เคลือบแคลงสงสัยกับการปฏิบัติสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้ตามหา, 21 กันยายน 2013.

  1. ผู้ตามหา

    ผู้ตามหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +818
    ปกติผมจะพยายามปฏิบัติสมาธิตลอดทั้งวันแม้จะทำงานประจำอยู่ก็ตาม คือเอางานเป็นกรรมฐานหรือแค่ช่วงเวลาเล็กน้อยที่ว่างก็จะจับอารมณ์ทันที แล้วพอเลิกงานขับรถกลับก็จะทำสมาธิไปด้วย พอถึงสี่ทุ่มก็จะเข้าที่ภาวนาประมาณหนึ่งชั่วโมง จิตสงบดีมากครับ หลังจากนั้นก็นอนพอตีสองกว่า ๆ จะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาจิตใจสบาย โล่งไม่เคยเป็นเลยล้างหน้าล้างตาแล้วมานั่งสมาธิได้สักสองสามวันแล้วครับ นั่งจนถึงประมาณเกือบตีสี่แล้วค่อยนอนต่อ ปัญหาของผมที่สงสัยคือตอนช่วงนี้แหละครับที่ทำการนั่งสมาธิจิตปลอดโปร่งโล่งสบายมากแต่กลับรู้สึกว่าจิตไม่รวม เหมือนฟุ้งซ่าน และที่สำคัญเหมือนเรากำลังนั่งดูละครที่จิตมันฟุ้งซ่านนั้น ไม่ว่าจะจับลมหายใจ จับคำภาวนา หรือจับกสินอย่างไรก็เหมือนเดิม พอออกจากสมาธิก็จะทำสมาธิจนหลับไปอีกครั้ง จนกว่าจะถึงตีห้าสิบนาที มาสวดมนต์เช้าก่อนอาบน้ำและไปทำงาน
    ใครพอมีความรู้ช่วยไขความกระจ่างให้หน่อยครับ สมาธิจิตปลอดโปร่งโล่งสบายมากแต่กลับรู้สึกว่าจิตไม่รวม เหมือนฟุ้งซ่าน ทำอย่างไรจิตจึงจะรวม ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  2. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สมาธิสำคัญอยู่ที่สติ กำหนดสติดูลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าภาวนาพุทธ หายใจออกภาวนาโธ หายใจเข้าสั้นหรือยาวก็ให้รู้ ให้มีสติระลึกในธรรม กิจที่พึงปฏิบัติคือ ทำให้สงัด สงบ ว่าง วางสบาย จากนั้นพิจรณาสังขาร ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแบกบริหาร และไม่ใช่ตัวตน พึงละอกุศลกรรม หมั่นเจริญกุศลกรรม ถือศีล 5 และไม่ประมาท.(ตั้งใจไปนิพพาน)
     
  3. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    ปรากฏการณ์นี้ ที่เรียกกันว่า เทไห. รึป่าว. มีสติรู้ว่าจิตแปรปรวนไป. น่าจะเข้าเค้าแนวปัญญานะ

    เคยฟังเรื่อง ความคิดผุดๆๆๆ ออกมาเรื่อยๆเหมือน น้ำผุด หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน
    ไม่ได้แนะนะครับ แค่เคยฟังอ่านมาแล้ว เข้าเค้า รอท่านผู้ทรงคุณมาวิสัชนา ดีกว่า
     
  4. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ก็ทำมาดีแล้ว ถูกแล้ว
    ทุกอย่างจะมีการพัฒนาไปเองหากไม่อยุดในการปฏิบัติครับ
    จิตจะรวมหรือไม่อย่างใส่ใจ หากยิ่งใส่ใจ หรือสนใจมากเท่าใด จิตก็ยิ่งฟุ้งซ่านมากเท่านั้นครับ
    จิตจะรวมก็เพราะจิตมีสมาธิในองค์ปฏิบัติ ยิ่งมากเท่าใดโอกาสที่จิตจะรวมก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้นครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  5. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    เหมือนว่ากำลังของจิตอ่อนล้าครับ ไม่พอ

    จะแนะนำให้พักก่อนก็ไม่ได้ เพราะโทษจะเกิดทันที ในเรื่องขัดขวางการปฎิบัติธรรมของผู้อื่น

    ขอแนะนำให้ทำทานบารมีก่อนปฎิบัติในช่วงที่ฟุ้งครับ หากระปุกออมสินมาใส่เงินเลยครับ เวลาไปทำบุญก็นำเงินนั้นไปทำด้วย

