เปิดบทสวด ‘รัตนสูตร’ พระพุทธเจ้าประกาศใช้ปัดเป่าภัยโรคระบาด

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 3 กรกฎาคม 2020.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,289
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    BuddhaPratanporn.jpg
    บทสวดรัตนสูตร - สมเด็จพระญาณสังวรฯ


    sombool2012
    Aug 4, 2016

    เปิดบทสวด ‘รัตนสูตร’ พระพุทธเจ้าประกาศใช้ปัดเป่าภัยโรคระบาด
    หลังจากรัฐบาลเชิญชวนคนไทยร่วมสวดมนต์ “รัตนสูตร” พร้อมกันทั่วประเทศ หวังปัดเป่าภัยจากโรคระบาด "โควิด-19" พร้อมถ่ายทอดสดในวันที่ 25 มีนาคมนี้ ก่อนจะถึงวันนั้นมาเตรียมฝึกซ้อมกับบทสวด “รัตนสูตร” กันสักหน่อย
    รัฐบาลเชิญชวนคนไทยร่วมสวดมนต์ “รัตนสูตร” พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 25 มีนาคมนี้ หวังปัดเป่าภัยจากโรคระบาด "โควิด-19" แต่ก่อนจะถึงวันนั้นมาเตรียมฝึกซ้อมสวดมนต์ในบทพระสูตรนี้ และชวนชาวพุทธรู้จักที่มาและตำนานเกี่ยวกับบทสวด “รัตนสูตร” กันให้มากขึ้น

    ตามความเชื่อในสมัยโบราณว่ากันว่า สาเหตุที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระสูตร ‘รัตนสูตร’ นี้ขึ้นมา ก็เพื่อขจัดปัดเป่าภัยความอดอยาก ภัยจากโรคระบาด และภัยจากอมนุษย์เบียดเบียน ชาวพุทธจึงถือเป็นธรรมเนียมสวดพระสูตรนี้เพื่อขจัดโรคภัยเช่นโรคห่า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าการสาธยายรัตนสูตร หรือรัตนปริตรจะทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งหลายทั้งปวงด้วย

    มีอีกหนึ่งตำนานเล่าว่า “รัตนสูตร” เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เรียนจากพระพุทธองค์โดยตรง เพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดกับชาวกรุงเวสาลี พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระอานนท์น้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำสัจกิริยาให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลาย

    เนื้อความ “รัตนสูตร” ท่อนแรกเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้เหล่าภูตทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญกุศลที่หมู่มนุษย์อุทิศให้ และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอให้เกิดความเมตตาทำการรักษามนุษย์ทั้งหลาย ส่วนเนื้อความท่อนต่อมาเป็นการอ้างคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดี ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นคำกล่าวของท้าวสักกะ ที่ผูกขึ้นเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยเป็นสัจวาจาให้เกิดความสวัสดีเช่นกัน

    ภายหลัง “รัตนสูตร” ได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีการทำน้ำพระพุทธมนต์ จะต้องมีการสวดบท “รัตนสูตร” เพื่อเป็นการขจัดภัยทั้ง 3 ประการตามที่ปรากฏในพระสูตรคือ ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย), ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย), โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) ให้อันตรธานไป

    ด้วยอานุภาพแห่งรัตนสูตรนี้ แม้กรุงเวสาลีจะเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง ผู้คนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกทอดทิ้งเกลื่อนนคร ภูตผีปีศาจทำอันตรายแก่หมู่มนุษย์ มีโรคระบาดเกิดขึ้นแพร่กระจายไปทั่ว เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์สวดบท “รัตนสูตร” และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ภัยพิบัติร้ายแรงเช่นนี้ก็ระงับลงได้อย่างฉับพลัน
    สำหรับบทสวดมนต์ "รัตนสูตร" มีดังนี้

    (ตั้งนะโมฯ 3 จบก่อนเริ่มบทสวด)

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ

    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

    สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ

    อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง

    ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ

    เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ

    ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง

    ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตาฯ

    ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา

    สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง

    นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ

    อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง

    ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต

    นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ

    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง

    สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ

    สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ

    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา

    จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ

    เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา

    เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุฯ

    เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ

    นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ

    เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ

    ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา

    จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย

    ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ

    โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ

    คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ

    กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา

    นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
    สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ

    ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ

    สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ

    สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ

    จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต

    ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง

    กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา

    อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ

    อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค

    คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห

    ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ

    นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ

    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร

    อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ

    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง

    วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง

    เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา

    นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป

    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง

    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ

    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง

    พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ

    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง

    ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ

    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง

    สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ

    ----------------------

    ที่มา :

    https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=7880


     

แชร์หน้านี้

Loading...