล้าคิด กล้าจินตนาการ กล้าสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ประสบการณ์ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมีอุดมคติหรือจิตสำนึกที่เข้าใจว่า ประโยชน์ส่วนตนผูกพันกับประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาว กล้าที่จะยืนหยัดเพื่อหลักการที่ดี และกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง

    อย่างไรก็ตามคำว่า “คนรุ่นใหม่” นี้ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ จ.เชียงราย ประธานศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ได้ให้ความหมายไว้คราวปาฐกถาธรรม เรื่อง “Gen Z กับการสร้างสังคมใหม่” ในการประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ CSD สัมพันธ์ ครั้งที่ 17 (คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน) ซึ่งมีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา จากสถานการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 1,500รูป/คน ที่หอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2561

    พระมหาวุฒิชัย ได้ระบุว่า “คนรุ่นใหม่ไม่ได้วัดที่อายุ แต่เป็นที่อยู่ในยุคปัจจุบันที่ปฏิวัติสื่อเทคโนโลยี คือคนรุ่นใหม่แม้อายุจะ 70 แล้ว ถ้าเราใช้เฟชบุ๊กเป็น เราจะใช้เพชบุ๊กอย่างไรให้เป็นนาย”

    พร้อมกันนี้พระมหาวุฒิชัยกล่าวว่า งานที่มีความสำคัญต่อสังคมและต่อโลก โดยได้เห็นมิติของนิทรรศการโดยมีคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนสังคมและประเทศ คนรุ่นใหม่เกิดมาแล้วก็ต้องเจอไอโพนไอแพด เฟชบุ๊ก เจอเพลงปานามา คนในยุคของ Gen Z จะอยู่อย่างไรให้มีความหมายและมีคุณค่า ขอแนะนำผ่าน 4 ประเด็น คือ 1)รู้ทันเทคโนโลยี 2)บริโภคเทคโยโลยีอย่างเป็นนาย 3)ลงทุนในตัวเอง 4)มีความรับผิดต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์

    โลกปัจจุบันเป็นวิกฤตและเป็นโอกาสโลกเชื่อมโยงเดียวกัน แต่จิตใจไปไม่ถึงจึงทำให้เห็นความคับแคบ แม้ประเทศที่เคารพความเป็นมนุษย์สูงสุดอย่างอเมริกา การเหยียดผิวก็กลับมาอีก รู้สึกแบ่งแยกคนผิวดำคนผิวขาว กลุ่มสุดโต่งทางศาสนามีอิทธิพลเพราะเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกทั้งโลก เทคโนโลยีขยายแต่ใจคนขยายไม่ทัน เลยมีการปะทะมีความขัดแย้งกระจายไปทั่วโลก ในยุคปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยถึง 65 ล้านคน ยังมีการแบ่งแยกสูง ขนาดเทคโนโลยีสูงสุดแล้ว เราเกิดมาในโลกนี้ต้องรู้เท่าทันว่าโลกมิใช่มีแต่ความสวยงามเท่านั้น ยังมีด้านที่ใจคนก้าวไม่ทัน เป็นระบบนิเวศใหม่ของโลก ไม่ได้ขึ้นโดยอเมริกา จึงแนะนำไปอ่านหนังสือ”เมื่อโลกไม่หมุนตามอเมริกา” ว่าอเมริกาได้สูญเสียปัญญาวิชาการและเทคโนโลยี นี่คือสภาวะการรู้ทันเทคโนโลยี

