๑๗ วัดใน จ.แพร่ ยังรอพลังศรัทธา

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 22 มิถุนายน 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>๑๗ วัดใน จ.แพร่ ยังรอพลังศรัทธา</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] -->[​IMG] ผ่านพ้นไปแล้วเกือบ ๑ เดือน กับเหตุการณ์น้ำท่วมโคลนถล่มในพื้นที่ จ.แพร่ แต่การฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ โดยเฉพาะกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างสาธารณะต่างๆ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เสร็จสิ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะวัด ซึ่งได้รับความเสียหายหนักมากถึง ๗ แห่ง
    นายทองหล่อ ครุฑไทย ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จ.แพร่ บอกว่า อุทกภัยครั้งที่ผ่านมาสร้างความเสียหายให้วัดในเขต อ.เมือง สูงเม่น และ อ.เด่นชัย รวม ๑๗ แห่ง ส่วนใหญ่จะได้รับความเสียหายเล็กน้อย แต่ในจำนวนนี้มีวัดที่ได้รับความเสียหายหนัก ๗ แห่ง ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมืองและ อ.สูงเม่น และวัดสองแห่งที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุด ก็คือวัดนาตองและน้ำกรายใน ต.ช่อแฮ โดยวัดทั้งสองแห่งต้องถูกกระแสน้ำพัดโคลนเป็นจำนวนมหาศาลเข้าไปทับถมจนทำให้ถาวรวัตถุหลายรายการได้รับความเสียหาย แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ยังถือว่าโชคดีที่ไม่มีภิกษุสามเณรได้รับบาดเจ็บหรือมรณภาพ ในการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพความเสียหาย สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.แพร่ สรุปความเสียหายและของบประมาณเพื่อใช้ในการฟื้นฟูไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่จากการของบประมาณอุดหนุนในปีที่ผ่านๆ มาซึ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.แพร่ เสนอขอไปหลายล้านบาทแต่กลับได้รับการอนุมัติเพียง ๕ แสนบาท จึงทำใจยอมรับว่างบประมาณฟื้นฟูจะได้รับมาไม่เพียงพอต่อความต้องการ "การหางบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการฟื้นฟูวัดที่ได้รับความเสียหายจึงต้องใช้วิธีรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาโดยตรง โดยให้ผู้ที่ต้องการช่วยเหลือบริจาคกับวัดโดยตรง เพราะเชื่อว่าผู้ที่บริจาคเงินช่วยเหลือให้มือพระโดยตรงจะรู้สึกสบายใจที่ได้ทำบุญ โดยไม่ต้องกังวัลใจว่าเงินที่ตัวเองบริจาคจะถึงวัดหรือไม่ และจนถึงขณะนี้พบว่าพ่อค้าประชาชนในจังหวัดที่ทราบข่าวได้รวบรวมปัจจัยและทยอยกันเดินทางกันเป็นคณะเข้าไปบริจาคเงินที่วัดนาตอง วัดน้ำกราย รวมถึงวัดอื่นๆ กันมากขึ้น" ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จ.แพร่ พร้อมกับบอกด้วยว่า แม้ว่าวัดนาตองและวัดน้ำกรายจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมเช่นเดียวกับชาวบ้าน แต่ยังช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยทุกทางที่ทำได้ รวมถึงเป็นแหล่งรวมที่จะนำพุทธศาสนิกชนจากพื้นที่อื่นๆ เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยการเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลพื้นที่และความเสียหาย ทั้งหมดนี้แสดงชัดเจนว่าไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด วัดยังคงเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นที่พึ่งในการดำเนินชีวิตหรือที่พึ่งทางจิตใจ นายทองหล่อ บอกด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อยากจะให้ประชาชนจดจำไว้และหันมาให้ความสำคัญวัดกันให้มากขึ้น พร้อมช่วยกันทำนุบำรุงศาสนาตามกำลังและความสะดวก เพราะหากจะหวังพึ่งวัดกับพระสงฆ์สามเณรเพียงในภาวะที่มีความเดือดร้อนเพียงอย่างเดียว แต่เวลาปกติกลับมองไม่เห็นความสำคัญก็จะดูไม่เหมาะสมนัก โดยเฉพาะบ้านนาตองและบ้านน้ำกราย ต.