เรื่องอสังขตธรรม หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ไม้ขีดครับ, 26 ตุลาคม 2020.

  1. ไม้ขีดครับ

    ไม้ขีดครับ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +17
    FB_IMG_1603712600714.jpg


    เรื่องอสังขตธรรม

    การตายมาจากการเกิด การเกิดมาจากการตาย การที่จะไม่เกิด หรือนิพพานต้องทำลายตัณหา ซึ่งตัณหานั้นมาจากอุปาทานขันธ์5 แล้วทำอย่างไรจะทำลายอุปาทานขันธ์5ได้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามุ่งเน้นทำลายอุปาทานขันธ์5 การปฏิบัติธรรมมุ่งหมายเพื่ออะไร ความสงบหรือการทำลายอุปาทานขันธ์5 ถ้ามุ่งเพื่อความสงบเราจะไม่ได้ความสงบ หรือได้ก็แค่ชั่วคราว แต่ถ้ามุ่งทำลายอุปาทานขันธ์5 จะพบความสงบอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนกับเราต้องการเงิน เราจะไม่วิ่งหาเงิน เราต้องวิ่งหางานแล้วเงินก็จะมาเอง เพราะฉะนั้นการมุ่งหาความสงบเราต้องวิ่งหาขันธ์5 ทำให้แจ้งในขันธ์5 แล้วทำลายอุปาทานขันธ์5ให้ได้ นักกรรมฐานถ้าปฏิบัติแล้วควรทำงานให้จบ การทำสมาธิก็ควรทำให้ถึงจุดจบให้เราเห็น ใช้สติปัญญามองให้ออกว่าใกล้ถึงจุดจบหรือยัง นักปฏิบัติสมัยนี้มี2ทาง ทางแรกการดูจิตอย่างเดียวเพื่อให้สงบเชื่อว่าจิตเป็นเหตุให้ไม่สงบ ส่วนใหญ่จะไม่พบความสงบ นักปฏิบัติอีกพวกพิจารณากายอย่างเดียวเพื่อให้เห็นขันธ์5 โดยไม่สนใจว่าจิตจะสงบหรือไม่ พิจารณาให้แจ้ง จะพบความสงบที่แท้จริง

    ทั้ง2แนวทางนี้ ดูจิตกับดูกาย อย่างใหนจะดีกว่ากันต้องไปดูที่มรรคองค์8 บุคคลที่ดูจิตจะเป็นมิจฉาทิฐิ บุคคลที่ดูกายจะเป็นสัมมาทิฐิ คือใช้ปัญญานำสมาธิ หรือสติปัฐฐาน4 เมื่อรู้แจ้งในขันธ์5หรือสติปัฐฐานข้อ1 หรือพิจารณากาย มันจะทำลายอุปาทานไปเอง การที่จะเห็นกายตัวเองเราต้องเห็นด้วยตาในไม่ใช่ตานอก ถึงจะละกิเลสได้ ตาในก็คือตาใจนั่นเอง จิตของเรามัวแต่คิดถึงคนอื่นแต่มองไม่เห็นตัวเอง ให้ปิดผู้อื่นซะด้วยตาในแล้วสร้างภาพของตัวเราเองขึ้นมาด้วยตาใน ให้เน้นคิดถึงแต่ตัวเองให้มากๆทั้งวัน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วจะพบกับความสงบ จิตที่ปรุงแต่งทำให้เป็นทุกข์ เราจะใช้การปรุงแต่งนี้แหละไปแก้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ความปรุงแต่งมีทั้งกุศลกับอกุศล กุศลให้เจริญให้มาก อกุศลให้ละ จิตที่วิ่งออกไปข้างนอกอันนั้นคืออกุศลควรละ

