เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องการไหว้พระ - ทำบุญ - ใส่บาตร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 ธันวาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <center>[​IMG]</center>
    <center>เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย </center> ครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยนั้น ชาวพุทธไทยเราทั้งหลาย นิยมนำมาบูชาเป็นประจำเสมอ ในการประกอบพิธีกรรม ในทางพระพุทธศาสนาทั้งงานมงคล และงานอวมงคลมี ๓ อย่างคือ :-
    ๑. ธูป
    ๒. เทียน และ
    ๓. ดอกไม้ <center> ธูปสำหรับบูชาพระพุทธเจ้า </center> ธูปนั้น สำหรับบูชาพระพุทธเจ้า นิยมจุดบูชาครั้งละ ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย โดยมีความมุ่งหมายว่า พระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงมีพระคุณเป็นอันมาก ยากที่จะพรรณนาให้สิ้นสุดได้ แต่เมื่อประมวลกล่าวเฉพราะพระคุณ ที่เป็นใหญ่เป็นประธานแห่งพระคุณทั้งปวง คงมี ๓ ประการ คือ:- ธูปนั้น สำหรับบูชาพระพุทธเจ้า นิยมจุดธูปบูชาครั้งละ ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย โดยมีความมุ่งหมายว่า พระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงมีพระคุณเป็นอันมาก ยากที่จะพรรณนาให้สิ้นสุดได้ แต่เมื่อประมวลกล่าวเฉพาะพระคุณ ที่เป็นใหญ่เป็นประธานแห่งพระคุณทั้งปวง คงมี ๓ ประการ คือ:-
    ๑. พระปัญญาธิคุณ [​IMG]
    ๒. พระบริสุทธิคุณ และ
    ๓. พระมหากรุณาธิคุณ
    ธูปทั้ง ๓ ดอกนั้น สำหรับจุดเพื่อบูชาพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการนี้ แต่บางท่านก็อธิบายความมุ่งหมายแตกต่างออกไปว่า ธูป ๓ ธูป ดอกนั้น เพื่อบูชาพระพุทธทั้ง ๓ ประเภท คือ:-
    ๑. อดีตสัมพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต
    ๒. อนาคตสัมมาพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตและ
    ๓. ปัจจุปันนสัมพุทธะ พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน
    ธูป สำหรับบูชาพระพุทธเจ้านั้น นิยมใช้ธูป มีกลิ่นหอม โดยมาความหมายว่า ธรรมดากลินธูปนี้เป็นกลิ่นหอมที่น่าอัศจรรย์ กว่ากลิ่นหอมต่าง ๆ ที่ชาวโลกนิยมใช้กัน
    กลิ่นหอมที่ชาวโลกนิยมใช้กันอยู่ทุกชนิด เมื่อบุคลได้สูดกลิ่นแล้วเป็นเหตุทำให้กิเลสฟูตัวขึ้น ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่สงบส่วนกลิ่นหอมของธูปนั้น เมื่อบุคคลได้สูดกลิ่นแล้วเป็นเหตุทำให้กิเลสยุบตัวลง ทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน
    อนึ่ง ธูปนั้นแม้จะถูกไฟไหม้หมดไปแล้ว แต่กลิ่นหอมของธูปนี้ก็ยังหอมอบอวลอยู่ในบริเวณนั้นได้เป็นเวลานานฉันใด พระคุณของพระพุทธเจ้า ก็เป็นที่ซาบซึ้งเข้าถึงจิตใจของชาวบุคคลทั้งหลาย โดยที่สุด แม้แต่มหาโจรใจเหี้ยม เช่น องคุลีมาลโจร เป็นต้น ย่อมทำให้ผู้นั้นมีจิตใจสงบระงับจากการทำความชั่ว หันหน้าเข้าสู่ความดี และแม้แต่พระพุทธเจ้าจะได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานถึง ๒ พันปีเศษแล้วก็ตาม แต่พระพุทธคุณก็ยังปรากฏซาบซึ้งตรึงอยู่กับจิตใจของชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ฉันนั้น
    <center>เทียนสำหรับบูชาพระธรรม </center> เทียนนั้น สำหรับบูชาพระธรรม นิยมจุดบูชาครั้งละ ๒ เล่ม เป็นอย่างน้อย โดยมาความมุ่งหมายว่า พระศาสนธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น แยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ:- [​IMG]
    ๑. พระวินัย สำหรับฝึกหัดกาย และวาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และ
    ๒. พระธรรม สำหรับอบรมจิตใจ ให้สงบระงับจากความชั่ว ทุจริตทุกประการ และ เทียนที่นิยมจุดบูชาครั้งละ ๒ เล่ม ก็เพื่อบูชาพระวินัยเล่ม ๑ และบูชาพระธรรม อีกเล่ม ๑ เทียน สำหรับบูชาพระธรรมนั้น นิมยมใช้เทียน ขนาดใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียน ความนิยมใช้เทียนจุดบูชาพระธรรมนั้น โดยมุ่งหมายว่า ธรรมดาเทียนนี้ บุคคลจุดขึ้น ณ สถานที่ใด ย่อมเกิดจำกัดความมืดในสถานที่นั้น ให้หายหมดไป ทำให้เกิดเเสงสว่างขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ฉันใด
    พระศาสนธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นบุคคลใดมาศึกษาอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นแล้ว ย่อมกำจัดความมืด คือ โมหะ ความโง่เขลาเบา ปัญญาในจิตใจของบุคคลนั้นให้หายหมดไป ทำให้เกิดแสงสว่าง คือ ปัญญาขึ้นภายใจจิตใจของตนฉันนั้น
    <center> ดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์ </center> ดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์ โดยความมุ่งหมายว่า ธรรมดาดอกไม้นานาพันธุ์ เมื่อยังอยู่ ณ สถานที่เกิดของมันก็ย่อมมีความสวยงามตามสมควรแก่สภาพของพันธุ์ไม้นั้น ๆ ครั้นบุคคลเราเก็บดอกไม้นานาพันธุ์เหล่านั้นมากองรวมกับไว้โดยมิได้จัดสรร ย่อมหาความเป็นระเบียบมิได้ ย่อมไม่สวยงาม ไม่น่าดูไม่น่าชม ต่อเมื่อนายมาลาการ คือ ช่างดอกไม้ผู้ฉลาด มาจัดสรรดอกไม้เหล่านั้นโดยจัดใส่แจกันหรือจัดใส่พานประดับให้เข้าระเบียบแล้ว ย่อมเป็นระเบียบเรียบร้อยเกิดความสวยงามน่าดูน่าชม ฉันใด บรรดาพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สมัยเมื่อยังเป็นคฤหัสถ์อยู่บ้านเรือนของตน ๆ ย่อมมีกิริยามารยาททางกายทางวาจา และจิตใจ เรียบร้อยตามสมควรแก่ภูมิชั้นแห่งตระกูลของตน ๆ หยาบบ้าง ปานกลางบ้าง ละเอียดบ้าง ครั้งคฤหัสถ์เหล่านั้น ซึ่งต่างชาติกัน ต่างตระกูลกัน มีนิสัยอัธยาศัยต่าง ๆ กัน มีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาบวชอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่มีระเบียบปฎิบัติเป็นแบบแผนเดียวกัน พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็จะหาความเป็นระบียบมิได้ ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใสของผู้ได้ประสบพบเห็น ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เปรียบเสมือนนายมาลาการผู้ฉลาดได้ทรงวางพระธรรมวินัย ไว้เป็นแบบแผนประพฤติปฎิบัติ จัดพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น ให้ประพฤติปฎิบัติอยู่ในระเบียบเดียวกัน จึงเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าเคารพ น่าสักการะบูชา ฉันนั้น
    อนึ่ง ดอกไม้สำหรับให้บูชาพระสงฆ์ นิยมไช้ดอกไม้ที่เพรียบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ:- [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    ๑. มีสีสวย
    ๒. มีกลิ่นหอม
    ๓. กำลังสดชื่น
    ดอกไม้ที่บูชาพระประจำวันนั้น นิยมจัดเปลี่ยนให้สดอยู่เสมอ อันนี้เป็นนิมิตหมายแห่งความสดชื่น ความรุ่งเรือง ไม่นิยมปล่อยให้เหี่ยวแห่ง เพราะความเหี่ยวแห้ง เป็นนิมิตหมายแห่งความหดหู่ใจ ความเสื่อมโทรม เป็นต้น
    บุคคลผู้บูชาด้วยดอกไม้ที่มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่นหอม เช่น บูชาพระด้วยดอกไม้พลาสติก หรือดอกไม้ประดิษฐ์เป็นต้น ต่อไปในภายหน้าบุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่มีรูปร่างลักษณะดีมีรูปสวย แต่คุณภาพไม่ดี ดังคำพังเพยว่า “ สวยแต่รูป แต่จูบไม่หอม ”
    บุคคลผู้บูชาพระด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม แต่มีสีไม่สวย ต่อไปในภายหน้า บุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่มีคุณภาพดีแต่รูปร่างลักษณะไม่สวย ไม่งดงาม ดังคำพังเพย “ ถึงรูปชั่วตัวดำแต่น้ำใจดี ”
    บุคคลผู้บูชาด้วยพระดอกไม้กำลังสดชื่น ต่อไปภายหน้า บุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่เป็นของใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้ของที่ขาใช้แล้ว เป็นมือหนึ่ง ไม่ต้องเป็นมือสองรองใคร ดังตัวอย่างเช่น ชูชกมีอายุคราวปู่ได้นางอมิตตดาซึ่งเป็นสาวแรกรุ่นคราวลูกคราวหลานเป็นภรรยา เพราะอานิสงส์ที่ชูชกได้เคยบูชาพระด้วยดอกบัวตูมที่กำลังสดชื่น ฉะนั้น
    บุคคลผู้บูชาพระด้วยดอกไม้ที่บอบช้ำเหี่ยวแห้ง ต่อไป ในภายหน้า บุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่เป็น ของเก่า ๆ เหี่ยว ๆ แห้ง ๆ เป็นของที่ผ่านมือผู้อื่นมาแล้ว ตัวอย่างเช่น นางอมิตตดาได้ชูชกแก่คราวปู่เป็นสามี เพราะโทษที่ได้เคยบูชาพระด้วยดอกไม้ที่บอบช้ำเหี่ยว ๆ ฉะนั้น

