เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 25 เมษายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,532
    ค่าพลัง:
    +26,369
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,532
    ค่าพลัง:
    +26,369
    วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพิ่งจะเสร็จสิ้นจากการประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๔ ตรงจุดนี้ก็ขอแจ้งว่า ขณะนี้กระผม/อาตมภาพไม่ได้อยู่วัดอีกแล้ว เนื่องเพราะว่าได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในการสอบบาลีสนามหลวงรอบที่ ๒ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า "สอบซ่อม" ซึ่งต้องไปประจำอยู่ที่กองอำนวยการสอบวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) เป็นเวลา ๓ วันต่อเนื่องกัน

    แต่กระผม/อาตมภาพมีภารกิจที่อื่น ก็คงจะอยู่ได้แค่ ๒ วันเท่านั้น ซึ่งท่านเจ้าคณะภาค คือพระเดชพระคุณพระเทพศาสนาภิบาล เจ้าคณะภาค ๑๔ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ท่านก็บอกแล้วว่าวันสุดท้ายเหลือผู้เข้าสอบแค่ ๒๕ รูป/คนเท่านั้น มา ๒ วันแล้วก็ถือว่าให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แล้ว ส่วนอื่นถ้าหากว่าติดขัดด้วยประการใดก็พอที่จะอะลุ้มอล่วยกันได้

    วันนี้ในช่วงเช้า กระผม/อาตมภาพก็ได้นำพระภิกษุสามเณรออกบิณฑบาตตามปกติ ตรงจุดนี้ญาติโยมบางท่านที่มาจากที่อื่นแล้วมาใส่บาตร เห็นกระผม/อาตมภาพแล้ว ด้วยความที่รู้จักมักคุ้นก็ทักทายว่า "หลวงพ่อ..เป็นใหญ่เป็นโตขนาดนี้แล้วยังต้องบิณฑบาตเองอีกหรือ ? ทางบ้านผม เพิ่งจะเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ให้เณรบิณฑบาตให้ฉันแล้ว" กระผม/อาตมภาพได้ยินแล้วก็ถอนหายใจ

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงมีพุทธัตถจริยา คือจริยาในความเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระองค์ท่านอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน คือ

    ข้อที่ ๑ ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เมื่อเช้าขึ้นมาก็เสด็จออกบิณฑบาต

    ข้อที่ ๒ สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ช่วงเย็นทรงเทศน์โปรดประชาชนทั่วไป เหตุที่ต้องเป็นช่วงเย็นนั้น เกิดจากหลายสถานด้วยกัน

    ประการแรก ชมพูทวีปคือประเทศอินเดีย ลังกา และบริเวณเขตนั้น อากาศร้อนมาก ช่วงกลางวันประชาชนไม่สามารถที่จะฝ่าแสงแดดออกไปฟังธรรม หรือถึงไปฟังธรรมก็คงร้อนจนไม่มีสมาธิที่จะฟัง
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,532
    ค่าพลัง:
    +26,369
    ประการที่สอง การเสด็จออกบิณฑบาตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บางทีไปไกลมาก ไกลถึงขนาดข้ามประเทศ..! พระองค์ท่านกว่าจะเสด็จกลับก็ต้องเป็นเวลาช่วงบ่ายแล้ว ส่วนจะเสด็จกลับด้วยวิธีใด ? ทำไมไปไกลขนาดนั้นแล้วกลับได้ทัน ? ขอฝากเป็นการบ้านให้ท่านทั้งหลายไปค้นคว้ากันเอาเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องตกเย็นแล้ว ถึงได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดประชาชนทั่วไปได้

    ข้อที่ ๓ ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ ก็คือค่ำแล้ว ให้โอวาทพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ซึ่งคำว่า ค่ำ ในที่นี้ กระผม/อาตมภาพตีความว่า อย่างน้อยก็น่าจะประมาณ ๒ ทุ่ม

    ข้อที่ ๔ อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เมื่อเที่ยงคืนไปแล้ว ก็แก้ไขปัญหาที่พรหม เทวดา เสด็จมาทูลถาม

    ข้อที่ ๕
    ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ ข้อที่ ๕ นี้สำคัญมาก ก็คือเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูอุปนิสัยสัตว์โลก ว่าสมควรที่จะเสด็จไปโปรดผู้ใด แล้วก็กำหนดเอาไว้ เมื่อถึงเวลาช่วงเช้า ก็วนกลับไปสู่ภารกิจเดิม ก็คือการเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อสงเคราะห์คนต่อไป

    ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ปฏิบัติในพุทธัตถจริยาเป็นพุทธกิจ ๕ ประการตลอดพระชนม์ชีพ แล้วเราที่เป็นสาวก จะละเว้นจากภารกิจทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างไร ?