    ส่วนจิตที่วิ่งมาจับที่กายคือกุศลควรเจริญให้มาก มรรคก็เป็นการปรุงแต่งในส่วนกุศลคือการคิดถึงแต่ตัวของเราศึกษาแต่ตัวเอง อาจจะใช้อุบายมาร่วม เช่น ดูคนแก่แล้วให้คิดว่าเป็นตัวเรา ยิ่งคิดมันจะยิ่งสงบ ความสงบมันมาเอง เพราะกิเลสมันลดลง เมื่อเห็นตัวเองแล้วเราก็ต้องรักษามันไว้เพื่อให้จิตมีเครื่องอยู่ในตัวเอง เพียรรักษาภาพตัวเองไว้ไม่ให้ภาพของผู้อื่นเข้ามาเพื่อให้มีที่อยู่ของจิต เน้นให้คิดอยู่ในตัวเองตลอดเวลาเป็นกุศลธรรมจะเกิดอินทรีย์5 จิตที่ไหลไปหาคนอื่นเป็นอกุศลธรรมนิวรณ์5จะเกิดขึ้น ซึ่งทุจริต3 และอวิชชา จะตามมา ทั้งนี้เราต้องมีความศรัทธาในแนวทางการพ้นทุกข์นี้เราจะได้มีกำลังใจในการปฏิบัติ การปฏิบัติแบบดูกาย สติเราจะมากขึ้น จิตเราจะช้าลง สติควบคุมจิตได้มากขึ้น เกิดปัญอินทรีย์ขึ้น(อินทรีย์5หรือปัญญา) เป็นแนวทางสู่พระนิพพาน ดังนั้นให้เพียรสร้างและรักษาภาพของเรา เพียรละและตัดภาพของคนอื่น จิตเราต้องอยู่กับเราเท่านั้นถึงจะไม่ถูกประทุษร้าย ภาพเราเป็นความสงบ ภาพเขาเป็นความไม่สงบ ภาพเราจะต้องมีอยู่ทุกนาทีอย่างต่อเนื่องจิตเราถึงจะไม่หล่นไปข้างนอก.

    อบรมตัวเราให้มากทั้งกลางคืนกลางวันเราจะสามารถเหนี่ยวรั้งจิตเราไว้ในกำมือได้ จิตเราจะไม่เผลอเลย เกิดมหาสติขึ้น เมื่อเห็นภาพของเราแม่นแล้ว ห้ามทำลายคือการคิดเป็นอนัตตา เพราะจิตเราจะไปเกาะกับคนอื่น กิเลสจะเกิดขึ้นอีก ให้พิจารณาด้วยปัญญา เมื่อเห็นรูปเป็นของไม่เที่ยงก็เกิดความเบื่อหน่าย เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง เวทนาเกิดจากผัสสะ การทำลายผัสสะคือจิตไม่ออกไปกระทบอารมณ์ภายนอก อารมณ์กับจิตจะขาดกัน เราจะเป็นผู้ที่ไม่มีอารมณ์ เพราะฉะนั้นการที่เราเห็นตัวเองเป็นความสงบที่สุดในโลก

    จิตที่ยังดิ้นอยู่ภายในยังไม่ควรทำสมาธิ ให้พิจารณากายต่อไป จิตที่ดิ้นภายในยังไม่กระเฉาะออกข้างนอกก็ให้พิจารณากายต่อไป จิตที่กระดิกอยู่ให้คิดว่าเป็นกามะฉันทะ เป็นกิเลสที่ละเอียด ต้องพิจารณากายก่อนถึงจะทำสมาธิ ก่อนที่จะละการพิจารณากายให้ทดสอบก่อนว่าเรายังคิดถึงคนอื่นอยู่มั้ย สิ้นจากความเป็นหญิงชายหรือยัง ถ้ายังคิดถึงเพศตรงข้ามอยู่ก็ให้พิจารณากายต่อ นั่นคือเรายังละไม่ได้ ถ้าจิตมันเด้งกลับ มันไม่ออกไปข้างนอก ถึงจะเริ่มทำฌานสมาธิ (เป็นจิตของพระอนาคามี)

    เมื่อจิตเป็นพระอนาคามีแล้วต่อไปจะมีทาง2แพ่ง ประเภทที่1 ทำสมาธิฌาน ใช้จิตดูจิต อันนี้พระพุทธเจ้าไม่บังคับ แต่ทำแล้วให้ละด้วย อย่าคิดว่าเป็นตัวตน ตรงนี้จะมีอภิญญาเกิดขึ้น ประเภทที่2 ใช้ปัญญา อาศัยสติปัฐฐาน4แล้วจบเลย เมื่อจะละสังขารให้ออกจากฌาน ไม่เอาอะไรไปเลยทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ทุกอย่างเป็นอุปกรณ์ให้เราข้ามฟาก เราต้องไปแต่ตัวคือความไม่มีอะไร ให้มีแต่ความบริสุทธิผุดผ่องของใจซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ปรุงแต่งอะไร คือพระนิพพาน(อสังฆะตะธรรม)

    หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ วัดหลวงขุนวิน จ.เชียงใหม่
     

แชร์หน้านี้

Loading...