    และให้ลองปฎิบัติกุศลกรรมบท 10 ครับ เพื่อให้จิตเบาขึ้น

    เพิ่ม 2 อย่างครับ บารมี กับ กุศล
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
  7. ผู้ตามหา

    ผู้ตามหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +818
    ขอบคุณครับสำหรับทุกคำแนะนำ ขอเสริมอีกนิดหน่อยครับ เวลาที่เหมือนกับนั่งดูจิตมันฟุ้งซ่าน ไม่มีความหนัก ไม่มีความต่อต้านเหมือนดูแล้วผ่านไป ไม่เก็บเอามาใส่ใจ รู้แค่เพียงว่าจิตทำให้ดูก็จะดู คล้าย ๆ อย่างนั้นน่ะครับ เพราะเวลานั่งสมาธิจิตจะระลึกถึงองค์สมเด็จตลอดครับ และพอออกจากสมาธิก็ไม่มีความเหนื่อยล้าใด ๆ กลับยิ่งเหมือนร่างกายมันเบาครับ เลยเกิดความสงสัยว่าอาการแบบนี้จะเป็นโทษหรือมาผิดทางหรือเปล่า

    เรื่องออมสินมีอยู่แล้วครับทำอยู่ตลอด และจะไปทำบุญเกือบทุกวันอาทิตย์ครับ ขอบคุณนะครับทุกท่านที่แนะนำ เจริญในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
     
  8. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เฉย มี สองแบบ คือ เฉยรู้ และ เฉยไม่รู้

    เฉยไม่รู้ จะไปเป็นอรูปพรหม แบบที่พระพุทธองค์อุทานว่า "ฉิบหายเสียแล้วจากความดี"

    เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ อ่านเรื่องอเหตุกจิต แล้วเข้าใจหรือไม่ เข้าใจอย่างไร?

    ถ้าเข้าใจผิด เดินผิดทางไป อาจจะได้เจอคำสอนพระพุทธเจ้าอีกที ตอนผ่านพระพุทธเจ้าไปอีกหลายร้อยพระองค์
     
  9. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    ..การปฏิบัติของคุณ ถูกต้องแล้วครับ การที่จิตสบายนั้นเป็นเพราะนิวรณ์5คุณจางคลายไ จิตคุณยังไม่สงบพอที่จะพูดถึงจิตรวม
    ..จิตสงบ สบายใจ พอออกจากสมาธิ วันนั้นคุณจะมีกำลังใจ เข้มแข็ง ทำงานกระปรี้กระเป่าใช่ไหมครับ นั่นกำลังจิตสะสม สะสม ไปเรื่อยๆแต่ยังไม่สงบจริงแค่จางคลาย ..
    ..หากเจอสภาวะสงบจริงๆ คุณจะมีอีกอาการหนึ่ง เช่นนั่งเห็นแต่ตนเอง ในความเงียบ-ว่าง จิตจะลอยเด่นแล้วคุณนั่งดู..ใกล้แล้วครับ พยายาม เอาสติซ้อนทับกับตัวรู้ ซิครับ
    ..คุณเห็นสติหรือความรู้สึกรึยังครับ..สาธูครับ
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เรามีสติ ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา จะเห็นการเกิด-ดับของใจได้
    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ่งใดเกิดก่อน ก็พิจารณาดับ
    มันลงให้ได้ เช่น การผัสสะทางตา เกิดเวทนาที่จิต เมื่อสติดี ก็จะเห็นว่า
    สิ่งที่เกิดมันคือ กิเลส ตัณหา ชอบ ชัง ....ฯ เราก็อบรมสั่งสอนที่จิตว่า.......

    เพื่อให้จิตนั้น ดับ สิ่งที่เกิดขึ้นมาในจิตของเราให้ได้ ด้วยปัญญา เหตผล ของเรา
    ด้วยอุบาย ด้วยอะไร ๆ ก็แล้วแต่ี เพื่อให้จิตคลาย ละวาง จากสิ่ง..ที่มาทำให้จิตใจ
    ของเราเกิดความหมองเศร้า ด้วยการผัสสุะทางตา แล้วเศร้าหมองที่ใจ