    คำว่าการรู้ทันมิใช่ความหมายว่าใช้เป็น แต่รู้ทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยมีเทคโนโลยีเป็นผู้ครองบทบาท พอเทคโนโลยีเกิดมาขึ้นใหม่ เช่น ยูทูป เฟชบุ๊ก เราจะเห็นว่าธนาคารปิดตัวไปเยอะมาก หลายวัดในปัจจุบันการทำบุญเป็นระบบคิวอาร์โค๊ด ป้องกันเรื่องเงินทอนเป็นอย่างดี เทคโนโลยีถึงแต่การจัดยังไม่ถึง เราสามารถติดตามความเคลื่อนของคนทั้งโลก เพลงปานามาทะลุกำแพงวัด นี่คือโลกของเราได้สั่นสะเทือนเพราะบทบาทของเทคโนโลยี ย้อนไปเวลา 20 ปี ตื่นมาพร้อมนาฬิกาปลุกเข้าห้องน้ำ แต่ปัจจุบันเราตื่นมาแล้วมาดูสิ่งที่เราโพสต์ไว้เมื่อคืน เทคโนโลยีเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา นี่คือภูมิศาสตร์ใหม่ของโลก

    ก่อนที่สติปจ๊อปจะเสียชีวิตเขาได้พาครอบครัวไปเที่ยวเพื่อหาชั่วโมงทองคำของชีวิต เขาคือคนที่เกิดมาเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก เอาคอมพิวเตอร์ใหญ่เท่าบ้าน ลดขนาดเหลือเท่าฝ่ามือ ชื่อสติปจ๊อบจึงอยู่ในหนังสือประดิษฐกรรมทุกเล่มของโลก ในวันหนึ่งสติปจ๊อบนั่งคิดถึงคุณค่าชีวิตแถวอเมริกา นั่งจิบกาแฟอย่างมีความสุข ขณะที่เขากำลังนั่งจิบกาแฟเขาเห็นเด็กถือสมาร์ทโพน ทำให้เขาคิดว่า ถ้าเด็กเข้าถึงเทคโนโลยีนั่นคือโอกาสทางการศึกษา นั่นคือสิ่งที่เขาภูมิใจ เขาบอกว่าผมไม่ได้ตื่นเต้นอะไรกับความรวย หรือเจ้าของนามว่า ชายที่รวยที่สุด แต่รู้สึกตื่นเต้นว่า”โลกนี้ดีขึ้นกว่าเรามาถึง”นี่คือคำพูดของผู้ชายที่เกิดเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ด้วยเทคโนโลยี ทำให้ภูมิศาสตร์ของโลกเปลี่ยนไป ทำให้เรารู้เห็นเชื่อมปฏิสัมพันธ์ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น เราจึงรู้เท่ารู้ทัน เราไม่มีทางปฏิเสธเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ไม่ได้วัดที่อายุ แต่เป็นที่อยู่ในยุคปัจจุบันที่ปฏิวัติสื่อเทคโนโลยี เราคือคนรุ่นใหม่แม้อายุจะ 70 แล้ว ถ้าเราใช้เฟชบุ๊กเป็น เราจะใช้เพชบุ๊กอย่างไรให้เป็นนาย

    ปัจจุบันมีคนใช้สื่อในทางลบเยอะมาก ใช้บ่น ใช้ประชดชีวิต ใช้ไปทานอาหารไม่อร่อยอัพเฟชแล้วด่า หรือไปทานอาหารทันสวยต้องถ่ายก่อนกิน เที่ยวแจ้งสถานะว่าเราอยู่ที่ใด แต่ที่แย่มากๆ คือ ” ใช้แล้วก่อให้เกิดความเกลียดชัง ” น่ากลัวมาก ใช้แล้วส่งเสริมทัศนคติในการแบ่งแยก ใช้เเล้วก่อให้เกิดความรุนแรง แชร์ โพสต์ ถือว่าใช้สื่อไม่เป็น ตัวอย่างของการใช้สื่อเป็นในสังคม สื่อรายงานข่าวมีพระสงฆ์รูปหนึ่งในจังหวัดชลบุรีกำลังแบกปูนขึ้นภูเขา ลูกศิษย์ก็ถ่ายภาพขึ้นเฟชบุค เป็นข่าวใหญ่ พอวันต่อมามีจิตอาสามาเป็นจำนวนมาก เป็นปรากฏการณ์ด้านบวกของสื่อออนไลน์ บริโภคสื่ออย่างเป็นนาย วัดบ้านนอก สร้างเสร็จแบบงง ๆ จิตอาสาเหล่านั้นมาจากไหน นี่คือการบริโภคสื่ออย่างสร้างสรรค์ เราต้องใช้สื่อเป็นนาย และชาวนาคนหนึ่งใช้สื่อเทคโนโลยีบังคับรถไถจนควายยืนมองรถไถแบบงงๆ เป็นชาวบ้านดิจิตัล รู้เท่าทันสื่อสามารถนำสื่อมาใช้มากกว่าคนที่อยู่สังคมเมือง ทำอย่างไรคนรุ่นใหม่จะก้าวไปถึงในการใช้สื่อ คำตอบคือ มีสติในการบริโภคสื่อ ตัวอย่างเช่น กระเป๋าของภริยาของผู้นำประเทศ สื่อนำเสนอว่าทำไมถึงมีศักยภาพซื้อกระเป๋าใบละสองล้าน ทำให้เกิดดราม่า

