เรื่องเล่าจากพุทธประวัติ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” “ความรักของนางโกกิลา”

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 21 พฤศจิกายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    มีอยู่วันหนึ่ง ซึ่งเป็นวันที่ร้อนอบอ้าว พระอานนท์ได้เดินมาใกล้บ่อน้ำ และเห็นนางทาสี (ทาสรับใช้ที่เป็นผู้หญิง) กำลังตักน้ำอยู่ พระอานนท์ขอบิณฑบาตรน้ำจากนางทาสีคนนั้น นางเห็นพระอานนท์แล้วรู้สึกชอบท่าน หรือหลงรักท่านเลยทันทีก็ว่าได้

    ทีแรกนางทาสีคนนั้นก็ไม่กล้าตักกน้ำให้พระอานนท์ เพราะเห็นว่าตัวเองมีวงศ์ตระกูลที่ต่ำกว่า พยายามยกเหตุผลทั้งหลายทั้งปวง แต่สุดท้ายก็ตักน้ำใส่บาตรของพระอานนท์ หลังจากนั้นพระอานนท์ก็กลับวัดเชตวัน นางทาสีคนนั้นก็เดินตามพระอานนท์ตลอดทางกลับวัด แถมบอกกับพระอานนท์ว่า “ข้าพเจ้าไม่กลับ ข้าพเจ้ารักท่าน ข้าพเจ้าไม่เคยพบใครดีเท่าพระคุณเจ้าเลย” แต่พระอานนท์ ซึ่งไม่ได้มีจิตใจสิเนหา ก็ได้สอนนางทาสีคนนั้นว่า “ความรักเป็นเรื่องร้ายมิใช่เรื่องดี พระศาสดาตรัสว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์โศก และทรมานใจ”

    นางทาสีคนนั้นก็ไม่เชื่อว่า ความรักทำให้เกิดความทุกข์ตามที่พระอานนท์ว่า ทำให้พระอานนท์ต้องหยิบยกคำพูดหลาย ๆ คำขึ้นมาสอนนางทาสีคนนั้น “ความรักก็เหมือนการจับไฟนั่นแหละ ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว คือ อย่าจับไฟ อย่าเล่นกับไฟ ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียวคืออย่ารัก”



    e0b980e0b8a5e0b988e0b8b2e0b888e0b8b2e0b881e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1.png

    จนสุดท้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมา แล้วถามนางทาสีว่า “เธอรักอะไรในพระอานนท์” นางก็ตอบว่า “รักนัยน์ตาของพระอานนท์” พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “นัยน์ตานั้น ประกอบขึ้นด้วยเส้นประสาทและเนื้ออ่อน ต้องหมั่นเช็ดสิ่งสกปรกในดวงตาอยู่เป็นนิตย์ มีขี้ตาไหลออกจานัยน์ตาอยู่เสมอ ครั้นแก่ไป นัยน์ตาก็จักฝ้าฝางขุ่นมัวไม่แจ่มใส อย่างนี้เธอจักรักนัยน์ตาของพระอานนท์อยู่หรือ”?

    นางทาสี ก็ไม่ยอมลดละ กล่าวอีกว่า ถ้าอย่างนั้น ข้ารักหูของพระอานนท์ พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “หูนั้น ประกอบด้วยเส้นเอ็นและเนื้อ ภายในช่องหูมีของโสโครกเป็นอันมาก มีกลิ่นเหม็น ต้องแคะไค้อยู่เสมอ ครั้นชราลงก็หนวก จะฟังเสียงอะไรก็ไม่ถนัดหรืออาจไม่ได้ยินเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นแล้ว เธอยังจะรักอยู่หรือ”?


