เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    ...;ผมว่า2ข้อระรึกก่อนหลังก็คือระรึกเหมือนกัน อาจจะช้าเร็วต่างกันนิดหน่อย

    เห็นตอนกำลังดับ กำลังแปลสภาพ ก็ต้องอาศัยสติ สติคือความระรึกได้หรือเปล่านะ ถ้าคือความระรึก ชื่อว่าการระรึก มันก็สัญญาเหมือนกัน
     
  2. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมเห็นว่า ปฎิบัติสมาธิภวนา ที่กายใจ ให้กำลังความรู้พอเหมาะ พอดี เห็นเท่านี้ครับ
     
  3. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    ระรึกช้่าเร็ว สัญญาช้า หรือสัญญาเร็วปัจจุบันหรือไม่ มันไม่สำคัญจริงๆ สำคัญที่ขณะที่ระรึกนั้นจิตมีสภาพที่พร้อม คือสงบแค่้ไหน ..รู้แล้วปาหานกิเลสได้บ้างหรือเปล่า ..เพราะถ้ารู้ถึงจิตจริง จิตมันต้องมีเปลี่ยนแปลงบ้างจากผลของการรู้นั้น เมื่อจิตมันเปลี่ยนแปลง มันก็ต้องมีอาการ...
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปฐวีธาตุ
    กกฺขฬ ลกฺขณา มีความแข็ง เป็นลักษณะ
    ปติฏฺฐาน รสา มีการทรงอยู่ เป็นกิจ
    สมฺปฏิจฺฉน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการรับไว้ เป็นผล
    อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

    หรือ จิต
    วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
    ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
    สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
    นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

    หรืออีกตัวอย่าง สติเจตสิก
    อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ
    อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ
    อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
    ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้

    ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ มีกล่าวไว้ว่า
    รสะ หมายถึง กิจการงาน หรือหน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ พึงกระทำตามลักษณะของ
    ตนรสะนี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ กิจจรส และ สัมปัตติรส กิจจรส เช่น ความร้อน
    ของไฟมีหน้าที่การงานทำให้สิ่งของต่าง ๆ สุก สัมปัตติรส เช่น แสงของไฟ มีหน้าที่
    การงานทำให้สว่าง

    ในลักขณาทิจตุกะ รสะ (กิจ) หมายถึง กิจรส

    กิจรสของปฐวีคือ ปติฏฺฐาน รสา มีการทรงอยู่ เป็นกิจ

    กิจของรสของจิตคือ ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ

    กิจรสของสติคือ อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ

    ส่วนคำอธิบายเรื่องสัมปัตติรส ในบางแห่งอธิบายเหมือนกิจรสเช่นกัน

    โปรดดูตัวอย่างตัวอย่างในอรรถกถา ธัมมสังคณีที่ยกมา

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309
    จริงอยู่ ผัสสะนี้ แม้มิใช่รูปธรรมแต่ก็เป็นไปโดยอาการการถูกต้อง
    อารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ ผัสสะนี้
    แม้ไม่ติดกับอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ก็ประสานจิตกับอารมณ์เหมือนรูปกับจักษุ
    และเสียงกับโสต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการประสานเป็นกิจรส อีกอย่างหนึ่ง
    พึงทราบว่า มีการประสานเป็นสัมปัตติรส เพราะการเกิดประสานวัตถุกับ
    อารมณ์ สมดังคำอรรถกถากล่าวไว้ว่า ผัสสะที่เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่ามีการ
    กระทบอารมณ์เป็นลักษณะไม่มีก็หามิได้ แต่ผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวาร
    เท่านั้น มีการประสานเป็นรส จริงอยู่ คำว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ
    ฯลฯ

    ปล. ตัดต่อของเขามาอีกที เห็นเขาพูดถึง กิจรส สัมปัตติรส ของ ปฐวีฐาตุ จิต สติเจตสิก

    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=2555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  5. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    ปัญหาเรื่องสัญญาที่ควรเจริญ
    มีปัญหาก็ตรงที่สัญญาอย่างไหนจัดเป็นสัญญาควรเจริญ แบบรู้ถึงจิต หรือแบบปัจจุบันขณะ โดยเฉพาะ อนิจจสัญญา กับอนัตตสัญญา
    แบบปัจจุบันขณะมันก็ให้ผลเป็นรู้ถึงจิตได้ถ้าจิตมันพร้อม.. งั้นก็สรุปแว่ ควรเจริญหมดละมั๊ง
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอ่อ...ไม่เคยได้ยินว่าให้เจริญสัญญานะ

    มีแต่ให้เจริญสติ โดยมี ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้

    เข้าใจว่าเป็นงี้นะ แต่ไม่รู้ว่าถูกป่าว
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาทุกคำตอบ ^^

    ควรแยกได้ ด้วยรู้ลักษณะ นี้สติ นี้สัญญา

    สติเป็นกุศล

    สัญญา เกิดได้ทั้งกุศล และอกุศล
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การทำความเข้าใจต้องอาศัยปัญญา

    ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง เกิดร่วมกับกามาวจรจิตที่เป็นญาฌสัมปยุตต์ทั้งหมด 12
    และเกิดร่วมกับรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิตและโลกุตตรจิตด้วย
    เพราะจิตเหล่านี้ต้องประกอบด้วยปัญญาเจตสิกทั้งสิ้นจะเห็นได้ว่า
    โดยทั่วไปกามาวจรกุศลจิตเกิดร่วมกับโสภณสาธารณเจตสิกเท่านั้น แต่บางกาลก็มี
    วิรตีเจตสิก ๑ ดวงเกิดร่วมด้วยเมื่อวิรัติทุจริต และบางกาลก็มีอัปปมัญญา
    เจตสิก ๑ ดวงเกิดร่วมด้วย และบางกาลก็เกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก ขณะอบรม
    เจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นมหากุศลจิตที่มีปัญญาเจตสิกเกิด
    ร่วมด้วย จึงเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์