    พุทธศาสนา ใช้ปัญญา ดับทุกข์ อาจดับด้วยการกดข่ม ปล่อยวาง ก็แล้วแต่วิธีการ
    ของแต่ละท่านเถิด ตัณหา แต่ละคนมีไม่เท่ากัน บางคนไม่มีเรื่องมากมาย ก็ง่าย ๆ
    จะไปนั่งสมาธิให้ดับจิตไป ก็ได้แหละครับ ....อย่าเป็นเณรคำก็แล้วกัน ตัณหามันชอบ

    อย่าไปรวมมันเลยจิตน่ะ ออกจากสมาธิก็วุ่นวายอีก เพราะยังมี ตา หู จมูก.....ฯ เอา สติ-ปัญญา
    มาอบรมตัวเรา เมื่อมันเกิด สันดานที่ไม่ดี ขึ้นเมื่อไร ก็จัดการมันทันที "ต้องระลึกให้ทัน" หากจะ
    ฝึกสมาธิ ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ...มันก็ได้ แต่่มันไม่หมดสักที หลุดเมื่อไร มันก็มาทำให้เราหมองอีก.

    พิจารณาเอาก็แล้วกัน ว่าจะฝึกอะไรดี สมาธิ หรือ สติ ...ตัวของท่าน จิตของท่าน รู้จักมันดีที่สุด.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ความรู้สึกความเบากาย เป็นปิติไม่ผิดทางครับ แสดงว่าคุณมีกำลังสมาธิอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
    หากไม่ยึดติดก็ไม่มีผลอะไร หากยึดติดว่าต้องเป็นเช่นนี้ทุกครั้งก็ผิดครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  12. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    มาถูกทางแล้วครับ ขอโมทนาบุญด้วย

    ขออนุญาตครับ

    ท่านมาถูกทางแล้วล่ะครับ
    ขอให้พิจารณา คำสอนขององค์หลวงปู่ มหาบัว ญานสัมปันโน ที่ท่านสอนว่า


    "ธรรมนั้น ผู้ไม่รู้ ตั้งคำถามไม่ได้"
    "ธรรมนั้น ผู้ไม่รู้ ตอบคำำถามไม่ได้"

    ทั้งนี้เพราะองค์ท่านเคยอยู่กับท่านอาจารย์ปู่ทวด หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นานหลายปี

    เมื่อองค์ท่านติดขัดอะไร ก็เข้าไปถามครูบาอาจารย์ใหญ่
    องค์ท่านก็จะได้รับคำตอบทันที ทั้งตรงจุด ทั้งกระชับ ทั้งเข้าใจได้คำตอบอย่างกระจ่างแจ้ง

    ผมคิดดูแล้ว ผมไม่ควรจะตอบปัญหาของท่านตรงๆ
    แต่จะขอยกคำสอนของครูบาอาจารย์องค์อื่นๆมาตอบให้แทน

    ขอให้พิจารณา คำสอนขององค์หลวงปู่พุธ ฐานิโย ที่ท่านสอนว่า


    "สติวินะโย" คือ อาการที่ เมื่อมีข้อข้องใจเรื่องอะไร
    ก็จะมีธรรมผุดขึ้นมาเป็น "คำถาม" ของเรื่องนั้น
    แล้วก็จะมี "คำตอบ" ของเรื่องนั้นผุดขึ้นตามมา

    มันจะมีอาการเหมือน งูฉก เมื่ิองูมันฉก แล้ว มันก็จะจากไป
    เมื่อ มันฉกอะไรแล้ว มันก็จากไป

    เหมือนการ "พิจารณาธรรม"
    เมื่อข้องใจเรื่องอะไร ก็จะมี "คำถาม" ผุดขึ้นมาในจิต
    แล้วก็จะมี "คำตอบ" ผุดขึ้นตามมา
    ผุดขึ้นมารอบแล้ว รอบเล่า จนกว่า กำลังสติ กำลังสมาธิ จะอ่อนล้า
    ก็ไปให้สะสมกำลังสติ กำลังสมาธิ ขึ้นมาใหม่
    เมื่อมีกำลังสติ กำลังสมาธิ ก็ให้กลับมาพิจารณาธรรมใหม่
    เมื่อสะสมความรู้จากคำตอบที่ผุดขึ้นมาในจิตมากขึ้นๆ
    นั่นคือ การสะสมปัญญา นั่นเอง


    ลองไล่อ่าน คำตอบ ที่ผมได้เคยตอบไปแล้ว ในเว็บนี้ดูก็ได้

    http://palungjit.org/threads/สติดีดออกจากสมาธิ.253359/page-2#post3693147

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ

    ลุงมหา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้ดูตัวนี้เลย ดูเข้ามาตรงๆ ต้อง ทำใจให้แยบคาย พิจารณาเข้ามาให้
    ได้ อย่าฝืน อย่าฮึดฮัด !!

