เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 15 เมษายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    ก่อนอื่นก็ขอเจริญพรขอบคุณญาติโยมทั้งหลาย มีท่านนายกฯ ประเทศ บุญยงค์ เป็นต้นเป็นประธาน นอกจากจัดขบวนแห่หลวงพ่อทองคำให้ญาติโยมได้สรงน้ำกันแล้ว ก็ยังจัดผ้าป่ามาถวายในโอกาสวันสงกรานต์นี้ด้วย

    ในเรื่องของสงกรานต์นั้น แต่เดิมเป็นพิธีพราหมณ์ ก็คือทางด้านอินเดียเขายึดถือกันมาก่อนว่า สงกรานต์นั้น แปลว่า ข้าม หรือว่า ผ่าน ก็คือช่วงที่พระอาทิตย์ยกย้ายจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งปีนี้ก็ตรงกับเมื่อวานนี้ วันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๙ โมงเช้า ๔๕ นาที ๔๖ วินาที ตอนช่วงที่พระอาทิตย์ย้ายราศี โบราณเขาถือว่าเป็นการขึ้นปีใหม่

    เมื่อพิธีการทั้งหลายเหล่านี้ได้ติดตามเหล่าพราหมณ์ทั้งหลายที่เดินทางมาถึงอุษาคเนย์ หรือ Southeast Asia บ้านเรา ซึ่งสมัยก่อนนั้นใช้คำว่า สุวรรณภูมิ พราหมณ์ทั้งหลายนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีความรู้ความสามารถที่แท้จริง ก็เลยทำให้กลายเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ เจ้าบ้านผ่านเมือง

    พราหมณ์ทั้งหลายจึงได้นำเอาความรู้ ขนมธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ตนเองเคยชิน มาปรับใช้ในบ้านเราเมืองเรา ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา พิธีพราหมณ์ต่าง ๆ ก็ผูกพันอยู่กับราชสำนัก ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ก็ ๗๐๐ กว่าปีแล้ว พิธีที่เราเห็นได้ชัดที่สุดก็คือพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นั่นเป็นพิธีพราหมณ์แท้เลย

    แต่ว่าพิธีทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยความที่พระองค์เคยบวชมาถึง ๒๗ พรรษา จึงนำเอาพิธีพุทธเข้ามาแทรกเอาไว้ เพื่อที่จะได้ให้เป็นบุญเป็นกุศลอย่างแท้จริง ในเมื่อเอาพิธีพุทธเข้ามาแทรกด้วย พิธีสงกรานต์ของบ้านเราจึงแตกต่างจากชมพูทวีป หรือปัจจุบันก็คืออินเดียและลังกา

    ของเราจะมีการทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม เจริญพระพุทธมนต์วันสงกรานต์ นอกเหนือจากนี้แล้วทางวัดท่าขนุนของเราก็ยังมีการทำบุญสะเดาะเคราะห์ ซึ่งผ่านไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ สำหรับวันนี้พิธีที่เพิ่มเติมเข้ามาของเรา นอกจากการสรงน้ำพระแล้ว ก็ยังมีการถวายผ้าป่าด้วย

    ดังนั้น...ถ้าหากว่าญาติโยมทั้งหลายไม่ชัดเจน ก็ไม่สามารถแยกออกได้ว่า ตอนไหนเป็นพิธีพราหมณ์ ตอนไหนเป็นพิธีพุทธ เรื่องของขบวนแห่ เรื่องของการร่ายรำบวงสรวงต่าง ๆ เป็นพิธีพราหมณ์ แต่เราปรับมาเป็นการแห่พระพุทธรูป กลายเป็นพิธีพุทธ
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    การสรงน้ำพระ ก็คือการที่เราถวายของหอมเป็นพุทธบูชา ถ้าหากว่าว่ากันตามบาลีที่มีไว้ก็คือ อันนัง ปานัง วัตถัง ยานัง มาลา คันธัง วิเลปะนัง เสยยาวะสะถัง ปะทีเปยยัง ทานะวัตถู อิเม ทะสะ

    ท่านว่า อันนัง คือข้าว ปานัง คือน้ำ วัตถัง คือผ้า ยานัง คือยานพาหนะ มาลา คือดอกไม้ คันธัง คือของหอม

    วิเลปะนัง คือเครื่องลูบไล้ หรือว่าเครื่องประทินผิว สมัยก่อนนั้นก็คือน้ำมันสำหรับทาเท้า เนื่องจากว่าเดินตีนเปล่ากันเสียมาก แล้วเดินเป็นระยะทางไกล ๆ เมื่อถึงที่พัก ล้างเท้าสะอาดเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเนย ทาเท้าป้องกันเท้าแตก ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ประมาณพวกโลชั่นต่าง ๆ

    เสยยา คือเครื่องนอน วะสะถัง คือเครื่องนั่ง ปะทีเปยยัง คือเครื่องตามประทีป ถ้าสมัยนี้ก็เป็นพวกที่เกี่ยวกับไฟฟ้า แสงสว่างต่าง ๆ

    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ๑๐ อย่างนี้จัดเป็นวัตถุทานที่สมควรแก่สมณบริโภค ก็คือพระภิกษุสามเณรของเราสามารถรับมาใช้สอยตามโอกาสได้