    แต่สุดท้ายมีผู้มาเฉลยว่าเป็นกระเป๋าธรรมดาจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มีคนอีกมากมายที่ใช้สื่อไม่เป็น ลักษณะที่ว่า”ใช้สื่อเทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยภูมิปัญญาขั่นต่ำ” นี่คือสิ่งที่เราเห็น เราจะรู้เท่าทัน โรคร้ายที่มากับสังคมดิจิตัลคือ “โรคด่วนตัดสิน” ในการใช้สื่อ แม้แต่พระสงฆ์ก็ตกเป็นเหยื่อ ปัจจุบันหันมาจับผิดออกสื่ออย่างเดียว โดยพวกเดียวกัน คนรู้น้อยพลอยรำคาญ คนที่รู้มากจะเห็นช้างทั้งตัว เห็นแล้วจะเข้าใจจะมีแต่เมตตาและคำแนะนำ คนรู้น้อยวิจารณ์ด่า บรรยากาศของชุมชนแทนที่จะมีเมตตา แต่มีแต่จับผิด ทำให้เราพลังงานเต็มเชิงลบเต็มบ้านเต็มเมืองของเรา เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้สื่อไม่เป็นพระทิเบตได้รางวัลแกรมมี่อวอตส์ ครั้งแรกของโลก สาขาธรรมคีตา สวดไพเราะที่สุดในโลก นั่นคือการใช้สื่อในเชิงสร้างสรรค์ มีโอกาสไปเรียนรู้กับดาไลลามะ เราไม่เห็นการพูดเชิงลบ มีแต่เห็นว่าเราจะช่วยเหลือสังคมอย่างไร เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ซึ่งตรงกับคณะสังคมศาสตร์มาก มีนักข่าวไปถามดาไลลามะว่า ท่านคิดอย่างไรคนนี้เป็นแบบนี้ ท่านตอบว่า “ขออภัยเราไม่ได้ฝึกมาให้พูดใครในเชิงลบ” ท่านจะพูดถึงความท่านไม่พูดถึงคน ท่านบอกว่ามนุษย์เป็นปุถุชนมีความผิดพลาดได้ ทั้งเราและเขา เราจึงไม่ควรจะด่าใคร ด้านงดงามของทุกๆ ศาสนาควรนำมาเสนอผ่านสื่อ เพราะสื่อคือเครื่องมือขยายที่ดีที่สุด เช่นพูดที่นี่คนฟัง 1,500 คน แต่ถ้าผ่านไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ค สามารถฟังได้ทั่วโลก ทำนองเดียวกันเราใช้สื่อในทางลบก็ทำเกิดความเกลียดกัน ชังกันได้ทั้งโลก เราต้องหาหลักใหญ่ๆว่า ” จะไม่ใช้สื่อเพื่อทำร้ายใคร ” หลีกเลี่ยงการใช้สื่อในเชิงลบ

