อุปกิเลส ๑๖

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 7 ธันวาคม 2024 at 14:00.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497


    วัตถูปมสูตร | อุปกิเลส ๑๖ | ธรรมปฏิบัติ ชุดที่ ๔ | ตอนที่ 9/17

    ขอบคุณที่มา https://www.youtube.com/@Uttayarndham
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,525
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    วัตถูปมสูตร
    ว่าด้วย
    อุปกิเลส ๑๖
    เหตุการณ์
    พระผู้มีพระภาคทรงอุปมาธรรมเครื่องเศร้าหมองจิต เช่น ผ้าที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่สะอาด

    ผ้าที่เศร้าหมอง แม้ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ ผ้านั้น พึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น

    ส่วนผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด แม้ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น

    ธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต คือ

    อภิชฌาวิสมโลภะ [ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น]
    พยาบาท [ความคิดปองร้ายผู้อื่น]
    โกธะ [ความโกรธ]
    อุปนาหะ [ความผูกโกรธ]
    มักขะ [ความลบหลู่คุณท่าน]
    ปลาสะ [ความตีเสมอ]
    อิสสา [ความริษยา]
    มัจฉริยะ [ความตระหนี่]
    มายา [มารยา]
    สาเฐยยะ [ความโอ้อวด]
    ถัมถะ [ความหัวดื้อ]
    สารัมภะ [ความแข่งดี]
    มานะ [ความถือตัว]
    อติมานะ [ความดูหมิ่นท่าน]
    มทะ [ความมัวเมา]
    ปมาทะ [ความประมาท]

    ในกาลใด ภิกษุรู้ชัดธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิตแล้ว ย่อมละธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตเสีย ในกาลนั้น ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าในพระธรรม ในพระสงฆ์ ก็เพราะเหตุที่ภิกษุละ สละ ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ ได้แล้ว ย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    เมื่อภิกษุนั้นมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตอันดี การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย

    ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ ครั้นมาถึงน้ำอันใส ย่อมเป็นผ้าหมดจดสะอาด ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปยังทิศทั้ง ๔ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ ด้านขวาง ทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกแห่ง ย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่งสัญญานี้ มีอยู่ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ กล่าวได้ว่า เป็นผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน

    การอาบน้ำในแม่น้ำ จักมีประโยชน์อะไร คนพาล มีกรรมดำ ไปยังแม่น้ำ แม้เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำนั้นจะชำระนรชนผู้มีเวร ทำกรรมอันหยาบช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้นให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย

    ผัคคุณฤกษ์ ย่อมถึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ อุโบสถ ก็ย่อมถึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

    การอาบในคำสอนของพระศาสดา การทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวง การไม่กล่าวคำเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาวัตถุที่เจ้าของไม่ให้ เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ แล้วแม้จะอาบหรือดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์จากที่ใดก็ย่อมไม่มีผล

    สุนทริกภารทวาชพราหมณ์เมื่อได้ฟังพระดำรัสจึงได้ ขอบรรพชาอุปสมบท ต่อมาไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย



    อ่าน วัตถูปมสูตร

    อ้างอิง
    วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๙๑-๙๙ หน้า ๔๘-๕๑
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...