    <center>[​IMG]</center> <center> การทำบุญใส่บาตรประจำช่วงเช้า </center> ชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน มีฐานะเป็นอุบาสกบริษัทและอุบาสิกาบริษัท ซึ่งมีหน้าที่จะต้องช่วยกันบำรุง รักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้ดำรงอยู่ และให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวมตลอดถึงชาวโลกด้วย พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมแล้ว ทรงเทศนาสั่งสอนพุทะบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกา พระสงฆ์พุทธสาวกเป็นผู้รับมรดก ทรงจำพระศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ พระพุทธศาสนาจึงยังดำรงอยู่ได้ตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
    พระสงฆ์พุทธสาวกทั้งหลาย ย่อมดำรงอยู่ได้ ด้วยปัจจัยที่ทายกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจัดถวาย ตราบใดที่ทายกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายยังบริจากปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์อยู่ พระสงฆ์ก็ยังศึกษาเล่าเรียน ทรงจำรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบนั้น
    หากทายกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เลิกบริจากปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์เมื่อใด เมื่อนั้น พระสงฆ์ก็จะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ และพระพุทธศาสนาก็จะอันตรธาน เสื่อมสูญไปโดยไม่ต้องสงสัย
    เพราะฉะนั้น การที่ทายกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ช่วยกันบริจากปัจจัยอุปถัมภ์บำรุงด้วยการทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ เวลาเช้าประจำวันนี้ จึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยกันสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ และให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปได้ตลอดกาลนาน
    ความจริง การใส่บาตรประจำวันนี้ เป็นวิธีการสร้างบุญวาสนาบารมีอันจะเป็นปุพเพกตปุญญตาสำหรับตนต่อไปในอนาคตโดยตรงและเป็นผลดีที่ได้ช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาโดยอ้อม
    การใส่บาตรประจำวันนี้ นิยมจัดทำตามกำลังศรัทธา และตามความสามารถแห่งกำลังทรัพย์เท่าที่จะทำได้ โดยไม่เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ เช่น ใส่บาตรวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง เป็นต้น
    <center> การทำบุญที่มีผลานิสงส์มาก </center> การทำบุญในพระพุทธศาสนา ที่มีผลานิสงส์มาก เช่นการทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์เป็นต้น จะต้องประกอบพร้อมด้วยองคุณ ๓ ประการ คือ:-
    ๑. ปัจจัยวัตถุสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์
    ๒. เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์ และ
    ๓. พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์ <center> ปัจจัยวัตถุสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์ </center> ความบริสุทธิ์ของปัจจัยวัตถุสิ่งของที่นำมาทำบุญ นั้นมีลักษณะดังนี้:-