    มีคนไปถามท่านรพินปราชญ์ชาวอินเดีย ว่า สิ่งใดง่ายที่สุด คือ การวิจารย์คนอื่น สิ่งใดยากที่สุดคือ การรู้จักตนเอง สิ่งใดยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นเหตุให้ท่านมุ่งทำความดี ความจริง ความงาม ฉันไม่มีเวลาไปทำร้ายใคร ฉันเขียนเพื่อให้คนทั้งโลกสามารถอ่านและนำไปปฏิบัติได้ เราไปใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีก็ใช้เรา เราทุกคนต่างมีตัวตนในเฟชบุ๊ค เราใช้เผยแพร่ตัวตนของเรา คนอื่นก็เสพแล้วตัดสินเสมอ เราใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่กิจกรรมของเรา เเต่สังคมกำลังตัดสินเรา มีผู้ชายคนหนึ่งไปทำงานที่ญี่ปุ่นพอไปถึงญี่ปุ่นผู้บริหารให้ซองขาวพร้อมตั๋วเครื่องบินกลับเมืองไทย ด้วยการโค้งอย่างสุภาพ คนไทยจึงถามว่าทำไมถึงไล่ผมออก เพิ่งมาทำวันแรก ขอโทษที่ทำแบบนี้แต่เราชดเชยเต็มที่ ผู้ชายคนนั้นจึงขอเหตุผลว่าทำไมให้ผมออก คำตอบคือ เราให้ฝ่ายเทคโนโลยีไปตรวจสอบทุกช่องทางของคุณปรากฏว่าคุณมีทัศนคติทางการเมืองที่สุดโต่งมาก และมีหลายภาพที่คุณโพสต์ในโซเซียลเฟชบุ๊ค อนาคตกลัวว่าจะมีปัญหา ตกงานเพราะเทคโนโลยี ถ้าเราใช้อย่างไม่เท่าทันจึงน่ากลัว และผู้หญิงคนหนึ่งโพสต์ข้อความก่อนขึ้นเครื่องพอลงเครื่องชีวิตเธอเปลี่ยนไปในลบ เพราะข้อความที่โพสต์ไปนั้นเอง เป็นข้อความเชิงดูหมิ่น เราอาจจะโพสต์ขำ ๆ เเต่คนอื่นไม่คิดเหมือนเรา คนที่เกิดมาในยุคการปฏิวัติเครื่องสื่อสารคนรุ่นใหม่จะใช้ชีวิตอย่างไร

    โลกยิ่งเข้าสู่ทุนนิยมบริโภคนิยมธรรมะยิ่งจำเป็นโดยเฉพาะสติและปัญญา สติจำเป็นทุกๆ กรณี เรามีเครื่องมือที่ทันสมัย มันใช้เราหรือเราใช้มัน เลือกให้ดีๆ ใช้เป็นเราได้งานทำ เหมือนเด็กหนึ่ง ติด 1 ใน 20 ของนิตยสารไทม์ ด้วยการนุ่งทางมะพร้าวแล้วอัพเฟชบุ๊ค เขาใช้สื่อในทางสรรค์ ใช้เป็นได้งานใหม่ ไปถึงเวทีโลกไปเดินแฟชั่นที่ปารีส จากเด็กบ้านนอกที่ชอบการออกแบบ เพราะอานุภาพของสื่อในทางสร้างสรรค์ “สื่อเป็นเครื่องมือขยายศักยภาพในการทำงาน”แต่ถ้าใช้สื่อไม่เป็นเป็นใบมรณบัตร เราต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ เราห้ามนักข่าวจากสื่อไม่ได้ เเต่เราต้องมีสติในการใช้ชีวิต เราต้องชีวิตอย่างมีสติ ใช้สื่ออย่างระมัดระวัง