    ถ้าอย่างงั้น ข้ารักจมูกของพระอานนท์ พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “จมูกนั้นเล่าก็ประกอบขึ้นด้วยกระดูกอ่อนที่มีโพรง ภายในมีน้ำมูกและเส้นขน กับของโสโครกมีกลิ่นเหม็น เป็นก้อน ๆ อย่างนี้เธอยังจะรักอยู่อีกหรือ”

    คำตอบของพระสัมมสัมพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทำให้ความรักของนางที่มีต่อพระอานนท์หายไปแม้แต่นิด หลังจากนั้นนางก็ขอตัวกลับบ้าน

    วันรุ่งขึ้นนางก็คิดได้ว่า ถ้าอยากจะอยู่ใกล้ชิดพระอานนท์ จะต้องบวชเป็นภิกษุณีเท่านั้น นางจึงขอลาเจ้านายไปบวชตามแผนที่วางไว้ ระหว่างที่บวช นางก็ไม่สามารถเลิกรักพระอานนท์ได้ จิตใจของนางกระวนกระวายอยู่เสมอ (เหมือนอารมณ์แอบรักคนอื่น) จนสุดท้ายนางก็ลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์ ไปเมืองโกสัมพี และคิดว่า “การอยู่ห่างอาจจะเป็นยากรักษาโรครักได้บ้าง”
    b980e0b8a5e0b988e0b8b2e0b888e0b8b2e0b881e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1-1.png



    นางจากพระอานนท์ไปได้ 3 เดือน หลังจากนั้นได้ยินข่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์จะแสดงธรรมที่เมืองโกสัมพี นางก็คิดว่าจะตัดใจจากพระอานนท์ได้แล้ว แต่เปล่าเลย นางยังตัดใจจากพระอานนท์ไม่ได้ ใจนางเริ่มปั่นป่วนรวนเร และรำพึงกับตัวเองว่า ความรักเป็นความเรียกร้องของหัวใจ มนุษย์เราทำอะไรลงไป เพราะเหตเพียงสองอย่างเท่านั้น คือเพราะหน้าที่อย่างหนึ่ง และเพราะความเรียกร้องของหัวใจอีกอย่างหนึ่ง

    ประการแรกแม้จะทําสําเร็จบ้าง ไม่สําเร็จบ้าง มนุษย์ก็ไม่ค่อยจะเดือนร้อนเท่าใดนักเพราะคนส่วนมากหาได้รักหน้าที่เท่ากับความสุขส่วนตัวไม่ แต่สิ่งที่หัวใจเรียกร้องนี่ซิถ้าไม่สําเร็จ หรือไม่สามารถสนองได้หัวใจจะรํ่าร้องอยู่ตลอดเวลา มันจะทรมานไปจนกว่าจะหมดฤทธิ์ของมันหรือมนุษย์ผู้นั้นจากไป

    เย็นวันนั้นเอง พุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียน และสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจากพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อน ๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า “ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม”

    พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณีโกกิลาว่า มีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้



    “ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทางสายกลาง คือเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ

    images?q=tbn:ANd9GcTaEiofqPoLC2szD1niI0i0OTYyMoVTbVMsSoOzSk4fsUgubSxa.jpg

    “ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้างไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ท่านทั้งหลาย! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศกความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุปการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่

    “ท่านทั้งหลาย! เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้วเรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน

    “ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่านิโรธคือความดับทุกข์ได้




    “ทางที่จะดับทุกข์ดับตัณหานั้นเราตถาคตแสดงไว้แล้ว คืออริยมรรคมีองค์ ๘”

    “ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางบอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง”

    พระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลาโดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญญาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่ใคร ๆ พากันชมพระพุทธองค์ ว่าเป็นเหมือนดวงจันทร์ ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว

    โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาปลดเปลื้องสังโยชน์ คือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจทีละชั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้.

    สรุป ความรักทำให้คนมีความทุกข์แต่ทุก ๆ คนก็พยายามวิ่งหาความรัก เหมือนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

    “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์”

    ที่มา..หนังสือ “พระอานนท์พุทธอนุชา”

    ธรรมจักร :: พระอานนท์พุทธอานุชา (วศิน อินทสระ)

    1-5.jpg


    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.newtv.co.th/news/24721
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 เมษายน 2019
  2. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,727
    ค่าพลัง:
    +5,801
  3. Chanvarin

    Chanvarin สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    สาธุค่ะ
     
  4. mayamo

    mayamo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +120
    สาธุครับ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...