    เพียงแต่ว่าในระหว่างที่บิณฑบาตนั้น ก็ไม่สามารถที่จะบอกกล่าวให้ชัดเจนได้ จึงฉวยโอกาสนำมาบอกกล่าวให้ญาติโยมทั้งหลาย ที่ฟังรายการเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนนี้อยู่ ได้รับรู้รับทราบพร้อมเพรียงกันไป
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,532
    ค่าพลัง:
    +26,369
    ประการต่อไปก็คือคุณบุหงา มาโนช ภริยาของคุณสมใจ มาโนช ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอทองผาภูมิ บ้านนี้ติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ทั้งบ้าน..! เมื่อรักษาตัวหายดีแล้ว ได้ทำหน้าที่อุบาสก อุบาสิกาที่ดีเหมือนเดิม ก็คือใส่บาตรทุกวัน วันละ ๕ วัด ก็คือ ๕ วัดที่ออกบิณฑบาตในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ครอบครัวนี้ใส่บาตรสงเคราะห์ทั้ง ๕ วัด

    ที่กล่าวถึงก็เพราะว่าคุณโยมบุหงา มาโนช บ่นให้อาตมาฟังว่า "ท่านอาจารย์..เมื่อไรจะหายดีเสียทีก็ไม่รู้ ? จนป่านนี้ก็ยังไม่ฟื้นเลย ตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๘๕ ปีนี้ ยังไม่เคยเจออะไรที่ทำให้หมดเรี่ยวหมดแรงได้ขนาดนี้" กระผม/อาตมภาพฟังแล้วก็ได้แต่ปลอบใจไปตามเพลง แต่ถอนใจตรงที่ว่า...โยมลืมคำว่า ๘๕ ปีไปเสียแล้ว..!

    เนื่องเพราะว่าคนที่อายุมาก สังขารก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป ต้องพยายามรักษาสุขภาพของตน ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าหากว่าล้มป่วยลงไป บางคนสุขภาพทรุดไปเลย และบางรายถึงขนาดนอนติดเตียงไปตลอดชีวิตก็มี เนื่องเพราะว่าความแข็งแรงของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น...การที่ท่านทั้งหลายต้องออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายนี้แข็งแรง จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาหมอ พึ่งพาโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้


    อีกรายหนึ่งสอบถามว่า "หลวงพ่อครับ วันที่แรลลี่ทัวร์ของกิฟท์จังพลังเวทย์ไปวัดท่าขนุน ผมขอไปร่วม "แจม" ด้วยได้ไหมครับ ?" อืมม์...น่าคิด ก็ได้แต่ตอบไปว่า "ถ้าหากว่าจะไปร่วมทำบุญ ทางวัดไม่เคยห้ามใครอยู่แล้ว แต่ถ้าหากว่าจะไปร่วมมั่วกับเขา เพื่อรับวัตถุมงคลที่จัดสรรเอาไว้สำหรับลูกทัวร์ของกิฟท์จังพลังเวทย์นั้น เป็นไปไม่ได้ เอ็งยื่นมือมา..ข้าตีมือหักเลย..!"

    ดังนั้น...ถ้าหากว่าต้องการตรงจุดนี้ ให้ไปสมัครแรลลี่ทัวร์ของกิฟท์จังพลังเวทย์ในเดือนมิถุนายนต่อไป ก็สามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรม แล้วก็รับวัตถุมงคลที่ทางวัดจัดสรรพิเศษไว้ให้สำหรับลูกทัวร์ของคณะนี้โดยเฉพาะ

    และที่สำคัญก็คือ กระผม/อาตมภาพจะต้องล็อควันเอาไว้ เพื่อที่จะไม่รับงานอื่น จะได้อยู่เพื่อสนทนาธรรมกับญาติโยมทั้งหลาย ที่อุตส่าห์ยอมซื้อทัวร์ เพื่อที่จะได้พบหน้าเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนโดยเฉพาะ กำลังใจขนาดนี้เราจะทิ้งเขาไม่ได้ แล้วของคนอื่นก็ไม่มีการจัดงานในลักษณะอย่างนี้อีกด้วย
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,532
    ค่าพลัง:
    +26,369
    โดยเฉพาะงานส่วนนี้นั้น ประสานเข้ากับงานของชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนด้วย เนื่องเพราะว่าที่อยู่ ที่กิน ของที่ระลึกทุกอย่าง ซึ่งสามารถขายได้ เพราะมีคนเข้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่ ก็จะทำให้เกิดผลประโยชน์ตกกับประชาชนในพื้นที่ของเราเอง