    ในยุคนี้เป็นยุคแห่งการเรียนรู้ ถ้ามหาวิทยาลัยทั้งโลกไม่ปรับตัว ครูอาจารย์จะตกงาน หลายคณะในมหาวิทยาลัยไม่มีใครเรียน คนรุ่นใหม่เรียนที่ไหนก็ได้ มีการเปิดเรียนแบบออนไลน์ เพราะโลกของเทคโนโลยี คุณอยากเรียนที่ไหนได้ทั้งหมด “ประตูแห่งโอกาสเกิดขึ้นพร้อมเทคโนโลยี” ด้วยการลงทุนในตัวเอง ซึ่งการลงทุนในตนเองที่สำคัญมีกฎแห่งการลงทุน คือ”ลงทุนในตัวเอง”เราอยากประสบความสำเร็จ ความรู้ที่มีอยู่เพียงพอไหม อะไรคือจุดอ่อนของเรา อะไรคือจุดแข็งของเรา ดีกว่าคนอื่น เด่นกว่าคนอื่น เราต้องลงทุนในตนเอง เป็นนักขายแต่ขายไม่ได้ จึงมาวิเคราะห์ตนเองด้วยการไปเรียนการเป็นนักพูด ค้นพบว่าเขาพูดไม่เก่ง จึงเรียนการพูดและการพัฒนาบุคลิกภาพ หยิบก้อนหินก็เป็นเงิน ผู้ชายคนนี้บริจาคให้บิลเกตเป็นอันดับหนึ่ง เขาไปพูดที่ไหนที่น่าฟัง เป็นบุคคลชั้นนำของโลก เพราะเขาลงทุนในตัวเอง ก่อนนอนจะต้องดูคลิปภาษาอังกฤษภาษาจีน

    ใครอยากเป็นนักพูดที่ตรึงตราภาษากายที่สุดยอดต้องไปดูนักพูดอย่างแจ๊คหม่า ใครอยากเป็นนักพูดชั้นยอดแบบโน้มน้าวต้องไปการพูดของสติปจอป ใครอยากเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ พูดน้อยต่อยหนักต้องไปดูอิลอนมัส ถือว่าเป็นครูชั้นยอด นี่คือการลงทุนในตนเอง การศึกษายุคใหม่มิใช่ในมหาวิทยาลัย บิลเกตกำลังเฝ้ามองว่าใครสร้างสรรค์ต่อสังคมด้วยการทำคลิปให้ เพราะ “สิ่งที่งดงามที่สุดที่เทคโนโลยีมอบให้กับโลก ” เรารับแรงบันดาลใจจากใครเราสามารถเรียนรู้ หน้าตาบ้านๆ แต่ความฝันอินเตอร์ เรามีครูชั้นยอดในเทคโนโลยี ถือว่าเป็นประตูแห่งโอกาส คนรุ่นใหม่ต้องลงในตัวเอง ใครที่ใช้ทักษะเดิมในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะไม่ประสบความสำเร็จ ใครที่มีการพัฒนาตนตลอดจะมีที่ยืนที่ใหม่ๆ

    เราต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เราไม่จำเป็นต้องเป็นมหาเศรษฐี นักการเมือง ผู้มีอำนาจ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้จากที่เรายืนอยู่ เราอยู่ตรงไหนเรามาทัศนคติที่ดีต่อโลกต่อสังคม มีความรู้ที่ดี มีศักยภาพเราเปลี่ยนได้ทุกจุด แม้ว่าเราจะถูกหยิบไปวางไว้ตรงไหนของโลก ในชุมชนที่เชียงรายปัจจุบันมีการใช้สารเคมีจำนวนมาก ตายเพราะสารเคมีโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงทำวิจัย นักโภชนาการคนหนึ่งวิจัยว่าถ้ามีคนตาย 100 คน 73 คนตายเพราะไม่ถูกหลักโภชนาการ จึงมีแรงบันดาลใจทำเกษตรเมตตาเยียวยาทุกอย่าง เกษตรสังหารล้างผลาญทุกอย่าง เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งทำในแบบของเราในแบบบริบทของเรา แต่เราต้อง เอาชนะคำคน เอาชนะของสังขาร เอาชนะทั้งปณิธานของตนเอง ใครมีหัวใจนักสู้ไม่มีใครแพ้ ที่เเพ้เพราะเรายอมแพ้เอง

    หลักเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ ด้วยการขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร สิ่งสำคัญที่สะท้อนสังคมคือ การทำเพื่อคนอื่นของตูน บอดี้แสลม พอทำมีทั้งคนเชื่อและคนแช่ง มีคนด่าและคนชม แต่สิ่งที่ตูนทำเป็นธรรมะคุณจะหาธรรมะข้อใดก็ได้จากสิ่งที่ตูนทำ สมาธิ ปัญญา วิริยะ ระหว่างทางผู้ชายคนนี้หว่านโปรยความสุข ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมให้เห็น และรับผิดชอบสังคม 1,200 ล้าน จึงถามว่าในฐานะเราเป็นพระสงฆ์เราจะรับผิดชอบทางสังคมอย่างไรเพราะตูนจะไปจบการวิ่งที่เชียงราย จึงวาดภาพจิตโพธิสัตว์ให้ตูนคนนำไปประมูลได้ 25 ล้านบาท ทำไมคนจึงอยากได้ เพราะภาพที่วาดนั้นมีคุณตูนเป็นแรงบันดาลใจจึงวาดภาพนี้ ด้านที่งดงามคือเมตตา พื้นฐานของสังคมไทยเป็นพื้นฐานแห่งการให้ สิ่งที่คุณตูนทำถือว่าจุดติดเราจะต่อยอดอย่างไรที่ผู้ชายคนนี้ทำ

    ดังนั้นจึงเป็นคลื่อนแห่งความเมตตาที่ผู้คนหนึ่งลุกขึ้นมาทำสังคม คนพร้อมจะช่วยสังคม แต่คนที่จะทำเพื่อสังคมต้องเป็นโครงการที่ดีจริงๆ คนพร้อมจะช่วยมีเยอะ อยู่ที่ฝีมือในการทำโครงการ ลักษณะตนเป็นที่พึ่งของตนจากนั้นต้องให้คนเขาได้พึ่ง จะให้สังคมพึ่งเราในเรื่องใดบ้าง นี่คือความรับผิดชอบทางสังคมด้วยการทำในแบบของเรา สาระสำคัญเรารับมามากแล้ว เราจะคืนอะไรให้กับสังคม คนที่ทำงานใหญ่ทำไมจึงสำเร็จ ทำไมคนถึงรักเขา

    ความสำเร็จของตูนคือ” ก้ม กราบ กอด” อ่อนน้อมถ่อมตน กราบพระสงฆ์ กอดให้กำลังใจผู้คนข้างทาง เป็นคนที่มีธรรมะอยู่ในหัวใจมีความเบิกบานกับการรับใช้เพื่อนมนุษย์ ด้วยเจตนาที่แสนประเสริฐ ตูนจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เราไปทำงานเพื่อสังคมว่าสังคมมีพลังงานบวกมากมายให้เราออกไปทำงาน พร้อมจะทำให้สังคมดีขึ้น ขอให้เราเรียนรู้จุดแข็งของสังคมแล้วคิดโครงการดีๆ ขึ้นมาทำ ทำโครงการอย่าสนใจแต่คำชมแต่เราต้องรับคำด่า “คำชมคำด่าราคาเท่ากัน คนที่ทำงานเพื่อสังคมอย่าแบกหามคำเหล่านี้ ” เราเกิดมาเพื่อทำงาน อย่าใช้ที่แบบปลอดภัยแล้วไม่ทำงานนั่นไม่ใช่ชีวิต สุภาษิตฝรั่งกล่าวว่า ” เรือที่จอดนิ่งๆ อยู่กับท่าเป็นเรือที่ปลอดภัย แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เรือถูกสร้างขึ้นมา” คนที่เกิดมาอยู่เฉยๆ แล้วมีชีวิตที่ใสสะอาดไม่ผิดพลาดเลย นั่นเป็นชีวิตที่คุ้มค่าหรือ แล้วออกไปมีเบิกบานกับการรับใช้เพื่อนมนุษย์

    ………………

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/126776
     

แชร์หน้านี้

Loading...