    ปัญญาเจตสิก เกิดร่วมกับจิตหลายประเภท
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เจตสิกที่เกี่ยวกับ สมาธิ

    เอกัคคตาเจตสิก เจตสิกดวงนี้เกิดกับจิตทุกดวงและทำกิจตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง จิตทุกดวงรู้อารมณ์ได้เพียงอารมณ์เดียว และเอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นในอารมณ์นั้น เอกัคคตาเจตสิกเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ได้ สมาธิในสมถภาวนาเป็นกุศลที่ตั้งมั่นใน สมถกรรมฐาน ซึ่งรู้ชัดว่าจิตเป็นกุศลหรืออกุศลเกิดร่วมกับสมาธิ และรู้วิธีที่จะเจริญความสงบ มิฉะนั้นแล้ว สมาธิในสมถภาวนาก็ไม่เจริญ ถ้าผู้ใดเพียรพยายามที่จะให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์โดยไม่มีความเข้าใจถูกต้องแล้ว ก็อาจจะมีความยินดีพอใจในความเพียรพยายามที่จะให้สมาธิเกิด หรือถ้าจิตไม่ตั้งมั่นในอารมณ์ โทสะก็อาจจะเกิดได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ความสงบก็เกิดไม่ได้ ถ้ามีปัญญา ก็มีปัจจัยให้เจริญสมาธิได้

    http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-22.htm
     
  10. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    เออ ไม่รู้สิ ฉันเรียกไม่เป็นหนะ ประกาศไว้ตรงนี้เลยว่า ฉันเรียกไม่ค่อยถูก
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอ่อ...ฉันก็ไม่รู้จะเข้าใจที่เธอพูดถูกไหม เรื่องสัญญา น่ะ
    ฉันก็เลยพูดในสิ่งที่เห็นและเข้าใจให้ฟัง น่ะ
    ไม่รู้เข้าใจตรงกันไหม ^.^
    ถ้าฉันเข้าใจเธอผิด ก็แย้งมาแล้วกัน
    ฉันจะได้เข้าใจเธอให้ถูกต้องตามจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    :cool: เยอะ

    องค์ธรรมใน มิฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ

    พุทธองค์แสดงไว้ ไม่ต่างกันเลย นอกจาก

    กุศล หรือ อกุศล

    ปัญญา หรือ โมหะ
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขออนุญาติโม้ต่อเรื่องสัญญา ^.^

    แต่มีคนพูดเรื่องการฝึกอบรมอสุภสัญญา อสุภกรรมฐานเป็นเหตุใกล้ให้ได้ปฐมฌาณ
    เป็นเรื่องของวิธีการกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

    แบบนี้เราเข้าใจว่า เขาไม่ได้พูดให้เราเจริญอสุภสัญญา แต่ให้เราอาศัยอสุภสัญญาฝึกอบรมจิต
    เป็นเหตุใกล้ให้ได้อนิจจสัญญาคือเห็นความไม่เที่ยงได้ง่าย ได้มรณานุสติได้ง่ายอีกด้วย

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2-%E0%B8%A8%E0%B8%9E-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C.23539/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เรื่องปัจจัตตังเนี่ย จะสื่อจะพูดให้เข้าใจตรงกับที่เราเข้าใจ บางทีใช้คำผิด ก็เข้าใจผิด
    กลายเป็นคนละเรื่องเลยนะ ไม่ได้แปลว่าฉันเข้าใจถูกนะ แต่พยายามจะอธิบายว่า
    อ่านมาแล้วเข้าใจแบบนี้ ถ้าใครเห็นว่าเข้าใจผิด ก็แย้งกันได้ จะได้รู้ในมุมมองตาม
    ความเข้าใจในแบบของคนอื่น จะได้ใช้คำสื่อให้เข้าใจปัตจัตตังตรงกัน จะได้ไม่เกิดเหตุแบบว่า
    ตั้งใจพูดอย่างหนึ่ง แต่คนฟังเข้าใจไปอีกอย่าง
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ประโยชน์ของการมีคำสอนเรื่องพระอภิธรรม ^.^
    ชัดเจน ไม่ต้องตีความ
    ยิ่งถ้าจำได้แม่นๆ นี่เยี่ยมเลยนะ อย่างน้อยก็แปลว่ามีสติเจตสิกมากถึงจำได้แม่นยำ
    เรายังทำได้แค่ค้นหาจากกูเกิลมาตัดแปะ เป็นครั้งคราว จำได้แค่หัวข้อบางคำ แหะ แหะ
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>หลงเข้ามา, jittinon </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คนข้างหลัง เก็บรายละเอียดอย่างเดียว ^^
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    และโดยมากพูด 1 บรรทัด เป็นเอกลักษณ์ ^.^
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ถ้าจะนำมาใช้ในการเจริญสติปัฏฐาน

    ควร ศึกษา ลักขณาทิจตุกะ หรือ วิเสสลักษณะ คู่ไปกับสามัญลักษณะ ครับ

    จะทำให้จำแนก แยก รูป จิต เจตสิกได้แม่นยำมากขึ้น
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมว่าหยวนๆได้นะ เน้นที่การลดละกิเลสตัญหาให้บางลง
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    คือการเห็น น้อมกายใจ เข้าสู่ธรรม ไม่จำกัดกาล
     

แชร์หน้านี้

Loading...