    ดังนั้น..ตรงจุดนี้ไม่ว่าจะในทางโลกหรือในทางธรรม ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่ เพื่อที่จะต้อนรับลูกทัวร์คณะนี้โดยเฉพาะ แต่ขอความกรุณา มาทำบุญตามปกติทุกวันก็ได้ แต่อย่ามั่วเข้าไปตอนที่คนอื่นเขากำลังรับวัตถุมงคลที่จัดสรรไว้ให้เขาเป็นการเฉพาะ

    ส่วนญาติโยมอีกรายหนึ่งนั้น ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะหัวเราะหรือว่าร้องไห้ดี เพราะว่ารีบ ๆ ร้อน ๆ วิ่งเข้าร้านค้าซื้อข้าวปลาอาหารเพื่อใส่บาตร แล้วเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนก็ยืนปิดบาตรมองหน้า จนกระทั่งโยมสงสัย เงยหน้าขึ้นมาในลักษณะตั้งใจจะถามว่าเกิดอะไรขึ้น ? กระผม/อาตมภาพจึงชี้ให้ดูว่าโยมยังใส่รองเท้าอยู่ อีกฝ่ายถึงได้รีบถอดรองเท้าแล้วก็ใส่บาตร โดยมีการขอโทษขอโพยว่า "รีบจนลืมไปครับ"

    ตรงจุดนี้ต้องบอกว่า ญาติโยมส่วนหนึ่งนั้น บางทีก็ไม่เห็นความสำคัญในรายละเอียดต่าง ๆ ที่บรรพบุรุษของเราได้ประพฤติปฏิบัติมาอย่างถูกต้องและเป็นรูปธรรมมาช้านาน

    การถอดรองเท้าใส่บาตรนั้น แสดงซึ่งความเคารพในทานของตน แล้วขณะเดียวกัน ก็มีในพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงพระเจ้าพิมพิสาร โดนพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราชบุตรชิงบัลลังก์ แล้วให้ช่างกัลบกใช้มีดโกนกรีดฝ่าเท้า คือฝ่าพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อไม่ให้พระองค์ท่านเดินจงกรมได้

    ซึ่งอรรถกถาจารย์ท่านได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากโทษที่ในอดีตชาติ พระเจ้าพิมพิสารเคยใส่รองเท้าเข้าไปในลานวัดลานเจดีย์ ดังนั้น...การที่พวกเราทั้งหลายถอดรองเท้าก่อนใส่บาตร นอกจากเป็นการเคารพในทานแล้ว ยังเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพในพระรัตนตรัยอีกด้วย
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,532
    ค่าพลัง:
    +26,369
    ถ้าหากว่าญาติโยมทั้งหลายเคยไปประเทศพม่า จะเห็นว่าคนพม่าเริ่มถอดรองเท้าตั้งแต่ประตูรั้ววัด แล้วเอารองเท้าเหน็บด้านหลังโสร่งบ้าง ถือติดมือมาบ้าง ถ้าหากว่าวัดไหนเป็นวัดท่องเที่ยว มีถุงพลาสติกให้ ก็เอาใส่ถุงพลาสติกหิ้วมาบ้าง จนกระทั่งมีพระเถระรูปหนึ่งปรารภขำ ๆ กับกระผม/อาตมภาพว่า "บ้านเราเข้าวัดถือดอกไม้ ธูป เทียนไปบูชาพระ ถือข้าวปลาอาหารไปถวายพระ แต่คนพม่าเข้าวัด ถือรองเท้าเข้าไปหาพระ" ซึ่งตรงจุดนี้เป็นการพูดกันเล่นขำ ๆ เท่านั้น

    แต่ถ้าหากว่ากล่าวถึงความละเอียดในการปฏิบัติแล้ว ต้องถือว่าพุทธศาสนิกชนชาวพม่านั้น มีความละเอียดในการประพฤติปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนามากกว่าประเทศไทยของเราหลายเท่า

    วันนี้แค่การออกบิณฑบาตวันเดียว ก็มีประสบการณ์เรื่องเล่าต่าง ๆ จำนวนมาก เพียงแต่ว่านำมาบอกกล่าวในระยะเวลาจำกัดได้แต่เพียงเท่านี้ จึงขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมทั้งหลายที่ฟังอยู่ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...