    ฟังดีๆ นะ

    ไม่มีหรอก ทำสมาธิ แล้ว เป้าหมายสุดท้ายคือ " แล้วหลับไป "

    หากทำสมาธิ เพื่อรอจังหวะ " แล้วหลับไป " ทั้งหมดนั้น เขาไม่
    เรียกว่า ทำสมาธิ แต่ เรียกว่า " ฝุ้งว่ากุทำสมาธิ "

    พอ ฝุ้งว่ากูทำสมาธิ มันก็จะหยิบนั้น ฉวยนี่ เอานี้มาจิบนิด ชิมนั้นหน่อย
    แล้วสำคัญว่า กูกำลังทำสมาธิ ..................โดนมันหลอกแล้วครับ
    ท่าน

    พอทำแล้ว.....แหงแซะ มันจะพาไปหลับ ไม่ใช่ ตื่น ....

    แน่นอนว่า มันพาไปหลับ เวลาตื่น มันก็ โปรงเบาสบาย ก็หลับ
    มาเต็มที่ นอนมาอิ่ม มันจะไม่สบายได้อย่างไร

    สมมติว่า จะเถียงว่า เฮ้ย !! ไม่จริงนะ ข้าทำสมาธิแน่นอน ถ้า
    จะกล่าวแบบนี้ก็ได้เหมือนกัน ต้องพิสูจน์ออกมาก่อนว่า

    ที่บอกว่า พอตีห้าสิบนาที ก็ตื่น เนี่ยะ ตื่นด้วยอะไร ด้วยนาฬิกาปลุก
    หรือด้วย " การกำหนดการตื่น " หรือ " ความเคยชินในการตื่น "

    หาก กำหนดด้วยการตื่น มันจะ ลุกขึ้นเดินได้ทันที ไม่มี งัวเงีย ถูไถ
    ความนุ่ม ไออุ่น กลิ่นกรุ่นก่อนลืมตา

    ถ้ามีอาการ งัวเงีย ถูไถ ความนุ่ม ไออุ่น กลิ่นกรุ่น แล้วลืมตา เราเรียก
    ว่า เคยชิน

    สมมติว่า เป็นการกำหนดการตื่น เออ...อันนี้ ก็ค่อยว่ากันใหม่ว่าทำสมาธิได้

    แล้ว ที่บอกว่าจิตไม่รวม ก็ โยนทิ้งได้เลย ก็ กำหนดการตื่นได้ ทำไมถึง
    เห็นว่า " จิตไม่รวม "


    ทีนี้ ไม่ว่า จิตจะรวม หรือ ไม่รวม หรือ เป็นเพราะเคยชิน หรือเป็นเพราะ
    โดนมันหลอกว่าทำสมาธิ ไม่สำคัญเท่า .............เป้าหมายในการภาวนา
    มันหายไป .......พิจารณาดูให้ดีๆ เอา เป้าหมายให้ตรงก่อน ตั้งจิตให้ตรง
    ก่อน ถ้าตั้งจิต ตั้งเป้าหมาย ของการภาวนาไม่ตรง ....ปฏิบัติไป ก็เท่านั้น
    จิตรวมก็เท่านั้น มันไม่รู้ ประโยชน์ของการภาวนา มาทำสมาธิแค่ ตามๆ
    เขาไป เห็นเขาว่าดี เห็นเขาสรรเสริญ ก็เอามา ทำบ้าง เหยาะๆ แหยะๆ
    ไม่วิ่งสู้ฟัดเพื่อ เป้าหมาย มันจะ งง แล้ว งง เล่า

    ความตื่น เบิกบาน จิตเบา กายเบา มันจะไม่รู้ว่า เอาไปทำอะไร ตรงเนี่ยะ
    แหละทำให้

    ภาวนาแล้ว ก็ หลับไป ..............ปัดโถ่ ท่าน !!!
     
