เรื่องเด่น ไทยเสนอ “ยูเนสโก” ยก “หลวงปู่มั่น” เป็นบุคคลสำคัญของโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 27 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    899e0b8ad-e0b8a2e0b8b9e0b980e0b899e0b8aae0b982e0b881-e0b8a2e0b881-e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89b.jpg

    กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาฯเสนอชื่อ “หลวงปู่มั่น” ให้ยูเนสโกยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในวาระที่มีชาตกาลครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2563

    *******************

    โดย…สมาน สุดโต

    จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา และกระทรวงศึกษาธิการ จับมือกันเสนอชื่อ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา ให้องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ : United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในวาระที่มีชาตกาลครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2563 นั้น

    ระหว่างชาตกาล 149 ปี ของหลวงปู่มั่น พ.ศ. 2562 กรมการศาสนาขอให้วัดที่หลวงปู่มั่นเคยเกี่ยวข้องในขณะที่มีชีวิตทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้จัดกิจกรรมเพื่อการรำลึกถึงและบูชา ระหว่างวันที่ 19-21 ม.ค. 2562 ได้แก่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่ วัดป่าอาจารย์มั่น จ.เชียงใหม่ วัดป่าบ้านเหล่า จ.เชียงราย วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร วัดป่าหนองผือนาใน จ.สกลนคร และวัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา

    9e0b8ad-e0b8a2e0b8b9e0b980e0b899e0b8aae0b982e0b881-e0b8a2e0b881-e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89b-1.jpg พระเทพญาณวิศิษฎ์ (ชัยทวี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม อัญเชิญอัฐิหลวงปู่มั่น

    วัดปทุมวนาราม จัดฉลองยิ่งใหญ่

    วัดปทุมวนาราม ที่เคยได้รับสมญานามว่าวัดกรรมฐานกลางกรุง อยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอนและห้างเซ็นทรัลเวิลด์ สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ที่หลวงปู่มั่นเคยมาพำนักอาศัย เมื่อ พ.ศ. 2471 จึงจัดกิจกรรมบูชา โดยจัดขบวนแห่อัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จากพระอุโบสถไปยังศาลาพระราชศรัทธา ซึ่งอยู่ห่างไปด้านใต้ของพระอุโบสถประมาณ 150 เมตร มีพระเทพญาณวิศิษฏ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดปทุมวนาราม เป็นผู้อัญเชิญอัฐิ แวดล้อมด้วยคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา หลายร้อยคน โดยมีแถวสามเณรนักเรียนบาลียืนถือพานดอกบัวถวายบูชาหน้าศาลาพระราชศรัทธา เป็นศาลาที่สร้างในสมัยหลวงพ่อถาวร ถาวรจิตฺโต หรือพระเทพวิมลญาณ (มรณภาพเดือน ต.ค. 2558) พระเกจิดังแห่งวัดปทุมวนาราม ซึ่งพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเปิดเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2536

    เมื่อนำอัฐิและภาพเหมือนหลวงปู่มั่นประดิษฐาน ณ ที่ตั้งแล้ว พระเทพญาณวิศิษฏ์ จุดธูป-เทียนบูชา และนำพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา บูชาพระรัตนตรัย สวดมนต์ทำวัตรเย็น

    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เกิดเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2413 ที่บ้านคำบาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีชื่อเดิมว่า มั่น นามสกุล แก่นแก้ว โยมพ่อชื่อด้วง โยมแม่ชื่อจันทร์ บรรพชาเป็นสามเณร อายุ 15 ปี ที่วัดบ้านคำบง ผ่านไป 2 พรรษา ลาสิกขามาช่วยโยมบิดาและมารดาทำนา จนกระทั่งอายุ 22 ปี (พ.ศ. 2436) จึงอุปสมบทที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฝึกอบรมวิปัสสนากับพระอาจารย์เสาร์ กันตะสีโล และธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ

    ต่อมาได้ศึกษาธรรมกับพระอุบาลีคณูปมาจารย์ (จันทร์) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส และเรียนวิปัสสนากับพระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ 3 ต่อมาติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์) มาพำนักที่วัดปทุมวนาราม ชั่วระยะเวลาหนึ่ง (พ.ศ. 2471)

    นอกจากนี้ เคยออกธุดงค์กับอาจารย์หนู จิตปญฺโญ หรือพระปัญญาพิสารเถระ เจ้าอาวาสรูปที่ 5 วัดปทุมวนาราม

    9e0b8ad-e0b8a2e0b8b9e0b980e0b899e0b8aae0b982e0b881-e0b8a2e0b881-e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89b-2.jpg

    กุฏิที่วัดปทุมวนาราม

    การธุดงค์ของหลวงปูมั่น นอกจากเผยแพร่พระธรรมคำสอนแล้ว ยังมีโอกาสพบปะกับเพื่อนสหธรรมิกทั่วไป เมื่อเดินทางมากรุงเทพฯ ก็พำนักวัดปทุมวนาราม ที่วัดนี้จึงมีกุฏิของท่านเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นปัจจุบันทางวัดได้ปฏิสังขรณ์และมีโครงการเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อแสดงประวัติหลวงปู่มั่น รวมทั้งประวัติพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาอื่นๆ เพื่อให้ภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ได้ระลึกถึงคำสอนและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น

    9e0b8ad-e0b8a2e0b8b9e0b980e0b899e0b8aae0b982e0b881-e0b8a2e0b881-e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89b-3.jpg อัฐิหลวงปู่มั่น ตั้งหน้าหุ่นขี้ผึ้ง

    วัดสายหลวงปู่มั่น

    เกียรติคุณหลวงปู่มั่น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา เดินธุดงค์เกือบตลอดชีวิต จนเป็นที่ประจักษ์ มีผู้ปฏิบัติตามจำนวนมาก จนเกิดพระป่าสายธรรมยุตกระจายทั่วไปในภาคต่างๆ โดยเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือ และประเทศต่างๆ พอสรุปตัวเลขในต่างประเทศได้ 180 แห่ง แบ่งเป็นทวีปเอเชีย 45 แห่ง ประเทศแคนาดา 6 แห่ง ทวีปยุโรป 66 แห่ง สหรัฐอเมริกา 63 แห่ง

    นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ พูดในวันแถลงข่าวที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ ว่ามีแนวคิดบรรจุหลักธรรมคำสอนหลวงปู่มั่นในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา เพื่อบ่มเพาะคนไทยให้เป็นพลเมืองที่ดีต่อไป

    ส่วน รศ.ม.ร.ว.วุฒิเลิศ เทวกุล ซึ่งร่วมแถลงข่าวด้วย กล่าวถึงวัตรปฏิบัติหลวงปู่มั่นมากมาย แต่ที่ตนประทับใจคือการถือธุดงควัตรเกือบตลอดชีวิต

    ถ้าหากยูเนสโกยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกตามที่เสนอ หลวงปู่มั่นจะถือว่าเป็นพระรูปที่ 3 ของไทย รูปที่ 1 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 7 อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รูป 2 พระธรรมโกศาจารย์ หรือพระพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี

    หลวงปู่มั่น มรณภาพ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เวลา 02.23 น. วันที่ 11 พ.ย. 2492 สิริอายุ 79 ปี

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/578284
     

แชร์หน้านี้

Loading...