    เรื่องอื่นอย่างอื่น กระผม/อาตมภาพไม่รู้สึกแปลกใจ แต่แปลกใจตรงที่พระองค์ท่านว่า "ให้รับยานพาหนะได้" อาจจะเป็นเพราะว่าสมัยนั้นภูมิประเทศกว้างใหญ่ไพศาล และส่วนใหญ่เป็นถิ่นทุรกันดาร ยากแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ดังนั้น...ถ้ามีใครถวายเกวียน ถวายม้าต่าง ถวายวัวต่าง ก็ให้รับขึ้นมาใช้งานได้

    ถ้าอย่างสมัยนี้ของเรา ที่เห็นยังเหลืออยู่ก็คือสำนักสงฆ์ถ้ำป่าอาชาทอง ที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่นั่นให้พระภิกษุสามเณรขี่ม้า เพื่อที่จะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามป่าตามเขาต่าง ๆ ที่เดินทางด้วยรถยนต์ไม่ได้

    เราจะเห็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมาก ถึงได้อนุญาตเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เอาไว้แต่ต้น แต่เราก็ต้องดูความเหมาะสมต่อฐานะ เพราะว่าพระภิกษุสามเณรก็คือนักบวช ถ้าถึงขนาดขี่เฟอร์รารี่หรือลัมโบร์กินี่ก็เกินไป เอาแค่ที่พอใช้งานได้ก็พอแล้ว

    ดังนั้น...ตรงส่วนนี้ของเรา พิธีพราหมณ์ก็คือขบวนแห่ พิธีพุทธคือการที่เราแห่พระพุทธรูป สรงน้ำพระ แล้วก็มาเพิ่มเติมด้วยการถวายผ้าป่า
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    คำว่า ผ้าป่า สมัยนี้ก็ไม่ค่อยถวายในป่ากันแล้ว ตอนช่วงที่กระผม/อาตมภาพบวชใหม่ ๆ ๓๐ กว่าปีที่แล้วยังพอมีอยู่บ้าง ก็คือญาติโยมแถววัดท่าซุง อำเภอมโนรมย์ ตอนนั้นยังเป็นอำเภอมโนรมย์ของจังหวัดชัยนาทอยู่ ปัจจุบันนี้มาขึ้นกับอำเภอเมืองของจังหวัดอุทัยธานี ชาวบ้านแถวนั้นยังนิยมเอาผ้าไปพาดไว้ในป่า แต่กลัวว่าพระจะหาไม่เจอ มีการจุดประทัดเป็นสัญญาณว่าอยู่ทางนี้ แล้วก็ให้พระไปชักผ้าป่า

    ดังนั้น...ตอนช่วงที่เป็นพระใหม่นั้น จะมีความสนุกสนานเฮฮาตรงที่ว่า พอถึงเวลาได้ยินเสียงประทัดแล้ว เป็นคิวของใครที่ต้องไปชักผ้าป่า บางทีก็เจอโยมแกล้ง โน้มเอายอดไผ่ลงมาพาดผ้าแล้วก็ปล่อยให้ดีดขึ้นไปข้างบน ใครจะไปตามขึ้นไปชักให้เอ็งได้วะ...?!

    พิธีการทั้งหลายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบุญสร้างกุศล แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความสนุกสนานเฮฮาไปด้วย เพียงแต่ว่าควรที่จะอยู่ในขอบเขตต่าง ๆ อันสมควร

    วันนี้พวกเรานอกจากสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่พุก หลวงปู่สายแล้ว ก็ยังมีการสรงน้ำอาตมภาพด้วย พิธีการอุ้มพระสรงน้ำของเรา ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ตลอดจนถึงปีนี้ของดไปก่อน เพราะว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ยังแรงอยู่มาก ถ้าหากว่าเบาบางจางลงไปเมื่อไร พิธีการอุ้มพระสรงน้ำของเรา ที่ได้รับการจัดให้เป็น Unseen Thailand ก็จะได้รับการกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ปีนี้ให้สรงน้ำกระผม/อาตมภาพไปคนเดียวก่อน
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เมื่อญาติโยมทั้งหลายได้ทำบุญแล้วก็ควรที่จะอุทิศส่วนกุศล การที่เราทำบุญเป็นทานบารมี การอุทิศส่วนกุศลเป็นบุญใหญ่อีกส่วนหนึ่งเรียกว่าปัตติทานมัย บุคคลที่พลอยยินดีในผลบุญของเรา ได้ส่วนบุญเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่าปัตตานุโมทนามัย

    ดังนั้น...การทำบุญทุกครั้งควรอย่างยิ่งที่จะอุทิศส่วนกุศล เนื่องเพราะว่าบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วจำนวนมาก ไม่มีญาติพี่น้องทำบุญให้ เขาทั้งหลายเหล่านั้นหวังบุญจากส่วนนี้ แต่ถ้าเราอุทิศส่วนกุศลแล้ว ไม่ได้เอ่ยถึง เขาทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกองบุญการกุศลนั้น

    การอุทิศส่วนกุศล ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ท่านแนะนำเอาไว้ตอนท้าย ๆ จึงมีการอุทิศให้แก่บุคคลที่ใช่ญาติ และไม่ใช่ญาติ เพื่อให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้มีส่วนในกุศลนั้นโดยถ้วนหน้ากัน
    ลำดับต่อไปให้ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลกันนะจ๊ะ

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันศุกร์ที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...