ช่อแฮ ต.เมือง จ.แพร่ ซึ่งถนนและสะพานถูกตัดขาด ทำให้ผู้ประสบภัยต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างว้าเหว่ แต่ในความโชคร้ายยังมีความโชคดี ชาวบ้านผู้ประสบภัยที่ไร้ที่อยู่และเหลือแต่ตัวยังมีที่พึ่งสำคัญยามวิกฤติ คือ วัดนาตองและวัดน้ำกราย วัดประจำชุมชนที่พวกเขาเข้าไปทำบุญทุกวันพระและวันสำคัญทางศาสนา พระชัยศักดิ์ อนันโท รักษาการเจ้าอาวาสวัดนาตอง บอกว่า ผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น แม้วัดจะได้รับความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ยังโชคดีที่อาคาร ทั้งกุฏิ โบสถ์ วิหาร ยังอยู่ หลังกระแสน้ำผ่านไป วัดจึงเป็นที่พึ่งให้ชาวบ้านอาศัยหลับนอนในยามไร้ที่พึ่ง นอกจากนี้วัดยังทำอาหารแจกจ่ายชาวบ้านขณะที่รอความช่วยเหลือถึง 5 วัน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนที่ชาวบ้านต้องประสบในช่วงเวลาอันเลวร้าย นอกจากให้การช่วยเหลือไปตามความต้องการของปัจจัยสี่แล้ว ผลกระทบทางจิตใจ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย กว่าค่อนหมู่บ้านที่ต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่ หลายคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายทั้งหมด จนมืดสนิทที่จะหาหนทางหาเงินมาประทังชีวิตหลังจากนี้ ความเครียดที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเหตุเป็นเช่นนี้วัดจึงตระหนักว่าจะต้องเร่งบรรเทาภาวะที่เกิดขึ้นทางจิตใจให้ผู้ประสบภัยไปพร้อมกับความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ โดยพระสงฆ์สามเณรในวัดพูดกับชาวบ้านผู้ประสบภัย แนะให้พบถึงสัจธรรมเพื่อปรับสภาพจิตใจให้ยอบรับกับความจริง พร้อมตั้งสติเพื่อพิจารณาหาทางออก ซึ่งปรากฏว่าได้ผลในระดับหนึ่งโดยทำให้ผู้ประสบภัยมีกำลังใจมากขึ้น ด้านพระครูสาธร พัฒนโสภณ รักษาการเจ้าอาวาสวัดน้ำกราย กล่าวว่า ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยกันมากนัก เกือบทั้งหมู่บ้านมีรายได้จากการเกษตร ขณะที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินถือว่ารุนแรงเพราะถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ผลกระทบที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้จึงอาจทำให้พลังในการต่อสู้ชีวิตลดน้อยลง "โชคดีที่พื้นฐานของคนไทยเป็นศาสนิกชนมาตั้งแต่กำเนิดและจะถูกปลูกฝังให้เชื่อฟังคำอบรมสั่งสอนของพระตามหลักพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องง่ายที่พระจะเข้าไปพูดคุยเพื่อให้คำแนะนำในการปรับตัว โดยไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาแต่อย่างใด เพียงแต่ความศรัทธาในพุทธศาสนาที่ฝังอยู่ในวิถีชีวิต จะเป็นตัวช่วยให้พุทธศาสนิกชนผู้ประสบภัยเหล่านี้ฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ในที่สุดหลังจากการฟื้นฟูสภาพหมู่บ้านเสร็จสิ้น วัดจะจัดพิธีทำบุญเรียกขวัญขึ้นเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ผู้ประสบภัยกลับมามีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...