    ๑. เงินที่จับจ่ายใช้สอยซื้อหาวัตถุสิ่งของเหล่านั้นต้องเป็นเงินที่ได้มาด้วยการะประกอบสัมมาอาชีวะ เกิดขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงงานของตนโดยตรง
    ๒. สิ่งของที่นำมาทำบุญนั้นเป็นของบริสุทธิ์ คือ มิได้เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์อื่น เช่น ฆ่าสัตว์มาทำบุญ เป็นต้น
    ๓. วัตถุสิ่งของที่นำมาทำบุญนั้นเป็นของมีคุณภาพดีและเป็นส่วนดีที่สุดในบรรดาสิ่งของที่มีอยู่ เช่น ข้าวสุก ที่นำมาใส่บาตรนั้น ก็เป็นข้าวปากหม้อ แกงก็เป็นแกงถ้วยแรกที่ตักออกจากหม้อ เป็นต้น
    ๔. วัถุสิ่งของนั้นสมควรแก่สมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่พระภิกษุสามเณร และมีประมาณเพียงพอแก่ความต้องการ <center> เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์ </center> เจตนา คือ ความตั้งใจของผู้ทำบุญนั้น ต้องบริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๔ คือ:-
    ๑. ปุพพเจตนา ความตั้งใจก่อจะทำบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ถี่เหนี่ยว ไม่มีความเสียดาย
    ๒. มุญจนเจตนา ความตั้งใจขณะทำบุญ มีความเลื่อใสศรัทธา มีความปลาบปลื้มปีติยินดีในการทำบุญนั้น
    ๓. อปรเจตนา ความตั้งใจหลังจากทำบุญไปแล้ว ภายใน ๗ วัน หวนระลึกถึงการทำบุญที่ล่วงมาแล้ว มีความปีติโสมนัสในบุญกุศลนั้น ไม่มีคววามเสียดาย
    ๔. อปราปรเจตนา ความตั้งใจภายหลังจาก ๗ วันไปแล้วแม้เป็นเวลานาน ๆ หวนระลึกนึกถึงการทำบุญ ครั้งใดก็ปลาบปลื้มปีติโสมนัสครั้งนั้น <center> ผลานิสงส์เจตนาบริสุทธิ์ </center> บุคคลที่ทำบุญด้วยเจตนาความตั้งใจบริสุทธิ์ ทั้ง ๔ กาลดังกล่าวแล้ว ต่อไปในอนาคตเมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ย่อมจะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่เกิดจนตลอดอายุขัยในภพและชาตินั้น ๆ
    <center>โทษของเจตนาไม่บริสุทธิ์ </center> ถ้าปุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนจะทำบุญไม่บริสุทธิ์ เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ เบื้องต้นแห่งชีวิต คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ ๒๕ ปี จะมีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เดือดร้อน จะหาความสุขได้ยาก จะเริ่มมีความสุขความเจริญ ตั้งแต่อายุ ๒๕ ปี เป็นต้นไปจนตลอดอายุขัย ถ้ามุญจนเจตนาความตั้งใจขณะทำบุญไม่บริสุทธิ์จะทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนตั้งแต่ อายุ ๒๖ ปี จนถึงอายุ ๕๐ ปี หลังจากนั้นจึงจะมีความสุขตั้งแต่อายุ ๕๑ ปี เป็นต้นไป จนตลอดหมดอายุขัย
    ถ้าอปรเจตนา ไม่บริสุทธิ์ คือนึกเสียดาย จะทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๕๑ ปี เป็นต้นไป จนถึงอายุ ๗๕ ปี หลังจากนั้นจะมีความสุขจนตลอดอายุขัย
    ถ้าอปราปรเจตนา ไม่บริสุทธิ์ จะทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๗๖ ปี เป็นต้นไปจน ตลอดอายุขัย
    อนึ่ง บุคคลที่ทำบุญให้ทานแล้ว นึกเสียดายในภายหลังคือ อปรเจตนาและอปราปรเจตนาไม่บริสุทธิ์ เมื่อ เกิดในภพใหม่ชาติใหม่ แม้จะเป็นคนร่ำรวยเป็นเศรษฐี แต่ก็เป็นเศรษฐีขี้เหนียวเพราะโทษที่เกิดจากการทำบุญให้ทานแล้วนึกเสียดายในภายหลัง