  14. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขออนุโมทนากับนักปฏิบัตินะครับ การที่ ทำสมาธิแลัวจิตสงบ แต่เหมือนยังฟุ้งซ่าน
    เพราะ จิตยังเจืออยู่ด้วยอกุศล ที่เจ้าของมองไม่เห็น ซึ่งก็คือ ความอยาก อันแฝงอยู่
    แนวทางปฏิบัติ คือ ในขณะที่ทำสมาธิ อย่างขมักเขม้นนั้น ให้มองดูจิต มองดูใจ และพลังจิตว่า มีความอยาก ความเคร่ง ปนอยู่ วางสิ่งพวกนั้นลงให้เป็น แล้วหาเวลาที่เหมาะสม เลือกการวางจิตวางใจและพลังให้นิ่ง ให้สมดุลซึ่งจะต้องศึกษาใช้สติตรวจตรา
    เหมือนครูที่ดูตัวเองเหมือนลูกศิษย์ แรงไป อ่อนไป ก็ให้ปรับจิตตนเอง
    ทำมาดีแล้วนะครับ อย่าใจร้อน ค่อยๆศึกษาสมาธิที่วางบนทางสายกลางให้เจอ จุดนั้นแลเป็นจุดที่เป็นอิสระและเป็นสัมมาสมาธิ
    ขอให้เจริญในธรรมนะครับ
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ คุณได้ ประสพการณ์ และ อุทธาหรณ์ ที่ดีสำหรับตัวคุณเอง ดังจะอธิบายไปตามสถานการณ์ของคุณ ดังนี้

    พอถึงสี่ทุ่มก็จะเข้าที่ภาวนาประมาณหนึ่งชั่วโมง จิตสงบดีมากครับ หลังจากนั้นก็นอนพอตีสองกว่า ๆ จะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาจิตใจสบาย โล่งไม่เคยเป็นเลยล้างหน้าล้างตาแล้วมานั่งสมาธิได้สักสองสามวันแล้วครับ นั่งจนถึงประมาณเกือบตีสี่แล้วค่อยนอนต่อ

    +++ ตรงนี้เป็น ส่วนของขันธ์หยาบ ทั้ง รูปและนามหยาบ คือ กาย และ ความรู้สึกกาย ได้พักเต็มที่และ "จิต" ไม่มีภาระที่จะอยู่กับมันอีกต่อไป ดังนั้น "จิตจึง วาง ธุระ" จากขันธ์หยาบ แบบชั่วคราวตามธรรมชาติของการทำงานของจิต (ไม่ใช่วางจากปัญญาในการรู้แจ้ง)

    +++ เช่นเดียวกันกับ สัมภเวสี ที่จิตทิ้งร่าง คือ กาย และ ความรู้สึกกาย ออกไป และ "พ้นภาระ" จากขันธ์หยาบ เข้าสู่ "กฏแห่งกรรม" (หรือกฏเกณฑ์การทำงานของจิต) โดยตรง แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ "คุณได้รับผลแห่ง สมาธิมาก่อน" จึงตกอยู่ในวงจรของ สมาธิ ที่ยังมีอิทธิพลต่อจิตคุณอยู่

    ปัญหาของผมที่สงสัยคือตอนช่วงนี้แหละครับที่ทำการนั่งสมาธิจิตปลอดโปร่งโล่งสบายมากแต่กลับรู้สึกว่าจิตไม่รวม เหมือนฟุ้งซ่าน และที่สำคัญเหมือนเรากำลังนั่งดูละครที่จิตมันฟุ้งซ่านนั้น ไม่ว่าจะจับลมหายใจ จับคำภาวนา หรือจับกสินอย่างไรก็เหมือนเดิม

    +++ ปัญหาของคุณ อยู่ที่ตรงนี้คือ คุณอยู่ในทั้ง ภพ และ ภูมิ ทางจิตที่ละเอียดกว่า ที่จับลมหายใจ จับคำภาวนา หรือจับกสิน แบบในขณะที่เป็นมนุษย์ ไม่อยู่

    +++ คุณคงจะทราบในขณะนี้แล้วนะครับว่า อุปกรณ์ในการฝึก (คือ กาย และ เวทนากาย) มันหายไปไหนหมด และในสภาวะนั้น ๆ "ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ได้เลย" สรรพสิ่งที่เป็น "ตัวคุณ" นั้น เป็นไปตาม "ยถากรรม" แบบโดดเดี่ยว อนาถา ไร้ที่พึ่ง จากอุปกรณ์ในการฝึกทั้งมวล และไม่สามารถ "ตั้งฐาน" ใด ๆ ทางจิตได้เลย

