เรื่องเด่น อัฎฐมีบูชา จากกุสินาราสู่สุวรรณภูมิ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 14 พฤษภาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระชนม์ ๘๐ พรรษา หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ ได้จัดพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ บูชาด้วยเครื่องหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระของพระพุทธเจ้าไปทางทิศตะวันออก ของพระนครเพื่อถวายพระเพลิง พวกเจ้ามัลละได้วิธีปฏิบัติพระสรีระจากพระอานนท์เถระ คือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญพระสรีระลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญพวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้าถวายพระเพลิง ซึ่งได้พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจทำให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า “เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้” เนื่องด้วยเทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธีถวายพระเพลิง

    0b89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa.jpg

    เมื่อพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวามาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว พระมหากัสสปะห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณรอบเชิงตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้วเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า “ขอพระยุคลบาท ของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด” เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่นและน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้นที่พระองค์ทรงแสดงพระปาฏิหาริย์ให้ปรากฎ ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น

    89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-1.jpg

    กาลเวลาล่วงเลยสู่พุทธสมัยจึงเป็นปฐมบทแห่งการสร้างพระพุทธรูปพระปางปาฎิหาริย์ ในเมืองไทยนั้น มีชื่อเรียกกันหลากหลาย เช่น ปางถวายพระเพลิง,ปางปรินิพพาน,ปางกราบพระบรมศพ, ปางห้ามเผา, มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเท่าที่ผู้เขียนทราบและได้มีโอกาสเดินทางไปสักการะนั้น ที่เป็นศิลปะปูนปั้น ประติมากรรมบนผนัง วัดกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ,พระพุทธรูป วัดอินทารามวรวิหาร กรุงเทพฯ, พระพุทธรูป วัดเกาะพญาเจ่ง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และพระพุทธรูป วัดสรรพยาวัฒนาราม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งแต่ล่ะแห่งล้วนแล้วเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ซี่งพบเพียงไม่กี่วัดในประเทศไทยที่มีพระพุทธรูปปางนี้ การกราบพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีความเชื่ออานิสงส์แห่งการสักการะพระพุทธรูปปางนี้ ขอพรเกี่ยวกับสุขภาพ ขอให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ขอให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลง

    89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-2.jpg

    จะเห็นได้ว่าพระมหากัสสปะ เป็นผู้ที่สำคัญยิ่งในวันที่ถวายพระเพลิงพระศาสดา พระมหากัสสปะท่านได้รับการยกย่องให้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระสาวกลำดับ ๓ รองจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ และเป็นเพียงพระภิกษุรูปเดียวที่พระพุทธเจ้า ทรงประทานจีวรเก่าของพระพุทธองค์ ที่ทรงห่มแล้วและไม่เคยให้ภิกษุรูปอื่นอีกเลย พระมหากัสสปะ ผู้นี้มีความสำคัญเป็นพระอรหันต์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเอกทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้ทรงธุดงควัตรและสรรเสริญคุณแห่งการธุดงค์ ถือสันโดษ ธุดงค์ในป่า ท่านถือข้อวัตรปฎิบัติที่เข้มงวดเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง ไม่เอนตัวลงนอนให้หลังสัมผัสพื้น (เนสัชชิกธุดงค์) ตั้งแต่วันอุปสมบท ตราบเข้าถึงวันเข้าพระนิพพาน (สิ้นชีวิต) เป็นพระภิกษุที่ถือดำรงข้อวัตรไม่บกพร่อง จนเป็นแบบอย่างทีดีงามให้พระภิกษุจนถึงปัจจุบันนี้

    89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-3.jpg

    ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าว ในวันสำคัญมา วันอัฏฐมีบูชา ในพระพุทธศสนา เพื่อน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ พุทธานุสสติภาวนามัยกุศล ที่แสดงธรรมสังเวช ให้ปรากฎเป็นเครื่องสอนใจชาวพุทธ สะท้อนสัจธรรมแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกหนีพ้นไปได้ จึงไม่ควรประมาทในชีวิต พึงให้ทาน รักษาศีล เจริญสติภาวนา ให้ยึดมั่นอยู่ในศีลธรรมแห่งการดำรงตน ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

    89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-4.jpg

    ในการนี้ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาธรรม พระครูอุดมโพธิวิเทศ (ณรงค์ อุตตมวํโส) พระธรรมฑูตสายอินเดีย-เนปาล ที่นำพาผู้เขียนตามรอยบาทพระศาสดาไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญในพระพุทธศาสนาที่ยังปรากฎร่องรอยจารึกหลักฐาน ในดินแดนพุทธภูมิต้นกำเนิดแห่งศาสนาพุทธ อันเป็นสุดยอดของความปราถนาของเหล่าชาวพุทธที่ได้พบเห็นกับตาตนเอง

    ขอสาธุธรรมจงมีแด่ทุกท่าน

    วีรญาณ สาวิกาโพธิ

    89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-5.jpg 89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-2.jpg 89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-6.jpg 89ae0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b888e0b8b2e0b881e0b881e0b8b8e0b8aae0b8b4e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8aa-7.jpg 98076009_266707211401151_6655181992725839872_n.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.innnews.co.th/features/all-in-thailand/news_674062/
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    สมเด็จพระสังฆราช พร้อมคณะสงฆ์ สวดมนต์ถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในดิถีอัฏฐมีบูชา

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvMTYyOC84MTQ0MzkwL2F0dGhhbWlwdWphLXNhbmdraGFyYWphLmpwZw==.jpg


    วันนี้ (14 พ.ค.) ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00 น. เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พร้อมคณะสงฆ์ สวดมนต์ทำวัตรเย็น และสวดคาถาถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในดิถีอัฏฐมีบูชา รวมทั้งจะมีการเทศนา 13 กัณฑ์ตลอดราตรี ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    สำหรับ วันอัฏฐมีบูชา นั้น เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับ วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระพระพุทธเจ้า โดยมีประวัติความเป็นมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชนและพระสงฆ์ อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งทางพระพุทธศาสนา

    ทั้งนี้ พุทธศาสนิกชนสามารถติดตามการสวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในโอกาสวันอัฏฐมีบูชาได้ทางไลฟ์ของเพจเฟซบุ๊กวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามด้านล่างนี้






    ขอบคุณที่มา
    https://www.sanook.com/news/8144390/
     

แชร์หน้านี้

Loading...