    <center>พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์ </center> พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์นั้น ได้แก่ พระภิกษุสามเณรอันเป็นบุญเขตนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ คือปราศจากราคะ โทสะ โมหะ โดยสิ้นเชิง หมายถึงพระอริยบุคคล หรือ พระภิกษุสามเณรเป็นผู้มีศีลบริสุทธและเป็นผู้กำลังปฎิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้จะทำบุญในพระพุทธศาสนา จึงนิยมพิจารณาเลือกบุญเขตที่เหมาะสม ดังพระบาลีว่า ‘ วิเจยฺยทานํ ทาตพฺพํ วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสฏฐํ’ แปลว่า ‘พึงเลือกให้ทาน การเลือกให้ทาน พระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริฐไว้แล้ว’ ดังนี้

    <center>วิธีปฎิบัติในการใส่บาตรพระสงฆ์ </center> เมื่อนำภัตตาหารออกจากบ้าน ไปรอคอยการใส่บาตรอยู่นั้นนิยมตั้งใจว่าจะทำบุญใส่บาตรแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณรในพระพุทธศาสนา โดยไม่เฉพาะเจาะจงแก่พระภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดผ่านมา ณ ที่นั้น ก็ตั้งใจใส่บาตรแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น และรูปอื่น ๆ ต่อไปตามลำดับ การตั้งใจใส่บาตรแบบไม่เป็นการเจาะจงอย่างนี้มีผลานิสงส์มากกว่าการตั้งใจใส่บาตร โดยเจาะจงแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ
    ก่อนใส่บาตรอย่าลืมถอดรองเท้าออกก่อนแล้วลงยืนที่พื้นดินอย่ายืนบนรองเท้าถึงแม้ว่าจะถอดรองเท้าแล้วก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ที่ใส่บาตรจะยืนสูงกว่าพระภิกษุสามเณรที่มารับบิณฑบาต ซึ่งพระภิกษุสงฆ์สามเณรนั้นจะเดินเท้าเปล่ามารับบิณฑบาต จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่คฤหัสจะยืนสูงกว่าพระภิกษุสามเณร
    <center> คำอธิษฐานก่อนใส่บาตร </center> [​IMG] ก่อนอื่นจะใส่บาตรนั้น นิยมตั้งอธิษฐานก่อน โดยถือขันข้าว ด้วยมือทั้งสองข้าง นั่งกระหย่ง ยกขันข้าว ขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมกับกล่าวคำอธิษฐานก่อนบริจาก ทำบุญด้วยวัตถุสิ่งของทุกชนิด ดังนี้ :-
    สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
    ทานของเราให้ดีแล้วหนอ ขอจงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส ฯ ’ <center> คำอธิษฐานก่อนใส่บาตรอีกแบบหนึ่ง </center> เมื่อนั่งกระหย่ง ยกขันข้าวด้วยมือทั้งสองข้างขึ้นเสมอหน้าผากแล้ว ตั้งจิตกล่าวคำอธิษฐานว่า
    ข้าวขาวเหมือนดอกบัวยกขึ้นทูนหัว ตั้งใจจำนง ตักบาตรพระสงฆ์ ขอให้ทันพระศรีอารย์ ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้บรรลุพระนิพพาน ในอนาคตกาล เทอญ ’ เมื่ออธิษฐานจบแล้ว ลุกขึ้นยืน มือซ้ายถือขันข้าว มือขวาจับทัพพี ( ถ้าคนถนัดซ้าย ก็ถือขันข้าวด้วยมือขวา จับทัพพีด้วยมือซ้าย ) ขักข้าวให้เต็มทัพพี บรรจงใส่ให้ตรงบาตร อย่าให้เมล็ดข้าวหล่นออกมานอกบาตร
    ถ้าเมล็ดข้าวติดทัพพี อย่าเอาทัพพีเคาะกับขอบบาตร กิริยาอาการที่ตักข้าวใส่บาตรนั้น อย่าตักแบบกลัวข้าวสุกจะหมด เพราะมีคำพังเพยอยู่ว่า อย่าแสดงความขี้เหนียวขณะทำบุญ
    ขณะที่ใส่บาตรนั้น อย่าชวนพระสนทนา อย่าถามพระ เช่น ถามว่า ท่านชอบฉันอาหารอย่างนี้ไหม ท่านต้องการเพิ่มอีกไหม ? เป็นต้น เพราะมีคำพังเพยอยู่ว่า ‘ตักบาตรอย่าถามพระ’

    <center>[​IMG]



    </center>
     
  2. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญให้ธรรมทานของท่านผู้ตั้งกระทู้ และขออนุโมทนาบุญกับสัมมาทิฏฐิชนทุกๆท่านที่ร่วมอนุโมทนาบุญครับ
    สาาาาา...ธุ

    ปุจฉา : ทำไมเทียนไขสำหรับบูชาพระ จึงมี ๒ สี (สีขาว กับ สีเหลือง) เพราะเหตุใด?
     

แชร์หน้านี้

Loading...