    +++ "มนุษย์เป็นฐานอันประเสริฐ" น่าจะเข้าไปในใจของคุณได้ดี ในปัจจุบันขณะนี้ "ความไม่ประมาท ในขณะที่ยังเป็นมนุษย์ อยู่นี้" น่าจะเป็น "คาถา" ที่เหมาะสมกับคุณอย่างถึงที่สุดแห่งภาคปฏิบัติ เพราะ ภพ และ ภูมิ ของมนุษย์เท่านั้น เป็นสภาวะเดียวที่จะฝึก "มหาสติปัฏฐาน 4" ได้ครบ ลองเทียบกันดูกับสภาวะของคุณในขณะที่ไร้ฐานใด ๆ ก็จะรู้ได้เอง

    +++ ในสภาวะที่ "ไร้ขันธ์หยาบ" ให้เปรียบเทียบกับ "ผู้ที่อยู่ใน โลกแห่งจินตนาการ ที่บังความจริงแห่ง ภพภูมินั้น ๆ จนมิดสนิท" (คนวิปลาศ ในภูมิมนุษย์ และ จิตวิปลาศ ในภูมิละเอียด) ในภูมิมนุษย์ ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง มักไม่ต้องการเข้าไปรับผิดชอบด้วย และไม่มีใครเสี่ยงที่จะเข้าไปเตือนสติให้ ยกเว้นแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น จึงกล้ารับภาระเยียวยารักษาให้ หรือ หากเป็นเจ้ากรรมนายเวร ก็จะได้ช่องที่จะเข้าซ้ำเติม ตรงนี้เป็นส่วนของ จิตอื่นเข้าแทรกแซง วงจรการทำงานของจิตในขณะวิปลาศ

    +++ โดยปกติแล้วในขณะที่ "วงจรการทำงานของจิต ที่ไร้ขันธ์หยาบ เป็นตัวหน่วง ในขณะที่ยังวิปลาศ และไม่มีองค์สมาธิเป็นเกราะป้องกัน อยู่นั้น" จะเป็นอาการที่ "ยิ่งจินตนาการ ก็ยิ่งลึกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึง จินตนาการที่ชอบที่สุด" แล้วจึง "อยู่ในภูมินั้น ๆ ที่ตนชอบ จนกว่าจะถอนออกมาเอง" (ไปที่ชอบ)

    +++ ในยามที่ "จิตเป็นอนาถา" (ไร้ฐาน) นั้น เมื่อผลแห่งสมาธิที่มีอิทธิพลหมดไป สิ่งที่ตามมาคือ "นิสัย และ ความจำ" จะเข้ามาก่อน จากนั้น "การทำงานของจิต จะปริวัติไปตามนั้น ในขณะจิตเดียว"

    +++ ดังจะพบได้จาก คำกล่าวของ "พระยายมราช" ในตำนานต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความปรุงแต่งว่า "สัตว์นรกนั้น ๆ เป็นไปตามกรรมของตนเอง แม้ว่าท่านปรารถนาจะช่วย แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้" นั่นคือ "อาการที่จิต กำหนดภพภูมิแบบเต็มตัวแล้ว" และอาการนี้ ใช้เวลาเพียงแค่ "วูปเดียวแห่งขณะจิต" เท่านั้น ส่วนจิตใดที่มีนิสัยอยู่กับ "คุณธรรมและความดีต่าง ๆ" จิตก็จะทำงานไปตามสภาพนั้น ๆ ที่เรียกกันว่า "บารมี" นั่นเอง

    พอออกจากสมาธิก็จะทำสมาธิจนหลับไปอีกครั้ง จนกว่าจะถึงตีห้าสิบนาที มาสวดมนต์เช้าก่อนอาบน้ำและไปทำงาน

    +++ สภาวะของคุณนั้น มี สมาธิ เป็นเกราะอยู่ แต่ยังไม่มี สติ เป็นฐาน

    ใครพอมีความรู้ช่วยไขความกระจ่างให้หน่อยครับ สมาธิจิตปลอดโปร่งโล่งสบายมากแต่กลับรู้สึกว่าจิตไม่รวม เหมือนฟุ้งซ่าน

    +++ วัตถุประสงค์ของคุณ ต้องการสมาธิ โดยไม่มีการกล่าวถึง สติเลย ดังนั้นจึงมีอาการของ จิตลอย ไปตามจินตนาการ ซึ่ง จิตรวม ไม่ใช่ฐานะที่จะเกิดได้ในขณะนี้

    ทำอย่างไรจิตจึงจะรวม ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    +++ นิสัยแห่ง "ความรู้สึกทั้งตัว" คือ นิสัยแห่ง "จิตรวม" ลองพิจารณาดูนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...